Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Curriculum and Instruction

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

Articles 1 - 30 of 63

Full-Text Articles in Education

ผลการใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอดทนรอคอยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา, อรภิชา กองพนันพล Jan 2022

ผลการใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอดทนรอคอยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา, อรภิชา กองพนันพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมอดทนรอคอยก่อน ระหว่าง และหลังการใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งอยู่ในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา ปีการศึกษา 2565 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) จำนวน 14 คน โดยมาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) แผนการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอดทนรอคอยโดยใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ จำนวน 30 นาที/ครั้ง และ (2) ชุดการวัดพฤติกรรมอดทนรอคอย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติการทดสอบค่าที (t-test dependent) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า การใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมอดทนรอคอยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา พบว่า ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรม นักเรียนมีค่าเฉลี่ยเลขคณิตของคะแนนพฤติกรรมอดทนรอคอยสูงกว่าก่อนการใช้รูปแบบการฝึกฝนกระบวนการสืบสอบ อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมอดทนรอคอยแบบค่อยเป็นค่อยไป นักเรียนมีแนวโน้มมีพฤติกรรมอดทนรอคอยได้เพิ่มมากขึ้น


การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะโดยใช้แนวคิดกิจวัตรการคิดร่วมกับ การสอนอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กอนุบาล, วรานิษฐ์ ธนชัยวรพันธ์ Jan 2022

การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะโดยใช้แนวคิดกิจวัตรการคิดร่วมกับ การสอนอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กอนุบาล, วรานิษฐ์ ธนชัยวรพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะโดยใช้แนวคิดกิจวัตรการคิดร่วมกับการสอนอย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กอนุบาล (2) ศึกษาประสิทธิผลของการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะฯ ที่มีต่อทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กอนุบาล กลุ่มเป้าหมายในการทดลองครั้งนี้ คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 14 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย 5 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ (1) การเตรียมการ ระยะที่ (2) การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะฯ (ฉบับตั้งต้น) ระยะที่ (3) การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะฯ (ฉบับนำร่อง) ระยะที่ (4) การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะฯ (ฉบับทดลอง) ระยะที่ (5) การนำเสนอรูปแบบการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะฯ (ฉบับสมบูรณ์) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินทักษะการแสวงหาความรู้ของเด็กอนุบาลและแบบบันทึกหลังการจัดประสบการณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยมี ดังนี้ 1) รูปแบบการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะฯ มีองค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะฯ และการประเมินผล โดยมีขั้นตอนของรูปแบบการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะฯ 3 ขั้นตอน คือ (1) ขั้นเตรียมการ (2) ขั้นกระตุ้นการคิดประกอบด้วย 4 ขั้นย่อย ได้แก่ ขั้นย่อยที่ 1 คิด ระดมสมอง ขั้นย่อยที่ 2 คิด สัมผัส รับรู้ ขั้นย่อยที่ 3 คิด เล่น สร้าง ขั้นย่อยที่ 4 คิดเห็นเป็นภาพ และ (3) ขั้นการสะท้อนคิดการเรียนรู้ 2) ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์การเล่นแบบชี้แนะฯ สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการแสวงหาความรู้หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และระหว่างการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทีระดับ 0.05 โดยองค์ประกอบที่สูงที่สุด คือ …


ผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎีที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ชนาภรณ์ ปรีคง Jan 2022

ผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎีที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ชนาภรณ์ ปรีคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนก่อนและหลังการใช้กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎี และ 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในภาพรวมและจำแนกรายองค์ประกอบ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค แบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค แบบบันทึกการเรียนรู้ และแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎี วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎีมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนการสอนตามรูปแบบข้ามทฤษฎีมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคในลักษณะที่ดีขึ้น ทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกรายองค์ประกอบ


การพัฒนากระบวนการนิเทศการสอนตามแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู, รัชนี นกเทศ Jan 2022

การพัฒนากระบวนการนิเทศการสอนตามแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู, รัชนี นกเทศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการนิเทศการสอนตามแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับ เพื่อเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู และ 2) ศึกษาผลของการใช้กระบวนการที่พัฒนาขึ้น การวิจัยและพัฒนานี้มี 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเพื่อศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการฉบับร่าง ระยะที่ 3 การวิจัยเพื่อทดลองใช้กระบวนการ และระยะที่ 4 การปรับปรุงกระบวนการฉบับสมบูรณ์ กรณีศึกษาเป็นนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู จำนวน 10 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอน แบบสังเกตพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอน และการสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ Wilcoxon Matched-pair Singed rank test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กระบวนการนิเทศการสอนตามแนวคิดการให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อเสริมสร้างชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นกระบวนการที่อาจารย์พี่เลี้ยงและ/หรืออาจารย์นิเทศก์ ใช้ในการนิเทศนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูตามระบบของการนิเทศตามปกติ ผ่านการสะท้อนมุมมองความคิดจนกระทั่งนักศึกษาครูมีการเปลี่ยนแปลงชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอน การดำเนินการมี 3 วงจร ตามรอบของการนิเทศจำนวน 3 ครั้ง ได้แก่ วงจรที่ 1 การพัฒนานักศึกษาครูด้วยการกำหนดเป้าหมายแรกเริ่มตามความต้องการของนักศึกษาครู วงจรที่ 2 การพัฒนานักศึกษาครูเพิ่มเติมในเป้าหมายเดิมหรือการพัฒนาในเป้าหมายใหม่ตามความต้องการของนักศึกษาครู และวงจรที่ 3 การพัฒนานักศึกษาครูตามเป้าหมายที่กำหนดร่วมกันโดยนักศึกษาครูและผู้นิเทศ โดยในแต่ละวงจรมีขั้นตอน 3 ขั้นตอนที่มีรายละเอียดการดำเนินการต่างกันตามจุดเน้นของแต่ละวงจร ได้แก่ (1) สร้างแรงบันดาลใจให้นักศึกษาครูตระหนักในเป้าหมายการสอน เป็นการกระตุ้นให้นักศึกษาครูเห็นความสำคัญของการจัดการเรียนการสอนที่คำนึงถึงการเรียนรู้ของผู้เรียนและการพัฒนาตนเองในฐานะครูเป็นสำคัญ (2) สังเกตชั้นเรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ โดยผู้นิเทศสังเกตพฤติกรรมการสอนของนักศึกษาครูและสะท้อนข้อมูลการพัฒนาตามเป้าหมายให้นักศึกษาครูทราบ และ (3) เสริมพลังการเรียนรู้สู่การนำตนเอง โดยผู้นิเทศให้นักศึกษาครูพิจารณาและนำเสนอแนวทางในการพัฒนาตนเอง รวมถึงการกำกับติดตาม นำทางตนเองให้ไปสู่เป้าหมาย 2) ภายหลังเข้าร่วมกระบวนการนิเทศการสอนฯ ที่พัฒนาขึ้น ปรากฏว่านักศึกษาครูมีค่าเฉลี่ยคะแนนชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนสูงกว่าก่อนเข้าร่วมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และในภาพรวมนั้นนักศึกษาครูทุกคนแสดงพฤติกรรมที่สะท้อนถึงการมีชุดความคิดเติบโตด้านการจัดการเรียนการสอนที่ชัดเจนมากขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมกระบวนการ โดยพฤติกรรมที่สะท้อนถึงชุดความคิดเติบโตด้านแนวความคิดที่มีต่อนักเรียน ได้แก่ นักศึกษาครูมีการจัดกิจกรรมที่หลากหลาย ท้าทายความสามารถของนักเรียน และสนับสนุนให้นักเรียนทำงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จด้วยตนเอง และพฤติกรรมที่สะท้อนถึงชุดความคิดเติบโตด้านแนวความคิดต่อตนเองในฐานะครู ได้แก่ นักศึกษาครูแสดงพฤติกรรมการจัดการเรียนการสอนด้วยความมั่นใจ ยอมรับข้อบกพร่องที่เกิดจากการจัดการเรียนการสอนของตนเองและเรียนรู้ที่จะพัฒนาการสอนของตนเองอย่างต่อเนื่อง


