Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Art and Design Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 8 of 8

Full-Text Articles in Art and Design

จันทบุรี : จากห้วงคำนึงคิดถึงบ้านสู่งานจิตรกรรมบนผ้าใบ, พิพัฒน์ บุญอภัย Jan 2019

จันทบุรี : จากห้วงคำนึงคิดถึงบ้านสู่งานจิตรกรรมบนผ้าใบ, พิพัฒน์ บุญอภัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและถ่ายทอดความสำคัญของความคิดถึง ความรัก ความอบอุ่นภายในครอบครัวในแง่ของจิตวิญญาณและความผูกพันระหว่างบุคคล วิเคราะห์และตีความเพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบนผ้าใบ 2) ศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบนผ้าใบที่ถ่ายทอดออกมาจากความคิดถึง ความรักและความอบอุ่นภายในครอบครัว จากและสบการณ์ของศิลปินในยุคสมัยต่างๆ 3) สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบนผ้าใบที่ถ่ายทอดความรู้สึกออกมาจากประสบการณ์ตรง “จันทบุรี: จากห้วงคำนึงคิดถึงบ้านสู่งานจิตรกรรมบนผ้าใบ” เป็นผลงานวิจัยที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความตั้งใจที่จะสะท้อนให้เห็นถึงความรัก ความสำคัญและความผูกพันของครอบครัว โดยถ่ายทอดเรื่องราวของวิถีชีวิตความเป็นอยู่และ อัตลักษณ์ของคนในครอบครัวที่เป็นคนพื้นถิ่นในจังหวัดจันทบุรี ผ่านผลงานจิตกรรมบนผืนผ้าใบ กระบวนการวิจัยเริ่มจากการศึกษาและรวบรวมข้อมูลที่สะท้อนให้เห็นความคิดถึง ความรัก และความอบอุ่นภายในครอบครัว ทั้งในแง่ของจิตวิทยาสังคมและสุนทรียศาสตร์ จากการศึกษาค้นคว้าและจากประสบการณ์ในอดีต โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวข้องกับบุคคลในครอบครัวที่ผู้วิจัยรักและผูกพัน เมื่อศึกษาข้อมูลดังกล่าวแล้ว พบว่าความรู้สึกรักและคิดถึงเป็นเพียงกระบวนการหนึ่งที่มนุษย์สร้างขึ้นและยึดติดอยู่กับมัน เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและความสบายใจ แต่ในความเป็นจริงแล้วมนุษย์ไม่ได้คำนึงว่าความรู้สึกสบายใจนั้นไม่สามารถดำรงอยู่ได้ตลอดไป จึงทำให้ผู้วิจัยเข้าใจกระบวนการความคิดที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้และได้ถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกสู่ผลงานจิตรกรรมบนผืนผ้าใบ


วิวัฒนาการลวดลายประดับสถาปัตยกรรมร่วมแบบเขมรสู่แรงบันดาลใจในการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์, ทิพยาภรณ์ ทองแช่ม Jan 2019

วิวัฒนาการลวดลายประดับสถาปัตยกรรมร่วมแบบเขมรสู่แรงบันดาลใจในการประดับตกแต่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์, ทิพยาภรณ์ ทองแช่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง วิวัฒนาการลวดลายประดับสถาปัตยกรรมร่วมแบบเขมรสู่แรงบันดาลใจในการตกแต่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิวัฒนาการ คติความเชื่อ และรูปแบบลวดลายสลักตกแต่งสถาปัตยกรรมศิลปะร่วมแบบเขมรที่มีอิทธิพลต่อ ศาสนสถานและสถาปัตยกรรมร่วมสมัยในเขตพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ตลอดจนกระบวนการคิด ภูมิปัญญาของช่างโบราณในอดีตที่ปรับเปลี่ยน มาสู่การสร้างสรรค์ในยุคปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่า คติความเชื่อและรูปแบบในการสร้างสรรค์ลายจําหลักตกแต่ง สถาปัตยกรรมสมัยใหม่มีการปรับเปลี่ยนจากศาสนาพราหมณ์-ฮินดูมาเป็นพุทธศาสนา ตลอดจน นําไปสู่การพัฒนาลวดลายหลากหลายรูปแบบ ดังนั้นรูปแบบและวิวัฒนาการของลายประดับ ตกแต่งสถาปัตยกรรมจึงเปลี่ยนแปลงไปตามคติความเชื่อของผู้สร้าง รวมทั้งกระบวนการคิด สร้างสรรค์ลวดลายของช่างสมัยใหม่ที่มิได้มีความแตกต่างจากช่างเขมรโบราณ โดยลายสลักที่ สามารถตรวจสอบหรือกําหนดรูปแบบได้ คือ ลวดลายสลักจากทับหลังและ เสาประดับกรอบประตู


