Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Operations and Supply Chain Management Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2019

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 13 of 13

Full-Text Articles in Operations and Supply Chain Management

การประยุกต์ใช้เรือดำน้ำกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน, พัฒนพงษ์ อ่วมด้วง Jan 2019

การประยุกต์ใช้เรือดำน้ำกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน, พัฒนพงษ์ อ่วมด้วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาแนวทางการประยุกต์ใช้เรือดำน้ำกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประโยชน์การใช้งานของเรือดำน้ำของกองทัพเรือ มีลักษณะอะไรบ้าง ที่มีการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากการทำสงคราม และศึกษาว่าหน่วยงานภาครัฐและเอกชนใดบ้าง ที่มีความต้องการใช้งานเรือดำน้ำ เพื่อตอบสนองภารกิจและหน้าที่ความรับผิดชอบหรือกิจกรรมของหน่วยงานตนเอง ตลอดจนแนวทางการประยุกต์ใช้เรือดำน้ำให้เกิดประโยชน์กับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมถึงศึกษาและวิเคราะห์ต้นทุนการปฏิบัติการของเรือดำน้ำในการปฏิบัติภารกิจนั้นๆ โดยการใช้กระบวนวิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methodology) อันประกอบไปด้วย กระบวนการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (Structured Interview) และการวิเคราะห์ต้นทุนการปฏิบัติการ (Analysis of operating costs) โดยการรวบรวมข้อมูลจากความสิ้นเปลืองที่กำหนดในรายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะของเรือดำน้ำ (S26T) มาคำนวณหาต้นทุนการใช้งาน โดยพิจารณาถึงค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อวันในการออกปฏิบัติภารกิจต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการใช้งานเรือดำน้ำที่มีการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากการทำสงคราม คือ การใช้งานเพื่อการตรวจจับวัตถุใต้ทะเล ค้นหาอากาศยาน เรืออับปาง ตลอดจนตู้คอนเทนเนอร์ที่จมอยู่ใต้ท้องทะเล และการเก็บตัวอย่างทรัพยากรน้ำทะเล อันได้แก่ น้ำทะเล อุณหภูมิน้ำทะเล ความเค็มของน้ำทะเล ซึ่งเป็นความต้องการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องหลายหน่วยงาน อาทิ ศูนย์อำนวยการรักษาผลประโยชน์แห่งชาติทางทะเล กองบังคับการตำรวจน้ำ และกรมเจ้าท่า เป็นต้น ทั้งนี้ หน่วยงานต่างๆ ดังกล่าวนี้ สามารถประสานขอรับการสนับสนุนข้อมูลจากการปฏิบัติงานของเรือดำน้ำหรือการใช้งานเรือดำน้ำ จากกองทัพเรือได้ ตามที่จะเห็นสมควร


