Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 55

Full-Text Articles in Architecture

3d Printing Concrete Structures And Verifying Integrity Of Their G-Code Instructions: Border Wall A Case Study, Jason Breland Dec 2017

3d Printing Concrete Structures And Verifying Integrity Of Their G-Code Instructions: Border Wall A Case Study, Jason Breland

Dissertations

Thanks to advances in Additive Manufacturing (AM) technology and continued research by academics and entrepreneurs alike, the ability to “3d print” permanent concrete structures such as homes or offices is now a reality. Generally, AM is the process that allows for a 3d model of an object to be converted into hardware instructions to generate that object layer by layer using a malleable medium such as a plastic. Specifically, large scale concrete AM can now generate a structure, such as a building, layer by layer more quickly and efficiently than traditional construction methods [6, 39]. This innovative, semi-autonomous process promises …


Integral Perspectives, Henry Brian Cheek Aug 2017

Integral Perspectives, Henry Brian Cheek

Masters Theses

Integral Perspectives is a method to architectural design that encompasses four different approaches. The four approaches, or perspectives, I chose to focus on include: Cultural, Experiential, Performance, and Systems. Designing with each of these perspectives in mind, I intend to create a more holistic and integral design solution. My thesis explores this methodology using the affordable housing crisis in Nashville, TN.


Logistical Bodies Of Fulfillment, Michael Steven Frush Aug 2017

Logistical Bodies Of Fulfillment, Michael Steven Frush

Masters Theses

existence occurs in a spatial assembly of multiple scalar experiences that is intensified and brought to perception by the exponential advancement of a virtual extension.

the physical realm that human cognition experiences acts as a bound container influenced by natural law and trusted forces. the virtual realm exists as a medium through which linkages are made that suppose unseen law, forces, and connections. the human existence experiences an interface between the multiplicities of the physical and the virtual. as technologies advance exponentially the recognition of a multiple temporality is intensified by digital networks and spatial extensions. the trusting of physical …


Z-Cube: Mobile Living For Feminist Nomads, Zi Ye Jul 2017

Z-Cube: Mobile Living For Feminist Nomads, Zi Ye

Masters Theses

Homes proclaim our social standing and reflect the trend of the times. This project seeks to explore and redefine the relationship between modern homes and modern women who strive for mobile life styles.

Modernism and globalization have brought us a new way of living that could have never been imagined before— our workspace and homes are no longer limited to a specific unit but have extended to the entire globe. The physical changes compelled by modernity have also complemented the changing role of women. Since the beginning of the 20th century, modern women have expanded their lives outside of their …


Mt Carmel Shade Structure, Julian Reyes, Sonny Moraga, Adam Maclean, Christopher Carter Jun 2017

Mt Carmel Shade Structure, Julian Reyes, Sonny Moraga, Adam Maclean, Christopher Carter

Architectural Engineering

A team of for students designed and constructed a shade structure for a local church and day care center. The group was responsible for developing a design which addressed the needs of the congregation as well as the needs of the toddler day care center. The team developed a steel framed scheme with a panelized metal roof which provided a long lasting solution and minimal maintenance costs.


Speculations On A City For Mars, Edouard Terzis May 2017

Speculations On A City For Mars, Edouard Terzis

School of Architecture - Theses

This thesis proposes the reinterpretation of architectural forms as the index of the constitution of the idea of the city. “Speculations on a City on Mars” is paradoxical in a sense as it superposes both the managerial representation of a city, that is Zoning, along with the speculative aspect of an extra-terrestrial city.


Offshore R+D Facility, Philip A. Marble May 2017

Offshore R+D Facility, Philip A. Marble

Bachelor of Architecture Theses - 5th Year

Design a Research + Development facility that merges with a functional Oil Rig. This center will house both a Marine Research Center and Oil rig Research + Development center. Both of these facilities will be in a separate structure than the Oil Rig but will have a connection back to the Living Quarter.


Constructed Reality: A Study In Spatial Perception Through Virtual Reality, Jose P. Rodriguez May 2017

Constructed Reality: A Study In Spatial Perception Through Virtual Reality, Jose P. Rodriguez

Bachelor of Architecture Theses - 5th Year

Architecture often begins explorations that lead into various modes of end products. These modes of production and representation could often embed traces that shape the outcome of the design. In his book, “Architectural Representation and The Perspective Hinge.”, Alberto Perez Gomez says that “Architects do not produce Buildings but instead produce images of buildings.” These representational images are an expression of an idea or design. Historically, representation began in static two-dimensions. By bridging into digital environments, these representations become more dynamic. As computing power increases and software broadens, the use of virtual reality environments and immersion simulations are becoming more …


Operational Jakarta: The Problem Of Representation, Kevin Patrick Jeffers May 2017

Operational Jakarta: The Problem Of Representation, Kevin Patrick Jeffers

Masters Theses

As the twenty-first century unfolds with newly formed degrees of hypercomplex interactions and reactions amongst space, time, economy, politics, social dynamics, and cultural paradigms, we are observing new typologies of urbanism that are different in kind, rather than degree, from the previous “urban” upon which the vast majority of present theoretical and practical discourse has been based. The techniques, strategies, and methodologies of the twentieth-century no longer serve to adequately represent or to explain the phenomena of today’s incipient mega-cities. A new vocabulary must be developed. A new way of seeing is required in order to understand and therefor to …


Lateral Strength And Ductile Behavior Of A Mortise-Tenon Connected Timber Frame, Alexandros Kouromenos Mar 2017

Lateral Strength And Ductile Behavior Of A Mortise-Tenon Connected Timber Frame, Alexandros Kouromenos

Master's Theses

The primary goals of this project were to examine the amount of lateral force resisted by a single-bay mortise-tenon connected timber moment frame, and to introduce ductile behavior into the mortise-tenon connections by adding a steel sleeve around a traditional wood peg. This research aimed to provide proof that traditional timber frames are capable of ductile racking while reliably complying with ASCE 7-10 building code drift speci! cations, implying an increase in the ASCE 7-10 ductility factor (R) for wood frames when used as lateral force resisting elements. A secondary goal was to promote traditional heavy timber framing as a …


ประสิทธิภาพการลดภาระการทำความเย็นภายในอาคารสำนักงาน โดยการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยบนผิววัสดุ, กิติสรา ปั้นประสม Jan 2017

ประสิทธิภาพการลดภาระการทำความเย็นภายในอาคารสำนักงาน โดยการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยบนผิววัสดุ, กิติสรา ปั้นประสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้านความร้อนของผนังทึบที่มีการติดตั้งแผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำบนผิววัสดุ โดยเน้นศึกษาการลดการสะสมความร้อนบนผิววัสดุที่ส่งผลให้เกิดเกาะความร้อนเมือง จากการใช้แผงกันแดดที่มีหน้าที่เป็นอุปกรณ์ป้องกันความร้อนจากแสงอาทิตย์มารวมเข้ากับการใช้การระเหยของน้ำเพื่อลดอุณหภูมิบนผิววัสดุที่ใช้ทำแผงกันแดด โดยงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้แผงกันแดดดินเผาที่หาซื้อได้ง่ายในประเทศไทย อีกทั้งยังมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำไว้ในเนื้อวัสดุเพื่อนำมาใช้ในการระเหยบนผิววัสดุได้อีกด้วย โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง กำหนดให้มีการสร้างกล่องทดลองไปวางในสถานที่จริงและทำการเก็บข้อมูลโดยการวัดค่าอุณหภูมิและนำไปคำนวณหาค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายเทความร้อนรวม (Ueff) ของผนังอาคารที่มีการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยน้ำ และแบบแผงกันแดดดินเผาทั่วไป ลงในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ VisualDOE 4.1 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพด้านพลังงานตลอดทั้งปีของอาคารสำนักงานขนาดกลางที่มีการใช้งานในเวลากลางวัน ผลการศึกษาพบว่า การใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยน้ำบนผิวจะสามารถทำให้อุณหภูมิบนผิววัสดุลดต่ำกว่าแบบแผงกันแดดทั่วไปเฉลี่ยที่ 5.7 องศาเซลเซียส และมีประสิทธิภาพในการลดอุณหภูมิอากาศเมื่ออากาศไหลผ่านแผงดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำเฉลี่ยอยู่ที่ 4.7 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ยังพบว่าการใช้แผงกันแดดดินเผาร่วมกับการระเหยของน้ำนั้นสามารถลดอุณหภูมิอากาศกึ่งกลางกล่องทดลองได้มากกว่ากล่องที่ไม่มีแผงกันแดดอยู่ที่ 6.6 องศาเซลเซียส ซึ่งส่งผลให้เกิดการประหยัดพลังงานการใช้ไฟฟ้าในอาคารสำนักงานได้ถึง 4.47% ต่อปี และ 4.30% ต่อปีสำหรับพลังงานด้านการทำความเย็นแก่อาคาร


แนวทางการออกแบบการส่องสว่างปราสาทหิน กรณีศึกษา อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย, กิตติ กิจศิริกุล Jan 2017

