Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Assessment, Evaluation, and Research

Chulalongkorn University

2017

Articles 1 - 25 of 25

Full-Text Articles in Education

การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา, ภัณฑิรา ดวงจินดา Jan 2017

การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา, ภัณฑิรา ดวงจินดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์องค์ประกอบและตัวชี้วัดสมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์องค์ประกอบและพัฒนาตัวชี้วัดในการวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ 2. ตรวจสอบคุณภาพตัวชี้วัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ กลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในเขตกรุงเทพ จำนวน 468 คนที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และจำนวน 658 คนที่ใช้เพื่อในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ คือแบบวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วย 3 ตอน คือ ข้อมูลพื้นฐานของครูวิทยาศาสตร์ผู้ตอบ แบบวัดความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 15 ข้อคำถาม และแบบวัดสมรรถภาพของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 53 ข้อ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS for windows ส่วนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน คือแบบวัดสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ประกอบไปด้วย 3 ตอน คือ ข้อมูลพื้นฐานของครูวิทยาศาสตร์ผู้ตอบ แบบวัดความรู้พื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์ จำนวน 10 ข้อคำถาม และแบบวัดสมรรถภาพของครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 26 ข้อ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม Lisrel version 8.80 ผลการวิจัยพบว่า (1) สมรรถภาพของครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) สมรรถภาพด้านการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ซึ่งสัมพันธ์กับครอบครัวและชุมชน 2) ความสามารถในการจัดการเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM) 3) สมรรถภาพด้านการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 4) สมรรถภาพด้านการสื่อสารและการใช้ภาษา และ 5) สมรรถภาพด้านบุคลิกลักษณะความเป็นครู (2) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน พบว่า โมเดลสมรรถภาพครูวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาทุกด้านมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ของแต่ละโมเดลพบว่ามีค่าน้อยกว่า 2.00 คือมีค่าตั้งแต่ 0.00 - 1.12 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ของแต่ละโมเดลมีค่ามากกว่า 0.95 คือมีค่าอยู่ระหว่าง 0.99 - 1.00 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) ของแต่ละโมเดลมีค่ามากกว่า 0.95 คือมีค่าอยู่ระหว่าง …


ผลของประเภทข้อมูลย้อนกลับและการเปลี่ยนคำตอบที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนที่เพิ่มขึ้น และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, กิตติทัศน์ หวานฉ่ำ Jan 2017

ผลของประเภทข้อมูลย้อนกลับและการเปลี่ยนคำตอบที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนที่เพิ่มขึ้น และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, กิตติทัศน์ หวานฉ่ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนที่เพิ่มขึ้น และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์เมื่อได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบให้คำชี้แนะคงที่ แบบให้คำชี้แนะลดลง และแบบบอกผลการกระทำ (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ของนักเรียนที่ไม่ได้รับและได้รับโอกาสให้เปลี่ยนคำตอบ และ (3) วิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับและการเปลี่ยนคำตอบที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 381 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือวิจัย คือ (1) แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องงานและพลังงานซึ่งทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์และมีการให้ข้อมูลย้อนกลับ 3 ประเภท จำนวน 2 ฉบับ ที่มีความเป็นคู่ขนานกัน (2) แบบสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์จำนวน 2 ฉบับ ที่มีความเป็นคู่ขนานกัน และ (3) แบบสอบถามเกี่ยวกับโปรแกรมการทดสอบและข้อมูลย้อนกลับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนหลายตัวแปร (MANOVA) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับต่างประเภทกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน คะแนนที่เพิ่มขึ้น และความสามารถในการ แก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, Wilks' Lambda = .93, F(6, 752) = 4.37, p < .001, ηp2 = .03 นั่นคือ นักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับต่างประเภทกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบให้คำชี้แนะคงที่และแบบให้คำชี้แนะลดลงมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกผลการกระทำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งนักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับต่างประเภทกันมีความสามารถ ในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยนักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบให้คำชี้แนะคงที่และแบบให้คำชี้แนะลดลงมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์สูงกว่านักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกผลการกระทำอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อย่างไรก็ตาม นักเรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับต่างประเภทกันมีคะแนนที่เพิ่มขึ้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีรูปแบบการเปลี่ยนคำตอบต่างกันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, Wilks' Lambda = .93, F(2, 378) = 14.84, p < .001, ηp2 = .07 นั่นคือ นักเรียนที่ได้รับการเปิดโอกาสให้เปลี่ยนคำตอบมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการเปิดโอกาสให้เปลี่ยนคำตอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อีกทั้งนักเรียนที่ได้รับการเปิดโอกาสให้เปลี่ยนคำตอบมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์สูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับการเปิดโอกาสให้เปลี่ยนคำตอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับและการเปลี่ยนคำตอบที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์ที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ .05, Wilks' Lambda = .98, F(4, 748) = 1.81, p = .13, ηp2 = .01 ทั้งนี้ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับและการเปลี่ยนคำตอบที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่นัยสำคัญ ทางสถิติระดับ .05 อย่างไรก็ตาม มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับและการเปลี่ยนคำตอบที่ส่งผลต่อความสามารถในการ แก้โจทย์ปัญหาฟิสิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาชีววิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับกับสี่ระดับ, ธนบดี อินหาดกรวด Jan 2017

การเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาชีววิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับกับสี่ระดับ, ธนบดี อินหาดกรวด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับกับแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสี่ระดับวิชาชีววิทยาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อวิเคราะห์ความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยระหว่างแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสี่ระดับวิชาชีววิทยาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่างในการวิจัยคือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 62 คน เครื่องมือวิจัยได้แก่ 1) แบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับและสี่ระดับ 2) แบบสัมภาษณ์โดยใช้เทคนิคการคิดออกเสียง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์วีของคราเมอร์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความสัมพันธ์ระหว่างแบบสอบวินิจฉัยทั้งสองฉบับพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r มีค่า 0.723) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สอดคล้องกับการพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นพบว่า แบบสอบทั้งสองฉบับมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูง (r มีค่า 0.841) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า แบบสอบทั้งสองฉบับมุ่งวัดคุณลักษณะเดียวกัน เมื่อพิจารณาสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์วีของคราเมอร์พบว่า ในรายมโนทัศน์หลักมีความสอดคล้องในระดับต่ำถึงปานกลาง (V มีค่าระหว่าง 0.322 ถึง 0.489) เมื่อพิจารณาในภาพรวมพบว่ามีความสอดคล้องในระดับปานกลาง (V มีค่า 0.536) แสดงว่า แบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบทั้งสองฉบับให้ผลการวินิจฉัยที่แตกต่างกันในระดับปานกลาง 2) ความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยระหว่างแบบสอบวินิจฉัยทั้งสองฉบับกับข้อมูลเชิงประจักษ์พบว่า เมื่อพิจารณาเป็นรายมโนทัศน์และในภาพรวมทั้งฉบับแล้วแบบสอบวินิจฉัยแบบเลือกตอบสามระดับและสี่ระดับมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์ด้วยเทคนิคการคิดออกเสียงไม่แตกต่างกัน


การเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้วิธีการประเมินตนเองต่างกัน:วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์และแบบสอบถามปลายเปิด, อารยา ยุวนะเตมีย์ Jan 2017

การเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้วิธีการประเมินตนเองต่างกัน:วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์และแบบสอบถามปลายเปิด, อารยา ยุวนะเตมีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการทางทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลางและต่ำที่ประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองโดยใช้วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์และแบบสอบถามปลายเปิด และ 2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อพัฒนาการทางทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น การออกแบบการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบมีการทดสอบก่อนและหลัง การจัดกระทำและมีกลุ่มควบคุม โดยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเข้าสู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 90 คน แบ่งเป็นนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ระดับสูง ปานกลาง และต่ำ ระดับละ 30 คน โดยผู้เรียนในแต่ละระดับความสามารถจะประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองด้วยวิธีการ 3 วิธี ได้แก่ วิธีการใช้รูบริกแอนโนเทตประยุกต์ วิธีการใช้แบบสอบถามปลายเปิดและวิธีการไม่ใช้เครื่องมือใดๆ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ 2) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์ 3) แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีการประเมินตนเองโดยใช้วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์ 4) แบบฝึกทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีการประเมินตนเองโดยใช้แบบสอบถามปลายเปิด ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์สูง ปานกลาง และต่ำที่ประเมินทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองโดยใช้วิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์มีพัฒนาการการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และพัฒนาการ การรับรู้ความสามารถของตนเองทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่ใช้แบบสอบถามปลายเปิดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 2. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ต่อคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ทางทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แต่ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีประเมินการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ ต่อคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์การรับรู้ความสามารถทางคณิตศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, ภัทรสุดา แก้วโวหาร Jan 2017

การพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย, ภัทรสุดา แก้วโวหาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อวิเคราะห์คุณภาพแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย 3) เพื่อเปรียบเทียบการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตฯ กับ นักเรียนในโรงเรียนสังกัด สพฐ. กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2560 โดยการสุ่ม กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 797 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดการรู้ทางการเมือง เป็นแบบวัดหลายตัวเลือก ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ค่าความเที่ยง การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ตัวประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการศึกษาองค์ประกอบการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พบว่า มี 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรู้ทางการเมือง ทักษะทางการเมือง และเจตคติทางการเมือง 2. ผลการวิเคราะห์ค่าความเที่ยงของแบบวัดการรู้ทางการเมืองของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย พบว่ามีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 ผลการตรวจสอบความตรงของโมเดลพบว่าโมเดลสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 108.24, df =83, p = .53, GFI = .98, AGFI = .96 RMR = .03, และ RMSEA = .02 3. ผลจากการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการรู้ทางการเมือง ของนักเรียนของโรงเรียนสาธิตฯ มีค่าเฉลี่ยการรู้ทางการเมืองด้านทักษะสูงที่สุด 5.93 ค่าเฉลี่ยด้านความรู้ 5.65 และค่าเฉลี่ยด้านเจตคติ 5.61 นักเรียนของโรงเรียนในสังกัด สพฐ. มีค่าเฉลี่ยการรู้ทางการเมืองด้านทักษะสูงที่สุด 4.75 ค่าเฉลี่ยด้านเจตคติ 4.34 และค่าเฉลี่ยด้านความรู้ 4.18 พบว่า นักเรียนของโรงเรียนสาธิตฯ มีค่าเฉลี่ยการรู้ทางการเมืองทุกด้านสูงกว่านักเรียนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การเปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติและประสิทธิภาพของแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัลที่มีรูปแบบต่างกัน, สุพัชญา เจรีรัตน์ Jan 2017

การเปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติและประสิทธิภาพของแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัลที่มีรูปแบบต่างกัน, สุพัชญา เจรีรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัลนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) สร้างแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัล และตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัลที่เป็นแบบวัดรูปแบบเขียนตอบ และแบบวัดรูปแบบอินเทอร์เน็ต 2) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของวิธีวัดการรู้สื่อดิจิทัลด้วยแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัลที่เป็นแบบวัดรูปแบบเขียนตอบ และแบบวัดรูปแบบอินเทอร์เน็ต และ 3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพของแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัลที่เป็นแบบวัดรูปแบบเขียนตอบ และแบบวัดรูปแบบอินเทอร์เน็ต โดยมีตัวอย่างวิจัยคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และเขต 2 ปีการศึกษา 2561 รวมทั้งสิ้น 393 คน โดยมีแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัล ฉบับรูปแบบเขียนตอบและฉบับอินเทอร์เน็ต แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการใช้แบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัลเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย และมีการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและเชิงอ้างอิง ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดได้แก่ ความตรง ความเที่ยง ความยากและอำนาจจำแนก และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพื้นฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานซึ่งมีผลการวิจัยดังนี้ 1. แบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัล ฉบับรูปแบบเขียนตอบและฉบับอินเทอร์เน็ต มีคุณสมบัติทางจิตมิติ ในด้าน ความตรงตามเนื้อหา ความตรงเชิงโครงสร้าง ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน ความยาก และอำนาจจำแนก ไม่แตกต่างกัน คือฉบับรูปแบบเขียนตอบมี IOC=0.80-1.00, โมเดล pBT-CFA สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์=24.75, p=.363, df=23, CFI=1.00, SRMR=.03, RMSEA=.01, Cronbach's Alpha=.743, ความยาก (b) เฉลี่ย=-1.96, อำนาจจำแนก (a) เฉลี่ย=1.28 และฉบับรูปแบบอินเทอร์เน็ตมี IOC=0.80-1.00, โมเดล iBT-CFA สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าไค-สแควร์=35.59, p=.061, df=24, CFI=.99, SRMR=.03, RMSEA=.04, Cronbach's Alpha=.741, ความยาก (b) เฉลี่ย=-1.95, อำนาจจำแนก(a) เฉลี่ย=1.23 2. การตรวจสอบอิทธิพลของวิธีวัด ของแบบวัดสถานการณ์การรู้สื่อดิจิทัลโดยใช้เทคนิค CTCM พบว่าโมเดล CTCM มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์=286.40, p=.000, df=128, CFI=.97, …


การพัฒนาแบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, หทัยชนก กูรมะสุวรรณ Jan 2017

การพัฒนาแบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, หทัยชนก กูรมะสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียน โพธิสารพิทยากร รวมทั้งหมด 180 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) แบบวัดทักษะ การเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เกณฑ์การประเมินสำหรับผู้ตรวจ ตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดด้วยการวิเคราะห์ ค่าสถิติพื้นฐาน ความตรงเชิงโครงสร้างด้วยเทคนิคกลุ่มรู้ชัด ความเที่ยงของการตรวจให้คะแนนระหว่างผู้ตรวจ ความแปรปรวนร่วมแบบสองทาง และสัมประสิทธิ์ การสรุปอ้างอิงด้วยโปรแกรม SPSS และโปรแกรม EduG ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) แบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีลักษณะเป็นข้อสอบอัตนัย ประกอบด้วยองค์ประกอบจำนวน 7 องค์ประกอบ ได้แก่ เนื้อเรื่อง ลำดับความคิด กลไกภาษา ไวยากรณ์ การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ แบบวัดประกอบด้วยข้อมูลจำนวน 4 ข้อมูล ข้อคำถาม 12 ข้อ ข้อละ 5 คะแนน รวม 60 คะแนน และเกณฑ์การประเมินสำหรับผู้ตรวจ แบบแยกองค์ประกอบ ให้คะแนนตามองค์ประกอบทักษะการคิดวิเคราะห์และองค์ประกอบทักษะการเขียน 2) คุณภาพของแบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีความตรงเชิงเนื้อหา ≥ 0.5 ทุกข้อ มีค่าความเที่ยงของการตรวจให้คะแนนระหว่างผู้ตรวจสูง (rxy= .962-.994) มีความตรงเชิงโครงสร้างจากเทคนิคกลุ่มรู้ชัด (F= .440, p= .645) 3) ความแปรปรวนของคะแนนระหว่างผู้สอบ ผู้ตรวจและข้อคำถาม มีผลต่อสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง มากที่สุด รวมถึงมีความแปรปรวนของคะแนนของผู้สอบ และ 4) แบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้ผู้ตรวจ 1 คน ข้อคำถามจำนวน 9 ข้อขึ้นไป และกรณีผู้ตรวจ 2 คน ข้อคำถามจำนวน 6 ข้อขึ้นไป มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของคะแนนสำหรับนำไปใช้ตัดสินใจเชิงสัมพัทธ์ มากกว่า .70 และแบบวัดทักษะการเขียนเชิงวิเคราะห์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่ใช้ผู้ตรวจ 1 คน ข้อคำถามจำนวน 12 …


แนวทางการส่งเสริมความซื่อสัตย์ทางวิชาการและความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา: การประยุกต์วิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะ, ลภัสพิชชา สุรวาทกุล Jan 2017

