Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Urban, Community and Regional Planning Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2020

Articles 1 - 30 of 38

Full-Text Articles in Urban, Community and Regional Planning

แนวทางการพัฒนาอาคารชุดเพื่อสุขภาพดี กรณีศึกษา โครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ จังหวัดปทุมธานี และ โครงการไนท์บริดจ์ ดิ โอเชี่ยน ศรีราชา จังหวัดชลบุรี, สุธาสินี บุญน้อม Jan 2020

แนวทางการพัฒนาอาคารชุดเพื่อสุขภาพดี กรณีศึกษา โครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ จังหวัดปทุมธานี และ โครงการไนท์บริดจ์ ดิ โอเชี่ยน ศรีราชา จังหวัดชลบุรี, สุธาสินี บุญน้อม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีการสำรวจพบว่าในอาคารชุดแต่ละแห่งมีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่น แต่ขาดการจัดการด้านสุขภาพของผู้อยู่อาศัย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเอกสาร มาตรฐานและเกณฑ์การประเมินอาคาร ด้านการออกแบบที่อยู่อาศัยในต่างประเทศ วิเคราะห์ปัจจัยด้านกายภาพ พฤติกรรมผู้อยู่อาศัย สภาพแวดล้อม และบริบทโดยรอบของโครงการอาคารชุดเพื่อสุขภาพดี เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดที่มีการส่งเสริมให้ผู้อยู่อาศัยมีสุขภาพดีในประเทศไทย โดยศึกษาจากผู้อยู่อาศัย ผู้ประกอบการ สถาปนิก รวมไปถึงนำความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญมาสรุปผลเพื่อหาแนวทาง ผ่านการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยเลือกศึกษาโครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เคาน์ตี้ จังหวัด ปทุมธานี และ โครงการไนท์บริดจ์ ดิ โอเชี่ยน ศรีราชา จังหวัดชลบุรี เนื่องจากเป็นโครงการที่ส่งเสริมการมีสุขภาพดีของผู้อยู่อาศัย ผลการศึกษาพบว่าผู้อยู่อาศัยให้ความเห็นว่า การอยู่อาศัยในโครงการก่อให้เกิดสุขภาพดีในระดับปานกลางถึงมาก และพบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดอาคารชุดเพื่อสุขภาพดี ประกอบไปด้วย 8 ปัจจัย ได้แก่ 1.คุณภาพอากาศ 2. คุณภาพน้ำ 3. แสงสว่าง 4.สภาวะน่าสบาย 5.วัสดุ 6.เสียง 7.การอนุรักษ์พลังงาน 8.สถานที่ตั้งโครงการ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาวะและสถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ มีความคิดเห็นตรงกันว่า ปัจจัยด้านวัสดุ มีความสำคัญมากที่สุด ทางด้านผู้อยู่อาศัยและสถาปนิกผู้ออกแบบโครงการ มีความเห็นตรงกันว่า ปัจจัยด้านที่ตั้ง เป็นปัจจัยที่มีความสำคัญมากที่สุด ในส่วนของผู้ประกอบการและสถาปนิก มีความเห็นตรงกันว่า ปัจจัยด้านคุณภาพน้ำมีความสำคัญมาก ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาอาคารชุดเพื่อสุขภาพดีของคนทุกกลุ่มในประเทศไทย ควรดำเนินการใน 3 ประเด็นดังนี้คือ 1.จัดทำคู่มือหรือเกณฑ์การออกแบบอาคารชุดเพื่อสุขภาพดีที่เหมาะสมกับประเทศไทย 2.ส่งเสริมให้มีผลิตภัณฑ์ที่ส่งเสริมการมีสุขภาพดีมีความหลากหลายและมีราคาที่จับต้องได้ 3.การให้ความรู้ความเข้าใจกับบุคลทั่วไปและสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง


ความเป็นศูนย์กลางที่มีชีวิตของพื้นที่ย่านตลาดการค้าในแขวงวังบูรพาภิรมย์ กรุงเทพฯ, ไอยวริญท์ วีระรักษ์ Jan 2020

ความเป็นศูนย์กลางที่มีชีวิตของพื้นที่ย่านตลาดการค้าในแขวงวังบูรพาภิรมย์ กรุงเทพฯ, ไอยวริญท์ วีระรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และบันทึกรูปแบบพื้นที่ (space patterns) และรูปแบบการใช้พื้นที่ (space use patterns) ของพื้นที่ย่านตลาดการค้าทั้ง 3 แห่งในแขวงวังบูรพาภิรมย์ ได้แก่ พื้นที่ย่านตลาดบ้านหม้อ พื้นที่ย่านตลาดพาหุรัด และพื้นที่ย่านตลาดปากคลองตลาด โดยการศึกษารูปแบบพื้นที่สามารถศึกษาผ่านการวิเคราะห์สเปซซินแท็กซ์และข้อมูลสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) และการศึกษารูปแบบการใช้พื้นที่สามารถศึกษาได้จากการนับด่าน (gate method) การสะกดรอย (movement trace) และการจับภาพต่อเนื่อง (serial snapshot) เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และเปรียบเทียบหาพื้นที่ที่มีความเป็นศูนย์กลางที่มีชีวิตตามนิยามของ Hillier (1999) เพื่อสรุปและสามารถนำไปเป็นประโยชน์ต่อการนำข้อมูลที่ได้จากการรู้จักความเป็นศูนย์กลางที่มีชีวิตในพื้นที่ย่านตลาดการค้าไปใช้ประยุกต์กับพื้นที่ย่านที่มีความเป็นศูนย์กลางอื่น ๆ ผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ย่านตลาดบ้านหม้อมีรูปแบบพื้นที่ที่มีโครงข่ายพื้นที่สาธารณะที่มีความละเอียดย่อยและหนาแน่น มีโครงข่ายการสัญจรในลักษณะตาราง (grid system) สามารถรองรับการสัญจรเพื่อเข้าถึง (move to) และเพื่อผ่าน (move through) ในปริมาณที่สูง มีรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคารที่ผสมผสาน มีรูปแบบมวลอาคารและพื้นที่ว่างที่เป็นบล็อกขนาดเล็กและมีความหนาแน่นมวลอาคารที่หนาแน่นทั้งในพื้นที่ตลาดและพื้นที่ชุมชนในพื้นที่ย่าน ส่งผลในรูปแบบการใช้พื้นที่ในพื้นที่ย่านตลาดบ้านหม้อมีอัตราการสัญจรผ่านของคนทั่วไปในช่วงตลาดปิดในระดับที่เท่ากันกับในช่วงตลาดเปิด มีเส้นทางการสัญจรหลากหลายเส้นทางมากกว่าพื้นที่ย่านอื่น ๆ และมีรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลายจากกลุ่มคนที่มาซื้อของในพื้นที่และคนทั่วไปทั้งจากภายนอกและคนในพื้นที่เอง ส่งผลให้พื้นที่ย่านตลาดบ้านหม้อมีความคึกคักและมีชีวิตชีวาทั้งในช่วงที่ตลาดเปิดและตลาดปิดจากทั้งกลุ่มคนที่มาซื้อของในตลาดและคนทั่วไปที่ ตามคำนิยามความเป็นศูนย์กลางที่มีชีวิตของ Hillier


กลยุทธ์การปรับตัวต่อผลกระทบจากโควิด-19 ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2563, ภุชงค์ สถิรพิพัฒน์กุล Jan 2020

กลยุทธ์การปรับตัวต่อผลกระทบจากโควิด-19 ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วง พ.ศ. 2563, ภุชงค์ สถิรพิพัฒน์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ช่วงปี พ.ศ. 2563 ส่งผลกระทบโดยตรงต่อธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไทย ทำให้บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีการเลือกใช้กลยุทธ์การปรับตัวเพื่อความอยู่รอด ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รวบรวมข้อมูลจากบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 28 บริษัท แบ่งเป็น 3 ขนาด ตามสินทรัพย์รวม ได้แก่ บริษัทขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เก็บข้อมูลจากข่าวสารการปรับตัวของบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ทุกบริษัท และบทสัมภาษณ์เชิงลึกจากบริษัทฯ กรณีศึกษา แต่ละขนาด จำนวน 3 บริษัท โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการคัดแยกข้อความสำคัญเชิงการปรับตัวในเนื้อความข่าว และวิเคราะห์เปรียบเทียบในประเด็นของผลกระทบที่ได้รับ การเลือกใช้และลักษณะของกลยุทธ์การปรับตัว รวมไปถึงผลจากการใช้กลยุทธ์การปรับตัว เพื่อนำไปสู่ข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1) การแพร่ระบาดโควิด-19 ส่งผลให้อุปทานและอุปสงค์ที่อยู่อาศัยปรับตัวลดลง โดยมาตรการ ล็อกดาวน์ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว ผู้บริโภคเกิดความกังวลและความไม่มั่นคงทางรายได้ มีการควบคุมค่าใช้จ่าย และเกิดภาวะการหดตัวของกำลังซื้อในที่สุด ส่งผลกระทบต่อบริษัทพัฒนาอสังหาฯ ในด้านการวางแผน การตลาด การเงิน และการทำงานองค์กร ซึ่งส่งผลต่อการเลือกใช้กลยุทธ์การปรับตัว 2) บริษัทพัฒนาอสังหาฯ มีการใช้กลยุทธ์การปรับตัว 5 ด้าน ได้แก่ กลยุทธ์ด้านการวางแผน, ด้านการตลาด, ด้านการเงิน, ด้านการทำงานองค์กร และด้านการป้องกันโควิด-19 โดยแบ่งเป็น 10 หมวดหมู่ 42 วิธีการ ซึ่งมีการใช้กลยุทธ์ด้านการตลาดกว่าร้อยละ 50 ของการเลือกใช้กลยุทธ์ทั้งหมด 3) บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้ง 3 ขนาด เลือกใช้หมวดกลยุทธ์หลัก 2 หมวดเหมือนกัน ได้แก่หมวดส่วนผสมทางการตลาดและหมวดการวางแผนการลงทุน ซึ่งมีอัตราส่วนมากกว่าร้อยละ 45 โดยเฉพาะวิธีการปรับตัวเชิงลึกในเรื่องการจัดกิจกรรมทางการตลาด, การลงทุนเปิดตัวโครงการ และการเน้นลงทุนโครงการแนวราบ 4) การที่บริษัทฯ กรณีศึกษา เลือกใช้วิธีการปรับตัวเชิงลึกในเรื่องการจัดกิจกรรมทางการตลาด, การเน้นลงทุนโครงการแนวราบ และการปรับราคาสินค้า สามารถรักษาผลประกอบการได้ดีกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม โดยการกระจายพื้นที่การลงทุน และการวางแผนความต่อเนื่องทางธุรกิจไว้ล่วงหน้า มีส่วนในการช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะวิกฤต งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นถึง สถานการณ์และการปรับตัวของบริษัทพัฒนาอสังหาฯ เพื่อความอยู่รอดและรับมือกับภาวะวิกฤตการณ์แพร่ระบาด โควิด-19 ระลอก 1 พ.ศ. 2563 ทั้งนี้การเลือกใช้กลยุทธ์สะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะที่เปลี่ยนแปลงไปของตลาดอสังหาฯ เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินงานต่อไปได้ในภาวะวิกฤต …


แนวทางการปรับปรุงกายภาพที่ดินเพื่อให้สามารถพัฒนาตามอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Far) ของผังเมืองรวม: กรณีศึกษาย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร, วีรภัทร เจนหัตถการกิจ Jan 2020

แนวทางการปรับปรุงกายภาพที่ดินเพื่อให้สามารถพัฒนาตามอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Far) ของผังเมืองรวม: กรณีศึกษาย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร, วีรภัทร เจนหัตถการกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเพื่อวิเคราะห์แปลงที่ดินที่สามารถสร้างอาคารได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ คือ มีค่าอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR) 10:1 เนื่องจากในทางปฎิบัติแล้วแปลงที่ดินที่พัฒนาได้ FAR 10:1 มีจำนวนน้อยเพราะติดปัญหาทางด้านกายภาพ รูปร่างที่ดิน และความกว้างของถนน งานวิจัยนี้จะทำการสำรวจแปลงที่ดินที่อยู่ในพื้นที่ศึกษาโดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์กรมที่ดิน และนำมาออกแบบอาคารโดยใช้โปรแกรมสเก็ตอัพ (SketchUp 2020) ภายใต้กฎหมายควบคุมอาคาร อาทิเช่น ความสูงอาคาร ระยะร่น ผลการศึกษาพบว่าในแปลงที่ดินที่ได้คำนวณและออกแบบจำนวน 259 แปลง มีเพียง 52 แปลงเท่านั้นที่มีค่า FAR 10:1 โดยแปลงที่ดินที่เล็กที่สุดมีเนื้อที่ 1 งาน 55 ตร.ว. และแปลงที่ดินที่มีขนาดใหญ่สุดมีเนื้อที่ 9 ไร่ 3 งาน 77.8 ตร.ว. ในแปลงที่ดิน 52 แปลงที่มีค่า FAR 10:1 มีลักษณะทางกายภาพดังนี้ 1. ความกว้างเขตทางที่น้อยที่สุด คือ 33 เมตร และ 2. ความยาวด้านที่ติดถนนที่สั้นที่สุด คือ 18.3 เมตร จากข้อมูลนี้แสดงให้เห็นว่าการแก้ปัญหาในเรื่องการปรับปรุงกายภาพของที่ดินสามารถใช้วิธีการรวมแปลงที่ดินหรือทำการปรับปรุงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ดินโดยการขยายขนาดของถนนหรือตัดถนนเพิ่ม จะช่วยให้แปลงที่ดินมีค่าอัตราส่วนพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดินเพิ่มสูงขึ้นจากเดิม


การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นวลทอง วจะรักษ์เลิศ Jan 2020

การวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณของพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นวลทอง วจะรักษ์เลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 45 ของบุคลากรทั้งหมด เมื่อถึงวัยเกษียณย่อมหมายถึงรายได้ประจำที่เคยมีได้สิ้นสุดลง และอาจส่งผลต่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณ งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยในวัยเกษียณของพนักงานกลุ่มนี้ ทั้งด้านการออมเงินและการเตรียมการด้านที่อยู่อาศัย รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง และใช้แบบสอบถามพนักงานมหาวิทยาลัยที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 330 คน และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างมีการวางแผนทางการเงินเพื่อการอยู่อาศัยหลังเกษียณร้อยละ 60.6 โดยเริ่มออมเมื่ออายุ 40 ปี เมื่อทดสอบสมมติฐานจากข้อมูลกลุ่มตัวอย่างภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด หากมีค่าใช้จ่ายในวัยเกษียณ 11,320 บาทต่อเดือน ผู้ที่วางแผนทางการเงินจะมีเงินออมสำหรับใช้จ่ายได้ประมาณ 11 ปีหลังเกษียณ ในขณะที่ผู้ที่ไม่มีการวางแผนทางการเงิน จะมีเงินออมสำหรับใช้จ่ายได้ประมาณ 3 ปีหลังเกษียณ (2) การวางแผนด้านที่อยู่อาศัยในวัยเกษียณ พบว่ากลุ่มตัวอย่างต้องการอยู่ในที่อยู่เดิมร้อยละ 64.2 ซึ่งในกลุ่มนี้กว่าร้อยละ 54.6 ยังไม่มีแนวคิดในการปรับปรุงที่อยู่อาศัย ในขณะที่ผู้ต้องการย้ายที่อยู่ร้อยละ 35.8 โดยผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านมีแนวโน้มจะอาศัยอยู่ที่เดิมมากกว่า ส่วนผู้ที่วางแผนย้ายที่อยู่อาศัยส่วนมากเป็นผู้เช่า หรือมีที่อยู่อาศัยในต่างจังหวัด (3) กลุ่มตัวอย่างที่มีรายได้สูงต้องการนโยบายสนับสนุนด้านการออมและสร้างรายได้ ขณะที่ผู้มีรายได้ต่ำกว่าต้องการนโยบายสนับสนุนการเข้าถึงแหล่งเงินและการมีที่อยู่อาศัย ทั้งนี้พนักงานร้อยละ 66 ที่ไม่เคยศึกษาการวางแผนการอยู่อาศัยหลังเกษียณ และไม่มีความรู้ด้านการลงทุน จึงต้องการให้มหาวิทยาลัยสนับสนุนด้านการให้ความรู้ในการวางแผนทางการเงินตั้งแต่เริ่มเข้าทำงาน รวมถึงการขยายเวลาเกษียณหรือสนับสนุนอาชีพหลังเกษียณอายุ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า พนักงานมหาวิทยาลัยไม่มีสวัสดิการหลังเกษียณเหมือนกับข้าราชการ การวางแผนทางการเงินเพื่อการเกษียณจึงมีความสำคัญอย่างมาก แม้ว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะมีการออมและวางแผนทางการเงินแล้ว แต่ยังคงมีเงินออมไม่เพียงพอเนื่องจากยังไม่มีความรู้ด้านนี้มากนัก มหาวิทยาลัยและภาครัฐจึงควรส่งเสริมให้พนักงานมีความรู้ด้านการวางแผนทางการเงินเพื่อการเกษียณตั้งแต่ช่วงเริ่มเข้าทำงาน และพัฒนากลไกการออมภาคสมัครใจให้พนักงานมีการออมมากขึ้น เพื่อลดปัญหาการทางการเงินของผู้สูงอายุในอนาคต


ความเสี่ยงของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในระหว่างปี 2557-2562, จิรัทชวิน แสงสว่าง Jan 2020

ความเสี่ยงของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในระหว่างปี 2557-2562, จิรัทชวิน แสงสว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เป็นธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงเนื่องจากใช้เงินลงทุนสูงและสร้างผลกระทบทวีคูณต่อการสร้างงานและภาคเศรษฐกิจของประเทศ งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาลักษณะความเสี่ยงของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงปี 2557-2562 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง โดยรวบรวมข้อมูลการเปิดเผยความเสี่ยงจากแบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี (56-1) จำนวน 25 บริษัท แบ่งเป็นขนาดเล็ก 15 บริษัท ขนาดกลาง 7 บริษัท และบริษัทขนาดใหญ่ 3 บริษัท วิเคราะห์ลักษณะความเสี่ยงโดยการจัดกลุ่มคำและหาคำร่วมของลักษณะความเสี่ยง เปรียบเทียบข้อมูลโดยแบ่งตามขนาดบริษัทและการดำเนินโครงการแนบราบและแนวสูง วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของลักษณะความเสี่ยงในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ประกอบการบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 3 บริษัท เพื่อประเมินปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงและรวบรวมการจัดการความเสี่ยงเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างในแต่ละขนาดบริษัท ผลการศึกษาพบว่า 1) ความเสี่ยงของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แบ่งเป็น 4 ประเภทได้แก่ ความเสี่ยงระดับองค์กร ความเสี่ยงด้านตลาดและกฎระเบียบ ความเสี่ยงธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และความเสี่ยงอื่นๆ ซึ่งมีการเปิดเผยความเสี่ยงระดับองค์กรมากที่สุดกว่าร้อยละ 42% ต่อการเปิดเผยความเสี่ยงทั้งหมด โดยเฉพาะความเสี่ยงจากความผันผวนทางเศรษฐกิจและการเมือง รวมถึงการเข้าถึงแหล่งทุน 2) ความเสี่ยงบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มักเป็นความเสี่ยงที่เกิดก่อนการพัฒนาโครงการ โดยเฉพาะความเสี่ยงจากแนวโน้มต้นทุนการก่อสร้างที่สูงขึ้นที่พบมากในโครงการแนวราบ และความเสี่ยงจากการจัดหาที่ดินที่พบมากในโครงการแนวสูง 3) ในช่วงปี 2557-2562 ซึ่งเป็นช่วงภาวะเศรษฐกิจถดถอย บริษัทขนาดเล็กและบริษัทขนาดกลางเห็นว่าความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยด้านการเมืองและมาตรการภาครัฐเป็นความเสี่ยงสำคัญที่ต้องเตรียมการ บริษัทขนาดใหญ่เห็นว่าความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าโดยเฉพาะเรื่องต้นทุนเป็นเรื่องสำคัญและต้องมีการวางแผนจัดการความเสี่ยง ทั้งนี้ความเสี่ยงที่บริษัททั้ง 3 ขนาดมีการเปิดเผยมากคือ ความเสี่ยงเรื่องการขาดแคลนผู้รับเหมาและแรงงานฝีมือ และความเสี่ยงจากแนวโน้มต้นทุนการก่อสร้างที่สูงขึ้น 4) บริษัทกรณีศึกษาทั้ง 3 ขนาด ประเมินว่าปัจจัยด้านเศรษฐกิจและปัจจัยด้านกฎหมาย กฎระเบียบ ข้อบังคับ เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในระดับสูงและเมื่อเกิดขึ้นแล้วสร้างความเสียหายต่อองค์กรในระดับสูง 5) การจัดการความเสี่ยงจากการเข้าถึงแหล่งเงินทุนและความเสี่ยงจากการจัดหาที่ดินของบริษัททุกขนาดค่อนข้างคล้ายกัน แต่เมื่อสัมภาษณ์เชิงลึก พบว่า มีการจัดการความเสี่ยงมากกว่าที่เปิดเผยในแบบรายงานประจำปี ซึ่งการจัดการความเสี่ยงที่แตกต่างกันเป็นไปตามกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของแต่ละบริษัท งานวิจัยฉบับนี้แสดงให้เห็นถึง ลักษณะความเสี่ยงของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในช่วงที่เศรษฐกิจ สังคม การเมือง มีความผันผวนสูงซึ่งเป็นหนึ่งในวัฏจักรที่เกิดขึ้น การเรียนรู้ความเสี่ยงดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ในการประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตและจัดทำแผนป้องกันความเสี่ยงเพื่อลดความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นซึ่งกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคมเป็นวงกว้าง


สภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในโครงการหมู่บ้านจัดสรร : กรณีศึกษา โครงการหมู่บ้านนันทวัน, ทศพร มงคลนิมิตร Jan 2020

สภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในโครงการหมู่บ้านจัดสรร : กรณีศึกษา โครงการหมู่บ้านนันทวัน, ทศพร มงคลนิมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องด้วยโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และงานวิจัยในผู้สูงอายุส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุในชุมชน หรือผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อย งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพประชากร สังคม เศรษฐกิจและพฤติกรรมการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในโครงการหมู่บ้านจัดสรรราคาสูง โดยเลือกกรณีศึกษาเป็นโครงการหมู่บ้านนันทวันจำนวน 3 โครงการ รวมถึงวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งาน ปัญหา และความต้องการด้านที่อยู่อาศัย กิจกรรม และพื้นที่ส่วนกลางภายในโครงการ เพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบและแนวทางปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว ให้มีความเหมาะสมสําหรับผู้สูงอายุ โดยวิจัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์และการสํารวจพื้นที่ด้านที่อยู่อาศัย อาคารสโมสรและพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งพบว่า ด้านพฤติกรรมคือ ผู้สูงอายุใช้เวลาภายในบ้านกับกิจกรรมดูทีวีมากเกินไป ขาดกิจกรรมที่จะช่วยส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพใจให้สดใสแข็งแรง ด้านที่อยู่อาศัย มีพื้นที่บางส่วนที่ไม่เหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ ได้แก่ ห้องนํ้ามีขนาดเล็กเกินไป ลานซักล้างมีระดับต่างจากพื้นที่ภายในบ้าน ด้านอาคารสโมสรและพื้นที่ส่วนกลางในโครงการมีอุปสรรคต่อการใช้งานของผู้สูงอายุ ได้แก่ ตำแหน่งอาคารสโมสรที่อยู่ไกล ขาดทางลาดเพื่อใช้ในการเข้าถึงพื้นที่กิจกรรม จุดนั่งพักในสวนหรือริมทางเดินมีจำนวนน้อยเกินไป จึงเสนอแนะแนวทางการออกแบบและปรับปรุง ได้แก่ การเพิ่มกิจกรรมตามหลักทฤษฎีกิจกรรม เพื่อให้ผู้สูงอายุได้มีกลุ่มสังคมแลกเปลี่ยนความสนใจกับผู้อื่น กระตุ้นให้ร่างกายสดชื่นด้วยการเคลื่อนไหวจากกิจกรรมต่างๆ และจัดเตรียมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมต่อสภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุตามแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน เช่น ขยายห้องน้ำให้มีขนาดใหญ่ขึ้นและติดตั้งอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น ราวจับ ทำทางลาดเข้าสู่ที่พักอาศัยและพื้นที่ส่วนกลางที่ผู้สูงอายุใช้งานเป็นประจำ หรือการวางเเนวทางการจัดวางสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุกรณีออกแบบโครงการใหม่ เช่น การกำหนดแนวทางการวางตำแหน่งอาคารสโมสรให้อยู่กลางพื้นที่เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ในระยะที่สะดวก


สภาพที่พักอาศัยของนิสิตจุฬาฯที่อยู่หอพักโดยรอบพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นันท์ณภัส ถิรสิริเมธีกุล Jan 2020

สภาพที่พักอาศัยของนิสิตจุฬาฯที่อยู่หอพักโดยรอบพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นันท์ณภัส ถิรสิริเมธีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาสภาพที่พักอาศัยของนิสิตจุฬาฯที่อยู่หอพักโดยรอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงลักษณะเศรษฐกิจ สังคม ภูมิลำเนา ไปจนถึงปัจจัยในการตัดสินใจเช่าหอพักและอพาร์ทเม้นท์ของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการที่พักอาศัยให้เหมาะสมกับความต้องการของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากผลการศึกษาพบว่า นิสิตส่วนใหญ่มีภูมิลำเนามาจากต่างจังหวัด ซึ่งส่วนมากมีความต้องการเช่าหอพักภายในมหาวิทยาลัย แต่ปริมาณหอพักไม่เพียงพอต่อความต้องการของนิสิต จึงจำเป็นต้องอยู่หอพักโดยรอบมหาวิทยาลัย เพื่อความสะดวกในการเดินทาง อีกทั้งนิสิตยังต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านอื่นๆ เช่น ราคา ความปลอดภัย และสิ่งอำนวยความสะดวกของที่พักอาศัย เป็นต้น โดยหอพักที่นิสิตเลือกพักอาศัยมักอยู่ในบริเวณมหาวิทยาลัยที่อยู่ในเขตปทุมวัน เขตราชเทวีและเขตบางรัก เป็นต้น ซึ่งราคาที่นิสิตเลือกเช่าพักอาศัยที่มีลักษณะเป็นห้องสตูดิโอที่มีห้องน้ำภายในและมีระเบียง ขนาดห้อง 21-30 ตารางเมตร จะอยู่ในช่วงราคา 7,000-10,000 บาท ราคาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องพัก ขนาดห้องพักและทำเลของหอพัก เป็นต้น ด้วยรายได้ครัวเรือนของนิสิตส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 50,000-100,000 บาทต่อเดือน ซึ่งทำให้มีผลต่อ รายได้ต่อเดือนของนิสิตที่ได้รับ น้อยกว่า 10,000-20,000 บาทต่อเดือน จึงทำให้นิสิตจำเป็นต้องมีผู้ร่วมพักอาศัยที่เป็นเพื่อน เพื่อหารเฉลี่ยค่าใช้จ่ายของราคาห้องพัก ค่าน้ำ และค่าไฟ เพราะห้องพักมีราคาสูงพอสมควร จากการศึกษาได้ข้อสรุปว่า นิสิตต้องการอยู่หอพักในบริเวณมหาวิทยาลัย มีราคาถูก พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน และพื้นที่ส่วนกลางภายในพอพัก เช่น ห้องทำงาน,ห้องออกกำลังกาย,ห้องทำอาหารและห้องบอร์ดเกมส์ เป็นต้น รวมทั้งภายในห้องพักมีความเป็นส่วนตัว มีเฟอร์นิเจอร์เพียงพอสำหรับนิสิต เช่น โต๊ะทำงาน,ตู้เสื้อผ้าและตู้เก็บของ เป็นต้น จึงทำให้ผู้วิจัยสามารถออกแบบห้องพักให้ตรงตามความต้องการของนิสตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