แนวทางการออกแบบการส่องสว่างปราสาทหิน กรณีศึกษา อุทยานประวัติศาสตร์พิมาย, กิตติ กิจศิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่การออกแบบการส่องสว่างปราสาทหิน ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พิมาย โดยเริ่มต้นจากการทบทวนวรรณกรรม การสำรวจสถานที่จริงและการสัมภาษณ์นักออกแบบการส่องสว่างอาชีพ เพื่อหาข้อพิจารณาในการส่องสว่างโบราณสถาน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สำหรับใช้ในการออกแบบ ผลจากการสัมภาษณ์พบว่า ข้อควรพิจารณาในการออกแบบการส่องสว่างโบราณสถาน ได้แก่ ลำดับความสำคัญของสถาปัตยกรรม อุณหภูมิสีของแสง องค์ประกอบสำคัญของสถาปัตยกรรม และภูมิทัศน์ นอกจากนี้ยังควรคำนึงถึงเทคนิคการติดตั้งดวงโคมที่ไม่ทำให้โบราณสถานเสียหายและไม่ควรเห็นดวงโคมเด่นชัดอีกด้วย หลังจากทำการออกแบบตามขั้นตอนที่พัฒนาจากการทบทวนวรรณกรรมและการสัมภาษณ์แล้ว จึงนำภาพผลงานการออกแบบไปสอบถามนักออกแบบการส่องสว่างจำนวน 10 รูปแบบ ด้วยแบบสอบถามประเมินการรับรู้ ด้วยคำคู่ตรงข้าม 5 ด้าน พบว่า ภาพชุดที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดในทุกด้าน คือ การส่องสว่างแบบสาดโดยไล่ระดับความสว่างร่วมกับการใช้อุณหภูมิสีของแสงที่ส่งเสริมสีของวัสดุ เน้นให้สถาปัตยกรรมสำคัญโดดเด่นที่สุด และเน้นองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมด้วยแสงสีโทนอุ่น ส่วนภาพชุดที่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุดในทุกด้าน คือ การส่องสว่างแบบสาดทั่วทั้งโบราณสถานที่ระดับความสว่างต่ำสุด สามารถสรุปเป็นแนวทางการออกแบบการส่องสว่างปราสาทหินได้เป็น 4 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การส่องสว่างแบบสาดทั่วทั้งโบราณสถาน โดยระดับความสว่างขึ้นอยู่กับบริบทโดยรอบ 2) การเน้นลำดับความสำคัญของสถาปัตยกรรมหลัก-รองโดยใช้ระดับความส่องสว่างและอุณหภูมิสีที่แตกต่างกัน 3) การส่องเน้นองค์ประกอบย่อยให้ชัดเจนขึ้น และ 4) การส่องสว่างภูมิทัศน์โดยรอบโบราณสถาน


การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป: การออกแบบบ้านเดี่ยว, ชนิกา รักษากุล Jan 2017

การก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป: การออกแบบบ้านเดี่ยว, ชนิกา รักษากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์จะศึกษาสภาพและปัญหาที่เกิดขึ้นในการออกแบบบ้านเดี่ยวที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยเลือกบ้านภัสสร ของบริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด(มหาชน) เป็นกรณีศึกษา เพื่อเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมในการออกแบบบ้านเดี่ยวที่ก่อสร้างด้วยชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป บ้านภัสสร มีขนาดพื้นที่ใช้สอย 120 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องนอน 3 ห้อง ห้องน้ำ 2 ห้อง และที่จอดรถยนต์ 2 คัน เป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น สร้างโดยใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป รวม 47 ชิ้น แบ่งเป็นชิ้นส่วนผนัง จำนวน 35 ชิ้น ชิ้นส่วนพื้น จำนวน 7 ชิ้น และชิ้นส่วนคาน จำนวน 5 ชิ้น บ้านภัสสรในแต่ละโครงการ จะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบของชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ได้แก่ ขนาดช่องเปิด การเซาะร่อง และทำสีบนแผ่นผนัง ฯลฯ ปัญหาที่พบ คือ ชิ้นส่วนแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป จำนวน 35 ชิ้น มีรูปแบบแตกต่างกันถึง 32 รูปแบบ ขนาดของแต่ละชิ้นส่วนแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย มีปัญหาแตกหักของชิ้นส่วนที่มีระยะริมช่องเปิดน้อย และการรั่วซึมบริเวณรอยต่อระหว่างชิ้นส่วน เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว ในขั้นตอนของการออกแบบ ควรใช้ระบบการประสานทางพิกัด เพิ่มระยะริมช่องเปิดไม่น้อยกว่า 60 ซม. ที่จะสอดคล้องกับขนาดของตะแกรงเหล็กเสริม การยื่นแผ่นผนังและการใช้วัสดุตกแต่งอื่น มาปิดทับรอยต่อ เพื่อปกป้องการรั่วซึม ทั้งนี้ ในการปรับเปลี่ยนรูปแบบของบ้าน สามารถใช้วัสดุอื่นเข้ามาตกแต่งเพิ่ม เช่น ไฟเบอร์ซีเมนต์ จีอาร์ซี เป็นต้น นอกจากนี้ยังสามารถคงรูปแบบและจำนวนของชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยใช้วิธีปรับเปลี่ยนเฉพาะบริเวณส่วนหน้าได้


สัณฐานการเปลี่ยนแปลงชุมชนและอุตสาหกรรมประมงบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน พื้นที่ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร, ชลัมพล ธาวนพงษ์ Jan 2017

สัณฐานการเปลี่ยนแปลงชุมชนและอุตสาหกรรมประมงบริเวณริมแม่น้ำท่าจีน พื้นที่ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร, ชลัมพล ธาวนพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชุมชนและอุตสาหกรรมประมงริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร ในอดีตเป็นชุมชนประมงริมแม่น้ำที่มีความสัมพันธ์ระหว่างผู้คนและแม่น้ำที่เหนียวแน่นทั้งการอยู่อาศัยและการทำประมง แต่ปัจจุบันความสัมพันธ์เหล่านี้ถดถอยลงเนื่องจากถูกแทรกแซงจากปัจจัยต่างๆ ทำให้พื้นที่ริมน้ำถูกทิ้งร้าง จึงเป็นที่มาของการศึกษาครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชนและพื้นที่ริมน้ำ 2) ศึกษาพัฒนาการของการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของการทำประมงและการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชนและพื้นที่ริมแม่น้ำท่าจีน ตำบลมหาชัย ตำบลท่าฉลอม และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาครโดยทำการศึกษาจากการรวบรวมข้อมูลเอกสารเกี่ยวกับความเป็นมาของพื้นที่และการสำรวจการประกอบอาชีพ เพื่อพิจารณาการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชุมชน คัดเลือกพื้นที่เพื่อทำรูปตัดแสดงการเปลี่ยนแปลงการใช้งานพื้นที่ริมน้ำโดยเก็บข้อมูลจากการรังวัดและสัมภาษณ์เจ้าของพื้นที่ นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกับข้อมูลการพัฒนาการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีน เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของการทำประมงริมแม่น้ำท่าจีนและสัณฐานการเปลี่ยนแปลงชุมชนและพื้นที่ริมน้ำ ตำบลท่าฉลอม ตำบลมหาชัย และตำบลโกรกกราก จังหวัดสมุทรสาคร ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 4 ช่วงเวลาได้แก่ 1) ยุคสังคมพื้นบ้าน ก่อนปีพ.ศ. 2504 2) ยุคพัฒนาอุตสาหกรรม ปีพ.ศ. 2504 - พ.ศ. 2525 3) ยุคอุตสาหกรรมประมงซบเซา ปีพ.ศ. 2525 - พ.ศ. 2558 4) ยุคจัดระเบียบการทำประมง ปีพ.ศ. 2558 - ปัจจุบัน โดยการพัฒนาการทำประมงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันได้ส่งผลถึงการตั้งถิ่นฐาน วิถีชีวิตริมน้ำ และลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ริมน้ำดังนี้ 1) การทำประมง เปลี่ยนจากการทำประมงพื้นบ้านมาสู่การทำอุตสาหกรรมประมงและเกิดอุตสาหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำประมง ต่อมาการทำประมงประสบภาวะซบเซาเนื่องจากการประกาศข้อตกลงทางทะเลจนถูกจำกัดการทำประมงในปัจจุบัน ซึ่งเป็นผลจากการจัดระเบียบการทำประมง 2) การตั้งถิ่นฐาน มีการตั้งถิ่นฐานอย่างหนาแน่นบริเวณพื้นที่ริมน้ำตำบลท่าฉลอมและขยายตัวมายังฝั่งตำบลมหาชัยและตำบลโกรกกราก จนภายหลังมีการกระจายตัวออกไปจากพื้นที่ตามแนวเครือข่ายถนน และในปัจจุบันอุตสาหกรรมต่างๆ ที่ตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ริมน้ำต้องเลิกกิจการเพราะการหยุดชะงักของการทำประมง 3) วิถีชีวิตริมน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงจากอดีตที่เคยมีความสัมพันธ์ของผู้คนและแม่น้ำในการทำประมง การเดินทาง และการขนส่ง ต่อมาพื้นที่ริมน้ำมีความสำคัญต่อการขนส่งสินค้ามากขึ้นในช่วงที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรม จนในช่วงที่การทำประมงซบเซาทำให้บทบาทของแม่น้ำทั้งในแง่การเดินทางและขนส่งสินค้ามีความสำคัญลดลง จนกระทั่งหมดไปในปัจจุบันเนื่องจากมีการพัฒนาถนนและเกิดปัญหาในการทำประมง 4) ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ริมน้ำ มีการเปลี่ยนแปลงจากในอดีตซึ่งใช้สะพานไม้ขนาดเล็กในการขนส่งสินค้าและซ่อมแซมเครื่องมือประมง มีการทำประมงตามพื้นที่ริมตลิ่ง และพัฒนาเป็นท่าเทียบเรือที่มีประสิทธิภาพในการขนถ่ายสินค้ามากขึ้น จนในช่วงที่การทำประมงซบเซาทำให้พื้นที่ริมน้ำมีการใช้งานลดลง มีการสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งที่ทำให้การใช้งานพื้นที่ริมน้ำทำได้ยากลำบาก จนการทำประมงถูกจำกัดส่งผลให้พื้นที่ดังกล่าวถูกทิ้งร้างในที่สุด ในปัจจุบันจึงมีการพัฒนาการท่องเที่ยวเพื่อรื้อฟื้นความสำคัญของพื้นที่ริมน้ำ โดยใช้พื้นที่ริมน้ำสาธารณะในการจัดงานเทศกาลและประเพณีเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว


แนวทางการบริหารวิชาชีพของสถาปนิกฟรีแลนซ์ในประเทศไทย, ณรัฐพล สุเภากิจ Jan 2017

แนวทางการบริหารวิชาชีพของสถาปนิกฟรีแลนซ์ในประเทศไทย, ณรัฐพล สุเภากิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันความอิสระกลายเป็นหนึ่งตัวแปรของรูปแบบการปฏิบัติวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมที่ไม่เป็นเพียงลักษณะการทำงานในสำนักงานเหมือนแต่ก่อน ทำให้เกิดเป็นรูปแบบการทำงานที่เรียกว่า "ระบบฟรีแลนซ์" การทำงานรูปแบบนี้มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในช่วงไม่เกิน 5 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากสถาปนิกสามารถกำหนดและควบคุมรูปแบบการทำงานให้สัมพันธ์กับวิถีชีวิตได้ แต่ในทางกลับกันความอิสระกับรูปแบบการทำงานย่อมก่อให้เกิดอุปสรรค ทั้งทางด้านการเงิน ด้านการบริหาร และด้านการจัดการ เป็นต้น วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์เล่มนี้ เป็นการประมวลลักษณะและอุปสรรคที่มีผลต่อการปฏิบัติวิชาชีพของสถาปนิกฟรีแลนซ์ในประเทศไทย โดยการวิจัยนี้ ผู้วิจัยแบ่งกลุ่มตามประสบการณ์ในระบบฟรีแลนซ์เป็น 3 ประเภท ดังนี้ กลุ่มสถาปนิกประสบการณ์การทำงานฟรีแลนซ์ 1-5 ปี ที่มีความรู้พื้นฐานทางด้านการบริการวิชาชีพ แต่ยังขาดความรู้ในการคิดค่าบริการวิชาชีพ การหาเครือข่ายลูกค้า และการควบคุมขอบเขตงาน จึงมีจำนวนไม่น้อยที่กลับไปเป็นพนักงานประจำ กลุ่มสถาปนิกประสบการณ์การทำงานฟรีแลนซ์ 6-10 ปี พบอุปสรรคในการปรับฐานค่าบริการวิชาชีพตามมาตรฐานของสมาคมสถาปนิกสยามฯ และสภาสถาปนิก และในกลุ่มสถาปนิกประสบการณ์การทำงานฟรีแลนซ์ 11 ปี ขึ้นไป ที่ส่วนใหญ่มีลักษณะและการรับผิดชอบงานแบบการทำงานคนเดียว นอกจากนี้ในบางกรณีที่สถาปนิกฟรีแลนซ์จำเป็นต้องทำการจดทะเบียนบริษัท เนื่องจากรับงานโครงการที่ได้ค่าบริการวิชาชีพในอัตราสูง ย่อมก่อให้เกิดปัญหาในด้านการจัดการภาษีจากรูปแบบการจ้างงาน เป็นต้น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า สถาปนิกฟรีแลนซ์ต้องเพิ่มพูนทักษะความรู้ให้มีความหลากหลาย ทั้งการกำหนดค่าบริการวิชาชีพที่เหมาะสม การสร้างเครือข่ายในการทำงาน วินัยในการปฏิบัติงานและการบริหารเงิน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้การปฏิบัติวิชาชีพในระบบฟรีแลนซ์มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การเรียนรู้ทักษะใหม่ๆ เช่น ทักษะด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี ตลอดจนด้านทักษะด้านภาษาต่างประเทศ เป็นปัจจัยเสริมที่ช่วยเพิ่มศักยภาพของการปฏิบัติวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมให้มีมาตรฐานการทำงานเทียบเท่าในระดับสากล


แนวทางการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินกลาง ด้านกายภาพสถาปัตยกรรม, ธนพล วัฒนจินดาเลิศ Jan 2017

แนวทางการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินกลาง ด้านกายภาพสถาปัตยกรรม, ธนพล วัฒนจินดาเลิศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินเกิดขึ้นมาแล้วทั้งสิ้น 3 ครั้ง คือการเปลี่ยนอาคารริมถนนราชดำเนินให้เป็นอาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ หอศิลป์ร่วมสมัยราชดำเนิน และหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ตามลำดับ ผลการปรับปรุงคืออาคารได้เปลี่ยนรูปแบบการใช้สอยพื้นที่ของอาคารไปจากเดิม ทว่ายังคงอยู่ซึ่งรูปลักษณ์ภายนอกที่เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบตะวันตกที่นิยมในสมัยปี พ.ศ.2480 วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษาแนวทางการปรับปรุงอาคารและข้อกฎหมายที่ต้องคำนึงถึงในการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนิน เพื่อนำแนวทางที่ได้มาประยุกต์ใช้กับอาคารริมถนนราชดำเนินกลางที่ผู้วิจัยเสนอแนะ ระเบียบวิธีการศึกษาคือเริ่มต้นจากการศึกษาแนวทางของการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนิน 2 หลัง คือ อาคารนิทรรศน์รัตนโกสินทร์ และหอสมุดเมืองกรุงเทพมหานคร ผ่านการสำรวจพื้นที่จริง การศึกษาแบบทางสถาปัตยกรรม ศึกษาจากภาพถ่ายทางประวัติศาสตร์ และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงอาคารทั้งสองหลัง เพื่อนำไปวิเคราะห์ถึงแนวทางทั้งหมดที่เกิดขึ้นและเข้อกฎหมายที่ต้องคำนึงถึงในการปรับปรุงอาคาร จัดลำดับความเข้มงวดของกฎหมายแต่ละข้อ และนำไปเปรียบเทียบกับพื้นที่และการปรับปรุงอาคารที่เกิดขึ้น เพื่อให้ได้แนวทางสำหรับการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินที่ชัดเจนมากที่สุด และนำแนวทางที่ได้ไปทดลองใช้กับโรงแรมรัตนโกสินทร์ ที่ผู้วิจัยยกมาเป็นกรณีศึกษา ว่าหากเกิดการปรับปรุงอาคารนี้ตามแนวทางที่ผู้วิจัยได้เสนอแนะคือการทำตามแบบแผนเดิม การพัฒนาพื้นที่ หรือการรื้อถอนอาคารเพื่อให้พื้นที่กลับสู่สภาพเดิม จะต้องคำนึงถึงกฎหมายข้อใดและมีความเข้มงวดมากน้อยเพียงใดบ้าง ซึ่งผลที่ได้จะทำให้สามารถสรุปว่าการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินมีข้อกฎหมายที่ควบคุมการปรับปรุงอาคารอย่างเข้มงวดมากที่สุด ครอบคลุมบริเวณด้านหน้าและด้านข้างอาคารที่ติดถนนราชดำเนิน ส่วนด้านหลังอาคารและภายในอาคารมีความเข้มงวดน้อยกว่า และต้องอาศัยดุลยพินิจของทางสำนักงานทรัพย์สินฯ เป็นปัจจัยสำคัญ ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาคือแนวทางที่ใช้ในการปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินที่มีความชัดเจนมากขึ้น และเพื่อให้ผู้ที่สนใจปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินในอนาคตนำแนวทางที่ได้จากการศึกษาและแนวทางการปรับปรุงอาคารไปพัฒนาต่อเพื่อให้เป็นประโยชน์แก่การปรับปรุงอาคารริมถนนราชดำเนินต่อไป


งานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในช่วงปี พ.ศ. 2524 - 2560, ณิชา มหาพฤกษารัตน์ Jan 2017

งานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา อาคารขนาดใหญ่พิเศษ ในช่วงปี พ.ศ. 2524 - 2560, ณิชา มหาพฤกษารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีการนำประติมากรรมมาเป็นองค์ประกอบของอาคารในการสร้างเอกลักษณ์และสุนทรียภาพที่ดีให้กับพื้นที่ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 จากการสำรวจพบว่ามีงานประติมากรรมประกอบอาคารเพิ่มมากขึ้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแต่ละอาคารมีวิธีการที่แตกต่างกันออกไปซึ่งต้องมีการประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องหลายกลุ่ม นำมาสู่งานวิจัยนี้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคาร ตลอดจนศึกษาขั้นตอนของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารที่สัมพันธ์กับการบริหารโครงการก่อสร้าง เพื่อวิเคราะห์และอภิปรายถึงปัญหาของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมประกอบอาคารในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีวิธีการดำเนินวิจัยคือ ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับประติมากรรม และจัดการงานก่อสร้าง เก็บข้อมูลโดยทำการสำรวจและสัมภาษณ์ผู้ว่าจ้าง ผู้ออกแบบพื้นที่ และผู้ออกแบบประติมากรรมของอาคารกรณีศึกษา 23 อาคาร จากการศึกษาพบว่าวัสดุที่นิยมมากที่สุดในการก่อสร้างประติมากรรมประกอบอาคารคือ วัสดุบรอนซ์ วัสดุไฟเบอร์กลาส และวัสดุสเตนเลสตามลำดับ โดยมีวิธีการได้มาซึ่งประติมากรรมประกอบอาคาร 3 วิธี คือ การจัดจ้างโดยตรง การประกวดราคา และการประกวดแบบ นอกจากนี้ยังพบว่า สามารถแบ่งขั้นตอนของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมได้ทั้งหมด 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนการได้รับมอบหมายงาน ขั้นตอนการออกแบบ ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง ขั้นตอนการก่อสร้าง และ ขั้นตอนการติดตั้งงานประติมากรรม ซึ่งเมื่อนำไปพิจารณาความสัมพันธ์กับหลักการบริหารโครงการ 5 ช่วงจากกรณีศึกษา 23 อาคารนั้น พบว่าขั้นตอนการได้รับมอบหมายงานประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงศึกษาความเป็นได้โครงการและช่วงการออกแบบโครงการเท่ากันมากที่สุดเป็นจำนวนช่วงละ 8 อาคาร ขั้นตอนการออกแบบประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงการออกแบบโครงการมากที่สุดเป็นจำนวน 12 อาคาร ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงก่อสร้างโครงการมากที่สุดเป็นจำนวน 11 อาคาร ขั้นตอนการก่อสร้างประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงก่อสร้างโครงการมากที่สุดเป็นจำนวน 19 อาคาร และขั้นตอนการติดตั้งประติมากรรมเกิดขึ้นในช่วงหลังการก่อสร้างมากที่สุดจำนวน 17 อาคาร อีกทั้งยังพบว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นมากที่สุดเป็นปัญหาด้านกระบวนการ รองลงมาคือปัญหาด้านสถานที่ และปัญหาด้านบุคคลตามลำดับ นอกจากนี้ ผลการศึกษายังชี้ให้เห็นว่า ขั้นตอนการได้รับมอบหมายงานที่เกิดขึ้นในช่วงศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ เป็นขั้นตอนเดียวที่ไม่พบปัญหาในการก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรม ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 8 อาคาร จาก 23 อาคาร จึงสามารถสรุปเป็นแนวทางในการจัดการงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมได้ว่า ควรมีการเริ่มต้นกระบวนการในช่วงของการศึกษาความเป็นไปได้อาคาร เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อการบริหารโครงการก่อสร้างน้อยที่สุด นอกจากนี้ผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างขั้นตอนของงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมกับการบริหารโครงการก่อสร้างว่ามีความจำเป็นต้องประสานงานกับผู้เกี่ยวข้องในหลายกลุ่มเพื่อให้เกิดการวางแผนอย่างเหมาะสม ด้วยเหตุนี้ การศึกษางานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมจึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะนำไปสู่ความรู้ความเข้าใจของลักษณะงานก่อสร้างและติดตั้งประติมากรรมที่เกิดขึ้นในแต่ละโครงการ อันเป็นประโยชน์ต่อการบริหารโครงการก่อสร้างต่อไป


