Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Administration and Supervision

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2017

Articles 1 - 28 of 28

Full-Text Articles in Education

แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, กมลพร อ่วมเพ็ง Jan 2017

แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ, กมลพร อ่วมเพ็ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ 2) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครู 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาครู ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล ภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 178 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑลมีจำนวนทั้งสิ้น 123 โรงเรียนผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 102 คน และครูจำนวน 249 คน รวมทั้งสิ้น 351 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวนทั้งสิ้น 2 ชุด คือ แบบสอบถามาตรประมาณค่า และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑล สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก กลุ่มจังหวัดภาคกลางปริมณฑลตามแนวคิดการเรียนรู้จากการปฏิบัติ และการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมากที่สุดตามลำดับ (สภาพปัจจุบัน = 4.015, SD = 0.749 สภาพที่พึงประสงค์ = 4.602, SD = 0.583) 2) ลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาครูที่สูงสุดคือ การประเมินผลการพัฒนาครู (PNImodified = 0.146) 3) แนวทางการพัฒนาครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ประกอบด้วย 5 แนวทางดังนี้ 1) พัฒนาครูเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียนโดยเน้นผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดวิจารณญาณ อภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและแก้ปัญหาของผู้เรียน 2) พัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถของครูในกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติโดยเน้นการสะท้อนคิดเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 3) พัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างความสามารถของครูในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยเน้นการจัดประสบการณ์ตรงให้แก่ผู้เรียนเกี่ยวกับการยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการของผู้เรียน 4) ปรับปรุงการประเมินผลการพัฒนาครูโดยเน้นการประเมินผล 3 ลักษณะ 5) ปรับปรุงการนำแผนพัฒนาครูไปปฏิบัติโดยเน้นการพัฒนาครูเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการในด้านการส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ทำงานเป็นกลุ่มอย่างหลากหลายร่วมมือรวมพลังเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียนด้านผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ


แนวทางการบริหารโรงเรียนสาธิตเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสนุกสนานสำหรับนักเรียน, บุญฤทธิ์ บุญมา Jan 2017

แนวทางการบริหารโรงเรียนสาธิตเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสนุกสนานสำหรับนักเรียน, บุญฤทธิ์ บุญมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการบริหารโรงเรียนสาธิตที่เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสนุกสนานสำหรับนักเรียน 2) นำเสนอแนวทางการบริหารโรงเรียนสาธิตที่เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสนุกสนานสำหรับนักเรียน กรอบแนวคิดของการวิจัยประกอบด้วย 1) งานผู้บริหารสถานศึกษา (เฉพาะด้านการบริหารวิชาการและด้านกิจการนักเรียน) 2) องค์ประกอบของความสนุกสนาน และ 3) การเสริมสร้างบรรยากาศแห่งความสนุกสนาน ประชากร คือ โรงเรียนสาธิตที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยรัฐของประเทศไทย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา จำนวน 22 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรืองานบริหารวิชาการและงานกิจการนักเรียน ครูประจำชั้น และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) การบริหารโรงเรียนสาธิตที่เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่สนุกสนาน ประกอบด้วย งานผู้บริหารสถานศึกษา 2 ด้าน องค์ประกอบของความสนุกสนาน 5 องค์ประกอบ และการเสริมสร้างบรรยากาศแห่งความสนุกสนาน 8 องค์ประกอบ 2) แนวทางการบริหารโรงเรียนสาธิตที่เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่มีความสนุกสนานสำหรับนักเรียน ได้แก่ 2.1) ด้านวิชาการ ผู้บริหารโรงเรียนควรจัดให้มีสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้สำหรับนักเรียนที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกัน การพักผ่อน และการคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ และ 2.2) ด้านกิจการนักเรียน ผู้บริหารโรงเรียนควรเปิดโอกาสให้ครูและนักเรียนมีเวลาพักผ่อนหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจของโรงเรียน และควรสอดแทรกอารมณ์ขันระหว่างทำกิจกรรมร่วมกับครูและนักเรียน


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน, เกริกก้อง มังคละพฤกษ์ Jan 2017

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน, เกริกก้อง มังคละพฤกษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน 2) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคาม ของการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน โดยใช้วิธีวิจัยแบบ Explanatory Sequential Mixed Method Design เก็บข้อมูลจากโรงเรียนอาชีวศึกษารัฐบาลและเอกชน จำนวน 200 แห่ง มีผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหาร ครู และนักเรียน/นักศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงานอยู่ในระดับมาก โดยด้านการบริหารวิชาการมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าการบริหารกิจการนักเรียนนักศึกษา และสภาพพึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงานอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยด้านการบริหารวิชาการมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าด้านบริหารกิจการนักเรียนนักศึกษา 2) จุดแข็งของการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน คือการบริหารกิจการนักเรียนนักศึกษา ส่วนจุดอ่อนคือการบริหารวิชาการ โดยมีนโยบายของรัฐเป็นสภาพแวดล้อมภายนอกที่เสริมสร้างโอกาส ในขณะที่สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ และสภาพเทคโนโลยีเป็นภาวะคุกคามการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน และ 3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน ประกอบไปด้วย 6 กลยุทธ์หลัก คือ (1) พัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน (2) ปรับปรุงการเรียนการสอนเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน (3) ปรับปรุงงานวัดผล และประเมินผลเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน (4) ส่งเสริมงานกิจกรรมนักเรียนนักศึกษา เสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน (5) พัฒนางานส่งเสริมวินัยเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน และ (6) พัฒนางานโครงการพิเศษและการบริการชุมชน เสริมสร้างค่านิยมในการทำงานโดยมีกลยุทธ์รอง 18 กลยุทธ์ และวิธีดำเนินการ 36 วิธี


การพัฒนาคู่มือการบริหารงานด้านศิลปวัฒนธรรม สาขาอนุรักษ์มรดกไทยของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามเกณฑ์รางวัลกระทรวงศึกษาธิการ, กมลวรรณ ม่วงสุข Jan 2017

