Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Business Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 153

Full-Text Articles in Business

แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วมในเมือง กรณีศึกษา สวนสาธารณะและพื้นที่ใต้สะพานพระราม 8 กรุงเทพมหานคร, อรทัย คุณะดิลก Jan 2020

แนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วมในเมือง กรณีศึกษา สวนสาธารณะและพื้นที่ใต้สะพานพระราม 8 กรุงเทพมหานคร, อรทัย คุณะดิลก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่ที่มีความสำคัญและส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนในเมืองเป็นอย่างมาก แต่ทั้งนี้ปัญหาต่าง ๆ ของสวนสาธารณะที่เกิดขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากปัญหาการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะที่ยังขาดกลไกของกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างมีศักยภาพ งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะที่มุ่งเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะในเมือง กรณีศึกษา สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อวิเคราะห์ช่องว่างระหว่างแนวทางการจัดการพื้นที่สาธารณะที่มีศักยภาพและพื้นที่สาธารณะกรณีศึกษา และเพื่อนำไปสู่การเสนอแนะแนวทางการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะ โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเอกสารเพื่อสร้างตัวอย่างที่ดีในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วม โดยวิเคราะห์ผ่านแนวคิดการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะและทฤษฎีกระบวนการมีส่วนร่วม และวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วย การสังเกตการณ์อย่างไม่มีส่วนร่วมในการใช้พื้นที่สวนสาธารณะพระราม 8 และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ซึ่งใช้การสุ่มกลุ่มประชากรแบบเจาะจง ที่ทำกิจกรรมในสวนทั้งหมด 6 ประเภทๆละ 2 คน รวม 12 คน และสัมภาษณ์ผู้มีอำนาจหน้าที่โดยตรงในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะ อีก 2 คน ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อกระบวนการมีสวนร่วมในสวนหลวงพระราม 8 ประกอบด้วยปัจจัยที่สำคัญ 3 ปัจจัย คือ 1) ปัจจัยด้านกายภาพ 2) ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ และ 3) ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม ซึ่งเป็นปัจจัยทางกายภายที่ส่งเสริมกระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะได้ชัดเจนที่สุดเมื่อเทียบกับปัจจัยอื่น ๆ ดังนั้นการสร้างตัวอย่างการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วมต้องมีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้ 1) การจัดหาพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วม 2) การออกแบบพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วม 3) การระดมทุนและจัดสร้างพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วม 4) การบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วม 5) การดูแลและฟื้นฟูพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วม ทั้งนี้ข้อเสนอแนะต่อแนวทางการพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะของประเทศไทย มีดังนี้ 1) ปรับแก้ข้อกฎหมายที่ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะ 2) จัดตั้งองค์กรเอกชนเพื่อการพัฒนาพื้นที่สาธารณะและเป็นตัวแทนในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะ 3) กำหนดต้นแบบการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วมที่ระบุถึงขั้นตอนในการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะ 4) สร้างจิตสำนึกการเป็นเจ้าของพื้นที่สาธารณะเพื่อให้เกิดการตระหนักในการดูแลรักษาพื้นที่สาธารณะ และ 5) ผลักดันโครงการ Green Bangkok 2030 ให้สอดคล้องกับต้นแบบการบริหารจัดการพื้นที่สาธารณะอย่างมีส่วนร่วมและกำหนดเข้าสู่กรอบการออกกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรม


Could Morningstar Sustainability Rating Be An Indicator For Downside Protection?, Purisa Ruengsrichaiya Jan 2020

Could Morningstar Sustainability Rating Be An Indicator For Downside Protection?, Purisa Ruengsrichaiya

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates whether the Morningstar Sustainability Rating indicates the downside protection for the 2018 Global stock market downturn and 2020 Stock market crash by using daily time-series analysis and investigate whether fund characteristics have an effect on performance of each Morningstar Sustainability Rating by using a panel data analysis at a quarterly frequency for the active equity mutual fund in the US market. This paper finds the neutral performance in every group of ratings in any market period according to the neutral alpha or abnormal return and the fund characteristics influence the fund performance pattern which can observe that …


Determinants Of Power Purchase Agreements And Levelized Cost Of Electricity In Renewable Energy Projects, Krit Yodpradit Jan 2020

Determinants Of Power Purchase Agreements And Levelized Cost Of Electricity In Renewable Energy Projects, Krit Yodpradit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Similar to the concept of concessions, governments worldwide encourage investment in renewable energy by providing a fixed price under the power purchase agreement (PPA) to the renewable energy developers. Depending on each renewable energy technology, the PPA usually corresponds to the levelized costs of electricity (LCOE) or the average lifetime costs of electricity produced by a power plant. Hence, these two parameters play an important role in boosting renewable energy development. Little is however known about the determinants of the PPA and LCOE. Therefore, the paper tries to shed some light on the determinants of the PPA and LCOE of …


Does The Increase In Liquidity Attenuate Returns Anomalies In The Thai Stock Markets?, Supapat Sangkavadana Jan 2020

Does The Increase In Liquidity Attenuate Returns Anomalies In The Thai Stock Markets?, Supapat Sangkavadana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

From Chordia et al. (2014), in the recent period of increased liquidity, the majority of US stock market returns anomalies have attenuated. However, as Thailand is a retail-based stock market, the stock market returns anomalies might not attenuate in the period of increased liquidity. In this paper, I use data from SET and mai markets from 2005 to 2019 to conduct time series regression to test the hypothesis. My finding is, first, apart from momentum returns anomalies in the mai market, the size, value, and momentum returns anomalies still exist in Thai stock markets. Second, most of the returns anomaly …


Mutual Fund Recommendations On Fund Flows And Returns, Rachapoom Karnasoot Jan 2020

Mutual Fund Recommendations On Fund Flows And Returns, Rachapoom Karnasoot

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Using Thailand open-end mutual fund samples from 2017 to 2019, this study examines the impact of analysts’ recommendations on mutual fund flow and return. We decide to use the analysts’ recommendation from two big management companies in Thailand who publicly released their analysts’ recommendation in weekly periods, SCBAM and KAsset. We hypothesize and find the recommendations have a significantly positive impact on mutual fund flows and found no significant impact on return. Our study further examines the risk-adjusted return and observe no significant excess return is generated from recommended mutual funds.


Reverse Stress Testing On Non-Elliptical Jointly Distributed Multivariate Data, Chevincee Werawanich Jan 2020

Reverse Stress Testing On Non-Elliptical Jointly Distributed Multivariate Data, Chevincee Werawanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


The Hybrid Pareto Distribution, Implied Risk-Neutral Density And Option Pricing, Purin Luanloy Jan 2020

The Hybrid Pareto Distribution, Implied Risk-Neutral Density And Option Pricing, Purin Luanloy

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This paper aims to develop a new European option pricing model based on the Extreme Value Theory (EVT). We assume that, in the risk-neutral probability measure, simple negative returns of the S&P500 index follow the Hybrid Pareto (HP) distribution. Then, we derive closed-form pricing formulas for call and put options according to the risk-neutral pricing method. Additionally, we assume that the distribution has a fat tail. Our study’s benchmark model is the Generalized Extreme Value (GEV) model proposed by Markose and Alenton (2011). We estimate model parameters by minimizing the root-mean-square error. The results show that the HP model provides …


การพัฒนาแพลตฟอร์ม ไลน์มินิแอพ สำหรับแพลตฟอร์มการทำบุญบริจาค, ธนภัทร กิจล่ำลือกุล Jan 2020

