Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Administration and Supervision

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2018

Articles 1 - 26 of 26

Full-Text Articles in Education

แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง, จิตรแก้ว พงษ์ไชย Jan 2018

แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง, จิตรแก้ว พงษ์ไชย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 2. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 6 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน 6 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 6 คน และครู 56 คน รวมผู้ให้ข้อมูล จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNIModified) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.65) และมาก (M=4.40) ตามลำดับ โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ (PNIModified=0.699) รองลงมา คือ การปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงาน (PNIModified=0.682) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุดคือ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายในการปฏิบัติงานร่วมกัน (PNIModified=0.601) แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง มีทั้งหมด 5 แนวทาง โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นตามลำดับ ดังนี้ 1) การพัฒนากระบวนการวางแผนการออกแบบหลักสูตรสะเต็มศึกษาอย่างเป็นระบบของสมาชิกในเครือข่าย 2) การพัฒนากระบวนการปรับปรุงและพัฒนาการออกแบบหลักสูตรสะเต็มศึกษาของสมาชิกในเครือข่าย 3) การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการจัดสรรและบริหารงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาระหว่างสมาชิกในเครือข่าย 4) การพัฒนากระบวนการนำแผนการออกแบบหลักสูตรสะเต็มศึกษาไปสู่การปฏิบัติและเสนอผลสะท้อนกลับระหว่างสมาชิกในเครือข่าย และ 5) การพัฒนากระบวนการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายในการจัดสรรและบริหารงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาร่วมกันของสมาชิกในเครือข่าย


แนวทางพัฒนาการบริหารคนเก่งของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร, ภาคี เดชตรัยรัตน์ Jan 2018

แนวทางพัฒนาการบริหารคนเก่งของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร, ภาคี เดชตรัยรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารคนเก่ง 2. นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารคนเก่งของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ฝ่ายงานการบริหารบุคคล และข้าราชการครูที่มีวิทยฐาณะครูชำนาญการพิเศษ (ค.ศ.3) ขึ้นไป จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร จำนวน 463 คน โดยใช้เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารคนเก่ง ด้านการพัฒนาคนเก่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการรักษาคนเก่ง และด้านการจ่ายค่าตอบแทนและให้รางวัลคนเก่งมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2. สภาพพึงประสงค์ของการบริหารคนเก่ง ด้านการรักษาคนเก่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการพัฒนาคนเก่ง และด้านการจ่ายค่าตอบแทนและให้รางวัลคนเก่งมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด และ 3. แนวทางการบริหารคนเก่ง แบ่งเป็น 7 แนวทาง คือ 1) เมื่อคนเก่งมีผลงานดีเด่น ผู้อำนวยการโรงเรียนควรให้การยกย่องชมเชย 2) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรแจ้งให้คนเก่งทราบถึงนโยบาย แนวทาง และกลยุทธ์ของโรงเรียน รวมไปถึงมีแนวทางให้คนเก่งสามารถมีส่วนร่วมให้โรงเรียนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรสร้างกลยุทธ์ในการขึ้นเงินเดือนให้แก่คนเก่งและครูอื่นๆ เพื่อปรับให้คุณสมบัติสอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์โรงเรียน 4) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรกำหนดกลยุทธ์การบริหารคนเก่งให้สอดคล้องกับเป้าหมาย นโยบาย และทิศทางของโรงเรียน 5) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรมีนโยบายกระตุ้นให้คนเก่งคิดแบบก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองตามความสามารถ 6) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อกูลและสนับสนุนให้ครูทุกคนได้แสดงความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ 7) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรมอบหมายให้คนเก่งเข้าร่วมการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกองค์การ หรือร่วมกิจกรรมต่างๆ


แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูในโรงเรียนประถมศึกษา, มณีรัตน์ ปรางค์ทอง Jan 2018

แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูในโรงเรียนประถมศึกษา, มณีรัตน์ ปรางค์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษา 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษา โดยเก็บข้อมูลจากครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 304 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนประถมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พฤติกรรมด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด คือ พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น และพฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ ส่วนพฤติกรรมด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับมาก คือ พฤติกรรมความอดทนอดกลั้น และพฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่ 2. ภาพรวมแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษา มีแนวทางการพัฒนาเป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างการฝึกอบรมในขณะปฎิบัติงานและการฝึกอบรมนอกงาน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านพฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การเรียนรู้แบบออนไลน์และการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว ด้านพฤติกรรมความอดทนอดกลั้นแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การอบรมสัมมนาและการเรียนรู้ผ่านการทำงานกลุ่ม ด้านพฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การศึกษาดูงานและการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฎิบัติจริงหรือการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ด้านพฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่นแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ ระบบพี่เลี้ยงและการศึกษาดูงาน และด้านพฤติกรรมการให้ความร่วมมือแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การศึกษาดูงานและการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความไว้วางใจของคณะครู และคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา, มินตรา ลายสนิทเสรีกุล Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความไว้วางใจของคณะครู และคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา, มินตรา ลายสนิทเสรีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความไว้วางใจของคณะครูและคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความไว้วางใจของคณะครูและคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความไว้วางใจของคณะครูและคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา โดยการวิจัยเป็นแบบผสมผสาน (Mixed-Method Research) โดยใช้การวิจัยเชิงเอกสาร การวิจัยเชิงสำรวจ และการสนทนากลุ่ม ประชากรคือโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสพฐ. สุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 333 โรงและเก็บข้อมูลจาก ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการ หัวหน้ากลุ่มสาระฯ และครู นำมาคำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมถึงวิเคราะห์ค่าความต้องการจำเป็น และนำมาพัฒนาเป็นกลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดของงานวิจัยสร้างจากกรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ กรอบแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กรอบแนวคิดความไว้วางใจของคณะครู และกรอบแนวคิดคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการวัดและประเมินผลมีค่าเฉลี่ยภาพรวมมากที่สุด ส่วนการพัฒนาหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยภาพรวมน้อยที่สุด 3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ความไว้วางใจของคณะครูและคุณภาพของผลลัพธ์ทางการศึกษา ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่ กลยุทธ์หลักที่ 1 ปฏิรูปหลักสูตรด้านคุณภาพผลลัพธ์ทางการศึกษาด้วยแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและความไว้วางใจของคณะครู กลยุทธ์หลักที่ 2 ปฏิวัติการจัดการเรียนการสอนด้วยแนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและความไว้วางใจของคณะครูเพื่อให้เกิดคุณภาพผลลัพธ์ทางการศึกษา และกลยุทธ์หลักที่ 3 ยกระดับการวัดและประเมินผลคุณภาพผลลัพธ์ทางการศึกษาด้วยความไว้วางใจของคณะครูและชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ อันประกอบด้วย 9 กลยุทธ์รอง และ 21 วิธีดำเนินการ