การวางแผนพัสดุคงคลังที่ทดแทดกันได้, นพพล รัตนบุรี Jan 2019

การวางแผนพัสดุคงคลังที่ทดแทดกันได้, นพพล รัตนบุรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ศึกษาเกี่ยวกับการกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุที่ทดแทนกันได้ เพื่อนำไปกำหนดนโยบายการสั่งซื้อสำหรับการบริหารจัดการพัสดุคงคลังของพัสดุทดแทนกันได้ให้มีประสิทธิภาพ โดยปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันสำหรับพัสดุทดแทนกันได้คือปริมาณกพัสดุในแต่ละรายการมีจำนวนมากเกินปริมาณความต้องการใช้จริง โดยมีพัสดุคงคลังเฉลี่ยสูงถึง 27 ล้านบาท แต่มีปริมาณการใช้ที่ 1.2 ล้านบาทต่อเดือน เมื่อเปรียบเทียบกับปริมาณการใช้ที่ 1.2 ล้านบาทต่อเดือน ทำให้เกิดต้นทุนการจัดเก็บที่สูง ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาวิธีการใช้พัสดุ โดยการประยุกต์แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุให้มีต้นทุนการใช้ต่ำที่สุด ผ่านกระบวนการ Optimization เพื่อนำไปกำหนดนโยบายการสั่งซื้อพัสดุให้เหมาะสมกับปริมาณความต้องการใช้พัสดุที่แท้จริง โดยดำเนินการศึกษานโยบายการสั่งซื้อคงที่ จากแบบจำลองการสั่งซื้ออย่างประหยัด (Economic Order Quantity) และนโยบายการสั่งซื้อไม่คงที่ จากแบบจำลองการสั่งซื้อด้วยการกำหนดระดับพัสดุคงคลังเป้าหมาย (Order up-to Level) ผนวกกับการเปรียบเทียบการประยุต์ใช้นโยบายการสั่งซื้อแบบกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ และ ไม่กำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ โดยตัวชีวัด ประกอบด้วย ระดับพัสดุคงคลังสิ้นงวด (Ending Inventory) ระดับการเติมเต็ม (Fill Rate) และต้นทุนรวม (Total Cost) โดยมีระดับการเติมเต็มที่ 95% ผลการศึกษาพบว่า นโยบายการสั่งคงที่แบบกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ ส่งผลให้มูลค่าพัสดุคงคลังลดลง 13.99% แต่มีระดับการเติมเต็มที่ 89.6% ต่ำกว่าที่กำหนด และต้นทุนรวมลดลง 5.48% สำหรับแบบไม่กำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ ส่งผลให้มูลค่าพัสดุคงคลังลดลง 15.40% แต่มีระดับการเติมเต็มที่ 91% ต่ำกว่าที่กำหนด และต้นทุนรวมลดลง 9.07% ส่วนนโยบายการสั่งซื้อไม่คงที่แบบกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ ส่งผลให้มูลค่าพัสดุคงคลังลดลง 12.49% และมีระดับการเติมเต็มที่ 96% และต้นทุนรวมลดลง 10.05% บรรลุตามวัตถุประสงค์ สำหรับแบบไม่กำหนดรูปแบบการใช้พัสดุ ส่งผลให้มูลค่าพัสดุคงคลังลดลง 10.92% แต่มีระดับการเติมเต็มที่ 94.6% ต่ำกว่าที่กำหนด และต้นทุนรวมลดลง 8.54% ดังนั้นนโยบายการสั่งซื้อไม่คงที่แบบกำหนดรูปแบบการใช้พัสดุทำให้การจัดการพัสดุคงคลังมีประสิทธิภาพมากขึ้นสามารถลดต้นทุนรวมลงได้ 10.05% คิดเป็นมูลค่า 3.82 ล้านบาทต่อปี


การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของ กระทรวงพาณิชย์, ศิรินพ เอี่ยมศิริ Jan 2019

การปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของ กระทรวงพาณิชย์, ศิรินพ เอี่ยมศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอการปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการออกหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าของสำนักบริการการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ โดยการสร้างแบบจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม Arena เพื่อพิจารณาระยะเวลาในการให้บริการและระยะเวลารอคอยของผู้ใช้บริการ และใช้แบบจำลองที่ได้มาทดลองเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการบริการโดยการเพิ่มช่องทางพิเศษ (Fast lane) ให้กับผู้ใช้บริการรายย่อย โดยจะพิจารณาจากขั้นตอนการออกหนังสือรับรองฯในปัจจุบันซึ่งขั้นตอนในปัจจุบันพบว่า ระยะเวลาในการให้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 117.60 นาที และระยะเวลารอคอยเฉลี่ยอยู่ที่ 47.10 นาที หลังจากดำเนินการวิจัยโดยการเพิ่มช่องทางพิเศษพบว่าการเพิ่มช่องทางพิเศษสามารถเพิ่มประสิทธิภาพได้จริงโดยจำนวนฉบับที่เหมาะสมสำหรับช่องทางพิเศษและทำให้ช่องทางพิเศษ มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือ 1-8 ฉบับ โดยระยะเวลาในการให้บริการเฉลี่ยอยู่ที่ 51.40 นาที ลดลงจากเดิม 56.29% และระยะเวลารอคอยเฉลี่ยอยู่ที่ 20.25 นาที ลดลงจากเดิม 57.01% โดยมีการใช้อรรถประโยชน์อยู่ที่ 65.02%