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และแนวคิดประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, พิธุลาวัณย์ ศุภอุทุมพร Jan 2022

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และแนวคิดประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, พิธุลาวัณย์ ศุภอุทุมพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้จากประสบการณ์และแนวคิดประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3) การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน และ 4) การนำเสนอการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครแห่งหนึ่ง จำนวน 32 คน ทำการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 12 สัปดาห์ รวม 36 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบวัดการรู้สิ่งแวดล้อม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีหลักการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงประสบการณ์เดิมกับประสบการณ์ใหม่ที่เป็นรูปธรรมและสัมพันธ์กับชีวิตจะเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้ ทำให้มุมมองของผู้เรียนเกิดการขยายตัวหรือหดตัว ค้นพบมุมมองใหม่ ทำความเข้าใจ รับมือและประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ที่ตามมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2) การนำเสนอประเด็นทางสังคมที่เกี่ยวเนื่องกับวิทยาศาสตร์ที่เป็นรูปธรรมและสัมพันธ์กับชีวิตในช่วงต้นของการเรียนการสอน จะช่วยกระตุ้นความสนใจ และผลักดันให้ผู้เรียนเริ่มต้นเรียนรู้ ตั้งจุดมุ่งหมายในการเรียนและเกิดแรงจูงใจในการเรียน 3) ผู้เรียนศึกษาสำรวจประเด็น ไตร่ตรองสะท้อนคิด จนสร้างความคิดรวบยอดและพัฒนามโนทัศน์พื้นฐานและการปฏิบัติด้วยกระบวนการสร้างความรู้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม และ 4) การเสริมต่อการเรียนรู้ในบรรยากาศที่เปิดกว้างทางความคิด บูรณาการมิติด้านคุณธรรมจริยธรรมในการให้เหตุผลภายใต้สถานการณ์ที่ท้าทายมุมมองของแต่ละฝ่าย และผู้เรียนมีบทบาทในการเรียนรู้เชิงรุก จะช่วยกระตุ้นทักษะการคิดและการปฏิบัติขั้นสูง ที่จะนำไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสม ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) นำเสนอประเด็นปัญหา 2) สำรวจความเชื่อเดิม 3) สืบสอบหลักฐาน 4) เสริมต่อการเรียนรู้ 5) สะท้อนประสบการณ์ และ 6) ประยุกต์ในสถานการณ์ใหม่ 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยการรู้สิ่งแวดล้อมหลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกองค์ประกอบของการรู้สิ่งแวดล้อม และนักเรียนมีพัฒนาการการรู้สิ่งแวดล้อมในช่วงระหว่างการเรียนการสอนสูงขึ้น


ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดวาทศาสตร์และแนวคิดการสอนเขียนแบบร่วมมือรวมพลังที่มีต่อความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัชนีกร การภักดี Jan 2022

ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดวาทศาสตร์และแนวคิดการสอนเขียนแบบร่วมมือรวมพลังที่มีต่อความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัชนีกร การภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดวาทศาสตร์และแนวคิดการสอนเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดวาทศาสตร์และแนวคิดการสอนเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 21 คน ของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และแผนการจัดการเรียนการสอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย ปรากฏว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์โดยภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านเนื้อหา ด้านการใช้ภาษา ด้านการลำดับความคิด และด้านคุณค่าต่อผู้อ่าน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผลการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ 5 ประเภท ได้แก่ การเขียนเรียงความ การเขียนสื่อสารแสดงทรรศนะ การเขียนสื่อสารเพื่อเชิญชวน การเขียนสื่อสารเพื่อโน้มน้าว และการเขียนสื่อสารเพื่อโต้แย้งของนักเรียน ปรากฏว่า นักเรียนเกิดการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ทุกประเภทในครั้งหลังดีขึ้นกว่าในครั้งก่อนหน้า


Development Of A Curriculum Based On Content And Language Integrated Learning And Competency-Based Education For Enhancing Business English Writing Ability Of Undergraduate Students, Meassnguon Saint Jan 2021

Development Of A Curriculum Based On Content And Language Integrated Learning And Competency-Based Education For Enhancing Business English Writing Ability Of Undergraduate Students, Meassnguon Saint

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study were 1) to develop a curriculum based on content and language integrated language learning and competency-based education for enhancing business English writing ability of undergraduate students 2) to investigate the effectiveness of a developed curriculum. The research and development process consists of four phases: 1) studying the research problem and significance, and learning approaches, 2) developing a curriculum based on content and language integrated learning and competency-based education, 3) studying the effectiveness of the developed curriculum, and 4) revising and improving the developed curriculum. This pre-experimental research involved 13 undergraduate students in the business major …


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, กชกร แฝงเมืองคุก Jan 2021

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, กชกร แฝงเมืองคุก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนเมื่อได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานแขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบสังเกตการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาจำแนกตามองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบทั้ง 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การระบุประเด็นปัญหา 2) การรวบรวมข้อมูลหรือหลักฐาน 3) การตั้งสมมติฐาน 4) การสรุปอ้างอิง และ 5) การประเมินข้อสรุป นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกองค์ประกอบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนที่เรียนจากการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานมีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะที่ดีขึ้น ทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกตามองค์ประกอบ


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการจัดการความหมายร่วมกันและแนวคิดการอ่านบทละครเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้เรียนระดับต้น, กวิตา ฟองสถาพร Jan 2021

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการจัดการความหมายร่วมกันและแนวคิดการอ่านบทละครเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้เรียนระดับต้น, กวิตา ฟองสถาพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการจัดการความหมายร่วมกันและแนวคิดการอ่านบทละครเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้เรียนระดับต้น การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 4) นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์ ตัวอย่างคือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ศิลป์ภาษาญี่ปุ่น ณ โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ จำนวน 11 คน เลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 4 วงจร ต่อเนื่อง 16 สัปดาห์ รวม 48 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการพูดภาษาญี่ปุ่นร่วมกับเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริคส์ที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบ Wilcoxon signed - rank test ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีหลักการสำคัญ 4 ประการ ได้แก่ 1) การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมจะเกิดขึ้นดีผ่านการทำความเข้าใจบทละครที่เสมือนจริง ทำให้ผู้เรียนคุ้นเคยกับภาษาและเห็นความเชื่อมโยงระหว่างภาษา ลักษณะการใช้ภาษา และวัฒนธรรมอย่างเป็นรูปธรรม 2) การเรียนรู้ผ่านกระบวนการกลุ่ม จะช่วยส่งเสริมผู้เรียนเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างการทำกิจกรรม จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น 3) การเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ฝึกพูดผ่านการแสดงละคร จะส่งเสริมให้ผู้เรียนใช้ภาษาที่ถูกต้องตามหลักภาษาและเหมาะสมกับบริบทต่างๆ 4) การเรียนรู้จะเกิดได้ดี หากมีการสะท้อนคิดการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนข้อมูลย้อนกลับ ทำให้รู้จุดแข็งและจุดที่ต้องนำไปพัฒนาต่อไป โดยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) รู้ภาษาอย่างเข้าใจ 2) นำภาษาไปฝึกฝน 3) แสดงละครกระตือรือร้น 4) สะท้อนคิดสู่การพัฒนา 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า คะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นในภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสามารถในการพูดสื่อสารภาษาญี่ปุ่นของนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น


ผลการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบทที่มีต่อความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ชิงชัย เตียเจริญ Jan 2021

ผลการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบทที่มีต่อความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ชิงชัย เตียเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบทระหว่างก่อนการทดลองและหลังการทดลองทั้งโดยภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบ 2) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบท กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 จำนวน 1 กลุ่ม ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน มีนักเรียนจำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 100 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการแต่งบทร้อยกรอง แบบบันทึกความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนรายบุคคล แบบบันทึกการเรียนรู้ของนักเรียน และแผนการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบท สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ 1. การเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองโดยภาพรวมของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบท พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อพิจารณาจำแนกตามองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบของทั้ง 4 องค์ประกอบ ได้แก่ ด้านฉันทลักษณ์ ด้านเนื้อหาสาระ ด้านการใช้ถ้อยคำ และด้านกวีโวหาร มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนทุกองค์ประกอบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบท พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบทมีความสามารถในการแต่งบทร้อยกรองเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น


การพัฒนาชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น, ภิชา ใบโพธิ์ Jan 2021

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น, ภิชา ใบโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเอกชนขนาดใหญ่พิเศษ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดลพบุรี จำนวน 13 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินทักษะการสร้างสัมพันธภาพและการประเมินทักษะการสร้างสัมพันธภาพโดยใช้ศูนย์การประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติทดสอบวิลคอกซัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น ประกอบด้วยกิจกรรมจำนวน 8 กิจกรรม ที่ใช้การเล่านิทานด้วยเทคนิคการเล่านิทานรูปแบบต่าง ๆ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจเรื่องราวและสามารถเชื่อมโยงมุมมองของนักเรียนกับมุมมองของตัวละคร ประกอบกับการใช้กระบวนการของละครสร้างสรรค์เพื่อให้นักเรียนได้ปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน มุ่งเน้นให้มีการแสดงออกทางอารมณ์ ความรู้สึก ท่าทาง และการทำงานร่วมกับผู้อื่นผ่านการแสดงละครจากเรื่องราวของนิทานที่ได้รับฟัง โดยชุดกิจกรรมที่พัฒนาขึ้นนี้มีองค์ประกอบสำคัญ ได้แก่ 1) แนวคิดและลักษณะสำคัญของชุดกิจกรรม 2) วัตถุประสงค์ของชุดกิจกรรม 3) กิจกรรมในชุดกิจกรรม จำนวน 8 กิจกรรม โดยมีลักษณะเป็นกิจกรรมที่ให้นักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับการปฏิสัมพันธ์ และการทำงานร่วมกันกับเพื่อน โดยลำดับกิจกรรมจากระดับความยากง่ายและความซับซ้อนของเนื้อหานิทาน จากคุณลักษณะหรือทักษะที่ใกล้ตัว ไม่ซับซ้อน และมีความเป็นรูปธรรม ไปสู่ทักษะที่ซับซ้อนและยากขึ้นตามลำดับ รวมถึงเริ่มจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล ไปสู่การปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับกลุ่ม 4) ขั้นตอนการจัดกิจกรรม ในแต่ละกิจกรรมมีขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นการจูงใจก่อนเล่า (2) ขั้นการเล่าเรื่องเพื่อเชื่อมโยง (3) ขั้นการเตรียมความพร้อมก่อนแสดงละคร (4) ขั้นการแสดงละครจากเรื่อง (5) ขั้นการสรุปและสะท้อนคิด 5) แนวทางการใช้ชุดกิจกรรม และ 6) แนวทางการประเมินผล 2. ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเล่านิทานร่วมกับการใช้ละครสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสัมพันธภาพของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น ปรากฏว่า ภายหลังการเข้าร่วมกิจกรรมนักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการมีทักษะการสร้างสัมพันธภาพสูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาจำแนกตามองค์ประกอบของทักษะการสร้างสัมพันธภาพ พบว่า ทุกองค์ประกอบมีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นองค์ประกอบด้านการทำงานร่วมกันเป็นทีม ที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้น อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเขียนตามแนวคิดการตอบสนองต่อการช่วยเหลือร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อแสดงความคิดเห็นสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, ปิยพงษ์ พรมนนท์ Jan 2021

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเขียนตามแนวคิดการตอบสนองต่อการช่วยเหลือร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อแสดงความคิดเห็นสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, ปิยพงษ์ พรมนนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนการสอนเขียนตามแนวคิดการตอบสนองต่อการช่วยเหลือร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อแสดงความคิดเห็นสำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย มีการดำเนินการวิจัย 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเขียน ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเขียนภาษอังกฤษเพื่อแสดงความคิดเห็น ระยะที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น โดยไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 1 ห้องเรียน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง ใช้ระยะเวลาในการทดลองทั้งสิ้น 18 สัปดาห์ และ ระยะที่ 4 การนำเสนอกระบวนการเรียนการสอนเขียนฉบับสมบูรณ์ มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อแสดงความคิดเห็น และเกณฑ์การให้คะแนนแบบแยกองค์ประกอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที และสถิติการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า 1. กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีหลักการที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดี หากนักเรียนได้รับการคัดกรองหรือประเมินการเขียนจะช่วยให้นักเรียนสะท้อนปัญหาหรือสิ่งที่นักเรียนติดขัดในการเขียน อันจะนำไปสู่การวางแผนกระบวนการช่วยเหลือด้านการเขียน 2) การเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คลุมเครือ แล้วให้นักเรียนลงมือสืบค้นข้อมูลเพื่อหาคำตอบจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ จะช่วยให้นักเรียนสะท้อนคิด ทบทวน ตัดสินใจ เพื่อเลือกแนวทางในการเขียนของตนเอง ภายใต้กระบวนการช่วยเหลือด้านการเขียนที่หลากหลาย 3) การเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีผ่านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนมีการแลกเปลี่ยนความรู้ สะท้อนความคิด หรือประสบการณ์ร่วมกัน จะช่วยให้นักเรียนวางแผนหรือตัดสินใจในการเขียน ภายใต้กระบวนการช่วยเหลือที่หลากหลายและเหมาะสม 4) การเรียนรู้ที่สงเสริมให้นักเรียนมีโอกาสคิด พิจารณา ไตร่ตรอง และประเมินจุดอ่อนหรือจุดที่ควรปรับปรุง เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนางานเขียนของตนเอง โดยกระบวนการเรียนการสอนเขียนที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลัก และ 1 ขั้นตอนเตรียมการ ได้แก่ เตรียมการและวางแผน 1. เรียนรู้ปัญหา 2. ชวนคิด พิจารณา 3. สร้างสรรค์งานเขียน และ 4. สะท้อนคิดเพื่อแลกเปลี่ยนปรับปรุง 2. ผลการศึกษาประสิทธิผลของของกระบวนการเรียนการสอนเขียนที่พัฒนาขึ้น พบว่า 2.1) ความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพื่อแสดงความคิดเห็นของผู้เรียนหลังการทดลองสูงกว่าการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบแต่ละด้าน …