การพัฒนาแพลตฟอร์ม ไลน์มินิแอพ สำหรับแพลตฟอร์มการทำบุญบริจาค, ธนภัทร กิจล่ำลือกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การทำบุญบริจาคนับเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาอย่างยาวนาน จากการประเมิน ของธนาคารไทยพาณิชย์ ตลาดนี้มีมูลค่านับแสนล้านบาท โดย 96% ของครัวเรือนไทยมีการใช้จ่าย เพื่อการกุศล เฉลี่ยครอบครัวละไม่ต่ำกว่า 6,000 บาทต่อปี แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือมันจะมีข่าวเกี่ยวกับการทุจริต ไม่โปร่งใส เกิดขึ้นกับการทำบุญบริจาคตลอด ซึ่งเป็นเพราะการขาดการเชื่อมโยงของข้อมูล ไม่สามารถตรวจสอบได้ง่าย แทบจะไม่มีการนำเทคโนโลยี ทางสารสนเทศมาประยุกต์ใช้เท่าไหร่นัก ทางผู้จัดทำโครงการได้เล็งเห็นปัญหาในจุดนี้ จึงได้ออกแบบงานวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาต้นแบบ ของแพลตฟอร์มการทำบุญ ใน ecosystem ของไลน์ อันประกอบไปด้วย line mini app, line official account, line chat bot เพราะทางผู้จัดทำเห็นว่าถ้าสามารถพัฒนาระบบใน line ที่มีฐานผู้ใช้งาน 45 ล้านคนในไทย จะช่วยในการหาผู้ใช้งานได้มาก และ สามารถใช้งานได้ง่ายกว่าการเข้าไปใช้เว็ปไซด์ แบบดั้งเดิม ในการออกแบบในโครงการนี้ได้ใช้วิธีสัมภาษณ์จากผู้ใช้งาน 47 คน และ พัฒนาต้นแบบไปให้ ผู้ใช้งาน ลองทดสอบอีก 5 คน เพื่อวิเคราะห์ความต้องการที่แท้จริง จากนั้นนำมาปรับปรุงและ ออกแบบจริง ใน program adobe xd จนออกมาเป็นผลงานที่เสร็จสมบูรณ์ พร้อมสำหรับต่อยอดไป จ้างทีมพัฒนาระบบต่อไป


การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนซื้อรถบรรทุกหัวลาก, รวิสรา ขจรวีระธรรม Jan 2020

การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนซื้อรถบรรทุกหัวลาก, รวิสรา ขจรวีระธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงงานพิเศษฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนซื้อรถบรรทุกหัวลาก เพื่อนำมาใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจรับขนส่งสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาแห่งหนึ่ง โดยใช้เครื่องมือทางการเงินซึ่งประกอบไปด้วยระยะเวลาคืนทุนคิดลด (Discounted Payback Period) มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิ (NPV) อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน (BC Ratio) อัตราส่วนผลตอบแทนภายในโครงการ (IRR) และการวิเคราะห์ความไว มาเป็นเกณฑ์ในการวัดความคุ้มค่าของโครงการว่าควรลงทุนซื้อรถบรรทุกหัวลากหรือไม่ ผลการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนซื้อรถบรรทุกหัวลากในธุรกิจรับขนส่งสินค้าของบริษัทกรณีศึกษา มีความเป็นไปได้ในการลงทุนซื้อรถเพียง 1 คัน โดยมีระยะเวลาคืนทุนคิดลดของโครงการเท่ากับ 4.81 ปี มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดสุทธิ มีค่าเท่ากับ 3,294,788.24 บาท อัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุน มีค่าเท่ากับ 6.27 เท่า และอัตราส่วนผลตอบแทนภายในโครงการ มีค่าเท่ากับร้อยละ 29.67 และเมื่อนำมาวิเคราะห์ความไว โดยมีการกำหนดให้ผลตอบแทนลดลงร้อยละ 5 และ 10 ต่อปี และต้นทุนในการดำเนินงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 และ 10 ต่อปี พบว่า โครงการดังกล่าวยังมีความเป็นไปได้และน่าสนใจลงทุน โดยระยะเวลาคืนทุนยังอยู่ภายใต้ช่วงเวลาที่กำหนด มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดมีค่ามากกว่า 0 และอัตราส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนมีค่ามากกว่า 1 และอัตราส่วนผลตอบแทนภายในโครงการมีค่ามากกว่าเกณฑ์ที่บริษัทคาดหวังทุกกรณี ยกเว้นกรณีที่ผลตอบแทนของโครงการลดลงร้อยละ 10 ต่อปีที่อัตราส่วนผลตอบแทนภายในโครงการมีค่าน้อยกว่าเกณฑ์ที่คาดหวังที่ทำให้โครงการนี้ไม่คุ้มค่าที่จะลงทุน


ปัจจัยทางโลจิสติกส์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเช่าที่อยู่อาศัย, วรรณพร ม้าคนอง Jan 2020

ปัจจัยทางโลจิสติกส์ที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกเช่าที่อยู่อาศัย, วรรณพร ม้าคนอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยทางโลจิสติกส์ใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเช่าที่อยู่อาศัย โดยสำรวจจากประชากรในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และมีกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 424 คน การศึกษาครั้งนี้เป็นเชิงปริมาณ (Quantitative study) โดยมีเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยในการที่ตัดสินใจเช่าที่อยู่อาศัย มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ และ แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) ผลวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก (Logistic Regression Analysis) พบว่า ปัจจัยทางโลจิสติกส์ที่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าที่อยู่อาศัย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัย 0.05 คือ 1) ระยะทางระหว่างที่พักกับสถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษา 2)การมีรถประจำทางให้บริการในบริเวณใกล้เคียง และปัจจัยทางโลจิสติกส์มีอิทธิพลสุดสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ระยะทางหว่างที่พักกับสถานที่ทำงาน หรือสถานศึกษา นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนมากเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัวและรถประจำทาง ทำให้ปัจจัยทำเลที่ตั้งใกล้สถานีรถไฟฟ้าและอัตราโดยสารรถไฟฟ้าไม่มีผลต่อการตัดสินใจเช่าที่อยู่อาศัย ทำเลที่ตั้งใกล้ห้างสรรพสินค้า หรือตลาดเป็นแหล่งชุมชนมาผู้สัญจรไปมาเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดความแออัด และความไม่เป็นส่วนตัวให้แก่ผู้ที่พักอาศัยอยู่ในบริเวณนั้นทำให้ผู้เช่า หรือผู้ที่ต้องการเช่าที่อยู่อาศัยไม่เลือกอยู่อาศัยในบริเวณดังกล่าว และเนื่องจากกลุ่มตัวอย่างส่วนมากเป็นกลุ่มวัยรุ่นยังไม่เห็นถึงความสำคัญของโรงพยาบาล จึงไม่คำนึงถึงทำเลที่ตั้งให้โรงพยาบาล


การวางแผนการขนส่งน้ำมันทางเรือภายใต้ความไม่แน่นอนของอุปสงค์และความพร้อมของทรัพยากร, ชลธิศ บำรุงวัด Jan 2020

การวางแผนการขนส่งน้ำมันทางเรือภายใต้ความไม่แน่นอนของอุปสงค์และความพร้อมของทรัพยากร, ชลธิศ บำรุงวัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาแบบจำลองสถานการณ์ของการวางแผนขนส่งน้ำมันทางเรือจำนวน 3 ประเภทจากโรงกลั่นกรุงเทพมหานครไปเติมที่คลังน้ำมันปลายทางสุราษฎร์ธานีภายใต้ความไม่แน่นอนของอุปสงค์และความพร้อมของทรัพยากร อุปสงค์น้ำมันถูกจำลองขึ้นมาเทคนิคมอนติคาร์โล ขณะที่ตัวแปรในการปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อแบบจำลองประกอบด้วย ระดับน้ำมันในถัง จำนวนและขนาดบรรทุกของเรือ ความพร้อมของเรือขนส่งในสัญญา และความพร้อมของท่าเรือ และแบบจำลองถูกสร้างเพื่อวิเคราะห์ผลลัพธ์ตามเงื่อนไขเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณบรรทุกของเรือขนส่งและนโยบายการเติมสินค้า จากสถานการณ์ปัจจุบันที่กำหนดนโยบายการเติมสินค้าแบบ 70/70/70 ซึ่งเป็นการกำหนดจุดเติมสินค้าเมื่อถังมีพื้นที่ว่าง 70 เปอร์เซ็นต์ ผลลัพธ์จากแบบจำลองแสดงให้เห็นว่าการวางแผนขนส่งด้วยเรือ 2 ลำ ที่ปริมาณบรรทุกรวม 3.2 ล้านลิตร ทำให้เกิดต้นทุนรวมค่าขนส่งต่ำที่สุด สำหรับนโยบายทางเลือกที่ปรับปรุงจุดเติมสินค้าของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเมื่อถังมีพื้นที่ว่าง 60 เปอร์เซ็นต์ ได้ส่งผลต่ออรรถประโยชน์ในการใช้เรือเพิ่มขึ้น การลดลงของน้ำมันขาดมือที่คลังปลายทาง และต้นทุนรวมค่าขนส่งที่ลดลง จากผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและต้นทุนมีผลกระทบมาจากนโยบายการเติมสินค้าและจำนวนเรือขนส่ง


การปรับปรุงกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อแบบโครงการ, อัจฉราพร นาคจู Jan 2020

การปรับปรุงกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อแบบโครงการ, อัจฉราพร นาคจู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยฉบับนี้คือ ปรับปรุงกระบวนการจัดการคำสั่งซื้อแบบโครงการภายในประเทศของบริษัทกรณีศึกษาเป็นบริษัทค้าปลีก จำหน่ายสินค้าและบริการที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย โดยการประยุกต์ใช้แนวทางดำเนินงานวิจัยด้วยหลักซิกซ์ ซิกม่า (Six Sigma) ตามกระบวนการ Define – Measure – Analysis- Improve - Control เริ่มจากการศึกษาแผนภูมิองค์กรของหน่วยงานที่ดูแลคำสั่งซื้อแบบโครงการ แผนผังการไหลของกระบวนการ สอบถามพนักงานที่ปฏิบัติงานหน้างานจริง มุ่งเน้นหาสาเหตุของปัญหาการจัดส่งแบบ Late Full ทั้งหมด 6,044 คำสั่งซื้อ (36%) พบสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา 6 สาเหตุ และเสนอให้มีการปรับปรุงกระบวนการและการควบคุมแยกเป็นภายในองค์กรและคู่ค้า ภายในองค์กรมีการปรับปรุงการไหลเวียนของข้อมูล การกระจายข้อมูลไปยังผู้เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงานได้อย่างทั่วถึง การลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้าข้ามสาขาโดยการใช้รถเที่ยวเปล่า สามารถลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งได้ 51-73% การปรับกระบวนการ S&OP เพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน วางแผนอย่างน้อย 12 เดือนยาวพอที่จะครอบคลุมระยะเวลาในการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ส่วนคู่ค้าจะต้องให้ความสำคัญกับการเข้ามาใช้ระบบ VRM ของบริษัท เพื่อเข้าถึงข้อมูลต่างๆได้ และยอมรับผลการประเมิน เพื่อกำหนดกรอบการทำงานและออกแบบกระบวนการทำงานที่เหมาะสมต่อไป


การวิเคราะห์การจัดเส้นทางการให้บริการหลังการขายด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : กรณีศึกษา บริษัท Xyz, ธมนวรรณ พูลพุฒ Jan 2020

การวิเคราะห์การจัดเส้นทางการให้บริการหลังการขายด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : กรณีศึกษา บริษัท Xyz, ธมนวรรณ พูลพุฒ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการแข่งขันในธุรกิจบอร์ดแบนด์อินเทอร์เน็ต การได้กำไรในด้านการบริการหลังการขาย คือการลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานหรือการลดระยะการเดินทางการให้บริการของช่างที่ไปบ้านลูกค้ากรณีมีเหตุแจ้งเสีย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การจัดเส้นทางบริการหลังการขาย เพื่อยกระดับการดำเนินงานในปัจจุบัน โดยมุ่งเน้นประหยัดต้นทุนด้านการบริการหลังการขาย คือลดระยะเส้นทางการดำเนินงานให้น้อยลง โดยพิจารณาจากตำแหน่งลูกค้าที่ต้องให้บริการ เวลาที่ลูกค้านัดหมาย และระยะทางในการเดินทางของช่าง โดยนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มาประยุกต์ในการจำลองเส้นทางการทำงานแบบเดิม โดยให้วิเคราะห์แบบคงลำดับการทำงานแบบเดิม (ฟังก์ชัน Route) และวิเคราะห์เส้นทางการทำงานแบบใหม่ที่เหมาะสม โดยให้จัดลำดับลูกค้าใหม่ได้ (ฟังก์ชัน Vehicle Routing Problem หรือ VRP) ผลการวิจัยพบว่า สามารถลดจำนวนเส้นทางการให้บริการของช่างได้ถึง 15 เส้นทาง คิดเป็นลดลงร้อยละ 6.12 สามารถลดระยะการทำงานได้ถึง 1,730.83 กิโลเมตร คิดเป็นลดลงร้อยละ 20.59 แต่ในส่วนของการตรงต่อเวลานัดหมายลดลงจากเดิม 3.31% ซึ่งเป็นการล่าช้าในเวลาไม่เกิน 10 นาที


ระบบการแบ่งปันความรู้สำหรับพื้นที่ทำงานร่วมกัน, สุทธิลักษณ์ ลาภสมบุญกมล Jan 2020

ระบบการแบ่งปันความรู้สำหรับพื้นที่ทำงานร่วมกัน, สุทธิลักษณ์ ลาภสมบุญกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษางานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยแรงจูงใจต่อการแบ่งปันความรู้ในพื้นที่ทำงานร่วมกัน 2) พัฒนาต้นแบบระบบการแบ่งปันความรู้สำหรับพื้นที่ทำงานร่วมกัน และ 3) ประเมินผลการยอมรับและความเป็นไปได้ของระบบการแบ่งปันความรู้สำหรับพื้นที่ทำงานร่วมกันในการนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยงานวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน คือ การวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยกลุ่มผู้ให้สัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้บริหารของพื้นที่ทำงานร่วมกันกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีประสบการณ์ใช้บริการพื้นที่ทำงานร่วมกัน และการวิจัยเชิงปริมาณด้วยวิธีการทดสอบความสอดคล้องโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลกับการแบ่งปันความรู้ โดยกลุ่มตัวอย่าง คือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีประสบการณ์ใช้บริการพื้นที่ทำงานร่วมกัน ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยแรงจูงใจภายนอกโดยรวม ประกอบด้วย รางวัล ชื่อเสียง การสร้างเครือข่าย บรรยากาศ และการแลกเปลี่ยนประโยชน์ซึ่งกันและกัน มีอิทธิพลต่อการแบ่งปันความรู้ในพื้นที่ทำงานร่วมกัน และการแบ่งปันความรู้ส่งผลต่อผลลัพธ์ของการแบ่งปันความรู้ในพื้นที่ทำงานร่วมกัน ต้นแบบระบบการแบ่งปันความรู้สำหรับพื้นที่ทำงานร่วมกันถูกพัฒนาโดยกระบวนการพัฒนาบริการใหม่ (New Service Development) จากนั้นนำต้นแบบของระบบมาทดสอบการยอมรับทางเทคโนโลยีและทัศนคติด้านสุนทรียภาพกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีประสบการณ์ใช้บริการพื้นที่ทำงานร่วมกัน ซึ่งสรุปได้ว่ากลุ่มตัวอย่างยอมรับต้นแบบระบบการแบ่งปันความรู้สำหรับพื้นที่ทำงานร่วมกัน การศึกษาความเป็นไปได้ทางการตลาด การบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และการเงิน พบว่าระบบการแบ่งปันความรู้สำหรับพื้นที่ทำงานร่วมกันมีโอกาสในการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ด้วยวิธีการใช้สิทธิ์โดยไม่จำกัดแต่เพียงผู้เดียว (Non-Exclusive Licensing) ซึ่งถูกคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา และการวิเคราะห์การเงิน พบว่า ระยะเวลาคืนทุนอยู่ที่ 3.59 ปี ค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) ที่ได้จากการลงทุนเท่่ากับ 932,461 บาท และอัตราผลตอบที่แท้จริง (IRR) จากการลงทุนเท่ากับ ร้อยละ 40.78


การใช้งานตัวแบบ Agile-Stage-Gate ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ สำหรับบริษัทสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีด้วยตัวแบบปรับสมดุลของความกดดัน 2 ด้าน, เตชวิทย์ หิริสัจจะ Jan 2020