อาการและสาเหตุการขัดข้องของอุปกรณ์หลักในระบบประกอบอาคาร, ชนาภา จารุมณีโรจน์ Jan 2017

อาการและสาเหตุการขัดข้องของอุปกรณ์หลักในระบบประกอบอาคาร, ชนาภา จารุมณีโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาในเชิงประจักษ์มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดหมวดหมู่อาการและสาเหตุการขัดข้องของอุปกรณ์หลักในระบบประกอบอาคาร เพื่อนำไปวิเคราะห์หาอาการขัดข้องสำคัญ ที่เหมาะสมที่จะใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการดูแลระบบประกอบอาคาร โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งได้แก่ ผู้ที่ทำงานในสาขางานวิศวกรรมระบบประกอบอาคาร ข้อสรุปผลการศึกษาพบว่า สภาพปัญหาหรืออาการขัดข้องที่พบบ่อยของอุปกรณ์ในระบบประกอบอาคาร นั้นเกิดจาก 2 สาเหตุ ได้แก่ สาเหตุที่เป็นสิ่งเร้าหรือปัจจัยจากภายนอก และสาเหตุที่เป็นปัจจัยภายใน ประกอบได้ด้วย 3 สาเหตุ ได้แก่ สาเหตุที่เป็นการเสื่อมสภาพ/ชำรุดของอุปกรณ์ สาเหตุที่เกิดจากการบำรุงรักษาที่ผิดพลาดหรือการละเลยของผู้ดูแลระบบประกอบอาคาร และสาเหตุที่เกิดจากการตั้งค่าอุปกรณ์/การติดตั้งอุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม ในส่วนของวิธีปฏิบัติเมื่อเมื่อพบอาการขัดข้องของอุปกรณ์ในระบบประกอบอาคาร มี 2 วิธี ได้แก่ แก้ไขโดยผู้ดูแลอาคารหรือช่างประจำอาคาร ซึ่งแบ่งแยกย่อยได้อีก 4 วิธี ได้แก่ แก้ไขโดยการเปลี่ยนอุปกรณ์ แก้ไขโดยการทำความสะอาด แก้ไขโดยการกำหนด/วางแผนบำรุงรักษา และแก้ไขตามสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการขัดข้อง ต่อมาคือ แก้ไขโดยแจ้งบุคคลภายนอกทำการแก้ไข ซึ่งแบ่งแยกย่อยได้อีก 2 วิธีได้แก่ แจ้งการไฟฟ้าฯทำการแก้ไข และแจ้งผู้รับเหมาทำการแก้ไข องค์ความรู้ที่ได้จากผลการวิเคราะห์และข้อสรุปผลการศึกษา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในส่วนงานบริหารจัดการ โดยใช้วางแผน ป้องกันอาการขัดข้อง ตามประเภทของสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ นอกจากนี้องค์ความรู้ในส่วนวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดอาการขัดข้องของอุปกรณ์นั้น สามารถนำไปให้ใช้ในส่วนงานปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถแก้ไขอาการขัดข้องของอุปกรณ์ได้อย่างเหมาะสม รวดเร็ว ตามประเภทอาการขัดข้องของอุปกรณ์ที่ได้จากผลการศึกษา ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาขั้นต่อไปเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อไปในอนาคต หากต้องนำงานวิจัยนี้ไปศึกษาต่อควรนำข้อมูลรายละเอียดที่ได้จากผลการรวบรวมข้อมูล มาวิเคราะห์ ให้เกิดชุดข้อมูลใหม่ที่เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในส่วนงานบริหารจัดการอาคาร และให้ได้ชุดข้อมูลที่สมบูณร์กว่างานวิจัยในปัจจุบัน


การศึกษาคุณสมบัติในการกันเสียงของแผ่นเหล็กมุงหลังคาด้วยวัสดุพอลิเมอร์ชนิดอิลาสโทเมอริกโฟม (ฉนวนยางดำ), ปรมาภรณ์ พูลสวัสดิ์ Jan 2017

การศึกษาคุณสมบัติในการกันเสียงของแผ่นเหล็กมุงหลังคาด้วยวัสดุพอลิเมอร์ชนิดอิลาสโทเมอริกโฟม (ฉนวนยางดำ), ปรมาภรณ์ พูลสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาด้านเสียงที่เกิดขึ้นในอาคารเมื่อใช้วัสดุพอลิเมอร์ชนิดยางดำติดตั้งกับแผ่นเหล็กมุงหลังคา จากการศึกษาเบื้องต้น พบว่า ฉนวนยางดำมีคุณสมบัติที่ดีในการลดเสียงรบกวนจากภายนอก จึงได้ทำการศึกษารูปแบบการติดตั้งฉนวนยางดำที่มีความหนา 9, 19 และ 25 มิลลิเมตรกับแผ่นเหล็กมุงหลังคา 4 รูปแบบ คือ รูปแบบ A แผ่นเหล็กมุงหลังคาที่ไม่มีฉนวน รูปแบบ B แผ่นเหล็กมุงหลังคารีดติดด้วยฉนวนยางดำ รูปแบบ C แผ่นเหล็กมุงหลังคาที่ไม่มีฉนวน ปูฉนวนยางดำลงบนแป และรูปแบบ D แผ่นเหล็กมุงหลังคาที่ไม่มีฉนวน ติดตั้งฉนวนยางดำกับแผ่นฝ้าเพดานยิปซัมบอร์ดฉาบเรียบในรูปแบบแซนวิช ทดสอบเสียงรบกวนโดยใช้ฝนประดิษฐ์อ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 10140-5 ผลการทดสอบคุณสมบัติในการกันเสียงรบกวนจากภายนอกของฉนวนยางดำ เมื่อเปรียบเทียบการติดตั้งทั้ง 4 รูปแบบ ในด้านค่าเฉลี่ยระดับความดันเสียงที่ส่งผ่านมายังห้องจำลอง ค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง พบว่า รูปแบบ B แผ่นเหล็กมุงหลังคารีดติดด้วยฉนวนยางดำ ความหนา 25 มิลลิเมตร พร้อมติดตั้งฝ้าเพดานฉาบเรียบ 2 ชั้น มีช่องว่างอากาศ ภายในห้องจำลอง มีค่าเฉลี่ยระดับความดันเสียงต่ำที่สุด เท่ากับ 40.89 dBA มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 2,002.14 บาท/ตารางเมตร และรูปแบบ A แผ่นเหล็กมุงหลังคาที่ไม่มีฉนวนติดตั้งบนโครงหลังคา (Base-case) มีค่าเฉลี่ยระดับความดันเสียงสูงที่สุด เท่ากับ 62.02 dBA มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 395 บาท/ตารางเมตร และเมื่อพิจารณารูปแบบการติดตั้งทั้ง 4 รูปแบบร่วมกับเกณฑ์ของเสียงรบกวนที่สามารถยอมรับได้ภายในอาคาร พบว่า รูปแบบ B แผ่นเหล็กมุงหลังคารีดติดด้วยฉนวนยางดำ ความหนา 9 มิลลิเมตร พร้อมติดตั้งฝ้าเพดานฉาบเรียบชั้นเดียว คือรูปแบบการติดตั้งที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากมีเสียงรบกวนเกิดขึ้นภายในห้อง 44.41 dBA มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง 1,318.57 บาท/ตารางเมตร ซึ่งเมื่อนำมาเปรียบเทียบการใช้งานที่เหมาะสมตามเกณฑ์ของเสียงรบกวนที่สามารถยอมรับได้ภายในอาคาร พบว่า สามารถนำไปใช้งานกับอาคารประเภทที่พักอาศัยที่มีขนาดใกล้เคียงกับห้องจำลองที่ใช้ในการทดสอบ ซึ่งผู้ออกแบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้งานกับอาคารได้


การบริหารจัดการงานบูรณะในพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน, ปาริฉัตร สกุลเจริญพรชัย Jan 2017

การบริหารจัดการงานบูรณะในพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน, ปาริฉัตร สกุลเจริญพรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระราชนิเวศน์มฤคทายวันสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2466 มีสภาพที่ตั้งติดริมชายหาดชะอำ ลักษณะอาคารเป็นอาคาร กึ่งปูนกึ่งไม้ยกพื้นสูงใต้ถุนโล่ง ใช้สำหรับการแปรพระราชฐานในฤดูร้อนของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในปี พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้กองตำรวจตระเวนชายแดนเข้าใช้พื้นที่ ต่อมาในปี พ.ศ. 2536 ได้มีการจัดตั้งมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ขึ้นเพื่อเข้ามาดูแลรักษาอาคาร รวมถึงบริหารจัดการพื้นที่ให้เป็นแหล่งเรียนรู้และสถานที่ท่องเที่ยว กระทั่งเมื่อ พ.ศ. 2560 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้พระราชทานโฉนดที่ดิน เพื่อให้ทางมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันได้ใช้ประโยชน์ต่อไป ด้วยความสำคัญของพื้นที่และคุณค่าทางสถาปัตยกรรมดังกล่าว รวมไปถึงสภาพความเสียหายทรุดโทรมของอาคาร ทางมูลนิธิพระราชนิเวศน์มฤคทายวันได้เห็นความสำคัญ ที่จำเป็นต้องดำเนินการบูรณะซ่อมแซมอาคารในหมู่พระที่นั่งจำนวนหลายหลัง งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการศึกษากระบวนการการบริหารจัดการงานบูรณะสถาปัตยกรรมในพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน กับทฤษฎีการอนุรักษ์และทฤษฎีการบริหารจัดการสถาปัตยกรรม โดยอาคารที่ทำการศึกษาในหมู่พระที่นั่ง อยู่ในช่วงเวลาที่มีการบูรณะตั้งแต่ปี พ.ศ.2554-2560 ประกอบด้วย ศาลาลงสรงฝ่ายหน้า สโมสรเสวกามาตย์ หอเสวยฝ่ายหน้า และระเบียงทางเดินศาลาลงสรง จำนวน 4 หลังที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการขั้นตอน เอกสาร เวลางบประมาณ วัสดุ และบุคคลที่เกี่ยวข้องในงานบูรณะพระราชนิเวศน์มฤคทายวัน จากการศึกษากระบวนการและขั้นตอนในการบริหารจัดการงานบูรณะพระราชนิเวศน์มฤคทายวันนั้น ในช่วงแรกที่มีการบูรณะอาคารนั้น มีการใช้ทฤษฎีการอนุรักษ์และทฤษฎีการบริหารจัดการสถาปัตยกรรม ได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ต่อมาได้มีการพัฒนากระบวนการและขั้นตอนเพิ่มขึ้น โดยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ช่วงก่อนการดำเนินการก่อสร้าง และช่วงดำเนินการก่อสร้าง มีการบริหารจัดการเรื่องเอกสารที่เป็นระบบ จัดสรรงบประมาณ มีการกำหนดแผนการดำเนินการและระยะเวลา การจัดการวัสดุที่ใช้ในการซ่อมแซม รวมถึงการจัดหน้าที่ของบุคคลที่เกี่ยวข้อง ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีการอนุรักษ์และทฤษฎีการบริหารจัดการสถาปัตยกรรม ทำให้การบริหารจัดการงานบูรณะดำเนินงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แล้วเสร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้


ปัญหาการใช้กระเบื้องหลังคาดินเผาในงานสถาปัตยกรรมไทย : กรณีศึกษา อาคารในพุทธมณฑล, นิติมา คุตตะสิงคี Jan 2017

ปัญหาการใช้กระเบื้องหลังคาดินเผาในงานสถาปัตยกรรมไทย : กรณีศึกษา อาคารในพุทธมณฑล, นิติมา คุตตะสิงคี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์จะศึกษา การใช้กระเบื้องดินเผามุงหลังคาในงานสถาปัตยกรรมไทยและปัญหาที่เกิดขึ้น โดยอาศัยอาคารในพุทธมณฑล ที่มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา เป็นกรณีศึกษา จากการสำรวจอาคารทั้งหมด 44 หลัง พบผังหลังคาทั้งหมด 13 รูปแบบ ตัวหลังคาจั่ว มีความลาดชัน 45, 55 และ 60 องศา ส่วนหลังคาปีกนก มีความลาดชัน 20, 25, 30, 35 และ 45 องศา โครงสร้างหลังคามีทั้งคอนกรีตเสริมเหล็ก เหล็ก และไม้ ส่วนแประแนงจะเป็นไม้ทั้งหมด หลังคามุงด้วยกระเบื้องดินเผาหางมนชนิดเผาธรรมดา หรือชนิดเผาไฟสูง โดยการมุงกระเบื้องตัวสั้นซ้อนทับกระเบื้องตัวยาว มีการปั้นปูนปิดครอบรอยต่อหลังคา โดยมีรางน้ำทำด้วยสังกะสี และมีการทำแผ่นรองใต้หลังคา (Sub roof) ด้วยสังกะสี หรือ คอนกรีตเสริมเหล็ก ปัญหาที่พบ ได้แก่ ปูนปั้นบริเวณสันหลังคาและตะเข้สันแตก แปผุ กระเบื้องหลังคาแตกหรือหลุด กระเบื้องสีซีดหรือสีหลุดร่อน มีเศษฝุ่นหรือใบไม้สะสมบนหลังคา มีวัชพืชขึ้นตามเชิงชายและในตะเข้ราง รวมทั้งรอยคราบน้ำบนฝ้าเพดานภายในอาคารที่มาจากการรั่วซึม ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อ ปูนปั้นหรือกระเบื้องหลังคาแตกหรือหลุด น้ำจะรั่วซึมลงมาเวลาฝนตก ทำให้แประแนงไม้ผุ กระเบื้องหลังคาจะแตกหรือหลุดเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับรากของวัชพืชจะทำให้กระเบื้องหลังคาแตกหรือหลุด ในขณะที่เศษฝุ่นหรือใบไม้ที่สะสมทำให้น้ำล้นรางเข้าในอาคาร แนวทางการแก้ปัญหา คือการเลือกวัสดุที่เหมาะสม โดยคงรูปแบบ ลักษณะ และการใช้งานเดิม วัสดุใหม่ที่ใช้ควรมีความแข็งแรง ทนทาน และมีอายุการใช้งานนาน รวมทั้งมีน้ำหนักน้อยกว่า ซึ่งจะช่วยลดภาระการรับน้ำหนักของโครงสร้างหลังคาและอาคาร จึงเสนอให้ใช้กระเบื้องหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ ครอบหลังคาไฟเบอร์ซีเมนต์ แปเหล็กชุบกัลวาไนซ์ รางน้ำสเตนเลส ฯลฯ ทั้งนี้จะต้องมีการดูแลรักษาความสะอาดเป็นประจำไม่ให้มีวัชพืช เศษฝุ่น และใบไม้สะสม


อิทธิพลของสี วัสดุพื้นผิว และอุณหภูมิสีของแสงที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ด้านความเป็นอยู่ที่ดีและภาพจดจำของห้องพักผู้ป่วยโรงพยาบาลระดับสูง, ปาริชาติ ยามไสย Jan 2017

อิทธิพลของสี วัสดุพื้นผิว และอุณหภูมิสีของแสงที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ด้านความเป็นอยู่ที่ดีและภาพจดจำของห้องพักผู้ป่วยโรงพยาบาลระดับสูง, ปาริชาติ ยามไสย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันธุรกิจโรงพยาบาลมีการขยายตัวมากขึ้น ผู้ประกอบการโรงพยาบาลต่างตระหนักถึงอัตราการแข่งขันทางการตลาด จึงให้ความสนใจในกลยุทธ์ในการให้บริการรูปแบบต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคมากขึ้น การออกแบบสภาพแวดล้อมที่ช่วยส่งเสริมต่อการรักษามีผลต่อการรับรู้ความเป็นอยู่ที่ดีเป็นหนึ่งกลยุทธ์ที่นำมาใช้ โดยเฉพาะสภาพแวดล้อมภายในห้องพักผู้ป่วยซึ่งเป็นบริเวณที่ผู้รับบริการต้องใช้เวลาในการรักษาตัวนานที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์วิเคราะห์องค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้ถึงความเป็นอยู่ที่ดีซึ่งอาจนำไปสู่การตัดสินใจพักฟื้นในโรงพยาบาลระดับสูง งานวิจัยนี้เก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรตัวอย่างจำนวน 120 คน อายุระหว่าง 20-60 ปี โดยให้ดูภาพจำลองการตกแต่งภายใน การใช้ผนังทาสี ผนังวัสดุไม้ และอุณหภูมิสีของแสง รวมเป็นจำนวน 10 ภาพ และสอบถามการรับรู้ความเป็นอยู่ที่ดี ด้วยแบบสอบถามการรับรู้ 6 ด้าน ความสะดวกสบาย สะอาด ผ่อนคลาย มีชีวิตชีวา มีราคา และน่าเชื่อถือ จากวิเคราะห์ทางสถิติพบว่า ปัจจัยที่เกิดผลกระทบต่อกลุ่มตัวอย่างมากที่สุดคืออุณหภูมิสีของแสง โดยอุณหภูมิสีของแสง warm white จะมีค่าเฉลี่ยการรับรู้ทุกด้านมากกว่า daylight อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ห้องที่ตกแต่งด้วยผนังวัสดุไม้สีอ่อนได้รับค่าเฉลี่ยการรับรู้เชิงบวกสูงกว่าไม้สีเข้ม ผนังทาสีเขียวและทาสีฟ้ามีค่าเฉลี่ยการรับรู้กว่าผนังสีขาว งานวิจัยเสนอแนะว่าแนวทางการออกแบบภายในห้องพักผู้ป่วยระดับสูงควรมีการเลือกใช้ อุณหภูมิสีของแสง warm white เพื่อสร้างการรับรู้ความเป็นอยู่ที่ดีเป็นหลัก ควบคู่ไปกับการเลือกใช้ทั้งไม้สีอ่อนและผนังทาสีอ่อน


