Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 135

Full-Text Articles in Arts and Humanities

เรื่องเล่าความทรงจำเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิในประเทศไทย: การศึกษาปริจเฉทเรื่องเล่าและอารมณ์ขัน, วีณา วุฒิจำนงค์ Jan 2020

เรื่องเล่าความทรงจำเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิในประเทศไทย: การศึกษาปริจเฉทเรื่องเล่าและอารมณ์ขัน, วีณา วุฒิจำนงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยที่ผ่านมาแสดงให้เห็นว่าเรื่องเล่าเกี่ยวกับเหตุการณ์ตึงเครียดหรือโศกเศร้าเป็นประเด็นที่น่าสนใจศึกษา อีกทั้งในปริบทที่ดูไม่น่าจะมีอารมณ์ขันเกิดขึ้นนั้นก็กลับปรากฏการใช้อารมณ์ขันได้อีกด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์โครงสร้าง ประเด็น และกลวิธีทางภาษาในปริจเฉทเรื่องเล่าความทรงจำเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ เพื่อวิเคราะห์ประเด็นที่ทำให้เกิด อารมณ์ขันและหน้าที่ของอารมณ์ขันในปริจเฉทดังกล่าว และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะของปริจเฉทเรื่องเล่าของผู้ที่สูญเสียและผู้ที่ไม่ได้สูญเสียบุคคลใกล้ชิด ข้อมูลมาจากการบันทึกเสียงการเล่าเรื่องการประสบภัยพิบัติของผู้มีประสบการณ์ตรงในเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิ ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 บริเวณชายฝั่งทะเลภาคใต้ฝั่งตะวันตกของประเทศไทย จำนวน 60 เรื่อง รวมความยาว 15 ชั่วโมง 14 นาที 10 วินาที ผู้เล่าเรื่องประกอบด้วยกลุ่มผู้ที่สูญเสียและกลุ่มผู้ที่ไม่ได้สูญเสียบุคคลใกล้ชิดจำนวนกลุ่มละ 30 คน ผลการวิจัยพบว่าปริจเฉทเรื่องเล่าความทรงจำเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิมีองค์ประกอบโครงสร้างของเรื่องเล่า 5 องค์ประกอบ องค์ประกอบที่พบมากคือส่วนดำเนินเรื่อง ส่วนปูเรื่อง และส่วนประเมินค่า ปริจเฉทเรื่องเล่าส่วนใหญ่ เรียบเรียงความตามลำดับเวลา ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเรื่องเล่าความทรงจำเหตุการณ์ธรณีพิบัติภัยสึนามิแตกต่างกับเรื่องเล่า อื่น ๆ เนื่องจากมีเหตุการณ์ที่เป็นจุดสูงสุดของเรื่องหลายเหตุการณ์ และมักไม่ค่อยปรากฏส่วนคลายปม ในด้านประเด็นที่เล่า พบ 54 ประเด็น จัดกลุ่มได้เป็น 10 กลุ่ม ประเด็นที่พบมากคือเรื่องการได้รับข้อมูลจากบุคคลอื่น ภูมิหลังของตนเอง และการหนีเพื่อเอาชีวิตรอด ส่วนกลวิธีทางภาษาที่ใช้ในการเล่าเรื่องมี 18 กลวิธี จัดกลุ่มได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มกลวิธีที่นำเสนอภาพให้รู้สึกเสมือนเข้าไปอยู่ในเหตุการณ์และกลุ่มกลวิธีที่ช่วยให้การเล่าเรื่องดำเนินไปอย่างราบรื่น กลวิธีที่พบมากคือการกล่าวซ้ำตนเองเพื่อเน้นย้ำประเด็นที่กล่าวไปก่อนหน้า การกล่าวซ้ำตนเองเพื่อทอดเวลาเพื่อคิดสิ่งที่จะพูดต่อไป และการใช้ถ้อยคำของผู้อื่นที่ยกมา กล่าวใหม่แบบตรง ลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าแม้ผู้เล่าเรื่องจะมิได้เป็นนักเล่าเรื่องมืออาชีพ และแม้ภัยพิบัตินี้จะเกิดขึ้น เมื่อนานมาแล้ว แต่ผู้เล่าเรื่องก็ยังสามารถเล่าเรื่องให้รู้สึกเสมือนได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ด้วยได้ แสดงให้เห็นว่าภัยพิบัตินี้เป็นเหตุการณ์สำคัญที่ตราตรึงอยู่ในความทรงจำของผู้ประสบภัยพิบัติ ด้านอารมณ์ขันพบว่าประเด็นที่ทำให้เกิดอารมณ์ขันมี 12 ประเด็น ประเด็นที่พบมากคือเรื่องหายนะของตนเอง หน้าที่ของอารมณ์ขันมี 4 หน้าที่ ได้แก่ การแสดงการมีทัศนคติเชิงบวก การแสดงความสามารถในการจัดการกับอารมณ์และความรู้สึกด้านลบ การลดน้ำหนักการวิพากษ์วิจารณ์ผู้อื่น และการแสดงความกลัว โดยไม่เสียภาพลักษณ์ หน้าที่ที่พบมากคือการแสดงการมีทัศนคติเชิงบวก อันสะท้อนให้เห็นการมองโลกในแง่ดีของคนไทย เมื่อเปรียบเทียบปริจเฉทเรื่องเล่าของผู้ประสบภัยพิบัติทั้ง 2 กลุ่มพบว่าประสบการณ์ความสูญเสียมีผลต่อประเด็นที่เล่า กลวิธี ทางภาษา ประเด็นที่ทำให้เกิดอารมณ์ขัน และหน้าที่ของอารมณ์ขัน ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าเวลาที่ทอดผ่านมาอย่างยาวนานนั้นทำให้ผู้เล่าเรื่องยอมรับการประสบภัยพิบัติและเล่าถึงเหตุการณ์ภัยพิบัตินี้ได้อย่างมีอารมณ์ขัน สอดคล้องกับแนวคิดเรื่อง T-Timing ในแนวคิดเรื่อง BET ของบุกซ์แมน (Buxman, 2008)


Systematicity Of L1 Thai Learners’ L2 English Interlanguage Of ‘Wish-Clauses’, Rawisiree Suteerapongsit Jan 2020

Systematicity Of L1 Thai Learners’ L2 English Interlanguage Of ‘Wish-Clauses’, Rawisiree Suteerapongsit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The current study aimed to investigate the production of L2 English ‘wish-clauses’ by L1 Thai learners, based on the Interlanguage Hypothesis (Corder, 1981; Selinker, 1972, 1992). It was hypothesized that L1 Thai learners showed systematicity in their interlanguage in the use of ‘wish-clauses’ and that their IL was shaped by language transfer and transfer of training, which are among the psychological processes of IL construction. English ‘wish-clauses’ examined in the study were three types of hypothetical or counterfactual wish: wish about the present, wish about the past, and wish about the future. A Cloze Test and a Situation Task were …


Effects Of E-Learning Based On Microlearning Approach On Undergraduate Students’ English Pronunciation, Natcha Boonyabenjarit Jan 2020

Effects Of E-Learning Based On Microlearning Approach On Undergraduate Students’ English Pronunciation, Natcha Boonyabenjarit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed 1) to develop an e-learning based on the microlearning approach and 2) to examine quality of the developed e-learning. To examine the quality, three research instruments including pretest and posttest, a perception survey questionnaire and a quality evaluation form were used. The sample group consisted of 21 Thai undergraduate students in Faculty of Education at Chulalongkorn University. Descriptive statistics which were mean and standard deviation (SD) and one sample t-test were employed for the data analysis. The findings from one sample t-test, at a significance level of .05, illustrated the students’ noteworthy improvement of the pronunciation skills …


การออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพ, พิมพ์นารา เรขะธีระโรจน์ Jan 2020

การออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพ, พิมพ์นารา เรขะธีระโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องการออกแบบเรขศิลป์ปฏิทินวันสำคัญทางพุทธศาสนาสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพโดยมีวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการของงานวิจัยดังนี้ 1.เพื่อหากลยุทธ์ในการออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพ 2.เพื่อหาแนวทางการออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพ 3.เพื่อค้นคว้าสื่อทางเรขศิลป์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการและเหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ขั้นตอนและวิธีการวิจัย โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากพระไตรปิฏกและอรรถกถา เอกสารงานวิจัย วิทยานิพนธ์ และบทความทางอินเตอร์เน็ต นำข้อมูลมาประมวลและวิเคราะห์ สร้างแบบสอบถามออนไลน์ สนทนากลุ่มกับกลุ่มเป้าหมาย และปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ได้ข้อมูลที่ใช้ในการออกแบบต่อไป ผลการวิจัยสามารถชี้ให้เห็นดังนี้ 1.) กลยุทธ์ในการออกแบบเรขศิลป์โครงการปฏิทินวันพุทธสำหรับวัยทำงานในกรุงเทพได้สารที่ต้องการสื่อ (Concept) คือธัมมแมชชีน และบุคลิกภาพของงาน คือเก๋เท่ ทันสมัย (Modern) แบบผู้ดี (Chic) ชัดเจน โปร่งใส ไม่มีข้อสงสัย (Clear) 2.) แนวทางการออกแบบที่เหมาะสมใช้หลักธรรมะผสมผสานกับเทรนด์การออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ 2021 (UI Trends 2021) 3.) สื่อทางเรขศิลป์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้และเหมาะสมสำหรับกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ แอปพลิเคชันปฏิทินวันสำคัญทางพุทธศาสนา และวิดเจ็ต สื่อประชาสัมพันธ์ต่างๆ อาทิ เว็บไซด์ แฟนเพจในเฟสบุ๊ค แบนเนอร์ บิลบอร์ด ปฏิทินโปสเตอร์


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีด้วยเส้นใยสังเคราะห์ตกแต่งพิเศษนาโนที่ป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมในอากาศสำหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นวายโดยใช้แนวคิดระบบโมดูลาร์, เจตวัฒน์ วิริยรัต Jan 2020