การใช้งานตัวแบบ Agile-Stage-Gate ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ สำหรับบริษัทสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีด้วยตัวแบบปรับสมดุลของความกดดัน 2 ด้าน, เตชวิทย์ หิริสัจจะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่หนึ่งที่ได้รับการพิสูจน์ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประสิทธิผลของการใช้งาน คือ ตัวแบบ Agile-stage-gate เนื่องด้วยความคล่องตัวในการดำเนินการและการรับมือกับอุปสรรคของโครงการ งานวิจัยก่อนหน้าจำนวนหนึ่งนำเสนอผลเชิงบวกในการใช้งานตัวแบบ Agile-stage-gate ในบริษัทขนาดใหญ่ที่ได้รับการยอมรับในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ อย่างไรก็ตามในบริบทของบริษัทสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีที่ต้องเผชิญกับความกดดันที่ขัดแย้งกันของความยืดหยุ่นและความสามารถในการคาดการณ์ได้ รวมถึงข้อจำกัดด้านทรัพยากรและระดับความไม่แน่นอนที่สูงกว่าบริษัทที่ได้รับการยอมรับ ดังนั้นการใช้งานตัวแบบ Agile-stage-gate ในบริบทของบริษัทสตาร์ทอัพจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพิสูจน์ประสิทธิภาพการใช้งานตัวแบบ งานวิจัยนี้อาศัยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพตามยาวในบริษัทสตาร์ทอัพกรณีศึกษาในประเทศไทยเพื่อทำความเข้าใจการใช้งานตัวแบบ Agile-stage-gate ซึ่งบริษัทดังกล่าวมีโครงการที่ใช้งานตัวแบบนี้ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ทั้งที่ดำเนินการได้สำเร็จและไม่สำเร็จ ผู้วิจัยอาศัยการวิจัยเปรียบเทียบในหลายโครงการของบริษัทกรณีศึกษาเพื่อทำความเข้าใจกิจกรรมพื้นฐานที่สามารถทำให้การดำเนินโครงการสำเร็จ รวมถึงการสร้างตัวแบบเชิงกระบวนการเพื่อส่งเสริมการใช้งานตัวแบบ Agile-stage-gate ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในบริบทของบริษัทสตาร์ทอัพด้วยโครงสร้างข้อมูลจากการวิจัย ผลลัพธ์จากงานวิจัยนี้นำเสนอตัวแบบปรับสมดุลของความกดดัน 2 ด้านซึ่งแสดงทั้งความใหม่และความเหมือนในการจัดการโครงการในปัจจุบันเพื่อสนับสนุนการใช้งานตัวแบบ Agile-stage-gate รวมถึงการนำเสนอเครื่องมือและแนวทางเพิ่มเติมในการดำเนินการจากตัวแบบดังกล่าวเพื่อประยุกต์ใช้งานตัวแบบ Agile-stage-gate ในบริบทของบริษัทสตาร์ทอัพที่มุ่งเน้นพัฒนาเทคโนโลยีให้ประสบความสำเร็จ และในส่วนของการนำออกสู่เชิงพาณิชย์ ผู้วิจัยนำเสนอรายงานเส้นทางการขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ในประเทศไทยของต้นแบบเครื่องมือแพทย์จากโครงการกรณีศึกษารวมถึงรายการทดสอบที่จำเป็นเพื่อแสดงความสอดคล้องของการพิสูจน์ความปลอดภัยและสมรรถนะการใช้งานของต้นแบบเครื่องมือแพทย์ดังกล่าว


นวัตกรรมการสร้างความร่วมมือในการออกแบบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับขนาดเล็ก-ขนาดกลาง, เกศณี ศิริวัฒนสกุล Jan 2020

นวัตกรรมการสร้างความร่วมมือในการออกแบบสำหรับอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องประดับขนาดเล็ก-ขนาดกลาง, เกศณี ศิริวัฒนสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาความต้องการ ปัญหาและอุปสรรคในการออกแบบอัญมณีและเครื่องประดับของผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม 2)พัฒนาแพลตฟอร์และต้นแบบการสร้างนวัตกรรมความร่วมมือด้านการออกแบบ 3) ทดลองนำต้นแบบไปใช้งานจริง และ 4)ศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์โดยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 12 ราย การทำแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง 51 ราย และการสัมภาษณ์กลุ่ม 7 ราย ซึ่งประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญ ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม และผู้บริหารสถาบันการศึกษาในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ตัวแปรอิสระที่ส่งผลต่อรูปแบบความร่วมมือได้แก่ปัจจัยด้านการขับเคลื่อนเทคโนโลยี (X4) ปัจจัยความสามารถด้านเครือข่าย (X3) และปัจจัยความสามารถด้านบุคลากร (X1) โดย 2) ปัจจัยการขับเคลื่อนเทคโนโลยี (X4) มีอิทธิพลมากที่สุดทั้งในระดับความสำคัญและในระดับปฏิบัติการ 3)จากทฤษฎีการยอมรับเทคโนโลยี (TAM) พบว่าแพลตฟอร์มมีความเหมาะสมกับการใช้งานด้วยคะแนนการยอมรับ 4.43 จาก 5 คะแนน หรือคิดเป็นร้อยละ 88 และ 4) การประเมินทางเลือกในการลงทุนคือการอนุญาตให้ใช้สิทธิ หรือ Licensing แบบ non exclusive และคิดรายได้แบบค่าเปิดเผยเทคโนโลยี (Disclosure fee) โดยมีการวางแผนบริหารและการวิเคราะห์งบการเงินคาดว่าธุรกิจสามารถขายและทำกำไรได้ที่ 288,342 บาท ในปีที่ 3 ของการดำเนินกิจการ โดยมีอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เท่ากับ 38% มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) 227,227 บาท ระยะเวลาคืนทุน (Payback Period) เท่ากับ 1.96 ปี


นวัตกรรมตัวแบบในการตัดสินใจในการระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทนสำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น, สมบูรณ์ ประสบพิบูล Jan 2020

นวัตกรรมตัวแบบในการตัดสินใจในการระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทนสำหรับธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น, สมบูรณ์ ประสบพิบูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันนี้ การระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทนเป็นทางเลือกหนึ่งของการระดมทุนสำหรับผู้ประกอบการที่มีความต้องการเงินทุนไปใช้ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ต้นแบบ เนื่องจากโครงการที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ใหม่ของผู้ประกอบการนั้นยังมีความเสี่ยงอยู่ การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสำคัญต่อความสำเร็จในการระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทนของธุรกิจที่เพิ่งเริ่มต้น และพัฒนาและทดสอบนวัตกรรมตัวแบบในการตัดสินใจในการระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทน รวมทั้งศึกษาการยอมรับและความเป็นไปได้ในการพัฒนาไปสู่ธุรกิจในเชิงพาณิชย์ของนวัตกรรมตัวแบบในการตัดสินใจในการระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทน การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสม โดยการเก็บข้อมูลทั้งจากการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 11 คน และการวิจัยเชิงปริมาณจะเก็บข้อมูลจากแบบสอบถามจำนวน 320 ราย ซึ่งได้ผ่านการทดสอบความน่าเชื่อถือและค่าความเที่ยงของเครื่องมือ มีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติกส์ พบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1. องค์ประกอบด้านผู้ประกอบการ (ประสบการณ์ในการระดมทุนมวลชนในอดีตที่ผ่านมา และประสบการณ์ในการให้เงินสนับสนุนโครงการระดมทุนมวลชนอื่น) 2. องค์ประกอบด้านลักษณะโครงการ (จำนวนรูปภาพของโครงการ การมีวีดีโอของโครงการและเวบไซด์สำหรับแสดงข้อมูลโครงการ และจำนวนของรางวัลตอบแทนที่หลากหลาย 3. องค์ประกอบด้านรูปแบบในการระดมทุนมวลชน (ระยะเวลาในการเปิดระดมทุนมวลชน เป้าหมายของจำนวนเงินที่ต้องการระดมทุนมวลชน และระยะเวลาในการจัดส่งของรางวัลตอบแทน) การพัฒนานวัตกรรมตัวแบบในการตัดสินใจในการระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทน มี 5 ขั้นตอน ดังนี้ 1. การมองหานวัตกรรม 2. การกำหนดหัวข้อนวัตกรรม 3. การออกแบบนวัตกรรม 4. การพัฒนานวัตกรรม 5. การทดสอบและพัฒนาสู่เชิงพาณิชย์ มีการใช้เทคนิคการเรียนรู้ของเครื่องด้วยอัลกอริทึมของวิธีการถดถอยโลจิสติกส์และวิธีต้นไม้ตัดสินใจ โดยใช้ปัจจัยความสำเร็จจากองค์ประกอบด้านผู้ประกอบการ ด้านลักษณะโครงการ และด้านรูปแบบในการระดมทุนมวลชน ค่าความถูกต้องของแบบจำลองวิธีการถดถอยโลจิสติกส์และวิธีต้นไม้ตัดสินใจ อยู่ที่ 88.2% และ 88.8% ตามลำดับ การทดสอบการยอมรับนวัตกรรมตัวแบบในการตัดสินใจในการระดมทุนมวลชนแบบให้รางวัลตอบแทนของกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ราย พบว่า มีความพึงพอใจในความง่ายและความเหมาะสมในการใช้งาน ประโยชน์ที่ได้จากการใช้งาน และทัศนคติที่ดีต่อการใช้งาน การศึกษาความเป็นได้ในการดำเนินธุรกิจ มีการวิเคราะห์ใน 3 สถานการณ์ (สถานการณ์ที่แย่ที่สุด สถานการณ์ปกติและสถานการณ์ที่ดีที่สุด) โดยในสถานการณ์ที่แย่ที่สุด โครงการนี้ยังมีผลการดำเนินงานน่าพอใจ ซึ่งสูงกว่าความเสี่ยงและต้นทุนของโครงการ และให้ผลตอบแทนที่น่าพอใจแก่ผู้ถือหุ้น ดังนั้น โครงการนี้จึงเหมาะสำหรับการลงทุน