แนวทางการส่งเสริมความซื่อสัตย์ทางวิชาการและความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพของนักศึกษาบัณฑิตศึกษา: การประยุกต์วิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะ, ลภัสพิชชา สุรวาทกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ โดยทั่วไปมีความหมายในเชิงลบ นั่นคือ นักศึกษาคาดหวังถึงผลลัพธ์เชิงบวกทางวิชาการ โดยไม่คำนึงถึงความพยายามหรือความสามารถที่แท้จริงของตน ในการวิจัยครั้งนี้ได้ขยายขอบเขตการศึกษา โดยแบ่งเป็นการรับรู้เชิงบวกและเชิงลบ การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกและเชิงลบนี้มีอิทธิพลต่อสมรรถนะของนักศึกษา ซึ่งหากอาจารย์ผู้สอนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานักศึกษาต่อไป การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับและโปรไฟล์การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ โดยวิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะและแบบสอบถามมาตรประมาณค่า และเปรียบเทียบผลลัพธ์และความเหมาะสมระหว่างสองวิธี 2) วิเคราะห์ระดับและโปรไฟล์สภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ และความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ 3) พัฒนาและตรวจสอบโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ สภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย ความซื่อสัตย์ทางวิชาการและความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ 4) ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโปรไฟล์ของนักศึกษา ด้านสิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการ ความซื่อสัตย์ทางวิชาการ และความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพ กับสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย 5) จัดทำแนวทางการให้คำแนะนำของอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ทางวิชาการ และความตั้งใจทำงานวิจัยที่มีคุณภาพของนักศึกษา ตัวอย่างวิจัย คือ นักศึกษาบัณฑิตศึกษา สาขาทางศึกษาศาสตร์ ที่กำลังศึกษาในหลักสูตรที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ก่อนจบการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามวิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะและแบบสอบถามมาตรประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์องค์ประกอบ การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA) ด้วยโปรแกรม SPSS 23 การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง ด้วยโปรแกรม Mplus 7.0 และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบ ระดับ และโปรไฟล์ของการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการที่วัดด้วยวิธีวิทยาคิวแบบปรับเหมาะมีระดับค่าเฉลี่ยรายองค์ประกอบที่แตกต่างกันชัดเจนกว่าที่วัดด้วยแบบสอบถามมาตรประมาณค่า อย่างไรก็ตามในภาพรวมพบว่า นักศึกษามีการรับรู้เชิงบวกในระดับมาก และมีการรับรู้เชิงลบในระดับปานกลาง 2. นักศึกษามีสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย ความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพในระดับมาก และมีความซื่อสัตย์ทางวิชาการในระดับปานกลาง นักศึกษามีการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวก ความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพ และความซื่อสัตย์ทางวิชาการแตกต่างกันตามเกรดเฉลี่ยและมหาวิทยาลัย มีการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงลบแตกต่างกันตามสาขาวิชาและการร่วมงานวิชาการ มีความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพแตกต่างกันตามเกรดเฉลี่ยและสาขาวิชา และมีการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกแตกต่างกันตามสาขาวิชาและมหาวิทยาลัย 3. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของความซื่อสัตย์ทางวิชาการสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์ (44, N = 136) = 53.41,p = 0.16; CFI = .99, RMSEA = .04) โดยได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย การรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกและเชิงลบ สำหรับความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพได้รับอิทธิพลจากสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัย และการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักศึกษาในกลุ่มมหาวิทยาลัยรัฐบาลและเรียนสาขาการวิจัย มหาวิทยาลัยรัฐบาลและเรียนสาขาที่ไม่ใช่การวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏและเรียนสาขาการวิจัย มีความสอดคล้องระหว่างระดับสภาพแวดล้อมการฝึกวิจัยกับการรับรู้สิทธิอันพึงได้รับทางวิชาการเชิงบวกและเชิงลบความตั้งใจทำงานวิจัยให้มีคุณภาพ และความซื่อสัตย์ทางวิชาการ ในรูปแบบที่เหมาะสม ในขณะที่นักศึกษาในกลุ่มที่เรียนสาขาที่ไม่ใช่ด้านการวิจัย ทั้งในมหาวิทยาลัยเอกชนและมหาวิทยาลัยราชภัฏ มีความสอดคล้องระหว่างระดับของตัวแปรวิจัยดังกล่าวในรูปแบบที่ไม่เหมาะสม …


การเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการทำงานกลุ่มและคุณภาพผลงานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากการประเมินหลายแหล่งที่แตกต่างกัน, สุวพิชญ์ เกษมสุข Jan 2017

การเปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการทำงานกลุ่มและคุณภาพผลงานของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากการประเมินหลายแหล่งที่แตกต่างกัน, สุวพิชญ์ เกษมสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลป้อนกลับจากการประเมินหลายแหล่ง ที่แตกต่างกันที่มีผลต่อพัฒนาการทักษะการทางานกลุ่มของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลป้อนกลับจากการประเมินหลายแหล่งที่แตกต่างกันที่มีผลต่อคุณภาพผลงานของนักเรียนมัธยมศึกษา ตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 75 คน โดยนักเรียนในกลุ่มทดลองจะได้รับข้อมูลป้อนกลับจากการประเมินหลายแหล่งที่แตกต่างกัน 4 วิธีการ ได้แก่ ข้อมูลป้อนกลับจากตนเองและครู, ข้อมูลป้อนกลับจากตนเองและเพื่อนสมาชิกกลุ่ม, ข้อมูลป้อนกลับจากเพื่อนสมาชิกกลุ่มและครู และข้อมูลป้อนกลับจากตนเอง เพื่อนสมาชิกกลุ่มและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) เกณฑ์การให้คะแนนรูบริกแบบแยกองค์ประกอบสำหรับการวัดและประเมินทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียน 2) เกณฑ์การให้คะแนนรูบริกแบบแยกองค์ประกอบสำหรับประเมินคุณภาพผลงาน 3) คำถามปลายเปิดสำหรับผู้ให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีแหล่งให้ข้อมูลจากตนเอง เพื่อนในกลุ่มและครูผู้สอน 4) แบบสัมภาษณ์ สำหรับผู้ให้ข้อมูลป้อนกลับที่มีแหล่งให้ข้อมูลจากครู 5) แบบบันทึกหลังได้รับข้อมูลป้อนกลับ 6) แบบบันทึกการพัฒนาตนเองหลังจากได้รับข้อมูลป้อนกลับ และ 7) กิจกรรมการทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์แปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1.นักเรียนที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากตนเอง เพื่อนสมาชิกกลุ่มและครู และนักเรียนที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากเพื่อนสมาชิกกลุ่มและครู มีพัฒนาการทักษะการทำงานกลุ่มมากกว่านักเรียนที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากตนเองและครู อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 และนักเรียนที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากตนเอง เพื่อนสมาชิกกลุ่มและครู และนักเรียนที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากตนเองและเพื่อนสมาชิกกลุ่มมีคะแนนพัฒนาการทักษะ การทำงานกลุ่มสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับข้อมูลป้อนกลับอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากตนเอง เพื่อนสมาชิกกลุ่มและครู และนักเรียนที่ได้รับข้อมูลป้อนกลับจากตนเองและเพื่อนสมาชิกกลุ่ม มีคุณภาพผลงานสูงกว่านักเรียนที่ไม่ได้รับข้อมูลป้อนกลับ อย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05


การพัฒนาแบบประเมินการจัดการศึกษาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศสำหรับโรงเรียนเอกชน, เอกพล สุมานันทกุล Jan 2017

การพัฒนาแบบประเมินการจัดการศึกษาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศสำหรับโรงเรียนเอกชน, เอกพล สุมานันทกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบประเมินการจัดการศึกษาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศสำหรับโรงเรียนเอกชน 2) ตรวจสอบคุณภาพแบบประเมินการจัดการศึกษาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศสำหรับโรงเรียนเอกชน และ 3) ประเมินคุณภาพการจัดการศึกษาของโรงเรียนเอกชนตามแบบประเมินการจัดการศึกษาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 273 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินการจัดการศึกษาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศสำหรับโรงเรียนเอกชน ที่มีรูปแบบข้อรายการประเมินเป็นมาตรประมาณค่า 4 ระดับ และแบบตรวจสอบรายการ การวิเคราะห์ข้อมูลเป็นการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน ได้แก่ การตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (IOC และ CVI) การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการตรวจสอบค่าความเที่ยงด้วยวิธีการประมาณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาก ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. แบบประเมินการจัดการศึกษาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศสำหรับโรงเรียนเอกชน มีรูปแบบข้อรายการประเมินด้วยมาตรประมาณค่า 4 ระดับ และแบบตรวจสอบรายการ ครอบคลุมเกณฑ์คุณภาพ 7 องค์ประกอบ จำนวน 17 ประเด็นการประเมิน รวม 150 ข้อ 2. คุณภาพของแบบประเมินการจัดการศึกษาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศสำหรับโรงเรียนเอกชน พบว่า มีความตรงเชิงเนื้อหา (ค่าดัชนี IOC อยู่ระหว่าง 0.60 ถึง 1.00 และค่า CVI เท่ากับ 0.980) ด้านความตรงเชิงโครงสร้าง โมเดลการจัดการศึกษาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศสำหรับโรงเรียนเอกชนมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (chi-square = 78.43, df = 67, p = .160, GFI = .97, AGFI = .93, SRMR = .025, RMSEA = .025) และด้านความเที่ยง ค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.982 และค่าความเที่ยงแต่ละองค์ประกอบอยู่ระหว่าง 0.827 ถึง 0.962 ด้านความคิดเห็นของผู้ใช้แบบประเมินการจัดการศึกษาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศสำหรับโรงเรียนเอกชนที่สร้างขึ้นอยู่ในระดับมาก ในมาตรฐานด้านการใช้ประโยชน์ มาตรฐานด้านความเป็นไปได้ มาตรฐานด้านความเหมาะสม และมาตรฐานด้านความถูกต้อง 3. ผลการประเมินการจัดการศึกษาที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศสำหรับโรงเรียนเอกชนเมื่อเทียบกับเกณฑ์การประเมิน พบว่า โรงเรียนที่เป็นตัวอย่าง มีการจัดการศึกษาอยู่ในระดับมีความเป็นเลิศจำนวน …


การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ, กันยารัตน์ วงษ์วิบูลย์สิน Jan 2017

การพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ, กันยารัตน์ วงษ์วิบูลย์สิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในการประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ และ 2) เพื่อตรวจสอบคุณภาพตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในการประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ โดยมีกรอบการวิจัยตามโมเดล CIPPI วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ 1) ระยะพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการประเมินโครงการ โดยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องให้ได้ร่างองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ จากนั้นดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ จำนวน 4 โรงเรียน โดยแบ่งเป็นโรงเรียนที่มีการปฏิบัติดี และโรงเรียนที่ดำเนินการปกติ รวบรวมข้อมูลและสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อพัฒนาองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ โดยใช้เกณฑ์เป็นระดับคะแนน 1 - 4 และ 2) ระยะตรวจสอบคุณภาพตัวบ่งชี้ และเกณฑ์ในการประเมินโครงการ ตรวจสอบความสอดคล้องขององค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ เกณฑ์จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน จากนั้นนำผลการตรวจสอบมาปรับปรุงองค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์และทำการพัฒนาคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ และเกณฑ์การประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และวิเคราะห์เชิงปริมาณ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษ ได้ตัวบ่งชี้ จำนวน 34 ตัวบ่งชี้ ภายใต้การประเมิน 5 ด้าน 14 องค์ประกอบ และ 2) คุณภาพของตัวบ่งชี้และเกณฑ์ในการประเมินโครงการจัดการเรียนการสอนด้วยภาษาอังกฤษโดยภาพรวมผ่านการตรวจสอบของผู้เชี่ยวชาญในระดับดี


การพัฒนาคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณัฐพล สิทธิกุล Jan 2017

การพัฒนาคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณัฐพล สิทธิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายขั้นตอนในการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ ระยะที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ 2 จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 600 คน เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบการรู้เคมีฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบฯ และแบบสอบการรู้เคมีฯ ทำการวิเคราะห์ความตรงเชิงเนื้อหา ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ความเที่ยงของแบบสอบ และความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลการวัดการรู้เคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) โดยใช้โปรแกรม SPSS โปรแกรม TAP และโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของคุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย คุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบและแบบสอบการรู้เคมีฯ ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย บทนำ คำชี้แจงในการใช้งาน วัตถุประสงค์ของการสอบ มโนทัศน์เกี่ยวกับการรู้เคมี องค์ประกอบการรู้เคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย หลักการสร้าง โครงสร้างของแบบสอบการรู้เคมี คุณลักษณะเฉพาะของข้อสอบการรู้เคมีฯ ตัวอย่างแบบสอบการรู้เคมีฯ และการแปลความหมายของคะแนน โดยมีผลการประเมินคุณภาพในด้านความถูกต้องในระดับมากที่สุด ด้านความเหมาะสมในระดับมาก ด้านความเป็นไปได้ในระดับมาก และผลการประเมินคุณภาพในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (Mean=4.44, SD=0.26) 2. แบบสอบการรู้เคมีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มีรูปแบบข้อสอบเป็นแบบเลือกตอบชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ ครอบคลุมไปด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านความรู้ทางเคมี, ด้านบริบททางเคมี, ด้านทักษะการเรียนรู้ขั้นสูง และด้านเจตคติต่อเคมี โดยแบบสอบการรู้เคมีฯ มีความยากง่ายที่พอเหมาะ (มีค่าระหว่าง 0.292 - 0.790) สามารถจำแนกกลุ่มผู้สอบได้ดี (มีค่าตั้งแต่ 0.218 – 0.519) มีคุณภาพทั้งด้านความตรงเชิงเนื้อหา …


การพัฒนาระบบการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เรียนที่มีระดับความสามารถแตกต่างกัน: การประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบต่อเนื่องของราสซ์, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ Jan 2017

การพัฒนาระบบการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์สำหรับผู้เรียนที่มีระดับความสามารถแตกต่างกัน: การประยุกต์ใช้โมเดลการตอบสนองข้อสอบแบบต่อเนื่องของราสซ์, จุฑาภรณ์ มาสันเทียะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาระบบการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ (2) ศึกษาผลการใช้ระบบการทดสอบมีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ระหว่างผู้เรียนที่มีระดับความสามารถและได้รับข้อมูลย้อนกลับแตกต่างกัน (3) ประเมินคุณภาพระบบการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ และ (4) ปรับปรุงระบบการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ จากโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร จำนวน 7 โรงเรียน จำนวน 728 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบทดสอบและแบบประเมินซึ่งเป็นปัจจัยนำเข้าของระบบการทดสอบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ 1) สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง 2 กลุ่มแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบสองทาง โดยผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการออกแบบและพัฒนาของระบบการทดสอบประกอบด้วย (1) ด้านปัจจัยนำเข้า ประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ก่อนและหลังการทดสอบฯ 2) แบบประเมินตนเองด้านความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ก่อนและหลังการทดสอบฯ และ 3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันที (2) ด้านกระบวนการ ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้ 1) กระบวนการลงทะเบียน 2) กระบวนการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ 3) กระบวนการประมวลผลการตอบ และ (3) ด้านผลลัพธ์ ประกอบด้วย 1) คะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ก่อนการทดสอบฯ 2) คะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์หลังการทดสอบฯ 3) คะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาเมื่อได้รับข้อมูลย้อนกลับทันที 4) คะแนนการประเมินตนเองด้านความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์ก่อนการทดสอบฯ และ 5) คะแนนการประเมินตนเองด้านความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางด้านพันธุศาสตร์หลังการทดสอบฯ 2. ผลการใช้ระบบการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ภายหลังจากการปรับปรุงระบบฯพบว่า ผู้เรียนทุกระดับความสามารถมีความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาหลังการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีสูงกว่าก่อนการทดสอบที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้เรียนที่มีระดับความสามารถต่ำมีความสามารถในการแก้โจทย์ฯเมื่อได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบางส่วนโดยใช้การชี้แนะ (PDF) สูงกว่ารูปแบบอื่น ขณะที่ผู้เรียนกลุ่มปานกลางมีความสามารถในการแก้โจทย์ฯเมื่อได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบางส่วนโดยใช้การชี้แนะ (PDF) และแบบบอกผลการตอบ (KORF) สูงกว่าแบบสมบูรณ์โดยใช้การยกตัวอย่าง (FWF) และผู้เรียนกลุ่มสูงมีความสามารถในการแก้โจทย์ฯเมื่อได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกผลการตอบ (KORF) สูงกว่าแบบสมบูรณ์โดยใช้การยกตัวอย่าง (FWF) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ …


การเปรียบเทียบคุณภาพของวิธีการตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วน: การพัฒนาวิธีประยุกต์การให้คะแนนแบบตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก, ณัฐภรณ์ เลขะวัฒนพงษ์ Jan 2017