กลยุทธ์การบริหารวิชาการหลักสูตรนายประจำเรือพาณิชย์ตามแนวคิดสมรรถนะตามความต้องการของตลาดแรงงานสากล, เฉลิมวุฒิ แท่นสุวรรณ์ Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารวิชาการหลักสูตรนายประจำเรือพาณิชย์ตามแนวคิดสมรรถนะตามความต้องการของตลาดแรงงานสากล, เฉลิมวุฒิ แท่นสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารวิชาการระดับหลักสูตรและกรอบแนวคิดสมรรถนะนายประจำเรือพาณิชย์ตามความต้องการของตลาดแรงงานสากล 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการหลักสูตรนายประจำเรือพาณิชย์ตามแนวคิดสมรรถนะนายประจำเรือพาณิชย์ตามความต้องการของตลาดแรงงานสากล 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการหลักสูตรนายประจำเรือพาณิชย์ตามแนวคิดสมรรถนะนายประจำเรือพาณิชย์ตามความต้องการของตลาดแรงงานสากล โดยใช้วิธีวิจัยแบบพหุวิธี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 4 สถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรนายประจำเรือพาณิชย์ ประชากรผู้ให้ข้อมูลได้แก่ 1) กลุ่มผู้บริหารหลักสูตร ได้แก่ คณบดี ผู้อำนวยการวิทยาลัย ประธานกรรมการบริหารหลักสูตร และหัวหน้าฝ่ายหลักสูตรหรือวิชาการ 2) กลุ่มผู้นำหลักสูตรไปปฏิบัติ ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนวิชาการเดินเรือ และ 3) กลุ่มผู้เรียน ได้แก่ นักเรียน นักศึกษาหลักสูตรนายประจำเรือพาณิชย์ จำนวน 189 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ (1) ข้อกำหนดจำเพาะของหลักสูตร (2) กระบวนการจัดการเรียนรู้ (3) การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง กรอบแนวคิดสมรรถนะนายประจำเรือพาณิชย์ตามความต้องการของตลาดแรงงานสากล มี 3 กลุ่มหน้าที่ คือ (1) กลุ่มสมรรถนะหน้าที่เดินเรือ 9 สมรรถนะ (2) กลุ่มสมรรถนะหน้าที่การปฏิบัติการงานสินค้าและการจัดเก็บสินค้า 2 สมรรถนะ (3) กลุ่มสมรรถนะหน้าที่การควบคุมการปฏิบัติการบนเรือและการดูแลบุคลากร 16 สมรรถนะ 2) สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง ลำดับความต้องการจำเป็น (PNIModified) สูงสุด คือ การวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการหลักสูตรนายประจำเรือพาณิชย์ตามแนวคิดสมรรถนะนายประจำเรือพาณิชย์ตามความต้องการของตลาดแรงงานสากล ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ (1) …


การพัฒนาคู่มือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ธพลศจกรณ์ พิมพิชัยธกุล Jan 2018

การพัฒนาคู่มือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ธพลศจกรณ์ พิมพิชัยธกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อพัฒนาคู่มือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยผสมผสานแบบพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง คือโรงเรียนมาตรฐานสากลที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศและได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) แหล่งข้อมูลคือรายงานผลการดำเนินงานตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนมาตรฐานสากล จำนวน 7 เล่ม ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 26 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 3 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 8 คน ข้าราชการครู จำนวน 15 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูล แบบสังเกต และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนมาตรฐานสากล ประกอบด้วยกระบวนการสำคัญ จำนวน 9 กระบวนการ ได้แก่ 1) การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ 2) การออกแบบโครงสร้างองค์กรและการออกแบบงาน 3) การสรรหา ว่าจ้าง บรรจุ โอนย้าย และการรักษาบุคลากร 4) การพัฒนาบุคลากร 5) การประเมินผลการปฏิบัติงานและการบริหารผลการปฏิบัติงาน 6) การบริหารค่าตอบแทนและสิทธิประโยชน์ 7) การบริหารความก้าวหน้าในวิชาชีพ 8) งานวินัยและนิติการ และ 9) การบริหารความผูกพันของบุคลากร 2. คู่มือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลตามเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 5 บท ดังนี้ บทที่ 1 บทนำ ประกอบด้วย ความเป็นมาและความสำคัญ วัตถุประสงค์ของคู่มือ ขอบเขตของคู่มือ คำจำกัดความที่ใช้ในคู่มือ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 โครงสร้างการบริหารและบทบาทหน้าที่รับผิดชอบ ประกอบด้วย โครงสร้างการบริหารงานบุคลากร ลักษณะงานที่ปฏิบัติ และบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบ บทที่ 3 ระเบียบและหลักเกณฑ์การบริหารทรัพยากรมนุษย์ ประกอบด้วย …


