Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 58

Full-Text Articles in Architecture

ผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 (Covid-19) ต่อปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงแรม: กรณีศึกษาโรงแรมกักตัวขนาดเล็กจังหวัดน่าน, ณัฏฐ์ธีรา นาคพงษ์ Jan 2022

ผลกระทบของโรคระบาดโควิด-19 (Covid-19) ต่อปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงแรม: กรณีศึกษาโรงแรมกักตัวขนาดเล็กจังหวัดน่าน, ณัฏฐ์ธีรา นาคพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงต้นปี พ.ศ. 2563 ส่งผลให้โรงแรมบางส่วนมีการปรับตัวเป็นโรงแรมกักตัวทางเลือกเพื่อเฝ้าควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งมีพฤติกรรมในการเข้าพักแรมที่แตกต่างจากช่วงการท่องเที่ยวโดยทั่วไป และส่งผลต่อปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน และเปรียบเทียบปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในช่วงก่อน และหลังที่มีการปรับเปลี่ยนเป็นโรงแรมกักตัวทางเลือก กรณีศึกษาโรงแรมกักตัวขนาดเล็ก ในจังหวัดน่าน จำนวน 3 แห่ง ในช่วงระยะเวลาปี พ.ศ. 2562 – 2564 โดยรวบรวมข้อมูลกิจกรรมจากการรวบรวมใบเสร็จค่าสาธารณูปโภค ใบเสร็จการสั่งซื้อสิ่งอำนวยความสะดวกภายในโรงแรม และการสอบถามผู้ประกอบการ พนักงาน ประกอบกับการพิจารณาข้อกำหนดสำหรับโรงแรมที่ต้องการปรับเปลี่ยนเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก ผลการศึกษาพบว่า สำหรับโรงแรมกรณีศึกษาทั้ง 3 แห่ง ในปี พ.ศ. 2564 ปีที่ปรับเป็นโรงแรมกักตัว ปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์รายปีโดยเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.71 % และช่วงที่โรงแรมปรับเป็นโรงแรมกักตัวปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์รายเดือนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 64.94 โดยเฉพาะการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในขอบเขตที่ 3 ซึ่งจากการสอบถามพบว่ามีการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ อาทิ ถุงครอบแก้ว รองเท้าสำหรับใส่ในห้อง และการขนส่งอาหาร เพิ่มขึ้น คิดเป็นปริมาณร้อยละ 327.78 ท้ายที่สุด ในการลดปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของโรงแรมในช่วยที่ปรับเปลี่ยนเป็นสถานที่กักตัวทางเลือก งานวิจัยนี้เสนอแนะให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์ที่สามารถใช้ซ้ำได้ในบางส่วนเพื่อลดปริมาณคาร์บอนฟุต พริ้นท์ในขอบเขตที่ 3


The Relationship Between The Land And Buildings Tax Act, B.E. 2562 (A.D. 2019), And The Land Use And Land Cover (Lulc) Of Bangkok, Thailand, James Anthony Orina Jan 2022

The Relationship Between The Land And Buildings Tax Act, B.E. 2562 (A.D. 2019), And The Land Use And Land Cover (Lulc) Of Bangkok, Thailand, James Anthony Orina

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The Land and Buildings Tax Act, B.E. 2562 (A.D. 2019), was enacted in Thailand with the aim of wealth distribution, revenue increase, and discouraging unproductive land use. However, since its implementation in 2020, in Bangkok, a notable increase in land use and land cover (LULC) changes, specifically vacant lands being converted to agricultural lands, has been observed. These changes are hypothesized to be related to tax avoidance activities. This study aims to investigate the phenomenon of vacant-to-agricultural land conversions in Bangkok and employ spatial analysis techniques to identify and locate these LULC changes. By employing a statistical t-test and conducting …


การประเมินลักษณะทางภูมิทัศน์ของชายหาดสำคัญบนเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี, จิระดา มาพงษ์ Jan 2022

การประเมินลักษณะทางภูมิทัศน์ของชายหาดสำคัญบนเกาะล้าน จังหวัดชลบุรี, จิระดา มาพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เกาะล้านมีภูมิทัศน์ที่สวยงามจึงเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก การพัฒนาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบนเกาะล้านส่งผลให้มีสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้าไปยังพื้นที่ชายหาด และก่อให้เกิดปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะความเสียหายต่อลักษณะทางภูมิทัศน์ งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อทำการวิเคราะห์องค์ประกอบที่ส่งผลต่อลักษณะทางภูมิทัศน์ของชายหาดสำคัญบนเกาะล้านจำนวน 7 แห่ง ได้แก่ หาดตายาย หาดทองหลาง หาดตาแหวน หาดสังวาลย์ หาดเทียน หาดแสม และหาดนวล โดยการดำเนินการวิจัยครั้งนี้ตั้งอยู่บนพื้นฐานแนวทางการประเมินลักษณะทางภูมิทัศน์ที่พัฒนาโดยหน่วยงานของประเทศอังกฤษและสกอตแลนด์ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบสำคัญที่ส่งผลต่อลักษณะทางภูมิทัศน์ของชายหาดสำคัญบนเกาะล้านทั้ง 7 แห่ง คือ ทราย โขดหิน หิน กรวด ภูเขา ต้นไม้ สะพาน และอาคาร รวมทั้งองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น ร่มชายหาด เก้าอี้ชายหาด และเสาไฟฟ้า เป็นต้น ในส่วนของกิจกรรมชายหาด ประกอบด้วย การถ่ายรูป การเล่นน้ำ การดำน้ำ การนั่งเรือกล้วย และการเล่นวอลเลย์บอล เป็นต้น โดยองค์ประกอบเหล่านี้เมื่อรวมกันแล้วทำให้เกิดลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของแต่ละชายหาด ซึ่งสามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภทตามระดับของการพัฒนาที่แตกต่างกัน ได้แก่ ประเภทที่ 1 ชายหาดที่มีการพัฒนาน้อย ประเภทที่ 2 ชายหาดที่มีการพัฒนาปานกลาง และประเภทที่ 3 ชายหาดที่มีการพัฒนามาก


การวิเคราะห์ลักษณะทางภูมินิเวศ และ การเปลี่ยนแปลงของภูมินิเวศเมืองชายฝั่งทะเล : กรณีศึกษา เมืองกันตัง จังหวัดตรัง, ญาณิศา ปิยะกมลนิรันดร์ Jan 2022

การวิเคราะห์ลักษณะทางภูมินิเวศ และ การเปลี่ยนแปลงของภูมินิเวศเมืองชายฝั่งทะเล : กรณีศึกษา เมืองกันตัง จังหวัดตรัง, ญาณิศา ปิยะกมลนิรันดร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภูมินิเวศชะวากทะเลแม่น้ำตรัง เป็นพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำซึ่งน้ำจืดจากแม่น้ำและน้ำเค็มจากทะเลมาบรรจบและเกิดการผสมผสานกัน ทำให้ภูมินิเวศชะวากทะเลเป็นระบบที่ซับซ้อน เป็นพลวัต อุดมสมบูรณ์และมีความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัยที่ทำงานร่วมกันผ่านมิติเวลาและพื้นที่ เกิดเป็นรูปแบบ กระบวนการ และลักษณะของภูมินิเวศชะวากทะเล ประกอบด้วย โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ และพลวัตการเปลี่ยนแปลง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นของภูมินิเวศชะวากทะเลแม่น้ำตรัง ซึ่งเกิดจากทั้งปัจจัยทางธรรมชาติและมนุษย์ และเพื่อเป็นพื้นฐานในการบ่งชี้ปัญหาและนำไปสู่การค้นหาแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในพื้นที่ภูมินิเวศชะวากทะเลแม่น้ำตรัง โดยดำเนินการระบุโครงสร้างและความสัมพันธ์ของลุ่มน้ำและชะวากทะเล การจำแนกโครงสร้างและรูปแบบของลักษณะทางภูมินิเวศชะวากทะเลแม่น้ำตรัง และการเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างและรูปแบบของลักษณะทางภูมินิเวศกับการใช้ประโยชน์จากภูมินิเวศของคนในพื้นที่ ผลการวิจัยแสดงถึงลักษณะเฉพาะทางภูมินิเวศของชะวากทะเลในหลากหลายระดับ นิเวศบริการ เงื่อนไขในการตั้งถิ่นฐาน และศักยภาพในการฟื้นฟู ประกอบกันเป็นรากฐานของการวางแผนและจัดการภูมินิเวศชะวากทะเลแม่น้ำตรัง


แนวทางการปรับใช้แนวคิดเกษตรในเมืองในพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร, ชามิตา เตชัย Jan 2022

แนวทางการปรับใช้แนวคิดเกษตรในเมืองในพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร, ชามิตา เตชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลังจากมีประกาศใช้พระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 มีการตั้งคำถามมากมายโดยเฉพาะความเหมาะสมของประกาศแนบท้ายการประกอบพื้นที่เกษตร กำหนดเพียงอัตราส่วนพื้นที่ต่อจำนวนชนิดต้นไม้ 57 ชนิด ทำให้เจ้าของที่ดินแผ้วถางที่เพื่อปลูกพืชเช่นกล้วยและมะนาวแทน ในมาตรา 37 วรรคหก กำหนดให้คณะกรรมการของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีตามความเหมาะสมของบริบทด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของพื้นที่นั้นได้ ในงานวิจัยนี้ ได้ศึกษาบริบทพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีความเป็นเมืองมากกว่าชนบท รวมถึงมีมาตรการผังเมือง แผนพัฒนาพื้นที่เฉพาะในหลายด้าน ซึ่งสามารถเชื่อมโยงกับประโยชน์ของเกษตรในเมือง โดยมีปัจจัย 3สิ่งต้องคำนึงถึง คือ พื้นที่ตั้ง วัตถุประสงค์ และกิจกรรมที่เกิดขึ้นในพื้นที่เกษตรในเมือง โดยงานวิจัยนี้สามารถเสนอแนะสาระสำคัญการประกอบพื้นที่เกษตรในเมือง ในกรุงเทพมหานครคือ พื้นที่ 3 กลุ่มเขตชั้นในกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนบุคคลหรือพื้นที่นิติบุคคล มีวัตถุประสงค์การใช้พื้นที่เพื่อการปลูก การเลี้ยงดู การทำให้เพิ่มพูน การนำเข้าสู่กระบวนการที่เกี่ยวข้องอย่างการเพิ่มมูลค่า และการกระจายผลผลิตที่เป็นอาหาร รวมถึงผลผลิตที่ไม่ใช่อาหารอย่างพืชที่เป็นยาสมุนไพร รวมถึงการใช้และนำกลับมาใช้ใหม่ของทรัพยากร ผลิตภัณฑ์ และการบริการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมเหล่านั้น การเสนอสาระสำคัญในข้อบัญญัติเกษตรในมืองในกรุงเทพมหานครเพิ่มเติมการลดหย่อนภาษีตามมาตรการส่งเสริมการพัฒนา โดยใช้กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ คำนวณเพื่อลำดับคะแนนกิจกรรมที่สอดคล้องกับเมือง กิจกรรมที่สอดคล้องสูงสุดได้แก่ การปลูกพืช การฝึกอาชีพ อบรมผู้นำ รวมกลุ่มแม่บ้าน ขายผลิตภัณฑ์ชุมชน และอบรมการจัดการเกษตรในเมือง


ผลกระทบทางสายตาของโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟความเร็วสูงต่อแหล่งโบราณคดี จ.พระนครศรีอยุธยา, ธาริต อิ่มอภัย Jan 2022

ผลกระทบทางสายตาของโครงการระบบขนส่งมวลชนรถไฟความเร็วสูงต่อแหล่งโบราณคดี จ.พระนครศรีอยุธยา, ธาริต อิ่มอภัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สายตะวันออกเฉียงเหนือ มีการดำเนินโครงการ 2 ช่วง คือ ช่วงที่1 กรุงเทพมหานครถึงนครราชสีมา และช่วงที่ 2 คือ นครราชสีมาถึงหนองคาย โดยเส้นทางช่วงที่1 ตัดผ่านพื้นที่โบราณสถานที่ขึ้นทะเบียนโดยกรมศิลปากรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาผลกระทบทางสายตาของทางรถไฟและสถานีรถไฟที่มีต่อโบราณสถานโดยกำหนดพื้นที่ศึกษาจากรางรถไฟออกไปข้างละ 1 กิโลเมตร โดยเริ่มจากจุดศูนย์กลางของสถานีลงมา 3 กิโลเมตร และขึ้นไป 3 กิโลเมตร รวมระยะทางทั้งสิ้น 6 กิโลเมตร ในพื้นที่ศึกษาดังกล่าวมีพื้นที่มีโบราณสถานทั้งหมด 40 แห่ง แต่จะเลือกศึกษา 24 แห่งที่ยังเหลือหลักฐานทางโบราณคดีและยังไม่มีการศึกษามาก่อน ผลการวิจัยพบว่า จากโบราณสถานที่ศึกษา 24 แห่ง มีจำนวน 13 แห่งที่สถานีและรางรถไฟส่งผลกระทบต่อมุมมองของโบราณสถาน โดยในส่วนของการวิเคราะห์จะประเมินระดับผลกระทบ และลำดับความสำคัญของคุณค่าโบราณสถาน รวมทั้งเสนอแนวทางการออกแบบพืชพรรณโดยรอบพื้นที่


การเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมผิวดินในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง : กรณีศึกษาพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงแม่น้ำมูล ในอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี, ศุภวิชญ์ โรจน์สราญรมย์ Jan 2022

การเปลี่ยนแปลงของสิ่งปกคลุมผิวดินในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง : กรณีศึกษาพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงแม่น้ำมูล ในอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี, ศุภวิชญ์ โรจน์สราญรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แม่น้ำเป็นระบบที่มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนและค้ำจุนชีวิตบนโลก และเป็นหนึ่งในเงื่อนไขสำคัญในการเลือกพื้นที่เพื่อตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ตำแหน่งของชุมชนในอดีตแสดงถึงการพึ่งพาและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและเงื่อนไขตามธรรมชาติ แตกต่างกับเมืองในปัจจุบันที่ไม่สนใจเงื่อนไขเหล่านั้น และพลวัตน้ำหลาก (Flood pulse) ที่เกิดขึ้นเป็นปกติตามธรรมชาติกลับถูกมองว่าเป็นปัญหาและสร้างความเสียหายให้แก่เมือง วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจโครงสร้าง บทบาท การเปลี่ยนแปลง และพลวัตของภูมิทัศน์พลวัตน้ำหลาก เพื่อการกำหนดขอบเขตพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงแม่น้ำมูล และใช้เป็นขอบเขตในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินภายในพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงของแม่น้ำมูลในอำเภอวารินชำราบและอำเภอเมืองอุบลราชธานีจังหวัดอุบลราชธานี วิทยานิพนธ์ฉบับนี้แสดงให้เห็นว่ามีเปลี่ยนแปลงสิ่งปกคลุมผิวดินที่เกิดจากการขยายตัวของเมืองบนพื้นที่ราบน้ำท่วมถึง ส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง บทบาท และพลวัตน้ำหลากที่ดำเนินไปตามธรรมชาติ ซึ่งขัดต่อเงื่อนไขตามธรรมชาติของภูมิทัศน์พลวัตน้ำหลาก จนทำให้เกิดการตัดขาดการเชื่อมต่อระหว่างแม่น้ำและพื้นที่ราบน้ำท่วมถึงซึ่งสร้างความเสียหายให้แก่ระบบนิเวศพลวัตน้ำหลาก ส่งผลต่อนิเวศบริการและการดำเนินชีวิตของมนุษย์ อีกทั้งการขยายตัวบนพื้นราบน้ำท่วมถึงทำให้เกิดน้ำท่วมเมือง ซึ่งสาเหตุที่แท้จริงของน้ำท่วมเมืองคือ เมืองกำลังพัฒนาอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ รอให้การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำที่เป็นไปตามธรรมชาติเข้าท่วมและสร้างความเสียหายซ้ำซากให้แก่เมือง


แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์เมืองโบราณเชียงแสน จ.เชียงราย, อภิปิยา เทียนทรัพย์ Jan 2022

แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาภูมิทัศน์เมืองโบราณเชียงแสน จ.เชียงราย, อภิปิยา เทียนทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เมืองโบราณเชียงแสน คือ เมืองประวัติศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญเพราะเป็นทั้งเมืองต้นกำเนิดอาณาจักรล้านนา และเป็นเมืองหน้าด่านที่มีความโดดเด่นทางกายภาพจากทำเลที่ตั้งเมืองบนส่วนโค้งของแม่น้ำโขงซึ่งเป็นจุดสามเหลี่ยมทองคำบรรจบชายแดนสามประเทศทำให้มีโครงสร้างเมืองที่สอดคล้องตามลักษณะของภูมิประเทศ และด้านวิถีชีวิตที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับโบราณสถานในแง่วัฒนธรรมทางด้านศาสนา แต่ด้วยแผนแม่บทในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่าฉบับก่อนหน้าไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้เท่าที่ควร เนื่องจากแบ่งแยกพื้นที่โบราณสถานและชุมชนออกจากกัน ส่งผลให้ทั้งคุณค่าทางมรดกวัฒนธรรมในเมืองโบราณเชียงแสน และความผูกพันระหว่างชุมชนกับโบราณสถานลดลง วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้เพื่อศึกษาบริบททางประวัติศาสตร์รวมถึงสภาพปัจจุบันของเมืองโบราณเชียงแสนเพื่อเสนอแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณเชียงแสนภายใต้แนวคิดภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ (Historic Urban Landscape) โดยทำการบ่งชี้พื้นที่สำคัญทางวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเมืองโบราณเชียงแสน และลงสำรวจพื้นที่ภาคสนาม ตลอดจนสัมภาษณ์ตัวแทนประธานชุมชน และเจ้าหน้าที่สำนักศิลปากรที่ 7 แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองโบราณเชียงแสนภายใต้แนวคิดภูมิทัศน์เมืองประวัติศาสตร์ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งเน้นการอนุรักษ์ พื้นฟู และพัฒนาพื้นที่สำคัญทางวัฒนธรรมกับประวัติศาสตร์ให้มีความเชื่อมโยงกับกิจกรรมด้านการเรียนรู้ นันทนาการ และประเพณีของชุมชน ตลอดจนการเรียนการสอนในโรงเรียน โดยเฉพาะการใช้งานพื้นที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นแหล่งเรียนรู้นอกห้องเรียนของเมืองโบราณเชียงแสน


ศูนย์พักพิงชั่วคราว สำหรับผู้ประสบภัยในสถานการณ์ภัยพิบัติ, โศจิรัตน์ วรพันธุ์ Jan 2022

ศูนย์พักพิงชั่วคราว สำหรับผู้ประสบภัยในสถานการณ์ภัยพิบัติ, โศจิรัตน์ วรพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภัยพิบัติ สามารถสร้างความเสียหายในชีวิตและทรัพย์สิน โดยมีภาวะโลกร้อนเป็นตัวกระตุ้นให้อัตราการเกิดภัยพิบัติเพิ่มขึ้น 5 เท่าและสร้างความเสียหายมากขึ้น 7 เท่า วิจัยเล่มนี้จึงดำเนินการศึกษาตามวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการรับมือในสถานการณ์ภัยพิบัติ และการจัดศูนย์พักพิงชั่วคราว 2) วิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ในการดำรงชีวิตในศูนย์พักพิงชั่วคราวของผู้ประสบภัย 3) เสนอแนะแนวทางการจัดศูนย์พักพิงชั่วคราว สำหรับผู้ประสบภัยในสถานการณ์ภัยพิบัติอย่างเหมาะสม เพื่อศึกษาการเตรียมรับมือ การตอบสนองความต้องการพื้นฐานด้านที่อยู่ และผลกระทบด้านร่างกาย จิตใจและสังคม ศึกษากรณีศึกษา 3 แห่ง จากสถิติการเกิดภัยพิบัติและความช่วยเหลือด้านที่พัก โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประสบภัย ในความดูแลของศูนย์ปภ.เขต 12 สงขลา, ศูนย์ปภ.เขต 13 อุบลราชธานี และศูนย์ปภ.เขต 18 ภูเก็ต จำนวน 30 คน พร้อมลงพื้นที่สำรวจศูนย์พักพิงชั่วคราว ประเทศไทย มีความได้เปรียบด้านที่ตั้ง จากความอุดมสมบูรณ์และมีฝนตกตามฤดูกาล มีโอกาสเกิดภัยพิบัติน้อย พบเพียงวาตภัย อุทกภัย อัคคีภัยและแผ่นดินไหว เพื่อลดผลกระทบจากภัยพิบัติขึ้นอยู่กับความพร้อม ประสบการณ์และการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ดังนั้นประเทศที่ประสบภัยพิบัติบ่อยครั้ง มักมีการเตรียมแผนรับมือสถานการณ์ และกำหนดอาคารศูนย์พักพิงชั่วคราวไว้ล่วงหน้า โดยศูนย์พักพิงชั่วคราวที่พบแบ่งได้ 2 ประเภท คือ 1) ศูนย์พักพิงชั่วคราวนอกระบบ 2) ศูนย์พักพิงชั่วคราวในระบบ ได้แก่ เต็นท์, บ้านน็อคดาวน์, อาคารถาวรที่มีอยู่เดิม และอาคารถาวรที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อรองรับการอพยพโดยเฉพาะ จากการศึกษาพบว่า ความสูญเสียที่เกิดขึ้นส่วนหนึ่ง เพราะ ขาดการซักซ้อม และผู้ประสบภัยบางส่วนไม่ยอมอพยพ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับศูนย์พักพิงชั่วคราว, บ้านและทรัพย์สินในพื้นที่ประสบภัย และศูนย์พักพิงชั่วคราวไม่เป็นมิตรกับผู้พักพิงกลุ่มเปราะบางที่มีข้อจำกัดด้านร่างกาย แม้ว่าศูนย์พักพิงชั่วคราวอาจไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่ศูนย์พักพิงฯ ที่มีความเหมาะสม อาจเป็นการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพได้เช่นกัน ดังนั้นที่ตั้งศูนย์พักพิงฯ ควรมีความปลอดภัย ลดความเปราะบาง สนับสนุนการสร้างปฏิสัมพันธ์ และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี


กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อความยั่งยืนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2564, แพรววลัย เสนาวุธ Jan 2022

กลยุทธ์การพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เพื่อความยั่งยืนของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2564, แพรววลัย เสนาวุธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันธุรกิจทั่วโลกรวมถึงอุตสาหกรรมพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จำเป็นต้องดำเนินงานโดยคำนึงถึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมภิบาล (ESG) ทั้งนี้ ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดให้ทุกธุรกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ต้องเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานอย่างยั่งยืนภายในปี 2565 งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาแนวทางดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนตามแนวคิด ESG โดยใช้การรวบรวมข้อมูลจากรายงาน 56-1 One Report ประจำปี 2564 ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 15 แห่ง แบ่งเป็นบริษัทขนาดใหญ่ 3 แห่ง บริษัทขนาดกลาง 3 แห่ง และขนาดเล็ก 9 แห่ง รวมถึงสัมภาษณ์ผู้ประกอบการจากบริษัทกรณีศึกษาจำนวน 3 แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลความยั่งยืนเชิงเปรียบเทียบระหว่างขนาดบริษัท และเกณฑ์ ESG รวมทั้งหมด 21 ประเด็น แนวคิด และแนวทางดำเนินงาน รวมถึงผลการดำเนินงาน และปัญหาอุปสรรคที่พบในการดำเนินงานตามแนวทางเพื่อความยั่งยืนดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า 1) บริษัทส่วนใหญ่มีวิสัยทัศน์พันธกิจ และค่านิยมองค์กรด้านความยั่งยืนที่สำคัญ คือ การเป็นบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำ เพื่อพัฒนาธุรกิจอย่างยั่งยืน สร้างประโยชน์และรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายโดยเฉพาะลูกค้า และผลิตสินค้าและบริการที่ตอบโจทย์รูปแบบการดำเนินชีวิต 2) แนวทางดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืน บริษัทส่วนใหญ่มีการรายงานด้านสังคม (social) มากที่สุด เนื่องจากบริษัทมีการพัฒนาต่อยอดมาจากการกําหนดการดําเนินงานเพื่อสังคมในกระบวนการกํากับกิจการ (CSR in Process) โดยเฉพาะประเด็นด้านแรงงาน สังคม ชุมชน รองลงมาคือด้านบรรษัทภิบาลและเศรษฐกิจ (governance & economy) ในประเด็นที่สัมพันธ์กับองค์กร ลูกค้า และนักลงทุน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่สัมพันธ์ต่อการลงทุน และผลตอบแทนทางการเงินของบริษัท และรายงานน้อยที่สุดด้านสิ่งแวดล้อม (environment) ในประเด็นการเปิดเผยข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อม และการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ 3) บริษัทขนาดใหญ่มีความโดดเด่นในการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมอย่างรอบด้าน ขณะที่บริษัทขนาดกลางมุ่งดำเนินงานด้านการจัดการห่วงโซ่อุปทาน และนวัตกรรมทางธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และบริษัทขนาดเล็กมุ่งดำเนินงานโดยคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของชุมชนและสังคม 4) กลยุทธ์การพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยตามแนวคิด ESG ของบริษัทกรณีศึกษามีทั้งหมด 5 ด้าน ได้แก่ (1) กลยุทธ์ด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อลดผลกระทบเชิงลบในการพัฒนาโครงการ ซึ่งมีส่วนสำคัญตลอดช่วงการพัฒนาโครงการ และสนับสนุนการดำเนินกลยุทธ์ที่เหลือ (2) กลยุทธ์การควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์ (3) กลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่ตอบรับพฤติกรรมของผู้บริโภคปัจจุบัน (4) …


ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ของ บริษัทออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) และ ทาวน์เฮาส์ ของ บริษัทบริทาเนีย จำกัด (มหาชน) ระดับราคา 3-6 ล้านบาท ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวาย, กษิดิศ เตชะวิเชียร Jan 2022

ปัจจัยในการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียม ของ บริษัทออริจิ้น พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) และ ทาวน์เฮาส์ ของ บริษัทบริทาเนีย จำกัด (มหาชน) ระดับราคา 3-6 ล้านบาท ในช่วงวิกฤตโควิด-19 ของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวาย, กษิดิศ เตชะวิเชียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ช่วงวิกฤตโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อภาคเศรษฐกิจและสังคมอย่างมากโดยเฉพาะธุรกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิงและมีแนวโน้มไม่กลับมาเหมือนเดิม ทั้งปัจจัยในการตัดสินใจเลือกซื้อที่อยู่อาศัยและกลุ่มผู้บริโภคที่ซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวายกลายเป็นกลุ่มที่มีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยและอาศัยอย่างแท้จริง (Real Demand) ทั้งโครงการคอนโดมิเนียมและทาวน์เฮาส์ อีกทั้งเป็นเป้าหมายหลักที่บริษัทพัฒนาธุรกิจอสังหาฯ ส่วนใหญ่ให้ความสนใจทั้งในช่วงวิกฤตโควิด-19 และช่วงหลังวิกฤตโควิด-19 ผู้วิจัยมีความสนใจศึกษาปัจจัยในการตัดสินใจซื้อคอนโดมิเนียมและทาวน์เฮาส์ของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวาย ในช่วงวิกฤตโควิด-19 โดยมีปัจจัยที่ควบคุม คือ อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ราคาใกล้เคียงกัน และ บริษัทเดียวกัน เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยของกลุ่มเจนเนอร์เรชั่นวาย ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ซื้อคอนโดมิเนียมที่ได้จากการสุ่ม มีช่วงอายุ 29-35 ปี (Y2) มากที่สุด มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสามอันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยโควิด-19 และปัจจัยทำเลที่ตั้ง ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ซื้อทาวน์เฮาส์ที่ได้จากการสุ่ม มีช่วงอายุ 22-28 ปี (Y1) มากที่สุด มีปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสามอันดับแรก ได้แก่ ปัจจัยโควิด-19 ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด ปัจจัยลักษณะบ้าน ซึ่งปัจจัยโควิด-19 และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยมากที่สุด โดยปัจจัยโควิด-19 ไม่ได้ทำให้ความสามารถในการซื้อของผู้บริโภคลดลง ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในด้านของราคาและโปรโมชั่น ช่วยให้ระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภครวดเร็วขึ้น ส่วนใหญ่มีระยะเวลาในการตัดสินใจหนึ่งเดือนหรือน้อยกว่า


แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมของรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในช่วงวิกฤตโควิด-19, ณัฐชานันท์ สิริปิยพัทธ์ Jan 2022

แนวทางการพัฒนาสภาพแวดล้อมของรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในการดูแลสุขภาพแบบองค์รวม ในช่วงวิกฤตโควิด-19, ณัฐชานันท์ สิริปิยพัทธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย เป็นการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติให้ความสนใจเดินทางมาใช้บริการภายในรีสอร์ทเพื่อสุขภาพของประเทศไทย โดยมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รีสอร์ทเพื่อสุขภาพได้รับผลกระทบเป็นอย่างมากและต้องปรับตัวเพื่อผ่านพ้นวิกฤตในครั้งนี้ บทความวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับตัวของรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 แนวทางการบริหารจัดการความเสี่ยง กลุ่มเป้าหมาย การตลาด การบริการ ลักษณะทางกายภาพ การบริหารจัดการภายในองค์กรและแนวทางการพัฒนารีสอร์ทเพื่อสุขภาพเมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคที่มีความคล้ายคลึงกันในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้จึงมีกรณีศึกษา 3 แห่งและเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการหรือผู้บริหาร จำนวน 4 คน ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแพทย์ จำนวน 2 คน ผู้บริโภครีสอร์ทเพื่อสุขภาพ จำนวน 30 คน รวมเป็นจำนวน 36 คน และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการศึกษาพบว่า 1) ด้านกลุ่มเป้าหมายรีสอร์ทเพื่อสุขภาพต้องพึ่งพานักท่องเที่ยวชาวไทยเป็นหลักในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 2) ด้านการตลาดรีสอร์ทเพื่อสุขภาพมีการปรับลดราคาและรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับนักท่องเที่ยวชาวไทย 3) ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเดินทางท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพมากขึ้น โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางไปยังรีสอร์ทเพื่อสุขภาพ คือ ปัจจัยทางด้านราคา รองลงมา คือ ปัจจัยด้านการบริการภายในรีสอร์ทเพื่อสุขภาพ 4) ผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ลงความเห็นว่าการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในประเทศไทยมีแนวโน้มเติบโตภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 งานวิจัยนี้แสดงให้เห็นแนวทางในการปรับตัวของรีสอร์ทเพื่อสุขภาพในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างไรก็ตามภาครัฐควรมีนโยบายช่วยเหลือผู้ประกอบการเพิ่มเติม ในรูปแบบระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว เพื่อเป็นการช่วยเหลือภาคการท่องเที่ยวของประเทศไทยในยามวิกฤต


กระบวนการจัดหาวัสดุก่อสร้างมือสองมาประยุกต์ใช้ในการต่อเติมที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย : กรณีศึกษามูลนิธิสวนแก้ว, ณัชชา โพธิ์อุลัย Jan 2022

กระบวนการจัดหาวัสดุก่อสร้างมือสองมาประยุกต์ใช้ในการต่อเติมที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย : กรณีศึกษามูลนิธิสวนแก้ว, ณัชชา โพธิ์อุลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มูลนิธิสวนแก้ว เป็นองค์กรที่มีนโยบายเปิดรับบริจาควัสดุก่อสร้างมือสอง หรือสิ่งของเหลือใช้ ที่เจ้าของไม่ต้องการใช้แล้ว และพบว่าวัสดุก่อสร้างมือสองเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ผู้มีรายได้น้อย สามารถนำวัสดุไปใช้ในการก่อสร้าง ต่อเติม หรือซ่อมแซม ที่อยู่อาศัยของตนเองได้ในราคาย่อมเยา ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษากระบวนการคัดแยกประเภทวัสดุก่อสร้างในมูลนิธิสวนแก้ว รวมถึงติดตามวัสดุมือสองเหล่านั้น ซึ่งผู้วิจัยได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 หลัง โดยเก็บข้อมูลจากการสำรวจ และการสัมภาษณ์ผู้อยู่อาศัยร่วมกับแรงงานก่อสร้าง เพื่อให้เห็นวิธีการนำวัสดุก่อสร้างมือสองมาประยุกต์ใช้ รวมถึงปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น ผลการศึกษา พบว่ามูลนิธิสวนแก้ว แบ่งวัสดุก่อสร้างมือสองออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ไม้ชนิดต่างๆ วัสดุปูพื้นและหลังคา วัสดุช่องเปิดประตูหน้าต่าง วัสดุสุขภัณฑ์ และวัสดุเบ็ดเตล็ด ส่วนในการนำวัสดุมือสองไปประยุกต์ใช้กับบ้านทั้ง 12 หลัง พบว่ามีปัญหาจากการใช้งานที่แตกต่างกัน โดยแบ่งปัญหาที่เกิดขึ้นเป็น 2 ประเภท คือ การใช้วัสดุตรงตามประเภทการใช้งานแล้วเกิดปัญหา สาเหตุจากการที่เจ้าของบ้าน หรือแรงงานก่อสร้าง ขาดความเข้าใจในวิธีการใช้งานของวัสดุมือสองและวิธีการก่อสร้าง และการใช้วัสดุไม่ตรงตามประเภทการใช้งานแล้วเกิดปัญหา สาเหตุจากเจ้าของบ้านไม่ได้วัสดุตามที่ต้องการ เนื่องจากวัสดุที่ถูกนำมาวางขายในมูลนิธิสวนแก้ว มีรูปแบบไม่ซ้ำเดิมในแต่ละวัน เพราะเป็นของที่ได้จากการรับบริจาค รวมถึงเจ้าของบ้านต้องการประหยัดค่าใช้จ่าย หรืองบประมาณไม่เพียงพอ จึงต้องเลือกวัสดุอื่นมาประยุกต์ใช้แทน และจากคำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญสามารถแบ่งวิธีการแก้ปัญหาเป็น 2 รูปแบบ คือการแก้ปัญหาแบบชั่วคราวด้วยการใช้วัสดุเดิมที่เจ้าของบ้านเลือกใช้ ที่กระทบต่อค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และการแก้ปัญหาแบบยั่งยืน ด้วยการเปลี่ยนวัสดุหรือวิธีก่อสร้างใหม่ ซึ่งรูปแบบนี้จะเหมาะกับผู้ที่มีความพร้อมในการจ่ายที่มากกว่า ดังนั้น แม้ว่าการนำวัสดุมือสองมาใช้ในการก่อสร้างหรือต่อเติมที่อยู่อาศัย จะสามารถตอบโจทย์ให้ผู้มีรายได้น้อยได้ในระดับหนึ่ง แต่หากไม่เข้าใจในคุณสมบัติของวัสดุ และไม่เข้าใจในวิธีก่อสร้าง ก็จะพบปัญหาจากการใช้วัสดุเหล่านี้ ซึ่งในการแก้ปัญหาเบื้องต้นสำหรับผู้มีรายได้น้อย ในการนำวัสดุมือสองไปใช้งาน พบว่า 1. ควรเลือกวัสดุมือสองให้ตรงตามประเภทการใช้งาน 2. ควรเลือกวัสดุมือสองที่ยังอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้ และ 3. ควรเตรียมความพร้อมของวัสดุมือสองก่อนนำไปใช้งาน ซึ่งถ้าหากผู้มีรายได้น้อยสามารถนำวัสดุมือสองไปใช้ในการก่อสร้างได้อย่างถูกวิธีก็จะส่งผลต่อการลดปัญหาจากการใช้วัสดุได้อีกทางหนึ่ง


การศึกษาหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดพักอาศัยรวม เขตกรุงเทพมหานคร, นภสร จินดาพงษ์ Jan 2022

การศึกษาหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวในรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดพักอาศัยรวม เขตกรุงเทพมหานคร, นภสร จินดาพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดพักอาศัยรวมที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้อง หรือมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 4,000 ตร.ม. ขึ้นไปต้องจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยหนึ่งในหลักเกณฑ์คือ พื้นที่สีเขียว ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดความน่าอยู่ของเมือง ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การประกาศใช้การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมในปีพ.ศ. 2535 หลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์และสภาพสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน ในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการปรับปรุงหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวให้ดีขึ้น โดยกำหนดกรอบการวิจัยคือ การศึกษาโครงการอาคารชุดพักอาศัยรวมที่ผ่านการพิจารณาในปีพ.ศ. 2561 เป็นกรณีศึกษา และจัดทำข้อเสนอแนะการปรับปรุงหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียว ผลการศึกษาแบ่งเป็น 2 ลักษณะคือ การวิจัยเชิงเอกสารพบว่า พื้นที่สีเขียวทุกประเภทสามารถทำได้เกินจากหลักเกณฑ์ขั้นต่ำที่กำหนดไว้ ซึ่งสอดคล้องกับการสัมภาษณ์กลุ่มที่ปรึกษาผู้จัดทำรายงานว่า ปัจจัยสำคัญที่สุดในการจัดทำพื้นที่สีเขียว คือ การทำให้ผ่านหลักเกณฑ์ขั้นต่ำ โดยไม่คำนึงว่าจะต้องเกินมากน้อยเพียงไร ซึ่งแสดงให้เห็นจากตัวเลขพื้นที่สีเขียวรวมที่หลักเกณฑ์ขั้นต่ำกำหนดไว้ 1 ตร.ม. ต่อ 1 คนนั้นมีค่าเฉลี่ยเกินเพียง 1.07 ตร.ม. ต่อ 1 คน ปัจจัยสำคัญรองลงมาคือ ชนิดพันธุ์ไม้ยืนต้น เพราะต้องนำไปคำนวณการดูดซับคาร์บอน โดยกลุ่มที่ปรึกษาขอให้กลุ่มผู้ออกแบบเลือกใช้ชนิดพันธุ์จากตารางอ้างอิงที่ถูกทำขึ้นในปีพ.ศ. 2538 และยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน จากการสัมภาษณ์กลุ่มผู้ออกแบบพบว่า ไม่สามารถนำชนิดพันธุ์เหล่านั้นมาใช้ได้จริง เพราะตารางอ้างอิงนี้ไม่ได้ตรวจทานเพิ่มเติมมาถึง 28 ปีแล้ว ซึ่งสอดคล้องกับการสำรวจพบว่าชนิดพันธุ์ในเล่มรายงานไม่ตรงกับในโครงการจริง พิสูจน์ได้ว่าหลักเกณฑ์การดูดซับคาร์บอนนี้ไม่สามารถปฏิบัติจริงได้เพราะชนิดพันธุ์ที่ใช้ในการคำนวณไม่ได้นำมาใช้จริง และเมื่อรวมกับการสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพื้นที่สีเขียว จึงได้นำมาสู่ข้อเสนอแนะการปรับปรุงหลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียว ได้แก่ 1) หลักเกณฑ์พื้นที่สีเขียวรวม 1 ตร.ม. ต่อ 1 คน ต้องมีข้อกำหนดหลักเกณฑ์ขั้นต่ำมากขึ้น เนื่องด้วยหลักเกณฑ์เดิมไม่เพียงพอต่อสถานการณ์การอยู่อาศัยที่มีความหนาแน่นขึ้นมากกว่า 30 ปีที่ผ่านมา 2) หลักเกณฑ์ขั้นต่ำประเภทอื่นๆ ควรถูกนำมาประเมินเพื่อให้สอดคล้องต่อสถานการณ์สิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตของผู้คนในปัจจุบัน 3) หลักเกณฑ์การดูดซับคาร์บอนต้องปรับปรุงให้ปฏิบัติได้จริง เพื่อให้สิ่งที่ปรากฎในเล่มรายงานส่งผลไปยังการพัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้นได้ต่อไป


การเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณของแรงงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ 4 แห่ง, ทศพล นิลเปรม Jan 2022

การเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณของแรงงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา บริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ 4 แห่ง, ทศพล นิลเปรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ประเทศไทยมีประชากรผู้สูงอายุทั้งหมด จากร้อยละ 12 และใน พ.ศ. 2564 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 18 จากประชากรรวมทั้งประเทศ ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวพบว่าสถิติผู้มีงานทำทั่วประเทศที่มีอายุ 50-59 ปี มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี และยังเป็นไปในทิศทางเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันกับสัดส่วนแนวโน้มแรงงานก่อสร้างในเขตกทม. ที่เพิ่มจาก ร้อยละ 12 ในพ.ศ. 2553 เป็นร้อยละ 16 ใน พ.ศ. 2564 จากจำนวนแรงงานก่อสร้างรวมทั้งประเทศ จึงอาจกล่าวได้ว่ายิ่งมีแรงงานก่อสร้างที่อยู่อาศัยในแคมป์มากขึ้นจะมีสัดส่วนแรงงานที่ต้องสูงอายุมากขึ้น ซึ่งแรงงานก่อสร้างที่พักอาศัยในแคมป์คนงาน หลังจากเกษียณอายุแล้วไม่สามารถอาศัยอยู่ในแคมป์ได้ แรงงานกลุ่มนี้ก่อนวัยเกษียณอายุส่วนใหญ่จะมีลักษณะสังคม เศรษฐกิจ กรรมสิทธิ์ การเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยหลังเกษียณอายุอย่างไร โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษากลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มแรงงานก่อสร้างที่ปฏิบัติงานอยู่ในโครงการก่อสร้าง และพักอยู่ในแคมป์คนงานที่รับผิดชอบโดย 4 บริษัทกรณีศึกษา ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างขนาดใหญ่ที่จดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์ และสรุปผลการเตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณจากการเก็บแบบสอบถามแรงงานก่อสร้างชาวไทย 400 ตัวอย่าง และชาวเมียนมา 400 ตัวอย่าง ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึก 20 คน จากแรงงานกลุ่มประชากรแรงงานก่อสร้าง จำนวน 2,471 คน จากการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างแรงงานก่อสร้างชาวไทย มีกลุ่มที่เตรียมการ และไม่เตรียมการด้านที่อยู่อาศัยก่อนเกษียณ ร้อยละ 84.25 และ 15.75 ตามลำดับ ทั้งสองกลุ่มมีปัจจัยที่เหมือนกันในด้านสังคม ส่วนใหญ่มีสถานะสมรส, มีบุตร 1 คน, ตำแหน่งกรรมกร ด้านเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่มีรายได้ต่อคนต่อเดือน น้อยกว่า 12,000 บาท, รายจ่ายต่อคนต่อเดือน 5,000-10,000 บาท, มีการออมเงินในบัญชีเงินฝาก, มีสิทธิ์ประกันสังคม, ไม่มีโรคประจำตัว, จะหยุดทำงานก่อสร้างเมื่ออายุ 55-60 ปี, จะทำเกษตรกรรมหลังเกษียณ ด้านที่อยู่อาศัยภูมิลำเนาเดิม ส่วนใหญ่มีที่ตั้งภูมิลำเนาเดิมอยู่ภาคอีสาน, ไม่มีปัญหาในที่อยู่อาศัย, กลุ่มที่มีปัญหาส่วนใหญ่ต้องการซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุด, มีงบประมาณที่คาดไว้ น้อยกว่า 100,000 บาท, ด้วยเงินออม, มีการออมเงินไว้บางส่วนน้อยกว่า 20,000 บาท, จะดำเนินการ 3-5 ปีข้างหน้า และมีปัจจัยที่แตกต่างกันในด้านที่อยู่อาศัยในภูมิลำเนาเดิม …


กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมโครงการบ้านจัดสรรประเภทบ้านเดี่ยว ระหว่างปี พ.ศ.2559-2565 กรณีศึกษา 4 บริษัทมหาชนจำกัด, พรชัย ประสงค์ฉัตรชัย Jan 2022

กลยุทธ์การปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมโครงการบ้านจัดสรรประเภทบ้านเดี่ยว ระหว่างปี พ.ศ.2559-2565 กรณีศึกษา 4 บริษัทมหาชนจำกัด, พรชัย ประสงค์ฉัตรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมเป็นหัวใจของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Product) ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในช่วงพ.ศ.2559-2565 ประเทศไทยประสบปัญหาโควิด-19 ในปี 2563 จากนั้นพบว่าอัตราการขายบ้านเดี่ยวโครงการบ้านจัดสรรในเขตกรุงเทพและปริมณฑลสูงขึ้นกว่าที่อยู่อาศัยประเภทอื่น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และการปรับเปลี่ยนรูปแบบทางสถาปัตยกรรมบ้านเดี่ยวในโครงการบ้านจัดสรรในระดับราคา 5-10 ล้านบาทที่เปิดขายในช่วงปี พ.ศ. 2559 – 2565 ของบริษัทที่มีรายได้จากบ้านแนวราบมากที่สุด 4 บริษัทได้แก่ 1) บมจ. เอพี(ไทยแลนด์) (AP) 2) บมจ.เอสซี แอสเสท คอร์ปอเรชั่น (SC) 3) บมจ. แสนสิริ (SIRI) 4) บมจ. ศุภาลัย (SPALI) โดยรวบรวมแบบบ้านทั้ง 4 บริษัทจากแบบเริ่มต้น 13 แบบใน 18 โครงการ และศึกษา 1) รวบรวมข้อมูลกลยุทธ์จากรายงานประจำปี56-1 และรวบรวมแบบบ้านจากเว็บไซต์รีวิวโครงการ 2) สัมภาษณ์การดำเนินกลยุทธ์และสัมภาษณ์สอบทานการปรับเปลี่ยนรูปแบบบ้าน ผลการศึกษาพบว่าในช่วงก่อน พ.ศ.2563 มีการดำเนินกลยุทธ์องค์กรแตกต่างกันแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลยุทธ์องค์กรมุ่งเน้นการพัฒนากายภาพ จำนวน 2 บริษัทคือ AP และ SC และอีก 2 บริษัทมีกลยุทธ์มุ่งเน้นการพัฒนาการอยู่อาศัยและพัฒนาสังคมคือ SIRI และ SPALI เมื่อได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกและการแพร่ระบาดโควิด-19 ทำให้ทั้ง 4 บริษัทปรับกลยุทธ์องค์กรในทิศทางเดียวกันคือมุ่งการพัฒนาการอยู่อาศัยเพื่อตอบสนองกลุ่มลูกค้าที่แตกต่างกัน นำไปสู่การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์พัฒนาผลิตภัณฑ์จากฐานกลยุทธ์เดิมที่แตกต่างกันในแต่ละบริษัท โดยพบว่ากลุ่มลูกค้ามี 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีรายได้ค่อนข้างสูง จำนวน 2 บริษัทคือ AP และ SC และอีก 2 บริษัทเน้นกลุ่มรายได้ไม่สูงคือ SIRI และ SPALI และภาพรวมการดำเนินกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทุกบริษัทปรับเพิ่มกลยุทธ์จากฐานกลยุทธ์เดิม จำแนกได้เป็นกลยุทธ์ 1) กลยุทธ์การพัฒนาขนาดพื้นที่ใช้สอย (AP) 2) กลยุทธ์ด้านความยืดหยุ่นพื้นที่ใช้สอยพัฒนาFunction (SC) 3) กลยุทธ์ความยืดหยุ่นพื้นที่และการออกแบบที่โดดเด่น (SIRI) …


การปรับตัวของร้านค้าปลีกในช่วงตั้งแต่ พ.ศ.2561-2565 ที่มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค : กรณีศึกษา รูปแบบร้านค้าอยู่กับที่และรูปแบบร้านค้าเคลื่อนที่ ประเภทธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, ศิวกร สิงหเดช Jan 2022