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดทำธนาคารปูม้าชุมชนบริเวณอ่าวไทยตอนใน, กรรัตน์ แมลงภู่ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดทำธนาคารปูม้าชุมชนบริเวณอ่าวไทยตอนใน, กรรัตน์ แมลงภู่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสำเร็จของกิจกรรมธนาคารปูม้าชุมชนในบริเวณอ่าวไทยตอนใน และเพื่อศึกษาความต่อเนื่องในการดำเนินงานของธนาคารปูม้าในบริเวณอ่าวไทยตอนใน โดยมีผลที่คาดว่าจะได้รับเพื่อจัดทำแนวทาง และข้อเสนอแนะในการสร้างความยั่งยืนของกิจกรรมธนาคารปูม้าชุมชนในบริเวณอ่าวไทยตอนใน และมีคำถามวิจัย 1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อชุมชนในการจัดทำธนาคารปูม้าเพื่อก่อให้เกิดจิตสำนึกร่วมกันในการจัดการทรัพยากรประมง 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต่อเนื่องของการจัดทำธนาคารปูม้าโดยการพึ่งพาตนเองอย่างมีความยั่งยืน และ 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของจำนวนปูม้าหรือรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการจัดทำธนาคารปูม้า โดยการดำเนินการวิจัยใช้วิธี การวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะลึก การประชุมกลุ่มย่อย และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สรุปและจำแนกเป็นปัจจัยที่สำคัญรวมถึงปัญหาอุปสรรคต่อการจัดทำธนาคารปูม้าชุมชนบริเวณอ่าวไทยตอนใน ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ส่งผลให้ธนาคารปูม้าประสบผลสำเร็จนั้นประกอบด้วยการมีผู้นำชุมชนที่เข้มแข็ง ข้อตกลงของชุมชน การจัดการงบประมาณภายในชุมชน ความต่อเนื่องต่อเนื่อง และสม่ำเสมอ การดำเนินงานธนาคารปูม้าโดยชุมชนแต่เพียงอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอทำให้การพัฒนาการจัดการทรัพยากรของชุมชนเพื่อเสริมการจัดทำธนาคารปูม้าให้สำเร็จผลอย่างยั่งยืน ต้องการความร่วมมือกันระหว่างชุมชน ภาคเอกชน และภาครัฐ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าทุกปัจจัยเกี่ยวข้องกันหมดหากขาดปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งไปการจัดทำธนาคารปูม้าเพื่อให้เกิดความยั่งยืนจะไม่สามารถเกิดได้ เพราะทุกปัจจัยเป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนกัน และก่อให้เกิดผลสำเร็จในการจัดทำธนาคารปูม้า


ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวต่อโครงการชายหาดปลอดบุหรี่: กรณีศึกษาชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี, ทวีทรัพย์ แสงนุภาพ Jan 2019

ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวต่อโครงการชายหาดปลอดบุหรี่: กรณีศึกษาชายหาดบางแสน จังหวัดชลบุรี, ทวีทรัพย์ แสงนุภาพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติ และการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อโครงการชายหาดปลอดบุหรี่บริเวณชายหาดบางแสน สุ่มเลือกนักท่องเที่ยว 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม และแบบสอบถามเพิ่มเติมเฉพาะกลุ่มนักท่องเที่ยวที่สูบบุหรี่ 40 คน บนบริเวณชายหาด ระยะเวลาการศึกษาตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2562 ถึงวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 วันที่สำรวจเป็นวันหยุดสุดสัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ (1) นักท่องเที่ยวใช้ตู้สูบบุหรี่สำหรับสูบบุหรี่ และทิ้งก้นกรองบุหรี่ในระดับปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกับผลการสำรวจที่พบก้นกรองบุหรี่ร้อยละ 46.19 ตามแนวถนน และทางเดินชายหาด ร้อยละ 36.49 ในตู้สูบบุหรี่ และร้อยละ 17.32 บนพื้นที่ชายหาด ตามลำดับ (2) การมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวต่อโครงการชายหาดปลอดบุหรี่โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยที่ด้านความสำนึกรับผิดชอบโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทัศนคติ ด้านความรู้ และด้านความตระหนักโดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการรับรู้ข่าวสาร และการเห็นแบบอย่างโดยรวมอยู่ในระดับ ปานกลาง (3) การทดสอบสมมติฐาน พบว่า นักท่องเที่ยวที่มีเพศ และอายุต่างกัน มีระดับการมีส่วนร่วมต่อโครงการต่างกัน (4) ในหกปัจจัยที่ใช้ในการวิเคราะห์การมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวต่อโครงการ พบว่า มีเพียงสี่ปัจจัยที่มีอำนาจพยากรณ์ที่ดีที่สุด คือ ความรู้ การรับรู้ข่าวสาร ความสำนึกรับผิดชอบ และการเห็นแบบอย่าง ตามลำดับ โดยสามารถอธิบายการมีส่วนร่วมของนักท่องเที่ยวจากปัจจัยทั้งสี่ปัจจัยได้ร้อยละ 15.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


การเปรียบเทียบรูปแบบการขายอินโคเทอมระหว่างทางทะเลและทางบก : กรณีศึกษาการส่งออกน้ำตาลบรรจุกระสอบ, ปวีณา รุ่งสุวรรณรัชต์ Jan 2019