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม, ดวงจิต สนิทกลาง Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม, ดวงจิต สนิทกลาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากรอบแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม 2. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม 3. พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม ดำเนินการวิจัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 342 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร ครู และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินกรอบแนวคิดในการวิจัย และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า 1. กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม ประกอบด้วย การบริหารงานวิชาการ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล และ การบริหารงานกิจการนักเรียน ได้แก่ งานสภานักเรียน และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2. กรอบแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม ประกอบด้วย 1) การมีวิสัยทัศน์ 2) การรู้จักอัตลักษณ์ของตนเอง 3) การเป็นคนสร้างแรงบันดาลใจ 4) การมีกัลยาณมิตร 5) การมีจิตสาธารณะ 6) การมีภูมิปัญญา 7) การมีความสามัคคีปรองดอง 8) การมีสัจจะ กล้าหาญ มุ่งมั่น และ 9) การยึดมั่นคุณธรรมจริยธรรมและความดีงาม และ 10) การเน้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนา 3. สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม มีกลยุทธ์หลัก 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) ปฏิรูปหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างนักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม 2) ปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม 3) ปรับเปลี่ยนระบบการวัดผลและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม …


แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษา, ชนิษฐา จำเนียรสุข Jan 2018

แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษา, ชนิษฐา จำเนียรสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาการบริหารงานวิชาการและความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษา และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 222 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 111 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการ จำนวน 50 คน ครูประจำชั้น จำนวน 157 คน ผู้ปกครอง จำนวน 44 คน รวมทั้งสิ้น 251 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 2 ชุด คือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัยฯ แบบมาตรประมาณค่า และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษา สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับ มาก (x ̅ = 4.30, S.D. = 0.73) และมากที่สุด (x ̅ = 4.52, S.D. = 0.73) ตามลำดับ โดยด้านที่มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดคือ การพัฒนาหลักสูตร (PNImodified = 0.0581) รองลงมาคือ การประเมินพัฒนาการ (PNImodified = 0.0514) การจัดประสบการณ์ (PNImodified = 0.0491) และการจัดสภาพแวดล้อม สื่อ และแหล่งเรียนรู้ (PNImodified = 0.0487) ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนอนุบาลเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดความพร้อมในการเข้าเรียนประถมศึกษา มีทั้งหมด 4 แนวทางหลัก และ …


การพัฒนาคู่มือการบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา, คเชนเทพ จันทรวงศ์ Jan 2018

การพัฒนาคู่มือการบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา, คเชนเทพ จันทรวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา และเพื่อพัฒนาคู่มือการบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยมีแหล่งข้อมูลประกอบด้วยเอกสารดังต่อไปนี้ 1) ระเบียบ/ข้อบังคับ/ธรรมนูญว่าด้วยสภานักเรียนของโรงเรียน, 2) เอกสารคู่มือ/แนวทางการดำเนินงานสภานักเรียนของโรงเรียน, 3) แผนงาน/โครงการ/รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน และ 4) เอกสารประกอบการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียนในปีที่ได้รับรางวัล ในส่วนของการมีส่วนร่วมของสภานักเรียนในการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน (องค์ประกอบที่ 2) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 48 รายการ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร, แบบประเมินความเหมาะสมของ (ร่าง) แนวทางฯ และแบบประเมินคุณภาพของ (ร่าง) คู่มือการบริหารงานสภานักเรียนฯ และผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สรุปผลการวิจัยที่สำคัญได้ดังนี้ 1. แนวทางการบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา มีทั้งหมด 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning) ขั้นตอนที่ 2 การนำแผนสู่การปฏิบัติ (Implementation) และขั้นตอนที่ 3 การประเมินผล (Evaluation) ซึ่งการบริหารงานสภานักเรียนแบ่งกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคารวธรรม (Respect for Individuals), ด้านสามัคคีธรรม (Sharing, Participating, and Co-operating) และด้านปัญญาธรรม (Faith in the Method of Intelligence) 2. คู่มือการบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย ชื่อคู่มือ (Name), คำชี้แจง (Explanation), ความเป็นมาและความสำคัญ (Background and Signification), วัตถุประสงค์ (Objectives), ขอบเขต (Scope), คำจำกัดความ (Definition), การบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยประกอบด้วย ขั้นตอนการบริหารงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน …


แนวทางการบริหารการสื่อสารองค์การของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร, สุชาดา สุมน Jan 2018