การปรับตัวของร้านค้าปลีกในช่วงตั้งแต่ พ.ศ.2561-2565 ที่มีความสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภค : กรณีศึกษา รูปแบบร้านค้าอยู่กับที่และรูปแบบร้านค้าเคลื่อนที่ ประเภทธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม, ศิวกร สิงหเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการดำรงชีวิต มีความเกี่ยวข้องจากทั้งที่อยู่อาศัย แหล่งงาน สาธารณูปโภค และสาธารณูปการ ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญส่วนหนึ่งในการดำรงชีวิต โดยจะพบว่าตั้งแต่ก่อนปี 2561 ลักษณะการใช้ชีวิตโดยทั่วไปแบบดั้งเดิมเป็นลักษณะที่ ผู้รับบริการต้องเข้าหาผู้ให้บริการ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เริ่มต้นตั้งแต่ปลายปี 2562 และมีการแพร่ระบาดมากขึ้นอย่างต่อเนื่องในปี 2563 ทางภาครัฐประกาศหยุดการดำเนินการต่าง ๆภายในประเทศ ทั้งการประกาศปิดห้างสรรพสินค้า ตลาด แหล่งชุมชนและการเดินทางข้ามจังหวัด ส่งผลกระทบโดยตรงต่อร้านค้าในธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่สามารถเปิดให้บริการแบบเดิมได้ จากการปรับตัวของผู้ประกอบการร้านค้าในช่วงปี 2564 ถึง 2565 พบว่าผู้ประกอบการหลายรายมีการปรับรูปแบบร้านค้าเพื่อเพิ่มช่องทางในการจำหน่ายและเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคที่หลากหลาย จากร้านค้าดั้งเดิมที่เป็นลักษณะการเช่าพื้นที่ภายในห้างสรรพสินค้า มีการปรับตัวเป็นลักษณะการเช่าพื้นที่ภายนอก(Stand-alone) ในรูปแบบร้านค้าอยู่กับที่ หรือบางรายมีการปรับเป็นลักษณะรถขายอาหารเคลื่อนที่(Food truck)ในรูปแบบร้านค้าเคลื่อนที่ เป็นลักษณะของการให้บริการแบบที่ ผู้ให้บริการเข้าหาผู้รับบริการ การศึกษาครั้งนี้แบ่งการเก็บข้อมูลรูปแบบร้านค้าอยู่กับที่และรูปแบบร้านค้าเคลื่อนที่ เป็น 3 ส่วน คือ 1)ลักษณะกายภาพและการบริหารจัดการของร้านค้า 2)พฤติกรรมของผู้บริโภค 3)ปัจจัยและเหตุผลในการตัดสินใจของผู้ประกอบการ จากผลการศึกษาร้านค้าในผู้ประกอบการรายเดียวกัน พบว่า ลักษณะร้านค้าแบบดั้งเดิมจะให้ความสำคัญกับพื้นที่ให้บริการลูกค้าเพื่อให้สอดคล้องกับพื้นที่ตั้งที่มีศักยภาพสูง มีปริมาณการเข้ามาของกลุ่มคนในพื้นที่จำนวนมากและมีความหลากหลาย ซึ่งจะแตกต่างจากร้านค้าที่เกิดจากการปรับตัว ที่เลือกเข้าหากลุ่มผู้บริโภค ทั้งในย่านชุมชนและทางสัญจรหลักในพื้นที่ เพื่ออำนวยความสะดวกในการให้บริการใกล้กับแหล่งที่อยู่อาศัย โดยอธิบายเพิ่มเติมได้ว่า ขนาดพื้นที่ร้านค้าที่แตกต่างกัน จะส่งผลต่อรูปแบบการให้บริการ จำนวนพนักงาน และช่วงเวลาในการเปิดให้บริการ ตามแต่ละลักษณะของร้านค้า สาธารณูปโภคและสาธารณูปการโดยรอบพื้นที่ โดยลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่จัดจำหน่ายจะขึ้นอยู่กับข้อจำกัดของพื้นที่ร้านค้าที่สามารถทำได้ ส่วนพฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้ามาใช้บริการในวันธรรมดาและวันหยุดแตกต่างกัน ตามลักษณะของตำแหน่งที่ตั้งร้านค้า ระยะทางและช่วงเวลาในการเข้าใช้บริการ ส่วนผู้ประกอบการตัดสินใจปรับลักษณะการใช้งานพื้นที่ร้านค้าดั้งเดิมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงขยายโมเดลธุรกิจร้านค้าใหม่ๆ ลดต้นทุนให้เกิดความคล่องตัว และรองรับการให้บริการเดลิเวอรี่ เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นจากพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงที่ผ่านมา จากงานวิจัยพบว่าการนำข้อมูลระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) มาปรับใช้ช่วยให้เกิดประโยชน์ในการเข้าใจลักษณะของพื้นที่รวมถึงการเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งของร้านค้า ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ในขณะเดียวกันผลการศึกษาในเรื่องดังกล่าว ผู้วิจัยทำการศึกษาเฉพาะด้านกายภาพและพฤติกรรมผู้บริโภคเท่านั้น หากผู้ที่มีความสนใจอาจศึกษาในด้านของการลงทุนธุรกิจร้านค้าปลีกเพิ่มเติมเพื่อเป็นแนวทางการตัดสินใจและลดความผิดพลาดในการลงทุนเพิ่มมากขึ้น


กลยุทธ์การปรับตัวของโรงแรม ภายใต้แนวคิดเวิร์คเคชั่น (Workation) : กรณีศึกษา โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา มาริส รีสอร์ท จอมเทียน โรงแรมเดอะเบย์วิว พัทยา โรงแรมเวอร์โซ หัวหิน และโรงแรมแอทที บูทีค, ศุภวิทย์ ราศรี Jan 2022

กลยุทธ์การปรับตัวของโรงแรม ภายใต้แนวคิดเวิร์คเคชั่น (Workation) : กรณีศึกษา โรงแรมเซ็นทรา บาย เซ็นทารา มาริส รีสอร์ท จอมเทียน โรงแรมเดอะเบย์วิว พัทยา โรงแรมเวอร์โซ หัวหิน และโรงแรมแอทที บูทีค, ศุภวิทย์ ราศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เวิร์คเคชั่น เป็นแนวคิดสนับสนุนการท่องเที่ยวแบบทำงานไปด้วย ท่องเที่ยวไปด้วย และโครงการเวิร์คเคชั่นไทยแลนด์ โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นโครงการที่สนับสนุนการใช้แนวคิดนี้ ซึ่งเป็นหนึ่งในแนวทางการปรับตัวของโรงแรม งานวิจัยนี้นี้มุ่งศึกษากลยุทธ์การปรับตัวของโรงแรมภายใต้แนวคิดเวิร์คเคชั่น (Workation) จากโรงแรมที่ร่วมโครงการเวิร์คเคชั่นไทยแลนด์ ในจังหวัดชลบุรีและประจวบคีรีขันธ์ จำนวน 4 แห่ง โดยรวมข้อมูลลักษณะการดำเนินงาน กลยุทธ์การปรับตัว และผลการดำเนินงาน ในช่วงระหว่าง พ.ศ. 2563 – 2565 นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบ เพื่อนำไปสู่ข้อสรุปแนวทางการนำแนวคิดเวิร์คเคชั่นมาประยุกต์ใช้กับโรงแรม ผลการศึกษาพบว่า 1) โครงการเวิร์คเคชั่นไทยแลนด์ ใช้วิธีการเสนอขายสินค้าและบริการให้กับผู้ซื้อคือ กลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องการให้พนักงานไปเวิร์คเคชั่น กับกลุ่มผู้ขายคือโรงแรมที่มีความสนใจกลุ่มลูกค้านี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยว สร้างมิติใหม่ของการท่องเที่ยวและยกระดับสถานประกอบการแบบเวิร์คเคชั่น และกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล 2) กลยุทธ์ทางการตลาดที่โรงแรมให้ความสำคัญ คือ กลยุทธ์ความแตกต่าง (Differentiation) ในการจัดสภาพแวดล้อมภายในโครงการที่โดดเด่น และการเน้นช่องทางการขายทางภาครัฐและบริษัทรวมถึงโครงการเวิร์คเคชั่นไทยแลนด์เพิ่มมากขึ้น 3) กลยุทธ์ทางกายภาพที่โรงแรมให้ความสำคัญ คือ กลยุทธ์การปรับสภาพแวดล้อมภายในโรงแรม โดยการเพิ่มปริมาณของจำนวนชุดโต๊ะนั่งทำงานในบริเวณพื้นที่ส่วนกลางของโครงการ แต่รูปแบบของเครื่องเรือนยังไม่เป็นไปตามหลักการยศาสตร์ พร้อมกับปรับปรุงระบบอินเทอร์เน็ตไร้สาย และ 4) ผลการดำเนินงานพบว่า แนวโน้มส่วนใหญ่ของโรงแรมกรณีศึกษา มีแนวโน้มด้านอัตราเข้าพักเพิ่มขึ้น สัดส่วนรายได้จากอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้น และแนวโน้มสัดส่วนช่องทางการขายด้านช่องทางการขายภาครัฐและบริษัทเพิ่มขึ้น จากการปรับตัวโดยรวมพบว่า โรงแรมกรณีศึกษาที่มีการบริหารงานอย่างอิสระมีการปรับทั้งกลยุทธ์และสภาพแวดล้อมทางกายภาพมากที่สุด ทั้งนี้แนวคิดเวิร์คเคชั่นเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนกลยุทธ์การปรับตัวของธุรกิจทั้ง 4 กรณีศึกษา ผลการดำเนินงานทางธุรกิจย่อมมีองค์ประกอบและปัจจัยหลากหลายในบริบทที่แตกต่างกัน งานวิจัยนี้พบว่าโรงแรมที่เข้าร่วมโครงการมีความสนใจในการนำแนวคิดเวิร์คเคชั่นมาปรับใช้ธุรกิจ โดยเห็นว่าโครงการเวิร์คเคชั่นไทยแลนด์ควรมีการจัดทำรายละเอียดของโครงการอย่างมีแบบแผนที่ชัดเจนมากขึ้น พร้อมกับควรให้การสนับสนุนแก่สถานประกอบการเพิ่มเติมทั้งในด้านองค์ความรู้ในการพัฒนาสภาพแวดล้อมเพื่อการเวิร์คเคชั่น การออกแบบตามหลักการยศาสตร์ (Ergonomic design) การพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล และการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนให้กับบริษัทหรือพนักงานที่สนใจไปเวิร์คเคชั่น ประสานงานกับท้องถิ่นเพื่อที่จะให้เกิดมิติการท่องเที่ยวแบบเวิร์คเคชั่นอย่างเป็นระบบนิเวศน์ (Ecosystem) และจัดให้มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำเพื่อยกระดับสถานประกอบการแบบเวิร์คเคชั่นต่อไปในอนาคต


รูปแบบการปรับปรุงทางกายภาพของสินทรัพย์รอการขายประเภทบ้านเดี่ยวในเขตพื้นที่ กรุงเทพฯ ของบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) Bam, อรจิรา ศรีสวัสดิ์ Jan 2022

รูปแบบการปรับปรุงทางกายภาพของสินทรัพย์รอการขายประเภทบ้านเดี่ยวในเขตพื้นที่ กรุงเทพฯ ของบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) Bam, อรจิรา ศรีสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการเติบโตแบบก้าวกระโดดของปริมาณทรัพย์สินรอการขายซึ่งเป็นผลมาจากช่วงวิกฤตเศรษฐกิจใน พ.ศ. 2540 ทําให้เกิดการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อเข้าบริหารหนี้เสียจากสถาบันการเงิน โดยภาพรวมทรัพย์สินรอการขายของไทย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่พ.ศ. 2555 และหลังจากพ.ศ. 2559 เป็นการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องแบบชะลอตัวลง บทความนี้มีประเด็นคําถามในงานวิจัยคือ ปัจจัยทางกายภาพด้านใดที่มีความสําคัญและส่งผลต่อการจําหน่าย ทรัพย์สินรอการขายประเภทที่อยู่อาศัย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการปรับปรุงทางกายภาพของสินทรัพย์ดังกล่าว พร้อมศึกษาแนวทางและนโยบายการจัดการทรัพย์สินรอการขายของบริษัท บริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จํากัด (มหาชน) หรือ บสก. ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ได้มีการเก็บข้อมูลโดยการสืบค้นจากข้อมูลเอกสารแนวคิดทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับบ้าน มือสองประเภททรัพย์สินรอการขาย และศึกษาจากฐานข้อมูลอนุกรมเวลาเป็นข้อมูลการซื้อขายสินทรัพย์ของบสก.โดยตรง ซึ่ง ข้อมูลที่นํามาวิเคราะห์อยู่ในช่วง พ.ศ. 2541-2562 รวมระยะเวลา 21 ปี ต่อมาเป็นขั้นตอนการสํารวจทรัพย์สินรอการขายใน ปัจจุบัน เพื่อนําข้อมูลดังกล่าวไปสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญและผู้บริหาร ถึงแนวทางการบริหารจัดการสินทรัพย์ของเจ้าหน้าที่ แล้ว จึงวิเคราะห์ มุมมองสอดคล้อง เพื่อทราบถึงปัจจัยทางกายภาพด้านที่ส่งผลสําคัญต่อการจําหน่ายสินทรัพย์ดังกล่าวของบสก. จากการศึกษาพบว่าบริษัทฯมีสินทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยทั้งหมด 9,136 รายการ มูลค่า 16,008 ล้านบาท การ กระจุกตัวจะอยู่ที่จังหวัดกรุงเทพฯมากที่สุดมี 3,592 รายการ มูลค่า 7,770 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 48 ของสินทรัพย์รวม และหากศึกษาการกระจุกตัวของจํานวนและราคาสินทรัพย์จะพบว่าบ้านเดี่ยวเป็นทรัพย์ที่มีเหลือขายมากที่สุดรวม 735 รายการ มูลค่ารวม 3,874 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 49 ต่อมาเมื่อจําแนกสินทรัพย์ตามหลักเกณฑ์ของบสก. จะพบว่าทรัพย์ ราคา 5-10 ล้านบาทจะเหลือขายมากที่สุดมี 221 รายการ คิดเป็นร้อยละ 30 ของสินทรัพย์ประเภทบ้านเดี่ยว ทั้งนี้จากการ วิเคราะห์ทําให้ทราบว่าระยะเวลาการถือครองบ้านของบสก.เฉลี่ยอยู่ที่ 3.2 ปี ส่วนระยะเวลาการถือครองบ้านหลังนํามา ปรับปรุงนั้นอยู่ที่ 2.1 ปี ลดลงจากค่าเฉลี่ยร้อยละ 34 โดยก่อนนํามาปรับปรุงทรัพย์ดังกล่าวจะเป็นทรัพย์ที่คงค้างอยู่เป็น เวลานานและยังไม่ได้รับการสนใจ แต่เมื่อนําทรัพย์มาพัฒนาก็สามารถจําหน่ายได้รวดเร็วขึ้น โดยบ้านที่จําหน่ายออกได้เร็วกว่า ค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือบ้านที่มุ่งเน้นการปรับปรงุ รูปลักษณค์ ือความสะอาดและทาสีภายนอกใหม่ ส่วนบ้านที่จําหน่ายออกได้ล่าชา้ กว่าค่าเฉลี่ยคือบ้านที่ปรับปรุงใหม่และทาสีใหม่ทั้งหลังมีสภาพพร้อมอยู่แต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มมากขึ้น ทําให้จําหน่ายยาก