การพัฒนาโปรแกรมลดจริยธรรมหลุดตามแนวคิดลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุรไกร นันทบุรมย์ Jan 2021

การพัฒนาโปรแกรมลดจริยธรรมหลุดตามแนวคิดลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุรไกร นันทบุรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. พัฒนาโปรแกรมลดจริยธรรมหลุดตามแนวคิดลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน และการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2. ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรม วิธีการดำเนินงานวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพและปัญหา โดยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การพัฒนาโปรแกรม โดยการสังเคราะห์เอกสารและงานวิจัยเพื่อนำมาพัฒนาโปรแกรม การหาคุณภาพของโปรแกรม และการทดลองนำร่อง วิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัย การตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของโปรแกรม และปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ และการวิเคราะห์ผลการทดลองนำร่องโดยการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลเชิงคุณภาพ ระยะที่ 3 การหาประสิทธิผลโดยการทดลองใช้โปรแกรมโดยรูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดลอง ทดสอบก่อน ระหว่าง และหลังเรียนด้วยโปรแกรมจำนวน 5 ครั้ง กับกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 37 คนเข้าสู่กลุ่มทดลอง โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1. แบบทดสอบจริยธรรมหลุดแบบคู่ขนานที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2. แบบสัมภาษณ์ 3. แบบบันทึกการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้คะแนนจากแบบทดสอบจริยธรรมหลุดโดยใช้สถิติแบบบรรยาย และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณจากแบบทดสอบจริยธรรมหลุด การสัมภาษณ์ และการบันทึกการเรียนรู้โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ระยะที่ 4 การปรับปรุงและพัฒนาโปรแกรม ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. โปรแกรมมีหลักการ 6 ข้อ ได้แก่ 1) การนำผู้เรียนเผชิญสถานการณ์ที่มีความขัดแย้ง 2) การให้ผู้เรียนวางแผนอนาคตตามสถานการณ์ 3) การช่วยเหลือผู้เรียนในการสร้างทางเลือกเพื่อตัดสินใจ 4) การสนับสนุนให้ผู้เรียนกำกับติดตามตนเอง 5) การอภิปรายผลการเรียนรู้ 6) การสรุปผลการเลือก โปรแกรมมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ในแต่ละฉากทัศน์ 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเผชิญสถานการณ์และปัญหา 2) ขั้นรับรู้ตนเอง 3) ขั้นวางแผนมุ่งอนาคตและสร้างทางเลือก 4) ขั้นดำเนินการตามแผนการมุ่งอนาคต 5) ขั้นอภิปรายถึงสาเหตุและผลของการตัดสินใจ 6) ขั้นสร้างกรอบทางจริยธรรม โปรแกรมประกอบไปด้วยกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 4 หน่วยการเรียนรู้ หน่วยการเรียนรู้ละ 3 ฉากทัศน์รวมจำนวน 12 ฉาก ระยะเวลาจัดกิจกรรมฉากทัศน์ละ 100 นาที รวมระยะเวลาของโปรแกรมทั้งหมด 12 …


ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบสอบโดยใช้เกมเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, วิศรุฒม์ เอมสมบูรณ์ Jan 2021

ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบสอบโดยใช้เกมเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, วิศรุฒม์ เอมสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบสอบโดยใช้เกมเป็นฐานและ 2) ศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ระหว่างการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบสอบโดยใช้เกมเป็นฐาน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 40 คน ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสิงห์บุรี อ่างทอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ แบบสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ บันทึกการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้และเกมการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบสอบโดยใช้เกมเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยการสืบสอบโดยใช้เกมเป็นฐาน มีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ในระหว่างเรียน จากระยะแรกที่อยู่ในระดับต่ำ ระดับกลางและระดับสูง ร้อยละ 37.5, 60 และ 2.5 ตามลำดับ เป็นความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ระยะหลังอยู่ในระดับต่ำ ระดับกลางและระดับสูง ร้อยละ 22.5, 17.5 และ 60 ตามลำดับ


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดรูปแบบการปรับมโนทัศน์และรูปแบบการแปลงของเลช เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, สุธารัตน์ สมรรถการ Jan 2021

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดรูปแบบการปรับมโนทัศน์และรูปแบบการแปลงของเลช เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, สุธารัตน์ สมรรถการ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบ การเรียนการสอนตามแนวคิดรูปแบบการปรับมโนทัศน์และรูปแบบการแปลงของเลช เพื่อเสริมสร้างมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3) การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น และ 4) การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 40 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 7 สัปดาห์ รวม 35 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีหลักการสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) การเรียนรู้เกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนพบปัญหาหรือสถานการณ์ที่มโนทัศน์ของผู้เรียนไม่สามารถแก้ไขหรืออธิบายได้ 2) การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยการสังเกต รวบรวมข้อมูล หรือศึกษาจากทฤษฎีต่าง ๆ 3) การนำเสนอความรู้ทางคณิตศาสตร์โดยใช้รูปแบบตัวแทนทางคณิตศาสตร์ที่หลากหลายและมีความสัมพันธ์กับมโนทัศน์นั้น 4) การที่ผู้เรียนใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์เพื่อนำเสนอความรู้ทางคณิตศาสตร์ และ 5) การนำเสนอขั้นตอนวิธีการหาคำตอบได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การกระตุ้นความสงสัย 2) การวางแผนเพื่อปรับมโนทัศน์ 3) การปรับมโนทัศน์โดยใช้ตัวแทนที่หลากหลาย 4) การสรุปความหมายของมโนทัศน์ใหม่ และ 5) การนำไปใช้ 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า คะแนนเฉลี่ยของมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยของมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์จำแนกตามองค์ประกอบ พบว่า การบอกลักษณะเฉพาะ การบอกคำจำกัดความ และการบอกตัวอย่าง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านวิทยาศาสตร์และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ศุภิสรา นาคผจญ Jan 2021

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านวิทยาศาสตร์และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ศุภิสรา นาคผจญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์1) ศึกษาการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีชีวสังคมภูมิหลังแตกต่างกัน 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านวิทยาศาสตร์ และการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ และ 3) สร้างสมการทำนายการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 และ 2 กรุงเทพฯ จำนวน 410 คน โดยใช้การสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบทดสอบการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ แบบวัดแรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์และแบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต (arithmetic mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ และสร้างสมการทำนายถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับค่อนข้างต่ำถึงต่ำ ทั้งในกลุ่มรวมและเมื่อจำแนกตามชีวสังคมภูมิหลัง 2) แรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 3) การรับรู้ความสามารถของตนเองด้านวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4) แรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ การรับรู้ความสามารถของตนเองทางวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 5) แรงจูงใจในการเรียนวิทยาศาสตร์ (X1) และการรับรู้ความสามารถของตนเองด้านวิทยาศาสตร์ (X2) สามารถทำนายการรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ได้ร้อยละ 5.60 มีสมการทำนาย ดังนี้ Y = 3.634 + (.316)(X1) + (.211)(X2)