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีด้วยเส้นใยสังเคราะห์ตกแต่งพิเศษนาโนที่ป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมในอากาศสำหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นวายโดยใช้แนวคิดระบบโมดูลาร์, เจตวัฒน์ วิริยรัต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษและสตรีด้วยเส้นใยสังเคราะห์ตกแต่งพิเศษนาโนที่ป้องกันมลพิษสิ่งแวดล้อมในอากาศสำหรับกลุ่มเจเนอเรชั่นวายโดยใช้แนวคิดระบบโมดูลาร์ เป็นการวิจัยเพื่อหานวัตกรรมเครื่องแต่งรูปแบบใหม่ที่เหมาะสมกับการใช้งานที่ต้องผจญกับปัญหามลภาวะทางอากาศและสอดคล้องกับการใช้ชีวิตประจำวัน นำมาพัฒนาในรูปแบบของฟังก์ชั่นการใช้งานที่ปรับเปลี่ยนได้และปกคุมร่างกายในส่วนที่ต้องการได้รับการป้องกัน และในส่วนของสิ่งทอที่มีการนำนวัตกรรมตกแต่งสิ่งทอด้วยสารเคลือบนาโนที่เพิ่มคุณสมบัติพิเศษให้กับสิ่งทอ ออกแบบให้สร้างสรรค์และสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายบุรุษและสตรีที่มีวิถีชีวิตที่ต้องผจญกับปัญหามลภาวะทางอากาศ ตั้งแต่การศึกษากลุ่มเป้าหมายถึงข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเพื่อเข้าใจถึงรูปแบบ และหลักเกณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้ารวมถึงช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายจะตัดสินใจเลือกบริโภค ตลอดจนการศึกษาถึงลักษณะแบรนด์สินค้าในปัจจุบันที่สามารถตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายได้ ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบการใช้ชีวิตในแต่ละวันเพื่อเป็นแนวทางการออกแบบฟังก์ชั่นการใช้งานที่ปรับเปลี่ยนได้ ได้แก่ แบบสอบถามกลุ่มผู้บริโภคประกอบด้วย เพศหญิง เพศชาย และ อื่นๆ จำนวน 136 คน จากแบบสอบถาม กลุ่มเป้าหมายมีแนวทางการแต่งตัวในรูปแบบของ street wear ที่เน้นความเป็นตัวตนเฉพาะตัวสามารถ mix&match เพื่อสร้างสรรค์ความน่าสนใจใหม่ๆแบบไร้รูปแบบตายด้วมีความสนใจในนวัตกรรมที่เกี่ยวกับมลภาวะในปัจจุบัน ดังนั้นเครื่องแต่งกายที่สามารถสร้างความสบายใจมากยิ่งขึ้นเกี่ยวกับการป้องกันมลภาวะ และปรับเปลี่ยนรูปแบบได้ตามการใช้งานที่หลากหลาย จึงเป็นที่น่าสนใจของกลุ่มเป้าหมายแต่ต้องอยู่ในการออกแบบที่คำนึงถึงความสวยงามด้วย ซึ่งกลุ่มเป้าหมายนี้มักมีการใช้ชีวิตที่ต้องเดินทางที่ต้องพบเจอมลภาวะต่างๆ ในชีวิตประจำวัน และมีการพิธีพิถันในการแต่งกาย


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษด้วยการเพิ่มความเงาของสีเพ้นท์ผ้าจากธรรมชาติ สำหรับกลุ่มเจนเดอร์ฟลูอิด (Gender-Fluid) โดยใช้แนวคิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร, อรกานต์ ผดุงวัฒนโรจน์ Jan 2020

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษด้วยการเพิ่มความเงาของสีเพ้นท์ผ้าจากธรรมชาติ สำหรับกลุ่มเจนเดอร์ฟลูอิด (Gender-Fluid) โดยใช้แนวคิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมในกรุงเทพมหานคร, อรกานต์ ผดุงวัฒนโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายบุรุษด้วยนวัตกรรมการเพิ่มความเงาของสีเพ้นท์ผ้าจากธรรมชาติ สำหรับกลุ่มเจนเดอร์ฟลูอิด (Gender-Fluid) โดยใช้แนวคิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางการออกแบบสินค้าสำหรับกลุ่มเป้าหมายใหม่ที่กำลังเป็นกระแสในปัจจุบันจนถึงอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายถึงแนวทางการออกแบบตามแนวคิดความหลากหลายทางวัฒนธรรมในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานครและนวัตกรรมการเพิ่มความเงาจากสีเพ้นท์ผ้ารับเบอร์เบส คัลเลอร์ (Rubber-Based Color) โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กับกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ เริ่มตั้งแต่การศึกษากลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเจนเดอร์ฟลูอิด (Gender-Fluid) ถึงพฤติกรรมการบริโภคสินค้า ช่วงอายุ ความสนใจการตลาดและรายได้ เพื่อสร้างความเข้าใจในกลุ่มเป้าหมายและช่องว่างทางการตลาดทั้งต่างประเทศและในประเทศ ผู้วิจัยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามกลุ่มผู้บริโภค ที่ผู้วิจัยสร้างและพัฒนาขึ้น และกลุ่มเป้าหมายเจเนอเรชั่นวายจำนวน 50 คน ผลจากการวิจัยพบว่า การสร้างสรรค์เสื้อผ้าเป็นอัตลักษณ์ตราสินค้าเพื่อตอบสนองความต้องการทางแฟชั่นของกลุ่มผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวาย โอกาสการใช้สอยในรูปแบบสังสรรค์กึ่งทำงาน (Party Business) และพฤติกรรมการบริโภคสินค้าของกลุ่มเจนเดอร์ฟลูอิด (Gender-Fluid) สามารถประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ช่องว่างทางการตลาด สู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าแฟชั่นได้ในอนาคต


นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีด้วยวัสดุเหลือใช้สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่, ศศิมา สุชินโรจน์ Jan 2020

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีด้วยวัสดุเหลือใช้สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมโดยใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่, ศศิมา สุชินโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นวัตกรรมการสร้างสรรค์ตราสินค้าเครื่องแต่งกายสตรีด้วยวัสดุเหลือใช้ สำหรับกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม (Reuse Revolutionaries) โดยใช้แนวคิดการนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycle Concept) เป็นการวิจัยเพื่อหาแนวทางในการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ ซึ่งได้จากการผลิตอุตสาหกรรมประเภทเครื่องหนัง และจะนำมาพัฒนาควบคู่ไปกับงานฝีมือเพื่อให้เกิดงานออกแบบที่สร้างสรรค์มากยิ่งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นแนวทางในการสร้างตราสินค้าแฟชั่นโดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณควบคู่กับกระบวนการออกแบบสร้างสรรค์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับสตรีกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย เริ่มตั้งแต่การศึกษากลุ่มเป้าหมายถึงข้อมูลทั่วไปและพฤติกรรมการบริโภคสินค้าเพื่อให้เข้าใจถึงรูปแบบและหลักเกณฑ์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคสินค้า รวมถึงหาช่องทางที่กลุ่มเป้าหมายจะตัดสินใจเลือกบริโภค ตลอดจนการศึกษาถึงลักษณะแบรนด์สินค้าในปัจจุบันที่สามารถตอบโจทย์กลุ่มคนเป้าหมายได้ ศึกษาแนวความคิดเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycle) ผ่านแนวทางเทคนิคงานฝีมือให้ชิ้นงานมีมูลค่าและสวยงามมากขึ้น ตลอดจนมีการศึกษารูปแบบผลงานการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ที่มีในปัจจุบันของศิลปินต่าง ๆ ศึกษารูปแบบงานฝีมือ ที่หลากหลายและแบบ Surface Embroidery เพื่อนำมาหาข้อสรุปและความเหมาะสมในการสร้างสรรค์งาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามกลุ่มผู้บริโภคผู้หญิงที่อยู่กลุ่มเจเนอเรชั่นวาย มีอายุระหว่าง 25 - 35 ปี จำนวน 51 คน ผลจากการวิจัยพบว่าแฟชั่นเพื่อกลุ่มที่ต้องการสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสิ่งแวดล้อม (Reuse Revolutionaries) กับแนวความคิดการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้ด้วยการนำกลับมาใช้ใหม่ (Upcycle) สามารถมีแนวทางในการออกแบบร่วมกันได้ โดยใช้เทคนิคการผสมผสานงานฝีมือที่หลากหลายเพื่อให้เกิดการลดปริมาณเศษหนังให้มากที่สุดและ เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า โดยมีโอกาสการใช้สอยในรูปแบบของชุดลำลองที่สร้างสรรค์ (Creative Casual) โดยสามารถประยุกต์ใช้เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้บริโภค ช่องว่างการตลาดสู่การสร้างสรรค์ตราสินค้าแฟชั่นที่มีการผสมผสานงานฝีมือและการใช้ประโยชน์จากวัสดุเหลือใช้


คำเรียกการประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่น 4 ภาค: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์, นลินภัสร์ เมฆเกรียงไกร Jan 2020

คำเรียกการประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่น 4 ภาค: การศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์, นลินภัสร์ เมฆเกรียงไกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาคำเรียกการประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่น 4 ภาค เป็นการศึกษาตามแนวอรรถศาสตร์ชาติพันธุ์ วัตถุประสงค์ของ การศึกษามี 3 ประการ ได้แก่ (1) วิเคราะห์องค์ประกอบทางความหมายและมิติแห่งความแตกต่างทางความหมายของคำเรียกการ ประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่น 4 ภาค (2) เปรียบเทียบคำเรียกการประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่น 4 ภาค (3) วิเคราะห์วัฒนธรรมด้าน อาหารของคนไทยในท้องถิ่นต่าง ๆ ที่สะท้อนจากคำเรียกการประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่น 4 ภาค ขอบเขตของการวิจัยมีดังนี้ ศึกษา เฉพาะคำเรียกการประกอบอาหารที่เป็นคำกริยาเท่านั้น ไม่รวมการทำขนม ของว่าง เครื่องดื่มและของมึนเมา คำที่นำมาศึกษาแบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการเตรียมวัตถุดิบ การทำอาหารและการจัดการหลังการทำอาหาร การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยคัดเลือกจุดเก็บข้อมูลโดยพิจารณาการแบ่งพื้นที่ใน 4 ภูมิภาค จากนั้นคัดเลือกจังหวัดพื้นที่ละ 1 จังหวัด แล้วคัดเลือกผู้บอกภาษา จุดเก็บข้อมูลละ 3 คน รวม 30 คน ผู้บอกภาษามีคุณสมบัติดังนี้ ต้องเป็นผู้ใช้ภาษาถิ่นนั้นเป็นภาษาแม่ เพศใด ก็ได้ มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ไม่เคยย้ายภูมิลำเนาไปจังหวัดอื่นมากกว่า 3 ปี และมีความรู้ความเชี่ยวชาญในการประกอบอาหารพื้นเมือง จากการศึกษาพบคำเรียกการประกอบอาหารในภาษาไทยถิ่น 4 ภาค แบ่งตามขั้นตอนการประกอบอาหาร 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้น การเตรียมวัตถุดิบ ภาคกลาง 119 คำ เหนือ 110 คำ อีสาน 110 คำ ใต้ 123 คำ ขั้นการทำอาหาร ภาคกลาง 32 คำ เหนือ 47 คำ อีสาน 39 คำ ใต้ 27 คำ ขั้นการจัดการหลังการทำอาหาร ภาคกลาง 7 คำ เหนือ …