การเปรียบเทียบคุณภาพของวิธีการตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วน: การพัฒนาวิธีประยุกต์การให้คะแนนแบบตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก, ณัฐภรณ์ เลขะวัฒนพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วนวิธีประยุกต์การให้คะแนนแบบตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก และเปรียบเทียบความยาก อำนาจจำแนกของข้อสอบ ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบสอบ ความเที่ยงของแบบสอบ ฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบ และความแม่นยำในการประมาณค่าความสามารถของผู้สอบที่ได้จากวิธีประยุกต์คูมบ์ วิธีตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก และวิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกและ 5 ตัวเลือก ตัวอย่างวิจัยเป็นนักเรียนชั้น ม.4 จำนวน 1,251 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง พันธะโคเวเลนต์ เป็นแบบสอบหลายตัวเลือก (multiple choice) จำนวน 40 ข้อ แบ่งเป็นข้อสอบ 4 ตัวเลือกและ 5 ตัวเลือกอย่างละ 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลความยาก อำนาจจำแนกของข้อสอบ และฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบโดยใช้โปรแกรม IRTPRO 4 Student วิเคราะห์ความตรงเชิงโครงสร้างโดยใช้โปรแกรม Mplus วิเคราะห์ความเที่ยงและโดยใช้โปรแกรม SPSS และเปรียบเทียบความแตกต่างของความเที่ยงโดยใช้ Feldt test ผลการวิจัย พบว่า 1)วิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วนที่ต่างกันส่งผลให้ความยากของข้อสอบแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวิธีประยุกต์ของคูมบ์มีค่าความยากสูงสุด รองลงมา คือ วิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูกและวิธีตัดตัวลวง-เลือกตัวถูกมีค่าความยากต่ำสุด นอกจากนี้ วิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วนและจำนวนตัวเลือกที่ต่างกันส่งผลต่ออำนาจจำแนกของข้อสอบแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวิธีประยุกต์คูมบ์มีค่าอำนาจจำแนกสูงสุด ส่วนวิธีตัดตัวลวง-เลือกตัวถูกและวิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัวถูกมีความยากไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)วิธีประยุกต์คูมบ์และวิธีประยุกต์ตัดตัวลวง-เลือกตัว เมื่อข้อสอบมี 4 และ 5 ตัวเลือก มีความตรงเชิงโครงสร้าง ส่วนวิธีตัดตัวลวง-เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 5 ตัวเลือกมีความตรงเชิงโครงสร้างแต่ 4 ตัวเลือกไม่มีความตรงเชิงโครงสร้าง 3) ความเที่ยงของทั้ง 3 วิธี เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกและ 5 ตัวเลือก ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยวิธีประยุกต์ตัดตัวลวง–เลือกตัวถูก เมื่อข้อสอบมี 4 ตัวเลือกมีค่าความเที่ยงสูงที่สุด …


การพัฒนาโมเดลวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : การประยุกต์ใช้โมเดลฟิวชัน, ธนิยา เยาดำ Jan 2017

การพัฒนาโมเดลวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : การประยุกต์ใช้โมเดลฟิวชัน, ธนิยา เยาดำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) วินิจฉัยความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โมเดลฟิวชัน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย (1) ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน เพื่อพัฒนาทักษะความเข้าใจในการอ่าน (2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 818 คน เพื่อวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่าน เครื่องมือมี 3 ฉบับ คือ แบบสอบถาม 2 ฉบับ สำหรับผู้เชี่ยวชาญเป็นสอบถามเกี่ยวกับทักษะความเข้าใจในการอ่าน โดยชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามปลายปิด และแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย 1 ฉบับ สำหรับนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ทักษะความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย หาฉันทามติด้วยค่ามัธยฐาน ผลต่างของมัธยฐานกับฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์ วิเคราะห์โมเดลวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่านโดยใช้โมเดลฟิวชัน ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยมี 7 ทักษะ ดังนี้ 1) การบอกความหมายของคำศัพท์โดยไม่อาศัยบริบท 2) การบอกความหมายของคำศัพท์โดยอาศัยบริบท 3) การจับใจความรองโดยไม่อาศัยบริบท 4) การจับใจความรองโดยอาศัยบริบท 5) การจับใจความหลักโดยไม่อาศัยบริบท 6) การจับใจความหลักโดยอาศัยบริบท และ 7) การตีความ ทักษะความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย 7 ทักษะ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเป็นฉันทามติในระดับมากที่สุด (Md=5.00, |Md-Mo|=0, IR=0) แบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ครอบคลุมทั้ง 7 ทักษะ มีจำนวนข้อสอบ 23 ข้อ เป็นแบบทดสอบแบบอิงสถานการณ์ รูปแบบข้อสอบเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก คุณภาพของข้อสอบจากการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม MULTILOG มีค่าความยากง่าย (b) …


การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, พัชรินทร์ หยกพิทักษ์โชค Jan 2017

การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, พัชรินทร์ หยกพิทักษ์โชค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาลักษณะเฉพาะและตรวจสอบคุณภาพของลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต และ 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ตามลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบ่งขั้นตอนการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดการพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต และ ระยะที่ 2 การพัฒนาแบบวัดฯ ตามลักษณะเฉพาะของแบบวัดที่ได้สร้างขึ้น ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นิสิตระดับปริญญาบัณฑิต สังกัดมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑล มาจากการเลือกแบบเจาะจง จึงได้ตัวอย่างจำนวน 301 คน เพื่อเก็บข้อมูลจากแบบวัดฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินลักษณะเฉพาะฯ และ แบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีฯที่พัฒนาขึ้นจากลักษณะเฉพาะฯ ซึ่งมีรูปแบบข้อคำถามเป็นแบบผสม ประกอบด้วยข้อคำถามแบบปรนัยหลายตัวเลือก อัตนัยตอบสั้น และ การมอบหมายภาระงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและตรวจสอบคุณภาพรายข้ออำนาจจำแนกโดยการพิจารณาการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (T-Test independent) ด้วยโปรแกรม SPSS ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยโปรแกรม Mplus ตรวจสอบค่าความเที่ยงโดยพิจารณาค่าความสอดคล้องภายในด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดฯตามลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบของลักษณะเฉพาะได้แก่ บทนำ คำอธิบายทั่วไปในการใช้ลักษณะเฉพาะ วัตถุประสงค์ของการสอบ เนื้อหาสาระและทักษะที่ต้องการวัด โครงสร้างแบบวัด รูปแบบของแบบวัด ลักษณะเฉพาะของข้อคำถาม ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาข้อคำถาม เกณฑ์การประเมิน ตัวอย่างข้อคำถาม ในภาพรวมมีผลการตรวจสอบคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25 2) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะฯที่พัฒนาขึ้นจากลักษณะเฉพาะโดยการตรวจสอบคุณภาพความตรงเชิงเนื้อหาจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Chi-square = 152.429, df= 128, P=0.069, CFI= 0.958, TLI= 0.956, RMSEA = 0.025, SRMR=0.046) การตรวจสอบความเที่ยงของแบบวัดทักษะฯมีค่าความเที่ยงในระดับสูง (α=0.77) และการพิจารณาการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (T-Test independent) พบว่า ผลการทดสอบวัดระดับทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่ …


ความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบในการประเมินระดับชาติ กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: การประยุกต์ใช้โมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช และทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด, บุษยารัตน์ จันทร์ประเสริฐ Jan 2017

ความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างข้อสอบในการประเมินระดับชาติ กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์: การประยุกต์ใช้โมเดลหลายองค์ประกอบของราส์ช และทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด, บุษยารัตน์ จันทร์ประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ตรวจสอบอิทธิพลของผู้ประเมิน ในการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัด กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เปรียบเทียบผลการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัด กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน ก่อนและหลังควบคุมอิทธิพลการกดหรือปล่อยคะแนน 3) ศึกษาและเปรียบเทียบผลการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันตามแนวคิดของ Porter ระหว่างข้อสอบในการประเมินระดับชาติ กับข้อสอบในประเมินระดับชั้นเรียน ของโรงเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางวิทยาศาสตร์แตกต่างกัน และ 4) ประมาณค่าและเปรียบเทียบค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงของผลการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัด กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน เมื่อจำนวนผู้ประเมินและรูปแบบการออกแบบการประเมินต่างกัน ตัวอย่างในการศึกษา ประกอบด้วย ข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,089 ข้อ และผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกัน จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัด กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยประยุกต์ใช้ MFRM การทดสอบสถิติที (paired-samples t-test) การวิเคราะห์ค่าดัชนีความสอดคล้อง (alignment index) และการใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของผลการวัด ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เกิดอิทธิพลการกดหรือปล่อยคะแนนของผู้ประเมินในการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัด กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน โดยผู้ประเมินมีแนวโน้มที่จะมีลักษณะของการกดคะแนนมากกว่าปล่อยคะแนน (คะแนนโลจิทอยู่ระหว่าง -3.24 ถึง 1.83) ผู้ประเมินส่วนใหญ่แสดงรูปแบบของความแม่นยำในการให้คะแนน จำนวน 16 คน คิดเป็นร้อยละ 80.00 ไม่มีผู้ประเมินที่แสดงอิทธิพลแนวโน้มการให้คะแนนค่ากลาง อิทธิพลการจำกัดช่วง และอิทธิพลของความไม่มีแบบแผน และมีผู้ประเมิน จำนวน 4 คนที่แสดงรูปแบบอื่นๆ คิดเป็นร้อยละ 20.00 2. ผลการประเมินความสอดคล้องในแนวเดียวกันระหว่างมาตรฐานและตัวชี้วัด กับข้อสอบในการประเมินระดับชั้นเรียน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระหว่างก่อนและหลังควบคุมอิทธิพลการกดหรือปล่อยคะแนน (t = 17.044, p = .00) และเมื่อมีการควบคุมอิทธิพลการกดหรือปล่อยคะแนน มีข้อสอบจำนวน 21 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 1.93 ที่มีการเปลี่ยนแปลงผลการประเมิน และมีข้อสอบที่มีความสอดคล้องกับมาตรฐานและตัวชี้วัด และสอดคล้องกับโมเดล จำนวน 902 ข้อ คิดเป็นร้อยละ 82.33 (Fair-M Average อยู่ระหว่าง …


การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการปรับเทียบคะแนนสังเกตได้ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ สำหรับแบบสอบรูปแบบผสม ภายใต้ผู้สอบกลุ่มไม่เท่าเทียมกันโดยใช้ข้อสอบร่วม, พนิดา พานิชวัฒนะ Jan 2017

การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการปรับเทียบคะแนนสังเกตได้ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ สำหรับแบบสอบรูปแบบผสม ภายใต้ผู้สอบกลุ่มไม่เท่าเทียมกันโดยใช้ข้อสอบร่วม, พนิดา พานิชวัฒนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของกระบวนการปรับเทียบคะแนนสังเกตได้ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติเต็มรูป (MOSE) 2 แบบ ได้แก่ กระบวนการ MOSE ที่ประมาณค่าพารามิเตอร์พร้อมกัน (CMOSE) และกระบวนการ MOSE ที่ประมาณค่าพารามิเตอร์แยกกันและใช้การเชื่อมโยงสเกลด้วยวิธี TCF (SMOSE) ด้วยการจำลองแบบมอนติคาร์โล สำหรับแบบสอบรูปแบบผสม ภายใต้รูปแบบผู้สอบกลุ่มไม่เท่าเทียมกันโดยใช้ข้อสอบร่วม (NEAT) เมื่อโครงสร้างมิติความสามารถ สัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วม และอัตราส่วนคะแนนข้อสอบร่วมที่ตรวจให้คะแนนสองค่า แตกต่างกัน ประสิทธิภาพของกระบวนการปรับเทียบคะแนนวัดจากตัวบ่งชี้ 3 ตัว ได้แก่ ค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสอง (RMSE) ค่าความลำเอียงสัมพัทธ์ (RB) และสัมประสิทธิ์การแปรผันของค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (CVSE) ผลการวิจัยด้านประสิทธิภาพโดยรวม (RMSE) พบว่า มีปฏิสัมพันธ์อิทธิพลของสัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วมกับอัตราส่วนคะแนนข้อสอบร่วมที่ตรวจให้คะแนนสองค่าต่อค่า RMSE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวิเคราะห์อิทธิพลอย่างง่ายในเงื่อนไขสัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วม (1) กรณีอัตราส่วนฯ คือ 60:40 และ 50:50 พบว่า กระบวนการ MOSE มีประสิทธิภาพโดยรวมมากขึ้น เมื่อสัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) กรณีอัตราส่วนฯ คือ 70:30 และ 40:60 พบว่า ประสิทธิภาพโดยรวมมากที่สุด เมื่อสัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วม คือ 20%, 30% และ 10% ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์อิทธิพลอย่างง่ายในเงื่อนไขอัตราส่วนคะแนนข้อสอบร่วมที่ตรวจให้คะแนนสองค่า พบว่า (1) สัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วม 30% พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวมมากที่สุด เมื่ออัตราส่วนฯ คือ 60:40, 50:50, 40:60 และ 70:30 ตามลำดับ (2) สัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วม 20% พบว่า มีประสิทธิภาพโดยรวมมากที่สุด เมื่ออัตราส่วนฯ คือ 40:60, 70:30, 50:50 และ 60:40 ตามลำดับ และ (3) สัดส่วนคะแนนข้อสอบร่วม คือ …


การพัฒนาการทดสอบแบบปรับเหมาะแบบหลายขั้นตอนด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อวัดสมรรถนะความรู้วิชาชีพพหุมิติของครูช่างอุตสาหกรรม, สุกัญญา บุญศรี Jan 2017

การพัฒนาการทดสอบแบบปรับเหมาะแบบหลายขั้นตอนด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อวัดสมรรถนะความรู้วิชาชีพพหุมิติของครูช่างอุตสาหกรรม, สุกัญญา บุญศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโมเดลสมรรถนะความรู้วิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม 2) เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพของชุดแบบวัดย่อยสมรรถนะความรู้วิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมแบบพหุมิติ 3) เพื่อพัฒนาคลังข้อสอบสำหรับวัดสมรรถนะความรู้วิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมแบบพหุมิติ 4) เพื่อพัฒนาการทดสอบแบบปรับเหมาะพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์แบบหลายขั้นตอน สำหรับวัดสมรรถนะความรู้วิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรม และ 5) เพื่อตรวจสอบประสิทธิภาพของโปรแกรมการทดสอบแบบปรับเหมาะพหุมิติด้วยคอมพิวเตอร์แบบหลายขั้นตอน การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 พัฒนาโมเดล ระยะที่ 2 สร้างและตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบ ระยะที่ 3 พัฒนาคลังข้อสอบ และระยะที่ 4 พัฒนาโปรแกรมการทดสอบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาคุณภาพข้อสอบ และกลุ่มตัวอย่างทดลองใช้โปรแกรม ซึ่งเป็นนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม ชั้นปีที่ 4 จำนวน 936 คน และ 130 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยแบบวัดสมรรถนะความรู้วิชาชีพพหุมิติของครูช่างอุตสาหกรรม และแบบประเมินความพึงพอใจต่อโปรแกรมการทดสอบ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน ตรวจสอบคุณภาพของข้อสอบรายข้อด้วยค่า OUTFIT MNSQ และ INFIT MNSQ และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลด้วยค่า G2 และ ค่า AIC ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1.ผลการพัฒนาโมเดล พบว่า โมเดลสมรรถนะความรู้วิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมของนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม ประกอบด้วย 2 มิติ ได้แก่มิติความรู้วิชาชีพครู และมิติความรู้วิชาชีพช่างพื้นฐานอุตสาหกรรม ซึ่งมิติความรู้วิชาชีพครูประกอบด้วย 7 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ความเป็นครูคุณธรรมจริยธรรม และจรรยาบรรณ 2) ปรัชญาการศึกษา ภาษาและวัฒนธรรม 3) จิตวิทยาสำหรับครู 4) หลักสูตร การจัดการเรียนรู้ และการจัดการชั้นเรียน 5) การวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ 6) นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา และ 7) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และการประกันคุณภาพการศึกษา ส่วนมิติความรู้วิชาชีพพื้นฐานช่างอุตสาหกรรม …


การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง, วรวรรณ สังสัพพันธ์ Jan 2017

การพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน: การประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง, วรวรรณ สังสัพพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการประเมินคุณภาพภายในและการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายในพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) พัฒนาระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง 3) ทดลองใช้และประเมินคุณภาพของระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโดยการประยุกต์ใช้การประเมินแบบเสริมพลัง ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จำนวน 55 คน รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศก์ จำนวน 5 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการประเมินและการประกันคุณภาพการศึกษาสำหรับการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนาทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความต้องการจำเป็น แนวคำถามในการสนทนากลุ่ม แบบประเมินคุณภาพของระบบ แบบประเมินคุณภาพของหลักสูตรอบรม แบบทดสอบความรู้และมโนทัศน์ในการประเมิน และแบบสำรวจรายการพฤติกรรมตามหลักการประเมินแบบเสริมพลัง วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบทีและใช้เทคนิค PNImodified ในการจัดอันดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพการประเมินคุณภาพภายในและใช้ผลการประเมิน พบว่าการประเมินคุณภาพภายในเป็นหน้าที่หลักของผู้บริหารสถานศึกษาและครูวิชาการหรือครูผู้รับผิดชอบหลักงานประกันคุณภาพภายใน โดยมีคำสั่งแต่งตั้งผู้รับผิดชอบเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล และจัดทำรายงานประเมินตนเอง (SAR) ทุกปี สถานศึกษามุ่งเน้นใช้ผลการประเมินมาตรฐานที่ 1 ประเด็นพิจารณาพัฒนาการจากผลการสอบระดับชาติ และมีความต้องการจำเป็นที่จะพัฒนาเรื่องการจัดทำรายงานการประเมินคุณภาพภายในที่อำนวยความสะดวกในการใช้ผลและการสร้างความเข้าใจความตระหนักในการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายใน สภาพปัญหาที่สำคัญ คือ การประเมินคุณภาพภายในต้องใช้เวลามากเนื่องจากผู้เกี่ยวข้องให้ข้อมูลล่าช้า 2. ระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษามีองค์ประกอบที่สัมพันธ์กันคือ วัตถุประสงค์ หลักการ การดำเนินการประเมินแบบเสริมพลังโดยทีมนิเทศ และกลไกการทำงานของระบบ ซึ่งประกอบด้วย 1) ปัจจัยนำเข้า 2) กระบวนการ 3) ผลผลิต และ 4) ข้อมูลป้อนกลับ และผลการตรวจสอบคุณภาพของระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ระบบการประเมินคุณภาพภายในมีคุณภาพด้านความมีประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสมในระดับมาก ส่วนด้านความถูกต้องอยู่ในระดับมากที่สุด 3. ผลการทดลองใช้ระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาและครูมีความรู้ในการประเมินหลังการอบรมสัมมนาสูงกว่าก่อนอบรม มีมโนทัศน์สูงกว่าคะแนนเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีความพึงพอใจในการอบรมอยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรม 10 หลักการตามแนวทางการประเมินแบบเสริมพลังสูงขึ้น และผลการปฏิบัติการใช้ผลการประเมินคุณภาพภายในอยู่ในระดับมาก และสถานศึกษามีผลการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานอยู่ในระดับดีเยี่ยม มีบางประเด็นพิจารณาอยู่ในระดับดี 4. ผลการประเมินคุณภาพของระบบการประเมินคุณภาพภายในที่เน้นการนำผลการประเมินไปใช้พัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยผู้ทดลองใช้ระบบดังนี้ โดยทีมนิเทศ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนขนาดกลาง และขนาดใหญ่ แสดงให้เห็นว่า ระบบมีคุณภาพด้านความมีประโยชน์ ด้านความเป็นไปได้ ด้านความเหมาะสม และด้านความถูกต้อง อยู่ในระดับมากที่สุด และโดยผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนขนาดเล็ก …


การพัฒนาระบบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมีโดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสามระดับร่วมกับการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, สุรเดช อนันตสวัสดิ์ Jan 2017

การพัฒนาระบบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมีโดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสามระดับร่วมกับการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับด้วยคอมพิวเตอร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, สุรเดช อนันตสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมีเรื่องพันธะเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยสามระดับในวิชาเคมี 3) พัฒนาระบบวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาเคมีโดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสามระดับร่วมกับการสะท้อนข้อมูลย้อนกลับด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 4) ตรวจสอบคุณภาพระบบฯ โดยแบ่งการดำเนินงานของเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน ระยะที่ 2 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพระบบฯ ระยะที่ 3 การทดลองใช้และประเมินความพึงพอใจระบบฯ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 200 คน สำหรับใช้ในการทดลองระบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสัมภาษณ์ แบบสอบวินิจฉัยสองระดับ แบบสอบวินิจฉัยสามระดับ ระบบวินิจฉัย แบบประเมินคุณภาพระบบฯ และแบบประเมินความพึงพอใจต่อระบบฯ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความยาก อำนาจจำแนก ตามทฤษฎีแบบดั้งเดิมและตามทฤษฎีแนวใหม่(IRT) การวิเคราะห์ความเที่ยง และความตรงตามเกณฑ์สัมพันธ์โดยใช้สถิติแคปปา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน พบว่า นักเรียนมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเรื่องพันธะเคมี จำนวน 40 มโนทัศน์ มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนมากที่สุดคือ สมการไอออนิกสุทธิเขียนได้เฉพาะเมื่อผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเป็นตะกอนเท่านั้น 2. ผลการพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ พบว่า แบบสอบวินิจฉัยสามระดับที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพผ่านเกณฑ์ตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) และตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) สามารถคัดเลือกเข้าสู่ระบบวินิจฉัยได้จำนวน 80 ข้อ จากแบบสอบวินิจฉัยจำนวน 90 ข้อ 3. ผลการพัฒนาระบบฯ พบว่า การออกแบบระบบฯ มีขั้นตอนทั้งสิ้น 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การออกแบบระบบการลงทะเบียน 2) การออกแบบลำดับของการแสดงข้อสอบและข้อมูลย้อนกลับ 3)การออกแบบหน้าจอของระบบ 4) การออกแบบรายงานผลการทดสอบ 5) การออกแบบคู่มือการใช้ระบบ และการทำงานของระบบมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การลงทะเบียนเข้าสู่ระบบทดสอบ 2) การดำเนินการทดสอบและ 3) การรายงานผลการทดสอบ 4. ผลการตรวจสอบคุณภาพระบบฯก่อนใช้งานจริง พบว่า …


การเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของข้อสอบและแบบสอบที่ได้จากการคัดเลือกข้อสอบโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกัน: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรมแบบมีรูปแบบ, อนุพงษ์ กันธิวงค์ Jan 2017

การเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของข้อสอบและแบบสอบที่ได้จากการคัดเลือกข้อสอบโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกัน: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรมแบบมีรูปแบบ, อนุพงษ์ กันธิวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบของผู้เชี่ยวชาญ 2) เพื่อเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของแบบสอบที่ได้จากการคัดเลือกโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกันและ3) เพื่อเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของข้อสอบที่ได้จากการคัดเลือกโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกัน ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สอนนักศึกษาแพทย์วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าจากการเลือกแบบเจาะจง 100 คน โดยจัดกลุ่มเพื่อคัดเลือกข้อสอบสำหรับสร้างแบบสอบคู่ขนานตามระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบและข้อสอบสำหรับคัดเลือกเพื่อสร้างแบบสอบคู่ขนานสำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สอนน้อยกว่า 10 ปี ส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบในช่วง 0.40-0.59, 0.60-0.79 และ 0.80-1.00 ตามลำดับ แตกต่างจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สอนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปที่ 0.60-0.79, 0.40-0.59 และ 0.80-1.00 ตามลำดับ 2) แบบสอบคู่ขนานที่สร้างขึ้นจากการคัดเลือกข้อสอบโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบระดับ 0.80-1.00 และมีประสบการณ์สอนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปมีความเป็นคู่ขนานของแบบสอบสูงกว่ากลุ่มที่อยู่ในระดับต่ำกว่า (RMSD = 0.283 [MSG = 0.020] และ MRD = 0.042 [MRIG = 0.003]) และ3) ในทุกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของการตรวจสอบความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบเป็นโดยอาศัยทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรมแบบมีรูปแบบมีค่าเฉลี่ยของ RMSD ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (F=0.582, p=0.755)


การประยุกต์ใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้และการวิจัยอิงการออกแบบเพื่อพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือของครู, ธนาภา งิ้วทอง Jan 2017