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีรื้อสร้างและแนวคิดการโต้แย้งเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวิพากษ์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, สุธิญา พูนเอียด Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีรื้อสร้างและแนวคิดการโต้แย้งเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวิพากษ์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, สุธิญา พูนเอียด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีรื้อสร้างและแนวคิดการโต้แย้งเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวิพากษ์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต และเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน และระยะที่ 4 การนำเสนอผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ในการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน ผู้วิจัยนำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษา จำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการวิพากษ์ และเกณฑ์การประเมินความสามารถในการวิพากษ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการวิพากษ์ก่อน ระหว่าง และหลังการทดลอง โดยใช้สถิติทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ รวมทั้งได้วิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูลจากแบบบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน และแบบบันทึกผลการจัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการวิพากษ์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต โดยมีหลักการ 5 ประการ คือ 1) การเรียนรู้โดยศึกษาเรื่องราว ปัญหา ประเด็นหรือสถานการณ์ที่มีลักษณะกำกวม ความคลุมเครือ หรือมีความหมายแฝง โดยเชื่อมโยงความรู้ และประสบการณ์เดิมเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ที่กำหนด 2) การเรียนรู้โดยฝึกแยกส่วนประกอบของสิ่งที่แตกต่าง เป็นคู่เด่น ไม่สอดคล้องหรือตรงกันข้ามในสถานการณ์เพื่อให้เห็นสิ่งที่ไม่ได้ให้ความสำคัญหรือละไว้และขยายฐานความคิดในการถอดรหัสของสารในสถานการณ์ 3) การเรียนรู้โดยจัดลำดับความสำคัญผ่านการแสวงหาข้อโต้แย้ง หลักฐาน และเหตุผลสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยคำนึงถึงประสบการณ์ ทัศนคติ น้ำเสียง และบริบททางสังคมเพื่อค้นหาคำตอบที่ยังมีข้อสงสัย 4) การเรียนรู้โดยใช้มุมมองที่แตกต่างและรอบด้านผ่านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนอันหลากหลายอย่างอิสระ โดยอธิบาย อภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามลักษณะผู้เรียนเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ความสมเหตุสมผล ข้อดีและข้อจำกัดในข้อกล่าวอ้างอันจะนำไปสู่การลงข้อสรุปที่เหมาะสม 5) การเรียนรู้โดยมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลที่เกิดขึ้นจากการยืนยันความคิด ให้มุมมองอื่น ให้ทางเลือกหรือสร้างความหมายใหม่ที่สมเหตุสมผล โดยมีข้อมูลและหลักฐานที่น่าเชื่อถือประกอบ เพื่อทำให้เกิดการยอมรับในความคิดนั้น มีขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ 2) รื้อความคิด และจัดลำดับความสำคัญ 3) ตรวจสอบข้อมูลหลักฐานอย่างรอบด้าน 4) โต้แย้งและแสดงเหตุผล และ 5) สร้างมุมมองของตนเอง 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการวิพากษ์ในภาพรวมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 …


แนวทางการจัดการเรียนการสอนสาระวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ศิริรัตน์ หวังสะแล่ะฮ์ Jan 2020

แนวทางการจัดการเรียนการสอนสาระวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น, ศิริรัตน์ หวังสะแล่ะฮ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนสาระวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนสาระวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ใช้การวิจัยเชิงบรรยาย เก็บข้อมูลโดยใช้การวิจัยเชิงสำรวจและเชิงคุณภาพ จากกลุ่มตัวอย่างคือครูผู้สอนวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 518 คน และผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนสาระวิทยาการคำนวณจำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ 1)สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนสาระวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครูผู้สอนส่วนใหญ่พบปัญหาในการกำหนดวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในการคิดเชิงคำนวณเพื่อใช้ในการแก้ปัญหาได้จริง การกำหนดและจัดลำดับเนื้อหาที่เหมาะสมกับความรู้พื้นฐานของผู้เรียน การจัดการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณที่ไม่เชื่อมโยงกับวิชาอื่น ทักษะพื้นฐานในการใช้สื่อเทคโนโลยีของผู้เรียนด้านการ Coding และประเมินผู้เรียนได้ไม่ครบตามตัวชี้วัด 2) แนวทางการจัดการเรียนการสอนสาระวิทยาการคำนวณ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ครูผู้สอนกำหนดวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนออกแบบอัลกอริทึมจากเรื่องราวใกล้ตัวตามบริบทของผู้เรียนหรือตามความสนใจ ครูผู้สอนควรกำหนดเนื้อหาโดยคำนึงถึงความสนใจของผู้เรียนตามยุคสมัย ยืดหยุ่น และเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์ได้ ครูผู้สอนควรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่บูรณาการความรู้และนำทักษะจากวิทยาการคำนวณไปสู่วิชาอื่น ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอนควรมากกว่า 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ครูผู้สอนควรใช้สื่อแบบ unplugged ในการฝึกทักษะการคิดเบื้องต้น ครูผู้สอนควรมีการสร้างเครื่องมือในการวัดและประเมินผลที่เน้นการลงมือปฏิบัติจริงของผู้เรียน รูปแบบในการวัดและประเมินผลควรมีรูบริค (rubrics) ที่ชัดเจนและเหมาะสมกับบริบทของผู้เรียน มีการประเมินในหลายมิติและมุมมอง


การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ยุทธนา ปัญญา Jan 2020

การพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ยุทธนา ปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนขนาดกลางแห่งหนึ่งในจังหวัดราชบุรี จำนวน 1 กลุ่ม ได้มาด้วยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม มีนักเรียนจำนวน 33 คน ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 100 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความเข้าใจในการอ่าน แบบวัดความผูกพันกับการอ่าน แบบบันทึกความผูกพันกับการอ่าน และแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ มีองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์การจัดการเรียนรู้ คือ เพื่อเสริมสร้างการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เนื้อหาสาระและสื่อที่ใช้ ประกอบด้วยสถานการณ์การอ่าน 4 สถานการณ์ ได้แก่ สถานการณ์สาธารณะ สถานการณ์ส่วนตัว สถานการณ์การศึกษา และสถานการณ์การงานอาชีพ มีบทเรียนที่ใช้จำนวน 8 บทเรียน 3) ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ มี 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นกระตุ้นความสนใจ ขั้นทำความเข้าใจภาระงาน ขั้นปฏิบัติกิจกรรมการอ่าน ขั้นสะท้อนผลการทำงาน และขั้นเปลี่ยนผ่านสู่สถานการณ์ใหม่ และ 4) การวัดและประเมินผล ดำเนินการวัดและประเมินผลการรู้เรื่องการอ่านก่อนและหลังการทดลองด้วยแบบวัดความเข้าใจการอ่าน และแบบวัดความผูกพันกับการอ่าน ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 2. ผลการศึกษาประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ พบว่า 1) การรู้เรื่องการอ่านในภาพรวมของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ด้วยบทเรียนแสวงความรู้บนเว็บร่วมกับกลยุทธ์คิว เอ อาร์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ …


การพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของลิคโคนาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการการกลั่นแกล้งรังแกทางโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, สุรดิษ สุวรรณลา Jan 2020

การพัฒนาชุดกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของลิคโคนาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการการกลั่นแกล้งรังแกทางโลกไซเบอร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, สุรดิษ สุวรรณลา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของลิคโคนา เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการจัดการการกลั่นแกล้งรังแกทางโลกไซเบอร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนและหลังการทดลอง แบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบการทดลองเบื้องต้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดกิจกรรมตามแนวคิดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะของลิคโคนาฯ และ 2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการจัดการการกลั่นแกล้งรังแกทางโลกไซเบอร์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาการใช้ชุดกิจกรรมฯ พบว่า นักเรียนที่ได้เข้าร่วมการจัดกิจกรรมฯ มีความสามารถในการจัดการการกลั่นแกล้งรังแกทางโลกไซเบอร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนมีความสามารถในการจัดการการกลั่นแกล้งรังแกทางโลกไซเบอร์ ได้แก่ 1) ด้านการจัดการกับตัวเอง 2) ด้านการจัดการกับผู้กระทำ 3) ด้านการจัดการกับเทคโนโลยี และ 4) ด้านการจัดการโดยการปรึกษาผู้อื่น