แนวทางการออกแบบภูมิทัศน์อาคารสำหรับพื้นที่สถานีขนส่งมวลชนทางราง กรณีศึกษา ย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง กรุงเทพมหานคร, ภัทร สุขสิงห์ Jan 2020

แนวทางการออกแบบภูมิทัศน์อาคารสำหรับพื้นที่สถานีขนส่งมวลชนทางราง กรณีศึกษา ย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมือง กรุงเทพมหานคร, ภัทร สุขสิงห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้ มุ่งเน้นศึกษาหลักการสากลรวมถึงกรณีศึกษาในต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์อาคารสำหรับพื้นที่สถานีขนส่งมวลชนทางราง ที่ส่งเสริมระดับค่าศักยภาพการมองเห็นและเข้าถึงให้เหมาะสมต่อการรักษานัยยะความสถานที่ ที่ประกอบด้วย 1) การเป็นพื้นที่สาธารณะที่อเนกประโยชน์ และ 2) การเป็นพื้นที่ที่เอื้อต่อการรับรู้เชิงทัศน์ต่อภูมิทัศน์อาคารในประเด็นเรื่องความปลอดภัยและอัตลักษณ์ของพื้นที่เป็นหลัก อันสามารถรักษาหน้าที่ “ความเป็นสถานที่ของเมือง” ให้สมดุลกับ “ความเป็นจุดเชื่อมต่อเครือข่ายระบบสัญจร” ของพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนทางราง ซึ่งเป็นคุณสมบัติของพื้นที่สถานีที่ดี โดยเลือกพื้นที่ย่านพาณิชยกรรมศูนย์กลางเมืองกรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่ศึกษาและวัดผลด้วยเครื่องมือการศึกษาสัณฐานวิทยาเมือง ที่สามารถแสดงผลบนแผนที่จริงตามระดับค่าวรรณะสีรุ้ง จากการศึกษาพบว่าปัญหาสำคัญ คือข้อกฎหมายที่ยังขาดการคำนึงถึงความแตกต่างเฉพาะตัวในบริบทของแต่ละพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่สถานีขนส่งมวลชนทางราง ที่มีตัวแปรทางกายภาพที่ชัดเจนและมีผลกระทบโดยตรง คือ โครงสร้างยกระดับ ดังนั้น ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงโครงสร้างยกระดับดังกล่าวได้ แต่หากสามารถเพิ่มเติมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องผ่านการมีแนวทางการออกแบบภูมิทัศน์อาคารสำหรับพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชนทางราง โดยผู้วิจัยได้สรุปแนวทางการออกแบบเพื่อเสนอแนะ ดังนี้ 1) ระยะ สัดส่วน กำหนดสัดส่วนความสูงฐานอาคารต่อระยะแนวราบให้สอดคล้องกับมุมมองของผู้คนในทุกระดับชั้น, 2) การใช้ประโยชน์พื้นที่ กำหนดให้ความเป็นสาธารณะสามารถแทรกซึมเข้าไปในพื้นที่และอาคารโดยรอบ, 3) รูปแบบและองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรม กำหนดให้ทุกฐานอาคารต้องให้ความสำคัญกับองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมบนรูปด้านหน้าอาคารที่แสดงถึงความปลอดภัยและอัตลักษณ์ของพื้นที่เป็นหลัก รวมทั้งเพิ่มเติมการกำหนดรูปแบบของส่วนเชื่อมต่อให้มีลักษณะที่โปร่ง ไม่ทึบตัน อีกทั้งกำหนดให้บริเวณอาคารและแนวรั้วที่ตั้งอยู่หัวมุมถนน ต้องปาดมุมให้มีขนาดที่เหมาะสม เพื่อส่งเสริมการเป็นจุดเชื่อมต่อมุมมองและและการเข้าถึงจากพื้นที่รอบสถานีสู่พื้นที่ที่ลึกเข้าไป


Relationships Between Language Proficiency And Economic Mobility Of Myanmar Migrant Workers In Bangkok, Aung Ko Min Jan 2020

Relationships Between Language Proficiency And Economic Mobility Of Myanmar Migrant Workers In Bangkok, Aung Ko Min

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Thailand has been the recipient of foreign migrant workers from neighboring countries for decades. Among them, the majority are from Myanmar. Myanmar migrant workers have been significant parts of the agriculture, manufacturing, and service sectors. In Thailand, they usually earn decent wages comparing to wages in their home countries. However, their incomes and working conditions in Thailand largely depend on several factors. Thus, this research aims to study the relationship between Thai language proficiency and the income of Myanmar migrants in Bangkok. Several studies claim that the employment opportunities of migrants depend primarily on their levels of education and technical …


The Study Of Water Management System In Ancient Towns: A Case Study Of Ayutthaya, Hatthaya Siriphatthanakun Jan 2020

The Study Of Water Management System In Ancient Towns: A Case Study Of Ayutthaya, Hatthaya Siriphatthanakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Due to catastrophic flood in 2011 the Historic City of Ayutthaya was severely damaged while it was never negatively impacted by flood in its 417-year-history. In fact, the lower central plain of Thailand where Ayutthaya is located is vulnerable from water -related hazards, especially flood regarding its natural settings. This research initially aims to understand what the water management system of Ayutthaya was and how the city was emerged and evolved within the flooding prone area so as to apply the knowledge to present-day circumstances. As a result, the landscape integration approach is developed by using multidisciplinary perspectives since water …


การติดตามผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสำนักงานสุขภาวะ โดยทัศนคติของผู้ใช้ : กรณีศึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Risc), บุญชิรา ศรีวงศ์งาม Jan 2020

การติดตามผลการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพของสำนักงานสุขภาวะ โดยทัศนคติของผู้ใช้ : กรณีศึกษา ศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (Risc), บุญชิรา ศรีวงศ์งาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันสถานการณ์การเติบโตและอุปทานของตลาดอาคารสำนักงานอยู่ในภาวะการแข่งขันของตลาดที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงมาก ทำให้ต้องอาศัยกลยุทธ์การพัฒนาที่ก่อให้เกิดความยั่งยืน โดยปัญหาด้านสุขภาพหรือสุขภาวะของผู้ใช้อาคารเป็นประเด็นสำคัญในการพัฒนาอาคารสำนักงาน จึงมีความจำเป็นต้องศึกษาการพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะในการใช้งาน ซึ่งในประเทศไทยมีโครงการสำนักงานสุขภาวะที่ได้รับการรับรองมาตรฐานในการออกแบบอาคารที่ส่งเสริมสุขภาวะ WELL Building Standard Version 1 แห่งแรกในประเทศไทย คือ โครงการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) ผู้วิจัยจึงเลือกโครงการดังกล่าวเป็นกรณีศึกษาและทำการศึกษามาตรฐาน WELL Building Standard Version 1 ร่วมกับการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลแบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ตลอดจนการสังเกตการณ์ภายในพื้นที่โครงการกรณีศึกษา โดยใช้กระบวนการติดตามผลและประเมินผลโครงการ (Project Monitoring and Evaluation) โดยมีกลุ่มผู้ใช้ภายในพื้นที่โครงการกรณีศึกษาทั้งหมดจำนวน 9 คน และกลุ่มผู้ประกอบการหรือผู้บริหารระดับสูงและผู้พัฒนาโครงการเป็นกลุ่มตัวอย่างในการศึกษาวิจัย โดยใช้หลักการประเมินตนเอง (Self-assessment) ในการให้ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า 1) โครงการศูนย์วิจัยและนวัตกรรมเพื่อความยั่งยืน (RISC) มีการพัฒนาโครงการตามมาตรฐาน WELL Building Standard Version 1 โดยเลือกระดับการรับรองมาตรฐานในระดับ Gold และได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าว โดยมีการดำเนินการเกณฑ์ปัจจัยตามมาตรฐานจำนวน 61 เกณฑ์ปัจจัยจากทั้งหมด 103 เกณฑ์ปัจจัย คิดเป็นร้อยละ 59.22 ของเกณฑ์ปัจจัยตามมาตรฐานในประเภทการตกแต่งพื้นที่ภายในอาคารใหม่และการตกแต่งพื้นที่ภายในอาคารเดิมทั้งหมด ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาในประเด็นด้านการให้ความสำคัญและความคาดหวังต่อเกณฑ์ปัจจัยในการพัฒนาโครงการ พบว่า หมวด Air เป็นหมวดที่มีจำนวนการดำเนินการทั้งในข้อบังคับการดำเนินการ (Precondition) และข้อเลือกทำ (Optimization) มากที่สุด โดยผู้พัฒนาโครงการมีการให้ค่าระดับความสำคัญและความคาดหวังเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยที่เกณฑ์ปัจจัยในหมวด Air มีค่าเฉลี่ยการให้ความสำคัญในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยความคาดหวังในระดับมากที่สุดเช่นเดียวกัน รองลงมา ได้แก่ หมวด Light มีค่าเฉลี่ยการให้ความสำคัญในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยความคาดหวังในระดับมากที่สุด หมวด Comfort มีค่าเฉลี่ยการให้ความสำคัญและความคาดหวังในระดับมาก ตามลำดับ 2) ผู้ใช้ตอบสนองโดยการรับรู้และมีความพึงพอใจต่อเกณฑ์ปัจจัย Air Quality Standards มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยการรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก รองลงมา ได้แก่ เกณฑ์ปัจจัย Ergonomics มีค่าเฉลี่ยการรับรู้อยู่ในระดับค่อนข้างมาก และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เกณฑ์ปัจจัย Visual Lighting Design มีค่าเฉลี่ยการรับรู้อยู่ในระดับมาก และมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจอยู่ในระดับค่อนข้างมาก และเกณฑ์ปัจจัย …


การประยุกต์ใช้เบอร์โทด์โมเดลในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโครงการจัดสรรที่ดินที่มีรูปแบบการวางผังแตกต่างกัน: กรณีศึกษา โครงการจัดสรรที่ดินในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี, โชติรัตน์ สว่างวงษ์ Jan 2020

การประยุกต์ใช้เบอร์โทด์โมเดลในการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโครงการจัดสรรที่ดินที่มีรูปแบบการวางผังแตกต่างกัน: กรณีศึกษา โครงการจัดสรรที่ดินในอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี, โชติรัตน์ สว่างวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เบอร์โทด์โมเดล (Bertaud Model) ถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ทดสอบความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยในแนวราบ และเพื่อทำการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ทางการเงินของโครงการ (Pre-feasibility study) พัฒนาโดยผู้เชี่ยวชาญจากธนาคารโลก (World Bank) ในประเทศไทยเมื่อ พ.ศ. 2520 สามารถใช้คำนวณต้นทุนและผลตอบแทนจากการออกแบบวางผังโครงการ ซึ่งใช้ได้ทั้งก่อนการออกแบบวางผัง ควบคู่ไปกับการออกแบบวางผัง และใช้วิเคราะห์หลังการออกแบบวางผังโครงการแล้วเสร็จ จึงมีประโยชน์อย่างมากสำหรับโครงการจัดสรรที่ดิน งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาหลักการทำงานและการนำเบอร์โทด์โมเดลมาประยุกต์ใช้ในการคำนวณต้นทุนและผลตอบแทนโครงการจัดสรรที่ดินที่มีรูปแบบการวางผังโครงการที่แตกต่างกัน กรณีศึกษาโครงการจัดสรรที่ดินขนาดกลางในพื้นที่อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวน 25 โครงการ ผลจากการศึกษาพบว่า สามารถแบ่งรูปแบบการวางผังตามลักษณะการวางทางสัญจรภายในโครงการได้เป็น 3 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบเส้นตรง (Linear) 3 โครงการ (2) รูปแบบถนนปลายตัน (Cul-de-sac) 17 โครงการ และ (3) รูปแบบผสม (Multi-Layout) 5 โครงการ เมื่อนำเบอร์โทด์โมเดลมาใช้ในการคำนวณโดยควบคุมตัวแปร ราคาก่อสร้าง แผนการก่อสร้าง ราคาขาย แผนการขาย ปีที่ดำเนินการ ด้วยการใช้ข้อมูลจากโครงการฐาน (Base case) เดียวกัน เพื่อให้ต้นทุนและผลตอบแทนที่เกิดเป็นผลจากการวางผังโดยตรง พบว่า (1) โครงการรูปแบบเส้นตรง (Linear) มีค่าร้อยละของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ที่ดินในการวางผังเฉลี่ย ร้อยละ 78.84 และอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เฉลี่ยร้อยละ 15.32 (2) โครงการรูปแบบถนนปลายตัน (Cul-de-sac) มีค่าร้อยละของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ที่ดินในการวางผังเฉลี่ย ร้อยละ 59.51 และอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เฉลี่ยร้อยละ 22.39 (3) โครงการรูปแบบผสม (Multi-Layout) มีค่าร้อยละของต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการใช้ที่ดินในการวางผังเฉลี่ยร้อยละ 66.54 และอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) เฉลี่ยร้อยละ 21.22 ทำให้โครงการที่มีรูปแบบการวางผังแบบถนนปลายตัน (Cul-de-sac) มีต้นทุนต่ำและผลตอบแทนสูงที่สุด ซึ่งตรงกับแนวคิดทฤษฎีในบทความ Residential Street Pattern Design โดย Farnis Grammenos และ Julie Tasker-Brown …


พฤติกรรมต่อการเข้าพักโรงแรมที่มีการนำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพมาปรับใช้ กรณีศึกษา นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าพักโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรี, ไกรพัชร เทศประสิทธิ์ Jan 2020