สัณฐานการเปลี่ยนแปลงเรือนพักผู้จัดการบริษัทอีสต์เอเชียติก จังหวัดแพร่, ปิยะธิดา สายขุน Jan 2017

สัณฐานการเปลี่ยนแปลงเรือนพักผู้จัดการบริษัทอีสต์เอเชียติก จังหวัดแพร่, ปิยะธิดา สายขุน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เรือนพักผู้จัดการบริษัท อีสต์เอเชียติก เป็นหนึ่งในตัวอย่างของบ้านที่แสดงให้เห็นถึงจุดเปลี่ยนของการสร้าง "บ้านไม้แปรรูป" ซึ่งมีประวัติความเป็นมายาวนานกว่า 100 ปี และถูกปรับเปลี่ยนรูปแบบไปตามการใช้งานแต่ละยุคสมัย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและลักษณะสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของอาคาร ด้วยวิธีการสำรวจรังวัดอาคาร การสัมภาษณ์ รวมถึงการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อวิเคราะห์โครงสร้างและการใช้งานจากลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่สามารถสืบค้นได้ จากการศึกษาพบว่าการเปลี่ยนแปลงของอาคารแบ่งได้เป็น 4 ช่วงเวลา คือ (1) ช่วงปี พ.ศ.2468-2478 (2) ช่วงปี พ.ศ.2479-2500 (3) ช่วงปี พ.ศ.2501-2540 และ(4) ช่วงปี พ.ศ.2541-ปัจจุบัน ส่วนที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อยมากที่สุด คือ บริเวณพื้นที่ชานภายนอก ส่วนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วมีผลต่อพื้นที่ใช้สอยตลอดจนรูปทรงของอาคารมากที่สุด คือ พื้นที่ระเบียงโล่งชั้นบนที่มีการติดผนังหน้าต่างในยุคหลัง นอกจากนี้ จากการสืบค้นลักษณะดั้งเดิมของอาคารไปถึงช่วงปี พ.ศ.2468-2478 พบว่าลักษณะสถาปัตยกรรมในช่วงเวลาดังกล่าวมีความแตกต่างจากรูปแบบในปัจจุบันหลายประการ เช่น มีระเบียงทางเดินชั้นบนเปิดโล่ง 2 ด้าน และมีชานทั้งชั้นบนชั้นล่าง และจากการศึกษาหน้าตัดไม้ในโครงสร้างส่วนต่างๆ ทั้ง หลังคา ผนัง พื้น รวมถึงระบบการก่อสร้าง พออนุมานได้ว่าเรือนพักผู้จัดการบริษัทอีสต์เอเชียติกเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นของบ้านไม้แปรรูปหลังอื่นๆ ที่เห็นได้ในปัจจุบัน ด้วยสภาพป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ และทำให้มีการใช้หน้าตัดไม้ที่มีขนาดใหญ่กว่าที่ใช้ทั่วไปในปัจจุบัน


การก่อสร้างบ้านด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป : การประกอบติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป บ้านเดี่ยว, พิเชษฐ์ นะสูงเนิน Jan 2017

การก่อสร้างบ้านด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป : การประกอบติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป บ้านเดี่ยว, พิเชษฐ์ นะสูงเนิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประกอบติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป โดยเลือกบ้านเดี่ยวของ บริษัท ไลฟแอนด์ ลีฟวิ่ง จำกัด และของ บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เป็นกรณีศึกษา จากการศึกษาพบว่า การก่อสร้างบ้านด้วยชิ้นส่วนสำเร็จรูป ทั้งสองบริษัท มี 24 งานหลัก ที่คล้ายกัน และ 65 งานย่อย ที่แตกต่างกันเล็กน้อย ในการประกอบติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป ทั้งสองบริษัท พบว่ามี 4 งานหลักซึ่งจะดำเนินการหลังจากงานตอกเสาเข็มและงานหล่อฐานตอม่อให้แล้วเสร็จ โดยเริ่มจากบริษัท ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง ฯ จะเริ่มติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่างไว้บนเสาเข็มและฐานตอม่อก่อน ส่วนบริษัท พฤกษา ฯ จะทำงานพื้นคอนกรีตหล่อกับที่ก่อน แล้วจึงติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่าง จากนั้นทั้งสองบริษัทจะเริ่มงานชั้นบน โดยเริ่มจากติดตั้งชิ้นส่วนคานคอนกรีตสำเร็จรูปก่อนเพื่อรับน้ำหนักแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นบน ในกรณีที่ติดตั้งไม่ตรงกับแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่าง ต่อมาจะติดตั้งแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นบนแล้วจึงติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นบน สำหรับในงานพื้นชั้นล่าง ของบริษัท ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง ฯ จะดำเนินการหลังจากติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นบนและงานระบบต่างๆ ใต้พื้นชั้นล่างแล้วเสร็จ จากนั้นจะต้องทำการหล่อหูช้างบริเวณฐานของแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่าง แล้วจึงติดตั้งแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่าง ด้วยวิธีการดังกล่าวพบว่า การทำงานพื้นคอนกรีตหล่อกับที่ ของบริษัท พฤกษา ฯ จะดำเนินการได้ก็ต่อเมื่อต้องทำงานระบบต่างๆ ใต้พื้นให้แล้วเสร็จก่อน ซึ่งมีความยุ่งยากและใช้เวลานาน ในกรณีบริษัท ไลฟ แอนด์ ลีฟวิ่ง ฯ พบว่า มีรอยแตกร้าวบนแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่าง ซึ่งปัจจุบันจึงได้เปลี่ยนมาใช้แผ่นผนังคอนกรีตอัดแรงแทน แต่ก็ทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้นและการทำงานยุ่งยากมากขึ้น รวมทั้งการหล่อหูช้างไว้สำหรับวางแผ่นพื้นคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่างนั้นจะเป็นการเพิ่มงานและเพิ่มระยะเวลา และยังพบอีกว่าชิ้นส่วนคานคอนกรีตสำเร็จรูปที่รองรับแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นบน นั้นเป็นเพียงผนังกันห้องเท่านั้น โดยที่ไม่ได้รับน้ำหนักโครงสร้างไดๆ ทั้งสองบริษัทถึงแม้จะมีวิธีการที่คล้ายกัน ต่างมีปัญหาเหมือนกันและต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบวิธีการทั้งสองบริษัทและนำมาปรับเปลี่ยนวิธีการใหม่ก็จะช่วยแก้ปัญหางานที่เกิดขึ้นได้ เช่น ในส่วนงานประกอบติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่าง ถ้าเพิ่มชิ้นส่วนคานคอนกรีตสำเร็จรูป เพื่อรองรับแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูป แทนการติดตั้งแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปไว้บนเสาเข็มและฐานตอม่อ ถึงแม้จะเป็นการเพิ่มงาน แต่จะช่วยแก้ปัญหาแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นล่างแตกร้าวได้ โดยที่ไม่ต้องใช้แผ่นผนังคอนกรีตอัดแรง และสามารถลดการทำงานพื้นคอนกรีตหล่อกับที่ และการหล่อหูช้างเพิ่มได้ ในส่วนงานประกอบติดตั้งชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปชั้นบน ให้ยกเลิกการติดตั้งชิ้นส่วนคานคอนกรีตสำเร็จรูป แล้วทำการเปลี่ยนแผ่นผนังคอนกรีตสำเร็จรูปที่เคยมีชิ้นส่วนคานรองรับ เป็นแผ่นผนังคอนกรีตอัดแรงแทนก็จะเข็งแรงพอโดยที่ไม่ต้องมีชิ้นส่วนคานคอนกรีตสำเร็จรูปรองรับ


การศึกษาลักษณะการปิดล้อมที่ว่างและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยก่อนเข้าเรียน กรณีศึกษา : บ้านสมวัย มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม คลองเตย, มิ่งมาดา นยนะกวี Jan 2017