มหายุทธการวงส์ : ราชาธิราชฉบับภาษาบาลี, เจียระไน วิทิตกูล Jan 2020

มหายุทธการวงส์ : ราชาธิราชฉบับภาษาบาลี, เจียระไน วิทิตกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มหายุทธการวงส์ คือเรื่องราชาธิราชภาษาบาลี ประพันธ์โดยสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน วิมลมังคลาราม เมื่อ พ.ศ. 2349 ทว่าต้นฉบับสาบสูญไปเป็นเวลานาน แม้ภายหลังเมื่อมีการค้นพบ ต้นฉบับแล้วก็ยังไม่มีการตีพิมพ์และเข้าถึงไม่ได้ ทำให้แทบไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับวรรณคดีเรื่องนี้มา ก่อน จุดประสงค์ประการแรกของวิทยานิพนธ์นี้จึงเป็นการปริวรรตต้นฉบับมหายุทธการวงส์จากอักษร ขอมเป็นอักษรโรมันและแปลตัวบทจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย เพื่อรักษาและเผยแพร่ตัวบทมหา ยุทธการวงส์ให้กว้างขวาง นอกจากนี้ ยังมุ่งศึกษาที่มาและลักษณะภาษาของวรรณคดีเรื่องนี้ด้วย ผล การศึกษาพบว่า มหายุทธการวงส์แปลมาจากเรื่องราชาธิราชภาษาไทยสำนวนเจ้าพระยาพระคลัง(หน) โดยตรง ไม่ได้ใช้ตัวบทราชาธิราชสำนวนอื่นหรือเอกสารอื่นร่วมในการแปล หลักฐานสำคัญคือวรรณคดี ทั้งสองมีโครงเรื่อง ลำดับเหตุการณ์ รายละเอียด ชื่อตัวละคร และสำนวนภาษาตรงกัน ข้อความโดยมาก สามารถเทียบได้ระดับประโยคต่อประโยค และบางตอนเทียบได้กระทั่งระดับคำต่อคำ องค์ประกอบที่ไม่ ตรงกันมีน้อยมากและไม่มีนัยยะสำคัญ ความแตกต่างบางส่วนสันนิษฐานได้ว่าเกิดจากการตั้งใจ สร้างสรรค์ของผู้ประพันธ์มหายุทธการวงส์เอง ขณะที่บางส่วนเกิดจากการใช้ตัวบทราชาธิราชสำนวน เจ้าพระยาพระคลัง(หน)ต่างสาขากับที่มีหลักฐานในปัจจุบัน ทางด้านภาษา ภาษาบาลีของมหายุทธการ วงส์มีลักษณะเฉพาะ แตกต่างกับในวรรณคดีบาลีอื่นๆมาก ทั้งด้านรูปสะกด คำ ศัพท์ และไวยากรณ์ โดย ภาษาบาลีของมหายุทธการวงส์มีอิทธิพลจากภาษาไทยแทรกแซงอยู่อย่างเข้มข้น เนื่องจากกระบวนการ สัมผัสภาษาของผู้ประพันธ์ ทำให้ภาษาในมหายุทธการวงส์มีลักษณะเป็นภาษาบาลีปนไทย แตกต่างกับ วรรณคดีบาลีที่ประพันธ์ขึ้นนอกอาณาจักรสยามอย่างชัดเจน


กระบวนการสร้างความหมายในนิยายเบงคลีของเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป, พิมพ์วิภา พินิจ Jan 2020

กระบวนการสร้างความหมายในนิยายเบงคลีของเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป, พิมพ์วิภา พินิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง กระบวนการสร้างความหมายในนิยายเบงคลีของเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการสร้างความหมายในนิยายเบงคลี ผลการศึกษาพบว่านิยายเบงคลีมีกระบวนการสร้างความหมายที่แสดงการวิพากษ์ประเด็นเกี่ยวกับความคิดความเชื่อ ชนชั้นทางสังคม และเพศสถานะของผู้หญิง ประเด็นแรก นิยายเบงคลีตั้งคำถามกับความคิดความเชื่อของอินเดีย ได้แก่ การตั้งคำถามเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของเทพเจ้า การตั้งคำถามเกี่ยวกับประโยชน์ของความเชื่อในศาสนาต่อการดำเนินชีวิต และการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเชื่อเรื่องกฎแห่งกรรม ประเด็นที่สอง นิยายเบงคลีนำเสนอการวิพากษ์ชนชั้นทางสังคมด้วยการตั้งคำถามเกี่ยวกับพฤติกรรมของชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม ประเด็นที่สาม นิยายเบงคลีตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานภาพของผู้หญิงและแสดงให้เห็นว่า ผู้หญิงมีปัญญาทัดเทียมผู้ชาย มีความกล้าหาญ เข้มแข็ง และมีสิทธิ์ได้รับคู่ครองที่คู่ควร นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นว่าผู้หญิงมีความเป็นปึกแผ่นและมีพลังในการสร้างความเปลี่ยนแปลงแก่ครอบครัวหรือสังคมได้ อีกทั้งผู้หญิงก็มีสถานะเท่าเทียมกับสามี นิยายเบงคลีเป็นงานแปลที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างสารคดีและบันเทิงคดีอย่างกลมกลืน มีคุณค่าในฐานะ “นิยาย” ที่แตกต่างไปจากนิยายแบบเดิมที่มีในวัฒนธรรมวรรณศิลป์ของไทยที่ไม่เพียงให้ความบันเทิง แต่ยังให้ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอินเดียอย่างหลากหลาย เป็นหนังสือที่ช่วยขยายองค์ความรู้เกี่ยวกับภารตวิทยาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและให้คติแง่คิดที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน


ความขัดแย้งและการแก้ปัญหาของตัวละครในบทละครโนประเภทเก็นสะอิโน, สุนิศา ธรรมาวิวัฒน์ Jan 2020

ความขัดแย้งและการแก้ปัญหาของตัวละครในบทละครโนประเภทเก็นสะอิโน, สุนิศา ธรรมาวิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความขัดแย้งและการแก้ปัญหาความขัดแย้งของตัวละครในบทละครโนประเภทเก็นสะอิโนและศึกษาความเชื่อที่สะท้อนจากความขัดแย้งหรือจากการแก้ปัญหาความขัดแย้งของตัวละครในบทละครโนประเภทเก็นสะอิโน โดยศึกษาจากบทละครโนจำนวน 16 เรื่อง แบ่งตามลักษณะความสัมพันธ์ของตัวละครเป็น 4 กลุ่ม คือ กลุ่มนายบ่าว 5 เรื่อง กลุ่มพ่อแม่ลูก 7 เรื่อง กลุ่มสามีภรรยา 2 เรื่อง และกลุ่มพี่น้อง 2 เรื่อง ผลการศึกษา พบความขัดแย้ง 2 ประเภทคือ ความขัดแย้งระหว่างตัวละครและความขัดแย้งภายในใจตัวละคร สำหรับวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งพบการแก้ปัญหาของตัวละครตั้งแต่ 1 วิธีขึ้นไป จำนวน 15 เรื่อง โดยใช้วิธีเผชิญปัญหาและวิธีหลีกหนีปัญหา ไม่พบการแก้ปัญหาความขัดแย้งของตัวละครจำนวน 1 เรื่อง ได้แก่ เรื่อง นิฌิกิโดะ ส่วนความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและการแก้ปัญหา ความขัดแย้งได้แก่ ความกตัญญู ความจงรักภักดี ความสัมพันธ์ระหว่างนายบ่าว 3 ชาติ ความสัมพันธ์ ระหว่างพ่อแม่ลูก 1 ชาติ นอกจากนี้ยังพบความเชื่อเรื่องเทพเจ้า ความเชื่อเรื่องสิ่งลี้ลับ ความเชื่อเรื่องอานุภาพของบทกลอน รวมถึงความเชื่อทางพุทธศาสนา ได้แก่ ความเป็นอนิจจัง การออกบวช พระอมิตาภะพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร และการบริจาคทาน


พื้นที่ในนวนิยายของโยะฌิโมะโตะ บะนะนะ, ศิริวรรณ ปรีชานฤตย์ Jan 2020

พื้นที่ในนวนิยายของโยะฌิโมะโตะ บะนะนะ, ศิริวรรณ ปรีชานฤตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพื้นที่ที่มีต่อแก่นเรื่องและพฤติกรรมของตัวละครในนวนิยายของโยะฌิโมะโตะ บะนะนะ จากหนังสือ ผลงานรวมเล่มของโยะฌิโมะโตะบะนะนะ: เรื่องคัดสรรโดยผู้เขียน 『吉本ばなな自選全集 Collected Works of Yoshimoto Banana: an Author’s Selection』ผู้วิจัยเน้นศึกษานวนิยายที่มีแก่นเรื่องเกี่ยวกับชีวิต ความตาย ความรักและเรื่องลึกลับ โดยมีสมมติฐานการวิจัย คือ พื้นที่ในนวนิยายของโยะฌิโมะโตะ บะนะนะมีบทบาทในการสะท้อนแก่นเรื่อง เช่น ความรัก ความตาย การเยียวยาและมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ความคิดจิตใจของตัวละคร ทำให้ตัวละครค้นพบตัวตนที่แท้จริงของตนเองและตระหนักถึงคุณค่าของการมีชีวิต จากการศึกษาพบว่านวนิยายของโยะฌิโมะโตะ บะนะนะมักเริ่มต้นเรื่องด้วยการจากไปของบุคคลอันเป็นที่รักของตัวละครเอกและนำเสนอภาพครอบครัวที่ไม่สมบูรณ์ผ่านพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 1. พื้นที่แห่งการสูญเสียและพื้นที่แห่งความเจ็บปวดซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตัวละครเอกสูญเสียตัวตนและมีปมในใจ เป็นการเน้นย้ำให้เห็นว่าชีวิตและความตายมีความเกี่ยวข้องกัน 2. พื้นที่แห่งการเยียวยาและพื้นที่แห่งความหวังเป็นพื้นที่ที่ทำให้ตัวละครเอกตระหนักว่าความตายเป็นส่วนหนึ่งของการมีชีวิต โดยพื้นที่แห่งการเยียวยาช่วยสร้างพฤติกรรมให้ตัวละครเอกกลับมามีชีวิตใหม่และตระหนักถึงคุณค่าของการมีชีวิต 3. พื้นที่ลี้ลับและพื้นที่ต้องคำสาปจะมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องเหนือธรรมชาติ และ 4. พื้นที่ของความรักต้องห้ามสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประพฤติตัวไม่เหมาะสม ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ถ่ายทอดผ่านพื้นที่หลัก ได้แก่ บ้าน ชนบท ต่างประเทศ และในพื้นที่อื่น ได้แก่ โรงพยาบาล สะพาน ชายหาด เป็นต้น พื้นที่ต่าง ๆ เหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกันและมีบทบาทสำคัญในการสะท้อนแก่นเรื่องอันสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของตัวละครในเรื่อง ทั้งยังแสดงให้เห็นว่าโยะฌิโมะโตะ บะนะนะมุ่งเน้นความสำคัญของการเยียวยาจิตใจเพื่อมนุษย์จะได้ตระหนักถึงคุณค่าของการมีชิวิตอยู่