การเปรียบเทียบรูปแบบการขายอินโคเทอมระหว่างทางทะเลและทางบก : กรณีศึกษาการส่งออกน้ำตาลบรรจุกระสอบ, ปวีณา รุ่งสุวรรณรัชต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนอินโคเทอมทางทะเลและทางบก และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการขายและการซื้อรูปแบบอินโคเทอมทางทะเลและทางบก โดยกรณีศึกษาเป็นบริษัทผู้ส่งออกน้ำตาลรายหนึ่งของประเทศไทย การวิจัยเป็นการผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณได้แก่ การวิเคราะห์ต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางทะเลและทางบก แล้วนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่าใช้จ่ายในการขายอินโคเทอมระหว่างทางทะเลและทางบก และการวิจัยเชิงคุณภาพคือ การสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกใช้รูปแบบอินโคเทอมทางทะเลและทางบกกับผู้ขายและผู้ซื้อที่มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกใช้รูปแบบอินโคเทอมรูปแบบต่างๆ ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าทางทะเลมีค่าใช้จ่ายประหยัดกว่าการขนส่งสินค้าทางบกและตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อต้นทุนค่าใช้จ่ายของผู้ขายและผู้ซื้อคือค่าขนส่งสินค้าและค่าบริหารการจัดการ และปัจจัยที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจเลือกรูปแบบอินโคเทอมมากที่สุดของผู้ขายและผู้ซื้อที่มีความคิดเห็นตรงกันคือเรื่องระบบการขายน้ำตาล การเปรียบเทียบรูปแบบการขายสินค้าจากอินโคเทอมรูปแบบทางบกแบบ EXW รวมค่าขนส่งสินค้าจนถึงด่านชายแดนกับรูปแบบอินโคเทอมทางทะเลแบบ FOB ผู้ขายสนใจที่จะใช้รูปแบบอินโคเทอมทางทะเลแบบ FOB มากกว่า เนื่องจาก ความสะดวกสบายในการขายสินค้า ความต้องการระบายสินค้า ระบบโลจิสติกส์ของบริษัทและสถานที่รับสินค้าปลายทางของผู้ซื้อ


การวิเคราะห์สายธารคุณค่ากระบวนการเรือเข้า-ออกที่ท่าเรือกรุงเทพ, รัชฎา จันทราช Jan 2019

การวิเคราะห์สายธารคุณค่ากระบวนการเรือเข้า-ออกที่ท่าเรือกรุงเทพ, รัชฎา จันทราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการให้บริการเรือสินค้าตู้เข้า-ออกที่ท่าเรือกรุงเทพและวิเคราะห์กระบวนการตั้งแต่จุดทิ้งสมอ เรือผ่านร่องน้ำ และเข้าเทียบท่าเรือ ด้วยการใช้สายธารคุณค่า (Value Stream Mapping : VSM) เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ ซึ่งทำให้สามารถวิเคราะห์กิจกรรมสูญเปล่า (Non Value Added : NVA) เพื่อดำเนินการลดหรือขจัดออกจากกระบวนการ การดำเนินการวิจัยใช้การเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้บริการเรือสินค้า จำนวน 10 บริษัทระหว่างเดือนมกราคม 2560-พฤษภาคม 2561 จากการวิเคราะห์ VSM พบว่า กรณีเรือไทย (ขาเข้า) ค่า NVA เท่ากับ 25.5% หากขจัดระยะเวลาที่สูญเปล่าออกทั้งหมดระยะเวลารวมลดลงจาก 10.34 เป็น 8 ชม. และขจัดค่า NVA แต่ละหน่วยงาน คือ หน่วยงานที่ 3 (7%), 2 (6%), 1 (5%), 4 (4%) และ 5 (3.5%) จะลดระยะเวลากระบวนการรวมเท่ากับ 9.68, 9.86, 9.84, 9.93 และ 10.05 ชม. กรณีเรือต่างชาติ (ขาเข้า) ค่า NVA เท่ากับ 22% หากขจัดระยะเวลาที่สูญเปล่าออกทั้งหมดระยะเวลารวมลดลงจาก 10.14 เป็น 8.53 ชม. และขจัดค่า NVA แต่ละหน่วยงาน คือ หน่วยงานที่ 3 (7%), 1 (5%), 2 (5%), 5 (3%) และ 4 (2%) จะลดระยะเวลากระบวนการรวมเท่ากับ 9.65, 9.64, 9.88, 9.92 และ 9.92 ชม. และกรณีเรือขาออก ค่า NVA เท่ากับ …


การปรับปรุงกระบวนการโหลดสินค้าของธุรกิจวัสดุทดแทนไม้โดยใช้ผังสายธารคุณค่าและการจำลองสถานการณ์, จารุวิทย์ ไกรวงศ์ Jan 2019