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงกรณีร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา, พรศิริ สันทัดรบ Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการให้เหตุผลเชิงกรณีร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา, พรศิริ สันทัดรบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสำหรับการเสริมสร้างความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา โดยใช้แนวคิดการให้เหตุผลเชิงกรณีร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิด และและเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน และระยะที่ 4 การนำเสนอผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ในการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน ผู้วิจัยนำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จำนวน 35 คน ใช้เวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลของนักเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลของนักเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลก่อน และหลังการทดลอง โดยใช้สถิติทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ รวมทั้งการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา โดยมีหลักการ 4 ประการ คือ 1) การส่งเสริมให้ผู้เรียนเปรียบเทียบ ตรวจสอบ และวิพากษ์วิจารณ์ปัญหาหรือสถานการณ์อย่างหลากหลาย จะช่วยให้ผู้เรียนได้ประเมินปัญหาหรือสถานการณ์ และเลือกข้อมูลพร้อมให้เหตุผลประกอบ รวมทั้งทบทวนความคิด ความรู้สึกของตนเอง 2) การรวบรวมข้อมูลและสำรวจข้อมูลจากหลายแหล่ง ช่วยให้เกิดการเปรียบเทียบความน่าเชื่อถืออย่างมีเหตุผลก่อนนำข้อค้นพบไปปรับใช้ 3) การให้ผู้เรียนได้ทบทวนต่อเหตุการณ์หรือประสบการณ์ที่เกิดขึ้น เชื่อมโยงกับความรู้และประสบการณ์ของตนเองกับผู้อื่น ช่วยให้ผู้เรียน เข้าใจเหตุการณ์ลึกซึ้งขึ้น ได้ข้อสรุปหรือมุมมองใหม่ เพื่อนำมาปรับปรุง แก้ไขพร้อมให้เหตุผลประกอบ และ 4) การพิจารณาความรู้และประสบการณ์ โดยทำความเข้าใจและอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้น ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ และนำมาสรุปเป็นความคิดรวบยอด และจัดเก็บเป็นคลังความรู้ เพื่อเสนอเป็นทางเลือกในการจัดการกับปัญหาหรือสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกันในอนาคตต่อไป โดยขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) เรียนรู้กรณีเดิม 2) เชื่อมโยงสู่กรณีใหม่ และ 3) ลงข้อสรุปและขยายทางความคิด 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลในภาพรวมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเสริมสร้างความสามารถในการใช้สื่อดิจิทัลด้วยแนวคิดการให้เหตุผลเชิงกรณีร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดมีพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยมีพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลที่เหมาะสมมากขึ้น


การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน, วิวัฒน์ ทัศวา Jan 2020

การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน, วิวัฒน์ ทัศวา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน ดำเนินการวิจัยโดยการพัฒนาเครื่องมือในการวิจัยจำนวน 2 ชุด ได้แก่ 1) โปรแกรมส่งเสริมความความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นโดยใช้แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐาน และ 2) แบบทดสอบการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น และนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชากิจกรรมชุมนุมพลเมืองดิจิทัล ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 37 คนซึ่งผู้วิจัยใช้การเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จากโรงเรียนที่ประสงค์ให้ความร่วมมือในการวิจัย มีการวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาคะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และการทดสอบค่าที (t-test dependent) และตอนที่ 2 การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า 1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลตามแนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐานมีความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลตามแนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐานมีพัฒนาการสัมพัทธ์ (relative gain scores) ของการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลคิดเป็นร้อยละ 21.06 ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยใช้โปรแกรมส่งเสริมความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลโดยใช้แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้แบบกรณีศึกษาเป็นฐานสามารถส่งเสริมให้นักเรียนมีพัฒนาการในการให้เหตุผลจริยธรรมทางดิจิทัลได้ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการให้เหตุผลจริยธรรมของนักเรียนที่สำคัญ ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโปรแกรมฯ คือ ขั้นการวิเคราะห์และอภิปรายกรณีตัวอย่าง และขั้นสรุปผลการเรียนรู้ 2) ปัจจัยด้านการออกแบบกรณีตัวอย่างและคำถามที่ใช้ในการวิเคราะห์และอภิปรายของนักเรียน และ 3) ปัจจัยด้านการกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้และการกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้


แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, อมรพิมล นึกชัยภูมิ Jan 2020

แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก, อมรพิมล นึกชัยภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะพื้นฐานของนักเรียนโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก และ 3) เสนอแนวทางในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร ครู บุคลากรในโรงเรียนขยายโอการทางการศึกษาในเขตพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก จำนวน 466 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนี Modified Priority Need Index (PNImoddified) หาค่าความต้องการจำเป็น ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 21 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้ (1) คุณลักษณะของนักเรียนมี 2 ลักษณะ คือ 1. คุณลักษณะขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่ปรากฏในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 และโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษามีการจัดการส่งเสริมโดยทั่วไป ได้แก่ 1.1) มีความรู้ในระดับขั้นพื้นฐาน สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ 1.2) มีความรับผิดชอบ ความขยัน ความอดทน ซื่อสัตย์ ทัศนคติที่ดี และใฝ่เรียนรู้ 1.3) ปฏิบัติงานตามคำสั่ง เข้าใจวัฒนธรรมองค์กร และทำงานตามเวลาที่กำหนด 1.4) สามารถคิดวิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ 2. คุณลักษณะเฉพาะ เป็นคุณลักษณะที่เป็นที่ต้องการของแรงงาน และต้องจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมคุณลักษณะเหล่านี้เพิ่มเติม ได้แก่ 2.1) การใช้เครื่องมือช่างขั้นพื้นฐาน 2.2) การใช้คอมพิวเตอร์ขั้นพื้นฐาน 2.3) มีความรู้ทางด้านช่าง ซ่อมแซมอุปกรณ์อย่างง่ายได้ 2.4) จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย มีความรู้ด้านการตลาดขั้นพื้นฐาน 2.5) สื่อสารภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากภาษาอังกฤษได้ 2.6) ความสามารถทางด้านงานฝีมือ (2) สภาพปัจจุบันของการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษา พบว่า โรงเรียนมีการดำเนินงานให้นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารวิชาภาษาไทย และส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ขั้นพื้นฐานมากที่สุด ด้านที่พบการปฏิบัติน้อยที่สุด คือด้านการให้ความรู้เฉพาะทางด้านอุตสาหกรรมและอาชีพ และการพัฒนาองค์ความรู้นักเรียนทางด้านนวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ประเด็นที่ควรให้ความสำคัญมากที่สุด คือ การส่งเสริมให้นักเรียนมีความสามารถในการสื่อสารวิชาภาษาไทย และการส่งเสริมให้นักเรียนมีความรู้ระดับพื้นฐาน (3) …