การวิเคราะห์ปัจจัยและพื้นที่ศึกษา สำหรับสร้างโรงงานผลิตท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ด้วยกระบวนการ Ahp ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ Gis, ธนา ภัทรจรรยานันท์ Jan 2020

การวิเคราะห์ปัจจัยและพื้นที่ศึกษา สำหรับสร้างโรงงานผลิตท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ด้วยกระบวนการ Ahp ร่วมกับระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ Gis, ธนา ภัทรจรรยานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิเคราะห์หาพื้นที่เหมาะสมเพื่อเป็นที่ตั้งโรงงานผลิตท่อส่งก๊าซธรรมชาติ LNG บริเวณพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังและนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและขนส่งสินค้า เนื่องจากตัวสินค้ามีลักษณะเฉพาะ พร้อมทั้งช่วยลดระยะเวลาในการคัดเลือกพื้นที่ซึ่งอาจกระทบต่อระยะเวลาในสัญญารับเหมาก่อสร้าง ผู้วิจัยได้ทำการรวบรวมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์และวิศวกรผู้ปฏิบัติงานจริงจำนวน 7 ท่าน ในการประเมินลำดับความสำคัญของปัจจัยหลักซึ่งแบ่งตามทฤษฎี 7R Logistics และปัจจัยรองภายในกลุ่มปัจจัยหลักเดียวกัน ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process; AHP) จากนั้นจึงทำผลที่ได้มานำเสนอร่วมกับ ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาเลือกพื้นที่ต่อไป ผลจากการวิเคราะห์ลำดับสำคัญของปัจจัยพบว่า กลุ่มปัจจัยหลักที่ได้รับลำดับความสำคัญของปัจจัยค่อนข้างสูง ได้แก่ ความสมบูรณ์ของสินค้า (Right Conviction) 31.74% , ความถูกต้องเหมาะสมทางภูมิศาสตร์และความพร้อมของพื้นที่ (Right Place) 28.04% และ ความถูกต้องด้านปริมาณสินค้า (Right Quantity) 20.87% ส่วนกลุ่มปัจจัยหลักที่ได้รับลำดับความสำคัญค่อนข้างน้อยได้แก่ ความถูกต้องเหมาะสมด้านต้นทุน (Right Cost) 10.66% และ ความถูกต้องในเรื่องระยะเวลา (Right Time) 8.69% ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติของพื้นที่ศึกษาพบว่าบริเวณพื้นที่นิคมอุสาหกรรมแหลมฉบังมีคุณสมบัติตรงตามกลุ่มปัจจัยที่มีลำดับความสำคัญสูง มากกว่าบริเวณพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด ส่วนกลุ่มปัจจัยที่มีความสำคัญค่อนข้างน้อยทั้งสองพื้นที่มีคุณสมบัติที่ใกล้เคียงกันทั้งสองพื้นที่


Asia Reits Interdependence And The Impact Of Covid-19 Pandemic, Boonchai Asawapiched Jan 2020

Asia Reits Interdependence And The Impact Of Covid-19 Pandemic, Boonchai Asawapiched

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates Asia REIT interdependence and the impact of COVID-19 pandemic. The data of six major REIT markets in Asia (Japan, Singapore, Hong Kong, Thailand, Malaysia, and Taiwan) have been applied with Johansen cointegration test, Granger causality test, impulse response functions, and variance decomposition. In addition, U.S. REIT is incorporated to emphasis the its impact on Asia markets. The results indicate market integration at long-run period as REIT performance is closely related to the direct real estate market whereas REIT is affected by shocks and noise like stock in short-run. Moreover, it is found that Asia developed markets (Japan, …


การจัดการโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Logistics) กรณีศึกษาบริจาคหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรคโควิด -19 ที่ระบาดในประเทศไทยขององค์การระหว่างประเทศกึ่งรัฐบาล, ณัฏยา แก้วประเสริฐ Jan 2020

การจัดการโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรม (Humanitarian Logistics) กรณีศึกษาบริจาคหน้ากากอนามัยเพื่อป้องกันโรคโควิด -19 ที่ระบาดในประเทศไทยขององค์การระหว่างประเทศกึ่งรัฐบาล, ณัฏยา แก้วประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษากระบวนการจัดการโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมที่หน่วยงานผู้บริจาคดำเนินการเพื่อบริจาคหน้ากากอนามัยให้แก่สภากาชาดไทยที่มีความล่าช้า ใช้เวลาตลอดทั้งกระบวนการถึง 29 วันในปัจจุบัน โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ปฏิบัติงานจริง ออกแบบเป็นแผนผังสถานะปัจจุบัน วิเคราะห์ด้วยทฤษฎีแผนผังสายธารคุณค่า (VSM) เพื่อจำแนกคุณค่าของกิจกรรมและระบุความสูญเปล่า จากนั้นวิเคราะห์หาสายงานวิกฤต (Critical Path) ด้วยเทคนิคระเบียบวิธีวิกฤต (CPM) เพื่อแก้ไขให้มีขนาดสั้นที่สุด จัดลำดับกิจกรรม จนได้กระบวนการจัดการโลจิสติกส์แบบใหม่ออกมาในรูปแบบไดอะแกรม เพื่อใช้เป็นแนวทางในอนาคต ผลที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วย VSM โดยการกำจัดกิจกรรมที่ไม่จำเป็น การรวบหลายๆ กิจกรรมเข้าด้วยกันเพื่อลดขั้นตอนและลดระยะเวลาในการดำเนินงาน และวิเคราะห์โครงข่ายงานหาสายงานวิกฤตและปรับปรุงให้มีขนาดสั้นที่สุด พบว่ากระบวนการจัดการโลจิสติกส์แบบใหม่สามารถลดกิจกรรมจาก 24 กิจกรรม เหลือ 14 กิจกรรม คิดเป็นร้อยละ 41.6 ลดระยะเวลาในการดำเนินการ จาก 29 วันทำการ เหลือ 10 วันทำการ คิดเป็นร้อยละ 65.5 กระบวนการจัดการโลจิสติกส์แบบใหม่นี้จะช่วยให้หน้ากากอนามัยถึงมือผู้ประสบภัยได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น ช่วยลดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย สอดคล้องกับการจัดการโลจิสติกส์เพื่อมนุษยธรรมในสถานการณ์ภัยพิบัติ


การบริหารความเสี่ยงในกระบวนการติดตั้งระบบ Erp เพื่อประยุกต์ใช้กับระบบการดำเนินงานของบริษัทอู่ต่อเรือ Abc, ศิรินทร์พัชร์ เอื้ออำพน Jan 2020

การบริหารความเสี่ยงในกระบวนการติดตั้งระบบ Erp เพื่อประยุกต์ใช้กับระบบการดำเนินงานของบริษัทอู่ต่อเรือ Abc, ศิรินทร์พัชร์ เอื้ออำพน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์หรือปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะส่งผลกระทบให้เกิดความล้มเหลวต่อการดำเนินงานในกระบวนการติดตั้งระบบ ERP ซึ่งจัดเป็นกระบวนการหนึ่งของวัฏจักรชีวิตของโครงการระบบ ERP รวมถึงการเสนอแนวทางการจัดการสาเหตุของความเสี่ยงในกรณีศึกษาบริษัทอู่ต่อเรือ วิธีการวิจัยนี้ได้นำหลักการบริหารจัดการความเสี่ยง AS/NZS 4360:2004 มาประยุกต์ใช้เป็นกรอบการดำเนินงานวิจัย ร่วมกับการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับบ่งชี้ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุของแต่ละปัจจัยเสี่ยง และตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้งกับทีมผู้เชี่ยวชาญ จากนั้นนำปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวมาประเมินความเสี่ยงและจัดเรียงอันดับระดับความสำคัญจากค่าความสัมพันธ์ระหว่างโอกาสที่จะเกิดขึ้นและผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยง โดยใช้วิธีระดมความคิดกับบุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งหมดในโครงการของบริษัทกรณีศึกษา ผลการวิจัยในครั้งนี้สามารถรวบรวมปัจจัยเสี่ยงในกระบวนการติดตั้งระบบทั้งหมด 8 ปัจจัย จากการประเมินความเสี่ยง ทำให้ทราบว่าบริษัทต้องมีการจัดการลดระดับความเสี่ยงทั้ง 7 ปัจจัยที่อยู่ในระดับสูงมากและสูงเป็นอันดับแรก เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้เมื่อเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบที่รุนแรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยการบริหารการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเป็นความเสี่ยงที่มีระดับความเสี่ยงสูงที่สุด ถึงเเม้ว่าปัจจัยการฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานมีระดับความเสี่ยงต่ำที่สุดในปัจจัยเสี่ยงทั้งหมด แต่เป็นปัจจัยที่สามารถส่งผลกระทบต่อโครงการได้ในระยะยาว ดังนั้นควรมีการเฝ้าติดตาม นอกจากนี้งานวิจัยได้เสนอแนะวิธีในการควบคุมและจัดการสาเหตุของปัจจัยเสี่ยงต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางให้กับบริษัทกรณีศึกษาสำหรับการวางแผนบริหารความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการรับมือและป้องกันความล้มเหลวของการดำเนินโครงการระบบ ERP