การพัฒนาคู่มือการบริหารงานด้านศิลปวัฒนธรรม สาขาอนุรักษ์มรดกไทยของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามเกณฑ์รางวัลกระทรวงศึกษาธิการ, กมลวรรณ ม่วงสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานด้านศิลปวัฒนธรรม สาขาอนุรักษ์มรดกไทย ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามเกณฑ์รางวัลกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพัฒนาคู่มือการบริหารงานด้านศิลปวัฒนธรรม สาขาอนุรักษ์มรดกไทย ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามเกณฑ์รางวัลกระทรวงศึกษาธิการ แหล่งข้อมูลประกอบด้วย เอกสารจำนวน 13 รายการ และผู้ให้ข้อมูล จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความเหมาะสมของร่างแนวทางฯ แบบประเมินความครบถ้วนของร่างองค์ประกอบคู่มือ และแบบประเมินคุณภาพของคู่มือ การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยได้ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา วิเคราะห์ความถี่ และการวิเคราะห์ฐานนิยม สรุปผลการวิจัยที่สำคัญได้ดังนี้ 1. แนวทางการบริหารงานด้านศิลปวัฒนธรรม สาขาอนุรักษ์มรดกไทย ของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามเกณฑ์รางวัลกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วยการบริหารงานด้านดนตรีไทย นาฏศิลป์ และการแสดงพื้นบ้าน และในแต่ละด้านประกอบด้วยการวางแผน การปฏิบัติตามแผน และการประเมินผล ซึ่งแนวทางที่ส่งผลให้โรงเรียนได้รับรางวัลกระทรวงศึกษาธิการ สาขาอนุรักษ์มรดกไทย ตามตัวชี้วัด ได้แก่ 1) โรงเรียนมีการจัดทำโครงการ/กิจกรรมด้านศิลปวัฒนธรรม 2) โรงเรียนมีการจัดตั้งชมรมด้านศิลปวัฒนธรรมและ นักเรียนได้รับรางวัลระดับชุมชน จังหวัดและประเทศ 3) โรงเรียนเป็นแบบอย่างและเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมสู่สาธารณะ 4) โรงเรียนมีการประสานงานร่วมกับหน่วยงานนอก และ 5) โรงเรียนดำเนินการต่อเนื่องทุกปีการศึกษา 2. คู่มือการบริหารงานด้านศิลปวัฒนธรรม สาขาอนุรักษ์มรดกไทย ของโรงเรียนมัธยมศึกษาตามเกณฑ์รางวัลกระทรวงศึกษาธิการ ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1) ส่วนนำ ประกอบด้วย ปกคู่มือฯ, คำชี้แจง, ความเป็นมาและความสำคัญ, วัตถุประสงค์ของคู่มือและคำจำกัดความ 2) ส่วนเนื้อหา ประกอบด้วย การบริหารงานด้านดนตรีไทย การบริหารงานด้านนาฏศิลป์และการบริหารงานด้านการแสดงพื้นบ้าน 3) ส่วนอ้างอิง ประกอบด้วย รายการอ้างอิง และภาคผนวก


แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5, สิริรักษ์ นักดนตรี Jan 2017

แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5, สิริรักษ์ นักดนตรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่การเรียนรู้อย่างมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 และเพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพใช้กรอบแนวคิดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงตามแนวคิดของBass and Avolio (1994) และกรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพที่ได้จากการสังเคราะห์ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 55 คน ครู จำนวน 275 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและt–test เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถามการวิจัยเรื่อง"แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่ง การเรียนรู้อย่างมืออาชีพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5" จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ ฉบับสำหรับผู้บริหาร และฉบับสำหรับครู ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 ตามมุมมองของผู้บริหารรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับดีเยี่ยม โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด คือ การกระตุ้นทางปัญญา สำหรับตามมุมมองของครูผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 มีภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพในระดับดี โดยด้านที่มีการปฏิบัติมากที่สุด คือ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านที่มีการปฏิบัติน้อยที่สุด คือ การสร้างแรงบันดาลใจ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของข้อมูลสภาพภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพของผู้บริหารสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 5 ตามมุมมองของผู้บริหารและตามมุมมองของครูมีความสัมพันธ์เป็นไปในทิศทางเดียวกันอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในการบริหารโรงเรียนสู่การเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพประกอบด้วย 1) ศึกษาวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา 2) ประเมินสมรรถนะก่อนการพัฒนา 3) สร้างความเข้าใจและความตระหนักในความสำคัญของพัฒนา 4) ใช้วิธีการพัฒนาที่หลากหลาย 5) พัฒนาด้วยตนเอง 6) พัฒนาโดยสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างมืออาชีพด้วยระบบการชี้แนะและการเป็นพี่เลี้ยง 7) จัดอบรมพัฒนาเชิงปฏิบัติการ 8) กำกับติดตามผลการปฏิบัติงาน 9) จัดนิทรรศการหรือสัมมนานำเสนอผลการปฏิบัติงาน


กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล, ปอส์ ไกรวิญญ์ Jan 2017

กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล, ปอส์ ไกรวิญญ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลและการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลและ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร หลักสูตรสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 252โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ได้แก่ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ( )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล ประกอบด้วย 2 ประเด็นคือ แนวคิดการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน และแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2. สภาพปัจจุบันของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.416, S.D. = 0.962) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.151, S.D. = 0.752) 3. กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล ประกอบไปด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ 1) เร่งรัดพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านการปกป้องตนเองและผู้อื่น มี 2 กลยุทธ์รอง และ 8 วิธีดำเนินการ 2) ยกระดับผู้บริหารโรงเรียนเอกชนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านการให้การศึกษาตนเองและผู้อื่น มี 2 กลยุทธ์รอง และ 8 วิธีดำเนินการ และ 3) ส่งเสริมให้ผู้บริหารโรงเรียนมีความเป็นพลเมืองดิจิทัล ด้านการเคารพตนเองและผู้อื่นๆ มี 2 กลยุทธ์รอง และ 8 วิธีดำเนินการ


นวัตกรรมระบบบริหารคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา ตามเกณฑ์คุณภาพระดับนานาชาติ, ศุภศิริ บุญประเวศ Jan 2017

นวัตกรรมระบบบริหารคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา ตามเกณฑ์คุณภาพระดับนานาชาติ, ศุภศิริ บุญประเวศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กรอบแนวคิดระบบบริหารคุณภาพสถาบันอุดมศึกษา และ เกณฑ์คุณภาพสถาบันอุดมศึกษาระดับนานาชาติ 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในระบบบริหารคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา 3) การปฏิบัติที่ดีของระบบบริหารคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษา 4) พัฒนานวัตกรรมระบบบริหารคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพระดับนานาชาติ กลุ่มประชากรคือ สถาบันอุดมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา 124 แห่ง ใช้กลุ่มตัวอย่าง 92 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ อธิการบดี รองอธิการบดี และหัวหน้าฝ่ายคุณภาพหรือฝ่ายประกันคุณภาพ รวม 276 คน และศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม และ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า1) กรอบแนวคิดระบบบริหารคุณภาพสถาบันอุดมศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ และกรอบแนวคิดเกณฑ์คุณภาพระดับนานาชาติ ประกอบด้วย ตัวชี้วัด 5 ด้าน ได้แก่ ด้านความมีชื่อเสียง ด้านบุคลากร ด้านนักศึกษา ด้านงานวิจัย และด้านรายได้ 2) สภาพปัจจุบัน ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และสภาพที่พึงประสงค์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) แนวปฏิบัติที่ดีด้านการวางแผนเน้นความสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง ด้านการควบคุมคุณภาพและการปรับปรุงคุณภาพเน้นความต่อเนื่องและชัดเจน และด้านการประกันคุณภาพเน้นการคิดเกณฑ์การประเมินตนเอง 4) นวัตกรรมระบบบริหารคุณภาพของสถาบันอุดมศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพระดับนานาชาติ ชื่อ ระบบบริหารคุณภาพสถาบันอุดมศึกษา แบบมุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพระดับนานาชาติอย่างต่อเนื่อง (CIQI)