คลื่น/ลม/ทะเล : จากอารมณ์ความรู้สึกต่อธรรมชาติสู่ผลงานจิตรกรรม, กชพรรณ ไพฑูรย์ Jan 2019

คลื่น/ลม/ทะเล : จากอารมณ์ความรู้สึกต่อธรรมชาติสู่ผลงานจิตรกรรม, กชพรรณ ไพฑูรย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง คลื่น/ลม/ทะเล : จากอารมณ์ความรู้สึกต่อธรรมชาติสู่ผลงานจิตรกรรม เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาและการแสดงออกใหม่ ๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม เพื่อศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากอารมณ์ความรู้สึกต่อธรรมชาติ และเพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมจากอารมณ์ความรู้สึกต่อธรรมชาติ ธรรมชาติที่มีคุณค่าทางวิทยาการและสุนทรียภาพ เกี่ยวข้องเป็นสัณฐานที่สำคัญทางธรณีวิทยาและภูมิศาสตร์อันเป็นเอกลักษณ์หรือสัญลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น ๆ มนุษย์นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ การที่ได้เข้าไปสัมผัสกับธรรมชาติจึงทำให้เกิดอารมณ์ความรู้สึกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึกมีความสุข ผ่อนคลาย ได้ปลดปล่อยพลังงานที่มีอยู่ในตัวเอง ซึ่งสอดคล้องกับอารมณ์ความรู้สึกของผู้วิจัยที่นำธรรมชาติกับการดำรงชีวิตมาผสมผสานกัน รวมทั้งแนวคิดในการนำมาสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม กระบวนการวิจัยเริ่มจากการศึกษาธรรมชาติทางทะเล ได้ศึกษาถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติ คลื่น ลม และทะเล การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม และองค์ประกอบศิลป์ เพื่อค้นหาวิธีการใช้สีที่ผลต่ออารมณ์ความรู้สึกที่แท้จริงของตนเองที่มีต่อธรรมชาติทางทะเล ผนวกกับการศึกษาศิลปินในลัทธิต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม เพื่อศึกษาถึงเทคนิคต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการถ่ายทอดอารมร์ความรู้สึกผ่านแสงเงา และสีที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติทางทะเล เมื่อศึกษาแล้ว ผลวิจัยสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้คือ ได้สร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมบนผ้าใบจากอารมณ์ความรู้สึกต่อธรรมชาติทางทะเล นำเสนอผลงานจิตรกรรมสร้างสรรค์ให้สาธารณชนที่สนใจได้รับชม และเป็นแรงบันดาลใจให้กับผู้ชม และสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้จากการสร้างสรรค์ผลงานในแต่ละชิ้นไปพัฒนาและต่อยอดความคิดสร้างสรรค์ในอนาคตได้


หลักทัศนียวิทยาและพัฒนาการของภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัชกาลที่ 4-5, เจนจิรา โสพล Jan 2019