การประยุกต์ใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้และการวิจัยอิงการออกแบบเพื่อพัฒนาต้นแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือของครู, ธนาภา งิ้วทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เป็นที่รับรู้ว่าการวิจัยแบบร่วมมือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิผลในการส่งเสริมการทำงานร่วมกันของครูเพื่อแก้ไขปัญหาของผู้เรียน รวมทั้งยังช่วยพัฒนาคุณลักษณะของครูผู้ทำวิจัยอีกด้วย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ประสบการณ์ของครูและความต้องการจำเป็นในการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือของครูโดยใช้การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ (2) พัฒนาหลักการออกแบบและต้นแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือของครูโดยใช้ผลการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้และการวิจัยอิงการออกแบบ และ (3) สำรวจผลการใช้ต้นแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือของครูที่มีต่อการเรียนรู้และเจตคติต่อการวิจัยแบบร่วมมือโดยการใช้การสำรวจกับตัวอย่างวิจัยที่เป็นครูในโรงเรียนในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 442 คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการสุ่มหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์คอนจอยท์ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. จากมิติของประสบการณ์ผู้ใช้ (ครู) ด้านการทำวิจัยแบบร่วมมือ 5 ด้าน ได้แก่ บทบาท อารมณ์ การรับรู้ เจตคติ และพฤติกรรม พบว่ามิติด้านอารมณ์และการรับรู้เป็นมิติสำคัญที่สะท้อนประสบการณ์ของครูในการทำวิจัยแบบร่วมมือของครู และครูมีความต้องการการส่งเสริมจากโรงเรียนด้านการสนับสนุนจากโรงเรียน การมีพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา และวิธีการทำงานของครู 2. ผลการวิจัยเอกสารและการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้นำไปสู่การพัฒนาหลักการออกแบบซึ่งมีคุณลักษณะสำคัญ 3 ด้าน แต่ละด้านมีทางเลือกสำหรับใช้ในการออกแบบต้นแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือ ได้แก่ "การสร้างทีมในการทำวิจัย" (การรวมตัวแบบสมัครใจหรือแบบบังคับ) ด้านที่สอง "ประเภทของบุคคลที่เป็น พี่เลี้ยงในการทำวิจัย" (ผู้บริหาร เพื่อนครู หรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก) และด้านที่สาม "วิธีการทำงานของครู" (การทำงานตามข้อตกลงร่วมกันหรือไม่มีข้อตกลง) ส่วนผสมของคุณลักษณะที่กำหนดในหลักการออกแบบทำให้ได้ต้นแบบฯ ทั้งหมด 12 ต้นแบบที่มีลักษณะต่างกัน 3. จากต้นแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านการวิจัยแบบร่วมมือจำนวน 12 ต้นแบบ ต้นแบบที่ครูพึงพอใจมากที่สุดเป็นอันดับแรก (ประมาณร้อยละ 19) ได้แก่ ต้นแบบที่มีส่วนผสมของวิธีการสร้างทีมโดยการรวมตัวของครูแบบสมัครใจ และไม่มีข้อตกลงในการทำงานภายใต้พี่เลี้ยงที่เป็นเพื่อนครูในโรงเรียน แต่ต้นแบบที่มีประสิทธิผลต่อการเรียนรู้และ เจตคติต่อการวิจัยแบบร่วมมือสูงกว่าต้นแบบอื่น คือ การรวมตัวแบบบังคับให้ทำวิจัยแบบร่วมมือตามนโยบายของโรงเรียน และมีข้อตกลงร่วมกันในการทำงานภายใต้เพื่อนครูหรือผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกเป็นพี่เลี้ยง


การพัฒนาเครื่องมือวัดและส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนเพื่อสุขภาวะและความยึดมั่นผูกพันกับงานของครู: การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้, วัชรศักดิ์ สุดหล้า Jan 2017

การพัฒนาเครื่องมือวัดและส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนเพื่อสุขภาวะและความยึดมั่นผูกพันกับงานของครู: การวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้, วัชรศักดิ์ สุดหล้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บรรยากาศโรงเรียนทางบวกเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ต้องส่งเสริมให้กับทุกสมาชิกในโรงเรียน การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดบรรยากาศโรงเรียน โดยใช้การศึกษาเอกสารและการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้ 2) เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างบรรยากาศโรงเรียน สุขภาวะและความยึดมั่นผูกพันกับงานของครู โดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และ 3) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความเหมาะสมของเครื่องมือส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนในมุมมองของผู้ใช้ การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะแรกเป็นการศึกษาเอกสารและการวิจัยประสบการณ์ผู้ใช้เพื่อนำข้อมูลมาพัฒนาเครื่องมือวัดบรรยากาศโรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลเป็นครู นักเรียนและผู้บริหาร จำนวน 18 คน ระยะที่ 2 การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุจากตัวอย่างวิจัยที่เป็นครูในโรงเรียนจำนวน 301 คน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลซึ่งใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน และระยะที่ 3 การพัฒนาเครื่องมือส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนและตรวจสอบความเหมาะสมของเครื่องมือจากมุมมองของผู้ใช้ซึ่งเป็นผู้บริหาร ผลการวิจัยมีดังต่อไปนี้ 1. โมเดลการวัดบรรยากาศโรงเรียนประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ความปลอดภัย วิชาการ ประชาคมโรงเรียน และสภาพแวดล้อมของสถาบัน เครื่องมือวัดบรรยากาศโรงเรียนเป็นแบบสอบถามมาตรประเมินค่า 5 ระดับ มีความตรงเชิงเนื้อหาจากการประเมินของผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าความเที่ยงระหว่าง .679 - .905 และมีความตรงเชิงโครงสร้างจากผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลการวัดบรรยากาศโรงเรียนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์(35, N=220) = 46.519, p = .092, CFI = .990, TLI = .984, RMSEA = .039, SRMR = .053) 2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (ไค-สแควร์(29, N=301) = 39.958, p = .085, CFI = .991, TLI = .986, RMSEA = .035, SRMR = .027) โดยบรรยากาศโรงเรียนมีอิทธิพลทางบวกต่อสุขภาวะและความยึดมั่นผูกพันกับงานของครู และสุขภาวะมีอิทธิพลทางบวกต่อความยึดมั่นผูกพันกับงานของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ บรรยากาศโรงเรียนยังมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความยึดมั่นผูกพันกับงานผ่านสุขภาวะของครู 3. เครื่องมือส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนเป็นชุดเครื่องมือประกอบด้วย แบบประเมินบรรยากาศโรงเรียนสำหรับครู แบบประเมินการส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนสำหรับผู้บริหาร และคู่มือการส่งเสริมบรรยากาศโรงเรียนซึ่งมีเนื้อหาสาระ 3 …


ผลของรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบผสมที่แตกต่างกันด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีต่อพัฒนาการความสามารถด้านคำนวณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, สุวรัตน์ ทองพันชั่ง Jan 2017

ผลของรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบผสมที่แตกต่างกันด้วยคอมพิวเตอร์ที่มีต่อพัฒนาการความสามารถด้านคำนวณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, สุวรัตน์ ทองพันชั่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการความสามารถด้านคำนวณของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในแต่ละระดับความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ ที่ได้รับรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบผสมที่แตกต่างกัน (2) เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบผสมและระดับความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ของผู้เรียนที่มีต่อพัฒนาการความสามารถด้านคำนวณของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 154 คน แบ่งเป็นผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ระดับสูง ปานกลาง และต่ำ โดยผู้เรียนในแต่ละความสามารถจะได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบผสม 4 รูปแบบ (ข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและอธิบายรายละเอียดโดยการโต้ตอบ, ข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและให้การชี้แนะโดยการโต้ตอบ, ข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้อง ให้การชี้แนะ และอธิบายรายละเอียด และข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้อง) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) แบบทดสอบความสามารถด้านคำนวณก่อนเรียนและหลังเรียน (2) แบบฝึกทักษะเรื่องความสามารถด้านคำนวณผ่านโปรแกรมคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบสองทาง การวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์โดยใช้การสร้างข้อสรุปเชิงอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับสูงที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและอธิบายรายละเอียดด้วยการโต้ตอบมีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการความสามารถด้านคำนวณสูงกว่าผู้เรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและอธิบายรายละเอียดด้วยการโต้ตอบ, ข้อมูลย้อนกลับแบบแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและให้การชี้แนะด้วยการโต้ตอบ และข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์ในระดับปานกลางและต่ำที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องให้การชี้แนะ และอธิบายรายละเอียด มีค่าเฉลี่ยคะแนนพัฒนาการความสามารถด้านคำนวณสูงกว่าผู้เรียนที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและอธิบายรายละเอียดด้วยการโต้ตอบ, ข้อมูลย้อนกลับแบบแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องและให้การชี้แนะด้วยการโต้ตอบ และข้อมูลย้อนกลับแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความสามารถทางการเรียนคณิตศาสตร์กับรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับแบบผสมต่อพัฒนาการความสามารถด้านคำนวณอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01