Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Adult and Continuing Education

PDF

Chulalongkorn University

2018

Articles 1 - 9 of 9

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์, ลาวัลย์ เวชอภิกุล Jan 2018

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์, ลาวัลย์ เวชอภิกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์บริบทการปฏิบัติงานและความต้องการเสริมสร้างศักยภาพของอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะในการนำโปรแกรมไปสู่การปฏิบัติและขยายผลไปสู่พื้นที่อื่น ทำการศึกษากับกลุ่มอาสาสมัครของมูลนิธิโอโซนจังหวัดสงขลา จำนวน 10 คน และเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลอาสาสมัคร รวมถึงกลุ่มผู้บุกเบิกการทำงานในประเทศไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก แบบสังเกต และประเด็นการสนทนากลุ่ม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลศึกษา พบว่า 1) ศักยภาพที่อาสาสมัครต้องการได้รับการส่งเสริม แบ่งเป็น 4 ด้าน (1) บุคลิกภาพและการจัดการตนเอง (2) ความรู้ (3) ทักษะ และ (4) ทัศนคติ 2) โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพื่อเสริมสร้างศักยภาพอาสาสมัครส่งเสริมการทำงานป้องกันแก้ไขปัญหาเอชไอวี/เอดส์ ได้โปรแกรมที่ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้ 8 กิจกรรม ได้แก่ (1) การสร้างบรรยากาศและความไว้วางใจซึ่งกันและกันภายในทีม (2) การทำความเข้าใจหลักการและกำหนดกติกาการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนร่วมกัน (3) การทบทวนและประเมินศักยภาพที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัคร (4) การออกแบบและวางแผนการเรียนรู้ของตนเอง (5) การแลกเปลี่ยนเทคนิคและประสบการณ์ในการจัดการตนเอง (6) การทบทวนความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน (7) การฝึกทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานผ่านการลงมือปฏิบัติจริง และ (8) การสรุปทบทวนและสะท้อนคิดเกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้และพัฒนา 3) ข้อเสนอแนะในการนำโปรแกรมไปปฏิบัติและขยายผล โดยแบ่งเป็นข้อเสนอแนะต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ (1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องระดับผู้บริหารองค์กรและฝ่ายพัฒนาศักยภาพขององค์กร ซึ่งเป็นผู้กำหนดแนวทางการนำโปรแกรมไปปฏิบัติและขยายผลโดยทำหน้าที่กำหนดผู้รับผิดชอบและสนับสนุนการเตรียมความพร้อมให้แก่ผู้ทำหน้าที่ผู้จัดกระบวนการเรียนรู้ให้แก่อาสาสมัคร (2) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องระดับผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นผู้นำโปรแกรมไปปฏิบัติโดยตรงจึงต้องทำความเข้าใจหลักการของการเรียนรู้แบบเพื่อนช่วยเพื่อนและเปิดใจยอมรับซึ่งกันและกันจึงจะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ และ (3) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในหน่วยงานสนับสนุนระดับนโยบาย


ผลการจัดกระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นฐานที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน, จุฑาเทพ จิตวิลัย Jan 2018

ผลการจัดกระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นฐานที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน, จุฑาเทพ จิตวิลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดย ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นฐานที่มีต่อความความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน 2) เพื่อศึกษา ผลของกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นฐานที่มีต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ จำนวน 3 คน และเยาวชนจำนวน 10 คน ในอำเภอ ชนบท จังหวัด ขอนแก่น ที่สนใจภูมิปัญญา พื้นบ้านการทำผ้าไหมมัดหมี่ร่วมกันโดยใช้กระบวนการ Andragogy ของ Knowles (1980) แบ่ง ออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างบรรยากาศการจัดสภาพแวดล้อมระหว่างผู้สูงอายุและ เยาวชน ระยะที่ 2 การหาความต้องการและเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน ระยะ ที่ 3 การวางแผนดำเนินกิจกรรมและการประเมินผลภูมิปัญญาพื้นบ้าน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ รวบรวมข้อมูลคือแบบบันทึกกิจกรรมแบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้สูงอายุและเยาวชนได้ทำ กิจกรรมภูมิปัญญาพื้นบ้านการทำผ้าไหมมัดหมี่ร่วมกัน ตั้งแต่การสร้างบรรยากาศและการจัด สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการเรียนรู้ระหว่างกัน อีกทั้งได้ร่วมกันหาเป้าหมายวางแผนออกแบบ ดำเนินกิจกรรมและวัดประเมินผลการทำผ้าไหมร่วมกัน 2. หลังจากผู้สูงอายุและเยาวชนได้ทำ กิจกรรมภูมิปัญญาพื้นบ้านการทำผ้าไหมมัดหมี่ร่วมกันได้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและ เยาวชนซึ่งประกอบไปด้วย 1) การสื่อสารเพื่อรับฟังความคิดเห็นระหว่างกัน 2) การช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน 3) การให้โอกาสเชื่อใจในการทำงานระหว่างกัน 4) การแสดงความจริงใจและชื่นชนยินดี ระหว่างกัน 5) การยอมรับลักษณะเฉพาะบุคคลระหว่างกัน


แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ประกายดาว แก้วชัยเถร Jan 2018

แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ประกายดาว แก้วชัยเถร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการบริการของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของเยาวชน และเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม กับเยาวชน จำนวน 400 คน ที่เข้าใช้แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หอศิลป์ ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ และสวนสาธารณะ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลและจัดทำเป็นร่างแนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดแหล่งการเรียนรู้จำนวน 10 ท่าน พร้อมทั้งร่างแผนที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเสนอต่อเยาวชนในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 187 คน เพื่อพัฒนาเป็นแนวทางการจัดแหล่งเรียนรู้และแผนที่การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ โดยใช้แบบประเมินแนวทางและแบบประเมินแผนที่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) เยาวชนเลือกใช้วิธีการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด และเลือกใช้แหล่งเรียนรู้ที่ตรงตามความต้องการและความสนใจของตนเองในการส่งเสริมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตมากที่สุดในทุกแหล่งเรียนรู้ เยาวชนมีปัญหาในเรื่องอุปกรณ์ใช้สอยไม่เพียงพอต่อผู้ใช้บริการในการใช้แหล่งเรียนรู้ และเยาวชนมีความต้องการในเรื่องการจัดเตรียมสถานที่ให้บริการของแหล่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรก (2) แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ เนื้อหากิจกรรม ทรัพยากรการเรียนรู้ สถานที่ และการบริหารจัดการ ในส่วนของแผนที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเว็บไซต์แนะนำแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เยาวชนนิยมเลือกใช้ จำนวน 20 แหล่งเรียนรู้ ซึ่งในเว็บไซต์บอกข้อมูลเบื้องต้นของแหล่งเรียนรู้ที่เยาวชนต้องการทราบ ได้แก่ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ วันเวลาที่เปิดให้บริการ ค่าบริการ สถานีรถไฟฟ้า รูปภาพแหล่งเรียนรู้ การเดินทางทั้งนี้ได้เชื่อมโยงกับ google map เพื่อให้ทำทางไปยังแหล่งเรียนรู้ และเชื่อมโยงกับเว็บไซต์หลักของแหล่งเรียนรู้เพื่อให้สามารถข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามความต้องการ


การพัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพลเมืองไทยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน, ศรัญญา รณศิริ Jan 2018

การพัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพลเมืองไทยด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน, ศรัญญา รณศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาที่ใช้การศึกษาแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนาตัวบ่งชี้การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพลเมืองไทยด้วยกระบวนมีส่วนร่วมของชุมชน 2) ตรวจสอบคุณภาพตัวบ่งชี้การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพลเมืองไทยด้วยกระบวนมีส่วนร่วมของชุมชน และ 3) จัดทำคู่มือการนำตัวบ่งชี้การเรียนรู้ตลอดชีวิตที่พัฒนาไปสู่การปฏิบัติจริง การศึกษาเชิงคุณภาพลงพื้นที่ชุมชนจำนวน 6 ชุมชน ได้แก่ 1) บ้านหนองโน ต.หนองโน จ.สระบุรี 2) บ้านด่านสิงขร ต.คลองวาฬ จ.ประจวบคีรีขันธ์ 3) บ้านคีรีวง ต.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช 4) บ้านชีทวน ต.ชีทวน จ.อุบลราชธานี 5) บ้านเชิงดอย ต.เชิงดอย จ.เชียงใหม่ และ 6) ชุมชนเขายายดา ต.ตะพง จ.ระยอง การศึกษาเชิงปริมาณเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 4,828 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ตัวบ่งชี้การเรียนรู้ตลอดชีวิตของพลเมืองไทย ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1.1) เจตคติต่อการเรียนรู้ ประกอบด้วย เห็นคุณค่า ความสำคัญและความจำเป็นของการเรียนรู้ มีความสุขกับการเรียนรู้ และมีความต้องการที่จะพัฒนาตนเองและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 1.2) ทักษะและความสามารถในการเรียนรู้ ประกอบด้วย มีความสามารถทางด้านภาษาไทย อ่านออก เขียนได้ คิดคำนวณเบื้องต้นได้ มีความสามารถพื้นฐานด้านภาษาต่างประเทศหรือภาษาประเทศเพื่อนบ้าน สามารถใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ในชีวิตประจำวัน มีความสามารถในการสื่อสาร และใช้ความรู้ในการแก้ปัญหา 1.3) ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประกอบด้วย กำหนดเป้าหมายและวางแผนการเรียนรู้ด้วยตนเอง เลือกวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเอง รับผิดชอบตนเองและพึ่งตนเองได้ สามารถตั้งคำถามอย่างมีเหตุผล สามารถสืบค้นและแสวงหาข้อมูลที่สนใจได้ จัดลำดับความสำคัญของสิ่งที่จะเรียนรู้ได้ สรุปประเด็นการเรียนรู้ได้ สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์ได้ 1.4) มีลักษณะนิสัยที่สนับสนุนการเรียนรู้ ประกอบด้วย ใฝ่รู้ใฝ่เรียน มีระเบียบวินับ รอบคอบในการเรียนรู้ มีความสามารถในการปรับตัวให้เกิดการเรียนรู้ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบในการเรียนรู้ มีเป้าหมายการเรียนรู้ในชีวิต สนับสนุนให้ผู้อื่นได้เรียนรู้ และมีความเป็นจิตอาสาแนะนำเพื่อให้ความรู้ และ1.5) ความรู้ความสามารถที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วย มีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพ ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อมรอบตัว มีความรู้เกี่ยวกับบริบทของชุมชนที่อยู่อาศัย มีความรู้และเข้าใจในวัฒนธรรมประเพณีในพื้นที่ …


แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน, ภัสราภรณ์ ศรีอาจนันทโชติ Jan 2018

แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน, ภัสราภรณ์ ศรีอาจนันทโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน 2. เพื่อนำเสนอแนวทางส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ (Survey) กลุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งหมด 753 คน และผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ (ร่าง) แนวทางส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ความเหมาะสมในการนำไปใช้และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของ (ร่าง) แนวทางส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ สภาพ พบว่าเหตุผลส่วนใหญ่ในการเป็นอาสาสมัครคือ ต้องการช่วยเหลือผู้สูงอายุ และเหตุผลส่วนใหญ่ในการพัฒนาตนเองคือ นำความรู้และวิธีการใหม่ๆมาดูแลและแนะนำผู้สูงอายุและครอบครัวโดยส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างในการพัฒนาตนเอง และวิธีการพัฒนาตนเองส่วนใหญ่ใช้วิธีการเข้ารับฝึกอบรม และเนื้อหาที่เรียนรู้ได้แก่ เรื่องการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น และส่วนใหญ่เรียนรู้จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ปัญหาและความต้องการแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ ด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ บ้านวิธีการพัฒนาตนเอง และด้านเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้ พบว่าปัญหาทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับน้อย ซึ่งปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ปัญหาด้านแรงจูงใจโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.8 และความต้องการทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งความต้องการที่พบมากที่สุดคือ ความต้องการด้านเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 และผลการเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน มีความต้องการในการพัฒนาตนเองทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แนวทางส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ประกอบด้วยแนวทาง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงจูงใจส่งเสริมในเรื่องสวัสดิการสำหรับอาสาสมัคร และการคัดเลือกอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานดีเด่น ด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้สนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน และออกแบบคู่มือการปฏิบัติงานและการดูแลผู้สูงอายุให้เข้าใจง่ายสนับสนุนสัญญาณเครือข่ายให้มีความเสถียรและจัดโครงการเพื่อสร้างความสนิทสนมระหว่างอาสาสมัครและผู้สูงอายุ ด้านวิธีการพัฒนาตนเองเน้นการลงมือปฏิบัติจริงและเห็นของจริง จัดประชุมสรุปงานทุกเดือนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจัดพื้นที่เป็นศูนย์รวมให้อาสาสมัครได้ศึกษาเรียนรู้ จัดหลักสูตรฝึกอบรมที่หลากหลาย และด้านเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้จัดการเรียนรู้ให้ครอบคลุมเกี่ยวกับสุขภาวะของผู้สูงอายุ และมีเนื้อหาที่ทันสมัยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้


การส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ, อมรทิพย์ สันตวิริยะพันธุ์ Jan 2018

การส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ, อมรทิพย์ สันตวิริยะพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้แทนจากครอบครัว องค์กร และชุมชน จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ร่วมกันทบทวนและเรียนรู้บทบาท 2) ร่วมกันเรียนรู้และประเมินเบื้องต้น 3) ร่วมกันเรียนรู้และประเมินสถานประกอบการ 4) ร่วมกันกำหนดอาชีพที่เหมาะสม 5) ร่วมกันประสานความร่วมมือจากภายนอก 6) ร่วมกันประเมินผล 7) ร่วมกันสะท้อนคิดและบทเรียนที่ได้รับ และ 8) ร่วมกันถ่ายทอดการเรียนรู้ 2. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ มีจำนวนทั้งสิ้น 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 ด้านกายภาพ ได้แก่ เปิดพื้นที่ในการสร้างโอกาสอย่างอิสระในการเลือกสถานที่ และเวลาในการเข้ามาพบปะเรียนรู้ร่วมกันด้วยความสมัครใจทั้งจากครอบครัว องค์กร และชุมชน ด้านที่ 2 จิตใจ ได้แก่ ตระหนักในบทบาทหน้าที่ ยอมรับฟังความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นบนพื้นฐานของความเข้าใจและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ด้านที่ 3 ด้านเทคนิค ได้แก่ มีความรู้ ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ ทักษะ กระบวนการ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และตรงกับความต้องการ และด้านที่ 4 ด้านเครือข่าย ได้แก่ การประสานความร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ เพื่อสนับสนุนทรัพยากร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน


การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกร, อาทิตยา ปะทิเก Jan 2018

การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกร, อาทิตยา ปะทิเก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 17 คน กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนเพื่อร่วมกันศึกษาปัญหาและวางแผนการแก้ปัญหา 2) การดำเนินการเพื่อร่วมกันลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้ร่วมกันออกแบบไว้ 3) การสังเกตเพื่อร่วมกันบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลที่ได้ปฏิบัติ และ 4) การสะท้อนผลเพื่อร่วมกันสะท้อนผลการเรียนรู้ในการแก้ปัญหา โดยกลุ่มเกษตรกรเป็นผู้ใหญ่จึงต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ในวัยผู้ใหญ่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิต เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม แบบบันทึกการสังเกต แบบวัดผลการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจ และมีผลการวิจัยดังต่อไปนี้ ปัญหาหลักของกลุ่มเกษตรกร คือปัญหาด้านการจัดการผลผลิต โดยกลุ่มเกษตรกรร่วมกันเลือก 3 ปัญหาที่ต้องการแก้ไขมากที่สุด คือ 1) ปัญหาการตลาด โดยมีสาเหตุมาจากการขาดความรู้ด้านการตลาด แก้ปัญหาโดยวิธีการหาเครือข่าย สร้างไลน์กลุ่มเพื่อเป็นพื้นที่ในการขยายการตลาด ผลสำเร็จได้พื้นที่การตลาดเพิ่มขึ้นคือไลน์กลุ่ม 2) ปัญหาคนในพื้นที่ไม่นิยมรับประทาน โดยมีสาเหตุมาจากการที่คนในพื้นที่นิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก แก้ปัญหาโดยวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นไอศครีมและสบู่จากข้าวไรซ์เบอรี่ ผลสำเร็จได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวไรซ์เบอรี่ และ 3) ปัญหาบรรจุภัณฑ์ไม่สวย โดยมีสาเหตุมาจาก การที่ขาดความรู้ในการทำบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม แก้ไขปัญหาโดยการเรียนรู้การทำบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ที่สวยงาม รวมถึงร่วมกันออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ใหม่ ผลสำเร็จได้บรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ที่สวยงาม ผลสะท้อนจากการปฏิบัติการวิจัย คือ กลุ่มเกษตรกรเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 1) กลุ่มเกษตรกรสามารถระบุปัญหา และหาสาเหตุของปัญหาได้ 2) กลุ่มเกษตรกรสามารถวางแผนในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี 3) กลุ่มเกษตรกรสามารถปฏิบัติตามแผนงาน 4) กลุ่มเกษตรกรสามารถประเมินแนวทางการแก้ปัญหา สังเกต และปรับแก้แนวทางการแก้ปัญหาได้ และสะท้อนผลการเรียนรู้การแก้ปัญหาได้


แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชน, โชติรส สุวรรณรัตน์ Jan 2018

แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชน, โชติรส สุวรรณรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาบริบทของชุมชนย่าน เมืองเก่า จังหวัดสงขลา ทีเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา (2) เพื่อศึกษาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชน (3)เสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอด ชีวิตผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยทำการวิจัยทั้งหมด 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่1ศึกษาบริบทของ ชุมชนย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษา โดยศึกษาจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ในชุมชนทั้งหมด 17 คน เครื่องมือที่ใช้คือการสัมภาษณ์จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในชุมชนย่านเมืองเก่า จังหวัดสงขลา ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชน โดยมี กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 400 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต ขั้นตอน ที่3 เสนอแนวทางการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านการท่องเที่ยวโดย ชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนมีบริบทการจัดการศึกษาในชุมชน มีสถานที่และบุคคลที่สามารถ พัฒนาเป็นแหล่งเรียนรู้ได้ เมื่อศึกษาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักท่องเที่ยวพบว่ามีทักษะการ ค้นหาคาตอบมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด (x̄ = 4.29) และทักษะความคิดสร้างสรรค์มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( x̄ = 2.54) จากนั้นผู้วิจัยนาผลที่ได้จากการวิจัยมาพัฒนาเป็นแนวทางในการจัดการศึกษาเพื่อส่งเสริม ทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตผ่านการท่องเที่ยวโดยชุมชนโดยประกอบด้วย 3 แนวทาง ได้แก่ 1.แนว ทางการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียน ได้แก่การส่งเสริมให้โรงเรียนมาเรียนรู้ร่วมกับชุมชน 2.แนว ทางการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียน ได้แก่ การส่งเสริมให้การศึกษานอกโรงเรียนเข้าไปมีส่วน ร่วมในชุมชน และ 3.แนวทางการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย ได้แก่ ชุมชนจัดการศึกษาโดยให้ใช้สิ่งที่ มีในชุมชนมาจัดการศึกษาในชุมชน


การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสื่อสารระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตนักศึกษา, เรข์ณพัศ ภาสกรณ์ Jan 2018

การพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสื่อสารระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตนักศึกษา, เรข์ณพัศ ภาสกรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สมรรถนะการสื่อสารระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตนักศึกษา 2) พัฒนาโปรแกรมการศึกษานอก ระบบโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการสื่อสารระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตนักศึกษา และ 3) นำเสนอแนวทางการประยุกต์ใช้โปรแกรมการศึกษานอก ระบบโรงเรียนฯ กลุ่มตัวอย่างมี 3 กลุ่ม ได้แก่ 1) นิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตจำนวน 1,101 คน ใช้วิธีการคัดเลือกโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นหลาย ขั้นตอน 2) นักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรมฯจำนวน 30 คน 3) ผู้ทรงคุณวุฒิและตัวแทนนิสิตนักศึกษาจำนวน 20 คน ในการสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์ ข้อมูลใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (x̄) ร้อยละ (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ค่า t-test และ p-value ร่วมกับการ วิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า 1. ผลการวิเคราะห์สมรรถนะการสื่อสารระหว่างบุคคลสำหรับนิสิตนักศึกษาด้านแรงจูงใจ ความรู้ และทักษะ โดยรวมอยู่ ในระดับมาก 2. โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนฯ ประกอบด้วย 8 กระบวนการ ได้แก่ 1) การกำหนดพื้นฐานสำหรับการพัฒนาโปรแกรม 2) การวิเคราะห์สถานการณ์ของชุมชนและกลุ่มผู้รับบริการ 3) การพิจารณาผลลัพธ์ที่พึงประสงค์จากการพัฒนาโปรแกรม 4) การกำหนดแหล่งทรัพยากร และการสนับสนุน 5) การออกแบบแผนการเรียนรู้ 6) โปรแกรมของการปฏิบัติงาน 7) ความน่าเชื่อถือของการใช้ทรัพยากร 8) การสื่อสารคุณค่าของ โปรแกรม และ 12 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหาสาระ 4) คุณสมบัติของผู้เรียน 5) คุณสมบัติของผู้สอน 6) วิธีการเรียนรู้ 7) กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 8) เทคนิคการเรียนรู้ 9) สื่อการเรียนรู้ 10) การประเมินผลการเรียนรู้ 11) …