หลักทัศนียวิทยาและพัฒนาการของภาพจิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัชกาลที่ 4-5, เจนจิรา โสพล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานจิตรกรรมฝาผนังในสมัยรัชกาลที่ 4 และ 5 เป็นยุคแห่งการรับอิทธิพลของศิลปะแบบตะวันตกหรือศิลปะแบบสัจนิยม ที่มีเทคนิคการเขียนภาพเน้นความเหมือนจริง รวมทั้งมีการเริ่มใช้หลักทัศนียวิทยา หรือหลัก PERSPECTIVE ในการเขียนภาพจิตรกรรม จึงได้ทำการศึกษาและเก็บข้อมูลจากภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถและพระวิหารในวัดกลุ่มตัวอย่างในสมัยรัชกาลที่4 และ 5 จำนวน 10 วัด และรัชกาลที่ 6 จำนวน 1 วัด เพื่อศึกษาเปรียบเทียบโดยเฉพาะเรื่องหลักทัศนียวิทยาและพัฒนาการในการเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง จากผลการศึกษาพบว่า การเขียนภาพจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 4 แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ แบบที่ 1 จิตรกรรมไทยประเพณีผสมกับแบบตะวันตก มีเทคนิคการเขียนที่เน้นความสมจริงมากขึ้นใช้เส้นนอนแสดงระยะภาพที่ใกล้และไกล และใช้เส้นเฉียงแสดงความลึกของภาพ แบบที่ 2 คือ จิตรกรรมตะวันตกหรือแบบสัจนิยม มีการใช้หลักทัศนียวิทยาในการเขียนภาพจิตรกรรม ซึ่งท่าน ขรัวอินโข่ง เป็นผู้ริเริ่มการเขียนภาพให้มีระยะใกล้ไกลแบบตะวันตก มีแสงเงา มีปริมาตรเป็นสามมิติ และแบบที่ 3 คือ จิตรกรรมไทยประเพณี ซึ่งมีเทคนิคสืบทอดมาจากงานช่างสมัยรัชกาลที่ 3 การเขียนภาพยังเป็นแบบสองมิติ ไม่มีหลักทัศนียภาพที่ชัดเจน ส่วนภาพจิตรกรรมในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น เป็นยุคที่บ้านเมืองพัฒนา มีชาวตะวันตกเข้ามาทำงานในรัชสมัยนี้ ส่งผลให้การเขียนจิตรกรรมตรงตามหลักทัศนียวิทยาในการเขียนภาพ ภาพมีเส้นนำสายตาและมีจุดรวมสายตาตามหลักวิชาการ อิทธิพลทางตะวันตกที่ส่งผลให้เห็นอย่างชัดเจนในงานจิตรกรรมไทยดังกล่าวถือได้ว่า สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นจุดเปลี่ยน เป็นยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลง และยังส่งผลสืบทอดมายังสมัยรัชกาลที่ 5 ดังนั้น หากกล่าวในเรื่องการเขียนภาพที่นำหลักทัศนียภาพที่ได้รับอิทธิพลแบบตะวันตกมาใช้ ยุคของรัชกาลที่ 4 และ 5 จึงถือเป็นช่วงยุคสมัยของงานจิตรกรรมไทย ที่มีความน่าสนใจ มีคุณค่าและส่งผลให้เกิดการพัฒนาสู่ยุคต่อมาของงานจิตรกรรมฝาผนังไทย


จิตรกรรมไตรภูมิโลกสัณฐาน วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร, ภัทรชนน ศักดิ์ศิริสัมพันธ์ Jan 2019

จิตรกรรมไตรภูมิโลกสัณฐาน วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร, ภัทรชนน ศักดิ์ศิริสัมพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไตรภูมิโลกสัณฐาน เป็นเรื่องราวที่กล่าวถึงโลกและจักรวาลตามคติพุทธศาสนา มีที่มาจากพระไตรปิฎกและคัมภีร์ฉบับต่างๆ ซึ่งแพร่หลายในประเทศที่นับถือพุทธศาสนา สำหรับงานศิลปกรรมในประเทศไทยนั้นมักปรากฏเนื้อหาในภาพจิตรกรรมซึ่งพบหลักฐานตั้งแต่ครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 22 ทั้งในรูปแบบ จิตรกรรมฝาผนังและจิตรกรรมสมุดภาพ โครงการวิทยานิพนธ์นี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์จิตรกรรมไตรภูมิโลกสัณฐาน พระวิหารวัดสุทัศน เทพวราราม กรุงทพมหานคร ซึ่งเขียนขึ้นราวครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 24 นับเป็นจิตรกรรมไตรภูมิโลกสัณฐาน สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มีรูปแบบเป็นเอกลักณ์เฉพาะ โดยปรับเปลี่ยนตําแหน่งจิตรกรรมจากขนบเดิมที่เขียน บนฝาผนังซึ่งเป็นมุมมองระนาบเดียวในลักษณะสองมิติ ให้กลายเป็นจิตรกรรมบนเสาพระวิหารทั้งสี่ด้าน จํานวน 4 คู่ หรือ 8 ต้น รวมเป็นภาพจิตรกรรมบนเหลี่ยมเสาทั้ง 32 เหลี่ยม ลักษณะดังกล่าวนี้ทําให้เกิดมุมมองที่ต่างระนาบในพื้นที่สามมิติ ตลอดจนมีลําดับและองค์ประกอบที่ซับซ้อนมากขึ้น จากผลการศึกษาพบว่าจิตรกรรมไตรภูมิโลกสัณฐานบนเสาพระวิหารวัดสุทัศนเทพวรารามมี ความสัมพันธ์กับจิตรกรรมต้นแบบในอดีต ได้แก่ จิตรกรรมไตรภูมิในหอพระไตรปิฎกวัดระฆังโฆษิตารามซึ่งเขียน ขึ้นในสมัยธนบุรี-รัตนโกสินทร์ตอนต้น และสมุดภาพไตรภูมิฉบับต่างๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ พุทธศตวรรษที่ 22-24 ทั้งในเรื่องการลําดับองค์ประกอบภาพ เนื้อหาเรื่องราว ตลอดจนรูปแบบของศิลปกรรม นอกจากนี้เนื้อหาของภาพจิตรกรรมดังกล่าวยังเชื่อมโยงกับวรรณกรรมพุทธศาสนา เช่น พระไตรปิฎก คัมภีร์ อรรถกถา คัมภีร์หมวดโลกศาสตร์ ตลอดจนวรรณกรรมหมวดอื่นๆ เช่น วรรณกรรมบันเทิงคดี และปกรณัมนิทาน