กระบวนการตัดสินใจซื้อทาวน์โฮมระดับราคาปานกลาง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 : กรณีศึกษา โครงการทาวน์โฮม ที่เปิดขายระหว่าง พ.ศ. 2563-2565 ในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร, อัจฉรารัช เอี่ยมสำอางค์ Jan 2022

กระบวนการตัดสินใจซื้อทาวน์โฮมระดับราคาปานกลาง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 : กรณีศึกษา โครงการทาวน์โฮม ที่เปิดขายระหว่าง พ.ศ. 2563-2565 ในเขตดอนเมือง กรุงเทพมหานคร, อัจฉรารัช เอี่ยมสำอางค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อรูปแบบการใช้ชีวิตทำให้ต้องอาศัยอยู่ที่บ้านมากขึ้น จึงส่งผลให้ที่อยู่อาศัยมีความสำคัญมากขึ้นกว่าเดิม ในงานวิจัยฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการตัดสินใจซื้อทาวน์โฮมระดับราคาปานกลาง เขตดอนเมือง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ปี 2563-2565 มีการรวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจและการสัมภาษณ์ผู้ซื้อ จำนวน 80 ตัวอย่าง ซึ่งเป็นโครงการทาวน์โฮมของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (บริษัทใน SET) 2 โครงการ และโครงการทาวน์โฮมของบริษัทที่จดทะเบียนนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (บริษัทนอก SET) 2 โครงการ รวมเป็น 4 โครงการ วิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบลักษณะผู้ซื้อรวมถึงกระบวนการตัดสินใจซื้อทาวน์โฮมในช่วงโควิด-19 ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ซื้อทาวน์โฮมระดับราคาปานกลาง ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เป็นกลุ่มอายุ 24-30 ปี คิดเป็นร้อยละ 57 ประกอบอาชีพค้าขาย/ขายของออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 28 มีรายได้เฉลี่ยครัวเรือนมากกว่า 100,000 ขึ้นไป/เดือน คิดเป็นร้อยละ 45 โดยผู้ซื้อส่วนใหญ่มีลักษณะที่อยู่อาศัยเดิมเป็นการเช่าคอนโดมิเนียมอยู่ คิดเป็นร้อยละ 28 2) กระบวนการตัดสินใจซื้อแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน คือ (1) การตระหนักรู้ถึงปัญหา เกิดจากที่อยู่อาศัยเดิมเป็นการเช่ามีพื้นที่ใช้สอยไม่เพียงพอ จึงมีความต้องการพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น และความเป็นเจ้าของบ้าน (home ownership) (2) การค้นหาข้อมูล ผ่านสื่อโฆษณาจากเฟสบุ๊ค รวมถึงการค้นหาข้อมูลต่อในเว็บไซต์โดยใช้คำค้นหาว่าโครงการบ้านในดอนเมือง (3) การประเมินทางเลือก หลังจากผู้ซื้อได้ข้อมูลจึงเดินทางไปเยี่ยมชม 2 โครงการ และมีความสนใจโครงการอยู่ 1 โครงการ โดยมีการพิจารณาปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ จึงทำให้ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ตัดสินใจซื้อบ้านเร็วขึ้น (4) การตัดสินใจซื้อ ใช้ระยะเวลาในการตัดสินใจซื้อทาวน์โฮม ในช่วงโควิด-19 อยู่ที่ 5-7 เดือน โดยครอบครัวและตนเองมีส่วนร่วมในการตัดสินใจครั้งนี้ (5) ความรู้สึกหลังการซื้อ มีความพึงพอใจกับพื้นที่ทำห้องอเนกประสงค์ และสวนสาธารณะเป็นอย่างมากที่ตอบสนองการใช้งานในช่วงสถานการณ์โควิด-19 เป็นอย่างดี 3) ผู้ซื้อทาวน์โฮมมีเหตุผลสำคัญในการตัดสินใจซื้อบ้านหลังนี้ คือ มีพื้นที่ทำห้องอเนกประสงค์ได้หลากหลาย อัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงสะท้อนไปยังระยะเวลาในการผ่อนชำระที่ลดลง และโปรโมชั่น ส่วนลด ของแถมที่มีความคุ้มในการซื้อบ้านในครั้งนี้ 4) ปัจจัยสถานการณ์โควิด-19 กับการตัดสินใจซื้อทาวน์โฮม ได้แก่ ทำเลที่ตั้งใกล้แหล่งสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านผลิตภัณฑ์ …


พลวัตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่นครปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในช่วง ค.ศ. 2000-2020, แสงสุกสัน พันทุวง Jan 2022

พลวัตการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่นครปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในช่วง ค.ศ. 2000-2020, แสงสุกสัน พันทุวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา นครปากเซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินในเมือง รวมถึงการขยายตัวของเมืองอย่างไร้ทิศทาง ที่อาจสร้างปัญหาต่อคุณภาพชีวิตของประชากรและสิ่งแวดล้อมของเมืองในอนาคต งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพลวัตของการใช้ประโยชน์ที่ดินของเมืองในนครปากเซ และศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการขยายตัวของเมืองในระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา โดยการวิเคราะห์ใช้ข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินจากภาพถ่ายดาวเทียมปี 2000, 2010 และ 2020 โดยใช้แบบจำลองมาร์คอฟ (Markov Model) ในซอฟต์แวร์ TerrSet 2020 ตรวจสอบรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินและสิ่งปกคลุมดินใน 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ปี 2000-2010, 2010-2020 และ 2000-2020 นอกจากนั้นยังวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการขยายตัวของเมืองด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเจ้าหน้าที่จากกรมโยธาธิการและการขนส่งระดับแขวง ระดับเมือง และ อาจารย์ที่สอนในมหาวิทยาลัยจำปาสัก ผลการวิจัยพบว่าพื้นที่ป่าไม้มีความน่าจะเปลี่ยนเป็นพื้นที่ประเภทเบ็ดเตล็ดมากที่สุด รองลงมาคือพื้นที่เกษตรกรรม ส่งผลให้พื้นที่ป่าไม้ และพื้นที่เกษตรกรรมมีพื้นที่ลดลงมากกว่าที่ดินประเภทอื่น โดยในช่วงปี 2000-2020 มีการสูญเสียพื้นที่ป่าไป 93.4 ตร.กม. (ร้อยละ 18.60) และพื้นที่เกษตรกรรมลดลง 1.49 ตร.กม. (ร้อยละ 0.26) ส่วนพื้นที่เบ็ดเตล็ดเพิ่มขึ้นอย่างมากโดยเพิ่มขึ้น 74.96 ตร.กม. (ร้อยละ 14.87) รองลงมาเป็นพื้นที่ชุมชนและสิ่งปลูกสร้างมีพื้นที่เพิ่มขึ้น 18.04 ตร.กม. (ร้อยละ 3.61) สำหรับปัจจัยสำคัญที่ส่งผลทำให้นครปากเซขยายตัวไปทางทิศตะวันออกมากที่สุดมี 5 ปัจจัยสำคัญได้แก่ (1) ปัจจัยด้านความใกล้เขตการศึกษา (ใกล้เขตมหาวิทยาลัย) (2) ปัจจัยด้านความใกล้เส้นทางสายหลัก (3) ปัจจัยด้านภูมิประเทศที่ไม่เสี่ยงต่อภัยน้ำท่วมที่เกิดจากแม่น้ำโขง และแม่น้ำเชโดน (4) ปัจจัยด้านนโยบาย และแผนการพัฒนาเมืองที่ภาครัฐกำหนด และ (5) ปัจจัยด้านความใกล้เขตอุตสาหกรรม โดยผลการวิจัยจะสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับนักวางแผนและนักพัฒนาเมือง รวมถึงหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาพื้นที่เมืองอย่างยั่งยืนทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และสังคม


ผลกระทบจากปรากฏการณ์การลดลงของจำนวนประชากรต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี, สิรวิชญ์ ปัทมะสุวรรณ์ Jan 2022

ผลกระทบจากปรากฏการณ์การลดลงของจำนวนประชากรต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี, สิรวิชญ์ ปัทมะสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการลดลงของประชากรที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษา กล่าวคือโรงเรียนของรัฐ ที่เป็นสาธารณูปการขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญ ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลกระทบในมิติหนึ่งจากการลดลง ของประชากรในพื้นที่ คล้ายกับภาพความเสื่อมถอยของโครงสร้างพื้นฐาน ตามบริบทของปรากฏการณ์ เมืองหดที่ถูกกล่าวถึงในระดับสากล โดยมีระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงจำนวนและสัดส่วน รวมถึงการกระจายตัวของประชากรแสดงให้เห็นว่า การลดลงของประชากรเกิดขึ้นในระดับโครงสร้าง ประชากรวัยเด็กเป็นกลุ่มที่มีการลดลงอย่างชัดเจนที่สุดทั้งในพื้นที่เมืองและชนบท สอดคล้องกับจำนวนนักเรียนที่ลดลงในโรงเรียนของรัฐที่ทำให้โรงเรียนส่วนใหญ่ในจังหวัดอุดรธานีมีขนาดที่เล็กลง ขณะที่อัตราการลดของประชากรวัยเด็กที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกช่วงปีทำให้ภาพปรากฏการณ์ของโรงเรียนถูกยุบชัดเจนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงขนาดสะท้อนถึงสถานภาพโรงเรียนในแต่ละช่วงปี การถูกยุบ ลดขนาด ขยายขนาด เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่เมืองและชนบทด้วยสัดส่วนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เชิงพื้นที่แบบครอบคลุม ไม่พบรูปแบบของการพึ่งพาหรือสหสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนแต่ละแห่งในภาพรวมของจังหวัดอย่างชัดเจน เนื่องจากการลดลงของนักเรียนในโรงเรียนแต่ละแห่งอาจไม่ได้มีความสัมพันธ์กันด้วยปัจจัยเชิงภูมิศาสตร์เพียงปัจจัยเดียว นอกเหนือปัจจัยอัตราการเกิดต่ำที่ทำให้จำนวนนักเรียนในโรงเรียนลดลงในภาพรวมแล้ว การลดลงของจำนวนนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ชานเมืองและพื้นที่ชนบทเกิดจากการย้ายถิ่นเข้าสู่โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ซึ่งถูกมองว่ามีความพร้อมมากกว่าในพื้นที่เมือง ขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ชนบทต้องดิ้นรนในการสร้างคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่ส่วนกลางได้กำหนดไว้ภายใต้ภาวะข้อจำกัดด้านงบประมาณและบุคลากรเพื่อไม่ให้ถูกยุบ ซึ่งเป็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่ในพื้นที่เมืองและโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ชนบทห่างไกล งานวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด็นการจัดการให้บริการด้านการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีส่วนร่วม และการส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจ โดยผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามีบทบาทด้านการศึกษาเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และรับมือกับปัญหาที่มีความเฉพาะเจาะจงเชิงพื้นที่มากยิ่งขึ้น


อิทธิพลของป้ายและเส้นทางเดินต่อพฤติกรรมค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งานกรณีศึกษา อาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, กษีระ พรหมเดช Jan 2022

