Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Early Childhood Education

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2018

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Education

บทบาทครูในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, อภิพร เป็งปิง Jan 2018

บทบาทครูในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, อภิพร เป็งปิง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบทบาทครูในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใน 2 ด้าน ได้แก่ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูประจำชั้นระดับอนุบาล 1-3 จำนวน 456 คน ในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 4 สังกัด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ครูอนุบาลมีบทบาทในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาลในระดับมาก (x̅ = 4.23) โดยด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติ (x̅ = 4.36) สูงกว่าด้านการจัดการเรียนรู้ (x̅ = 4.10) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้าน พบว่า 1) ด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ครูเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ที่มีความเข้มแข็งทางจิตใจโดยการเป็นผู้ที่รับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในห้องเรียน ปลูกฝังให้เด็กเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดีครูเป็นบุคคลที่เด็กให้ความไว้วางใจ และให้ความร่วมมือกับผู้ปกครองในการดูแลเด็ก สร้างบรรยากาศที่ให้เด็กมีส่วนร่วมในห้องเรียน มีตารางกิจวัตรประจำวันที่แน่นอนเพื่อให้เด็กคาดเดาเหตุการณ์ได้ มองข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในห้องเรียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้และเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้การแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ ครูสอนทักษะทางสังคมให้เด็กโดยการเป็นแบบอย่างของผู้ที่แก้ปัญหาอย่างใจเย็น ปฏิบัติตามข้อตกลงในชั้นเรียนที่ทำร่วมกัน สอนให้เด็กรู้จักขอบคุณและขอโทษผู้อื่น สนับสนุนให้เด็กประเมินและควบคุมอารมณ์ของตนเอง จัดประสบการณ์ในชั้นเรียนให้มีความหลากหลายและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ให้การเสริมแรง ด้วยคำชมเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอย่างอิสระและฝึกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดเตรียมสื่อ อุปกรณ์ และให้ความช่วยเหลือเด็กตามความเหมาะสม


สภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาล, ปรียาภรณ์ คงแก้ว Jan 2018

สภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาล, ปรียาภรณ์ คงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กอนุบาลใน 3 ด้าน ได้แก่ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือครูอนุบาลในโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการการ ศึกษานิเทศก์ และครูแกนนำระดับปฐมวัย หลักสูตรการจัดกิจกรรมการบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาในระดับปฐมวัย จำนวน 278 คน จาก 4 ภูมิภาค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการปฏิบัติของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กอนุบาล มีระดับการปฏิบัติในระดับมาก (X ̅ = 4.00) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติสูงที่สุด คือด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ (X ̅ = 4.09) รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ (X ̅ = 4.00) และด้านการจัดการเรียนรู้ (X ̅ = 3.92) ตามลำดับ ปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กอนุบาล ที่พบมากที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ในประเด็นการสนับสนุนให้เด็กมีส่วนร่วมในการออกแบบและแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะแปลกใหม่ รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ในประเด็นการประเมินวิธีการทำงานเกี่ยวกับการใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายในการนำเสนอชิ้นงาน และด้าน การวางแผนการจัดการเรียนรู้ในประเด็นการคัดเลือกสาระการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก


การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนกลางเป็นภาษาต่างประเทศ โดยใช้แนวคิดการสอนแบบบอกเล่าและวิธีสอนแบบฟัง-พูดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง-พูด สำหรับเด็กอนุบาล, พรนภา อำนวยไพศาล Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนกลางเป็นภาษาต่างประเทศ โดยใช้แนวคิดการสอนแบบบอกเล่าและวิธีสอนแบบฟัง-พูดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง-พูด สำหรับเด็กอนุบาล, พรนภา อำนวยไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนกลางเป็นภาษาต่างประเทศโดยใช้แนวคิดการสอนแบบบอกเล่าและวิธีสอนแบบฟัง-พูด เพื่อส่งเสริมความสามารถในการฟัง-พูดสำหรับเด็กอนุบาลและ 2) ศึกษาผลของรูปแบบฯ ที่มีต่อความสามารถในการฟัง-พูดสำหรับเด็กอนุบาล ตัวอย่างคือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 จำนวน 19 คน โรงเรียนอนุบาลธีรานุรักษ์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบฯ ระยะที่ 2 การนำร่อง รูปแบบฯ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความสามารถในการฟัง-พูด และแบบบันทึกความสามารถในการฟัง-พูด วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบฯ ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ ได้แก่ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน ระยะเวลาในการใช้รูปแบบฯ และ การประเมินผล โดยรูปแบบฯ มีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน 3 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นนิทานเปิดประสบการณ์ 2) ขั้นฝึกเล่าและขยายประสบการณ์ และ 3) ขั้นทบทวนความเข้าใจ เนื้อหาของ รูปแบบฯ ประกอบด้วย คำศัพท์ภาษาจีนจำนวน 84 คำ และประโยคเบื้องต้น 12 ประโยค ใช้เวลาดำเนินการทั้งสิ้น 36 ชั่วโมง 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการฟัง-พูดของกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนด้านการแสดงพฤติกรรมการฟังสูงกว่าด้านการแสดงพฤติกรรมการพูด


การศึกษาบทบาทครูในการส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, เปมิกา ไทยชัยภูมิ Jan 2018

การศึกษาบทบาทครูในการส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, เปมิกา ไทยชัยภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทครูในการส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยของเด็กวัยอนุบาลใน 3 ด้าน ได้แก่ การจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย การดูแลและปกป้องคุ้มครอง และการสอนเกี่ยวกับความปลอดภัย ตัวอย่างคือ ครูประจำชั้นอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 397 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บทบาทครูในการส่งเสริมพฤติกรรมความปลอดภัยของผู้ตอบแบบสอบถามโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X= 3.64) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทั้งสามด้านอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการดูแลและปกป้องคุ้มครอง (X= 3.76) รองลงมาคือ ด้านการจัดสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย (X= 3.75) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการสอนเกี่ยวกับความปลอดภัย (X= 3.52) ตามลำดับ