ความงามของธรรมชาติที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม, นรินทร์ ฟองฟูม Jan 2019

ความงามของธรรมชาติที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม, นรินทร์ ฟองฟูม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่อง “ความงามของธรรมชาติที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม”’ เป็นการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นคว้าวิธีสร้างผลงานจิตรกรรมที่ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกในเชิงบวกจากความงามของธรรมชาติ ในปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำลังเสื่อมโทรมเนื่องจากถูกทำลายโดยการตัดไม้ และการเผาป่า ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น การนำต้นไม้และถ่านไม้มาใช้หรือจำหน่ายเป็นโภชภัณฑ์ การนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้โดยมิได้ปลูกทดแทนด้วยจำนวนที่เพียงพอ ล้วนทำให้มนุษย์ละเลยในความสำคัญของธรรมชาติ ดังนั้นผลงานวิจัย เรื่องนี้นำเสนอความงามของธรรมชาติ เพื่อการตระหนักรู้ถึงคุณค่าของธรรมชาติ กระบวนการวิจัยเริ่มจากการศึกษาความงามของธรรมชาติ อาทิเช่น ต้นไม้ ใบไม้ ภูเขาและท้องฟ้า ความงามของธรรมชาติที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ของผู้วิจัยแล้ว ได้ศึกษาถึงทฤษฎีการรับรู้ทางจิตวิทยา (perception theories) ทฤษฎีอารมณ์ (emotion theories) ทฤษฎีสี (color theory) จิตวิทยาสีกับความรู้สึก (Psychology of color) เพื่อค้นหาวิธีการใช้สีที่ส่งผลต่ออารมณ์ความรู้สึกที่แท้จริงของตนที่มีต่อธรรมชาติ ผนวกกับศึกษาจากศิลปินในลัทธิต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสู่การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม เพื่อศึกษาถึงเทคนิคต่าง ทั้งในเรื่องการถ่ายทอดความประทับใจในบรรยากาศผ่านสีสัน แสงเงาที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เมื่อศึกษาแล้ว ผู้วิจัยพบความงามของธรรมชาติโดยผ่านอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อธรรมชาติในเชิงบวก จากนั้นจึงวิเคราะห์โดยผสานกับทฤษฎีที่ค้นคว้ามาแล้ว และถ่ายทอดลงสู่การสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม


พระพุทธปฎิมาที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10, ทินภัทร เปี่ยมเจียก Jan 2019