การปรับปรุงกระบวนการโหลดสินค้าของธุรกิจวัสดุทดแทนไม้โดยใช้ผังสายธารคุณค่าและการจำลองสถานการณ์, จารุวิทย์ ไกรวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพการดำเนินงานกระบวนการโหลดสินค้าของอุตสาหกรรมวัสดุทดทนไม้ และเพื่อวิเคราะห์ ตลอดจนค้นหาจุดคอขวด ของกระบวนการด้วยแผนภาพสายธารคุณค่า ที่นำไปสู่การหาแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการโหลดสินค้า ประกอบกับการนำแบบจำลองสถานการณ์ มาช่วยในการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลลัพธ์ของแต่ละแนวทางโดยใช้คลังสินค้าหนึ่งของบริษัทผู้ผลิตและจัดจำหน่ายวัสดุทดแทนไม้แห่งหนึ่ง เป็นตัวแทนของการศึกษา โดยมีเกณฑ์ชี้วัด 2 เกณฑ์ ประกอบด้วย ประสิทธิภาพด้านระยะเวลาและด้านอัตราการใช้ทรัพยากรของกระบวนการโหลดสินค้า ซึ่งจากการวิเคราะห์นำไปสู่การนำเสนอแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพของการโหลดสินค้า 4 นโยบาย ซึ่งได้แก่ 1) การลดการรื้อไม้และการขนย้ายไม้ระหว่างการโหลดสินค้า 2) นโยบายการลดระยะเวลารอคอยในระหว่างการโหลดสินค้าจากการรอสินค้าในการผลิต และการแพ็คสินค้า 3) การลดการรื้อไม้และการขนย้ายไม้ระหว่างการโหลดสินค้า ร่วมกับนโยบายการลดระยะเวลารอคอยในระหว่างการโหลดสินค้าจากการรอสินค้าในการผลิต และการแพ็คสินค้า และ 4) การเพิ่มชุดโหลด (Load Resource) ในกระบวนการโหลดสินค้า จากการศึกษา พบว่า นโยบายการเพิ่มชุดโหลด (Load Resource) ในกระบวนการโหลดสินค้า สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการโหลดสินค้าในทุกเกณฑ์ชี้วัดได้มากที่สุด โดยสามารถทำให้ระยะเวลารวมเฉลี่ยของการเข้ามารับสินค้าลดลงได้ร้อยละ 3 ระยะเวลารอคอยเฉลี่ยเพื่อโหลดสินค้าประเภทรถพื้นเรียบลดลงร้อยละ 92 ระยะเวลารอคอยเฉลี่ยเพื่อโหลดสินค้าประเภทรถตู้คอนเทนเนอร์ลดลงร้อยละ 94 และระยะเวลากระบวนการโหลดสินค้าภายในคลังสินค้าลดลงร้อยละ 30 อีกทั้งยังมีอัตราการใช้ทรัพยากรในกระบวนการโหลดสินค้าไม่เกินร้อยละ 80


ความต้องการแรงงานด้านโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเป้าหมายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eec), ภัค วีระเสถียร Jan 2019

ความต้องการแรงงานด้านโลจิสติกส์ในอุตสาหกรรมเป้าหมายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eec), ภัค วีระเสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาระดับสมรรถนะในระดับประถมศึกษา ม.ต้น-ปวส. และอนุปริญญา-ปริญญาเอก โดยการทำแบบสอบถามเก็บข้อมูลผู้ประกอบการเพื่อศึกษาหาระดับสมรรถนะ (ความรู้ ทักษะ คุณลักษณะ) ของแรงงานในปัจจุบันจากความเห็นของผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย 10 s – curve กิจการด้าน โลจิสติกส์ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ผลการศึกษาพบว่าสมรรถนะของแรงงานในกิจการประเภทโลจิสติกส์ซึ่งประกอบไปด้วย ความรู้ ทักษะ และคุณลักษณะ ของแรงงานทั้ง 3 ระดับ ได้คะแนนจากด้านความรู้ต่ำกว่าความคาดหวังของผู้ประกอบการในทุก ๆ ด้าน โดยแรงงานระดับ ม.ต้น-ปวส.มีระดับสมรรถนะโดยรวมต่ำกว่าความคาดหวังมากที่สุด รองลงมาคือระดับอนุปริญญา-ป.เอก และ ระดับประถมศึกษาตามลำดับ คุณลักษณะที่พึงประสงค์คือสมรรถนะที่สำคัญมากที่สุดสำหรับงานด้านโลจิสติกส์ในทุกระดับการศึกษา โดยเฉพาะด้านความซื่อสัตย์ สุจริต ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความมีวินัยและการตรงต่อเวลา คุณลักษณะคือนิสัยการทำงานและการดำเนินชีวิต แรงงานที่ดีมีประสิทธิภาพต้องมีคุณลักษณะที่ดีเป็นอันดับแรก สมรรถนะที่สำคัญที่สุดไม่ใช่ความรู้หรือทักษะแต่เป็นคุณลักษณะ เพราะหากแรงงานขาดคุณลักษณะที่ดีแล้ว ความรู้หรือทักษะที่มีย่อมไร้ความหมาย และอาจเกิดความเสียหายได้หากนำไปใช้ในทางที่ผิด ดังนั้นแรงงานที่มีคุณลักษณะที่ดีจึงเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ


ความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของคนประจำเรือลำเลียงสินค้าบริเวณท่าเรือเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี, คณินศักดิ์ จันทร์ประสิทธิ์ Jan 2019

ความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของคนประจำเรือลำเลียงสินค้าบริเวณท่าเรือเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี, คณินศักดิ์ จันทร์ประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของคนประจำเรือลำเลียงสินค้าที่ท่าเรือเกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของคนประจำเรือลำเลียงสินค้า ได้แก่ การรับสื่อข่าวสารด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ความรู้ความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล และทัศนคติต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามจากผู้ตอบแบบสอบถาม 400 คน สถิติที่ใช้คือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อทดสอบสมมติฐาน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลโดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณที่ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า คนประจำเรือลำเลียงสินค้าส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 35-40 ปี ร้อยละ 51 มีประสบการณ์ทำงานระหว่าง 6-15 ปี ร้อยละ 64.75 มีรายได้ 20,001-25,000 บาท ขึ้นไป ร้อยละ 72.75 และคนประจำเรือลำเลียงสินค้าส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ทางภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คนประจำเรือลำเลียงสินค้าส่วนใหญ่ไม่แยกขยะอาหาร(79.20%) และขยะรีไซเคิล(57.30%) ผู้ประกอบการเรือลำเลียงส่วนใหญ่(81.9%)ไม่มีถุงขยะหรือถังขยะสำหรับลูกเรือ พบว่าปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ ประสบการณ์ทำงาน สถานภาพรายได้ และภูมิลำเนาไม่ส่งผลต่อความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของคนประจำเรือลำเลียงสินค้า ทั้งนี้ความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลของคนประจำเรือลำเลียงสินค้ามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยด้านความรู้ความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและปัจจัยด้านทัศนคติต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล คนประจำเรือลำเลียงสินค้าในภาพรวมมีความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลในระดับมาก มีความรู้ความเข้าใจต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลในระดับมาก และมีทัศนคติต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลในระดับมาก ซึ่งคนประจำเรือลำเลียงสินค้าทราบถึงคุณค่าที่ควรอนุรักษ์ไว้ของทรัพยากรทางทะเล สามารถประเมินได้ว่าการกระทำใดเป็นการทำลายทรัพยากรทางทะเล และการกระทำใดเป็นตัวช่วยในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล แต่เนื่องจากมีข้อจำกัดของพื้นที่ที่อยู่อาศัยบนเรือลำเลียงสินค้าและวิถีชีวิตบนเรือลำเลียงสินค้าจึงทำให้ไม่มีทางเลือกที่มากพอในการจัดการขยะและน้ำเสียต่างๆ


การใช้ประโยชน์สูงสุดของเรือสนับสนุนกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนอกชายฝั่ง, ณัฐพงษ์ ปลีทอง Jan 2019