ขนบและการสร้างสรรค์บทโขนเรื่องรามเกียรติ์ของเสรี หวังในธรรม, กรกฎ คำแหง Jan 2020

ขนบและการสร้างสรรค์บทโขนเรื่องรามเกียรติ์ของเสรี หวังในธรรม, กรกฎ คำแหง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาขนบและการสร้างสรรค์บทโขนเรื่องรามเกียรติ์ของเสรี หวังในธรรมโดยใช้บทโขนที่กรมศิลปากรพิมพ์เผยแพร่ตั้งแต่พ.ศ.2507-พ.ศ.2550 และศึกษาคุณค่าของบทโขนดังกล่าวในฐานะวรรณคดีการแสดง ผลการศึกษาพบว่าบทโขนของเสรี หวังในธรรมซึ่งเป็นบทโขนโรงใน แบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม แต่ละกลุ่มมีการผสมผสานการสืบทอดขนบการประพันธ์บทโขนและการสร้างสรรค์ในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ตั้งแต่พ.ศ.2489-พ.ศ.2503 คือบทโขนยุคแรกที่เสรี หวังในธรรมเป็นผู้แต่งบางองก์หรือบางตอนร่วมกับผู้แต่งท่านอื่นเพื่อจัดแสดง ณ โรงละครศิลปากร บทโขนกลุ่มนี้สืบทอดขนบการประพันธ์ในด้านรูปแบบที่มีลักษณะเป็นบทโขนโรงใน ด้านเนื้อหาตามขนบเรื่องรามเกียรติ์ที่มีมาแต่เดิม และด้านการเรียบเรียงบทที่มีการนำบทเดิมมาปรับใช้และการรักษานาฏการสำคัญของโขนแต่เดิมไว้ ส่วนที่สร้างสรรค์ขึ้นคือการดำเนินเรื่องให้กระชับและการแต่งบทให้มีสัมพันธภาพเพื่อเชื่อมโยงไปยังตอนอื่น ๆ ที่ผู้อื่นเป็นคนแต่ง กลุ่มที่ 2 พ.ศ.2522 คือบทโขนที่เสรี หวังในธรรมเป็นผู้แต่งโดยมีท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนีเป็นที่ปรึกษา บทโขนกลุ่มนี้สืบทอดขนบการประพันธ์บทโขนทั้งในด้านรูปแบบที่มีลักษณะเป็นบทโขนโรงใน ด้านเนื้อหาตามขนบของเรื่องรามเกียรติ์ที่มีมาแต่เดิม และด้านการเรียบเรียงบทที่มีการนำบทเดิมมาปรับใช้ มีการรักษานาฏการสำคัญของโขนแต่เดิมไว้ และมีการให้ความสำคัญกับกระบวนแบบละครใน ส่วนที่สร้างสรรค์ขึ้นคือการดำเนินเรื่องกระชับและการแต่งบทให้เอื้อต่อกระบวนแสดงแบบละครใน กลุ่มที่ 3 ตั้งแต่พ.ศ.2517-พ.ศ.2550 คือบทโขนที่เสรี หวังในธรรมเป็นผู้แต่งทั้งชุด บทโขนกลุ่มนี้มีรูปแบบเป็นบทโขนโรงในตามขนบ จำแนกได้เป็นชุดที่มีเนื้อหาตามขนบของเรื่องรามเกียรติ์ที่มีมาแต่เดิม และชุดที่มีเนื้อหาตามนิทานพระรามฉบับแปลกใหม่ ชุดที่มีเนื้อหาตามขนบประกอบด้วยชุดที่ดำเนินเรื่องตามขนบของบทโขน คือดำเนินเรื่องเฉพาะตอนและดำเนินเรื่องหลายตอนต่อเนื่องกันตามลำดับเวลา และชุดที่ปรับการดำเนินเรื่องแบบใหม่โดยมุ่งนำเสนอประวัติและเรื่องราวของตัวละครตัวใดตัวหนึ่งเป็นหลัก ส่วนชุดที่มีเนื้อหาตามนิทานพระรามฉบับแปลกใหม่ มีทั้งชุดที่นำเนื้อหามาจากรามายณะฉบับต่างชาติและนิทานพระรามฉบับอื่นของไทย ในด้านการเรียบเรียงบทของบทโขนกลุ่มที่ 3 นี้พบว่า มีการนำบทเดิมมาปรับใช้ผสมกับส่วนที่แต่งขึ้นใหม่ นอกจากนี้บทโขนกลุ่มนี้ยังมีทั้งส่วนที่รักษากระบวนแสดงแบบเดิม และมีกระบวนแสดงที่แปลกใหม่เพื่อสร้างความน่าสนใจให้แก่การแสดง เช่น การใช้ตลกเชื่อมเรื่อง การใช้ระบำเป็นสัญลักษณ์ การสืบทอดขนบและการสร้างสรรค์ทำให้บทโขนของเสรี หวังในธรรมมีการรักษาลักษณะที่มีมาแต่เดิมผสมกับลักษณะที่แปลกใหม่ มีคุณค่าอย่างยิ่งในฐานะวรรณคดีการแสดง กล่าวคือ 1.คุณค่าด้านวรรณศิลป์ ได้แก่ การใช้ภาษาที่มีความไพเราะสละสลวย การใช้ความเปรียบ และการใช้โวหารจินตภาพ 2.คุณค่าด้านเนื้อหา ได้แก่ บทโขนนำเสนอเนื้อหาให้ผู้ชมเข้าใจง่าย บทโขนมีเนื้อหาหลากหลายมีส่วนในการสืบทอดเนื้อหาเรื่องรามเกียรติ์ให้เป็นที่รู้จักในสังคม บทโขนให้ความรู้แก่ผู้ชม และบทโขนให้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ชม และ3.คุณค่าด้านการแสดง ได้แก่ บทโขนมีการผสานกระบวนแสดงแบบขนบและความแปลกใหม่ได้อย่างกลมกลืน และบทโขนตอบสนองความบันเทิงแก่ผู้ชมยุคใหม่ บทโขนของเสรี หวังในธรรมจึงเป็นบทโขนที่มีคุณค่าอย่างยิ่งในการสืบทอดเรื่องรามเกียรติ์ในสังคมไทยและสืบทอดสืบทอดศิลปะการแสดงโขนให้สามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมไทยร่วมสมัย


ความหมายของ แม่ ในคำประสมภาษาไทยถิ่นใต้, พิมพ์ภัทร ชุมแก้ว Jan 2020

ความหมายของ แม่ ในคำประสมภาษาไทยถิ่นใต้, พิมพ์ภัทร ชุมแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยด้านอรรถศาสตร์ปริชานที่ศึกษาคำหลายความหมายที่ผ่านมามักกล่าวถึงกระบวนการทางปริชานที่เกี่ยวข้องกับการขยายความหมาย งานส่วนใหญ่ศึกษาความหมายของคำที่เป็นคำเดี่ยว งานวิจัยที่ศึกษาคำเรียกญาติในภาษาไทยและภาษาถิ่นให้ข้อสังเกตว่า แม่ มักมีการใช้เชิงเปรียบเทียบ ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาความหมายของ แม่ ในคำประสมภาษาไทยถิ่นใต้ซึ่งเป็นคำหลายความหมาย เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความหมายของ แม่ ในคำประถมกับความหมายของ แม่ ที่เป็นคำมูล และวิเคราะห์กระบวนการทางปริชานที่เกี่ยวข้องกับการขยายความหมาย โดยเก็บข้อมูลคำประสมที่มีคำว่า แม่ เป็นส่วนประกอบจำนวน 180 คำ จากพจนานุกรม จำนวน 4 เล่ม และสัมภาษณ์ผู้บอกภาษาถิ่นใต้จำนวน 6 คน ผลการศึกษาพบว่า แม่ ในคำประสมภาษาไทยถิ่นใต้เป็นคำหลายความหมาย สามารถจัดความหมายที่ใกล้ชิดกันอยู่ในกลุ่มความหมายเดียวกันได้เป็น 12 กลุ่ม และจำแนกความหมายโดยละเอียดได้ 23 ความหมาย จำแนกเป็นความหมายพื้นฐาน 1 ความหมาย คือ ‘ผู้หญิงที่ให้กำเนิดลูก’ และความหมายขยายออกอีก 22 ความหมาย ความหมายขยายออกสามารถจัดกลุ่มตามลักษณะการขยายความหมายได้ 2 กลุ่ม คือ กลุ่มความหมายที่มีการขยายความหมาย 1 ชั้น และกลุ่มความหมายที่มีการขยายความหมายมากกว่า 1 ชั้น การจำแนกความหมายโดยละเอียดทำให้เห็นรอยต่อที่จะสามารถเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความหมายที่ห่างไกลกันได้ กระบวนการทางปริชานที่เกี่ยวข้องกับการขยายความหมายของ แม่ ในคำประสมภาษาไทยถิ่นใต้มี 3 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการนามนัยซึ่งพบมากที่สุด กระบวนการอุปลักษณ์-นามนัยซึ่งพบมากรองลงมา และกระบวนการอุปลักษณ์ซึ่งพบน้อยที่สุดตามลำดับ


การแปลประโยคกรรมวาจกจากภาษาสเปนเป็นภาษาไทย: กรณีศึกษา การแปลข่าวภาษาสเปนโดยสำนักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, อัจฉรา พรรณโรจน์ Jan 2020

การแปลประโยคกรรมวาจกจากภาษาสเปนเป็นภาษาไทย: กรณีศึกษา การแปลข่าวภาษาสเปนโดยสำนักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, อัจฉรา พรรณโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประโยคกรรมวาจกในภาษาไทยสามารถแสดงนัยยะเชิงบวกหรือเชิงลบที่ผู้ส่งสารมีต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในขณะที่ภาษาสเปนไม่สามารถทำได้ อีกทั้งภาษาสเปนยังมีโครงสร้างที่ไม่ปรากฏในภาษาไทย ได้แก่ ประโยคกรรมวาจกประเภท pasiva refleja การศึกษาการแปลประโยคกรรมวาจกโดยไม่เปลี่ยนแปลงความหมายของต้นฉบับจึงเป็นเรื่องน่าสนใจ ทั้งนี้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการแปลประโยคกรรมวาจกจากภาษาสเปนเป็นภาษาไทย โดยได้ทำการวิเคราะห์บทแปลข่าวจากภาษาสเปนเป็นภาษาไทยที่แปลโดยสำนักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 198 ข่าว จากผลการวิเคราะห์การแปลประโยคประเภท pasiva perifrástica จำนวน 161 ประโยคและการแปลประโยคประเภท pasiva refleja จำนวน 213 ประโยค พบว่ากลวิธีที่ใช้ในการแปลประโยคประเภท pasiva perifrástica มากที่สุดคือกลวิธีการแปลด้วยประโยคกรรมวาจกที่ปรากฏตัวบ่งชี้ ถูก และกลวิธีที่ใช้ในการแปลประโยคประเภท pasiva refleja มากที่สุดคือกลวิธีการเติมประธานด้วยการตีความจากบริบท ในแง่ของปัจจัยในการเลือกใช้กลวิธี พบว่าความใกล้เคียงกับโครงสร้างประโยคต้นฉบับเป็นปัจจัยหลักในการเลือกกลวิธีในการแปล ส่วนปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่การยึดติดกับขนบการแปลดั้งเดิมของผู้แปลและความหมายเชิงบวก เชิงลบ หรือเป็นกลางของประโยคที่แปล


การศึกษาเปรียบเทียบอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในนวนิยายจีน “เทียนถางซฺว่านถายจือเกอ” กับฉบับแปลภาษาไทย “ลำนำกระเทียม”, กล้าณรงค์ ไชยแขวง Jan 2020

การศึกษาเปรียบเทียบอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในนวนิยายจีน “เทียนถางซฺว่านถายจือเกอ” กับฉบับแปลภาษาไทย “ลำนำกระเทียม”, กล้าณรงค์ ไชยแขวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สองประการ ประการแรกเพื่อศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในนวนิยาย จีนเรื่อง “เทียนถางซฺว่านถายจือเกอ” ประการที่สองเพื่อวิเคราะห์อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในนวนิยายจีน เรื่อง “เทียนถางซฺว่านถายจือเกอ” เปรียบเทียบกับการแปลเพื่อการสื่อสารในฉบับแปลภาษาไทยเรื่อง “ลำนำกระเทียม” ผลการศึกษาพบว่า อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในนวนิยายจีน “เทียนถางซฺว่านถายจือเกอ” สามารถ แบ่งออกเป็นสองประเภทหลัก ได้แก่ มโนอุปลักษณ์สิ่งมีชีวิตและมโนอุปลักษณ์สิ่งไม่มีชีวิต มโนอุปลักษณ์ส่วนใหญ่ที่พบคือมโนอุปลักษณ์สิ่งมีชีวิต มโนอุปลักษณ์ดังกล่าวที่พบทั้งสองสะท้อนถึง วัฒนธรรมด้านต่าง ๆ ของชาวจีน เช่น ชีวิตความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม สภาพภูมิอากาศ และความคิดและ ความเชื่อ เป็นต้น จากการเปรียบเทียบอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ในต้นฉบับกับฉบับแปลดังกล่าวข้างต้น พบการแปล สองประเภทหลัก ได้แก่ 1) การแปลที่พยายามรักษารูปแบบการใช้อุปลักษณ์ของต้นฉบับและ 2) การ แปลแบบเอาความ การแปลที่พยายามรักษารูปแบบการใช้อุปลักษณ์ของต้นฉบับสามารถแบ่งออกเป็น (1) แปลตรงและภาษาไทยใช้ตัวเปรียบเดียวกัน (2) แปลตรงแต่ภาษาไทยไม่ได้ใช้ตัวเปรียบเดียวกันและ (3) แปลตรงบางส่วน ส่วนการแปลแบบเอาความสามารถแบ่งออกเป็น (1) แปลแบบอธิบายความและ (2) แปลด้วยถ้อยคำ ภาษาไทยในลักษณะเดียวกัน จากการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่ผู้แปลใช้การแปลแบบ เอาความ เนื่องจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกันระหว่างไทยกับจีนทำให้อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของจีนต่างกับ ไทย รองลงมาได้แก่การแปลตรงและภาษาไทยใช้ตัวเปรียบเดียวกัน เพราะแม้วัฒนธรรมส่วนใหญ่ แตกต่างกัน แต่อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ก็มีความคล้ายคลึงกันอยู่บ้างหรือการใช้อุปลักษณ์ของต้นฉบับจีน สื่อความหมายได้เห็นภาพตรงไปตรงมาที่ผู้อ่านชาวไทยเข้าใจได้ และยังรวมถึงการที่ผู้แปลต้องการรักษา อรรถรสของเรื่องจึงต้องการคงอุปลักษณ์ในต้นฉบับไว้


ประสิทธิผลของการสอนการอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาท ในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาสเปน : กรณีศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, เทียมจันทร์ สังขพันธานนท์ Jan 2020

ประสิทธิผลของการสอนการอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาท ในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาสเปน : กรณีศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา, เทียมจันทร์ สังขพันธานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาสเปนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา แผนการเรียนภาษา-สเปน และเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการสอนอ่านตามแนวคิดการสอนแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนแผนการเรียนภาษา-สเปน ระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นการสุ่มประชากรตัวอย่างแบบเจาะจง เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนภาษาสเปนในโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จัดให้มีแผนการเรียนภาษา-สเปนเพียง 1 ห้องต่อปีการศึกษา ทำให้ไม่สามารถแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองเพื่อทำการศึกษาในปีการศึกษาเดียวกันได้ จึงต้องใช้นักเรียนกลุ่มที่ต่างกันด้วยปีการศึกษา กล่าวคือ 1) กลุ่มควบคุม คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 17 คน ได้รับการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้แบบดั้งเดิม รายวิชา ป30204 ภาษาสเปน 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศที่ 2 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และ 2) กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 24 คน ได้รับการสอนตามแผน การจัดการเรียนรู้ด้านการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้านการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียน แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาสเปนเพื่อความเข้าใจ แบบประเมินตนเองด้านการอ่านภาษาสเปนเพื่อความเข้าใจของนักเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนโดยครูเป็นผู้สังเกต สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า t-test ผลการวิจัยจากการศึกษาประสิทธิผลของการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียนในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาสเปน พบว่านักเรียนที่ได้รับการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้ด้านการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถด้านการอ่านภาษาสเปนเพื่อความเข้าใจหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ซึ่งสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม จึงสรุปได้ว่า การสอนอ่านภาษาสเปนเพื่อความเข้าใจโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ด้านการสอนอ่านแบบแลกเปลี่ยนบทบาทระหว่างครูกับนักเรียนมีประสิทธิผลคือ ทำให้ทักษะการอ่านภาษาสเปนเพื่อความเข้าใจของนักเรียนสูงขึ้น


การต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง : กรณีศึกษานวนิยายร่วมสมัยที่มีสัตว์เป็นผู้เล่าเรื่อง, กิตติกานต์ หะรารักษ์ Jan 2020

การต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง : กรณีศึกษานวนิยายร่วมสมัยที่มีสัตว์เป็นผู้เล่าเรื่อง, กิตติกานต์ หะรารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์การต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางของนวนิยายที่เล่าผ่านมุมมองของสัตว์สามเรื่อง ได้แก่ อะ ด็อกส์ เพอร์โพส โดย ดับเบิลยู. บรูซ แคเมอรอน, เดลตา เดอะ แดนซิง เอลิเฟนท์ : อะ เมมมัวร์ โดย เค. เอ. มอนโร. และ เดอะ ทราเวลลิง แคต ครอนิเคิลส์ โดย ฮิโระ อะริกะวะ ผลการศึกษาพบว่านวนิยายทั้งสามเรื่องเสนอให้สัตว์ต่อรองกับแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางในมิติเรื่อง ภาษา เหตุผล และจริยธรรม สำหรับในมิติของภาษา นวนิยายทั้งสามเรื่องเสนอให้เห็นว่าสัตว์ต่อรองกับคุณค่าที่มนุษย์กำหนดให้กับพวกมัน เช่น การเป็นสินค้าหรือการเป็นภาพแทนของสิ่งที่มนุษย์ปรารถนา โดยตัวละครสัตว์สามารถวิพากษ์วิจารณ์หรือชี้แจงต่อการถูกกำหนดนิยามดังกล่าว ต่อมาในมิติเรื่องเหตุผล นวนิยายทั้งสามเรื่องเสนอให้เห็นความสามารถในการคิดและการตระหนักรู้ของสัตว์ สิ่งที่ถูกเสนอในมิตินี้นำไปสู่การปลูกฝังให้มนุษย์เกิดความเห็นอกเห็นใจต่อสิ่งมีชีวิตอื่นเพราะมนุษย์เล็งเห็นคุณสมบัติที่สายพันธุ์มนุษย์มีร่วมกับสายพันธุ์เหล่านั้น สำหรับมิติด้านจริยธรรม นวนิยายสะท้อนให้เห็นว่าสัตว์สามารถแสดงออกในเชิงจริยธรรมได้ แม้ว่าการแสดงออกดังกล่าวจะถูกขับเคลื่อนด้วยสัญชาตญาณ นอกจากนี้ การพิจารณาสัตว์อย่างใคร่ครวญยังอาจทำให้มนุษย์ตระหนักรู้ถึงแง่มุมด้านจริยธรรมของพวกเขา อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาพบว่า นวนิยายทั้งสามเรื่องข้างต้นยังไม่สามารถก้าวข้ามแนวคิดมนุษย์เป็นศูนย์กลางได้อย่างสมบูรณ์ เนื่องจากตัวละครสัตว์ยังคงถูกมนุษย์ควบคุมผ่านการทำให้ตัวละครสัตว์เหล่านี้ต้องพึ่งพิงมนุษย์ หรือทำให้มนุษย์ยอมรับ


การนำเสนอความเป็นอื่น: นักแสดงตัวประหลาดในนวนิยายอเมริกันร่วมสมัย, วิริยา ด่านกำแพงแก้ว Jan 2020

การนำเสนอความเป็นอื่น: นักแสดงตัวประหลาดในนวนิยายอเมริกันร่วมสมัย, วิริยา ด่านกำแพงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์การนำเสนอภาพความเป็นอื่นของนักแสดงตัวประหลาดในนวนิยายอเมริกันร่วมสมัยคัดสรร โดยเรื่องเล่าดังกล่าวเผยให้เห็นอิทธิพลของวาทกรรมกระแสหลักที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอื่นทางร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นวาทกรรมทางการแพทย์และทางเชื้อชาติที่ประกอบสร้างแนวคิดขั้วตรงข้ามเกี่ยวกับความปกติ/ความประหลาด ตลอดจนศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของการแสดงตัวประหลาดและนักแสดงตัวประหลาดในช่วงเวลาที่ถูกนำเสนอในนวนิยายคัดสรร เพื่อเปรียบเทียบและวิเคราะห์กระบวนการสร้างความหมายของความปกติ/ความประหลาดซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย ผลการศึกษาสรุปได้ว่างานเขียนนวนิยายอเมริกันร่วมสมัยคัดสรรที่นำเสนอภาพนักแสดงตัวประหลาด แสดงให้เห็นถึงการใช้วาทกรรมความพิการประกอบกับวาทกรรมการแสดงตัวประหลาดในการประกอบสร้างความเป็นอื่นของนักแสดงตัวประหลาด ซึ่งมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามกลุ่มหรือประเภทที่ตัวละครนักแสดงตัวประหลาดแต่ละตัวถูกพิจารณาจัดวางให้เป็น เช่น ความเป็นอื่นทางด้านเรือนร่างและความเป็นอื่นทางด้านเชื้อชาติ โดยที่จากการวิเคราะห์การสร้างอัตลักษณ์ของตัวละครนักแสดงตัวประหลาดผ่านความสัมพันธ์กับตัวละครอื่น ๆ ที่ปรากฏในนวนิยายคัดสรรพบว่า นวนิยายคัดสรรบางเรื่องแสดงให้เห็นถึงการวิพากษ์และโต้กลับของตัวละครเหล่านี้ต่อแนวคิดเรื่องสภาวะความปกติและอคติทางด้านเชื้อชาติผ่านการใช้ร่างกายทั้งบนและภายนอกเวที อย่างไรก็ตาม ในนวนิยายคัดสรรบางเรื่องยังคงแสดงให้เห็นถึงการผลิตซ้ำการสร้างภาพลักษณ์แบบเหมารวมของบุคคลที่มีร่างกายที่ถูกมองว่า “เบี่ยงเบน” จากบรรทัดฐานและตีตราพวกเขาเหล่านั้นอีกครั้งโดยไม่ตั้งใจ