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงทฤษฎีของกระบวนการทางปัญญาในการนึกภาพเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงพื้นที่ของนักศึกษาครู, ศิริศักดิ์ ทิพย์ทวีชาญ Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงทฤษฎีของกระบวนการทางปัญญาในการนึกภาพเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงพื้นที่ของนักศึกษาครู, ศิริศักดิ์ ทิพย์ทวีชาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงทฤษฎีของกระบวนการทางปัญญาในการนึกภาพ เพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงพื้นที่ของนักศึกษาครู โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงทฤษฎีของกระบวนการทางปัญญาในการนึกภาพ และ 2) เพื่อประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาครูในภาคตะวันออก ระยะเวลาดำเนินการทดลอง 15 สัปดาห์ การดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนาที่เป็นการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดเชิงทฤษฎีของกระบวนการทางปัญญาในการนึกภาพเป็นพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน เพื่อใช้ในการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงพื้นที่ของนักศึกษาครู ซึ่งมีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการประเมินคุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ แบบวัดทักษะการคิดเชิงพื้นที่ที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลในเชิงปริมาณ และแบบสังเกตทักษะการคิดเชิงพื้นที่ที่ใช้เก็บรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดเชิงทฤษฎีของกระบวนการทางปัญญาในการนึกภาพ มีหลักการสำคัญ คือ การจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการใช้กระบวนการทางความคิดในการนึกภาพและการสร้างความรู้ด้วยตนเองจนเกิดการปรับโครงสร้างทางปัญญา ซึ่งประกอบด้วย 5 หลักการ ได้แก่ 1) หลักการใช้รูปแบบเชิงภาพที่สร้างความสนใจและสัมพันธ์กับความรู้เดิมหรือประสบการณ์เดิม 2) หลักการในการนำรูปแบบเชิงภาพที่กระตุ้นให้เกิดการแสวงหาความรู้ 3) หลักการเชื่อมโยงสิ่งที่ศึกษาจนเกิดการสร้างความรู้ใหม่ 4) หลักการปรับโครงสร้างทางปัญญา และ 5) หลักการสะท้อนโครงสร้างทางปัญญา รูปแบบการเรียนการสอนประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การเตรียมความพร้อมเชิงภาพ ขั้นที่ 2 การนึกภาพและเชื่อมโยง ขั้นที่ 3 การตั้งประเด็นปัญหาและสมมติฐานเชิงภาพ ขั้นที่ 4 การใช้กระบวนการทางปัญญา และขั้นที่ 5 การสะท้อนความรู้เชิงภาพ 2. คุณภาพของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า 1) ทักษะการคิดเชิงพื้นที่ของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาครูหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบแต่ละด้าน 2) กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาครูมีพัฒนาการทักษะการคิดเชิงพื้นที่ในทิศทางที่ดีขึ้นทั้งในภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบแต่ละด้าน โดยกลุ่มตัวอย่างมีพัฒนาการในภาพรวมที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นจนถึงช่วงท้ายของการทดลอง และหากพิจารณาตามองค์ประกอบแต่ละด้าน พบว่า องค์ประกอบด้านภาพตัวแทนจะมีพัฒนาการที่เด่นชัดที่สุดตั้งแต่ช่วงกลางของทดลอง ส่วนในด้านความรู้เกี่ยวกับมิติเชิงพื้นที่และด้านกระบวนการใช้เหตุผล จะมีพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงต้นจนถึงช่วงท้ายของการทดลอง


การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศัพท์ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แก่นเรื่องเป็นฐานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, บุรฉัตร เปี่ยมสง่ากุล Jan 2020

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศัพท์ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แก่นเรื่องเป็นฐานสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, บุรฉัตร เปี่ยมสง่ากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศัพท์ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แก่นเรื่องเป็นฐาน และศึกษาประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศัพท์ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารที่พัฒนาขึ้นที่มีต่อความสามารถด้านศัพท์ภาษาฝรั่งเศส กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนภาษาฝรั่งเศสของโรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตการศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ1) แบบทดสอบความสามารถด้านศัพท์ภาษาฝรั่งเศส 2) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศัพท์ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แก่นเรื่องเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าเฉลี่ย t-test for dependent sample ที่ระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศัพท์ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้แก่นเรื่องเป็นฐานที่พัฒนาขึ้น มีชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งหมด 5 ชุดกิจกรรมภายใต้แก่นเรื่อง 5 แก่นเรื่อง ได้แก่ 1) Les vêtements (เสื้อผ้าและการแต่งกาย) 2) La consommation (การอุปโภคและบริโภค) 3) Le voyage (การเดินทางท่องเที่ยว) 4) L'idole (บุคคลที่ชื่นชอบ) และ 5) La maison (การใช้ชีวิตในบ้าน) โดยในชุดกิจกรรมประกอบด้วยคู่มือครู ชุดกิจกรรมที่นักเรียนต้องปฏิบัติ แผนการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ แบบฝึกหัด และแบบประเมินผล 2. ผลการศึกษาประสิทธิประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ศัพท์ภาษาฝรั่งเศสเพื่อการสื่อสารที่พัฒนาขึ้นพบว่า 2.1) ความสามารถด้านศัพท์ภาษาฝรั่งเศสของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2) ความสามารถด้านศัพท์ภาษาฝรั่งเศสของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างหลังการทดลองใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เมื่อจำแนกตามองค์ประกอบรายด้านสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกองค์ประกอบ


การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และทฤษฎีการตั้งเป้าหมายสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พีชาณิกา เพชรสังข์ Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และทฤษฎีการตั้งเป้าหมายสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พีชาณิกา เพชรสังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และทฤษฎีการตั้งเป้าหมายสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ 2) ประเมินคุณภาพของโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และทฤษฎีการตั้งเป้าหมายสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีระยะเวลาในการทดลองใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น 15 สัปดาห์ ซึ่งมีนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามทั่วไป แบบวัดพฤติกรรมการเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีหลักการ 4 ประการ คือ 1) หลักการกำหนดเป้าหมายด้วยตนเอง 2) หลักการรับรู้ความสามารถของตนเองและการมั่นว่าทำได้ 3) หลักการวางแผนการทำงาน 4) หลักการการประเมินตนเอง มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งเนื้อหาที่ใช้ในโปรแกรมมีดังนี้ 1) การกำหนดเป้าหมาย 2) การรับรู้ความสามารถของตนเอง 3) ความเชื่อมั่นในอำนาจแห่งตน 4) การวางแผนการทำงาน และ 5) การกำกับและประเมินตนเอง โดยขั้นตอนของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 2) คิดและเชื่อในความสามารถและความพยายามของตนเอง 3) วางแผนเพื่อดำเนินการ 4) ทำตามแผนอย่างมุ่งมั่น และ 5) ประเมินและสะท้อนคิด การดำเนินการใช้โปรแกรมประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนใช้โปรแกรม ระหว่างใช้โปรแกรม และหลังใช้โปรแกรม การวัดและประเมินพฤติกรรมการเรียนดำเนินการวัดก่อน ระหว่างและหลังเข้าร่วมโปรแกรม โดยใช้แบบสอบถามทั่วไป แบบวัดพฤติกรรมการเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนและแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียน 2. นักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรมมีพฤติกรรมการเรียนหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าระหว่างเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตามลักษณะชีวสังคมภูมิหลัง พบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมนักศึกษาที่มีลักษณะชีวสังคมภูมิหลังแตกต่างกันมีพฤติกรรมการเรียนไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และทฤษฎีการตั้งเป้าหมายมีพฤติกรรมการเรียนที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยมีพฤติกรรมการเรียนที่เหมาะสมมากขึ้น


การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมไทยโดยใช้กระบวนการกระจ่างค่านิยมเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, อติอร ตัญกาญจน์ Jan 2019