อิทธิพลของป้ายและเส้นทางเดินต่อพฤติกรรมค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งานกรณีศึกษา อาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลระดับตติยภูมิแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, กษีระ พรหมเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โรงพยาบาลหลายแห่งมีการต่อขยายเพื่อเพิ่มพื้นที่และสมรรถภาพในการรักษาพยาบาล ซึ่งการต่อขยายมักไม่ต่อเนื่อง ส่งผลให้โรงพยาบาลยิ่งมีความซับซ้อนและไม่เป็นเอกภาพ อีกทั้งผู้มารับบริการจากโรงพยาบาลส่วนใหญ่มีความบกพร่องเนื่องจากความเจ็บป่วยที่ส่งผลต่อความสามารถในทุกด้าน รวมถึงการค้นหาเส้นทางด้วย มีงานวิจัยที่พบว่าการค้นหาเส้นทางในโรงพยาบาลมีความลำบาก ซับซ้อนและส่งผลต่อคุณภาพการรักษาพยาบาล ดังนั้นการพัฒนาระบบนำทางที่เหมาะสมด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ จะสามารถเป็นตัวช่วยให้ผู้มารับบริการสามารถค้นหาเส้นทางในโรงพยาบาลได้ง่ายมากขึ้น การศึกษานี้เป็นเชิงสำรวจ (Survey Research) ที่มีวัตถุประสงค์คือเพื่อศึกษาอิทธิพลของป้ายและเส้นทางเดินต่อความคิดเห็นและการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน การศึกษาประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) ศึกษาอิทธิพลของลักษณะป้ายต่อความคิดเห็นของผู้ใช้งาน และ 2) ศึกษาอิทธิพลของลักษณะเส้นทางเดินต่อการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน ดำเนินการศึกษาโดยเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะกายภาพ คือ ป้ายและเส้นทางเดิน และใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลความคิดเห็นต่อป้ายและพฤติกรรมการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน จากนั้นนำมาวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือผู้ที่มารับบริการทางการแพทย์ ณ ห้องตรวจโรคอายุรกรรม ซึ่งอยู่ภายในอาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลกรณีศึกษา ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ความแตกต่างของของป้ายและเส้นทางเดินมีอิทธิพลต่อความคิดเห็นและการค้นหาเส้นทางของผู้ใช้งาน ในส่วนสีของป้าย พบว่าการใช้ตัวหนังสือสีขาวบนพื้นหลังสีส้มและตัวหนังสือสีดำบนพื้นหลังสีเหลืองยังคงเป็นคู่สีที่เหมาะสม และพบว่าป้ายที่ใช้สีพื้นหลังสีเหลืองและสีส้มซึ่งเป็นสีโทนร้อนชัดเจนกว่าป้ายที่ใช้สีพื้นหลังสีฟ้าซึ่งเป็นสีโทนเย็น ในส่วนขนาดตัวอักษรพบว่าสำหรับป้ายบอกทาง ขนาดตัวอักษรภาษาไทยแนะนำให้มีขนาดไม่น้อยกว่า 4 เซนติเมตร ที่ระยะติดตั้งสูงจากพื้น 1.5 เมตร และพบว่าจำนวนข้อมูลบนป้ายที่เหมาะสมคือ 5-7 ข้อมูล/ป้าย และไม่ควรเกิน 10 ข้อมูล/ป้าย ในส่วนของป้ายที่เป็นประโยชน์ในการค้นหาเส้นทาง การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าป้ายที่สื่อสารด้วยข้อความเป็นประโยชน์มากกว่าป้ายที่สื่อสารด้วยรูปภาพ สำหรับลักษณะเส้นทางเดิน ผลชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้เส้นทางเดินจะมีลักษณะตรงและมีระยะทางสั้น แต่อาจสร้างความสับสนให้แก่ผู้ใช้งานได้ หากระหว่างเส้นทางมีการใช้สอยพื้นที่อย่างหนาแน่น ซึ่งส่งผลต่อจำนวนป้ายและข้อมูลข่าวสารให้มีความหนาแน่นด้วยเช่นกัน


การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศด้วยระบบท่อระบายอากาศของห้องชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงในเมืองที่มีความหนาแน่นสูง : กรณีศึกษา อาคารในกรุงเทพมหานคร, ณัฐกฤษฏิ์ ธนเดชากุล Jan 2022

การเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศด้วยระบบท่อระบายอากาศของห้องชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงในเมืองที่มีความหนาแน่นสูง : กรณีศึกษา อาคารในกรุงเทพมหานคร, ณัฐกฤษฏิ์ ธนเดชากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการพัฒนาเมืองส่งผลให้เกิดอาคารสูงจำนวนมาก เป็นสาเหตุให้เกิดความหนาแน่นและความแออัดของการอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น ส่งผลถึงการรับลมธรรมชาติของอาคารในพื้นที่นั้นๆ ซึ่งจะทำให้การระบายอากาศภายในอาคารมีประสิทธิภาพลดลง โดยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาประสิทธิภาพการระบายอากาศที่เกิดขึ้นภายในห้องชุดพักอาศัย เพื่อนำเสนอทางเลือกการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายอากาศด้วยระบบท่อระบายอากาศของห้องชุดพักอาศัยประเภทอาคารสูงในบริบทเมืองที่มีความหนาแน่น กรณีศึกษากรุงเทพมหานคร ในด้านการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติ การทดลองใช้วิธีจำลองผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำหรับคำนวณพลศาสตร์ของไหล ANSYS 2023 R1 ทดสอบกับผังอาคารคอนโดมิเนียมจำนวน 2 รูปแบบ ได้แก่ ผังอาคารแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้า และรูปตัวซี (C) ที่ความสูง 63 เมตรจากระดับพื้น โดยเปรียบเทียบอัตราการระบายอากาศของห้องชุดทั้ง 2 แบบระหว่างห้องชุดทั่วไป กับห้องชุดที่มีการติดตั้งระบบท่อระบายอากาศทั้ง 3 ขนาด ได้แก่ 100 มม., 125 มม., และ 150 มม. เพื่อเปรียบเทียบอัตราการระบายอากาศของห้องชุด ซึ่งความเร็วลมตั้งต้นกำหนดจากความเร็วลมเฉลี่ยที่น้อยที่สุดที่วัดได้จากการจำลองกระแสลม 3 ทิศตามทิศลมประจำฤดู จำลองในพื้นที่พระราม9 พื้นที่สามย่าน และพื้นที่ห้าแยกลาดพร้าว ในพื้นที่รัศมี 500 ม. รอบสถานีรถไฟฟ้า การประเมินวัดจากความเร็วลมที่ขอบประตูห้องชุด (ในกรณีห้องทั่วไป) และ ที่ระยะ 0.75 ม. จากปลายท่อเพื่อนำมาคำนวณอัตราการระบายอากาศ (Air Change Rate) และเปรียบเทียบผลกับมาตรฐาน ASHRAE 62.1 ที่ 0.35 ACH ผลการวิจัยสรุปได้ว่า อัตราการระบายอากาศของห้องชุดปกติที่ไม่มีการติดตั้งระบบท่อระบายอากาศมีค่าไม่ผ่านเกณฑ์ ซึ่งการเพิ่มระบบท่อระบายอากาศเข้าไปในห้องชุด ส่งผลให้อัตราการระบายอากาศมีค่าที่สูงขึ้น โดยส่งผลกับห้องชุดแบบ simplex มากกว่าห้องชุดแบบ loft เนื่องจากปริมาตรของห้องที่แตกต่างกัน ซึ่งในกรณีของห้องชุดแบบ simplex จะมีอัตราการระบายอากาศเฉลี่ย 0.362 ACH ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐาน 3.43% เมื่อมีการติดตั้งระบบท่อระบายอากาศ ขนาด 100 มม. และในกรณีของห้องชุดแบบ loft จะมีอัตราการระบายอากาศ 0.352 ACH ซึ่งสูงกว่าค่ามาตรฐาน 0.57% เมื่อมีการติดตั้งระบบท่อระบายอากาศ ขนาด 125 มม. ซึ่งอัตราการระบายอากาศเพิ่มสูงขึ้นเมื่อท่อระบายอากาศมีขนาดหน้าตัดใหญ่ขึ้น โดยห้องชุดในตำแหน่งมุมอาคารจะสามารถติดตั้งระบบท่อระบายอากาศที่มีขนาดเล็กกว่าห้องชุดตำแหน่งอื่น ๆ


การศึกษาหลักคิดการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนาจากสามนิกายหลัก, ปัญจพัฒน์ ถิระธำรงวีร์ Jan 2022

การศึกษาหลักคิดการสร้างพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ในพุทธศาสนาจากสามนิกายหลัก, ปัญจพัฒน์ ถิระธำรงวีร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทำความเข้าใจในหลักคิดการสร้างมณฑลทางพุทธศาสนาที่แตกต่างกันของสามนิกายหลัก (เถรวาท มหายาน และวัชรยาน) ที่อยู่บนพื้นฐานของหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันมีหลักปฏิบัติในอริยมรรคเพื่อการเข้าถึงพุทธธรรม การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพผสมผสานกับการวิจัยเชิงบรรยาย (ในเชิงสหสัมพันธ์) โดยศึกษาวิเคราะห์แนวทางการสอน, สิ่งที่มุ่งเน้นในการปฏิบัติ, และกิจกรรม ประเพณี ที่แตกต่างกันของแต่ละนิกาย (แต่ยังคงหลักมีหลักปฏิบัติแห่งอริยมรรค (ศีล สมาธิ ปัญญา) ที่มุ่งสู่พุทธรรมเป็นเป้าหมายที่เหมือนกัน) ที่ส่งผลให้พุทธสถานของทั้ง 3 นิกายมีรูปแบบที่แตกต่างกัน แต่มีความเหมือนในความสอดคล้องไปกับการจัดสรรพื้นที่ที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตอย่างเป็นลำดับขั้น ผลการศึกษาทำให้เข้าใจหลักคิดการสร้างอริยมรรคมณฑล โดยสามารถสรุปหลักการได้ดังนี้ อริยมรรคมณฑลนั้นต้องมีหลักร่วมใจหรือนิมิตหมายแห่งปัญญาญาณเป็นศูนย์กลาง อันเป็นเป้าหมายหลัก และมีพื้นที่โดยรอบดุจเรือนแก้วขยายออกมาจากศูนย์กลาง ดุจเป็นลำดับชั้นการเข้าถึงปัญญาญาณ หรือความเป็นพุทธะ อันเป็นคุณลักษณะทางสถาปัตยกรรมที่ก่อให้เกิดความสงบภายในตน ควบคุมการรับรู้ภายนอกที่เป็นปรากฏการณ์ความแปรเปลี่ยนของธรรมชาติรอบตัว โดยมีองค์ประกอบทางพุทธสถาปัตยกรรมที่มีความประณีตจากภายนอกค่อย ๆ มากขึ้นอย่างเป็นลำดับขั้น และประณีตสูงสุดที่ศูนย์กลาง (อันเปรียบดุจจิตแห่งปัญญาที่เจิดจรัส) เทียบเคียงกับสภาวะจิตที่กำลังเข้าสู่ความเป็นพุทธะ มีความบริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว อันทำให้อริยมรรคมณฑลนี้เป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ สามารถพัฒนาจักรวาลชีวิตให้เจริญขึ้น สอดคล้องกับวิถีธรรมชาติ เป็นไปตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา ทำให้บุคลเห็นคุณค่าของวิถีชีวิตที่อยู่บนหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา เข้าใจความสุข สงบ ที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย มีชีวิตที่เป็นอิสระจากความทุกข์ มีปัญญาและมีความเบิกบาน เป็นความสมบูรณ์ของชีวิต


การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดของอาคารสำนักงานให้เช่าเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 : กรณีศึกษา 5 อาคารสำนักงานให้เช่าบนถนนวิทยุ, พงศธร พ่วงเงิน Jan 2022

การปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดของอาคารสำนักงานให้เช่าเนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 : กรณีศึกษา 5 อาคารสำนักงานให้เช่าบนถนนวิทยุ, พงศธร พ่วงเงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