การวิเคราะห์หาคลังสินค้าแห่งใหม่โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : กรณีศึกษาบริษัท Fmcg, ณิชาภัทร หมอกมืด Jan 2020

การวิเคราะห์หาคลังสินค้าแห่งใหม่โดยใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ : กรณีศึกษาบริษัท Fmcg, ณิชาภัทร หมอกมืด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริษัท FMCG เป็นบริษัทมีการผลิตหรือจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่มีสภาพคล่องการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วมาก และด้วยจำนวนของผู้ใช้สินค้าอุปโภคบริโภคที่มีจำนวนมากขึ้น ทำให้บริษัทต้องผลิตสินค้าในจำนวนที่มากขึ้นเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการของลูกค้า ทั้งนี้สืบเนื่องมาจากเมื่อต้นปี 2563 บริษัทมียอดความต้องการของสินค้าส่งออกที่มากขึ้น เนื่องจากฐานการผลิตที่ไทยได้เพิ่มจำนวนสินค้าและประเทศส่งออกที่มากขึ้น โดยเพิ่มมากขึ้นหลายเท่าตัวจากเดิมและครอบคลุมความต้องการของทั้ง ASEAN จึงเป็นสาเหตุให้เกิดความต้องการในการผลิตสินค้าที่มากขึ้น เมื่อความต้องการมากขึ้นวัตถุดิบในการผลิตและสินค้าสำเร็จรูปก็มากขึ้นพื้นที่หรือคลังสินค้าในการจัดเก็บจึงจำเป็นต้องมีการบริหารจัดการให้เพียงพอกับกับความต้องการที่มากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นต้องปรับปรุงการบริหารจัดการสินค้าคงคลังแต่ละคลังให้มีความเหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าที่เกินความจำเป็น เพิ่มระดับความพึงพอใจของลูกค้า และเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับบริษัท การนำระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์มาใช้ในการคำนวณค่าใช้จ่ายในการขนส่งจากโรงงานการผลิตไปยังคลังสินค้าแห่งใหม่ และจากคลังสินค้าแห่งใหม่ไปยังท่าเรือกรุงเทพฯ เพื่อความแม่นยำในการวิเคราะห์ด้านภูมิศาสตร์มากขึ้น ทั้งนี้เพื่อเลือกคลังสินค้าใหม่ที่จะทำการเช่าสามารถเพื่อที่จะสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น และมีการทำงานที่ตรงตามความต้องการของลูกค้าอย่างสูงสุดและใช้งานคลังสินค้าอย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น โดยทำการศึกษาจากตัวอย่างของกรณีคลังสินค้าที่อยู่ในอำเภอบางพลี อำเภอบางบ่อ อำเภอบางเสาธง และอำเภอเมืองจังหวัดสมุทรปราการจำนวน 10 แห่ง


การเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมของคลังสินค้า: กรณีศึกษา บริษัท Abc จำกัดโดยใช้กระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น, เพ็ญพิมล อยู่รุ่งเรืองศักดิ์ Jan 2020

การเลือกทำเลที่ตั้งที่เหมาะสมของคลังสินค้า: กรณีศึกษา บริษัท Abc จำกัดโดยใช้กระบวนการตัดสินใจแบบวิเคราะห์ลำดับชั้น, เพ็ญพิมล อยู่รุ่งเรืองศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process) ในการเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้า โดยมีกรณีศึกษาเป็นบริษัทที่ให้บริการเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซซื้อขายสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าตกแต่งบ้าน ตลอดจนให้บริการจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้าปลายทาง โดยมีการวิเคราะห์ปัจจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ดังนี้ ค่าที่ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าแรงงาน ระยะทางระหว่างคลังกับผู้ขาย ระยะทางระหว่างคลังกับลูกค้า ความพร้อมทางด้านคมนาคม ความพร้อมด้านสาธารณูปโภค สังคมและชุมชน และความเสี่ยงที่จะเกิดภัยทางธรรมชาติ เพื่อนำมาพิจารณาทางเลือกที่ตั้งคลังสินค้าจำนวน 4 ทำเล การวิจัยได้นำปัจจัยและทางเลือกมาพัฒนาเป็นโครงสร้างแผนภูมิลำดับชั้นตามกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์จากแบบสอบถามเรื่องปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าพบว่า ผู้ตัดสินใจให้ความสำคัญกับปัจจัยตามลำดับความสำคัญเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้ อันดับหนึ่งคือระยะทางระหว่างคลังกับลูกค้า (26.91%) รองลงมาคือระยะทางระหว่างคลังสินค้ากับผู้ขาย (19.20%) ความพร้อมด้ามคมนาคม (14.36%) ค่าที่ดิน (10.04%) ความพร้อมด้านสาธารณูปโภค (6.39%) ความเสี่ยงที่จะเกิดภัยทางธรรมชาติ (6.37%) ค่าแรงงาน (6.22%) ค่าก่อสร้าง (5.3%) สังคมและชุมชน (5.23%) เป็นลำดับสุดท้าย โดยสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวไปนำเสนอเป็นแนวทางในการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งคลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาในอนาคต


การลดเวลาการให้บริการกรณีศึกษาร้านอาหารญี่ปุ่น Xxx, ณัฐชัย ศิริแสงชัยกุล Jan 2020

การลดเวลาการให้บริการกรณีศึกษาร้านอาหารญี่ปุ่น Xxx, ณัฐชัย ศิริแสงชัยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ร้านอาหารญี่ปุ่นแห่งหนึ่งได้ดำเนินธุรกิจเป็นเวลากว่า 5 ปี มีรูปแบบการขายอาหารแบบบุฟเฟ่ต์ ทางร้านพบว่ายังมีลูกค้าบางส่วนที่ไม่ประทับใจในการให้บริการของทางร้านเนื่องจากลูกค้าได้รับอาหารนาน ที่ทางร้านจะได้รับเป็นข้อเสนอตามเว็บไซต์ และแอพพลิเคชั่นในการสังคมออนไลน์ จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าสาเหตุหลักที่ทำให้กระบวนการออกอาหารช้า คือ การทำอาหารใช้เวลานาน และตารางพนักงานที่ไม่เหมาะสม ผู้ศึกษาจึงเสนอวิธีแก้ปัญหาดัง 2 วิธี คือ 1. ลดความจุต่อจานของอาหารประเภทซูชิและซาชิมิ และ 2.จัดตารางพนักงานใหม่ โดยคาดหวังในสามารถลดเวลาในการให้บริการเฉลี่ยได้ 1 นาที และรักษาระดับอรรถประโยชน์ของพนักงานไว้ที่ไม่เกิน 70 % ในช่วงเวลา 11:00-16:00 น. ของวันเสาร์และอาทิตย์ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ลูกค้ามากที่สุดของทางร้าน ผู้ศึกษาได้ใช้แบบจำลองสถานการณ์ผ่านโปรแกรม Arena โดยใช้ข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2563 ถึง พ.ศ. 2564 พบว่า วิธีที่ 2 หรือวิธีการจัดตารางพนักงานใหม่โดยพิจารณาข้อมูลจำนวนลูกค้าเข้าในแต่ละช่วงเวลาที่เกิดขึ้นในอดีต และจัดตารางพนักงานให้สอดคล้องลูกค้าที่เข้ามาเป็นวิธีที่ได้ผลในการลดเวลาในการให้บริการเฉลี่ยโดยสามารถลดได้ถึง 3.15 นาที ดีกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ในขณะที่การลดความจุต่อจานของอาหารประเภทซูชิและซาชิมิสามารถลดได้เวลาในการให้บริการเฉลี่ยได้ 0.935 นาทีซึ่งไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ อย่างไรก็ดีทั้ง 2 วิธีสามารถรักษาระดับอรรถประโยชน์พนักงานไว้ที่ 70%


การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัท Abc, ชาธินี ศรีงาม Jan 2020

การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัท Abc, ชาธินี ศรีงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและปรับปรุงรูปแบบการสั่งซื้อสินค้าในปริมาณที่เหมาะสม โดยนำเทคนิคการพยากรณ์เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล และเพื่อช่วยลดต้นทุนสินค้าที่เกิดจากการบริหารสินค้าคงคลัง จากการศึกษาพบว่าบรืษัทกรณีศึกษายังไม่มีระบบจัดการสินค้าคงคลังที่เหมาะสม และไม่มีมาตราการกำหนดปริมาณการสั่งซื้อสินค้าที่เหมาะสม ปัจจุบันอาศัยเพียงประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะตัวในการกำหนด ทำให้บริษัทประสบปัญหาปริมาณสินค้าคงคลังมากเกินความต้องการ (Over Stock) ส่งผลให้มีต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าที่สูง ผู้วิจัยรวบรวมและนำข้อมูลยอดขายสินค้า ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2561 - เดือนธันวาคม พ.ศ. 2563 มาวิเคราะห์หาระดับความสำคัญของสินค้าแต่ละชนิดโดยใช้วิธีการแบ่งกลุ่มสินค้าแบบ ABC Classification พบว่า กลุ่ม A มีสินค้าจำนวน 7 รายการ มูลค่ารวมคิดเป็น 73.11 % ของยอดขายสินค้าทั้งหมด มูลค่าเท่ากับ 19,613,390.00 บาท จากนั้นเลือกใช้วิธีการพยากรณ์ด้วยเทคนิคอนุกรมเวลา (Time Series Forecasting) แบบมีฤดูกาลจำนวน 3 วิธี ซึ่งประกอบด้วย การพยากรณ์ข้อมูลที่มีอิทธิพลของฤดูกาลเพียงอย่างเดียว (Simple Seasonal Exponential Smoothing method), การพยากรณ์ข้อมูลที่มีอิทธิพลของฤดูกาลและแนวโน้มเชิงบวก (Holt-Winters’ Additive Seasonal Smoothing Method) และการพยากรณ์ข้อมูลที่มีอิทธิพลของฤดูกาลและแนวโน้มเชิงคูณ (Holt-Winters' Multiplication Seasonal Smoothing Method) มาวิเคราะห์และพยากรณ์ความต้องการสินค้าในอนาคต หลังจากนั้น คำนวณหาปริมาณการสั่งซื้ออย่างประหยัด (EOQ) จุดสั่งซื้อใหม่ (ROP) และต้นทุนรวมสินค้าคงคลังที่ต่ำที่สุด ผลการวิจัยพบว่า การสั่งซื้อรูปแบบที่นำเสนอสามารถช่วยลดต้นทุนรวมสินค้าคงคลังของบริษัทกรณีศึกษา ได้เท่ากับ 1,220,824.64 บาท หรือเท่ากับ 44% เมื่อเทียบกับนโยบายปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าการสั่งซื้อในรูปแบบใหม่ที่นำเสนอช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารต้นทุนสินค้าของบริษัทกรณีศึกษาได้ดียิ่งขึ้น


การเลือกตำแหน่งที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้าแห่งใหม่ ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล: กรณีศึกษา บริษัทแสตมป์ปิ้งฟอยล์, วิภาวี จันทร์แก้ว Jan 2020

การเลือกตำแหน่งที่ตั้งโรงงานและคลังสินค้าแห่งใหม่ ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล: กรณีศึกษา บริษัทแสตมป์ปิ้งฟอยล์, วิภาวี จันทร์แก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริษัทกรณีศึกษามีโรงงานสำหรับแปรรูปสินค้าและคลังสินค้าตั้งอยู่ในพื้นที่เขตคลองเตย กรุงเทพฯ มีแนวคิดที่จะลงทุนซื้อเครื่องจักรเพิ่มและขยายธุรกิจเพื่อรองรับยอดขายในอนาคต จึงจำเป็นต้องหาพื้นที่ที่สามารถจัดตั้งโรงงานได้ตามกฎหมาย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะวิเคราะห์หาพื้นที่ที่เหมาะสมสร้างโรงงานและคลังสินค้าแห่งใหม่ ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลของบริษัทกรณีศึกษา โดยมุ่งเน้นถึงประสิทธิภาพด้านระยะทางการขนส่งเป็นหลัก งานวิจัยนี้จึงพิจารณาระยะทางจากสนามบินหรือท่าเรือสำหรับการนำเข้าสินค้า และระยะทางในการขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าให้น้อยที่สุด ในการดำเนินงานวิจัย ใช้ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ในการหาพื้นที่ที่เหมาะสม โดยใช้เทคนิคการซ้อนทับ (Overlay Function) เพื่อหาพื้นที่จำนวนหนึ่งตามเกณฑ์ที่กำหนด ร่วมกับเทคนิควิเคราะห์เมทริกซ์ต้นทุนระหว่างต้นทางและปลายทาง (Origin-Destination Cost Matrix) เพื่อคำนวณระยะทางถ่วงน้ำหนักของแต่ละเส้นทาง และใช้เทคนิคกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ ในการหาค่าน้ำหนักของแต่ละปัจจัย เพื่อนำไปกำหนดระดับความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ พบว่าโดยเฉลี่ยแล้วผู้บริหารและผู้เชี่ยวชาญให้ค่าน้ำหนักของปัจจัยที่สำคัญมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านราคาที่ดิน รองลงมาคือ ปัจจัยด้านพื้นที่น้ำท่วมซ้ำซาก ปัจจัยด้านระบบสาธารณูปโภค และปัจจัยด้านระยะห่างจากถนนสายหลัก เป็นลำดับสุดท้าย ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสำหรับสร้างโรงงานและคลังสินค้าแห่งใหม่มากที่สุด คือ พื้นที่บริเวณแขวงลำปลาทิว เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร


นโยบายสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจจำหน่ายเครื่องมือโครงสร้างพื้นฐาน, เสาวลักษณ์ ปศุพันธาภิบาล Jan 2020

นโยบายสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจจำหน่ายเครื่องมือโครงสร้างพื้นฐาน, เสาวลักษณ์ ปศุพันธาภิบาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดนโยบายสินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจเครื่องมือโครงสร้างพื้นฐานเพื่อปรับปรุงระดับการให้บริการลูกค้าและลดต้นทุนสินค้าคงคลังรวม โดยจำแนกประเภทสินค้าแบบ ABC จากข้อมูลความต้องการสินค้าในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 เพื่อคัดเลือกสินค้าตัวอย่างจากกลุ่ม A ที่ตรงตามเงื่อนไขของงานวิจัยซึ่งมีทั้งหมด 5 รายการ จากนั้นศึกษาข้อมูลในอดีตของสินค้าตัวอย่างทั้ง 5 รายการเพื่อนำมาพยากรณ์ความต้องการสินค้าล่วงหน้าเป็นเวลา 3 เดือนและสามารถแบ่งกลุ่มสินค้าได้เป็นสองกลุ่มได้แก่ กลุ่มที่ 1 มีข้อมูลความต้องการสินค้าในอดีต 12 เดือนซึ่งไม่สามารถตรวจสอบแนวโน้มหรือฤดูกาลได้ ดังนั้นจึงเปรียบเทียบวิธีหาค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่สามเดือนและการปรับเรียบอย่างง่าย และกลุ่มที่ 2 มีข้อมูลความต้องการสินค้าในอดีต 24 เดือนซึ่งลักษณะข้อมูลเป็นฤดูกาล ดังนั้นจึงเปรียบเทียบวิธีการปรับเรียบแบบมีฤดูกาลอย่างง่ายและการปรับเรียบซ้ำสามครั้งของวินเตอร์ และเลือกวิธีพยากรณ์ที่ดีที่สุดจากค่าร้อยละผิดพลาดสัมบูรณ์เฉลี่ยที่ต่ำที่สุด และนำค่าพยากรณ์ที่ได้มากำหนดนโยบายสินค้าคงคลัง ทั้งนี้บริษัทกรณีศึกษามีระบบการวางแผนทรัพยากรในการควบคุมสินค้าคงคลังอยู่แล้ว ในงานวิจัยนี้จึงนำเสนอระบบการควบคุมสินค้าคงคลังอย่างต่อเนื่องพร้อมทั้งคำนวณปริมาณการสั่งซื้อแบบประหยัด สินค้าคงคลังสำรอง และจุดสั่งซื้อสินค้าคงคลัง ผลการวัดประสิทธิภาพของนโยบายที่นำเสนอสำหรับสินค้าทั้ง 5 รายการพบว่า ต้นทุนสินค้าคงคลังรวมของนโยบายที่นำเสนอลดลงจากนโยบายปัจจุบันเท่ากับUSD 9,507.35 หรือคิดเป็นร้อยละ 29 จาก USD 32,947.77 ลดลงเหลือ USD 23,440.43 ส่วนระดับการให้บริการลูกค้าของนโยบายที่นำเสนอเพิ่มขึ้นจากนโยบายปัจจุบันเฉลี่ยร้อยละ 52 จากร้อยละ 59 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 90 ตามเป้าหมายของบริษัทกรณีศึกษา