Education Management Reform Strategies For Enhancing The Quality Citizenship In Cambodia, Chuonnaron Hang Jan 2017

Education Management Reform Strategies For Enhancing The Quality Citizenship In Cambodia, Chuonnaron Hang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research study aimed to 1) study the conceptual framework of education management reform and the quality citizenship; 2) study the current and desirable state of education management reform for enhancing the quality citizenship in Cambodia; 3) find out the needs in education management reform for enhancing the quality citizenship in Cambodia; 4) develop education management reform strategies for enhancing the quality citizenship in Cambodia. This study employed the research and development method (R&D). The data were collected from 710 respondents, consisting of 10 education policymakers, 30 Directors of MoEYS departments, 80 school administrators, 150 teachers, 80 School Support Committee …


แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการตามแนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1, ไวยวุฒิ ธนบัตร Jan 2017

แนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการตามแนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1, ไวยวุฒิ ธนบัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการตามแนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการตามแนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการตามแนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) ประชากร คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 จำนวนทั้งสิ้น 67 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 จำนวน 58 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและครู จำนวนทั้งสิ้น 327 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบประเมินความเป็นประโยชน์และความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนาการบริหารวิชาการตามแนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ (percentile) ค่าเฉลี่ย (mean) ฐานนิยม (mode) ความถี่ (frequency) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) และการใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ในการจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการตามแนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านหลักสูตร สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการตามแนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้าน ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านหลักสูตร 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการตามแนวคิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 โดยภาพรวมมีค่ามากที่สุด คือ ด้านหลักสูตร (PNImodified = 0.245) รองลงมาคือด้านการวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.232) และด้านการจัดการเรียนรู้ (PNImodified …


กลยุทธ์การบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา, เปี่ยมพร ตังตระกูลไพศาล Jan 2017

กลยุทธ์การบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา, เปี่ยมพร ตังตระกูลไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนและการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ จัดลำดับประเด็นความต้องการจำเป็นและวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ภาวะคุกคามของการบริหารแบรนด์ของโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากโรงเรียนเอกชน 272 โรงเรียน โดยผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบประเมินกรอบแนวคิดในการวิจัย และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Chi-square ค่าดัชนีPNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชน ประกอบด้วย การบริหารแบรนด์ของโรงเรียนเอกชน 3 กระบวนการ คือ การวางแผนการบริหารแบรนด์ การนำแผนการบริหารแบรนด์ไปปฏิบัติ และ การประเมินผลแบรนด์ และกรอบแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา ได้แก่ การเพิ่มจำนวนของนักเรียนในโรงเรียนเอกชนที่รับเงินอุดหนุน และไม่รับเงินอุดหนุน 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีจุดแข็ง คือ การวางแผนการบริหารแบรนด์ จุดอ่อน คือ การประเมินผลแบรนด์ และการนำแผนการบริหารแบรนด์ไปปฏิบัติ โอกาส คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและสภาพสังคม และภาวะคุกคาม คือ การเมืองและนโยบายการศึกษาของรัฐและสภาพเศรษฐกิจ และ 3) กลยุทธ์การแบรนด์โรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา มีกลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์คือ (1) เสริมความเข้มแข็งของการวางแผนบริหารแบรนด์โรงเรียน (2) ปรับปรุงกระบวนนำแผนการบริหารแบรนด์โรงเรียนสู่การปฏิบัติ และ (3) ปรับปรุงการประเมินผลแบรนด์โรงเรียนอย่างเป็นระบบ มีกลยุทธ์รอง 7 กลยุทธ์ และมีวิธีดำเนินการ 24 วิธี


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียน ให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล, เศกสรร สกนธวัฒน์ Jan 2017

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียน ให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล, เศกสรร สกนธวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิ คณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนจำนวน 16 โรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ปีการศึกษา 2560 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กรอบแนวคิดในการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ มีความเคารพตนเองและผู้อื่นในโลกดิจิทัล ใช้งานดิจิทัลอย่างมีความรับผิดชอบและปลอดภัย และสร้างนวัตกรรมดิจิทัล การวิเคราะห์สภาพภายในฝ่ายวิชาการเป็นจุดอ่อน และฝ่ายกิจการนักเรียนเป็นจุดแข็ง และสภาพภายนอกนโยบายของรัฐ สภาพเศรษฐกิจและสภาพสังคม เป็นภาวะคุมคามในส่วนสภาพเทคโนโลยีเป็นโอกาส และกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนในเครือมูลนิธิคณะเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทยตามแนวคิดการเสริมสร้างนักเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล มี 3 กลยุทธ์หลัก คือ 1) ปรับปรุงการบริหารเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีการใช้งานดิจิทัลอย่างมีความรับผิดชอบและปลอดภัย 2) เพิ่มขีดความสามารถในการบริหารเพื่อพัฒนานักเรียนในการสร้างนวัตกรรมดิจิทัล 3) ยกระดับการบริหารเพื่อพัฒนานักเรียนให้มีความเคารพต่อตนเองและผู้อื่นในโลกดิจิทัล


แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุข, กมลพรรณ เอกณรงค์ Jan 2017

แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุข, กมลพรรณ เอกณรงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการเป็นโรงเรียนแห่งความสุขในโรงเรียนอนุบาลเอกชน และนำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุข กลุ่มตัวอย่างโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 107 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย โรงเรียนแห่งความสุข หมายถึง โรงเรียนที่ส่งเสริมการจัดการศึกษา โดยเคารพในความหลากหลาย การสื่อสาร และการทำงานเป็นทีม โดยมีหลักเกณฑ์ ได้แก่ 1.คน ในด้านมนุษยสัมพันธ์และการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน 2.กระบวนการสอนและการเรียนรู้ ที่มีความสนุกสนานและส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เกิดการพัฒนาทักษะและสมรรถนะที่นอกเหนือจากวิชาการ 3.สถานที่ ภายในโรงเรียนและแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า สภาพการบริหารโรงเรียนแห่งความสุขอยู่ในระดับมีการปฏิบัติมากที่สุด ( x̅ = 4.51, SD = .676) และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านกระบวนการสอนและการเรียนรู้ ( x̅ = 4.53, SD = .641) ด้านที่มีการปฏิบัติที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมาคือ ด้านคน ( x̅ = 4.52, SD = .662) และในด้านที่มีการปฏิบัติที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านสถานที่ ( x̅ = 4.47, SD = .724) แนวทางการพัฒนาการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครให้เป็นโรงเรียนแห่งความสุข ได้ทั้งหมด 17 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ผู้บริหารและบุคลากรร่วมกันกำหนดนโยบาย วิสัยทัศน์ และทิศทางในการพัฒนาสถานที่ภายในโรงเรียน 2) ผู้บริหารโรงเรียนนำข้อมูลจากการประชุมมาวิเคราะห์ 3) ผู้บริหารจัดตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการโรงเรียนแห่งความสุข 4) คณะกรรมการฯ สำรวจและประเมินความสุข 5) คณะกรรมการฯ กำหนดแนวทางการพัฒนา 6) คณะกรรมการฯ นำผลที่ได้จากการประเมินมาจัดลำดับความสำคัญตามความเร่งด่วนของปัญหา 7) คณะกรรมการฯ วางแผนและกำหนดเกณฑ์การประเมินผลในแต่ละด้าน 8) คณะกรรมการฯ กำหนดระยะเวลาในการดำเนินงานตามแผน 9) คณะกรรมการฯ กำหนดระยะเวลาในการประเมินผล 10) ผู้บริหาร ครู …


แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยโรงเรียนเป็นฐาน, กนิน แลวงค์นิล Jan 2017

แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยโรงเรียนเป็นฐาน, กนิน แลวงค์นิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยโรงเรียนเป็นฐาน และ 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยโรงเรียนเป็นฐาน ประชากร คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 52 โรงเรียน ตัวอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 46 โรงเรียน และผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานบุคลากร และครูผู้ช่วย รวมผู้ให้ข้อมูลจำนวน 184 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนแบบประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNImodified) ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยโรงเรียนเป็นฐานโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลางและมากที่สุด ตามลำดับ (สภาพปัจจุบัน Mean = 3.36 และสภาพที่พึงประสงค์ Mean = 4.55) สมรรถนะหลักของครูใหม่ที่มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงที่สุด คือ ความสัมพันธ์กับชุมชน (PNIModified = 0.445) รองลงมาคือ การพัฒนาสถานศึกษา (PNIModified = 0.386) สมรรถนะหลักของครูใหม่ที่มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาต่ำที่สุด คือ การพัฒนาทางวิชาการ (PNIModified = 0.299) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ตามแนวคิดการพัฒนาครูโดยโรงเรียนเป็นฐาน มีดังนี้ 1) พัฒนาสมรรถนะของครูใหม่ด้านความสัมพันธ์กับชุมชนที่เน้นการสร้างความร่วมมือกับชุมชนเพื่อการจัดการเรียนรู้ เป็นรายบุคคล โดยวิธีโปรแกรมโค้ช (Coaching Program) 2) พัฒนาสมรรถนะของครูใหม่ด้านการพัฒนาสถานศึกษาที่เน้นการประกันคุณภาพการศึกษา …


แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1, ขวัญข้าว ชุ่มเกษรกูลกิจ Jan 2017

แนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1, ขวัญข้าว ชุ่มเกษรกูลกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ประชากรคือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 103 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 83 โรงเรียน โดยผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการ ครูผู้รับผิดชอบงานวิชาการ และครูผู้สอน รวม 249 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความความเหมาะสมและเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 โดยมีลักษณะเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า โดยสถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นจากสูตร Modified Priority Index (PNIModified) และจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของการบริหารงานวิชาการเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนในโรงเรียนสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X̄ = 3.78) และมากที่สุด ( X̄ = 4.63) โดยด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNIModified = 0.205) รองลงมาคือด้านการพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา (PNIModified = 0.199) ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาในสถานศึกษา (PNIModified = 0.195) ด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด คือ ด้านการวัดผล ประเมินผล และดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน (PNIModified = 0.145) กำหนดแนวทางการบริหารงานวิชาการฯ ได้ 39 แนวทาง ดังนี้ การพัฒนาหลักสูตรในสถานศึกษา 6 แนวทาง …


กลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกองทัพเรือตามแนวคิดการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม, จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์ Jan 2017

กลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกองทัพเรือตามแนวคิดการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม, จุฬาลักษณ์ โสระพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกองทัพเรือและการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกองทัพเรือตามแนวคิดการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม 3) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกองทัพเรือตามแนวคิดการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม และ 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกองทัพเรือตามแนวคิดการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ประเมินกรอบแนวคิดโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ สถาบันอุดมศึกษาสังกัดกองทัพเรือ มีจำนวน 2 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนนายเรือและวิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ กลุ่มผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกองทัพเรือ จำนวน 7 คน และกลุ่มอาจารย์/นักวิจัยของสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกองทัพเรือ จำนวน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง บรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified) และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกองทัพเรือและการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ประกอบไปด้วยกรอบแนวคิดหลัก 2 เรื่อง คือ 1.1) กรอบการบริหารสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกองทัพเรือที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย มี 2 องค์ประกอบคือ (1) ด้านการบริหารการผลิตบัณฑิต (2) ด้านการบริหารการวิจัย 1.2) กรอบแนวคิดการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมประกอบด้วย 3 มิติ คือ (1) มิติของหน่วยงาน/องค์กร (2) มิติบุคคล (3) มิติเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร/บุคคล 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกองทัพเรือตามแนวคิดการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.309,SD=0.84) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.258, SD= 0.70) 3) จุดแข็งของการบริหารสถาบันอุดมศึกษาสังกัดกองทัพเรือตามแนวคิดการสร้างขีดความสามารถด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม คือ การบริหารการผลิตบัณฑิต และมิติองค์กร/หน่วยงาน จุดอ่อน คือ การบริหารการวิจัย มิติบุคคลและมิติของเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร/บุคคล ส่วนโอกาส คือ นโยบายของรัฐบาล สภาพสังคม …


กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์, จินดารัตน์ แย้มวงษ์ Jan 2017

กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์, จินดารัตน์ แย้มวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการพัฒนาภาวะผู้นำและภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ 3) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ ประชากรที่ศึกษาคือโรงเรียนมัธยมศึกษาในโครงการพัฒนาประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาค สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 14 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้าโครงการ หัวหน้ากลุ่มสาระ และหัวหน้าระดับชั้น เครื่องมือเก็บข้อมูลคือแบบประเมินและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ ดัชนีความตรงตามวัตถุประสงค์ อัตราส่วนความตรงตามเนื้อหาของข้อคำถาม ดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถาม และดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง
ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวการพัฒนาภาวะผู้นำ ประกอบด้วย การพัฒนาส่วนบุคคล การเข้าใจความคิดรวบยอด การพัฒนาทักษะ และการให้ข้อติชม และภาะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วยความรู้โลกาภิวัตน์ ลักษณะสำคัญ ทัศนคติและการปรับแนวคิด ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และทักษะระบบ 2) สภาพปัจจุบันในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกแนวทาง 3) กลยุทธ์การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์ ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ (1) เร่งรัดการพัฒนาภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์โดยการพัฒนาส่วนบุคคล (2) เร่งการพัฒนาภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์โดยการให้ข้อติชม (3) เสริมสร้างการพัฒนาภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์โดยการพัฒนาทักษะ (4) ส่งเสริมการพัฒนาภาวะผู้นำแบบโลกาภิวัตน์โดยการเข้าใจความคิดรวบยอด โดยมี 20 กลยุทธ์รอง และ 56 วิธีดำเนินการ


การพัฒนาระบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม, ฐาปณีย์ โลพันดุง Jan 2017

การพัฒนาระบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม, ฐาปณีย์ โลพันดุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดระบบบริหารโรงเรียนและกิจการเพื่อสังคม 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม และ 3) พัฒนาระบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม ใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน โดยศึกษาเอกสารสังเคราะห์กรอบแนวคิด เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างวิเคราะห์ข้อมูลแล้วยกร่างระบบบริหารโรงเรียน ประชุมสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างได้แก่ โรงเรียนขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 375 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารโรงเรียนและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนี PNIModified ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดระบบบริหารประกอบด้วยนโยบาย และกระบวนการและวิธีการ งานบริหารโรงเรียนเน้นงานวิชาการประกอบด้วยการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรและการวัดและประเมินผล และกรอบแนวคิดกิจการเพื่อสังคมมีลักษณะสำคัญ 6 ประการ 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก 3) ระบบบริหารโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นคือ ระบบบริหารงานวิชาการที่เน้นการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระบบบริหารโรงเรียนและเพิ่มศักยภาพการบริหารงานวิชาการที่เน้นการจัดการเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตรตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคมให้เกิดประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพ มีองค์ประกอบคือ 1) นโยบายที่เสริมสร้างนักเรียนสู่การเป็นผู้ประกอบการเพื่อสังคม มีทักษะการประกอบอาชีพเชิงสร้างสรรค์และสร้างประโยชน์แก่สังคม ชุมชนและสิ่งแวดล้อม 2) เป้าประสงค์คือผู้เรียนสามารถผลิตสินค้าและ/หรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถจำหน่ายสร้างรายได้ นำกำไรลงทุนต่อยอดกิจการและนำไปสร้างประโยชน์แก่ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อมได้ และสร้าง/พัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมได้ และ 3) กระบวนการและวิธีการดำเนินงานมี 7 ขั้นตอนคือ การสำรวจและวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน การกำหนดค่าเป้าหมายและตัวชี้วัด การวางแผน การดำเนินการตามแผน การติดตามประเมินผล การจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานและการปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์ Jan 2017

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์, นิพิฐพร โกมลกิติศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ (3) ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และ (4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ใช้การวิจัยเชิงผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยวิธีการศึกษาเอกสาร วิเคราะห์และสังเคราะห์กรอบแนวคิด จากนั้นเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ยกร่างกลยุทธ์ และจัดประชุมสนทนากลุ่ม (Focus Group) กลุ่มตัวอย่างได้แก่โรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 397 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ สอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนใน 4 หัวข้อ คือ การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ นอกจากนี้ยังใช้แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของกลยุทธ์ร่วมด้วย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การคำนวณค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่ามีจุดแข็งคือ การจัดการเรียนการสอน ส่วนจุดอ่อนคือ การพัฒนาหลักสูตร การวัดและประเมินผล การพัฒนาสื่อและแหล่งเรียนรู้ ปัจจัยภายนอกที่เป็นโอกาส ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ ส่วนภาวะคุกคาม ได้แก่ นโยบายของรัฐบาล สภาพสังคม และสภาพเทคโนโลยี ซึ่งกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ มี 4 กลยุทธ์หลัก 11 กลยุทธ์รอง โดยที่กลยุทธ์หลักที่ 1 คือ ปฺฏิรูปการวัดและประเมินผลความสามารถของนักเรียนในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ กลยุทธ์หลักที่ 2 ปรับปรุงหลักสูตรโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ กลยุทธ์หลักที่ 3 คือ ส่งเสริมการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ และกลยุทธ์หลักที่ 4 คือ ยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนด้านความสามารถของนักเรียนในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการมองโลกทางวิชาการเชิงบวกในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน, ฐิติรัตน์ เพ็ชรอินทร์ Jan 2017

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการมองโลกทางวิชาการเชิงบวกในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน, ฐิติรัตน์ เพ็ชรอินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการมองโลกทางวิชาการเชิงบวกในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการมองโลกทางวิชาการเชิงบวกในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการมองโลกทางวิชาการเชิงบวกในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 395 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูหัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ และครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามและแบบประเมินประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการมองโลกทางวิชาการเชิงบวกในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น PNImodified ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการมองโลกทางวิชาการเชิงบวกในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ประกอบด้วย (1)กระบวนการบริหารโรงเรียน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการนำแผนสู่การปฏิบัติ และ ด้านการประเมินผล (2) การมองโลกทางวิชาการเชิงบวก 3 ด้าน ได้แก่ ความเชื่อมั่นในความสามารถของคณะครู ความไว้วางใจในพ่อแม่ ผู้ปกครอง และนักเรียน และการให้ความสำคัญกับวิชาการ (3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 3 ด้านนั้น ได้แก่ การสร้างความรู้ การสืบเสาะหาความรู้ในเนื้อหาวิชาต่างๆ และ การสร้างคุณค่าที่นอกเหนือจากการเรียนในโรงเรียน 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการมองโลกทางวิชาการเชิงบวกในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันทุกด้าน และ 3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนตามแนวคิดการมองโลกทางวิชาการเชิงบวก ในการยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์หลัก สำหรับโรงเรียนทุกขนาด ได้แก่ (1) กลยุทธ์เร่งรัดการยกระดับความเชื่อมั่นในความสามารถทางการสอนของคณะครู (2) กลยุทธ์รวมพลังและประสานความร่วมมือในการขับเคลื่อนวิชาการสู่ความเป็นเลิศ และ 2 กลยุทธ์เพิ่มเติม ได้แก่ (1) กลยุทธ์เร่งรัดการยกระดับความไว้วางใจของผู้บริหารและคณะครูที่มีต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง และนักเรียน (สำหรับโรงเรียนขนาดกลางและขนาดใหญ่พิเศษ) (2) กลยุทธ์เสริมสร้างความไว้วางใจของผู้บริหารและคณะครูที่มีต่อพ่อแม่ ผู้ปกครอง และนักเรียน (สำหรับโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่)


แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดสะตีมศึกษา: กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี, พรรณิอร อินทราเวช Jan 2017

แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดสะตีมศึกษา: กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี, พรรณิอร อินทราเวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดสะตีมศึกษา: กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดสะตีมศึกษา: กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ โรงเรียนอนุบาล ในจังหวัดนนทบุรี จำนวน 108 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการหรือหัวหน้าแผนกอนุบาล 1 คน และครูประจำชั้นระดับอนุบาล 2 คน รวม 432 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัญหาและแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดสะตีมศึกษา: กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี, แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดสะตีมศึกษา: กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่, ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดสะตีมศึกษา: กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี พบว่า อยู่ในระดับมีการปฏิบัติมาก โดยด้านการวัดผลและประเมินผลมีความคิดเห็นในสภาพการปฏิบัติโดยเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการนิเทศการศึกษา ด้านการจัดเรียนการสอน ด้านการบริหารและพัฒนาหลักสูตร ด้านการบริหารสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ ตามลำดับ 2) ปัญหาบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดสะตีมศึกษา: กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี บริหารงานวิชาการในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดสะตีมศึกษา: กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี พบว่า มีระดับของปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านการจัดเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือการบริหารสื่อการเรียนการสอนและแหล่งการเรียนรู้ การบริหารและพัฒนาหลักสูตร การวัดผลและประเมินผล และการนิเทศการศึกษา ตามลำดับ 3) แนวทางการบริหารงานวิชาการในโรงเรียนอนุบาลตามแนวคิดสะตีมศึกษา: กรณีศึกษาจังหวัดนนทบุรี แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารและพัฒนาหลักสูตร 10 แนวทาง, ด้านการจัดการเรียนการสอน 13 แนวทาง, ด้านการวัดและประเมินผล 6 แนวทาง, ด้านการบริหารสื่อการเรียนการสอนและแหล่งเรียนรู้ 12 แนวทาง และด้านการนิเทศการศึกษา 7 แนวทาง โดยแต่ละด้านแบ่งเป็นขั้นตอนตามหลัก PIE MODEL


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันของครูและนักเรียน, ผาสุก สุมามาลย์กุล Jan 2017

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันของครูและนักเรียน, ผาสุก สุมามาลย์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียน แนวคิดความผูกพันของครู และแนวคิดความผูกพันนักเรียน 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารโรงเรียนเอกชน 3) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนเอกชน 4)พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชน ตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันของครูและนักเรียน กลุ่มประชากรคือ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญจำนวน 3,373 แห่ง ใช้กลุ่มตัวจำนวน 330 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ผู้บริหาร ครูและนักเรียน รวม 873 คน เครื่องมือวิจัย คือแบบสอบถามและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และ การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า1.กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันมี 6 องค์ประกอบ คือ การทำงานที่มีความหมาย ฝ่ายบริหารร่วมปฏิบัติงานและตัดสินใจอย่างเหมาะสม สภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวก การให้โอกาสก้าวหน้า การมีความเชื่อมั่นในภาวะผู้นำ และการปฏิบัติอย่างเป็นธรรม กรอบแนวคิดความผูกพันของครูต่อโรงเรียน มี 3 องค์ประกอบ คือ พูดถึงโรงเรียนในทางบวก ต้องการทำงานกับโรงเรียนในระยะยาว ทุ่มเทและอุทิศตนทำงานเกินกว่าหน้าที่ด้วยความเต็มใจเพื่องานและเป้าหมายของโรงเรียน และกรอบแนวคิดความผูกพันของนักเรียนต่อโรงเรียน มี 3 องค์ประกอบ คือความผูกพันทางพฤติกรรม ความผูกพันทางอารมณ์ และความผูกพันทางปัญญา 2. สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันของครูและนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด 3. จุดแข็งคือการที่โรงเรียนสามารถสร้างความเชื่อมั่นในภาวะผู้นำให้แก่ครูและนักเรียน จุดอ่อนคือ การที่โรงเรียนให้โอกาสก้าวหน้าแก่ครูและนักเรียน สภาพสังคมและเทคโนโลยีเป็นโอกาส และ สภาพเศรษฐกิจ การเมืองและนโยบายรัฐบาล เป็นภาวะคุกคาม 4.กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันของครูและนักเรียนประกอบด้วย 6 กลยุทธ์หลัก คือ 1)เสริมสร้างโอกาสความก้าวหน้าของครูและนักเรียนอย่างต่อเนื่อง 2)ปรับเปลี่ยนการทำงานของครูและนักเรียนให้เป็นการทำงานที่มีความหมายด้วยเทคโนโลยีและกิจกรรมสร้างสรรค์ 3) เร่งพัฒนาการให้ความช่วยเหลือ ร่วมปฏิบัติงาน ร่วมคิด ตัดสินใจในการปฏิบัติงานของครูและกิจกรรมการเรียนของนักเรียน 4) พัฒนาสภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวกให้เป็นกลไกพื้นฐานในการสร้างความผูกพันของครูและนักเรียนอย่างต่อเนื่องยาวนาน 5) ยกระดับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมต่อครูและนักเรียนอย่างมีนวัตกรรม 6) พัฒนาความไว้วางใจในภาวะผู้นำให้มั่นคง โดยมีกลยุทธ์รอง 12 กลยุทธ์ และ 46 วิธีดำเนินการ


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กตามแนวคิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน, พงศกร อดุลพิทยาภรณ์ Jan 2017

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กตามแนวคิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน, พงศกร อดุลพิทยาภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสม (Explanatory Sequential Mixed Methods Research) โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ข้อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กตามแนวคิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กตามแนวคิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ประชากร คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก (จำนวนนักเรียน 120 คนลงมา) จำนวน 147 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 108 โรงเรียน และผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน 108 คน และหัวหน้ากลุ่มบริหารวิชาการ 108 คน รวม 216 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยมีลักษณะเป็นมาตราส่วนแบบประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้เทคนิค Modified Priority Needs Index (PNI Modified) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กตามแนวคิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในภาพรวมอยู๋ในระดับปานกลางและมาก (สภาพปัจจุบัน Mean = 2.85 และสภาพที่พึงประสงค์ Mean = 4.12) โดยด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (PNImodified = 0.52) รองลงมา คือ การพัฒนาหลักสูตร (PNImodified = 0.49) และด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นต่ำสุดคือ การส่งเสริมชุมชนให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการ และการประสานความร่วมมือในการพัฒนาวิชาการ (PNImodified = 0.39) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กตามแนวคิดเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีทั้งหมด 5 แนวทาง 17 แนวทางย่อย และ 41 วิธีดำเนินการโดยเรียงลำดับขอบข่ายการบริหารวิชาการที่มีลำดับความต้องการจำเป็นตามลำดับ ดังนี้ การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ 1 แนวทาง 3 …


แนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน, ภูสุดา ภู่เงิน Jan 2017

แนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน, ภูสุดา ภู่เงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน 2) นำเสนอแนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน มีประชากรจํานวน 110 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการหรือรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็น (PNI Modified) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก(Mean=3.986,S.D.=0.812) และมากที่สุด (Mean=4.670,S.D.=0.582) ตามลำดับ โดยเรียงลำดับค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุดถึงต่ำที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตรและคู่มือการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนการสอนและปรับปรุงการสอน การประสานความร่วมมือกับชุมชน การใช้เทคโนโลยีการศึกษา และการนิเทศการศึกษา 2) แนวทางการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดสานพลังประชารัฐในการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนมี 6 แนวทางและ 34 วิธีดำเนินการ


กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองและความต้องการของสถานประกอบการ, ปิยนันท์ พัชรสำราญเดช Jan 2017

กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองและความต้องการของสถานประกอบการ, ปิยนันท์ พัชรสำราญเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน การมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครอง และความต้องการของสถานประกอบการ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองและความต้องการของสถานประกอบการ 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองและความต้องการของสถานประกอบการ และ 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองและความต้องการของสถานประกอบการ โดยดำเนินการวิจัยโดยใช้วิธีแบบ Exploratory Sequential Mixed Method Design เก็บข้อมูลจากสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน จำนวน 143 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร ครู/อาจารย์ และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมิน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนประกอบด้วยการบริหารวิชาการและการบริหารกิจการนักเรียน กรอบแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองประกอบด้วย การร่วมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่บ้าน การร่วมเป็นอาสาสมัครที่โรงเรียน และการร่วมตัดสินใจในการดำเนินการของโรงเรียน และกรอบแนวคิดความต้องการของสถานประกอบการ ประกอบด้วย ทักษะทางเทคนิคในการทำงานเฉพาะด้าน ทักษะทางพฤติกรรม และทักษะทางสติปัญญา 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนด้านการบริหารวิชาการ เมื่อจำแนกตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนตามแนวคิดความต้องการของสถานประกอบการอยู่ในระดับมาก ในขณะที่สภาพปัจจุบันของด้านการบริหารกิจการนักเรียนทั้ง 2 แนวคิดอยู่ในระดับมาก สำหรับสภาพพึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3) จุดแข็งของการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครอง คือ การบริหารกิจการนักเรียน ส่วนจุดอ่อน คือ การบริหารวิชาการ และจุดแข็งของการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดความต้องการของสถานประกอบการ คือ การบริหารวิชาการ ส่วนจุดอ่อน คือ การบริหารกิจการนักเรียน โอกาสของการบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองและความต้องการของสถานประกอบการ ด้านการบริหารวิชาการ คือ สภาพเศรษฐกิจ ด้านการบริหารกิจการนักเรียน คือ สภาวะสังคม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สำหรับภาวะคุกคามด้านการบริหารวิชาการ คือ สภาวะสังคม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ด้านการบริหารกิจการนักเรียน คือ สภาพเศรษฐกิจ และ 4) กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองและความต้องการของสถานประกอบการนั้น ประกอบไปด้วยกลยุทธ์หลัก 4 กลยุทธ์ คือ (1) พัฒนาการบริหารหลักสูตรการเรียนการสอนโดยการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองและสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ (2) ปรับปรุงการบริหารการวัดและประเมินผลโดยการมีส่วนร่วมของพ่อแม่ผู้ปกครองและสอดคล้องกับความต้องการสถานประกอบการ (3) …


นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนระบบทวิศึกษาตามแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ, รัตนา จันทร์รวม Jan 2017

นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนระบบทวิศึกษาตามแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ, รัตนา จันทร์รวม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนระบบทวิศึกษาตามแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ 2) ศึกษาการบริหารโรงเรียนที่ใช้หลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ และ3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนระบบทวิศึกษาตามแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่างสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ คือ โรงเรียนระบบทวิศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ รวมจำนวน 226 โรงเรียน มีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น และกลุ่มตัวอย่างสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ โรงเรียนที่ใช้หลักสูตรการการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ 1 โรงเรียน โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการและผู้ประสานงานหลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของนวัตกรรม การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNImodified วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แบบอุปนัย ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของโรงเรียนระบบทวิศึกษามีการบริหารตามแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ ในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านการประเมินผล ด้านการจัดการเรียนการสอน และมีระดับปานกลาง 1 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการประเมินผล และในระดับมาก 2 ด้าน คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการพัฒนาหลักสูตร 2) การบริหารโรงเรียนตามแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร มีวิชาสามัญ วิชาหลักด้านอาชีพ และการฝึกงานวิชาเลือกด้านอาชีพ ด้านการจัดการเรียนการสอนยังคงเน้นด้านวิชาการ แต่ผู้เรียนจะต้องเลือกเรียนวิชาปฏิบัติด้วย และด้านการประเมินผล แบ่งความรับผิดชอบเป็นสองส่วนจากองค์กรไอบีและหน่วยงานต้นสังกัดของวิชาอาชีพ 3) นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนระบบทวิศึกษาตามแนวคิดหลักสูตรการศึกษาเชื่อมโยงสู่อาชีพ คือ นวัตกรรมการบริหารโรงเรียน"เข็มทิศอาชีพ 3C" ประกอบไปด้วย 3 ส่วนคือ (1) การจัดหลักสูตรอาชีพ โดยเกิดจากความร่วมมือของโรงเรียนกับสถานประกอบการและหรือองค์กร สถาบันต่างๆ ประกอบด้วยวิชาสามัญและวิชาอาชีพ (2) การจัดการเรียนการสอนอาชีพแบบร่วมมือ เป็นการปฏิบัติการร่วมกันระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการหน่วยงานและ/หรือสถาบันโดยจัดการศึกษาเชิงบูรณาการ มีการกำหนดเวลา ภาระการสอนของสถานศึกษาและสถานประกอบการร่วมกัน และ (3) การประเมินผลอาชีพแบบมีทิศทาง …


แนวทางการพัฒนาการจัดสรรงบประมาณที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1, อลิตา ดาด้วง Jan 2017