การใช้ประโยชน์สูงสุดของเรือสนับสนุนกิจการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมนอกชายฝั่ง, ณัฐพงษ์ ปลีทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กิจการนอกชายฝั่งหรือออฟชอร์นั้นเป็นกิจการที่มุ่งเน้นการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่อยู่ใต้ทะเล เพื่อนำปิโตรเลียมที่อยู่ใต้พื้นทะเลขึ้นมาใช้ประโยชน์ และเมื่อกิจการออฟชอร์เป็นการปฏิบัติงานที่อยู่ในทะเล จึงจำเป็นต้องใช้เรือเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานต่างๆ อย่างไรก็ตามงานวิจัยนี้ได้มุ่งประเด็นไปในเรื่องการใช้ประโยชน์จากเรือรับส่งพนักงานหรือ Crew Boat เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าที่สุด และเพื่อหาจุดบกพร่องเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุด โดยการวิจัยครั้งนี้ได้นำการวิเคราะห์สถานการณ์ด้วยแบบจำลองมาประยุกต์ใช้ในการประเมินเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเลือกวิธีการบริหารจัดการต้นทุนที่เกิดจากการใช้งานเรือรับส่งพนักงานในการเดินทางไปและกลับ จากแท่นที่พักอาศัยและแท่นหลุมผลิต ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยวัตถุประสงค์หลักของการวิจัยเพื่อหาวิธีการจัดการลดอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงในขณะที่ไม่ได้ปฏิบัติงานในการขนส่งพนักงานหรือในช่วงของการเดินเรือเที่ยวเปล่า (Back Haul) กลับมายังทุ่นที่ติดตั้งไว้บริเวณแท่นพักอาศัย การวิเคราะห์สถานการณ์ด้วยแบบจำลองของการใช้งานเรือรับส่งพนักงานที่จะนำมาพิจารณามีด้วยกัน 3 วิธีการคือ แบบจำลองที่ 1 การใช้งานเรือในปัจจุบัน คือการนำเรือกลับมาผูกทุ่นที่ได้ติดตั้งไว้บริเวณแท่นที่พักอาศัยทุกครั้งหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจของแต่ละช่วงเวลาโดยดับเครื่องจักรใหญ่ของเรือทั้งหมดในระหว่างที่เรือผูกทุ่น แบบจำลองที่ 2 การนำทุ่นผูกเรือไปติดตั้งเพิ่มไว้ในบริเวณแท่นหลุมผลิตสุดท้ายของเส้นทาง โดยให้เรือดับเครื่องจักรใหญ่ทั้งหมดในระหว่างที่รอรับพนักงานกลับมายังแท่นที่พักอาศัยหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจของแต่ละช่วงเวลา และ แบบจำลองที่ 3 การให้เรือลอยลำในบริเวณใกล้เคียงแท่นหลุมผลิตสุดท้ายของเส้นทางโดยให้เรือดับเครื่องจักรใหญ่บางเครื่องในขณะที่ลอยลำรอรับพนักงานกลับมายังแท่นที่พักอาศัยหลังจากเสร็จสิ้นภารกิจของแต่ละช่วงเวลา ผลของงานวิจัยครั้งนี้พบว่า แบบจำลองสถานการณ์ทั้ง 3 แบบ มีข้อดีข้อด้อยที่แตกต่างกันตามลักษณะของงาน โดยแบบจำลองที่ 1 การนำเรือกลับมาผูกทุ่นเหมาะสำหรับการรับส่งพนักงานในระยะทางที่ใกล้กว่า 5.65 ไมล์ทะเล และแบบจำลองที่ 3 นั้นเหมาะสำหรับการให้เรือลอยลำรอรับพนักงานกลับที่ปลายทางที่มีระยะทางมากกกว่า 5.65 ไมล์ทะเล อย่างไรก็ตามแบบจำลองที่ 2 นั้นยังไม่เหมาะสำหรับการนำมาปฏิบัติในตอนนี้เนื่องจากต้องลงทุนสูงและมีระยะเวลาของการได้ใช้ประโยชน์จากทุ่นสั้นเกินไปจนถึงวันหมดสัญญาสัมปทาน


การกำหนดคุณลักษณะเรือของกองทัพเรือเพื่อปฏิบัติการ และสนับสนุนการขจัดคราบน้ำมันในทะเลไทย, ธนกานต์ สิทธิวงษ์ Jan 2019