การศึกษาลักษณะการปิดล้อมที่ว่างและพฤติกรรมทางสังคมของเด็กวัยก่อนเข้าเรียน กรณีศึกษา : บ้านสมวัย มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัม คลองเตย, มิ่งมาดา นยนะกวี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน สถานเลี้ยงเด็กมีบทบาทสำคัญที่ช่วยรองรับการอาศัยอยู่ของเด็กวัยก่อนเข้าเรียนในช่วงเวลาที่พ่อแม่ออกไปทำงาน แม้ว่าสถานเลี้ยงเด็กเป็นสถานที่รองรับการอาศัยอยู่ร่วมกันของเด็กและคุณครู อย่างไรก็ตาม ในเชิงจิตวิทยาเด็กก็มีความต้องการสภาวะความเป็นส่วนตัวด้วยเช่นกัน ดังนั้นวิทยานิพนธ์นี้จึงให้ความสนใจกับลักษณะของการปิดล้อมที่ว่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์ประกอบทางตั้ง การตอบสนองต่อความต้องการการสร้างสภาวะส่วนตัว และการสร้างปฏิสัมพันธ์ของเด็กวัยก่อนเรียน วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่อาศัยการวิเคราะห์เชิงปริมาณในช่วงต้นจากการรวบรวมข้อมูลผ่านการสังเกตการณ์อย่างเป็นระบบเพื่อแสดงให้เห็นภาพประจักษ์ ร่วมกับข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การลงพื้นที่ศึกษา บ้านสมวัย มูลนิธิเด็กอ่อนในสลัมคลองเตย ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2559 ถึงเดือนกรกฎาคม 2560 และการวิเคราะห์ข้อมูลบนฐานของทฤษฎีและแนวคิดทางจิตวิทยาเด็กและจิตวิทยาสภาพแวดล้อม เพื่อนำสู่ความเข้าใจลักษณะของที่ว่างทางสังคมของเด็กวัยก่อนเรียน ซึ่งประกอบด้วยที่ว่างส่วนตัวและที่ว่างแห่งการปฏิสัมพันธ์ จากการวิเคราะห์จำนวนระนาบ คุณสมบัติของระนาบ และตำแหน่งของระนาบ สรุปได้ว่า ที่ว่างส่วนตัวมักเป็นที่ว่างที่มีขอบเขตชัดเจน ให้ความรู้สึกปลอดภัยแก่เด็กและที่ว่างที่รองรับความเป็นส่วนตัวของเด็กจะชัดเจนขึ้น เมื่อจำนวนระนาบเพิ่มมากขึ้น หรือตำแหน่งของระนาบมีความไกลห่างจากทางสัญจร แอบซ่อนจากสายตาผู้อื่น หรือเปิดออกสู่พื้นที่ภายนอก ในทางกลับกัน ที่ว่างแห่งการปฏิสัมพันธ์ มักถูกปิดล้อมด้วยระนาบน้อยชิ้น แต่เมื่อจำนวนระนาบเพิ่มมากขึ้นจะนำไปสู่การเล่นแบบมีปฏิสัมพันธ์ที่มีความซับซ้อนขึ้น นอกจากนี้ระนาบโปร่งพรุน หรือระนาบที่มีลักษณะกั้นแบ่งพื้นที่ออกจากกันไม่สมบูรณ์จะเอื้อให้เกิดความต่อเนื่องทางสายตา ระนาบมีโครงสร้างให้เอื้อมจับจะเชื้อเชิญให้เด็กได้เล่นสนุกสนานจับ ยึด ปีนป่ายระนาบ ส่วนระนาบที่เผยให้เห็นทางสัญจรจะเปิดโอกาสให้เด็ก ๆ ได้ พบปะผู้คน และระนาบเปิดสู่โลกภายนอกมักเป็นบริเวณที่เชื้อเชิญให้เด็กรวมตัวกันบริเวณนั้น รอคอยการออกไปสู่พื้นที่ภายนอก


กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, พิละสัก สีหาวง Jan 2017

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, พิละสัก สีหาวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประเทศสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศมีข้อตกลงร่วมกันในการยอมรับวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวมีการเจริญเติบโตทางด้านเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง การลงทุนด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มมากขึ้น แต่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างยังไม่ได้มีการรวบรวมไว้อย่างเป็นระบบในองค์กรวิชาชีพ จึงจะศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้าง ใน ส.ป.ป ลาว โดยการรวบรวมกฎหมาย และนิติกรรม จากเอกสารราชการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย สถาปนิก และวิศวกร จากการศึกษาพบว่า การควบคุมการก่อสร้าง ใน ส.ป.ป ลาว ได้เริ่มต้นในปี พ.ศ. 2536 โดยได้ควบคุมด้วยคำสั่งและแจ้งการ (ประกาศ)ของรัฐ ต่อมาในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2553 ถึงปัจจุบัน พบมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจ การเมือง และการก่อสร้างมีการเจริญเติบโตมากขึ้น การศึกษาพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างจำนวน 76 ฉบับ กดหมาย (เทียบพระราชบัญญัติของไทย) จำนวน 17 ฉบับ ดำลัด(เทียบพระราชกฤษฏีกาของไทย) จำนวน 13 ฉบับ ลัดถะบันยัด (เทียบพระราชกำหนดของไทย)จำนวน 4 ฉบับ กฎกระทรวงประกอบด้วยข้อตกลง จำนวน 19 ฉบับ คำแนะนำ จำนวน 4 ฉบับ ละเบียบ จำนวน 4 ฉบับ ข้อกำนด จำนวน 7 ฉบับ แจ้งกาน จำนวน 5 ฉบับ และคำสั่ง จำนวน 3 ฉบับ โดยรัฐมนตรีเป็นผู้ที่ลงนามในข้อตกลงมากที่สุด เพราะรัฐได้ให้กระทรวงต่างๆ สามารถออกนิติกรรมภายใต้กฎหมายได้ทันที ทั้งนี้กระทรวงโยทาทิกานและขนส่ง มีจำนวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างมากที่สุด เพราะว่ากระทรวงดังกล่าวมีหน้าที่ในการกำกับดูแลงานก่อสร้างเคหะ และผังเมือง นอกจากนั้นมีห้องการ(สำนักงาน)มรดกโลกหลวงพระบางที่มีระเบียบเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมในเมืองหลวงพระบางอย่างเข้มงวด ทั้งนี้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างได้ออกตามหลักการเกี่ยวข้องกับความปลอดภัย และคุณภาพเป็นหลัก รองลงมาหลักการรักษาสิ่งแวดล้อม หลักการสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจสังคม การอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชาติ หลักการการมีส่วนร่วมของสถาปนิก วิศวกรภายในประเทศ และ ผู้พิการ ผู้สูงอายุ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างจำนวน 76 ฉบับแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มดังนี้ 1) …


อิทธิพลของกลุ่มสีต่ออารมณ์และการตัดสินใจเข้าร้านอาหาร, วรากุล ตันทนะเทวินทร์ Jan 2017

อิทธิพลของกลุ่มสีต่ออารมณ์และการตัดสินใจเข้าร้านอาหาร, วรากุล ตันทนะเทวินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้สีเป็นเทคนิคสำคัญในการออกแบบเพื่อดึงดูดใจลูกค้าและเพิ่มโอกาสด้านการตลาด การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองทางอารมณ์ในมิติของความพึงพอใจ ความตื่นตัวและความโดดเด่นต่อสีในสภาพแวดล้อม และพฤติกรรมการตัดสินใจเข้าร้านอาหารของลูกค้าที่เดินผ่านหน้าร้าน ในการศึกษานี้ผู้เข้าร่วมทดสอบจำนวน 496 คนได้ประเมินภาพจำลองร้านอาหารจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ตกแต่งด้วยลักษณะสีที่แตกต่างกันจำนวน 11 รูปแบบ ซึ่งมีวรรณะของสี ความสว่างของสีและความกลมกลืนของสีที่แตกต่างกัน โดยแต่ละคนให้คะแนนระดับการตอบสนองทางอารมณ์ด้วยคู่คำตรงข้ามจำนวน 9 คู่คำ พร้อมกับระบุการตัดสินใจเข้าร้านหรือไม่เข้าร้าน จากการวิเคราะห์ข้อมูลพบว่าคุณลักษณะของสีส่งผลต่อการตอบสนองทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญ (p<.05) ร้านอาหารที่ออกแบบตกแต่งด้วยสีวรรณะร้อน สีสว่างหรือสีที่กลมกลืนกันจะได้รับคะแนนระดับความพึงพอใจสูงและส่งผลต่อการเพิ่มโอกาสในการตัดสินใจเข้าร้าน จากการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติคแสดงให้เห็นว่าความพึงพอใจเป็นตัวแปรด้านอารมณ์ที่มีประสิทธิภาพในแบบจำลองการพยากรณ์โอกาสในการตัดสินใจเข้าร้าน (OR= 12.167, R² = 0.768, %correct = 90.7%) การศึกษาวิจัยนี้ขยายความรู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการตอบสนองทางอารมณ์และพฤติกรรมการตัดสินใจในสภาพแวดล้อม ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นสำหรับนักออกแบบและผู้ประกอบการในการเลือกใช้สีเพื่อเป็นกลยุทธ์ที่ดึงดูดสายตาในบริบทของร้านอาหาร เพื่อให้เข้าใจอิทธิพลของสีต่อการตอบสนองของลูกค้าในการตัดสินใจเข้าร้านมากยิ่งขึ้น งานวิจัยนี้จึงเสนอให้มีการศึกษาค้นคว้าคุณลักษณะอื่นของสีและบริบทของสภาพแวดล้อมจริงเพิ่มเติมโดยเฉพาะด้านความพึงพอใจ


แนวทางการออกแบบการส่องสว่างสำหรับศาลเจ้าจีนในกรุงเทพมหานคร, สิริณัฏฐ์ พงศ์บางลี่ Jan 2017