พฤติกรรมต่อการเข้าพักโรงแรมที่มีการนำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพมาปรับใช้ กรณีศึกษา นักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าพักโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรี, ไกรพัชร เทศประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิกฤตการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้การท่องเที่ยวทั่วโลกหยุดชะงัก สร้างผลกระทบแก่ธุรกิจโรงแรมทั่วประเทศไทย แต่ธุรกิจด้านกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (Wellness) กลับมีการเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจากพฤติกรรมของคนไทยที่เริ่มให้ความสนใจด้านสุขภาพ ซึ่งจังหวัดจันทบุรีมีการวางแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพจากศักยภาพของภูมิประเทศและแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติที่สอดคล้องกับแนวคิดด้านพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ซึ่งมีแนวโน้มเป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในอนาคต วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะพฤติกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มตัวอย่างที่สนใจทำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพและมีแนวโน้มจะเข้าพักโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรี เพื่อนำมาปรับใช้กับบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกเชิงสุขภาพภายในโรงแรม โดยผู้วิจัยศึกษาการวิจัยเชิงปริมาณจากอุปสงค์การท่องเที่ยวของกลุ่มตัวอย่าง โดยการสร้างแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลผ่านช่องทางออนไลน์ (Online) จากนักท่องเที่ยวจำนวน 313 คน โดยพิจารณาปัจจัยเรื่อง ลักษณะทางประชากร พฤติกรรมการท่องเที่ยว รูปแบบกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่สนใจให้โรงแรมบริการ จากนั้นผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติและสรุปผลร่วมกับข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกเชิงสุขภาพในโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรีเพื่อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงธุรกิจโรงแรมแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ จากผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ทำแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 60 – 79 ปี เป็นผู้เกษียณอายุ และ พนักงานเอกชนจำนวนใกล้เคียงกัน มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 40,000 บาท จากการวิเคราะห์ พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่สามารถสร้างโอกาสแก่โรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรีด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมีพฤติกรรมท่องเที่ยวสอดคล้องกับกิจกรรมในพื้นที่ เช่น การเดินทางขึ้นเขาคิชฌกูฏ การท่องเที่ยววิถีชุมชน เป็นต้น โดยกลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 40,000 บาท เดินทางพร้อมกลุ่มเพื่อน จำนวน 6 – 11 คน พักค้างคืนโรงแรม 3 วัน 2 คืน มีค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวต่อคนต่อทริป ประมาณ 2,001 – 4,000 บาท มาท่องเที่ยวช่วงวันธรรมดาและเดินทางด้วยรถยนต์ส่วนตัว โดยกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่กลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุสนใจให้โรงแรมช่วยบริการ ได้แก่ 1) บริการนำเที่ยวภายนอกโรงแรมโดยสนใจกิจกรรมท่องเที่ยวสำหรับโฮมสเตย์ (Homestay) มากที่สุด 2) บริการเฉพาะรถรับ-ส่งภายนอกโรงแรมโดยสนใจกิจกรรมเดินชมธรรมชาติและกิจกรรมวิถีชุมชนมากที่สุด 3) บริการภายในโรงแรมโดยสนใจกิจกรรมนวดไทยหรือนวดน้ำมันหอมระเหยมากที่สุด ซึ่งกิจกรรมรูปแบบดังกล่าวมีความสอดคล้องกับพฤติกรรมทั่วไปของผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่มีการใช้กำลังกายในระดับที่ไม่หนักจนเกินไป การเสนอแนะโอกาสในการนำกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพที่กลุ่มตัวอย่างสนใจมาปรับใช้กับโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรี ได้แก่ 1) การร่วมกับผู้ประกอบการในพื้นที่หรือบุคลากรในชุมชนท้องถิ่นเพื่อบริการและอำนวยความสะดวกกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพภายนอกโรงแรม และ 2) การปรับปรุงหรือต่อเติมพื้นที่ภายในโรงแรมรวมถึงการปล่อยเช่าพื้นที่แก่ผู้ประกอบการกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพประเภทการนวดไทยที่สนใจ หากผู้ประกอบการสามารถปรับบริการและพื้นที่โรงแรมเพื่อรองรับกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพข้างต้นก็จะดึงดูดให้นักท่องเที่ยวกลุ่มเป้าหมายมาเข้าพักที่โรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดจันทบุรีได้


ทัศนคติของผู้หญิงโสดอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปต่อการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล, ธนารีย์ ปัญโญ Jan 2020

ทัศนคติของผู้หญิงโสดอายุตั้งแต่ 30 ปีขึ้นไปต่อการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพและปริมณฑล, ธนารีย์ ปัญโญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้หญิงโสดมีจำนวนและแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และนิยมอาศัยในคอนโดมิเนียม จากงานวิจัยส่วนใหญ่ที่ผ่านมายังขาดการศึกษาถึงเรื่องที่อยู่อาศัยซึ่งถือเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียม ความพึงพอใจและปัญหาในการอยู่อาศัย โดยสอบถามออนไลน์จากกลุ่มผู้หญิงโสดที่อาศัยอยู่ตามลำพังในคอนโดมิเนียมในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจำนวน 1,143 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างจากหลายแหล่งข้อมูล ได้แก่ แอปพลิเคชันไลน์ (LINE) กลุ่มคนโสดในเฟซบุ๊ก (Facebook) และกระทู้ในเว็บไซต์พันทิป (Pantip) และทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยตารางไขว้ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างผู้หญิงโสดส่วนใหญ่อายุ 30-39 ปี และเมื่อพิจารณาตามลักษณะงานอดิเรก พบว่าแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มผู้หญิงโสดนักเดินทาง กลุ่มผู้หญิงโสดเต็มที่กับชีวิต กลุ่มผู้หญิงโสดออนไลน์ และผู้หญิงโสดชีวิตเรียบง่าย ทั้งนี้ กลุ่มผู้หญิงโสดส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ทำงานประจำในภาคเอกชนและรัฐ และมีรายได้ประมาณ 50,001-70,000 บาทต่อเดือน 2) คอนโดมิเนียมที่อาศัยมีขนาดเฉลี่ย 31-35 ตร.ม. โดยมีปัจจัยในการเลือกคอนโดมิเนียมคือ ทัศนียภาพ ทำเลที่ตั้งใกล้สถานีรถไฟฟ้า ใกล้ที่ทำงาน และความปลอดภัย ทั้งนี้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 60 นิยมเช่า นิยมเช่าคอนโดมิเนียมในระดับสูง (Upper class) ขณะที่ผู้ซื้อคอนโดมิเนียมจะซื้อในราคาไม่เกิน 2 ล้านบาท 3) ผู้หญิงโสดมากกว่าร้อยละ 50 พอใจต่อการอยู่อาศัยในระดับมาก จากปัจจัยความปลอดภัยและความผ่อนคลาย อย่างไรก็ตามปัญหาที่พบเจอเมื่ออาศัยอยู่ตามลำพัง คือการซ่อมแซม การขนของ และการเจ็บป่วยเป็นหลัก โดยเฉพาะในกลุ่มอายุมาก นอกจากนี้ยังมีความรู้สึกเหงาในการอยู่อาศัยเป็นครั้งคราว ซึ่งมีแนวโน้มลดลงเมื่ออายุเพิ่มขึ้น อีกทั้งปัจจัยความเหงาจะส่งผลกระทบต่อการใช้งานพื้นที่ 4) ผู้หญิงโสดมากกว่าร้อยละ 50 ใช้ชีวิตอยู่ในคอนโดมิเนียมทุกวัน โดยกลุ่มอายุมากมีการใช้พื้นที่มากกว่าอายุน้อยทั้งภายในและภายนอกห้อง 5) ผู้หญิงโสดมีแนวโน้มจะยังเลือกอยู่คอนโดมิเนียมต่อไปในระยะยาว โดยเฉพาะกลุ่มอายุ 40-49 ปี ซึ่งเลือกที่จะอยู่ใกล้ห้างสรรพสินค้า ขณะที่กลุ่มอายุ 30-39 ปี เลือกที่จะอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าประมาณ 300 เมตรเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม กลุ่มนี้เมื่อเข้าสู่วัยเกษียณต้องการอยู่บ้านเดี่ยว/บ้านแฝดแทนการอยู่คอนโดมิเนียม และจะอยู่ตามลำพัง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงโสดส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียม เนื่องจากเห็นว่าปลอดภัยและมีความผ่อนคลาย โดยจะเลือกคอนโดมิเนียมที่อยู่ใกล้ห้างสรรพสินค้าและสถานีรถไฟฟ้าเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ยังพบปัญหาในด้านการบริการ อาทิ การซ่อมแซม การขนของ หรือการเจ็บป่วยเมื่ออยู่คนเดียว ดังนั้น ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการเพื่อพัฒนาคอนโดมิเนียมและที่อยู่อาศัยแบบอื่นที่ตอบโจทย์กลุ่มนี้ …


พฤติกรรมการเข้าพักโรงแรมที่มีการนำกิจกรรมเชิงสุขภาพมาปรับใช้ กรณีศึกษานักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าพักโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่, มนไท เหรัญญะ Jan 2020

พฤติกรรมการเข้าพักโรงแรมที่มีการนำกิจกรรมเชิงสุขภาพมาปรับใช้ กรณีศึกษานักท่องเที่ยวที่สนใจเข้าพักโรงแรมขนาดเล็กในจังหวัดเชียงใหม่, มนไท เหรัญญะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้อมูลผลกระทบจาก Covid-19 ส่งผลให้ภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยได้รับผลกระทบเป็นอันดับแรกและต่อเนื่องถึงทุกภาคส่วนธุรกิจของไทยรวมถึงธุรกิจโรงแรมขณะเดียวกันเศรษฐกิจเพื่อสุขภาพ (Wellness Economy) กลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากกระแสการรักสุขภาพซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของสวนดุสิตโพล และ IPG MEDIABAND ว่าคนไทยหันมาให้ความสนใจดูแลสุขภาพมากขึ้นในปี 2563 จากสถานการณ์ดังกล่าวจึงเห็นโอกาสในการศึกษาการท่องเที่ยวและกิจกรรมเชิงสุขภาพสำหรับสร้างช่องทางในการปรับตัวสร้างรายได้ให้กับโรงแรมที่เจอกับวิกฤตไวรัส Covid-19 วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของนักท่องเที่ยวที่สนใจท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมเชิงสุขภาพกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่สนใจท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ และ เสนอแนะการปรับโรงแรมขนาดเล็กเพื่อสอดรับกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยแบบสอบถามเป็นเครื่องมือหลักในการวิจัยโดยใช้สูตรการหาประชากรของ Taro Yamane ระดับความเชื่อมั่นอยู่ที่ 95% ได้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด จากนั้นนำข้อมูลจากแบบสอบถามมาหาค่าความสัมพันธ์และนัยทางสถิติสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาอุปสงค์และพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของผู้ที่สนใจท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงมีอายุระหว่าง 20-29 ปี มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 24,088 บาท และ อายุ 30-39 ปี มีรายได้ต่อเดือนเฉลี่ย 45,517 บาท พฤติกรรมในการท่องเที่ยวจะเดินทางอย่างมีคุณภาพ และ แสวงหาสิ่งใหม่ ๆ เดินทางร่วมกับเพื่อน และ ครอบครัว มีจำนวนคนร่วมเดินทาง 3-4 คน มีจำนวนวันเข้าพักที่ 3-5 วัน สำหรับค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวต่อทริปอยู่ที่ 4,001 – 6,000 บาท จะเดินทางโดยเครื่องบิน และ รถยนต์ส่วนตัว พาหนะที่ใช้ท่องเที่ยวภายในจังหวัดเป็นการเช่ารถยนต์ เช่ารถจักรยานยนต์ และ ใช้บริการรถสาธารณะเป็นหลัก ประเภทกิจกรรมที่ทำระหว่างทริปท่องเที่ยวจังหวัดเชียงใหม่เป็นการท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมากที่สุด ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ ยินดีจ่าย หากโรงแรมมีบริการด้านสุขภาพ ร้อยละ 93.7 และ สนใจเข้าพักโรงแรมที่มีบริการด้านสุขภาพ จำนวน 3-5 วัน จากการวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ระหว่างความสนใจกิจกรรมเชิงสุขภาพกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงของนักท่องเที่ยวพบว่าตัวแปร อายุ รายได้ และ จำนวนวันเข้าพักมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 วิจัยสามารถสรุปได้ว่านักท่องเที่ยวที่มีอายุระหว่าง 20-39 ปีมีแนวโน้มสนใจทำกิจกรรมเชิงสุขภาพภายนอกโรงแรมที่เป็นลักษณะการผจญภัย เดินป่าชมธรรมชาติ ปั่นจักรยาน และ ถนนคนเดิน นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ที่จะกลับมาใช้บริการกิจกรรมการกดจุด นวด สปา Aroma ขันโตกรับประทานอาหารพื้นเมือง ฟังดนตรีชมการแสดงฟ้อนรำล้านนา และ สอนทำอาหารพื้นถิ่น ภายในโรงแรม …


สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์ส่วนกลางกับการบริหารงานของนิติบุคคลอาคารชุดพักอาศัยระดับราคาสูง: กรณีศึกษา บริษัท การ์เดียน พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด, กฤษดา ศรีใหม่ Jan 2020