การกำหนดคุณลักษณะเรือของกองทัพเรือเพื่อปฏิบัติการ และสนับสนุนการขจัดคราบน้ำมันในทะเลไทย, ธนกานต์ สิทธิวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนาเพื่อศึกษาการกำหนดคุณลักษณะเรือผิวน้ำสำหรับดำเนินบทบาทในการเป็นหน่วยปฏิบัติการ และสนับสนุนการขจัดคราบน้ำมันในทะเล ภายใต้ขอบเขตการรั่วไหลของน้ำมันในระดับ 1 ถึง 2 อันจะทำให้กองทัพเรือมีเครื่องมือที่เหมาะสมในการปฏิบัติภารกิจ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การสร้างความสมดุล และยั่งยืนของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางทะเล ตามแผนความมั่นคงแห่งชาติทางทะเล โดยได้นำกระบวนการคิดที่นำไปสู่แผนการจัดหากำลังรบมาประยุกต์ใช้เป็นกรอบแนวทางในการวิจัย จากผลการศึกษา พบว่ากระแสโลกาภิวัตน์ได้ก่อให้เกิดภัยคุกคามรูปแบบใหม่ทางด้านปัญหาสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่มีสาเหตุจากน้ำมันรั่วไหล โดยประเทศไทยยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลได้อยู่เสมอ แต่ทว่าแผนการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุยังขาดการปรับปรุงให้ทันสมัยเหมาะสมกับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ทำหน้าที่ดังกล่าวของกองทัพเรือก็มีอยู่อย่างจำกัดไม่ครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดเหตุ ทำให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการรับมือได้เพียงแค่ระดับหนึ่งเท่านั้น โดยในงานวิจัยนี้ได้มีการศึกษาเทคโนโลยีสมัยใหม่เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในภารกิจขจัดคราบน้ำมันในทะเลร่วมกับการกำหนดคุณลักษณะเรือผิวน้ำเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับพื้นที่ สภาพอากาศ และชนิดของน้ำมัน อาทิเช่น อุปกรณ์ตรวจจับคราบน้ำมัน การใช้หุ่นยนต์ ทุ่น และเครื่องดูดเก็บคราบน้ำมันแบบต่าง ๆ ซึ่งแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลนั้น ในเบื้องต้นสามารถทำได้ด้วยการปรับปรุงเรือของกองทัพเรือที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีขีดความสามารถด้านงานขจัดคราบน้ำมันบางอย่างเพิ่มขึ้น และในระยะยาวทำได้ด้วยการจัดหาเรือผิวน้ำใหม่ ซึ่งจะต้องมีคุณลักษณะที่มุ่งเน้นความคุ้มค่า อเนกประสงค์ มีขีดความสามารถที่จำเป็น และรองรับการปฏิบัติการได้หลายภารกิจ โดยตัวเรือต้องมีความแข็งแรงคงทนได้ถึงสภาวะทะเลระดับ 3 ทำความเร็วต่อเนื่องได้ 12 นอต และปฏิบัติงานที่ระดับความลึกน้ำ 10 เมตร เป็นอย่างน้อย มีพื้นที่เพียงพอสำหรับการติดตั้งเครื่องมือ และอุปกรณ์สนับสนุนการขจัดคราบน้ำมันแบบต่าง ๆ สามารถดับเพลิงภายนอกตัวเรือได้ รวมถึงให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยในทะเลเป็นการชั่วคราว และการส่งกลับสายแพทย์ได้ ในส่วนระบบตรวจการณ์ต้องสามารถติดตามพิสูจน์ทราบเป้าพร้อมทั้งแสดงภาพสถานการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีระบบสื่อสารครอบคลุมทุกย่านความถี่รองการเชื่อมโยงทางไกลผ่านดาวเทียม โดยทุกระบบต้องมีความน่าเชื่อถือสูง ทั้งนี้คุณลักษณะของเรือที่ได้ยังคงเป็นแบบความคิดรวบยอดที่ไม่เจาะลึกลงไปถึงรายละเอียดทางเทคนิค นอกจากนี้ในงานวิจัยได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม โดยเห็นว่ากองทัพเรือควรพัฒนาองค์ความรู้ด้านการขจัดคราบน้ำมันในทะเลให้กับกำลังพลที่ปฏิบัติงานควบคู่กับการพัฒนาด้านองค์วัตถุ และควรทบทวนยุทธศาสตร์กองทัพเรือถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของชาติทางทะเลในภาพรวมได้ รวมถึงประเทศไทยควรปรับปรุงแผนป้องกันและขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันแห่งชาติให้ทันสมัย และจัดให้มีคลังอุปกรณ์ พร้อมทั้งเรือป้องกันและขจัดคราบน้ำมันในทะเลกระจายครอบคลุมพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดเหตุน้ำมันรั่วไหลในทะเล โดยแนวทางการพัฒนาปรับปรุงเรือนั้นจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม คุ้มค่า และรายละเอียดทางเทคนิคเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามสำหรับการจัดหาเรือใหม่กองทัพเรือควรใช้แนวทางการแปลงยุทธศาสตร์เป็นกำลังรบในลักษณะของการจัดหายุทโธปกรณ์เพื่อให้ได้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการปฏิบัติภารกิจอื่น ๆ นอกเหนือจากภารกิจในการป้องกันประเทศซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 3 ขนาด คือ ความยาว 90, 70 และน้อยกว่า 40 เมตร ตามลำดับ โดยขนาด 70 และน้อยกว่า 40 เมตร เป็นขนาดที่มีความเหมาะสมคุ้มค่ามากที่สุด


ขีดความสามารถในการรองรับทางนิเวศวิทยาของการขนส่งสินค้าเทกองแห้ง ในบริเวณหมู่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี, อารยา สยามรัตนกิจ Jan 2019

ขีดความสามารถในการรองรับทางนิเวศวิทยาของการขนส่งสินค้าเทกองแห้ง ในบริเวณหมู่เกาะสีชัง จังหวัดชลบุรี, อารยา สยามรัตนกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research is descriptive research. The objective is to study the problem and find solutions for the environmental degradation problem in the area of ​​Sichang Islands. A good management is very necessary for Stability, Wealth and Sustainability. From bulk loading activities in Sichang Islands, the research indicates that low ecological carrying capacity from bulk loading in the area is diffused into the sea and some bulk loading is removed by sweeping into the sea. The dissolved oxygen is below a benchmark, sediments were found with an increased accumulation of organic matter every year and loadling activities in the eastern part …