แนวทางการออกแบบการส่องสว่างสำหรับศาลเจ้าจีนในกรุงเทพมหานคร, สิริณัฏฐ์ พงศ์บางลี่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการสำรวจการออกแบบการส่องสว่างสำหรับศาลเจ้าจีนในปัจจุบัน พบปัญหาที่เกี่ยวกับระบบแสงสว่างหลายประการ อาทิ ปริมาณแสงที่ไม่เพียงพอและไม่สอดคล้องต่อกิจกรรมที่เกิดขึ้น ลักษณะการติดตั้งดวงโคม ไม่มีสิ่งปกปิดแหล่งกำเนิดแสงหรือควบคุมทิศทาง ทำให้เกิดแสงบาดตา และไม่ส่งเสริมการรับรู้ภาพลักษณ์ของศาลเจ้า ดังนั้น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการกระจายแสงและระดับความซับซ้อนของการให้แสงสว่างที่ส่งผลต่อการรับรู้ภาพลักษณ์ของศาลเจ้า โดยเก็บข้อมูลด้านการรับรู้ จากผู้ร่วมวิจัยจำนวน 120 คน ประเมินระดับการรับรู้ทางอารมณ์จากภาพจำลองคอมพิวเตอร์สามมิติของศาลเจ้า จำนวน 9 ภาพ จากการวิเคราะห์พบว่า ระดับความซับซ้อนของการให้แสงที่ซับซ้อนมาก (L3) มีค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาพลักษณ์ของศาลเจ้าจีนสูงที่สุดในด้านความสวยงาม ความสงบ ความน่าดึงดูด และการส่งเสริมเอกลักษณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) รูปแบบการกระจายแสงแบบลำดับแสงขึ้น (AS) หรือจากแสงน้อยไปหาแสงมาก มีค่าเฉลี่ยการรับรู้สูงสุดในด้านความสงบ ความน่าดึงดูด และการส่งเสริมเอกลักษณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) การศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการกระจายแสงและระดับความซับซ้อน พบว่า ภาพของศาลเจ้าที่มีการกระจายแสงแบบลำดับแสงเท่ากัน (CO) และมีระดับความซับซ้อนของการให้แสงที่ซับซ้อนน้อยและมาก (L2, L3) ได้รับระดับค่าเฉลี่ยในด้านความสวยงาม 5.07 และ 5.03 ตามลำดับ การรับรู้ด้านความสงบ พบว่า รูปแบบการกระจายแสงแบบลำดับแสงขึ้น (AS) ร่วมกับการให้แสงที่ไม่ซับซ้อน (L1) มีระดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด การรับรู้ภาพลักษณ์ในด้านความน่าดึงดูด และการส่งเสริมเอกลักษณ์ พบว่า การกระจายแสงแบบลำดับแสงเท่ากัน (CO) ร่วมกับระดับความซับซ้อนของการให้แสงมาก (L3) มีระดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด จากการศึกษางานวิจัยนี้ ทำให้ทราบถึงแนวทางการออกแบบที่สอดคล้องกับค่าเฉลี่ยการรับรู้ภาพลักษณ์ของศาลเจ้าจีนในด้านความสวยงาม ความสงบ ความน่าดึงดูด และการส่งเสริมเอกลักษณ์ ซึ่งนักออกแบบ ผู้ดูแลศาลเจ้า หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำแนวทางการออกแบบแสงสว่างนี้ไปประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับช่วงเวลาและลักษณะกิจกรรมที่เกิดขึ้น


การจัดทำสมการทำนายการใช้พลังงานในอาคารสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วริศรา ทัศนสุวรรณ Jan 2017

การจัดทำสมการทำนายการใช้พลังงานในอาคารสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วริศรา ทัศนสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พลังงานในอาคารสถาบันอุดมศึกษา และจัดทำแบบจำลองประเภท Inverse modeling เพื่อทำนายการใช้พลังงานในอาคาร ด้วยการวิเคราะห์สมการถดถอยแบบพหุคูณ เพื่อเป็นแนวทางในการบริหารจัดการพลังงานในอาคารอย่างมีประสิทธิภาพ วิธีการวิจัยประกอบด้วยการสำรวจอาคารและการเก็บรวบรวมปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พลังงานในอาคาร โดยพิจารณาจากข้อมูลที่สามารถเก็บรวบรวมได้ในช่วงปี พ.ศ. 2559 - พ.ศ. 2560 และศึกษาจากกลุ่มอาคารกรณีศึกษาอาคารเรียน และอาคารสำนักงานภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยปัจจัยที่นำมาวิเคราะห์สมการจำลอง ได้แก่ ข้อมูลกายภาพอาคาร การใช้พลังงานของระบบประกอบอาคารและอุปกรณ์ไฟฟ้า ผู้ใช้งานและระยะเวลาการใช้งานอาคาร และสภาพอากาศ ผลการศึกษา พบว่า มี 11 ปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พลังงานในอาคารเรียนและอาคารสำนักงานในมหาวิทยาลัย ได้แก่ อุณหภูมิอากาศภายนอกเฉลี่ย ขนาดพื้นที่ส่วนเรียนบรรยาย ขนาดพื้นที่ส่วนสตูดิโอ ขนาดพื้นที่ปรับอากาศ กำลังทำความเย็นต่อพื้นที่ ค่ากำลังไฟฟ้าส่องสว่างต่อพื้นที่เฉลี่ย (LPD) ค่ากำลังไฟฟ้าของเครื่องใช้ไฟฟ้าต่อพื้นที่เฉลี่ย (EPD) จำนวนนักเรียนต่อวัน ชั่วโมงทำการของสำนักงานต่อเดือน ชั่วโมงเรียนบรรยายต่อเดือน และชั่วโมงสตูดิโอต่อเดือน โดยสมการแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มประเภทอาคาร ได้แก่ อาคารเรียนปฏิบัติการสตูดิโอ อาคารเรียนรวม อาคารเรียนและสำนักงาน และอาคารสำนักงานทั่วไป สมการจำลองการใช้พลังงานของอาคารแต่ละประเภทมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (R2) เท่ากับ 0.86 0.78 0.25 และ 0.99 ตามลำดับ (p < 0.05) จากการตรวจสอบค่าความคลาดเคลื่อนของสมการ พบว่า สมการจำลองมีค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (RMSE) เท่ากับ 3,696.95 kWh 4,618.76 kWh 22,774.30 kWh และ 6,284.83 kWh ตามลำดับ มีค่าสัมประสิทธิ์การแปรผันของค่าความคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ย (CV-RMSE) เท่ากับร้อยละ 4.93 12.22 27.82 และ 6.81 ตามลำดับ และมีค่าคลาดเคลื่อนจากความเอนเอียงเฉลี่ย (MBE) เท่ากับ 18.27 kWh - 2.84 kWh 1.52 kWh และ - 50.00 kWh ซึ่งใกล้เคียงกับการใช้พลังงานจริง จึงสามารถนำสมการจำลองไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการจัดการด้านพลังงานในอาคารเรียนและอาคารสำนักงานในสถาบันอุดมศึกษาได้


การอนุรักษ์โถงโรงภาพยนตร์สกาล่า, สิรินดา มธุรสสุคนธ์ Jan 2017

การอนุรักษ์โถงโรงภาพยนตร์สกาล่า, สิรินดา มธุรสสุคนธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงภาพยนตร์สกาล่าสร้างขึ้นในยุครุ่งเรืองทางเศรษฐกิจและทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ของไทยในช่วงปีพ.ศ.2505-2515 ตั้งอยู่บนพื้นที่ศูนย์การค้าสยามสแควร์ ด้วยองค์ประกอบทางสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ที่ชัดเจนทางกายภาพและโครงสร้างฝ้าโค้งที่โดดเด่นของโถงโรงภาพยนตร์ ทำให้กลายเป็นจึงเป็นพื้นที่ที่เป็นภาพจำ แต่ด้วยความนิยมที่ลดลง ประกอบกับพื้นที่ตั้งที่มีแนวโน้มจะเกิดการพัฒนาในอนาคต จึงเกิดประเด็นวิพากษ์เกี่ยวกับการอนุรักษ์โรงภาพยนตร์แห่งนี้ไว้ วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องเฉพาะในส่วนของโถงโรงภาพยนตร์สกาล่าและนำเสนอทางเลือกในการอนุรักษ์โถงโรงภาพยนตร์ในมุมมองเชิงความเป็นไปได้ทางการก่อสร้าง เพื่อรองรับการพัฒนาที่อาจจะเกิดขึ้น ผ่านระเบียบวิธีการศึกษาโดยเริ่มต้นจากการศึกษาจากแบบสถาปัตยกรรม บทความ ภาพถ่าย การสัมภาษณ์และการสำรวจพื้นที่จริงเพื่อนำไปวิเคราะห์รูปแบบสถาปัตยกรรม และจัดกลุ่มองค์ประกอบที่สำคัญ จากการศึกษาในเบื้องต้นนั้นถูกใช้เป็นแนวทางในการสร้างทางเลือกของการอนุรักษ์ร่วมกับทฤษฎี และหลักการการอนุรักษ์ ภายใต้เกณฑ์การเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ ความมั่นคงทางโครงสร้าง และความสำคัญขององค์ประกอบได้เป็นทางเลือกในการอนุรักษ์ 5 ระดับ ได้แก่การอนุรักษ์องค์ประกอบทั้งหมดไปจนถึงการรื้อย้ายองค์ประกอบทั้งหมดไปอนุรักษ์บนพื้นที่อื่น นอกจากนั้นเมื่อนำทางเลือกการอนุรักษ์มาแจกแจงจะพบความแตกต่างและซับซ้อนภายใต้ความสัมพันธ์ของการเพิ่มจำนวนองค์ประกอบที่เก็บรักษาไว้บนพื้นที่ โดยประเมินได้เป็นระดับความยาก-ง่ายในการทำงาน จากที่ได้กล่าวมาจะเห็นได้ว่าการรื้อถอนเป็นอีกหนึ่งขึ้นตอนที่มีบทบาทกับการอนุรักษ์ในวิทยานิพนธ์เล่มนี้อีกประเด็นหนึ่ง อีกทั้งยังนำเสนอการจำลองแนวทางการรื้อถอนในงานอนุรักษ์ตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ในการอนุรักษ์ไปจนถึงการรื้อย้ายองค์ประกอบทั้งหมดออกจากพื้นที่โดยใช้องค์ความรู้จากการศึกษาเกี่ยวกับการรื้อถอน และคำแนะนำจากวิศวกรประกอบด้วย ผลลัพธ์จากการศึกษาในครั้งนี้ถือเป็นการเริ่มต้นในการสร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับโรงภาพยนตร์สกาล่า และทำให้เห็นภาพรวมของทางเลือกการของการอนุรักษ์ ผ่านการประเมินคุณค่าและความสำคัญในการอนุรักษ์ และเกิดเป็นข้อสังเกต ข้อควรระวัง ซึ่งสามารถนำไปประกอบการตัดสินใจเลือกแนวทางการอนุรักษ์และปรับปรุงพื้นที่โรงภาพยนตร์สกาล่าได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนการสร้างแนวทางการอนุรักษ์ของสถาปัตยกรรมโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก รูปแบบสมัยใหม่ในประเทศไทยให้เกิดแนวทางการอนุรักษ์ที่มีมาตรฐาน