สัดส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์ส่วนกลางกับการบริหารงานของนิติบุคคลอาคารชุดพักอาศัยระดับราคาสูง: กรณีศึกษา บริษัท การ์เดียน พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด, กฤษดา ศรีใหม่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเรื่องสัดส่วนค่าใช้จ่ายในการบริหารทรัพย์ส่วนกลางกับการบริหารงานของนิติบุคคลอาคารชุดพักอาศัยระดับราคาสูงเนื่องจากจัดเก็บและคาดการณ์ค่าใช้จ่ายที่เพียงพอและขั้นตอนการบริหารที่ชัดเจนจะทำให้สามารถบริหารสภาพแวดล้อมของโครงการให้ดูดีอยู่เสมอ โดยมีการคัดเลือกกรณีศึกษาเป็นอาคารชุดพักอาศัยระดับราคาสูงจำนวน 4 อาคาร ที่บริหารนิติบุคคลโดยบริษัท การ์เดียน พร็อพเพอร์ตี้ แมเนจเม้นท์ จำกัด เนื่องจากมีแบบแผนการบริหารที่ชัดเจนมีประสิทธิภาพ และมีการบริหารรายรับได้เพียงพอต่อค่าใช้จ่าย เพื่อเสนอแนะแนวทางการบริหารและการคาดการณ์ค่าใช้จ่ายอาคารชุดพักอาศัยระดับราคาสูงมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับต้นทุนและการบริหารนิติบุคคลอาคารชุดในรูปแบบอื่นๆ โดยวิธีศึกษาเอกสารงบแสดงฐานะทางการเงิน รายงานการประชุมประจำปีและสัมภาษณ์ผู้จัดการอาคาร ผลการศึกษาพบ 3 ส่วนดังนี้ 1. หมวดค่าใช้จ่าย คือรายรับและรายจ่าย 2. ขั้นตอนการดำเนินงานในการบริหารทรัพย์ส่วนกลางอาคารชุดและ 3.ข้อเสนอแนะในการบริหาร ทั้งนี้การรายงานผลจะเป็นค่าเฉลี่ยต่อรายรับและรายจ่ายทั้งหมดระหว่างปี 2560-2562 โดยรายรับ พบ 8 หมวดดังนี้ 1. รายรับค่าส่วนกลาง มีค่าเฉลี่ย 85.86% เป็นรายรับหลักของโครงการ 2. รายรับเพิ่มค่าส่วนกลาง มีค่าเฉลี่ย 0.58% 3. รายรับค่าน้ำประปา มีค่าเฉลี่ย 2.73% 4. รายรับค่าไฟ มีค่าเฉลี่ย 0.51% 5. รายรับค่าเช่าพื้นที่ส่วนกลาง มีค่าเฉลี่ย 1.15% 6. ดอกเบี้ยรับ มีค่าเฉลี่ย 2.35% 7. รายรับอื่นๆคิดเป็นค่าเฉลี่ย 2.30% 8. รายรับค่างานปรับปรุงพัฒนา พบได้เพียงอาคารกรณีศึกษาอาคารที่ 1 มีค่าเฉลี่ย 4.54% พบว่ามีสัดส่วนรายรับใกล้เคียงกันทั้ง 4 อาคาร เว้นแต่อาคารที่ 1 ที่พบรายรับหมวดที่ 8 ทำให้ค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น รายจ่ายพบ 6 หมวดงานดังนี้ 1. รายจ่ายตามสัญญา มีค่าเฉลี่ย 66.20% 2. รายจ่ายค่าสาธารณูปโภค มีค่าเฉลี่ย 17.61% 3. รายจ่ายดำเนินการสำนักงานมีค่าเฉลี่ย 1.73% 4. รายจ่ายงานระบบและซ่อมบำรุง มีค่าเฉลี่ย 6.81% 5. รายจ่ายอื่นๆ มีค่าเฉลี่ย 0.38% 6. รายจ่ายงานพัฒนาและปรับปรุง มีความผันแปรสูง มีสัดส่วนระหว่าง 0.22% – 12.83% …


รูปแบบทางกายภาพที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปแบบถอดประกอบสำหรับพนักงานหน่วยงานก่อสร้าง และคนงานก่อสร้าง : กรณีศึกษาที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปบริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), สุปรีดิ์ เปียถนอม Jan 2020

รูปแบบทางกายภาพที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปแบบถอดประกอบสำหรับพนักงานหน่วยงานก่อสร้าง และคนงานก่อสร้าง : กรณีศึกษาที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปบริษัท อิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน), สุปรีดิ์ เปียถนอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษารูปแบบที่พักอาศัยชั่วคราวที่ทางบริษัทรับเหมาก่อสร้างจัดหาให้กับพนักงาน และแรงงานก่อสร้างนั้น ส่วนใหญ่บริษัทรับเหมาก่อสร้างรับหน้าที่ในการจัดเตรียมที่พักให้เป็นแหล่งพักอาศัย บริษัทมักเลือกพื้นที่ใกล้กับหน่วยงานก่อสร้าง เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับพนักงาน และเป็นสวัสดิการให้กับแรงงานในหน่วยก่อสร้าง โดยในปัจจุบันบริษัทอิตาเลียนไทยดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ได้พัฒนาที่พักอาศัยชั่วคราวสร้างใหม่เป็นรูปแบบที่ใช้วัสดุสำเร็จรูปแบบถอดประกอบในการก่อสร้างทั้งหมดโดยจัดที่พักอาศัยชั่วคราวสำหรับพนักงานประจำ คนงานก่อสร้าง และผู้รับเหมาช่วงคือ วิศวกร พนักงาน โฟร์แมน คนงานก่อสร้างของบริษัท และคนงานก่อสร้างของผู้รับเหมาช่วง เพื่อคุ้มทุนในระยะยาว และสะดวกในการเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่ก่อสร้างอื่น แต่อย่างไรก็ดีจากการศึกษาเบื้องต้นการนำรูปแบบสำเร็จรูปแบบถอดประกอบเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำนั้นไม่ได้มากเท่าที่ควร โดยพบว่าผู้พักอาศัยมักต่อเติมดัดแปลงพื้นที่พักอาศัยบริเวณของตนเอง ซึ่งการพักอาศัยจะอยู่เป็นเวลา 1-2 ปีขึ้นไปย่อมต้องมีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้สอดคล้องต่อวิถีการดำเนินชีวิต ส่งผลให้ที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปเกิดการเสียหายขึ้นจากการต่อเติมดัดแปลงดังกล่าว งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบทางกายภาพ และวิเคราะห์ปัญหาการนำที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปแบบถอดประกอบมาใช้สำหรับเป็นที่พักอาศัยชั่วคราว โดยการรวบรวมข้อมูลด้านกายภาพของที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูป ให้ทราบถึงรูปแบบการพักอาศัย ปัญหาในการพักอาศัย และสาเหตุในการดัดแปลงที่พักอาศัย ซึ่งมีวิธีการวิจัยคือศึกษาที่พักอาศัยชั่วคราวเชิงลึก 1 พื้นที่โดยการสำรวจสภาพกายภาพ จำนวน 147 ห้องพัก และเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้พักอาศัยในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 35 ห้องพัก กลุ่มตัวอย่างละ 5 ห้องพัก ครอบคลุมตั้งแต่ระดับหัวหน้างานถึงคนงานก่อสร้าง ประกอบไปด้วยผู้พักอาศัยระดับวิศวกร พนักงาน โฟร์แมน คนงานก่อสร้างชาวไทยของบริษัท คนงานก่อสร้างชาวเมียนมาของบริษัท คนงานก่อสร้างชาวไทยของผู้รับเหมาช่วง และคนงานก่อสร้างชาวกัมพูชาของผู้รับเหมาช่วง หลังจากนั้นจึงนำผลสรุปมาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเสนอแนวทางการจัดการปัญหา และการต่อเติมที่พักอาศัยให้เพียงพอต่อผู้พักอาศัย ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่ลักษณะการใช้งานของผู้พักอาศัยจะกระทบต่อที่พักอาศัยชั่วคราวในระยะยาวกรณีที่ต้องเคลื่อนย้ายไปยังพื้นที่อื่นโดยวิธี เจาะ ยึด เชื่อมเข้ากับแผ่นสำเร็จรูปหรือโครงสร้างของที่พักอาศัยสำเร็จรูปคิดเป็นร้อยละ 74 คือ การต่อเติมดัดแปลงกันสาด ราวตากผ้า ทำFlashingกันน้ำบริเวณรอยต่อแผ่นผนังภายนอก การปิดช่องแสงบริเวณหน้าต่าง การติดตั้งชั้นวางของภายในห้องพักเข้ากับแผ่นผนังและติดตั้งวัสดุกั้นห้องบริเวณเหนือแผ่นผนังภายในแต่ละห้องพัก ซึ่งสาเหตุในการดัดแปลงที่พักอาศัยคือ 1.เพื่อเพิ่มพื้นที่พักอาศัยทั้งภายใน และภายนอกห้องพักคิดเป็นร้อยละ 50 2.เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากสภาพกายภาพเดิมซึ่งเกิดจากธรรมชาติคือแดด ฝน และแก้ปัญหาจากพฤติกรรมการใช้งานพื้นที่ไม่สอดคล้องต่อความต้องการของผู้พักอาศัยคิดเป็นร้อยละ 50 เมื่อศึกษาปัญหาทางกายภาพ และสังคมพบว่าการแก้ปัญหาของผู้พักอาศัยเกิดขึ้นจากความจำเป็น ที่ต้องดัดแปลงแก้ไขกายภาพ เพื่อให้ความเป็นอยู่ของผู้พักอาศัยเองดีขึ้น ซึ่งเกิดจากการใช้งาน และความต้องการของผู้พักอาศัย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการใช้งานในระยาวของที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปให้เกิดความเสียหายก่อนจะถึงจุดคุ้มทุนตามที่ผู้ประกอบการวางแผนไว้ จากการสรุปผลด้วยลักษณะการใช้งาน รูปแบบ ปัญหา และสาเหตุในการดัดแปลงพื้นที่มีความแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มตัวอย่าง ดังนั้นผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้างที่ต้องการนำที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปมาใช้งานเพื่อความสะดวก รวดเร็วในการก่อสร้าง และคุ้มทุนในระยะยาวควรคำนึงถึงพฤติกรรมการใช้งานรวมทั้งความต้องการของผู้พักอาศัย และในหน่วยงานก่อสร้างจะมีวัสดุเหลือใช้ หรือ วัสดุเสียหายจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถนำมาใช้ในงานก่อสร้างหลักได้ ผู้ประกอบการสามารถนำวัสดุดังกล่าวมาประยุกต์ใช้สำหรับที่พักอาศัยชั่วคราวสำเร็จรูปแบบถอดประกอบเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการสามารถนำข้อมูลไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาที่พักอาศัยชั่วคราว และเป็นแนวทางสำหรับหน่วยงานภาครัฐในการออกระเบียบ ข้อบังคับในการพักอาศัยชั่วคราว เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของพนักงาน และแรงงานก่อสร้าง ซึ่งจะเป็นแรงผลักดันให้ทำงานได้อย่างเต็มความสามารถ และส่งผลทางอ้อมในการยกระดับอุตสาหกรรมก่อสร้างต่อไป


การเปลี่ยนแปลงพื้นที่รอบสวนสนุกและผลกระทบจากธุรกิจสวนสนุกกรณีศึกษา ชะอำ - หัวหิน, ณฐพร โอ้อวด Jan 2020

การเปลี่ยนแปลงพื้นที่รอบสวนสนุกและผลกระทบจากธุรกิจสวนสนุกกรณีศึกษา ชะอำ - หัวหิน, ณฐพร โอ้อวด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สวนสนุกเป็นจุดหมายในการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมในหลายประเทศทั่วโลก สวนสนุกแห่งแรกในประเทศไทยเปิดให้บริการใน พ.ศ. 2519 โดยในช่วงแรกสวนสนุกมีการกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพมหานครและเมืองท่องเที่ยวหลัก ด้วยกระแสตอบรับที่ดีจากประชาชน ธุรกิจสวนสนุกได้เพิ่มจำนวนสวนสนุกมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีการกระจายตัวของที่ตั้งของธุรกิจสู่เมืองต่าง ๆ ในทุกภูมิภาคในประเทศ ในปัจจุบัน นอกเหนือจากการท่องเที่ยวทางธรรมชาติและวัฒนธรรมธุรกิจ สวนสนุกได้กลายเป็นกิจกรรมการท่องเที่ยวที่สำคัญที่ช่วยสร้างการเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่นได้ งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาผลกระทบจากธุรกิจสวนสนุกต่อพื้นที่รอบสวนสนุกโดยมีพื้นที่ศึกษา คือ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี และอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นเมืองท่องเที่ยวสำคัญที่มีการกระจุกตัวสูงที่สุดของสวนสนุกและสวนน้ำเป็นในประเทศไทย ผลการศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิและการสัมภาษณ์เชิงลึก สามารถแบ่งออกเป็น (1) ด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม และ (2) ด้านสังคมและเศรษฐกิจ ผลการศึกษาด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อมพบว่า สวนสนุกส่งผลให้พื้นที่โดยรอบเกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน มีการพัฒนากลายเป็นพื้นที่เมืองสูงขึ้น มีกิจกรรมของเมืองและการตั้งถิ่นฐานที่เพิ่มมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ ที่ส่งผลเชิงบวกและเชิงลบต่อพื้นที่ และผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคม พบว่า สวนสนุกได้ส่งผลทั้งทางตรงทางอ้อมต่อพื้นที่ โดยผลกระทบในทางตรง คือ การเป็นแหล่งงานที่สำคัญของผู้อยู่อาศัยในพื้นที่และการเพิ่มรายได้ในท้องถิ่นจากการท่องเที่ยว ส่วนผลกระทบทางอ้อม คือ การดึงดูดธุรกิจและกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับเข้ามาในพื้นที่โดยรอบ ส่งผลต่อเศรษฐกิจให้เศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น นอกจากนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ยังพบว่า ในปัจจุบัน การก่อสร้างและดำเนินกิจการสวนสนุกไม่จำเป็นต้องผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากผลการศึกษาของงานวิจัยที่แสดงให้เห็นถึงผลกระทบของสวนสนุกต่อพื้นที่โดยรอบและศักยภาพในการรองรับของพื้นที่ กระบวนการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของการพัฒนาสวนสนุกจึงควรได้รับการศึกษาเพิ่มเติมจากภาครัฐและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง


การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจากการวางแผนและผัง และการพัฒนาโครงการจริง บริเวณศูนย์กลางย่อยดงโดก นครหลวงเวียงจันทน์, ดาวเฮียง อินทะวง Jan 2020

การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจากการวางแผนและผัง และการพัฒนาโครงการจริง บริเวณศูนย์กลางย่อยดงโดก นครหลวงเวียงจันทน์, ดาวเฮียง อินทะวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ที่เกิดจากการวางแผนและผังและการพัฒนาโครงการจริง บริเวณศูนย์กลางย่อยดงโดก นครหลวงเวียงจันทน์ ที่เป็นการนำเสนอรูปแบบและลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ ด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบจากแผนและผังของมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ผังเมืองรวมนครหลวงเวียงจันทน์ และการพัฒนาโครงการจริงที่ไม่อยู่ในแผน โดยวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบและระบุการเปลี่ยนแปลงทางด้านกายภาพของศูนย์กลางย่อยดงโดก 2) เพื่อสรุปรูปแบบและลักษณะการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ศูนย์กลางย่อยดงโดก จากการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ ตามหน่วยงานต่างๆนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบ ด้วยเครื่องมือทางคอมพิวเตอร์ ขอบเขตเวลาศึกษาปี 1958 ถึงปี 2020 ผลการศึกษาพบว่า มีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในส่วนของแผนและผัง 4 สาเหตุได้แก่ 1)การวางแผนและผังของมหาวิทยาลัย 2)การวางแผนและผังของผังเมืองรวม 3)การพัฒนาถนนสายหลัก 4)โครงการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ส่วนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในการพัฒนาโครงการจริง 3 สาเหตุได้แก่ 1) การตั้งถิ่นฐานของประชาชน 2) การพัฒนาถนนสายรองและสายย่อย 3) การพัฒนาอาคารขนาดใหญ่ สรุปได้ว่า การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เกิดจากการวางแผนและผังเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่อย่างรวดเร็ว โดยมีลักษณะที่เกิดขึ้นเป็นไปตามแผนและผังที่เกี่ยวข้องกับการใช้ประโยชน์ที่ดินและระบบถนน ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพจากการก่อสร้างจริงที่ไม่เป็นไปตามแผนผัง ซึ่งมีลักษณะเป็นโครงการและการก่อสร้างของภาคเอกชนและประชาชนในส่วนของการตั้งถิ่นฐาน


ทุนทางสังคมกับการดำเนินธุรกิจร้านอาหารในช่วงภัยพิบัติ กรณีศึกษา ร้านอาหารหาบเร่แผงลอยในย่านเยาวราชในช่วงการระบาดของโรค Covid-19, พรพิมล โสรีกุล Jan 2020

ทุนทางสังคมกับการดำเนินธุรกิจร้านอาหารในช่วงภัยพิบัติ กรณีศึกษา ร้านอาหารหาบเร่แผงลอยในย่านเยาวราชในช่วงการระบาดของโรค Covid-19, พรพิมล โสรีกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการดำเนินธุรกิจและรูปแบบห่วงโซ่อุปทานของโครงข่ายกิจกรรมของร้านอาหารหาบเร่ แผงลอยในเมืองในช่วงเกิดภัยพิบัติโรคระบาด วิเคราะห์บทบาททุนทางสังคมในการดำเนินธุรกิจในช่วงภัยพิบัติโรคระบาดในเมือง และเสนอแนะแนวทางในการดำเนินธุรกิจร้านอาหารหาบเร่แผงลอยในช่วงภัยพิบัติโรคระบาดในเมือง โดยใช้พื้นที่ย่านเยาวราชเป็นพื้นที่ศึกษา ข้อมูลหลักของงานวิจัยเป็นข้อมูลปฐมภูมิจากแบบสอบถามจากผู้ค้าหาบเร่แผงลอยในพื้นที่บริเวณถนนเยาวราชช่วงเย็นจำนวน 58 ร้าน ระเบียบวิธีวิจัยหลักของงานวิจัยนี้คือการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา การประเมินระดับทุนทางสังคมและการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมของผู้ประกอบการร้านอาหารหาบเร่แผงลอยในเยาวราช การศึกษาพบว่า ผู้ประกอบการร้านอาหารหาบเร่ แผงลอยในพื้นที่เยาวราชช่วงการระบาดของโรค COVID-19 ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขลักษณะของร้านค้าตามมาตรการของภาครัฐที่กำหนดไว้ และการปรับการดำเนินธุรกิจโดยลดจำนวนวัตถุดิบลงเพื่อให้สอดคล้องต่อระยะเวลาขายและจำนวนผู้บริโภคที่น้อยลง ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจในเยาวราช นอกจากนั้น ผลการวิเคราะห์รูปแบบการใช้พื้นที่แสดงให้เห็นว่า การปรับเวลาในการดำเนินธุรกิจส่งผลกระทบอย่างมากในกระบวนการตั้งร้าน ปิดร้าน และเก็บของ ผลการประเมินทุนทางสังคมของร้านค้าในพื้นที่เยาวราชพบว่า ถึงแม้ว่าผู้ประกอบการร้านอาหารหาบเร่แผงลอยมีระดับทุนทางสังคมปานกลาง ธุรกิจร้านค้าหาบเร่ แผงลอยในเยาวราชมีความเข้มแข็งพอที่จะสามารถผ่านวิกฤติไปได้ เนื่องจากมีระดับมิติบรรทัดฐานที่สูง รวมถึงความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งระหว่างสมาชิกในร้านค้าเอง ร้านค้าใกล้เคียง และภาครัฐ (สำนักงานเขตสัมพันธวงศ์) ผ่านเครือข่ายทางสังคมของกลุ่มร้านค้าแบบพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเป็นหลัก ส่งผลให้เกิดการเพิ่มความเข็มแข็งของทุนทางสังคมในเยาวราชได้ นอกจากนี้ผู้วิจัยเสนอแนะว่า แนวคิดทุนทางสังคมยังสามารถนำมาใช้ร่วมกับหลักการของการจัดการการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ (area-based business continuity management) และหลักการมีส่วนร่วมที่สามารถสร้างความร่วมมือและความเข้าใจระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ตามบริบทของพื้นที่ ทำให้การแก้ปัญหาในพื้นที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เกิดภัยพิบัติ


พลวัตการให้บริการร้านอาหารในยุคดิจิทัล กรณีศึกษา ย่านอารีย์, ศุภาพิชญ์ อินทรสูต Jan 2020

พลวัตการให้บริการร้านอาหารในยุคดิจิทัล กรณีศึกษา ย่านอารีย์, ศุภาพิชญ์ อินทรสูต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจรับและส่งอาหาร (Food delivery) มีบทบาทกับการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการรับประทานของผู้บริโภค การดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการร้านอาหาร รวมถึงกิจกรรมของธุรกิจที่อยู่ในห่วงโซ่ธุรกิจรับและส่งอาหาร ในช่วงปีที่ผ่านมา การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ธุรกิจรับและส่งอาหารเติบโตอย่างรวดเร็ว เนื่องจากร้านอาหารไม่สามารถเปิดให้บริการหน้าร้านได้อย่างเต็มรูปแบบ ผู้บริโภคต้องใช้แอปพลิเคชันเพื่อสั่งอาหารและเพื่อลดความเสี่ยงในการเจอผู้คน การเติบโตของธุรกิจรับและส่งอาหาร ได้ส่งผลต่อการวิถีชีวิตของผู้คนและธุรกิจโดยเฉพาะในพื้นที่เมือง ดังนั้นงานวิจัยจึงมุ่งศึกษาเกี่ยวกับผลกระทบของธุรกิจรับและส่งอาหารต่อการเปลี่ยนแปลงภายในเมือง โดยใช้ย่านอารีย์เป็นพื้นที่ศึกษา งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบของธุรกิจรับและส่งอาหารต่อผู้ให้บริการร้านอาหารและผู้ใช้บริการร้านอาหารในแง่ของเศรษฐศาสตร์เมือง และนำผลการศึกษาไปวางแผนการจัดการย่านให้เหมาะสมกับเศรษฐกิจรูปแบบใหม่และวิถีชีวิตในยุคดิจิทัล วิธีการได้มาซึ่งข้อมูลเป็นการเก็บข้อมูลปฐมภูมิ ประกอบไปด้วย (1) การใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลของผู้ประกอบการร้านอาหาร และผู้ขับรับและส่งอาหาร (2) การลงสำรวจพื้นที่ศึกษาเพื่อดูการเปลี่ยนแปลงในระดับย่าน และ (3) การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการร้านอาหาร โดยข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการเก็บข้อมูลถูกนำมาประมวลผลด้วยการวิเคราะห์เชิงสถิติพรรณนา (Descriptive Statistics) ผลการศึกษาพบว่า การให้บริการผ่านทางแอปพลิเคชันสั่งอาหารส่งผลให้ขอบเขตพื้นที่ให้บริการ (Threshold) ของร้านอาหารกว้างขึ้น ทำให้ร้านอาหารมีโอกาสได้กำไรมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ประเภทธุรกิจของร้านอาหารมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขอบเขตพื้นที่ให้บริการและระยะทางในการเข้าไปใช้บริการร้านอาหาร (Range) เพิ่มมากขึ้น โดยพบว่าประเภทของอาหารมีความสัมพันธ์กับระยะทางในการส่งอาหาร ธุรกิจรับและส่งอาหารยังส่งผลให้ร้านอาหารสามารถเกิดขึ้นได้ทุกพื้นที่โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม โดยในปัจจุบัน ในพื้นที่อยู่อาศัยในย่านมีร้านอาหารเปิดใหม่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลกระทบต่อย่านอยู่อาศัย ในแง่ของการที่มีรถจักรยานยนต์รับส่งเข้าออกเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดการรบกวนผู้ที่อาศัย ดังนั้นการวางแผนและการจัดการพื้นที่เมืองให้เหมาะสมและทันสมัยกับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบจากเทคโนโลยี จึงเป็นสิ่งที่ภาครัฐและท้องถิ่นควรให้ความสำคัญ


พัฒนาการของการใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร (พ.ศ.2500-2563), วรวัณณี ลาภอำนวยเจริญ Jan 2020

พัฒนาการของการใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร (พ.ศ.2500-2563), วรวัณณี ลาภอำนวยเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พื้นที่สาธารณะเป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมหลากหลายของมนุษย์รวมไปถึงกิจกรรมการชุมนุมทางการเมืองเป็นกิจกรรมเกิดขึ้นบ่อยครั้งในกรุงเทพมหานครตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบประชาธิปไตย การใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองเริ่มขึ้นในปีพ.ศ.2500 มาจนถึงปัจจุบันและพบว่ามีการใช้พื้นที่สาธารณะหลายพื้นที่ หลายรูปแบบเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินทับซ้อนกิจกรรมอื่นส่งผลกระทบต่อพื้นที่รอบข้าง งานวิจัยนี้จึงศึกษาพัฒนาการของการใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองในกรุงเทพมหานคร ตั้งแต่พ.ศ.2500-2563 จากผลการศึกษาพบว่าประเภทของพื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ พื้นที่สาธารณะแบบเปิดโล่งและปิดล้อม อีกทั้งยังมีคุณลักษณะทางกายภาพที่มีผลต่อการใช้พื้นที่สาธารณะ 5 ประการ ได้แก่ ความเป็นสัญลักษณ์ชองพื้นที่ ตำแหน่งที่ตั้ง การเข้าถึง ขนาดของพื้นที่และรูปร่างของพื้นที่ จากการศึกษางานวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมืองในแต่ละช่วงเวลา เพื่อเป็นแนวทางให้กับเจ้าหน้าที่ดูแลพื้นที่สาธารณะและผู้จัดการชุมนุมทางการเมืองในอนาคตในการใช้พื้นที่สาธารณะสำหรับการชุมนุมทางการเมือง


Adaptation Strategies For Survival Of Hotel Business Entrepreneurs In Chiang Mai To Covid-19 Situation In 2020, Priya Paepuang Jan 2020

Adaptation Strategies For Survival Of Hotel Business Entrepreneurs In Chiang Mai To Covid-19 Situation In 2020, Priya Paepuang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to explore the adaptation strategies for the COVID-19 pandemic by hotel entrepreneurs in Chiang Mai. Data was mainly collected from 154 hotels categorized into 4 types by Department of Provincial Administration and Online Travel Agency (OTA). Data analysis was conducted through data collecting week-by-week from 1st February to 31st December 2020 and the relationship of measurements and adaptation indicators was diagrammed. Moreover, this research interviewed four entrepreneurs of hotel type 2 in two areas including Nimmanahaeminda Road and the Old town. There are three major findings: 1. The target group is different in different locations. For example, …


6 ทศวรรษของการพัฒนาเมืองใหม่และที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์, มณฑมาศ สวัสดิ์ธนาคูณ Jan 2020