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งาน Online Platform กรณีศึกษา บริษัทสายเรือ Abc, ภัทรา อำไพพรรณ Jan 2020

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งาน Online Platform กรณีศึกษา บริษัทสายเรือ Abc, ภัทรา อำไพพรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการส่งออกของไทยมีแนวโนมปรับตัวลดลง รวมทั้งเศรษฐกิจในประเทศมีแนวโน้มชะลอตัว และปัญหาปัจจุบันที่ทำให้เกิดผลกระทบอย่างหนักคือ COVID-19 ซึ่งไม่ใช่เพียงการส่งออกของไทยเท่านั้นที่ชะลอตัว แต่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก และทำให้มีผลกระทบต่อหลายธุรกิจ รวมไปถึงการควบรวมธุรกิจของแต่ละสายเรือ ซึ่งมีการแข่งขันทางด้านบริการเพิ่มมากขึ้น ในแง่ของการบริการทางสายเรือ จึงจำเป็นต้องพัฒนาระบบให้การทำงานอย่างเป็นระบบ มีความรวดเร็วในการให้บริการ ถูกต้องแม่นยำ ข้อมูลเข้าถึงได้ง่าย และตรวจสอบได้ โดยบริษัทกรณีศึกษาเป็นบริษัทสายเรือเป็นสายการเดินเรือรายใหญ่ ใช้แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้นำเข้าและส่งออกสินค้าและตัวแทนผู้นำเข้าและส่งออก จำนวน 149 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ (Multiple Regression Analysis) เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับการใช้งาน Online Platform กรณีศึกษา บริษัทสายเรือ ABC จำนวน 4 ด้าน และความตั้งใจที่จะใช้งาน Online Platform ผลการศึกษาพบว่า ด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพของการใช้งาน Online Platform ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน Online Platform ด้านความง่ายในการใช้งาน และความตั้งใจที่จะใช้งาน Online Platform (Intention to Use) อยู่ในระดับมากที่สุด และด้านอิทธิพลทางสังคมที่มีส่วนให้ใช้ Online Platform (Social Influence) อยู่ในระดับมาก ข้อมูลขององค์กรและข้อมูลส่วนบุคคลพบว่า ขนาดขององค์กร อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงานส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้งาน Online Platform (Intention to Use) ในขณะที่อายุขององค์กร เงินลงทุนขององค์กร จำนวนสมาชิกในองค์กร เพศ หน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ส่งผลต่อความตั้งใจที่จะใช้งาน Online Platform (Intention to Use) ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเลือกใช้ Online Platform ของลูกค้าที่ใช้บริการสายเรือ พบว่า ปัจจัยที่อิทธิพลต่อการเลือกใช้ Online Platform ของลูกค้าที่ใช้บริการสายเรือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 มีจำนวน 3 ปัจจัย คือ สิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน …


การศึกษามาตรการสากลในการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำของประเทศไทยผ่านหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย, ปิยวัฒน์ วิริยะนันทวงศ์ Jan 2020

การศึกษามาตรการสากลในการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำของประเทศไทยผ่านหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่าย, ปิยวัฒน์ วิริยะนันทวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำเอามาตรการสากลในการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำมาใช้ในประเทศไทยโดยเปรียบเทียบกับต่างประเทศ และเสนอแนะในการนำหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายเป็นแนวทางในการแก้ปัญหา รวมทั้งแนวทางการปรับปรุงและการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำในประเทศไทย โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ การศึกษาวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึก จากการศึกษาพบว่า ประเทศไทยมีการนำเอามาตรการสากลในการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำมาใช้หลายอย่าง แต่เป็นการกำหนดขอบเขตอย่างกว้าง ไม่มีการระบุรายละเอียดในการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำอย่างชัดเจน มีเพียงแนวทางเพื่อการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลจากกิจกรรมบนบก ค.ศ.1995 (GPA) ที่ได้ระบุถึงเรื่องการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำไว้ โดยประเทศไทยได้มีมาตรการที่เกี่ยวข้องอยู่ในรูปแบบของค่าปรับในการไม่ปฏิบัติตาม แต่ยังมีปัญหาในการปฏิบัติของทางเจ้าหน้าที่ในการบังคับใช้ เนื่องจากคนที่ลักลอบทิ้งขยะพลาสติกอาจใช้วิธีการเลี่ยงไม่ให้มองเห็นได้อย่างง่าย ทั้งนี้ ประเทศไทยได้มีการจัดประชุมโดยมีการระดมความคิดจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อผลักดันการนำมาตรการทางเศรษฐศาสตร์ผ่านหลักการผู้ก่อมลพิษเป็นผู้จ่ายมาบังคับใช้ ซึ่งเป็นเพียงการพูดคุยกันแต่ยังไม่มีการนำมาปฏิบัติให้เห็นผล โดยปริมาณขยะพลาสติกยังไม่ลดลงเหมือนในต่างประเทศ จึงไม่เป็นแนวทางในการแก้ป้ญหาและแนวทางการปรับปรุงและการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมการทิ้งขยะพลาสติกทางน้ำในประเทศไทย


การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการในการรับตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้า : กรณีศึกษาท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ A, นันทิชา ทรัพย์ศิลป์ Jan 2020

การเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการในการรับตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้า : กรณีศึกษาท่าเทียบเรือคอนเทนเนอร์ A, นันทิชา ทรัพย์ศิลป์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์การจัดการตู้คอนเทนเนอร์ขาเข้าของท่าเรือกรณีศึกษาในปัจจุบันรวมถึงปัญหา พร้อมหาสาเหตุของปัญหา หลังจากนั้นจึงทำการหาแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพ เพื่อลดระยะเวลาในการรับตู้คอนเทนเนอร์ของรถหัวลากจากท่าเรือคอนเทนเนอร์กรณีศึกษาให้สั้นลง และเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพการหยิบตู้คอนเทนเนอร์ ณ ท่าเรือกรณีศึกษา การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณที่นำตัวเลขสถิติการรับตู้คอนเทนเนอร์นำเข้าของลูกค้าในท่าเรือกรณีศึกษาในปี พ.ศ.2562 ซึ่งนำข้อมูลที่ได้มาจัดเรียงและทำการจำแนกข้อมูลออกเป็นกลุ่ม เพื่อจัดเรียงข้อมูลด้วยวิธีการ Zoned Storage หลังจากนั้นจะทำการวิเคราะห์เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลก่อนการปรับปรุงประสิทธิภาพ และหลังการปรับปรุงประสิทธิภาพ ผลการศึกษาพบว่าหลังการปรับปรุงประสิทธิภาพนั้น ลูกค้าใช้เวลาในการรับตู้คอนเทนเนอร์ลดลง ซึ่งปัจจัยหลักของเวลาที่ลดลงนั้นคือการรอคอยการยกตู้คอนเทนเนอร์ที่กองเก็บในลานตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งเมื่อเพิ่มการจัดกลุ่มลูกค้าปรับเข้าไปใช้แล้วนั้นทำให้เกิดความรวดเร็วในการยกตู้สินค้ามากขึ้น นอกจากระดับการให้บริการลูกค้าที่เพิ่มขึ้นจากการที่ลูกค้าได้รับตู้คอนเทนเนอร์เร็วขึ้นแล้วนั้น ยังทำให้ท่าเรือกรณีศึกษาลดค่าใช้จ่ายลงในการรื้อตู้เพื่อยกตู้ให้กับลูกค้า และการยกตู้คอนเทนเนอร์ใบที่ไม่ต้องการเข้ากองเก็บได้ แต่ในขณะเดียวกันการปรับปรุงประสิทธิภาพนั้นก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่เมื่อเปรียบเทียบกับต้นทุนที่ลดลงไปนั้น ยังถือว่าท่าเรือกรณีศึกษายังสามารถลดค่าใช้จ่ายลงไปได้อีกด้วย ซึ่งการตัดสินใจปรับปรุงประสิทธิภาพในครั้งนี้ถือว่าก่อให้เกิดประโยชน์กับท่าเรือกรณีศึกษาในแง่ค่าใช้จ่ายและการให้บริการลูกค้าที่รวดเร็ว ในส่วนของลูกค้าก็ได้รับความรวดเร็วด้วยเช่นกัน