การแปลนิทานร้อยกรองสำหรับเด็กเรื่อง The Everywhere Bear ของ Julia Donaldson เป็นร้อยกรองภาษาไทย, เอกชัย วังประภา Jan 2020

การแปลนิทานร้อยกรองสำหรับเด็กเรื่อง The Everywhere Bear ของ Julia Donaldson เป็นร้อยกรองภาษาไทย, เอกชัย วังประภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลหนังสือนิทานร้อยกรองสำหรับเด็กเรื่อง The Everywhere Bear ของ จูเลีย โดนัลด์สัน จากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ต้นฉบับเป็นตัวบทสื่อผสมระหว่างเนื้อความกับภาพประกอบซึ่งไม่สามารถแยกเป็นเอกเทศได้ ผู้วิจัยจึงศึกษาทฤษฎีการแปลที่เกี่ยวข้องโดยกำหนดแนวทางการแปลเป็นแบบสื่อสารความหมาย ประยุกต์ใช้แนวทางการแปลบทร้อยกรองของเลอเฟอแวร์ วิเคราะห์ตัวบทที่มีสื่อผสมหลายรูปแบบตามแนวคิดของนอร์ดและดิเซอร์โต ประยุกต์ใช้ทฤษฎีความเกี่ยวเนื่องของกุตต์ และทฤษฎีการสื่อสารรูปแบบผสมของเครสในการแก้ปัญหาการแปล สารนิพนธ์นี้มุ่งเน้นเสนอวิธีการแปลเพื่อสื่อความหมาย ดังนั้นทุกองค์ประกอบในสารนิพนธ์ ตั้งแต่การกำหนดแนวทางการแปล การวิเคราะห์ตัวบทต้นฉบับ การแปลตัวบท จนถึงการแก้ปัญหาการแปล ดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน ผลการวิจัยพบว่า ความรู้ ทฤษฎี และแนวคิดต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้นช่วยให้ผู้วิจัยเข้าใจต้นฉบับ แก้ปัญหาการแปล และแปลตัวบทออกมาเป็นบทร้อยกรองภาษาไทยได้อย่างเหมาะสมและมีความสอดคล้องกันระหว่างบทแปลภาษาไทยกับภาพมากที่สุด


การแปลบทร้อยกรองอิสระจากหนังสือเรื่อง Ceremony ของ Leslie Marmon Silko, นิดา สุสัณฐิตพงษ์ Jan 2020

การแปลบทร้อยกรองอิสระจากหนังสือเรื่อง Ceremony ของ Leslie Marmon Silko, นิดา สุสัณฐิตพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการแปลบทร้อยกรองจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย ซึ่งผู้วิจัยได้หยิบยกบทร้อยกรองอิสระจากหนังสือเรื่อง Ceremony ของ Leslie Marmon Silko มาเป็นกรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทฤษฎีการแปลและแนวทางการแปลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนแนวทางการวิเคราะห์ตัวบทประเภทบทร้อยกรองอิสระซึ่งมีลักษณะเป็นวรรณกรรมมุขปาฐะ ควบคู่ไปกับการศึกษาประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ภาษาถิ่นและความเชื่อของชนพื้นเมืองอเมริกันอินเดียน เพื่อให้สามารถแปลส่วนหนึ่งของตัวบทที่คัดสรรจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยได้อย่างเหมาะสม สำหรับแนวทางการวิเคราะห์ตัวบท ผู้วิจัยได้เลือกใช้แนวทางการวิจารณ์วรรณกรรมอเมริกันร่วมสมัยผ่านมุมมองวรรณกรรมเชิงนิเวศ ของดารินทร์ ประดิษฐทัศนีย์ เพื่อวิเคราะห์ประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติที่ได้ถ่ายทอดผ่านเนื้อหาและกลวิธีการประพันธ์ นอกเหนือจากนั้น ผู้วิจัยยังได้ใช้ประยุกต์ใช้แนวทางการวิเคราะห์องค์ประกอบแปดประการของกวีนิพนธ์ ของจอห์น แมกเร เพื่อวิเคราะห์ลักษณะเฉพาะและรูปแบบการประพันธ์ของบทร้อยกรองแต่ละบท ในส่วนของแนวทางการถ่ายทอดบทร้อยกรองอิสระจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ผู้วิจัยได้เลือกใช้กลวิธีการแปลแบบตีความตามแนวทางการแปลกวีนิพนธ์ของอังเดร เลอเฟอแวร์ ควบคู่ไปกับการประยุกต์ใช้รูปแบบและลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมมุขปาฐะที่พบในวัฒนธรรมไทย โดยมีจุดประสงค์ที่จะถ่ายทอดบทร้อยกรองอิสระซึ่งสามารถรักษาความหมายได้อย่างครบถ้วนและสามารถสร้างผลกระทบทางอารมณ์แก่ผู้อ่านได้อย่างทัดเทียมและสอดคล้องกับหน้าที่ของตัวบทต้นฉบับ


การแสดงคณะเสียงอิสาน, ปัณณทัต ลำเฟือย Jan 2020

การแสดงคณะเสียงอิสาน, ปัณณทัต ลำเฟือย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การแสดงคณะเสียงอิสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติคณะ การแสดง และการจัดการของคณะเสียงอิสาน วิธีดำเนินการวิจัยด้วยการ ค้นคว้าเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า คณะเสียงอิสานเป็นคณะแสดงสัญจรขนาดใหญ่แสดงไปทั่วประเทศ มีคนนิยมมากมานานถึง 45 ปี เริ่มแสดงเวลา 21.00 น. ด้วยการร้องเพลงลูกทุ่งกลุ่มนักร้องประกอบหางเครื่อง ต่อด้วยนกน้อย อุไรพร หัวหน้าคณะเป็นนักร้องนำออก แสดงเวลา 22.30 น. พร้อมความอลังการของชุดการแสดง เวลา 24.00 น. เป็นการแสดงตลกเสียดสีสังคมนาน 30 นาที จึงเริ่มการแสดงลำเรื่องต่อกลอนแสดงวิถีชีวิตของชาวบ้านอีสานแทรกคติธรรม จนถึงเวลา 04.00 น. แสดงเต้ยลาที่ศิลปินทุกคนออกแสดงอำลาผู้ชมให้จดจำและประทับใจ การรับงานมี 3 แบบ คือ งานจัดแสดงเอง งานเจ้าภาพจ้างแสดงให้คนดูฟรี และงานเจ้าภาพจ้างแสดงเพื่อเก็บค่าเข้าชม ในการแสดงเริ่มด้วยการจัดตั้งเวทีเสร็จใน 2 ชั่วโมง เวทียกพื้น 1.6 เมตร กั้นเป็นส่วนการแสดงและวงดนตรี มีหลังเวทีสำหรับเตรียมอุปกรณ์ ใต้ถุนเวทีเป็นที่เก็บและเปลี่ยนชุดของหางเครื่องซึ่งใช้เวลาเปลี่ยนเพียง 2 นาที เมื่อแสดงจบทุกคนต้องเก็บอุปกรณ์ให้เสร็จใน 2 ชั่วโมงแล้วออกเดินทางไปยังที่ใหม่ คณะเสียงอิสานที่นำทีมโดยนกน้อย อุไรพร ประสบความสำเร็จรุ่งเรืองมานานกว่า 45 ปี ด้วยการแสดงที่ความยิ่งใหญ่ทันสมัย ปรับปรุงการแสดงให้ถูกรสนิยมของผู้ชมทุกเพศทุกวัยและทุกวัฒนธรรมท้องถิ่นอยู่เสมอ มีการจัดการเรื่อง บุคลากร เวลาและวัสดุอุปกรณ์อย่างประหยัดมีคุณภาพและคุณธรรม สามารถฝ่าวิกฤติเศรษฐกิจได้ด้วยปัญญาภาวะผู้นำและความสามัคคี


การแสดงในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, กนกพัชร์ แจ่มฟ้า Jan 2020

การแสดงในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, กนกพัชร์ แจ่มฟ้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง การแสดงในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแสดงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการแสดงในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยศึกษาข้อมูลด้านการแสดงในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ณ วงเวียนใหญ่ ฝั่งธนบุรี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ใช้เครื่องมือในการศึกษาวิจัย ได้แก่ 1) สำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร 2) สัมภาษณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิและบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3) อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศต่าง ๆ 4) เก็บข้อมูลภาคสนาม ผลการวิจัยพบว่า การแสดงที่พบในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช บริเวณ วงเวียนใหญ่ มีรูปแบบที่หลากหลายและคัดเลือกแสดงที่มีจุดประสงค์เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช การแสดงแต่ละชุดนั้นมีเรื่องราวสื่อถึงพระราชประวัติของพระองค์ผ่านการแสดง หรือมีเรื่องราวที่เกี่ยวข้องในสมัยธนบุรี โดยแบ่งรูปแบบการแสดงที่พบในงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่วงเวียนใหญ่ ปี พ.ศ. 2561 เป็น 2 รูปแบบ ได้แก่ 1) รูปแบบการแสดงละคร เป็นละครอิงประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับพระราชประวัติ ตลอดจนจำลองสถานการณ์การกอบกู้อิสรภาพสมัยธนบุรี 2) รูปแบบเบ็ดเตล็ด แบ่งออกเป็น 3 แบบ คือ 2.1 การแสดงมหรสพจีน ได้แก่ การเชิดสิงโต – มังกรทอง และอุปรากรจีน 2.2 การแสดงมหรสพไทย ได้แก่ ระบำ รำ ฟ้อน ศิลปะการต่อสู้ไทย 2.3 การแสดงดนตรีขับร้องประกอบการแสดง โดยมีสำนักงานเขตคลองสานร่วมกับสำนักงานเขตธนบุรีเป็นประธานในการจัดงานในครั้งนี้ อีกทั้งในการจัดงานเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชยังถือเป็นการร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานประเพณีอันดีงามของฝั่งธนบุรีให้คงอยู่ต่อไป