แนวทางการพัฒนาการจัดสรรงบประมาณที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1, อลิตา ดาด้วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดสรรงบประมาณที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 2) ศึกษาความเหมาะสมและเพียงพอการจัดสรรงบประมาณที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนาการจัดสรรงบประมาณที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 57 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ รวมทั้งหมด 399 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของความชัดเจนในการกำหนดวัตถุประสงค์ในการจัดสรรงบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก( X = 3.57 , S.D. = 0.715) โดยงบเงินอุดหนุนเรียนฟรี 15 ปี สำหรับค่าหนังสือเรียนเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( X = 3.99 , S.D. = 0.808) และค่าสิ่งก่อสร้าง มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด ( X= 3.09 , S.D. = 0.600) ความเหมาะสมและความเพียงพอในการจัดสรรงบประมาณพบว่าโดยภาพรวมสามารถจำแนกได้ 2 ประเภทคือ 1) งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรอย่างเหมาะสมแต่ไม่เพียงพอ 2) งบประมาณที่ได้รับการจัดสรรอย่างไม่เหมาะสมและไม่เพียงพอ แนวทางการพัฒนาการจัดสรรงบประมาณที่ส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนมีทั้งหมด 4 แนวทาง โดยจำแนกแนวทางตามประเภทงบประมาณ คือ ด้านงบบุคลากร ด้านงบดำเนินงาน ด้านงบลงทุน ด้านงบเงินอุดหนุนเรียนฟรี 15 ปี


กลยุทธ์การบริหารทุนมนุษย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณลักษณะนักศึกษาอาชีวศึกษาสำหรับประชาคมอาเซียน, อิศเรศ จันทร์เจริญ Jan 2017

กลยุทธ์การบริหารทุนมนุษย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณลักษณะนักศึกษาอาชีวศึกษาสำหรับประชาคมอาเซียน, อิศเรศ จันทร์เจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารทุนมนุษย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณลักษณะนักศึกษาอาชีวศึกษาสำหรับประชาคมอาเซียน 2)ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารทุนมนุษย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณลักษณะนักศึกษาอาชีวศึกษาสำหรับประชาคมอาเซียน 3)ศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารทุนมนุษย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณลักษณะนักศึกษาอาชีวศึกษาสำหรับประชาคมอาเซียน 4)พัฒนากลยุทธ์การบริหารทุนมนุษย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณลักษณะนักศึกษาอาชีวศึกษาสำหรับประชาคมอาเซียน ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนจำนวน 176 คน ครู184 คน รวม 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม แบบประเมินกรอบแนวคิดการวิจัย และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีPNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า1)กรอบแนวคิดในการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารทุนมนุษย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนฯ ประกอบด้วย 3 กระบวนการ ได้แก่ (1) การสรรหาคัดเลือกบุคลากร (2) การพัฒนาบุคลากร (3) การบริหารผลงานและค่าตอบแทน และคุณลักษณะนักศึกษาอาชีวศึกษาสำหรับประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย คุณลักษณะ 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านความรู้ ประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับประชาคมอาเซียน และความรู้ทางทฤษฎีและวิชาชีพ (2) ด้านทักษะ ประกอบด้วย ทักษะทางภาษาต่างประเทศ ทักษะทางวิชาชีพ ทักษะทางเทคโนโลยี และทักษะทางด้านการทำงานเป็นทีม (3) ด้านเจตคติ ประกอบด้วย ความภูมิใจในความเป็นชาติ การยอมรับความแตกต่างด้านวัฒนธรรม และทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารทุนมนุษย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ การพัฒนาบุคลากร การสรรหาคัดเลือกบุคลากร การบริหารผลงานและค่าตอบแทน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด คือ การพัฒนาบุคลากร การสรรหาคัดเลือกบุคลากร ทั้งนี้ การบริหารผลงานและค่าตอบแทน อยู่ในระดับมาก 3) จุดแข็งในการบริหารทุนมนุษย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณลักษณะนักศึกษาอาชีวศึกษาสำหรับประชาคมอาเซียนคือ การพัฒนาบุคลากร ส่วนจุดอ่อนคือ การบริหารผลงานและค่าตอบแทน และการสรรหาการคัดเลือกบุคลากร โดยพบว่า มิติของด้านเจตคติของทุกด้านเป็นจุดแข็ง ส่วนมิติด้านความรู้และด้านทักษะของทุกด้านเป็นจุดอ่อน โอกาสคือ สภาพเทคโนโลยี ภาวะคุกคามคือ สภาพเศรษฐกิจ นโยบายของรัฐ และสภาพสังคม ตามลำดับ 4) กลยุทธ์การบริหารทุนมนุษย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณลักษณะนักศึกษาอาชีวศึกษาสำหรับประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย กลยุทธ์หลัก 3 กลยุทธ์ กลยุทธ์รอง 9 กลยุทธ์ …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าตามแนวคิดคุณลักษณะความเป็นผู้นำทางทหารและความมั่นคงของชาติในศตวรรษที่ 21, อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์ Jan 2017

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าตามแนวคิดคุณลักษณะความเป็นผู้นำทางทหารและความมั่นคงของชาติในศตวรรษที่ 21, อารีย์วรรณ สุทธิพงศ์พันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าคุณลักษณะความเป็นผู้นำทางทหารและความมั่นคงของชาติในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการ 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการ และ 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าตามแนวคิดคุณลักษณะความเป็นผู้นำทางทหารและความมั่นคงของชาติในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ ผู้บริหารโรงเรียน อาจารย์ผู้สอน นักเรียนนายร้อย และผู้ใช้ผลผลิตจากโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าจากกองทัพภาคที่ 1-4 รวมจำนวน 376 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน F-test ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนการสอน (3) การประเมินและรายงานผล กรอบแนวคิดคุณลักษณะความเป็นผู้นำทางทหารในศตวรรษที่ 21 มี 8 คุณลักษณะ ในขณะที่กรอบแนวคิดความมั่นคงของชาติในศตวรรษที่ 21 มี 10 องค์ประกอบ 2) สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การจัดการเรียนการสอน 3) จุดแข็ง คือ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน จุดอ่อน คือ การประเมินและรายงานผล โอกาส คือ การเมืองและนโยบายของรัฐ และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ สภาพสังคมและสภาพเศรษฐกิจ 4) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้าตามแนวคิดคุณลักษณะความเป็นผู้นำทางทหารและความมั่นคงของชาติในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ (1) ปฏิรูประบบการประเมินและรายงานผลภาวะผู้นำทางทหารในศตวรรษที่ 21 (2) ยกระดับการจัดการเรียนการสอนผู้นำทางทหารในศตวรรษที่ 21 …