องค์การอนามัยโลกตรวจพบไวรัส โควิด 19 ครั้งแรกในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 ต่อมาในวันที่ 11 มีนาคม 2563 ได้ประกาศให้ไวรัสโควิด 19 เป็นการระบาดใหญ่ทั่วโลก (Pandemic) โดยไวรัสโควิด 19 แพร่กระจายจากคนสู่คนผ่านทางฝอยละอองจากจมูกหรือปากซึ่งขับออกมาเมื่อผู้ป่วยไอหรือจาม อาคารสำนักงานให้เช่าเป็นอาคารที่มีผู้ใช้อาคารจำนวนมาก จึงมีความเสี่ยงที่จะเป็นแหล่งแพร่กระจายของโรคระบาด งานรักษาความสะอาดจึงเป็นส่วนงานสำคัญที่จะช่วยลดโอกาสในการแพร่กระจายของโรคระบาด การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดของอาคารสำนักงานให้เช่าบนถนนวิทยุ 5 กรณีศึกษาในช่วงปกติและช่วงแพร่ระบาด โดยศึกษาข้อมูลและทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องจากหนังสือ, วิทยานิพนธ์และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องและการสำรวจพื้นที่ จากนั้นนำมาจัดเรียงและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาลักษณะร่วม สรุปและอภิปรายผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่าการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดจากช่วงปกติสู่ช่วงแพร่ระบาดนั้น มีการเพิ่มรายการและความถี่ของวิธีการรักษาความสะอาด เพิ่มวัสดุพิเศษและอุปกรณ์พิเศษ และมีการจัดการงบประมาณ2 รูปแบบ ได้แก่ มีและไม่มีการขออนุมัติงบประมาณสำหรับการรับมือและจัดการโรคระบาด โดยแนวทางการจัดการงบประมาณที่ไม่มีการขออนุมัติ คือ โยกงบประมาณที่คงเหลือจากหมวดที่มีค่าใช้จ่ายลดลงตามการใช้งาน และการจัดการงบประมาณทั้ง 2 รูปแบบ ได้รับการสนับสนุนวัสดุพิเศษและอุปกรณ์พิเศษจากผู้ให้บริการงานรักษาความสะอาดและจากผู้เช่าและมีวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดในช่วงแพร่ระบาด 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.การป้องกันและลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค และ 2.การยับยั้งการแพร่เชื้อโรคในพื้นที่หลังจากพบผู้ติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม ปัจจัยส่งผลต่อวิธีการจัดการงานรักษาความสะอาดในช่วงแพร่ระบาดมี 3 ปัจจัย ได้แก่ 1.ประเภทองค์กรผู้เช่า 2.รูปแบบพื้นปฏิบัติงาน และ 3.ผู้ติดเชื้อ


การอนุรักษ์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในย่านประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในบริบทของไทย กรณีศึกษา : เมืองเก่าสงขลา, ธิป ศรีสกุลไชยรัก Jan 2022

การอนุรักษ์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในย่านประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในบริบทของไทย กรณีศึกษา : เมืองเก่าสงขลา, ธิป ศรีสกุลไชยรัก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอนุรักษ์และจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในย่านประวัติศาสตร์ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเป็นวิธีการหนึ่ง ที่เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกภาคส่วนได้เข้ามาร่วมปกป้อง รักษา และฟื้นฟูคุณค่าของมรดกทางวัฒนธรรมของตน ดังนั้นแนวคิดการมีส่วนร่วมจึงได้รับประยุกต์ใช้ในกฎบัตรสากลในการอนุรักษ์และจัดการมรดกทางวัฒนธรรม โดยได้รับการให้ความสำคัญมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง วิทยานิพนธ์นี้เลือกเมืองเก่าสงขลาเป็นกรณีศึกษา เนื่องจากเมืองเก่าสงขลาผ่านกระบวนการอนุรักษ์อย่างมีส่วนร่วมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน วัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ คือ วิเคราะห์การดำเนินงานอนุรักษ์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วมในเมืองเก่าสงขลา และจัดทำข้อเสนอแนะที่สนับสนุนให้เกิดการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม วิทยานิพนธ์นี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ที่ใช้การศึกษาข้อมูลภาคเอกสาร การสำรวจภาคสนาม และการวิเคราะห์ผลตามเกณฑ์ที่ได้จากการวิเคราะห์กรณีศึกษาในประเทศ และต่างประเทศ การสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวแทนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสรุปข้อค้นพบและนำเสนอข้อเสนอแนะ วิทยานิพนธ์พบว่าในระยะเวลา 15 ปีที่ผ่านมาของการอนุรักษ์และจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในเมืองเก่าสงขลา มีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก 4 ประเภท ได้แก่ ภาครัฐท้องถิ่น ภาคประชาสังคม-ประชาชน ภาคเอกชน และภาคการศึกษา เมืองเก่าสงขลามีจุดเด่นด้านทุนทางสังคม กล่าวคือ ภาคีคนรักเมืองสงขลาสมาคมเป็นภาคประชาสังคมที่มีทักษะในการทำงานกับภาครัฐท้องถิ่นและภาคเอกชน ประเด็นเรื่องการอนุรักษ์เมืองเก่าได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง หน่วยงานภาคเอกชนมีนโยบายในการสนับสนุนด้านงบประมาณ ซึ่งช่วยลดข้อจำกัดด้านเวลาและงบประมาณของภาครัฐได้ อย่างไรก็ตาม เมืองเก่าสงขลาประสบกับปัญหาต่าง ๆ ดังนี้ แม้ว่าจะมีหน่วยงานภาคประชาสังคมเป็นตัวกลาง แต่ขาดผู้นำที่ได้รับการยอมรับจากทุกฝ่าย อีกทั้งขาดกระบวนการสร้างคนรุ่นใหม่ กฎหมายท้องถิ่นไม่สามารถรักษาความแท้ของอาคารเก่าที่ถือเป็นทุนทางวัฒนธรรมอันโดดเด่นของเมืองเก่าสงขลาได้ นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมมีลักษณะ “อาสาสมัครจากฐานทุนสังคม” ที่ช่วยให้ผู้มีส่วนร่วมมีอิสระในการเข้าร่วมดำเนินงาน แต่มีข้อด้อยคือการมีส่วนร่วมนั้นขาดความยั่งยืน ซึ่งสถานการณ์ปัญหาต่างๆ เหล่านี้อาจนำไปสู่แนวโน้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ได้แก่ ปัญหาจากการที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอาจมีจำนวนเพิ่มขึ้นแต่ดำเนินการแบบซ้ำซ้อน ปัญหาช่องว่างระหว่างวัยของสมาชิก ปัญหาการเข้าสู่กระบวนการแปลงพื้นที่ในลักษณะ “เจนตริฟิเคชั่น” (gentrification) ตลอดจนอาจนำไปสู่การสูญเสียความแท้และบูรณภาพของมรดกทางวัฒนธรรม จากผลการศึกษาดังกล่าว วิทยานิพนธ์นี้เสนอข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางการทำงานร่วมกันที่เหมาะสมกับบริบทของเมืองเก่าสงขลา รวมถึงสามารถนำไปใช้กับเมืองเก่าอื่น ๆ ในประเทศไทยที่มีประเด็นปัญหาใกล้เคียงกัน 2 ประการ ได้แก่ 1) การเชื่อมโยงของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อส่งเสริมให้เกิดระบบในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมีส่วนร่วม ด้วยการจัดตั้ง “คณะทำงาน” จากตัวแทนกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยมีเทศบาลนครสงขลาเป็นผู้อำนวยความสะดวก (facilitator) เพื่อประสานให้เกิดการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมด้วยการมีส่วนร่วม และ 2) การใช้วิธีการค้นหาประเด็นร่วมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม อันประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนแรก ประเมินความสัมพันธ์ของทุนทางสังคมทั้ง 3 ระดับ ขั้นตอนที่สอง วิเคราะห์บรรทัดฐานทางสังคม โดยเน้นการวิเคราะห์ด้านวิถีประชาและจารีต และขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์ทุนทางวัฒนธรรมที่เชื่อมโยงกับวิถีประชาและจารีต เพื่อค้นหาประเด็นที่เชื่อมโยงไปสู่การมีส่วนร่วมในการจัดการมรดกทางวัฒนธรรม


การรับรู้ภาพจิตรกรรมผ่านสื่อดิจิทัล กรณีศึกษา ภาพจิตรกรรมสีน้ำมัน เทคนิคการระบายสีแบบหนา (Impasto), มัชฌิมา มรรคา Jan 2022

การรับรู้ภาพจิตรกรรมผ่านสื่อดิจิทัล กรณีศึกษา ภาพจิตรกรรมสีน้ำมัน เทคนิคการระบายสีแบบหนา (Impasto), มัชฌิมา มรรคา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยด้านการส่องสว่างที่ส่งผลต่อการรับรู้ และเปรียบเทียบการรับรู้ภาพจิตรกรรมสีน้ำมัน เทคนิคการระบายสีแบบหนา (Impasto) ระหว่างการรับชมภาพที่จัดแสดงกับการรับชมภาพในหน้าจอหรือสื่อดิจิทัล เพื่อเสนอแนะแนวทางการจัดแสดงที่ส่งเสริมการรับรู้วัตถุประเภทภาพจิตรกรรมที่มีลักษณะพื้นผิวนูน ให้มีการรับรู้ที่ใกล้เคียงกัน โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 63 คน อายุระว่าง 21-40 ปี ด้วยแบบสอบถามคู่คำที่มีความหมายตรงข้าม 6 คู่คำ ดำเนินการทดลองในห้องจำลองที่มีการปรับเปลี่ยนปัจจัยการศึกษาในการจัดแสดงภาพ 18 สภาวะ และรูปถ่าย 18 รูป ประกอบด้วย ปัจจัยด้านทิศทางการส่องสว่าง ได้แก่ การส่องจากทิศทางด้านหน้า และการส่องจากทิศทางด้านข้าง ปัจจัยด้านมุมส่องวัตถุที่ดวงโคมกระทำกับแนวดิ่งเท่ากับ 20°, 30° และ 35° และปัจจัยด้านระดับความส่องสว่าง ได้แก่ 100%, 50% และ30% ทำการศึกษาการรับรู้ด้านความสว่าง ความมีสีสัน ความชัดเจน ความมีมิติของพื้นผิว ความสบายตา และความพึงพอใจ ผลการศึกษาพบว่าทิศทางการส่องสว่าง มุมส่องวัตถุ และระดับความส่องสว่าง มีอิทธิพลต่อการรับรู้ภาพที่จัดแสดงและภาพในหน้าจออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้จากการพิจารณาโดยภาพรวมเพื่อให้การรับชมภาพที่จัดแสดงและการรับชมภาพในหน้าจอมีการรับรู้ที่ใกล้เคียงกันที่สุด การจัดแสดงภาพจิตรกรรมโดยใช้ทิศทางการส่องสว่างจากด้านหน้า มุมส่องวัตถุ 30 องศา ที่ระดับความส่องสว่าง 50% ทำให้การรับชมภาพที่จัดแสดงและการรับชมภาพในหน้าจอมีการรับรู้ที่ใกล้เคียงกันและยังสามารถส่งเสริมการรับรู้ในด้านความสว่าง ความมีสีสัน ความชัดเจน ความสบายตา และความพึงพอใจ แต่หากต้องการเน้นการรับรู้ความมีมิติของพื้นผิว จะทำให้การรับรู้ด้านอื่น ๆ ลดลง ผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกใช้ให้ตรงกับความต้องการในการนำเสนอของศิลปินและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดแสดง


Housing Choices Of Myanmar Migrants Working In The Central Business District Of Bangkok, Hsu Yee Win Jan 2022

Housing Choices Of Myanmar Migrants Working In The Central Business District Of Bangkok, Hsu Yee Win

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Urban migrant workers play a vital role in the economic growth of a country. As housing is a fundamental human need that greatly impacts individual and societal well-being, it is crucial to ensure the welfare of urban migrant workers. While several studies have explored the factors that influence urban migrants' housing choices, limited attention has been paid to the spatial distribution of housing and housing choices among urban migrant workers in Thailand. This study aims to fill this gap by examining the housing locations and determinants of housing choices among Myanmar migrants working in the Central Business District (CBD) of …


The Perspectives Of Stakeholders On Definition, Critical Criteria, And Supporting Measures For Affordable Housing In Bangkok, Panissara Kitisuthatham Jan 2022

The Perspectives Of Stakeholders On Definition, Critical Criteria, And Supporting Measures For Affordable Housing In Bangkok, Panissara Kitisuthatham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to explore stakeholder perspectives on developing affordable housing in Bangkok through in-depth interviews and questionnaires. The study investigates three areas: definitions, critical criteria, and supporting measures. The data will be collected from stakeholders representing three sectors: the public sector, the private sector, and academia and non-governmental organizations. This research has established a framework for developing in-depth interviews and questionnaire surveys as part of its study from case studies of affordable housing development in other countries. During the literature review of case studies from other countries, it was discovered that affordable housing targets not only low-income households but …