แนวทางการบริหารการสื่อสารองค์การของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร, สุชาดา สุมน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารการสื่อสารองค์การของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร 2) ศึกษาปัญหาในการบริหารการสื่อสารองค์การของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร และ 3) นำเสนอแนวทางการบริหารการสื่อสารองค์การของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร กรอบแนวคิดของการวิจัยประกอบด้วย การสื่อสารภายในองค์การและการบริหาร ประชากร คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 119 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูที่เป็นตัวแทนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย และนักเรียนที่เป็นคณะกรรมการนักเรียน รวม 423 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามแบบมีคำถามปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) สภาพการบริหารการสื่อสารองค์การของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ 1.1) ด้านการวางแผน ผู้บริหาร ครู และนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยในการปฏิบัติสูงสุดคิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.19 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.96 1.2) ด้านการปฏิบัติ ผู้บริหาร ครู และนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุดคิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.13 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.09 และ 1.3) ด้านการประเมินผล ผู้บริหาร ครู และนักเรียนมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยผู้บริหารมีค่าเฉลี่ยการปฏิบัติสูงสุดคิดเป็นค่าเฉลี่ย 4.22 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.99 2) ปัญหาในการการบริหารการสื่อสารองค์การของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ 2.1) ด้านการวางแผน ผู้บริหาร ครู และนักเรียนมีความเห็นเกี่ยวกับปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง โดยนักเรียนมีค่าเฉลี่ยเกี่ยวกับปัญหาสูงสุดคิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.09 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.10 2.2) ด้านการปฏิบัติ ครูและนักเรียนมีความเห็นเกี่ยวกับปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนผู้บริหารมีความเห็นอยู่ในระดับน้อย โดยนักเรียนมีค่าเฉลี่ยเกี่ยวกับปัญหาสูงสุดคิดเป็นค่าเฉลี่ย 3.10 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 1.09 และ …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหาร ตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21, สราวุฒิ กันเอี่ยม Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหาร ตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21, สราวุฒิ กันเอี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหารและทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหารตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหารตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเตรียมทหาร ผู้อำนวยการกองวิชา อาจารย์ และนักเรียนเตรียมทหาร รวม 456 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified รวมทั้งการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนเตรียมทหาร ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้ (3) การวัดผลและประเมินผล (4) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษา และกรอบแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มี 10 องค์ประกอบ คือ (1) ทักษะการเรียนรู้ (2) ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (3) ทักษะการติดต่อสื่อสาร (4) ทักษะการทำงานเป็นทีม (5) ทักษะการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (6) ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (7) ทักษะในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (8) ทักษะผู้นำที่มีความรับผิดชอบ (9) ทักษะการคิดยืดหยุ่นและการปรับตัว (10) ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้สังคมข้ามวัฒนธรรม 2) สภาพปัจจุบันภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษา ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือด้านการจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษา 3) จุดแข็ง คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการวัดและประเมินผล จุดอ่อน คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษา สภาพแวดล้อมภายนอกในภาพรวมไม่พบโอกาส แต่พบภาวะคุกคาม …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0, พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0, พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา และคนไทย 4.0 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0 โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีพหุระยะ (Multi - phase mixed method research) ที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมจำนวน 589 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้ (3) การวัดผลประเมินผล (4) การพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา กรอบแนวคิดคนไทย 4.0 มี 9 คุณลักษณะ ได้แก่ (1) พฤติกรรมเชิงรุก (2) ความคิดสร้างสรรค์ (3) ความคิดวิจารณญาณ (4) จิตสาธารณะ (5) ความร่วมมือร่วมใจ (6) พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรม (7) ความฉลาดทางอารมณ์ (8) พฤติกรรมแสวงหาสารสนเทศ (9) ความเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา 3) จุดแข็ง คือ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ จุดอ่อน …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม, อมรรัตน์ ศรีพอ Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม, อมรรัตน์ ศรีพอ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม โดยการวิจัยแบบผสมผสานวิธีแบบพหุระยะ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ โรงเรียนเอกชนในระบบประเภทสามัญที่เปิดทำการเรียนการสอนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 223 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการหรือหัวหน้าฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนการสอน (3) การวัดผลและประเมินผล กรอบแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 4 กลุ่ม 9 ทักษะ ในขณะที่กรอบแนวคิดทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย 5 กลุ่ม 10 ทักษะ 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดการเรียนการสอน 3) จุดแข็ง คือ การพัฒนาหลักสูตร จุดอ่อน คือ การจัดการเรียนการสอน โอกาส คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ การเมืองและนโยบายของรัฐ สภาพเศรษฐกิจ และสภาพสังคม 4) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ (1) พัฒนาหลักสูตรที่มุ่งลดจุดอ่อนผู้เรียนด้านทักษะความคิดยืดหยุ่นคล่องตัวและหลักแหลมและทักษะการคิดแนวขวาง (2) ยกระดับการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งลดจุดอ่อนด้านทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเสริมจุดแข็งด้านทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม (3) ปรับระบบการวัดผลและประเมินผลที่มุ่งลดจุดอ่อนผู้เรียนด้านทักษะความคิดริเริ่มสิ่งใหม่และทักษะการคิดแก้ไขและเข้าใจตัวบุคคล


แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, ปาจรีรัตน์ อิงคะวะระ Jan 2018

แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, ปาจรีรัตน์ อิงคะวะระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำแบบ กระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) เพื่อนำเสนอแนว ทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็นผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษา ประชากรคือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 จำนวน 138 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุพรรณบุรี เขต 1 จำนวน 78 โรงเรียน โดยผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือรักษาราชการแทนผู้อำนวยการโรงเรียน และ ครูผู้สอนจำนวน 234 คน เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือ แบบสอบถามและแบบประเมินคามเหมาะสมและเป็นไปได้ของ แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยมี ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า โดยสถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นจากสูตร Modified Priority Index (PNImodified) และจัดลำดับความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ ของภาวะผู้นำแบบกระจายความเป็น ผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และมาก ที่สุด โดยด้านที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายร่วม (PNImodified =0.213) รองลงมาคือด้านกระบวนการตัดสินใจ (PNImodified = 0.207) ด้านการประสานงานและความร่วมมือ (PNImodified =0.206) และด้านความรับผิดชอบและความตระหนักต่อหน้าที่ (PNImodified =0.178) 2) แนวทางการ พัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กำหนดได้ 4 แนวทาง หลัก และ 12 วิธีดำเนินการ ดังนี้ 1) ความสัมพันธ์เชิงพัฒนาเพื่อการมีวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายร่วม 3 วิธีดำเนินการ 2) ความสัมพันธ์เชิงพัฒนาเพื่อกระบวนการตัดสินใจ 3 วิธีดาเนินการ 3) ความสัมพันธ์เชิงพัฒนา เพื่อการประสานงานและความร่วมมือ 3 วิธีดำเนินการ …


แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่เอาใจใส่ของผู้บริหารโรงเรียนตามวิสัยทัศน์การศึกษาของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย, ดารญา ตันตินีรนาท Jan 2018

แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่เอาใจใส่ของผู้บริหารโรงเรียนตามวิสัยทัศน์การศึกษาของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย, ดารญา ตันตินีรนาท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทภาวะผู้นำที่เอาใจใส่ของผู้บริหารโรงเรียนตามวิสัยทัศน์การศึกษาของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำที่เอาใจใส่ของผู้บริหารโรงเรียนตามวิสัยทัศน์การศึกษาของมูลนิธิแห่งสภาคริสตจักรในประเทศไทย การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จากโรงเรียนที่มีแนวปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) ตัวอย่าง คือ ผู้บริหารจากโรงเรียนขนาดใหญ่ กลาง เล็ก โรงละ 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง 2) แบบบันทึกข้อค้นพบจากเอกสารและการสังเกต แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ว่า ผู้บริหารโรงเรียนมีบทบาทภาวะผู้นำที่เอาใจใส่ผู้ปฏิบัติงาน (Caring for Staff) และบทบาทภาวะผู้นำที่เอาใจใส่นักเรียน (Caring for Client) ในระดับสูงทุกด้าน และบทบาทภาวะผู้นำที่เอาใจใส่ตนเอง (Caring for self) อยู่ในระดับต่ำสุด มีองค์ประกอบที่มีความจำเป็นต้องพัฒนาสูงสุด คือการดูแลสุขภาพตนเอง การบริหารเวลาในชีวิตประจำวัน และการบริหารความเครียด แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำ มี 5 แนวทาง คือ 1) การทำความรู้จัดตนเอง โดยการรับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย มีการปรับทัศนคติของตนเองจัดการปัญหาโดยการปรับอารมณ์ (Emotion-focused of Coping) 2) การสร้างวินัยตนเอง โดยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ สร้างสมดุลระหว่างการทำงานและชีวิตประจำวัน วางแผนจัดลำดับความสำคัญก่อนหลัง เพื่อให้ได้งานที่มีประสิทธิภาพและไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ 3) การศึกษา โดยการเรียนรู้เพื่อสะสมองค์ความรู้มาปรับใช้ในการทำงาน 4) การแสวงหาประสบการณ์ โดยการเรียนรู้จากบุคคลต้นแบบ ผู้บริหารในระดับสูงกว่า เพื่อนร่วมงาน และจากงานที่รับผิดชอบ 5) การให้คำปรึกษา ด้วยการทำงานเป็นทีมมีการประชุมปรึกษาเพื่อการทำงาน และแก้ไขปัญหา


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประจำตามแนวคิดความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21, ดารัตน์ กันเอี่ยม Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประจำตามแนวคิดความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21, ดารัตน์ กันเอี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนประจำและความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนประจำ และความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนประจำตามแนวคิดความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการเรียน หัวหน้างานหอพัก หรือครูดูแลนักเรียนประจำ และครูผู้สอน จำนวน 95 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนประจำ ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้ (3) การวัดและประเมินผล (4) การบริหารกิจการนักเรียน (5) การบริหารหอพัก กรอบแนวคิดความเป็นพลเมืองในศตวรรษที่ 21ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ ความเป็นพลเมืองชาติ พลเมืองโลก พลเมืองดิจิทัล 2) สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการบริหารกิจการนักเรียน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ และการบริหารกิจการนักเรียน 3) จุดแข็งของสภาพแวดล้อมภายใน คือ การบริหารกิจการนักเรียน จุดอ่อนของสภาพแวดล้อมภายใน คือ การบริหารหอพักนักเรียนประจำ (PNImodified = 0.239) โอกาสของสภาพแวดล้อมภายนอกในภาพรวม คือ ด้านการเมืองและนโยบายของรัฐ (PNImodified = 0.252) และด้านเทคโนโลยี (PNImodified = 0.255) ภาวะคุกคามของสภาพแวดล้อมภายนอกในภาพรวม คือ ด้านสภาพเศรษฐกิจ (PNImodified = 0.264) และด้านสภาพสังคม (PNImodified = …


การพัฒนารูปแบบการคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหาร ตามแนวคิดสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทย ในศตวรรษที่ 21, ตวงพร ศรีชัย Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหาร ตามแนวคิดสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทย ในศตวรรษที่ 21, ตวงพร ศรีชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทยในศตวรรษที่ 21 และกรอบ แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก 2) ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทย ในศตวรรษที่ 21 และสภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบการคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก และ 3) พัฒนารูปแบบการคัดเลือกนักเรียน เตรียมทหารตามแนวคิดสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทยในศตวรรษที่ 21 ดำเนินการวิจัยโดยใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บข้อมูล จากการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้การคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงตามเกณฑ์ที่กำหนด ประกอบด้วย นายทหารสัญญาบัตรกองทัพบก ไทยที่มีสมรรถนะสูง จำนวน 10 นาย และนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทยที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับกระบวนการคัดเลือกนักเรียนนายร้อยทหารบกของ ไทยและต่างประเทศ จำนวน 4 นาย บุคลากรที่ทำหน้าที่บริหาร ผู้สอน และนายทหารปกครองจากโรงเรียนเตรียมทหารและโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า จำนวน 5 นาย เก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์ ลักษณะคำถามเป็นแบบตรวจสอบรายการ และคำถามปลายเปิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จาก การศึกษาเอกสาร และความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดเกี่ยวกับสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตรกองทัพบกไทยในศตวรรษที่ 21 มีสมรรถนะ 9 ด้าน และกรอบ แนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบการคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก มีทั้งหมด 6 รูปแบบ 2) สภาพที่พึงประสงค์ของสมรรถนะนายทหารสัญญาบัตร กองทัพบกไทยในศตวรรษที่ 21 เรียงลำดับความสำคัญของสมรรถนะจากมากไปน้อย ได้ดังนี้ 1) พันธสัญญาและความจงรักภักดีต่อกองทัพ และสถาบันหลัก ของชาติ 2) การเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 3) ความตระหนัก 4) ความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ 5) ความเป็นผู้นำ 6) ความสามารถในการบริหารจัดการ 7) ความ ยืดหยุ่น 8) การปรับตัวได้อย่างรวดเร็ว และ 9) ความเป็นพันธมิตร สภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบการคัดเลือกนักเรียนเตรียมทหารในส่วนของกองทัพบก ประกอบด้วย รูปแบบการพิจารณาใบสมัคร รูปแบบการทดสอบ 3 ด้าน คือ การทดสอบทางวิชาการ การทดสอบสมรรถภาพร่างกาย และการทดสอบทาง จิตวิทยา รูปแบบการพิจารณาภาวะผู้นำ รูปแบบการตรวจร่างกาย รูปแบบการสัมภาษณ์ และ รูปแบบการตัดสินผลการคัดเลือก …


นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความมีชื่อเสียงขององค์การที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรทางการศึกษา, กนกพร แสนสุขสม Jan 2018

นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความมีชื่อเสียงขององค์การที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรทางการศึกษา, กนกพร แสนสุขสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ความมีชื่อเสียงขององค์การ และการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 2) ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความมีชื่อเสียงขององค์การกับการระดมทรัพยากรทางการศึกษา 3) พัฒนานวัตกรรมการบริหารโรงเรียนตามแนวคิดความมีชื่อเสียงขององค์การที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรทางการศึกษา กลุ่มประชากรคือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ใช้กลุ่มตัวอย่าง 257 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง รวม 1,416 คนและศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีจากโรงเรียนจำนวน 5 โรงเรียน เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์อย่างมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โมเดลสมการโครงสร้าง และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียน ประกอบด้วย การบริหารงานวิชาการ การบริหารงานบุคคล การบริหารงานงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป กรอบแนวคิดความมีชื่อเสียงองค์การ ประกอบด้วย ผลผลิตทางการศึกษา การบริการ นวัตกรรม สถานที่ทำงาน การบริหารจัดการ ความเป็นพลเมือง ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และผลการปฏิบัติงาน และกรอบแนวคิดการระดมทรัพยากรทางการศึกษา ประกอบด้วย เงินอุดหนุน เงินบริจาค และ เงินบำรุงการศึกษาและรายได้อื่น ๆ 2) โมเดลสมการโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุขององค์ประกอบการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความมีชื่อเสียงขององค์การที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรทางการศึกษาสอดคล้องกับโมเดลเชิงประจักษ์ โดยองค์ประกอบที่มีอิทธิพลในทางบวกต่อการระดมทรัพยากรทางการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ นวัตกรรม สถานที่ทำงาน และผลการปฏิบัติงาน 3) นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดความมีชื่อเสียงขององค์การที่มีผลต่อการระดมทรัพยากรทางการศึกษาชื่อ "นวัตกรรมการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา SHEI" อันประกอบด้วยนวัตกรรมการบริหารงานวิชาการสู่ความเข้มแข็งทางร่างกายและจิตใจของนักเรียน จำนวน 4 นวัตกรรมย่อย นวัตกรรมบริหารงานบุคคลสู่สถานที่ทำงานแห่งความสุขของครู จำนวน 3 นวัตกรรมย่อย นวัตกรรมการบริหารงานทั่วไปสู่ความผูกพันของศิษย์เก่าและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อโรงเรียน จำนวน 1 นวัตกรรมย่อย และนวัตกรรมการบริหารงานงบประมาณสู่การหารายได้ด้วยโรงเรียนเอง จำนวน 1 นวัตกรรมย่อย


กลยุทธ์การบริหารห้องสมุดกองทัพบกตามแนวคิดการพัฒนากำลังพลที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์กองทัพบก พ.ศ. 2560-2579, กฤษฎา สว่างงาม Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารห้องสมุดกองทัพบกตามแนวคิดการพัฒนากำลังพลที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์กองทัพบก พ.ศ. 2560-2579, กฤษฎา สว่างงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารห้องสมุดกองทัพบก และการพัฒนากำลังพลตามยุทธศาสตร์กองทัพบก พ.ศ. 2560-2579 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารห้องสมุดกองทัพบก 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารห้องสมุดกองทัพบก และ 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารห้องสมุดกองทัพบกตามแนวคิดการพัฒนากำลังพลที่ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์กองทัพบก พ.ศ. 2560-2579 โดยใช้การวิจัยแบบผสมวีพหุระยะ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร/หัวหน้าห้องสมุด บรรณารักษ์ และผู้ใช้บริการห้องสมุดจากห้องสมุดในสังกัดของกองทัพบก จำนวน 28 แห่ง รวมจำนวน 356 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมิน กรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI [subscript modified] และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารห้องสมุดกองทัพบก ประกอบด้วย 4 งาน คือ (1) งานบริหาร (2) งานเทคนิค (3) งานบริการ และ (4) งานประชาสัมพันธ์ สำหรับกรอบแนวคิดการพัฒนากำลังพลตามยุทธศาสตร์กองทัพบก พ.ศ. 2560-2579 ประกอบไปด้วย 6 ยุทธศาสตร์ 2) สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ งานบริหาร ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเช่นกัน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ งานประชาสัมพันธ์ ทั้งนี้ เมื่อจำแนกตามยุทธศาสตร์กองทัพบก พ.ศ. 2560-2579 พบว่า ยุทธศาสตร์ที่มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมสูงที่สุด คือ การพิทักษ์รักษาและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ ส่วนยุทธศาสตร์ที่มีค่าเฉลี่ยสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ฯ ในภาพรวมน้อยที่สุด คือ การเสริมสร้างความร่วมมือด้านการทหารกับต่างประเทศ 3) จุดแข็ง คือ งานบริหาร จุดอ่อน คือ งานบริการ โอกาส คือ ด้านความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามแนวคิดสมรรถนะข้ามสายงาน, น้ำอ้อย ชินวงศ์ Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามแนวคิดสมรรถนะข้ามสายงาน, น้ำอ้อย ชินวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐและสมรรถนะข้ามสายงาน 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามแนวคิดสมรรถนะข้ามสายงาน 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามแนวคิดสมรรถนะข้ามสายงาน โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase mixed method approach) ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ จำนวน 24 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ได้แก่ คณบดี รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตนักศึกษา หัวหน้าภาควิชา และคณาจารย์ รวมจำนวน 448 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ความเหมาะสมของกรอบแนวคิดวิจัย แบบสอบถาม แบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ประกอบด้วยการดำเนินงาน 4 ด้าน ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนการสอน (3) การจัดกิจการพัฒนานิสิตนักศึกษา และ (4) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กรอบแนวคิดสมรรถนะข้ามสายงาน ประกอบด้วย สมรรถนะหลัก 5 กลุ่ม ได้แก่ (1) การคิดวิพากษ์และนวัตกรรม (2) ทักษะระหว่างบุคคล (3) ทักษะภายในบุคคล (4) ความเป็นพลเมืองโลก และ (5) ความฉลาดรู้ทางสื่อและสารสนเทศ 2) สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การพัฒนาหลักสูตร 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐตามแนวคิดสมรรถนะข้ามสายงาน ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 12 กลยุทธ์รอง 37 วิธีดำเนินการ โดยมีกลยุทธ์หลัก คือ (1) เร่งรัดพัฒนาหลักสูตรตามแนวคิดสมรรถนะข้ามสายงาน มีกลยุทธ์รองคือ 1.1) …


แนวทางพัฒนาการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร, พิชญ์ภรณ์ เกื้ออรุณ Jan 2018

แนวทางพัฒนาการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางใน โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร, พิชญ์ภรณ์ เกื้ออรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางของโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นการวิจัยบรรยายเชิงปริมาณ (Quantitative Descriptive Research) ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 จำนวน 67 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูหัวหน้างาน จำนวน 153 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวทางพัฒนาการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางใน โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานครแบ่งเป็น 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์การวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา อยู่ในระดับมาก ค่าดัชนีความต้องการจำเป็นในการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษา โดยภาพรวมคือ 0.260 (PNImodified = 0.260) และกระบวนการวางแผนสืบทอดตำแหน่ง พบว่า การวิเคราะห์ความสามารถและสมรรถภาพบุคคล มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุด ( PNImodified = 0.311) การกำหนดตำแหน่งงานเป้าหมาย หรือ ตำแหน่งหลัก ที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด (PNImodified = 0.260) 2) แนวทางพัฒนาการวางแผนสืบทอดตำแหน่งผู้บริหารระดับกลางใน โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย 5 แนวทางหลัก และ 5 แนวทางรอง


กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูทหารของโรงเรียนเหล่าตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก, ปัณฑารีย์ เมฆมณี Jan 2018

กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูทหารของโรงเรียนเหล่าตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก, ปัณฑารีย์ เมฆมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก สมรรถนะครูทหาร และการพัฒนาสมรรถนะ 2) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาสมรรถนะครูทหารของโรงเรียนเหล่าตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก 3) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการพัฒนาสมรรถนะครูทหารของโรงเรียนเหล่าตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก 4) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะครูทหารของโรงเรียนเหล่าตามแนวคิดการเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ผู้บริหารโรงเรียนเหล่า ครู-อาจารย์โรงเรียนเหล่า และผู้ใช้ผลผลิตของโรงเรียนเหล่าจากกองทัพภาคที่ 1-4 รวมกลุ่มผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้นจำนวน 484 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นและการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสังเคราะห์ข้อมูล แบบประเมินกรอบแนวคิด และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความถี่ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า (1) กรอบแนวคิดประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1. ขีดความสามารถกำลังพลของกองทัพบก ประกอบด้วย ขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจในสงคราม (War) และขีดความสามารถในการปฏิบัติภารกิจนอกเหนือจากสงคราม (MOOTW) 2. สมรรถนะครูทหาร ประกอบด้วย สมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน สมรรถนะด้านความเป็นครูทหาร สมรรถนะด้านคุณลักษณะทางทหาร สมรรถนะด้านความรู้เทคนิคเฉพาะเหล่า 3. การพัฒนาสมรรถนะ ประกอบด้วย การฝึกอบรมขณะทำงาน ได้แก่ การมอบหมายงาน การสอนงาน การฝึกงาน และการฝึกอบรมนอกงาน ได้แก่ การอบรมสัมมนา และการอบรมผ่านสื่อออนไลน์ (2) สภาพปัจจุบันในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้เทคนิคเฉพาะเหล่า และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การพัฒนาสมรรถนะด้านความเป็นครูทหาร สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้เทคนิคเฉพาะเหล่า และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ การพัฒนาสมรรถนะด้านความเป็นครูทหาร (3) จุดแข็ง คือ การพัฒนาสมรรถนะด้านความรู้เทคนิคเฉพาะเหล่า จุดอ่อน คือ การพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนการสอน โอกาส คือ ด้านสภาพสังคม ด้านเศรษฐกิจ และด้านการเมืองและนโยบายของรัฐ ภาวะคุกคาม คือ ด้านเทคโนโลยี (4) …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษา, พีรสิชฌ์ มีสมสาร Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษา, พีรสิชฌ์ มีสมสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษา และแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษา 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษา ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สถานศึกษาอาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชนทั่วประเทศ จำนวน 203 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงแบนมาตรฐาน การจัดลำดับความต้องการจำเป็น หรือ ค่าดัชนี PNIModified และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษา ประกอบไปด้วย 4 ประเด็น ได้แก่ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนการสอน (3) กิจกรรมเสริมหลักสูตร (4) การวัดและประเมินผล และแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษา ประกอบไปด้วย 3 ประเด็น ได้แก่ (1) การพัฒนาการรู้ใช้ (2) การพัฒนาการรู้เข้าใจ (3) การพัฒนาการรู้สร้างสรรค์ 2. สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x = 3.614 และ SD = 0.836) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( x = 4.606 และ SD = 0.554) 3. กลยุทธ์การบริหารวิชาการของสถานศึกษาอาชีวศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนนักศึกษา ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ 1) พัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอาชีวศึกษาสู่การพัฒนาการรู้ดิจิทัล กลยุทธ์รอง 1.1) กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาอาชีวศึกษาสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการรู้สร้างสรรค์ดิจิทัล 1.2) กำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตรสถานศึกษาอาชีวศึกษาสู่การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อพัฒนาการรู้เข้าใจดิจิทัล และ 8 วิธีดำเนินการ 2) ยกระดับการเรียนการสอน การฝึกงาน และกิจกรรมเสริมหลักสูตรสู่การเพิ่มสมรรถนะด้านการรู้เข้าใจ …