6 ทศวรรษของการพัฒนาเมืองใหม่และที่อยู่อาศัยในสิงคโปร์, มณฑมาศ สวัสดิ์ธนาคูณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าในเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัยโดยภาครัฐ โดยใช้การพัฒนาเมืองใหม่เป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาประเทศ โดยการพัฒนาเมืองใหม่ต่อเนื่องมาอย่างยาวนานมากกว่า 60 ปี โดยการวางผังโครงการเมืองใหม่และการพัฒนาที่อยู่อาศัยของสิงคโปร์เป็นการวางผังที่สะท้อนนโยบายของรัฐบาลที่เปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละยุคสมัย งานวิจัยนี้จะมุ่งศึกษาพัฒนาการของการวางผังเมืองใหม่และที่อยู่อาศัยในประเทศสิงคโปร์ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งประเทศจนถึงปัจจุบัน โดยเป็นการวิจัยจากเอกสาร ผังโครงการเมืองใหม่ และรูปแบบหน่วยที่พักอาศัย รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ชำนาญการจากประเทศสิงคโปร์และไทย ผลการศึกษาพบว่า รัฐบาลสิงคโปร์มีการบรรจุแผนพัฒนาเมืองใหม่และนโยบายการพัฒนาประเทศไว้ในแผนพัฒนาชาติทุกฉบับ ตั้งแต่ฉบับที่ 1-8 (ค.ศ.1960-2000) มีการพัฒนาเมืองใหม่ทั้งหมด 23 เมือง โดยการพัฒนาเมืองใหม่จะมีการใช้ผังประเทศที่ถูกออกแบบโดยองค์กรพัฒนาเมือง (URA) เพื่อเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนาเมืองใหม่ ซึ่งสามารถแบ่งยุคพัฒนาการได้เป็น 3 ยุค ได้แก่ 1) ยุคที่ 1 (แผนฯ ฉบับที่ 1-2) ยุคของการสร้างชาติ การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยขาดแคลน และปัญหาเศรษฐกิจซบเซา สะท้อนลงมายังการวางผังที่มีสัดส่วนที่อยู่อาศัยและแหล่งงานอุตสาหกรรมภายในเมืองใหม่มากที่สุด แต่การวางผังเมืองใหม่ยังไม่พบระบบชุมชน หน่วยที่พักอาศัยในยุคนี้จึงมีความเรียบง่ายและมีตัวเลือกของหน่วยที่พักอาศัยเพียง 3 แบบเท่านั้น เพื่อการก่อสร้างที่รวดเร็วและประหยัด 2) ยุคที่ 2 (แผนฯ ฉบับที่ 3-5) ยุคของการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ผังเมืองใหม่มีพื้นที่สีเขียวที่มากขึ้นตามแนวคิด Garden City ของรัฐบาล และมีระบบชุมชนที่ชัดเจนขึ้น หน่วยที่พักอาศัยมีความหลากหลาย มีองค์ประกอบและขนาดพื้นที่ใช้สอยใหญ่ขึ้น และมีการออกแบบที่ทันสมัย 3) ยุคที่ 3 (แผนฯ ฉบับที่ 6-8) ยุคของความทันสมัยและเทคโนโลยี เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงแนวคิดจาก Garden City เป็นแนวคิด City In A Garden ซึ่งเป็นแนวคิดที่ให้ความสำคัญกับความเป็นเมืองและวิถีชีวิตที่ทันสมัย โดยสะท้อนมายังการวางผังเมืองใหม่ที่มีระบบชุมชนที่ชัดเจนอย่างมาก มีการวางผังระบบขนส่งมวลชน และการใช้เทคโนโลยีใหม่ในการก่อสร้าง รวมถึงการบูรณะเมืองใหม่ในยุคก่อนหน้าด้วย หน่วยที่พักอาศัยในยุคนี้จึงมีขนาดเฉลี่ยที่ใหญ่ขึ้น มีการออกแบบอย่างหรูหราและทันสมัย จากการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ลักษณะอาคารที่พักอาศัยจึงมีความแปลกใหม่จากเดิม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการก่อสร้าง สรุปได้ว่าการวางผังเมืองใหม่และการพัฒนาที่อยู่อาศัยในประเทศสิงคโปร์เป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีพัฒนาการสนองต่อแนวคิดและเป้าหมายของนโยบายตามแผนพัฒนาชาติ การวางผังเมืองใหม่ในประเทศสิงคโปร์จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาชาติตามแนวคิด “Housing A Nation, Building A City” โครงการที่อยู่อาศัยของสิงคโปร์จึงไม่เป็นเพียงการสร้างโครงการที่อยู่อาศัยแต่คือการพัฒนาเมืองทั้งเมือง บทเรียนนี้เป็นบทเรียนสำคัญต่อการพัฒนาที่อยู่อาศัยและการพัฒนาเมืองในประเทศไทยให้มีความประสานสอดคล้องกันและเป็นไปตามนโยบายการพัฒนาประเทศด้วย


กลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการโรงแรมที่ได้รับมาตรฐาน Sha ต่อผลกระทบ Covid-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2563, สุเมธ กมลศิริวัฒน์ Jan 2020

กลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการโรงแรมที่ได้รับมาตรฐาน Sha ต่อผลกระทบ Covid-19 ในเขตกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2563, สุเมธ กมลศิริวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้เกิดผลกระทบต่อธุรกิจโรงแรมโดยเฉพาะกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่หนึ่งที่ได้รับผลกระทบอย่างมาก โรงแรมหลายแห่งต้องปรับตัวในหลากหลายวิธี รวมถึงการเข้าร่วมการรับรองมาตรฐานป้องกัน COVID-19 ที่เรียกว่า Safety & Health Administration (SHA) งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษากลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการโรงแรมที่ได้รับมาตรฐาน SHA ต่อผลกระทบ COVID-19 ในเขตกทม. จำนวน 46 แห่ง โดยใช้วิธีการรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ของโรงแรม และเว็บไซต์ OTA ระหว่างเดือนมี.ค.-ธ.ค.2563 รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการโรงแรมกรณีศึกษา 3 แห่ง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีวิเคราะห์สถิติระดับราคาห้องพักและจำนวนวันปิด รวมถึงการถอดเทปคำสัมภาษณ์เพื่อวิเคราะห์คำสำคัญเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1) โรงแรมในกรุงเทพฯที่อยู่ในเขต CBD ต้องมีการปิดตัวชั่วคราวในช่วง มี.ค.-ธ.ค.63 คิดเป็นจำนวนวันที่ปิดประมาณ 34-50% ทั้งนี้โรงแรมขนาดใหญ่มีการปิดตัวชั่วคราวมากที่สุด และมีการลดราคาห้องพักเฉลี่ย 59% จากราคาปกติ ขณะที่โรงแรมขนาดเล็กมีการลดระดับราคาห้องพักเฉลี่ย 50% จากราคาปกติ 2) กลยุทธ์ที่โรงแรมทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็กนิยมใช้มากที่สุดคือ การขายห้องพักแบบมีส่วนลด อย่างไรก็ตามกลยุทธ์ด้านการขายอาหารและเครื่องดื่มและกลยุทธ์ด้านการให้บริการมีการใช้มากในโรงแรมขนาดใหญ่และขนาดกลางอันเนื่องมาจากความพร้อมในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก 3) กลยุทธ์การปรับตัวด้านกายภาพของโรงแรม มีการปรับใน 3 พื้นที่ คือ (1) พื้นที่ส่วน BOH (Back of the House) เช่น ครัว, ส่วนซักรีดมีการเปิดใช้อย่างต่อเนื่องเพื่อสร้างรายได้เข้าโรงแรม (2) พื้นที่ ส่วนห้องพักและพื้นที่ส่วนกลางเช่น ห้องอาหาร สระว่ายน้ำ มีการปิดชั่วคราวเพื่อลดการดูแลในช่วงที่จำนวนแขกเข้าพักมีน้อย (3) การปรับเปลี่ยนจากงานระบบเครื่องปรับอากาศขนาดใหญ่แบบรวม (Chiller Plant) แบ่งเป็นหลายๆเครื่องที่มีขนาดเล็กลง เพื่อลดภาระต้นทุนค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้า 4) การเข้าร่วมมาตรฐาน SHA อาจไม่ส่งผลโดยตรงต่อการบริหารโรงแรม แต่มีผลทางอ้อมในเชิงการรับรู้จากสาธารณะจากการได้รับการรับรองมาตรฐานโดยภาครัฐ นอกจากนี้ มาตรการของภาครัฐที่เกิดขึ้นแม้จะไม่ได้บังคับใช้กับโรงแรมในส่วนของห้องพัก แต่ก็มีผลทางอ้อมทำให้จำนวนผู้เข้าพักลดลงจนกระทั่งโรงแรมหลายแห่งต้องปิดตัวชั่วคราว สอดคล้องกับจำนวนวันปิดและการเปลี่ยนแปลงของราคาห้องพักที่ลดลงอย่างรุนแรงในช่วงที่เริ่มมีมาตรการปิดประเทศ งานวิจัยนี้ แสดงให้เห็นสถานการณ์และการปรับตัวของโรงแรมในเขต CBD ในกรุงเทพฯเพื่อรับมือกับสถานการณ์ COVID-19 ในช่วงปี 2563 ทั้งนี้ การปรับตัวที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นการใช้ทรัพยากรด้านกายภาพและการบริการของโรงแรมเพื่อสร้างรายได้และลดรายจ่าย แต่การปรับตัวดังกล่าวอยู่ในระยะสั้นซึ่งเป็นไปตามสถานการณ์และมาตรการภาครัฐ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อต่อผู้ประกอบการโรงแรมที่จะสามารถนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการเตรียมตัว อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือการนำข้อมูลไปเพื่อการวางแผนทั้งด้านการออกแบบพื้นที่และการบริหารจัดการโรงแรมในระยะยาวเพื่อรองรับวิกฤตที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต


การจัดการโครงการรูปแบบผสมช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระยะต้น: กรณีศึกษา โครงการวิซดอม 101 และโครงการ สามย่านมิตรทาวน์, สิริน เวชสุภัค Jan 2020

การจัดการโครงการรูปแบบผสมช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระยะต้น: กรณีศึกษา โครงการวิซดอม 101 และโครงการ สามย่านมิตรทาวน์, สิริน เวชสุภัค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ใน พ.ศ. 2562 ได้มีโรคระบาดใหม่เกิดขึ้น ซึ่งได้รับรายงานครั้งแรกจากนครอู่ฮั่น มณฑลหูเป่ย สาธารณประชาชนจีน โดยผู้ป่วยที่ได้รับเชื้อจะมีอาการ ไข้สูง ไอแห้ง และอ่อนเพลีย มีอาการปอดอักเสบโดยไม่ทราบสาเหตุ ต่อมาทางองค์การอนามัยโรคได้ประกาศชื่อโรคนี้อย่างเป็นทางการ ว่า COVID-19 (โควิด-19) หรือ “Coronavirus Disease 2019” การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้ส่งผลกระทบต่อภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะด้านการจัดการอาคารรูปแบบผสม ซึ่งอาคารรูปแบบผสมเป็นที่นิยมต่อนักพัฒาอสังหาริมทรัพย์ในด้านการคุ้มค่าต่อการลงทุน การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพกายภาพ และการจัดการอาคาร ความพึงพอใจต่อการจัดการอาคารของผู้ใช้อาคาร และเสนอแนวทางการจัดการอาคารรูปแบบผสมในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระยะต้น ผ่านการเก็บข้อมูลด้วยการ สำรวจอาคาร สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่บริหารอาคาร และ แจกแบบสอบถามผู้ใช้อาคาร โดยเลือกโครงการ วิซดอม 101 และโครงการสามย่านมิตรทาวน์ เนื่องจากเป็นโครงการรูปแบบผสมที่มีลักษณะทางกายภาพที่แตกต่างกันที่ตั้งอยู่ในสถานที่ในพื้นที่ในใจกลางเมือง และพื้นที่ชานเมือง ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยที่ก่อให้เกิดความพึงพอใจต่อการจัดการอาคารรูปแบบผสมในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระยะต้นมากที่สุด ได้แก่ การเว้นระยะห่างระหว่างบุคคลเพื่อลดความแออัด และความสะอาดของจุดสัมผัสร่วม ดังนั้นเพื่อเป็นแนวทางในการจัดการอาคารในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในระยะต้น สามารถดำเนินการโดยนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วย ในกาจัดการพื้นที่ ได้แก่ แอพพลิเคชั่นสำหรับจองพื้นที่ส่วนกลาง และที่ฝากของอัจฉริยะ เพื่อลดความแออัดในพื้นที่ส่วนด้านความสะอาดภายเพื่อลดการติดเชื้อในพื้นที่อาคารสามารถทำได้โดยการ เปลี่ยนระบบกล้องอ่านป้ายทะเบียน LPR ในลานจอดรถ แป้นเท้าเหยียบลิฟต์และแผ่นเพลทเหยียบประตูเพื่อลดการผัส การติดตั้งระบบยูวีในระบบแอร์รวม เพื่อฆ่าเชื้อไวรัสฯภายในอากาศ และและการใช้หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวี-ซี เพื่อทำการฆ่าเชื้อไวรัสฯบนพื้นผิวต่างๆ


การตรวจสอบการปะทะของแบบก่อสร้างโครงการอาคารชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูง ด้วยแบบจำลองสารสนเทศอาคาร, พิมพ์พร วิริยะกาล Jan 2020

การตรวจสอบการปะทะของแบบก่อสร้างโครงการอาคารชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูง ด้วยแบบจำลองสารสนเทศอาคาร, พิมพ์พร วิริยะกาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงเป็นอาคารประเภทที่มีข้อกฎหมายบังคับและกำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่เข้มงวด และเนื่องจากมีโปรแกรมการใช้งานหลากหลาย ทำให้มีความซับซ้อนด้านการออกแบบ รวมถึงมีผู้เกี่ยวข้องในโครงการหลากหลายส่วน จึงทำให้แบบก่อสร้างอาคารมักพบการปะทะของงานต่างๆ ซึ่งหากการปะทะดังกล่าวไม่ถูกแก้ไขตั้งแต่ช่วงก่อนการก่อสร้างจะส่งผลกระทบต่อโครงการในช่วงการก่อสร้าง ในขณะเดียวกัน แบบจำลองสารสนเทศอาคารเป็นแนวคิดที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ในกระบวนการออกแบบและก่อสร้างอาคาร รวมถึงการตรวจสอบการปะทะระหว่างหมวดงานต่างๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในข้อขัดแย้งที่มักพบในแบบก่อสร้างอาคาร จึงเป็นที่มาของการศึกษาการปะทะในแบบก่อสร้างโครงการอาคารชุดพักอาศัยด้วยแบบจำลองสารสนเทศอาคาร โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจำนวน 5 ศึกษาองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดการปะทะในแบบก่อสร้างโครงการ จัดทำตารางการปะทะระหว่างงานย่อยของแต่ละหมวดงาน ตรวจสอบการปะทะกับกลุ่มตัวอย่าง จัดกลุ่มการปะทะ วิเคราะห์ระดับผลกระทบของการปะทะที่เกิดขึ้นในกิจกรรมการก่อสร้างโครงการ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้วิเคราะห์เชิงสถิติ จัดอันดับการปะทะ สรุปผลการศึกษา และอภิปรายผลการศึกษา จากการศึกษาพบองค์ประกอบที่ก่อให้เกิดการปะทะในแบบก่อสร้างสามารถจำแนกออกเป็น 8 หมวดงานหลัก ได้แก่ หมวดงานสถาปัตยกรรมหลัก หมวดงานสถาปัตยกรรมภายใน หมวดงานภูมิสถาปัตยกรรม หมวดงานวิศวกรรมโครงสร้าง หมวดงานระบบสุขาภิบาล หมวดงานระบบดับเพลิง หมวดงานไฟฟ้าและสื่อสาร และหมวดงานระบบปรับอากาศและเครื่องกล จากการตรวจสอบการปะทะของกลุ่มตัวอย่างพบว่า ระดับชั้นพักอาศัยมีค่าเฉลี่ยของจำนวนการปะทะเป็นอันดับสูงสุดที่ 252,584.80 ข้อต่อโครงการ คิดเป็นร้อยละ 78.52 ของจำนวนการปะทะทั้งโครงการ จึงเป็นที่มาของการตรวจสอบการปะทะเฉพาะระดับชั้นพักอาศัย เนื่องจากการปะทะมีปริมาณสูงมากดังที่กล่าวข้างต้น จึงมีความจำเป็นต้องจัดกลุ่มการปะทะเพื่อรวบรวมการปะทะกันที่มีลักษณะเดียวกันไว้ด้วยกัน นอกจากนี้พบว่า การปะทะที่มีปริมาณสูงสุดสามอันดับแรกของระดับชั้นพักอาศัย คือ (1) การปะทะระหว่างงานผนังของหมวดงานสถาปัตยกรรมหลักและงานท่อของหมวดงานระบบสุขาภิบาล (2) การปะทะระหว่างงานผนังของหมวดงานสถาปัตยกรรมภายในและงานท่อของหมวดงานระบบสุขาภิบาล และ (3) การปะทะระหว่างงานฝ้าของหมวดงานสถาปัตยกรรมภายในและงานท่อของหมวดงานระบบสุขาภิบาล ตามลำดับ โดยมีค่าเฉลี่ยของจำนวนกลุ่มการปะทะอยู่ที่ 8.4 8.2 และ 5.4 กลุ่มต่อโครงการ ตามลำดับ โดยทั้งผู้รับจ้างก่อสร้างและผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยให้ค่าคะแนนระดับผลกระทบของการปะทะที่เกิดขึ้นในกิจกรรมการก่อสร้างโครงการในลักษณะเกาะกลุ่มกันในช่วง 2.33-3.71 คะแนน ซึ่งส่งผลให้เกิดการแก้ไขแบบ ใช้ระยะเวลาในการแก้ปัญหาเพิ่ม และทำให้เกิดเป็นค่าใช้จ่ายเพิ่ม แต่ไม่ทำให้ต้องหยุดกิจกรรมการก่อสร้าง ผลการศึกษานี้แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างอย่างแบบจำลองสารสนเทศอาคารในการตรวจสอบการปะทะของแบบก่อสร้างก่อนที่จะนำไปทำเป็นแบบขยายรายละเอียดในลักษณะ Shop Drawing เพื่อให้ผู้รับจ้างก่อสร้างและผู้ควบคุมงานก่อสร้างอาคารชุดพักอาศัยตระหนักถึงการปะทะที่ได้จากแบบก่อสร้างของกลุ่มตัวอย่างและนำไปพิจารณารายละเอียดการก่อสร้างต่อ ทำให้ลดความเสี่ยงและความรุนแรงของผลกระทบทั้งด้านคุณภาพ ระยะเวลา และต้นทุนค่าก่อสร้างโครงการในช่วงการก่อสร้าง ซึ่งส่งผลดีต่อผู้รับจ้างก่อสร้าง บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ตลอดจนลูกค้าโครงการ


การปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเชิงกายภาพของอพาร์ทเมนต์โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมนวนคร กรณีศึกษา : หมู่บ้านนครชัยมงคลวิลล่า จังหวัดปทุมธานี, ณัฐพล กิตติธนนิรันดร์ Jan 2020

การปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเชิงกายภาพของอพาร์ทเมนต์โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมนวนคร กรณีศึกษา : หมู่บ้านนครชัยมงคลวิลล่า จังหวัดปทุมธานี, ณัฐพล กิตติธนนิรันดร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อพาร์ทเมนต์โดยรอบนิคมอุตสาหกรรมนวนคร ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับความต้องการที่พักอาศัยของพนักงานโรงงานภายในนิคมอุตสาหกรรมที่มีจำนวนมาก เนื่องจากจำนวนผู้พักอาศัยจำนวนมาก ส่งผลต่อปัญหาความแออัด สภาพอาคาร การบริหารจัดการและคุณภาพชีวิตของผู้พักอาศัย ทำให้ต้องมีการปรับปรุงและแก้ไขปัญหาเชิงกายภาพอย่างเหมาะสม หมู่บ้านนครชัยมงคลวิลล่า ซึ่งเป็นชุมชนที่เต็มไปด้วย อพาร์ทเมนต์เอกชน ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อรองรับพนักงานโรงงาน ด้วยระดับราคาและทำเลที่ตั้ง โดยอยู่ใกล้กับบริเวณทิศใต้ของนิคมอุตสาหกรรม นวนคร ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาปัญหาด้านกายภาพและวิธีการแก้ไขปัญหาของอพาร์ทเมนต์ ด้วยการสำรวจ,สังเกต และสัมภาษณ์ผู้ประกอบการของอพาร์ทเมนต์ เพื่อรวบรวมข้อมูลด้านกายภาพของอาคาร, พฤติกรรมการใช้งานพื้นที่, การดูแลรักษาอาคาร และประเมินปัญหาด้านกายภาพ จากผลการศึกษาพบว่า สภาพอาคารเสื่อมโทรมจากอายุของอาคาร และการใช้งาน ได้แก่ สภาพของสีและเปลือกอาคารภายนอก มีรอยแตกร้าวและสีร่อน สภาพภายในพบว่า มีรอยแตกร้าวของวัสดุปิดผิวตามพื้น ผนัง และกระเบื้องบริเวณทางเดินภายใน โถงทางเข้าพบว่าบางอาคารมีการนำรถจักรยานยนต์ขึ้นมาจอด เนื่องจากมีที่จอดจักรยานยนต์ไม่เพียงพอ ทำให้สัญจรได้ไม่เต็มพื้นที่ การตั้งร้านค้าด้านหน้าในช่วงเวลา 8:00 และ 17:00 น. เกิดการกั้นพื้นที่บริเวณทางเดิน และด้านหน้าอาคาร ส่งผลให้ทางเดินและที่จอดรถยนต์ไม่สามารถใช้งานได้ โดยร้านค้าที่ขายอาหาร ก่อให้เกิดปัญหาเรื่องกลิ่น ควัน เข้าไปยังตัวอาคาร และสร้างขยะปริมาณมาก ส่งผลต่อสภาพแวดล้อม และพื้นที่ทิ้งขยะไม่เพียงพอ นอกจากนี้ยังพบว่าบางอาคารอนุญาตให้ผู้เช่าร้านค้าต่อเติมพื้นทางเดินหน้าร้าน และหลังคา โดยไม่ได้มีการกำหนดวัสดุและความสูง ส่งผลให้ทางเดินภายในมีหลายระดับ และหลายวัสดุ ทำให้ยากต่อการใช้งาน และแม่บ้านไม่สามารถทำความสะอาดได้ ระบบประกอบอาคาร มีปัญหาด้านแสงสว่างทางเข้า เนื่องจากมีขนาดเล็กและไม่มีช่องเปิด ระบบน้ำเนื่องจากไม่ได้มีการเตรียมพื้นที่สำหรับตั้งเครื่องกดน้ำ และเครื่องซักผ้า ทำให้ต้องต่อท่อลอย และจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับการบำรุงรักษาท่อโดยรอบอาคารเป็นพิเศษเพื่อป้องกันท่อตันและรั่ว หรือปัญหาเกี่ยวกับถังแซ็กใต้อาคาร ในด้านของการออกแบบพบว่าอาคารไม่ได้ถูกเตรียมพร้อมสำหรับการใช้งานหลายจุด ได้แก่ พื้นที่สำหรับตั้งตู้กดน้ำ, เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ และพื้นที่จอดรถยนต์และจักรยานยนต์ การเว้นระยะร่นด้านข้างและหลังอาคาร รวมถึงการออกแบบพื้นที่ทิ้งขยะแบบปล่อง ส่งผลให้ อพาร์ทเมนต์ที่ไม่ได้เตรียมพื้นที่ไว้ จำเป็นต้องต่อเติมตัวอาคารตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของผู้พักอาศัย และเกิดปัญหาด้านกายภาพตามมา การบริหารจัดการของอพาร์ทเมนต์ พบว่ามีความแตกต่างกันตามแนวคิดของผู้ประกอบการ ได้แก่ 1. การซ่อมบำรุงโครงสร้าง พบว่ามีการตรวจสอบโครงสร้างอาคารและปรับปรุงต่อเติมอาคาร ขึ้นอยู่กับปัญหาที่พบจากอายุอาคารและความต้องการของผู้พักอาศัยที่ทำให้ต้องมีการซ่อมบำรุงและต่อเติม เพื่อให้ใช้งานได้เหมือนเดิมหรือตอบสนองกับปัญหาตามความเหมาะสม 2. การซ่อมบำรุงด้านงานสถาปัตยกรรม พบว่า 2 ใน 5 อาคาร ให้ความสำคัญกับงานพื้น ทางเข้า ทางเดิน และมีการทาสีภายนอกเพื่อให้ผิวอาคารภายนอกดูใหม่และสวยงาม 1 ใน 5 ต่อเติมหลังคาโดยผู้ประกอบการ นอกจากนี้ด้านงานฝ้าเพดาน, การให้แสงสว่าง, …


การพัฒนาที่พักประเภทโรงแรมในอุตสาหกรรมไมซ์ (Mice) ภายใต้แนวคิดท้องถิ่นนิยม (Localization): กรณีศึกษา ฮอริซัน วิลเลจ รีสอร์ต จังหวัดเชียงใหม่, ปรัชกร วันทา Jan 2020

การพัฒนาที่พักประเภทโรงแรมในอุตสาหกรรมไมซ์ (Mice) ภายใต้แนวคิดท้องถิ่นนิยม (Localization): กรณีศึกษา ฮอริซัน วิลเลจ รีสอร์ต จังหวัดเชียงใหม่, ปรัชกร วันทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ธุรกิจโรงแรมมีความสำคัญอย่างมากต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ โรงแรมในอุตสาหกรรมไมซ์ ที่นำแนวคิดท้องถิ่นนิยมมาใช้ ไม่เพียงแต่สร้างรายได้ให้กับการท่องเที่ยวแต่ยังเป็นการพัฒนาชุมชนไปด้วย ในจังหวัดเชียงใหม่มีโรงแรมอุตสาหกรรมไมซ์ขนาดใหญ่ที่นำแนวคิดท้องถิ่นนิยมมาใช้มี 4 แห่ง โดยโรงแรม ฮอริซัน วิลเลจ ได้รับการรับรองมาตรฐานสถานที่จัดงานในประเทศไทย (TMVS) จึงเป็นกรณีศึกษาด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่น่าสนใจมาก โดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา แนวคิด กระบวนการการพัฒนา และผลที่ได้รับ เพื่อวิเคราะห์ข้อดีและข้อจำกัดในการพัฒนาโรงแรมในอุตสาหกรรมไมซ์ ที่นำแนวคิดท้องถิ่นนิยมมาใช้ เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะ โดยใช้วิธีการศึกษาจากเอกสาร การสำรวจ สังเกต และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ และผู้ชำนาญการ ผลจากการศึกษาพบว่า การนำแนวคิดท้องถิ่นนิยมมาใช้กับอุตสาหกรรมไมซ์ของโรงแรม ฮอริซัน วิลเลจ รีสอร์ต ที่มีการดำเนินงานตั้งแต่ปี พ.ศ.2549-2562 รวมทั้งหมด 13 ปี การพัฒนาตามกระบวนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีการพัฒนาทั้งหมด 6 ครั้ง และมีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญทั้งหมด 4 ช่วง คือ 1) ก่อนการพัฒนาโครงการ (พ.ศ.2522-2549) ผู้ประกอบการใช้เวลาสะสมที่ดินตลอดเวลา 15 ปี เพื่อพัฒนาการเกษตร จนในปีพ.ศ.2546 ผู้ประกอบการได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จ สมเด็จพระเทพฯ พระองค์ทรงมีรับสั่งแนะนำแนวทางที่มีประโยชน์ในการพัฒนาหลายประการ ประกอบกับผู้ประกอบการมีความประสงค์ที่จะตอบแทนคุณแผ่นดิน จึงเป็นที่มาและแรงบันดาลใจสำคัญที่เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาโครงการ 2) ช่วงก่อตั้งโครงการ (พ.ศ. 2549-2552) เป็นช่วงที่วางรากฐานแนวความคิดและกำหนดทิศทางในการพัฒนาโรงแรมในอุตสาหกรรมไมซ์โดยเริ่มนำแนวคิดท้องถิ่นนิยมมาใช้ 3) ช่วงการเติบโตของการท่องเที่ยว (พ.ศ. 2556-2557) นักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีนเข้ามาจำนวนมาก ผู้ประกอบการตัดสินใจลงทุนพัฒนาโรงแรมเป็นโรงแรมขนาดใหญ่ มีห้องประชุมรองรับได้ตั้งแต่ 20-800 คน ส่งผลให้โรงแรมได้รับการรับรองมาตรฐานการจัดงานระดับสากล (TMVS) และต่อยอดการพัฒนาบุคลากรท้องถิ่น 4) ช่วงพัฒนาการบริหารภายในองค์กร (พ.ศ. 2560-2562) ทายาทของผู้ประกอบการ จบการศึกษาด้านการโรงแรม และกลับมาบริงานอย่างเต็มตัว และพัฒนาต่อยอดแนวความคิดท้องถิ่นนิยมด้วยการตลาดสมัยใหม่ แนวคิด และ เทคโนโลยี โดยนำเสนอความเป็นท้องถิ่นสู่ไมซ์ในระดับสากล ด้วยการร่วมมือกับภาครัฐฯ และเอกชน รวมถึงชุมชนโดยรอบ ผลจากการดำเนินงาน ฮอริซัน วิลเลจ พัฒนาโดยการปลูกฝัง และบ่มเพาะแนวความคิด ควบคู่ไปกับการดำเนินงานโดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์ และปัจจัยส่งเสริมในการตัดสินใจลงทุนที่เหมาะสม นำไปสู่การค้นหาตัวตนเพื่อสร้างจุดขายในความเป็นท้องถิ่น และนำเสนอสู่ความเป็นสากล โดยเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มคุณค่าให้กับโรงแรม …