บทบาทการแสดงลิเกของครูสกุณา รุ่งเรือง, วรรณวิภา วงวาน Jan 2020

บทบาทการแสดงลิเกของครูสกุณา รุ่งเรือง, วรรณวิภา วงวาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทการแสดงนางลิเกของครูสกุณา รุ่งเรือง โดยใช้กระบวนการวิจัยคือ ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์และสังเกตการแสดงลิเก จากวีดิทัศน์ ฝึกกระบวนท่ารำจากครูสกุณา รุ่งเรืองเพื่อเรียบเรียงและวิเคราะห์ข้อมูล มีประเด็นในการศึกษาบทบาทการแสดงลิเกแบ่งออกเป็น 7 รูปแบบ ได้แก่ บทบาทนางเอก บทบาทนางร้าย บาทบาทนางตลก บทบาทผู้หญิงปลอมเป็นผู้ชาย บทบาทการรำเกี้ยวเข้าพระ-เข้านาง บทบาทการรำออกตัว บทบาทการรำอาวุธ จากการศึกษาพบว่าครูสกุณา รุ่งเรืองมีคุณสมบัติเป็นครูลิเกโดยมีคุณลักษณะแบ่งออก 7 ลักษณะได้แก่ 1. การประพันธ์บทและการกำกับการแสดง เนื่องจากมีประสบการณ์การแสดงตั้งแต่วัยเด็ก 2. การด้นกลอนและการเจรจาเป็นส่วนสำคัญของการแสดงลิเก ผู้แสดงสามารถด้นกลอนสดได้โดยใช้คำที่สัมผัสคล้องจองทั้งดัดแปลงโทนเสียงตามลักษณะตัวละคร 3. การออกแบบเครื่องแต่งกาย ผู้ออกแบบมีแนวคิดและจินตนาการที่โดดเด่นเป็นลักษณะเฉพาะเข้ากับผู้สวมใส่ 4. การแต่งหน้า เป็นงานประณีตที่ต้องอาศัยสมาธิและความชำนาญ 5. แสดงได้ทุกบทบาท เนื่องจากได้ฝึกหัดบทบาทของนางลิเกมา 6. ร้องและรำเป็น มีพื้นฐานมาจากละครรำ 7. แสดงลิเกได้ทั้งคืนโดยมีเสียงที่สม่ำเสมอ ซึ่งได้ฝึกฝนการขับร้องและเรียนรู้กลวิธีในการขับร้องเพื่อให้มีกระแสเสียงสม่ำเสมอ เห็นได้ว่าครูสกุณา รุ่งเรืองมีการพัฒนาบทบาทการแสดงลิเกมาอย่างต่อเนื่อง นับเป็นองค์ความรู้ที่ทรงคุณค่าสามารถต่อยอดความรู้ต่อไป


บทบาทของกรรมการพิจารณาประมวลข่าวในยามฉุกเฉินและกรรมการพิจารณาประมวลข่าวในพฤติการณ์ทางด้านตะวันออกไกล พ.ศ. 2482-2484, กฤษฎา บูรณมานัส Jan 2020

บทบาทของกรรมการพิจารณาประมวลข่าวในยามฉุกเฉินและกรรมการพิจารณาประมวลข่าวในพฤติการณ์ทางด้านตะวันออกไกล พ.ศ. 2482-2484, กฤษฎา บูรณมานัส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากแหล่งข่าวตามพื้นที่ต่างๆ บนโลก ถือเป็นสิ่งสำคัญในฐานะแหล่งข้อมูลในการกำหนดแนวทางการดำเนินนโยบายของรัฐบาลในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งรวมไปถึงสถานการณ์สงคราม ภายหลังเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลไทยตัดสินใจดำเนินนโยบายเป็นกลาง พร้อมกับมีการจัดตั้งคณะกรรมการพิเศษสำหรับประมวลข่าวสงครามได้แก่ กรรมการพิจารณาประมวลข่าวในยามฉุกเฉินและกรรมการพิจารณาประมวลข่าวในพฤติการณ์ทางด้านตะวันออกไกล เพื่อดำเนินการรวบรวมเพื่อได้รับข้อมูลข่าวสารทั้งในประเทศที่เข้าร่วมในสงครามและประเทศที่ประกาศตนเป็นกลางไม่เข้าข้างฝ่ายใด โดยดำเนินการในระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2482 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2484 การประมวลข่าวสงครามเป็นสิ่งที่รัฐบาลไทยดำเนินการเพื่อใช้เป็นข้อมูลสำคัญในการรักษาความเป็นกลางของไทยในช่วงต้นของสงครามโลกครั้งที่ 2 จากการรวบรวมข่าวเพื่อติดตามสถานการณ์สงครามในภูมิภาคยุโรปและสถานการณ์ความตึงเครียดในภูมิภาคตะวันออกไกล อาทิ ข่าวการเมืองระหว่างประเทศ ข่าวการรบทางทหาร ข่าวเศรษฐกิจ รวมไปถึงข่าวเกี่ยวกับสถานการณ์ตามชายแดนระหว่างไทยกับดินแดนรอบข้าง จากผลกระทบของไทยที่ได้รับในช่วงดำเนินนโยบายเป็นกลาง ทั้งผลกระทบจากเศรษฐกิจจากการทำสงครามทางเศรษฐกิจในยุโรป และนโยบายการสกัดกั้นทางเศรษฐกิจในตะวันออกไกล ผลกระทบจากความตึงเครียดที่เกิดขึ้นในภูมิภาคตะวันออกไกลก่อนสงครามมหาเอเชียบูรพา อาจกล่าวได้ว่า ไทยมีส่วนเกี่ยวข้องกับสงครามโลกครั้งที่ 2 มาตั้งแต่เริ่มสงคราม ข่าวที่ได้รวบรวมและปรากฎในเอกสารประมวลข่าวสงครามของไทยจึงเป็นข้อมูลสำคัญในการวางแนวทางให้รัฐบาลไทยพยายามรักษาความเป็นกลางไว้อย่างสุดความสามารถ แม้ว่าจะมีเหตุการณ์สำคัญที่สั่นคลอนต่อนโยบายเป็นกลางอย่างกรณีพิพาทอินโดจีน และความสัมพันธ์อันตึงเครียดระหว่างญี่ปุ่นกับชาติสัมพันธมิตรอันเกิดจากผลประโยชน์ภูมิภาคตะวันออกไกล กล่าวได้ว่า การประมวลข่าวสงครามเป็นสิ่งที่ดำรงอยู่พร้อมกับนโยบายเป็นกลางของรัฐบาลไทยในสงครามโลกครั้งที่ 2 คำสำคัญ: การประมวลข่าวสงคราม กรรมการพิจารณาประมวลข่าวในยามฉุกเฉิน กรรมการพิจารณาประมวลข่าวในพฤติการณ์ทางด้านตะวันออกไกล สงครามโลกครั้งที่ 2 นโยบายเป็นกลางของไทย


การอ้างเหตุผลสนับสนุนสิทธิที่จะทำอัตวินิบาตกรรมโดยได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ในกรอบคิดแบบเสรีนิยม, มณิสร โสนะมิตร์ Jan 2020

การอ้างเหตุผลสนับสนุนสิทธิที่จะทำอัตวินิบาตกรรมโดยได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์ในกรอบคิดแบบเสรีนิยม, มณิสร โสนะมิตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะชี้ให้เห็นถึงข้อจำกัดของการยอมรับ PAS (physician-assisted suicide / การทำอัตวินิบาตกรรมโดยได้รับความช่วยเหลือจากแพทย์) แบบสิทธิเชิงลบที่เป็นเสรีภาพในการตกลงร่วมกันส่วนตัวระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ซึ่งไม่มีบุคคลผู้รองรับสิทธิ์ที่จะเป็นผู้มีพันธะในการให้ความช่วยเหลือ ทำให้แม้ PAS จะไม่ผิดกฎหมาย ผู้ป่วยอาจยังไม่สามารถแสดงออกซึ่งสิทธิ์นั้น ด้วยเหตุนี้ จึงมีนักคิดเสรีนิยมเสนอให้ PAS เป็นสิทธิเชิงบวก เช่น เดวิด คัมมิสกี (David Cummiskey) เสนอว่ารัฐมีหน้าที่ในการอำนวยให้มี PAS แบบบริการด้านสุขภาพ โดยอ้างเหตุผลจากสิทธิพื้นฐานในการกำหนดชีวิตตนเอง (right to self-determination) วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์ที่จะเสนอวิธีอ้างเหตุผลสนับสนุนการทำ PAS ในข้อเสนอของคัมมิสกี โดยพิจารณาข้อโต้แย้งที่เป็นไปได้สามประการ คือ (1) การที่ผู้ป่วยเลือก PAS ภายใต้ความเจ็บปวดไม่ถือว่ามีอัตตาณัติเพราะไม่มีคุณค่าเชิงการใช้เหตุผล (2) ไม่ควรยอมรับ PAS เพราะเป็นตัวเลือกที่กดดันผู้ป่วย และ (3) ว่าไม่ควรยอมรับ PAS เพราะส่งผลกระทบคุณค่าสังคม และวิทยานิพนธ์นี้เสนอว่าแนวคิดในทฤษฎีพันธสัญญาของโทมัส สแคนลอน (Thomas Scanlon) สามารถใช้เป็นฐานเพื่อตอบข้อโต้แย้งเหล่านั้นได้ อันได้แก่ มโนทัศน์ในกระบวนการใช้เหตุผลเรื่อง “ทัศนคติที่แปรตามการตัดสิน” (judgment-sensitive attitude) ซึ่งมีบทบาทเป็นแกนหลักในการเป็นฐานที่ทำให้มโนทัศน์อื่นๆ มีความสมเหตุสมผล ทำให้อธิบายได้ว่า การที่ผู้ป่วยเลือกภายใต้แรงจูงใจอย่างความเจ็บปวดและความกดดันสามารถถือเป็นการตัดสินใจที่มีคุณค่าเชิงการใช้เหตุผลและมีอัตตาณัติ ผู้ป่วยจึงมีความรับผิดชอบต่อการเลือกของตนเองที่ไม่อาจโทษคนอื่นได้ ทำให้ฝ่ายค้านขาดฐานที่จะใช้ปฏิเสธนโยบายสนับสนุน PAS ได้อย่างสมเหตุสมผล และการตัดสินเปลี่ยนทัศนคติเรื่องคุณค่าในสังคมอาจไม่ใช่ผลลัพธ์ไม่ดีเสมอไป แนวคิดของสแคนลอนจึงสามารถเป็นบรรทัดฐานให้ฝ่ายเสรีนิยมใช้สนับสนุนข้ออ้างของตัวเองได้รัดกุมและแน่นหนามากขึ้น