พระพุทธปฎิมาที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10, ทินภัทร เปี่ยมเจียก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง “พระพุทธปฏิมาที่สร้างขึ้นในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะ รูปแบบ แนวคิด คติความเชื่อ ตลอดจนพัฒนาการด้านรูปแบบศิลปกรรมในการสร้างพระพุทธปฏิมาในอดีตที่มีผลสืบเนื่องมาสู่ปัจจุบัน จากการศึกษาพบว่า พระพุทธปฏิมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 ปรากฏการสร้างใน 3 ลักษณะ คือ 1) การสร้างพระพุทธปฏิมาที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรูปแบบศิลปกรรมในอดีตที่มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับภูมิวัฒนธรรมท้องถิ่นผสมผสานกับแนวคิดและคติการสร้างร่วมสมัย 2) การสร้างพระพุทธปฏิมาที่สืบทอดรูปแบบศิลปกรรมจากพระพุทธปฏิมาในอดีต ตลอดจนการจำลองพระพุทธปฏิมาสำคัญ 3) การสร้างพระพุทธปฏิมาที่เกิดขึ้นจากการตีความหมายใหม่และกระบวนการสร้างสรรค์ในเชิงศิลปะร่วมสมัย นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบ กลุ่ม “พระพุทธรูปทรงสร้าง” และกลุ่มพระพุทธรูป “ใต้ร่มพระบารมี” ที่เกิดขึ้นจากความรักและความศรัทธาระหว่างสถาบันพระมหากษัตริย์กับประชาชน ดังนั้น การสร้างพระพุทธปฏิมาในรัชสมัยรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 จึงมีความหลากหลายทางด้านรูปแบบและแนวคิด มีพัฒนาการทางศิลปะอันก่อเกิดเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงสภาพสังคม ศาสนา และความเชื่อผ่านรูปลักษณ์แห่งพระพุทธปฏิมา


นวัตกรรมสิ่งทอโลหะรีไซเคิลสู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีรูปแบบอาวองการ์ด, วีรินทร์ สันติวรรักษ์ Jan 2019

นวัตกรรมสิ่งทอโลหะรีไซเคิลสู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีรูปแบบอาวองการ์ด, วีรินทร์ สันติวรรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมสิ่งทอโลหะรีไซเคิลสู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีรูปแบบอาวองการ์ดเป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางพัฒนาสิ่งทอโลหะให้เหมาะสมกับการสวมใส่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางการออกแบบจากสิ่งทอโลหะให้มีรูปแบบที่เหมาะสมต่อกลุ่มเป้าหมายโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืนด้วยวิธีการทดลองทอร่วมกับวัสดุชนิดอื่นเพื่อให้เหมาะสมต่อการสวมใส่ นับเป็นช่องทางเลือกใหม่ให้กับนักออกแบบรุ่นใหม่และอุตสาหกรรมธุรกิจแฟชั่นให้คิดค้นนวัตกรรมเส้นใยจากสิ่งที่หมดคุณค่ากลับสู่ประโยชน์การเพิ่มมูลค่าสิ่งทอ โดยเริ่มจากการศึกษาปัญหาการรีไซเคิลโลหะจากขยะรถยนต์ซึ่งประกอบไปด้วยทฤษฎีการออกแบบอย่างยั่งยืน ประเภทและคุณสมบัติของโลหะที่ใช้ในรถยนต์ ทำให้สามารถกำหนดขอบเขตการใช้โลหะในการวิจัยที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและสามารถทดลองทอให้เกิดเป็นสิ่งทอได้ ซึ่งได้แก่ โลหะทองแดง และสเตนเลส อีกทั้งยังพบว่ายังเกิดช่องว่างทางการตลาดเกี่ยวกับสิ่งทอโลหะสำหรับเครื่องแต่งกาย จึงได้มีการทดลองทอเส้นโลหะร่วมกับเส้นไหมน้อยเพื่อให้มีลักษณะพื้นผิวสัมผัสเหมาะสมต่อการสวมใส่มากยิ่งขึ้น โดยจากการทดลองพบว่าสิ่งทอเกิดลักษณะที่เป็น การหยักและขดตัวโดยธรรมชาติจากวัสดุ ซึ่งเกิดเป็นรูปแบบที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ส่งผลให้ได้ทำการสำรวจกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายที่คาดว่าจะสวมใส่ด้วยวิธีการสัมภาษณ์และเครื่องมือแบบสอบถาม กับกลุ่มคนที่เกี่ยวข้องกับงานศิลปะหรือความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งทั้งนี้จากลักษณะของการทดลองนวัตกรรมสิ่งทอรวมทั้งจากการศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายสามารถสรุปได้ว่า รูปแบบการแต่งกายจะเป็นรูปแบบอาวองการ์ด โดยใช้แนวคิดศิลปะยุคอนาคตนิยมที่มีแนวความคิดสอดคล้องกับรูปแบบของสิ่งทอและความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเพื่อตอบสนองช่องว่างทางการตลาด อีกทั้งยังเป็นแนวทางในการใช้วัสดุที่แตกต่างโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืนในการสร้างสรรค์เครื่องแต่งกายในอนาคต