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว, ปาฑ์ ไกรวิญญ์ Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว, ปาฑ์ ไกรวิญญ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาและการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว และ 3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีอธิบายขยายความ (Explanatory Sequential Mixed Methods Design) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative Data Collection) ร่วมกับการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative Data Collection) กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนเอกชนที่มีการเปิดสอนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่6 จำนวน 240 โรงเรียน ทั่วประเทศ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาและการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างกลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการใช้สถิติเชิงบรรยาย คือร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษา ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนการสอน การจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และการวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว ประกอบด้วย การพัฒนานักเรียนในด้านดังต่อไปนี้ 1) การตระหนักในสถานการณ์ (Situational Awareness) 2) การตระหนักถึงจุดมุ่งหมาย (Sense of Purpose) 3) ความเข้าใจในผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Understanding) 4) สไตล์การใช้อำนาจ (Power Style) 5) ความตระหนักในการเชื่อมโยง(Connective Awareness) 6) การตัดสินใจอย่างมีวิจารณญาณ (Reflective Judgement) 7) การตระหนักในตนเอง(Self-awareness) 8) แรงจูงใจเชิงพัฒนา (Developmental Motivation) 2. สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนเอกชนระดับมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำอย่างคล่องแคล่ว โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก( x̄ = 3.5735) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( x̄ …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการเรียนการสอนที่มีผลิตภาพสำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่าง, สมิทธ์ อุดมมะนะ Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการเรียนการสอนที่มีผลิตภาพสำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่าง, สมิทธ์ อุดมมะนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชน การเรียนการสอนที่มีผลิตภาพและผู้เรียนที่มีความแตกต่าง 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการเรียนการสอนที่มีผลิตภาพสำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่าง 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการเรียนการสอนที่มีผลิตภาพสำหรับผู้เรียนที่มีความแตกต่าง ประชากรคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัด สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ประเภท สามัญศึกษา จำนวน 1,032 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลแต่ละโรงเรียนได้แก่ ผู้บริหาร ครู และครูฝ่ายวิชาการ รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 864 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบวิจัย แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ โดยมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) และวิเคราะห์เนื้อหาจากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดของการบริหารวิชาการโรงเรียนเอกชน การเรียนการสอนที่มีผลิตภาพและผู้เรียนที่มีความแตกต่าง ได้แก่ 1.1) การบริหารวิชาการ ประกอบด้วย (1) หลักสูตร (2) การเรียนการสอน (3) การวัดและประเมินผล 1.2) การเรียนการสอนที่มีผลิตภาพ ประกอบด้วย (1) คุณภาพทางปัญญา (2) การเชื่อมโยง (3) ห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียน (4) การยอมรับและเห็นคุณค่าในความแตกต่าง 1.3) ผู้เรียนที่มีความแตกต่าง ประกอบด้วย (1) ผู้เรียนมีผลการเรียนระดับสูง (2) ผู้เรียนมีผลการเรียนระดับกลาง (3) ผู้เรียนมีผลการเรียนระดับต่ำ 2) สภาพปัจจุบัน ด้านหลักสูตร ผู้เรียนที่มีผลการเรียนระดับสูง และ ระดับกลาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผู้เรียนที่มีผลการเรียนระดับต่ำ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการเรียนการสอน ผู้เรียนที่มีผลการเรียนระดับสูง และ ระดับกลาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผู้เรียนที่มีผลการเรียนระดับต่ำ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการวัดและประเมินผล ผู้เรียนที่มีผลการเรียนระดับสูง และ ระดับกลาง โดยรวมอยู่ในระดับมาก ผู้เรียนที่มีผลการเรียนระดับต่ำ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ในส่วนของสภาพที่พึงประสงค์ ด้านหลักสูตรผู้เรียนที่มีผลการเรียนระดับสูง และ ระดับกลาง …


แนวทางการฝึกอบรมและพัฒนาสมรรถนะนักการทูตตามแนวคิดการทูตมาตรฐานสากล, สุวนีย์ เอื้อพันธ์ศิริกุล Jan 2018

แนวทางการฝึกอบรมและพัฒนาสมรรถนะนักการทูตตามแนวคิดการทูตมาตรฐานสากล, สุวนีย์ เอื้อพันธ์ศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดสมรรถนะนักการทูตตามแนวคิดการทูตมาตรฐานสากล 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพพึงประสงค์ของการฝึกอบรมและพัฒนาสมรรถนะนักการทูต และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการฝึกอบรมและพัฒนาสมรรถนะนักการทูตตามแนวคิดการทูตมาตรฐานสากล โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีแบบ Explanatory Sequential Mixed Method Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักการทูตระดับชำนาญการพิเศษ นักการทูตระดับชำนาญการ และนักการทูตระดับปฏิบัติการ จำนวน 240 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณคือ แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดสมรรถนะนักการทูตตามแนวคิดการทูตมาตรฐานสากลประกอบด้วย สมรรถนะสำคัญ 4 กลุ่ม โดยมีองค์ประกอบย่อยรวม 14 สมรรถนะ 2) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาสมรรถนะนักการทูต พบว่า ในภาพรวมมีการฝึกอบรมและพัฒนาด้วยรูปแบบการพัฒนาในขณะปฏิบัติงาน และรูปแบบการเรียนรู้ผสมผสาน อยู่ในระดับปานกลาง ส่วนรูปแบบการพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงาน อยู่ในระดับน้อย ในขณะที่สภาพพึงประสงค์อยู่ในระดับมากทุกรูปแบบการฝึกอบรมและพัฒนา โดยรูปแบบการพัฒนานอกเวลาปฏิบัติงานเป็นรูปแบบการพัฒนาที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด รองลงมาคือ รูปแบบการเรียนรู้ผสมผสาน และรูปแบบการพัฒนาในขณะปฏิบัติงาน และ 3) แนวทางการฝึกอบรมและพัฒนาสมรรถนะนักการทูตตามแนวคิดการทูตมาตรฐานสากลใช้รูปแบบการเรียนรู้ผสมผสาน 2 วิธีการเข้าด้วยกัน ประกอบด้วย (1) วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาที่จำเป็นและควรทำเพิ่ม และ 2) วิธีการฝึกอบรมและพัฒนาที่ทำได้ดีอยู่แล้วและควรทำต่อไป