การวิเคราะห์เรื่อง กายภิกษุณีกับการบรรลุธรรม, สุภัทรา วงสกุล Jan 2020

การวิเคราะห์เรื่อง กายภิกษุณีกับการบรรลุธรรม, สุภัทรา วงสกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พุทธศาสนาเถรวาทมีความเข้าใจต่อความทุกข์เฉพาะทั้งห้าประการของสตรี ในอาเวณิกสูตร ว่าเป็นความทุกข์ของสตรีที่มีความเป็นเฉพาะต่างจากความทุกข์ของบุรุษ โดยที่กายในเชิงชีววิทยาและกายในบริบทเชิงสังคมวัฒนธรรมของสตรีเป็นเงื่อนไขของความทุกข์เฉพาะนี้ วิถีการดับทุกข์ของสตรีย่อมมีวิธีต่างจากวิถีการหลุดพ้นของบุรุษ วิทยานิพนธ์นี้จึงมุ่งศึกษาและวิเคราะห์แนวคิดเรื่องกายภิกษุณีกับการบรรลุธรรมโดยเสนอว่ากายสามารถเป็นเงื่อนไขในการดับทุกข์ของสตรีอย่างมีนัยสำคัญ และมีกระบวนการปฏิบัติในฐานะภิกษุณีเป็นเงื่อนไขสำคัญยิ่งต่อการบรรลุธรรมของสตรี วิทยานิพนธ์นี้ได้ใช้แนวคิดเรื่องกายเป็นกรอบการวิเคราะห์เทียบเคียงพระวินัย ว่าด้วยอาบัติปาราชิกของภิกษุณีที่แตกต่างจากอาบัติปาราชิกของภิกษุ และใช้แนวคิดเรื่องกายภิกษุณี วิเคราะห์พระวินัยภิกษุณีสงฆ์ 130 สิกขาบทในมิติทั้งสาม ได้แก่ 1. กายภิกษุณีในฐานะกายสตรี 2. กายภิกษุณีในชุมชนภิกษุณีสงฆ์ และ3.กายภิกษุณีกับภิกษุและกับฆราวาสในเชิงความสัมพันธ์ โดยพิจารณาว่าพระวินัยภิกษุณีสามารถเกื้อกูลต่อกายเชิงชีววิทยาและขจัดอุปสรรคที่เกี่ยวกับกายในเชิงบริบททางสังคมวัฒนธรรมเพื่อเกื้อกูลการบรรลุธรรมให้แก่สตรี วิทยานิพนธ์ยังได้วิเคราะห์เทียบเคียงคัมภีร์เถรีคาถา กับคัมภีร์เถรคาถา ด้วยกรอบคิดเรื่องกาย โดยพบว่าแง่มุมที่พระเถรีมีต่อกายของตนในฐานะเหตุแห่งทุกข์ กายในฐานะอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม และกายในฐานะเงื่อนไขของการบรรลุธรรมมีความแตกต่างจากที่พระเถระมีต่อกายของตน วิทยานิพนธ์นี้พบว่าพุทธศาสนาเสนอการรื้อสร้างกายให้แก่สตรีในฐานะภิกษุณี ในแง่ของการรื้อกายด้วยการทำกายานุปัสสนา การทำอสุภกรรมฐานคือการใช้กายเป็นเครื่องมือให้ตระหนักถึงความไม่เที่ยงและความน่ารังเกียจเพื่อคลายความยึดมั่นต่อร่างกาย ขณะที่พุทธศาสนาสร้างกายสตรีในฐานะกายภิกษุณี ในแง่ของการบัญญัติพระวินัยภิกษุณีให้เกื้อกูลการปฏิบัติธรรมแก่ภิกษุณีในชุมชนภิกษุณีสงฆ์เพื่อเป็นวิถีสู่การดับทุกข์ของสตรี


แนวคิดเรื่องการหลีกลี้ในคัมภีร์จวงจื่อ, วรท อุณหสุทธิยานนท์ Jan 2020

แนวคิดเรื่องการหลีกลี้ในคัมภีร์จวงจื่อ, วรท อุณหสุทธิยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มีความเข้าใจกันว่าคัมภีร์จวงจื่อเสนอความคิดเกี่ยวกับการหลีกลี้สังคมในรูปแบบของฤาษีที่ถอนตัวออกจากพื้นที่ทางสังคมและการเมืองโดยปลีกวิเวกไปอยู่ในที่ห่างไกลจากผู้คน อย่างไรก็ตาม วิทยานิพนธ์นี้เสนอว่าแนวคิดการหลีกลี้ในคัมภีร์จวงจื่อมิได้มีเพียงการหลีกลี้แบบฤาษีเพื่อรักษาความบริสุทธิ์ของตนเองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการหลีกลี้ภายในสังคมที่เป็นการหลีกลี้จากอำนาจทางการเมืองโดยดำรงชีวิตอย่างเรียบง่ายภายในสังคม และการหลีกลี้อีกแบบที่เรียกว่า “การเร้นการในฟ้า” ทั้งนี้เพราะในคัมภีร์จวงจื่อโดยเฉพาะกลุ่มบทในปรากฏตัวบทที่เป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการดำรงชีวิตในพื้นที่ทางการเมืองอย่างชัดเจน “การเร้นกายในฟ้า” เป็นการหลีกลี้ที่ไม่จำเป็นต้องถอนตัวออกจากพื้นที่ทางสังคมและการเมือง เป็นการหลีกเร้นตนจากอันตรายด้วยการอยู่ร่วมกับสิ่งต่างๆ ที่แปรเปลี่ยนอย่างยืดหยุ่น โดยการคลายความยึดถือความคิดและเป้าหมายการขัดเกลาตัวตนทางสังคมให้กลายเป็นแบบใดแบบหนึ่งอย่างตายตัว ผ่านการตระหนักถึงการใช้ชีวิตร่วมกับสรรพสิ่งในฐานะสิ่งที่แปรเปลี่ยนไปตลอดเวลาและการตระหนักถึงความแตกต่างหลากหลายของคุณค่าและตัวตน การเร้นกายในฟ้ายังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการหลีกลี้ของพวกสำนักเต๋าในฐานะเป็นวิธีการหนึ่งในการจัดการกับความตึงแย้งในตัวตน ซึ่งความตึงแย้งนี้มาจากอิทธิพลทางความคิดของขงจื่อเกี่ยวกับการสร้างตัวตนทางสังคม


กรรมวิธีการสร้างกระจับปี่ของช่างศุภาพล ไทรวิมาน, วิศรุต แซ่จุ่ง Jan 2020

กรรมวิธีการสร้างกระจับปี่ของช่างศุภาพล ไทรวิมาน, วิศรุต แซ่จุ่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องกรรมวิธีการสร้างกระจับปี่ของช่างศุภาพล ไทรวิมาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรรมวิธีการสร้างกระจับปี่ และการประเมินคุณภาพกระจับปี่ของช่างศุภาพล ไทรวิมาน ผลการศึกษาพบว่า ช่างศุภาพล ไทรวิมาน ศึกษางานช่างสร้างเครื่องดนตรีกับบิดา ซึ่งเคยเป็นช่างสร้างเครื่องดนตรีคนสำคัญของร้านดุริยบรรณ และเรียนรู้ซึมซับวิชาความรู้ด้านงานช่างจากการเป็นช่างในโรงงานของบิดา จนมีความรู้ความสามารถที่โดดเด่นในการสร้างจะเข้ ต่อมาภายหลังได้ทดลองสร้างกระจับปี่ โดยใช้กระจับปี่ของช่างจรูญ คชแสง เป็นต้นแบบ แต่ได้ดัดแปลงแก้ไขตามแนวทางของตนจนเกิดเป็นอัตลักษณ์เฉพาะ โดยการสร้างหลักแบบไม่ใช้หย่องและไม่เจาะรูหน้ากะโหลก ซึ่งมีขั้นตอนใน การสร้างทั้งหมด 8 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างคันทวน การสร้างกะโหลก การสร้างโขน การสร้างลูกบิด การสร้างหลัก การสร้างนมและซุ้ม การเคลือบผิวไม้และย้อมสีชิ้นงาน และการประกอบและ เทียบเสียง ทั้งนี้คุณภาพของชิ้นงานมีความละเอียด เรียบร้อยสวยงาม ได้มาตรฐาน และมีคุณภาพเสียงที่ดังกังวาน มีเสียงที่ทุ้มลึก และมีลักษณะเสียงที่สั่นสะเทือน ตรงตามคุณลักษณะเสียงที่ไพเราะของกระจับปี่


การสร้างสรรค์และการบรรจุเพลงประกอบการแสดงของครูอำนาจ นุ่นเอียด, ปภัค แก้วบุญชู Jan 2020

การสร้างสรรค์และการบรรจุเพลงประกอบการแสดงของครูอำนาจ นุ่นเอียด, ปภัค แก้วบุญชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการสร้างสรรค์และการบรรจุเพลงประกอบการแสดงของครูอำนาจ นุ่นเอียด มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชีวประวัติและผลงานของครูอำนาจ นุ่นเอียด และเพื่อศึกษาวิธีการสร้างสรรค์และการบรรจุเพลงประกอบการแสดงของครูอำนาจ นุ่นเอียด ครูอำนาจ นุ่นเอียด เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2494 เป็นชาวจังหวัดพัทลุง เริ่มฝึกหัดดนตรีด้วยตัวเองตั้งแต่วัยเด็ก จากนั้นก็ฝึกเป่าปี่จนมีความรู้ความชำนาญในการบรรเลงเครื่องดนตรีโนราและหนังตะลุงในทุก ๆ ชิ้น โดยเฉพาะปี่ ในการวิเคราะห์เพลงประกอบการแสดงของครูอำนาจ นุ่นเอียด พบว่า การแสดงทั้ง 16 ชุดการแสดง ใช้เพลงจำนวนทั้งหมด 73 เพลง ทั้ง 73 เพลงนั้นเป็นเพลงที่ครูอำนาจ นุ่นเอียด ได้ประพันธ์ขึ้นใหม่เป็นจำนวน 14 เพลง ครูอำนาจประพันธ์โดยใช้วิธีการพลิกแพลงทำนองจากทำนองเพลงเดิมที่มีอยู่ การยุบโดยตรงและการยุบโดยวิธีการพลิกแพลงทำนองจากเพลงเดิมที่มีอยู่ ในการศึกษายังพบลักษณะแบบแผนการซ้ำทำนองในหลาย ๆ แบบเช่นเดียวกับเพลงพื้นบ้านภาคใต้ที่ครูนำมาเรียบเรียงไว้ในการแสดง มีการเปลี่ยนบันไดเสียงและใช้เสียงหลุมเพื่อให้เกิดสำเนียงที่ไพเราะอ่อนหวาน และยังมีลักษณะที่โดดเด่นอื่น ๆ อยู่อีก 5 ประการได้แก่ 1) การใช้เสียงโดดเด่น หรือที่เรียกว่า Pillar Tone 2) การย้ำทำนอง 3) การใช้กระสวนจังหวะของทำนองแบบคงที่ 4) การใช้ทำนองโอดพัน และ 5) การใช้ทำนองฉายรูป