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมไทยโดยใช้กระบวนการกระจ่างค่านิยมเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, อติอร ตัญกาญจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมไทยโดยใช้กระบวนการกระจ่างค่านิยมเพื่อส่งเสริมความซื่อสัตย์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมไทยโดยใช้กระบวนการกระจ่างค่านิยม กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง จังหวัดกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2 โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง ใช้ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งสิ้น 22 ชั่วโมง รวม 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมไทยโดยใช้กระบวนการกระจ่างค่านิยม และแบบวัดความซื่อสัตย์ สถิติที่ใช้ในการทดลองได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมไทยโดยใช้กระบวนการกระจ่างค่านิยม ประกอบด้วยส่วนประกอบ 4 ส่วน คือ (1) คู่มือการใช้ชุดกิจกรรม (2) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จำนวน 4 ชุดกิจกรรม คือ ชุดที่ 1 เสียชีพดีกว่าเสียสัตย์ ชุดที่ 2 ซื่อกินไม่หมดคดกินไม่นาน ชุดที่ 3 ความซื่อความสัตย์ และ ชุดที่ 4 คำสัตย์วาจาของคนจริง โดยมีขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นทำความเข้าใจ ขั้นพิจารณาค่านิยม ขั้นนำเสนอทางเลือก ขั้นกำหนดคุณค่า และขั้นแสดงค่านิยม (3) สื่อการเรียนรู้ และ (4) แบบประเมิน 2. ผลของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมไทยโดยใช้กระบวนการกระจ่างค่านิยม พบว่า 2.1 นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมไทยโดยใช้กระบวนการกระจ่างค่านิยม มีค่าเฉลี่ยคะแนนความซื่อสัตย์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.2 นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนวรรณคดีและวรรณกรรมไทยโดยใช้กระบวนการกระจ่างค่านิยม มีการเปลี่ยนแปลงของค่านิยมความซื่อสัตย์ในช่วงที่ 2 (กิจกรรมที่ 3-4) เพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงที่ 1 (กิจกรรมที่ 1-2)


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, เธียรดนัย เสริมบุญไพศาล Jan 2019

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, เธียรดนัย เสริมบุญไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต แบ่งการดำเนินการเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ ระยะที่ 3 การศึกษาผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 4 การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นหลังการทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างวิจัยได้จากการเลือกแบบเจาะจง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งลงทะเบียนในรายวิชาเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ระยะเวลาดำเนินการทดลอง 15 สัปดาห์ รวม 60 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีและแบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มีขั้นตอนของกระบวนการ 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ระบุเป้าหมายจากปัญหา ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ตนและกำหนดกลยุทธ์ ขั้นที่ 3 ดำเนินกลยุทธ์เพื่อนวัตกรรม ขั้นที่ 4 ตรวจสอบผลการใช้กลยุทธ์ ผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักศึกษามีระดับของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 78.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.74 และมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีสูงขึ้น สามารถสร้างนวัตกรรมทางเคมีจากการระบุปัญหาของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง พร้อมทั้งวางแผนสร้างผลงานผสมผสานด้วยองค์ความรู้ทางด้านเคมีอย่างเป็นระบบด้วยแนวทางที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อนำไปสู่นวัตกรรมที่แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ


การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, กมลชนก สกนธวัฒน์ Jan 2019

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, กมลชนก สกนธวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและ 2) ศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มเป้าหมายวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชาเพิ่มเติมที่มีสาระเกี่ยวกับการวางแผนและจัดการการเงินในชีวิตประจำวัน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ผู้วิจัยดำเนินการจัดการเรียนการสอนด้วยตนเองโดยใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 11 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความฉลาดรู้การเงิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานเพื่อส่งเสริมความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น มีหลักการสำคัญ ได้แก่ (1) การมุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่านการนำทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ (2) การกำหนดฉากทัศน์ที่สัมพันธ์กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงหรือใกล้เคียงชีวิตจริงที่จูงใจให้นักเรียนได้ใช้ความรู้ ทักษะและกระบวนการคิดที่หลากหลาย (3) การมุ่งเน้นให้นักเรียนใช้กระบวนการคิดเพื่อแก้ปัญหาและการตัดสินใจโดยไม่ถูกตัดสินว่าถูกหรือผิด และ (4) การให้นักเรียนได้เรียนรู้จากความผิดพลาดในการตัดสินใจ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้นี้มีเนื้อหาครอบคลุมความรู้ทางการเงินและความรู้พื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ ประกอบด้วยกิจกรรมจำนวน 11 กิจกรรม เรียงลำดับกิจกรรมตามหลักการวางแผนและจัดการการเงิน แต่ละกิจกรรมมีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นรับประสบการณ์ (2) ขั้นแสดงบทบาทสมมติ (3) ขั้นเผชิญภาวะวิกฤต และ (4) ขั้นสะท้อนผล มีการวัดและประเมินผลของกิจกรรมโดยใช้แบบวัดความฉลาดรู้การเงิน สมุดบันทึกการเรียนรู้ และการสะสมคะแนนโบนัสทางการเงิน เมื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการเรียนการสอนผ่านชุดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจในระดับดีมาก 2. ผลของการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบฉากทัศน์เป็นฐานที่มีต่อความฉลาดรู้การเงินของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น พบว่านักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดรู้การเงินหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้สูงกว่าก่อนการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อพิจารณาแยกตามองค์ประกอบของความฉลาดรู้การเงินพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยสูงสุดในด้านความรู้และทักษะทางการเงิน ด้านพฤติกรรมทางการเงิน และด้านเจตคติทางการเงินตามลำดับ


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล, ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์ Jan 2019

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล, ชญาภรณ์ เอกธรรมสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนตามแนวคิดการคิดเชิงออกแบบร่วมกับแนวคิดการสะท้อนคิดการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาลของนักศึกษาพยาบาล การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน 3) การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น และ 4) การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนฉบับสมบูรณ์ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 8 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ระยะเวลาในการดำเนินการทดลอง 4 สัปดาห์ รวม 140 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาล และแบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1.รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีหลักการสำคัญ 5 ประการ ได้แก่ 1) การสร้างความตระหนักรู้และแรงบันดาลใจ 2) การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาจากบริบทจริงผ่านมุมมองที่หลากหลาย 3) การสะท้อนการปฏิบัติผ่านการสนทนา การฟังและการเขียนบันทึก 4) การร่างและนำเสนอแบบจำลองผ่านการสะท้อนมุมมองของกลุ่ม และ 5) การนำเสนอหรือเผยแพร่ผลงาน ประกอบด้วยขั้นตอน 5 ขั้น ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมและสร้างแรงบันดาลใจ 2) การศึกษาข้อมูลและระบุประเด็นปัญหา 3) การสืบค้นข้อมูลและทวนสอบแนวทางการแก้ปัญหา 4) การสร้างและตรวจสอบต้นแบบนวัตกรรมการพยาบาล และ 5) การเผยแพร่และสะท้อนการเรียนรู้ 2.ผลการศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักศึกษาพยาบาลมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาล เท่ากับ 86.7 คะแนน โดยมีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 7.20 มีระดับความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาลอยู่ในระดับดี และมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมการพยาบาลสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่านักศึกษาพยาบาลสามารถสร้างนวัตกรรมการพยาบาลได้โดยใช้ความรู้ทางการพยาบาลและความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำเสนอให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของนวัตกรรมการพยาบาลได้