Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Urban, Community and Regional Planning

Chulalongkorn University

2017

Articles 1 - 27 of 27

Full-Text Articles in Architecture

การเปรียบเทียบทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อการวางผังห้องชุดพักอาศัยราคาปานกลาง 4 รูปแบบ: กรณีศึกษา โครงการลุมพินีเพลส รัชดา-ท่าพระ, แอสปาย สาธร-ท่าพระ, เดอะ คีย์ วุฒากาศ และไอดีโอ เอส115, กาลัญญู สิปิยารักษ์ Jan 2017

การเปรียบเทียบทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อการวางผังห้องชุดพักอาศัยราคาปานกลาง 4 รูปแบบ: กรณีศึกษา โครงการลุมพินีเพลส รัชดา-ท่าพระ, แอสปาย สาธร-ท่าพระ, เดอะ คีย์ วุฒากาศ และไอดีโอ เอส115, กาลัญญู สิปิยารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิดของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อการวางผังห้องชุดพักอาศัยขนาด 30-35 ตารางเมตร รวมถึงศึกษาลักษณะการใช้งานและทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อการวางผังห้องชุดพักอาศัย โดยวิธีการสัมภาษณ์จากผู้ประกอบการ และแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดที่เป็นกรณีศึกษาทั้ง 4 โครงการได้แก่ โครงการลุมพินีเพลส รัชดา-ท่าพระ, แอสปาย สาธร-ท่าพระ, เดอะ คีย์ วุฒกาศ และไอดีโอ เอส115 จำนวน 317 ตัวอย่างสำหรับข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก 14 ตัวอย่างสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ การศึกษาแนวความคิด และปัจจัยที่ส่งผลต่อการวางผังห้องชุดพักอาศัยพบว่า ตลาดอสังหาริมทรัพย์ไทยในปัจจุบันมีการจัดผังห้องชุดพักอาศัยแบ่งเป็น 4 รูปแบบ โดยความกว้างของห้องชุดพักอาศัยเกิดจากข้อจำกัดทางโครงสร้างของงานสถาปัตยกรรมที่มีระยะห่างระหว่างเสาที่ 5.2-5.5 เมตรสำหรับจอดรถได้ 2 คัน และขนาดห้องที่เพิ่มขึ้นจะแปรผันตรงกับความลึกของห้อง ในด้านความแตกต่างของการวางผังห้องชุดพักอาศัยนอกจากจะเกิดจากแนวความคิดของผู้ประกอบการแล้ว การวางงานระบบสุขาภิบาลก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อตำแหน่งของการวางห้องน้ำและครัว อันเป็นตัวแปรสำคัญต่อการวางผังห้องชุดพักอาศัยทั้ง 4 รูปแบบที่มีความแตกต่างกัน ผลการสำรวจด้านลักษณะครัวเรือน และการการใช้งานพื้นที่พบว่าผู้อยู่อาศัยในห้องชุดพักอาศัยทั้ง 4 รูปแบบส่วนใหญ่มีสมาชิกในครัวเรือนจำนวน 1-2 คน มีรายได้ครัวเรือนประมาณ 55,000 -70,000 บาท ใช้งานห้องชุดพักอาศัยช่วงวันทำงานประมาณ 5-7 วันต่อสัปดาห์โดยเหตุผลเพื่อเป็นบ้านหลังที่ 2 และเพื่อแยกครอบครัวตามลำดับ นอกจากนี้ผู้อยู่อาศัยทั้ง 4 โครงการยังมีรูปแบบกิจกรรมการใช้งานพื้นที่ และการเลือกใช้เครื่องเรือนที่ตรงตามผังห้องชุดพักอาศัยที่ผู้ประกอบการกำหนด ยกเว้นกิจกรรมการทำงาน และกิจกรรมการเก็บของเครื่องใช้ที่มีการใช้งานพื้นที่ที่แตกต่างกัน เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ผู้ประกอบการไม่ได้กำหนดตำแหน่งพื้นที่ใช้งานในผังห้องชุดพักอาศัย ซึ่งนำไปสู่ปัญหาสำคัญของการใช้งานพื้นที่ในห้องชุดพักอาศัยทั้ง 4 รูปแบบ คือปัญหาไม่มีพื้นที่เก็บของเป็นสัดส่วน นอกจากปัญหาดังกล่าวแล้วผู้อยู่อาศัยยังประสบปัญหาห้องน้ำไม่มีการระบายอากาศที่ดี และห้องครัวมีขนาดไม่เพียงพอต่อการใช้งานอีกด้วย จากปัญหาดังกล่าวจึงนำไปสู่ความต้องการของผู้อยู่อาศัยคือ ต้องการห้องชุดพักอาศัยที่มีการวางผังโดยให้พื้นที่ติดหน้าต่างคือ ส่วนนอน ส่วนนั่งเล่น/รับแขก และครัว พื้นที่เปิดออกสู่ระเบียงคือครัว และพื้นที่ติดกับประตูทางเข้าคือส่วนนั่งเล่น/รับแขก นอกจากนี้ยังต้องการห้องเก็บของที่เป็นสัดส่วน รวมถึงต้องการพื้นที่ตู้เสื้อผ้า และพื้นที่ครัวมากขึ้นอีกด้วย และจากผลสำรวจพบว่าการวางผังห้องชุดพักอาศัยแบบโครงการแอสปาย สาธร-ท่าพระ และไอดีโอ เอส 115 มีรูปแบบการวางผังที่สร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้อยู่อาศัยมากที่สุด เนื่องจากมีการกั้นห้องเป็นสัดส่วน ห้องครัวที่มีการระบายอากาศที่ดี และสำหรับโครงการไอดีโอเอส 115 มีหน้าต่างในห้องน้ำทำให้ได้รับแสงธรรมชาติช่วยป้องกันความชื้น ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรพิจารณานำความต้องการของผู้อยู่อาศัยไปใช้ในการการพัฒนาวางผังห้องชุดพักอาศัย เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้อยู่อาศัยในอาคารชุดให้ดียิ่งขึ้นในอนาคต


การบริหารความปลอดภัยของอาคารชุดพักอาศัย กรณีศึกษา โครงการที่ได้รับรางวัล “อาคารที่มีความโดดเด่นด้านการบริหารความปลอดภัยอาคาร”, โสภิตา ตั้งเกียรติกำจาย Jan 2017

การบริหารความปลอดภัยของอาคารชุดพักอาศัย กรณีศึกษา โครงการที่ได้รับรางวัล “อาคารที่มีความโดดเด่นด้านการบริหารความปลอดภัยอาคาร”, โสภิตา ตั้งเกียรติกำจาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบริหารจัดการ ความปลอดภัยภายในอาคารมีความสำคัญมาก เพราะส่งผลโดยตรงต่อสวัสดิภาพในชีวิตและทรัพย์สินของผู้อยู่อาศัยในอาคาร โดยเฉพาะในอาคารชุดพักอาศัย ประเภทอาคารสูงและอาคารขนาดใหญ่พิเศษ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคารชุดพักอาศัยขนาดใหญ่จาก 3 กรณีศึกษา ที่ได้รับรางวัล "อาคารที่มีความโดดเด่นด้านการบริหารความปลอดภัยอาคาร" ด้วยการศึกษาเอกสาร สำรวจ สัมภาษณ์และสอบถามผลการรับรู้ การให้ความร่วมมือ และความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัย ผลการศึกษา จากทั้ง 3 กรณีศึกษา พบว่า การบริหารจัดการความปลอดภัยของโครงการที่ดี ประกอบด้วย (1) การมีการวางแผนและการดำเนินการบริหารความปลอดภัย โดยมีการตรวจสอบอาคารเป็นประจำทุกปี การดูแลรักษาอุปกรณ์และงานระบบประกอบอาคารให้สมบูรณ์พร้อมใช้งาน ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด โดยมีอายุของอาคาร, ค่าส่วนกลาง, จำนวนหน่วยพักอาศัย เป็นตัวแปรสำคัญที่ส่งผลต่อรายรับและงบประมาณด้านความปลอดภัย การดำเนินงานที่ดีมีผลต่อการรับรู้ การให้ความร่วมมือและความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัย (2) การที่ผู้บริหารให้ความสำคัญและมีส่วนร่วมในการบริหารความปลอดภัยอย่างจริงจัง ได้แก่ 1.ผู้พัฒนาโครงการ(LPN) มอบแนวทาง"F-B-L-E-S+P"โดยมี "S" คือ "Security & Safety Management" เป็นนโยบายหลักในการบริหารจัดการความปลอดภัย ภายหลังส่งมอบโครงการมีบุคลากรในการติดตามตรวจสอบและมีทีมสนับสนุนหากเกิดเหตุฉุกเฉิน 2.นิติบุคคลทั้ง 3 กรณีศึกษาให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามกฎหมายและแนวนโยบายที่วางไว้ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างนิติบุคคลของแต่ละกรณีศึกษา ส่งผลการขอความร่วมมือจากผู้อยู่อาศัยได้ผลอย่างดี 3.กรรมการนิติบุคคล มีการมอบนโยบายเพื่อความปลอดภัย ร่วมสำรวจจุดเสี่ยงและอนุมัติงบประมาณด้านความปลอดภัย (3) ผู้อยู่อาศัยให้ความร่วมมือในกิจกรรมเพื่อความปลอดภัย ได้แก่ กิจกรรมซ้อมหนีไฟ และ กิจกรรมตรวจสุขภาพห้องชุด ปฏิบัติตามกฎระเบียบอาคารชุด เนื่องจากนิติบุคคลมีการส่งเสริมกิจกรรมและประชาสัมพันธ์แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีมาตรการควบคุมเมื่อมีผู้ทำผิดกฎระเบียบ การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การบริหารจัดการความปลอดภัยในอาคารพักอาศัยขนาดใหญ่ที่ได้รับรางวัลเหล่านี้ เกิดจากการดำเนินการร่วมกัน ทั้งผู้พัฒนาโครงการ(LPN), นิติบุคคลและผู้อยู่อาศัย จึงขอเสนอแนะให้ผู้พัฒนาอาคารชุด ควรมีการวางระบบการบริหารความปลอดภัยและถ่ายทอดให้ความรู้ความเข้าใจให้แก่นิติบุคคลและผู้อยู่อาศัย เพื่อให้เห็นความสำคัญและมีการดำเนินการบริหารความปลอดภัยในอาคารอย่างต่อเนื่อง


แนวทางการออกแบบปรับปรุง ที่อยู่อาศัย อาคาร และพื้นที่ภายนอกสำหรับผู้สูงอายุเขตชุมชนเมืองในพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรณีศึกษา ชุมชนทรัพย์สินใหม่ ชุมชนทรัพย์สินเก่า และชุมชนคลองพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร, เวณิกา ธูปพลทัพ Jan 2017

แนวทางการออกแบบปรับปรุง ที่อยู่อาศัย อาคาร และพื้นที่ภายนอกสำหรับผู้สูงอายุเขตชุมชนเมืองในพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ กรณีศึกษา ชุมชนทรัพย์สินใหม่ ชุมชนทรัพย์สินเก่า และชุมชนคลองพลับพลา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร, เวณิกา ธูปพลทัพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงสร้างทางอายุของประชากรไทยในอดีตได้เปลี่ยนผ่านเป็นโครงสร้างประชากรผู้สูงอายุ ปรากฏการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร ชุมชนเมืองไม่สามารถรองรับความต้องการหรือให้ความช่วยเหลือได้ เพราะมีความเป็นเมืองสูง การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ 1)ศึกษาลักษณะทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และสภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ 2)วิเคราะห์รูปแบบทางกายภาพ พฤติกรรม การใช้งาน และปัญหาการใช้พื้นที่ของผู้สูงอายุ 3)เสนอแนะแนวทางออกแบบปรับปรุงทางกายภาพให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุ ผู้วิจัยเลือกศึกษาพื้นที่ 3 ชุมชนในเขตวังทองหลาง ได้แก่ ชุมชนทรัพย์สินใหม่ ชุมชนทรัพย์สินเก่า และชุมชนคลองพลับพลา สัมภาษณ์ผู้สูงอายุจำนวน 110 คน และนำมาคัดเลือกกรณีศึกษา 9 ตัวอย่าง เป็นแนวทางในการปรับปรุงที่อยู่อาศัย ผลการศึกษาพบว่า ปัจจุบันยังมีผู้สูงอายุในชุมชนที่ทำอาชีพหาเลี้ยงตนเอง และคนในครอบครัวอยู่ เนื่องจากฐานะ และรายได้ไม่สูงมากนัก ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุอยู่ติดบ้าน และไม่มีเวลาไปทำกิจกรรมในพื้นที่ส่วนกลาง กิจวัตรประจำวันส่วนใหญ่จะเป็นการพักผ่อน และทำอาชีพ พื้นที่ที่ผู้สูงอายุใช้เวลาอยู่มากที่สุด คือ โถงหรือห้องนั่งเล่น ระยะเวลาเฉลี่ย 8 ชั่วโมง พื้นที่สำคัญรองลงมาคือ ห้องนอน และระเบียงหรือเฉลียง ตามลำดับ จากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุร้อยละ 83 ไม่คิดย้ายที่อยู่อาศัย เพราะคุ้นชินกับการอยู่อาศัยในที่เดิม มีความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อยู่อาศัยกันมานานมากกว่า 30 ปี ในพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นไปตามแนวคิดการให้ผู้สูงอายุอาศัยในที่เดิม (Aging in place) ในด้านของการเกิดอุบัติเหตุ พบว่า ผู้สูงอายุที่เคยได้รับอุบัติเหตุในรอบ 1 ปีที่ผ่านมา มีจำนวน 34 คน คิดเป็นร้อยละ 31 ส่วนใหญ่ได้รับอุบัติเหตุภายในบ้าน พื้นที่ที่ได้รับอุบัติเหตุบ่อยที่สุด คือ พื้นที่ชานบ้าน เป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุออกมานั่งเล่นระหว่างวัน มักเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากมีพื้นต่างระดับ และพื้นผุพัง รองลงมาคือ ห้องน้ำ เนื่องจากพื้นห้องน้ำที่ลื่น และมีธรณีประตู เป็นต้น จากกรณีศึกษาแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 5 ใน 9 คน พบว่า ผู้สูงอายุนอนบริเวณโถงบ้าน ทำให้ไม่มีความเป็นส่วนตัว และเป็นสัดส่วน ดังนั้น ควรจะต้องมีการกั้นห้องให้ถูกสุขลักษณะ มีส่วนมิดชิด เพื่อใช้กับกิจกรรมการอยู่อาศัยเฉพาะบุคคล จากผลการศึกษาสรุปได้ว่า ควรจัดพื้นที่อยู่อาศัยที่ส่งเสริมอาชีพให้ผู้สูงอายุ และปรับสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำเนินชีวิต โดยเฉพาะบริเวณโถงหรือห้องนั่งเล่นที่ผู้สูงอายุใช้งานบ่อย อีกทั้งเศรษฐกิจและการดำรงชีวิตเป็นปัจจัยหลักที่มีผลต่อผู้สูงอายุในชุมชนเมือง ในการปรับปรุงที่อยู่อาศัย …


ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งของโครงการอาคารชุดพักอาศัยที่มีผลต่อราคาขาย : กรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยที่ตั้งในบริเวณตามเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยามถึงสถานีแบริ่ง, พิโรดม พิริยพฤทธิ์ Jan 2017

ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งของโครงการอาคารชุดพักอาศัยที่มีผลต่อราคาขาย : กรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัยที่ตั้งในบริเวณตามเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีสยามถึงสถานีแบริ่ง, พิโรดม พิริยพฤทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งมีความสำคัญส่งผลต่อราคาขายของอาคารชุดพักอาศัยเป็นอย่างมาก และเมื่อมีการเปิดใช้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสโดยเฉพาะบริเวณเส้นทางสถานีสยามถึงแบริ่งทำให้มีการพัฒนาอาคารชุดขึ้นในเขตบริการของรถไฟฟ้าสายดังกล่าวเป็นจำนวนมาก การวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์ในการหาปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งที่ส่งผลต่อราคาขายของอาคารชุดอย่างมีนัยสำคัญ ด้วยวิธีการสำรวจสภาพปัจจุบันของอาคารชุดและสิ่งอำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัย นำมาสร้างแผนที่ด้วยโปรแกรม GIS เพื่อวัดระยะห่าง และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยด้านที่ตั้งและราคาของอาคารชุดด้วยวิธีการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลจากการทบทวนวรรณกรรมสามารถกำหนดปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งได้ 7 หมวดหมู่ 24 ตัวแปร ผลจากการสำรวจสภาพที่ตั้งของอาคารชุดในพื้นที่ศึกษาพบว่ามี 127 โครงการ มีราคาขายเฉลี่ย 99,921 บาทต่อตารางเมตร มีสิ่งอำนวยความสะดวกในการอยู่อาศัย ประกอบด้วย ศูนย์การค้า สถานศึกษา โรงพยาบาล และ สถานนันทนาการ ทั้งหมด 386 แห่ง มีระยะทางระหว่างที่ตั้งสิ่งอำนวยความสะดวกไปยังที่ตั้งอาคารชุดทั้งหมดเฉลี่ย 3,893 เมตร ผลการทดสอบทางสถิติพบว่าปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งสามารถอธิบายความสัมพันธ์ต่อราคาขายของอาคารชุดพักอาศัยได้ถึงร้อยละ 72 และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อราคาขายของอาคารชุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติมี 4 ตัวแปร ตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ต่อราคาอาคารชุดมากที่สุดคือ ระยะทางจากสถานีรถไฟฟ้าบีทีเอส รองลงมาคือระยะห่างจากโรงเรียนมัธยมต้น ความกว้างของถนนผ่านหน้าโครงการ และระยะห่างจากศูนย์การค้าละแวกบ้าน ตามลำดับ เมื่อนำตัวแปรระยะทางจากที่ตั้งไปยังสิ่งอำนวยความสะดวกจากการศึกษา ไปอภิปรายผลกับทฤษฎีชุมชนละแวกบ้านพบว่า เมื่อพิจารณาจากระยะทางที่ต่ำที่สุด ตัวแปรสิ่งอำนวยความสะดวกเกือบทั้งหมดอยู่ในระยะทางที่สอดคล้องเป็นไปตามแนวคิดชุมชนละแวกบ้าน มีเพียงระยะทางไปยังสวนสาธารณะระดับเมืองที่ไม่สอดคล้องตามทฤษฎี และเมื่อพิจารณาค่าระยะทางเฉลี่ย กลับพบว่ามีเพียงระยะทางไปยังศูนย์การค้าละแวกบ้านและระยะทางไปยังโรงเรียนมัธยมปลายที่สอดคล้องตามทฤษฎีชุมชนละแวกบ้าน ผลการศึกษาเสนอแนะให้ผู้ประกอบการและผู้ที่กำลังเลือกซื้ออาคารชุดพักอาศัยพิจารณาปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งที่มีความสัมพันธ์ต่อราคาขายทั้ง 4 ตัวแปร เป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจพัฒนาโครงการอาคารชุดและเลือกซื้อโครงการ


ปัญหาการจัดการก่อสร้างที่มีผลต่อระยะเวลาการก่อสร้างบ้านเดี่ยว : กรณีศึกษาโครงการเดอะซิตี้ บรมราชชนนี 60 และโครงการเดอะซิตี้ สาทร-สุขสวัสดิ์ ของบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน), อภิชญา รุจิชัยกุล Jan 2017

ปัญหาการจัดการก่อสร้างที่มีผลต่อระยะเวลาการก่อสร้างบ้านเดี่ยว : กรณีศึกษาโครงการเดอะซิตี้ บรมราชชนนี 60 และโครงการเดอะซิตี้ สาทร-สุขสวัสดิ์ ของบริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน), อภิชญา รุจิชัยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บ้านเดี่ยวมีแนวโน้มในการขยายตัวมากขึ้น และในปี พ.ศ.2561 บริษัทเอพี ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน) มีการเพิ่มมูลค่าการลงทุนโครงการบ้านเดี่ยว และมีส่วนแบ่งตลาดของบ้านเดี่ยวในระดับราคา 10-15 ล้านบาทมากที่สุด รวมทั้งปัจจุบันโครงการบ้านจัดสรรยังคงใช้วิธีก่อสร้างแบบก่ออิฐ-ฉาบปูน ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาลักษณะปัญหาของการก่อสร้างโครงการบ้านเดี่ยวระดับราคาสูง เพื่อใช้เป็นแนวทางในการป้องกันปัญหาความล่าช้าให้การก่อสร้างบ้านเดี่ยว และทำให้ก่อสร้างเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาขั้นตอนและระยะเวลาการก่อสร้างบ้านเดี่ยวในโครงการจัดสรรบ้านเดี่ยว 2) เพื่อศึกษาปัญหาและผู้เกี่ยวข้องในแต่ละขั้นตอนการก่อสร้างบ้านเดี่ยวที่เกิดความล่าช้า 3) เพื่อศึกษาแนวทางการแก้ปัญหาในแต่ละขั้นตอนการก่อสร้างบ้านเดี่ยวที่เกิดความล่าช้าในโครงการจัดสรรบ้านเดี่ยว ผู้วิจัยเลือกใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสำรวจและการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องกับการจัดการก่อสร้างในทั้ง 2 โครงการพบว่ามีขั้นตอนการก่อสร้างทั้งหมด 12 ขั้นตอน และการก่อสร้างบ้านเดี่ยวในเฟสแรกใช้ระยะเวลา 103 วัน และปัญหาที่พบมากที่สุดคือ การขาดช่างที่มีฝีมือและประสบการณ์ มักจะเกิดในขั้นตอนการก่อฉาบและปูกระเบื้อง แนวทางการแก้ปัญหามี 2 รูปแบบคือ การเพิ่มเวลาการทำงานแก่ผู้รับเหมาย่อยเหมาะกับขั้นตอนก่อสร้างที่มีพื้นที่ไม่มากพอกับกำลังคนและ มีปริมาณงานในการทำงานไม่เยอะ อีกวิธีคือการเพิ่มกำลังคนของผู้รับเหมาย่อย ซึ่งจะใช้ต้นทุนเยอะกว่าการเพิ่มเวลาเหมาะกับโครงการกรณีศึกษาที่ 2 ซึ่งถูกชุมชนข้างเคียงร้องเรียน ไม่สามารถทำงานในเวลาช่วงกลางคืนได้ อีกทั้งที่ตั้งโครงการยังใกล้กับโครงการอื่นของบริษัทจึงสะดวกในการหมุนเวียนผู้รับเหมา จึงสรุปได้ว่าปัญหาความล่าช้าจากการจัดการก่อสร้างโครงการจัดสรรบ้านเดี่ยวเกี่ยวข้องกับ 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) เงินทุน 2) คน 3) วัสดุ และ 3) การจัดการ โดยแนวทางการป้องกันความล่าช้านั้นมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและพบว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงแบบขณะก่อสร้างที่มักจะเกิดขึ้นในขั้นตอนการเริ่มงานก่อสร้าง ทำให้แผนงานล่าช้าออกไป และทำให้เกิดปัญหาในขั้นตอนถัดไปตามมาได้แก่ การประสานงาน การขาดรายละเอียดของแบบก่อสร้าง ความพร้อมด้านวัสดุ การขาดแคลนวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น


ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในศูนย์การค้าชุมชน กรณีศึกษา: โครงการเดอะแจส รามอินทรา,เดอะแจส วังหิน และแจส เออเบิร์น ศรีนครินทร์, อรศศิพัชร์ ศิริวรรณพร Jan 2017

ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการในศูนย์การค้าชุมชน กรณีศึกษา: โครงการเดอะแจส รามอินทรา,เดอะแจส วังหิน และแจส เออเบิร์น ศรีนครินทร์, อรศศิพัชร์ ศิริวรรณพร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การดำเนินการศูนย์การค้าชุนชมให้สำเร็จประการหนึ่งคือการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าเพื่อให้กลับมาใช้บริการอีก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาความพึงพอใจของลูกค้าในการเข้าใช้บริการศูนย์การค้าชุมชนเดอะแจส 3 แห่ง คือ เดอะแจส วังหิน (JWH), เดอะแจสรามอินทรา (JRD), และแจส เออร์เบิร์น ศรีนครินทร์ (JSR) โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการและทำแบบสอบถามผู้ใช้บริการจำนวน 400 ชุด และนำมาวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร ผลการศึกษาพบว่า 1) เดอะแจสทั้งสามแห่งมีแนวคิดในการพัฒนาและการวางกลยุทธ์การตลาดที่คล้ายคลึงกัน ทั้งนี้ ส่วนผสมการตลาดจะขึ้นอยู่กับทำเล, กลุ่มลูกค้าในชุมชน และคู่แข่งในรัศมีการค้านั้นๆ 2) กลุ่มผู้ใช้บริการส่วนใหญ่อายุ 18 - 24 ปี อาศัยอยู่ในรัศมีการค้าของศูนย์ฯนั้นๆ ใช้เวลาเดินทางไม่เกิน 30 นาที มีระยะเวลาการเข้าใช้บริการที่ 1-3 ชั่วโมง และมีค่าใช้จ่ายต่อครั้ง 500-1,500 บาทต่อคน โดยมีวัตถุประสงค์ในการเข้าใช้บริการ ได้แก่ ซื้อสินค้าและบริการ พบปะสังสรรค์ และรับประทานอาหาร ทั้งยังพบว่าอายุที่แตกต่างกันของผู้ใช้บริการมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้บริการ 3) ผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการศูนย์กาค้าชุมชนเดอะแจสทั้งสามแห่งในด้านผลิตภัณฑ์, ด้านราคา, ด้านที่ตั้ง, และด้านส่วนส่งเสริมการขาย อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด 4) เพศและอายุที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อความพึงพอใจในการเข้าใช้บริการในทุกด้าน แต่กลุ่มอาชีพและรายได้ที่แตกต่างกัน มีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจที่แตกต่างกันในด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคา จากผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ผู้ใช้บริการศูนย์การค้าชุมชนเดอะแจสทั้งสามแห่ง ทั้งกลุ่มลูกค้าหลักและกลุ่มลูกค้ารองในทำเลที่แตกต่างกัน มีพฤติกรรมการเข้าใช้บริการที่คล้ายคลึงกัน และมีความพึงพอใจด้านส่วนส่งเสริมการขายมากที่สุด ซึ่งงานวิจัยในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในการพัฒนาและวางกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคม พฤติกรรม และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการต่อไป


แนวทางการออกแบบปรับปรุง ที่อยู่อาศัย อาคาร และพื้นที่ภายนอกสำหรับผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ชานเมือง : กรณีศึกษา พื้นที่เขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถ จังหวัดปทุมธานี, ลภา เฉลยจรรยา Jan 2017

แนวทางการออกแบบปรับปรุง ที่อยู่อาศัย อาคาร และพื้นที่ภายนอกสำหรับผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ชานเมือง : กรณีศึกษา พื้นที่เขตเทศบาลเมืองบึงยี่โถ จังหวัดปทุมธานี, ลภา เฉลยจรรยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ ทำการศึกษาสภาพสังคม และเศรษฐกิจของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองบึงยี่โถ จังหวัดปทุมธานี รวมถึงวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งาน ปัญหา และความต้องการด้านที่อยู่อาศัย อาคาร และพื้นที่ภายนอกของพื้นที่ชุมชน เพื่อเสนอแนะแนวทางการออกแบบ และปรับปรุงพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงพัฒนาสภาพแวดล้อมทางกายภาพ ภูมิทัศน์ ให้มีความเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุ และผู้ใช้งานทุกสถานะทุกวัย จากข้อมูลการสอบถาม และสัมภาษณ์ รวมถึงการสำรวจพื้นที่ด้านที่อยู่อาศัย อาคาร และพื้นที่ภายนอกของพื้นที่ศึกษา คือ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ 3 แห่ง ที่ตั้งอยู่ในโครงการจัดสรร ได้แก่ หมู่บ้านฟ้ารังสิต หมู่บ้านปิยวรารมย์ คลอง 4 และหมู่บ้านสถาพร พบว่า ด้านที่อยู่อาศัย ลักษณะสภาพที่อยู่อาศัยในปัจจุบันส่วนใหญ่ คือ ทาวน์เฮ้าส์ และบ้านเดี่ยว มีปัญหา อุปสรรคของที่อยู่อาศัยปัจจุบันของผู้สูงอายุ ได้แก่ ห้องน้ำ ห้องครัว และบันได โดยมีสาเหตุมาจากพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน ส่วนด้านอาคาร และพื้นที่ภายนอกของพื้นที่ชุมชน มีปัญหาอุปสรรค ของการใช้งานพื้นที่ภายนอก ได้แก่ ทางเท้า ถนน ทางลาด และห้องน้ำ โดยมีสาเหตุมาจากพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการใช้งาน พื้นที่นั้นๆเสียหายไม่ได้รับการซ่อมแซม และไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จึงควรเสนอแนะแนวทางการออกแบบและปรับปรุง ได้แก่ จัดเตรียมที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมต่อสภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุตามแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน หรือ Universal Design เช่น แนะนำให้ผู้สูงอายุย้ายที่นอนลงมาชั้นล่าง ห้องนั่งเล่นควรมีประตูหน้าต่างบานใหญ่ที่เปิดออกสู่ภายนอก เพื่อผู้สูงอายุจะได้เห็นบรรยากาศภายนอกได้แม้จะอยู่ภายในบ้าน ควรเพิ่มเติม และปรับปรุงพื้นที่สวนของสโมสร หรือสวนสาธารณะ เพื่อช่วยเพิ่มกิจกรรมกลางแจ้งให้กับผู้สูงอายุได้ออกมาใช้งานมากขึ้น เช่น สวนเพื่อการบำบัด (Healing garden), สวนสมาธิ (Meditation garden), สวนกระตุ้นประสาทสัมผัส (Sensory garden)


ทัศนคติของพนักงานในการเลือกใช้มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Npl) ด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่, รินนารา วิโย Jan 2017

ทัศนคติของพนักงานในการเลือกใช้มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (Npl) ด้านอสังหาริมทรัพย์ บริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่, รินนารา วิโย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลูกหนี้ที่กู้เพื่อซื้อที่อยู่อาศัยและมีสถานะเป็นหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) อาจจะสูญเสียที่อยู่อาศัยได้หากไม่ได้รับการแก้ไขหนี้ให้สู่ภาวะปกติ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาทัศนคติในการเลือกใช้มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ NPL ด้านอสังหาริมทรัพย์ ของบริษัทบริหารสินทรัพย์ กรุงเทพพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (บสก.) สำนักงานใหญ่ โดยเก็บข้อมูลจากการสอบถามพนักงานฝ่ายพัฒนาสินทรัพย์ จำนวน 127 ตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติพรรณนาและหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร จากผลการศึกษา พบว่า 1.) มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ NPL ที่พนักงานเลือกใช้มาก 3 ลำดับ คือ (1.) การขยายระยะเวลาชำระหนี้ออกไป, (2.) การลดเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยค้างรับ และ (3.) การลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งทั้ง 3 มาตรการ ล้วนเน้นช่วยเหลือลูกหนี้ในการลดภาระการผ่อนชำระค่างวดต่อเดือน 2.) ปัจจัยด้านลูกหนี้ที่มีผลต่อการเลือกใช้มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ NPL คือ รายได้ปัจจุบัน รองลงมา คือภาระหนี้คงค้าง และหลักประกัน 3.) คุณลักษณะของพนักงานที่แตกต่างกันในด้านเพศ อายุ ประสบการณ์ทำงาน ตำแหน่งงาน และจำนวนชั่วโมงเข้าอบรมไม่มีผลต่อทัศนคติในการเลือกใช้มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ NPL โดยพนักงานจะพิจารณาจากคุณลักษณะของลูกหนี้ หลักประกันและพิจารณาความสามารถในการชำระหนี้เป็นหลัก 4.) ปัญหาที่พบจากการปฏิบัติงานในการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ NPL คือ ปัญหาด้านลูกหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการเงิน มีรายได้ลดลง แต่ภาระค่าใช้จ่ายสูงทำให้ไม่มีความสามารถในการชำระหนี้ และปัญหาด้านการปฏิบัติงาน เช่น ระยะเวลาการผ่อนชำระหนี้สั้นเกินไปไม่สอดคล้องกับรายได้ของลูกหนี้ และระบบขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ยุ่งยาก ซับซ้อน อย่างไรก็ตาม ในทัศนคติของพนักงานเห็นว่าตนมีความรู้ความเข้าใจในการปฎิบัติงานเป็นอย่างดีและยังสามารถบอกประโยชน์ให้ลูกหนี้ได้รับอย่างเข้าใจ แต่ความรู้ความสามารถในการยกตัวอย่างประกอบคำชี้แจงยังอยู่ในระดับปานกลาง ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่ามาตรการในการแก้ไขปัญหาหนี้ NPL ที่มักนำมาใช้มุ่งเน้นให้ลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ตามความสามารถของลูกหนี้ งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันการเงินอื่นๆ เพื่อจะพัฒนาปรับปรุงแนวทางการเลือกใช้มาตรการให้เหมาะกับลูกหนี้และได้รับความพึงพอใจสูงสุดทั้งสองฝ่าย เพื่อลดการกลับมาเป็นหนี้ NPLรวมถึงช่วยให้ลูกหนี้กลับไปทำธุรกรรมทางการเงินได้อีกครั้ง


ทัศนคติของผู้ประกอบการต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนทางการเงินของการพัฒนาอพาร์ทเม้นท์แบบสร้างอาคารใหม่และแบบซื้อโครงการเก่านำมาดำเนินการ กรณีศึกษา มาลัยอพาร์ตเมนท์ ศิริวัฒน์แมนชั่น สาธรเซนต์วิวเฮ้าว์ และเอ.ดับบลิว.เอส.คอร์ท, สยามศักดิ์ จารุอาภรณ์ประทีป Jan 2017

ทัศนคติของผู้ประกอบการต่อปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนทางการเงินของการพัฒนาอพาร์ทเม้นท์แบบสร้างอาคารใหม่และแบบซื้อโครงการเก่านำมาดำเนินการ กรณีศึกษา มาลัยอพาร์ตเมนท์ ศิริวัฒน์แมนชั่น สาธรเซนต์วิวเฮ้าว์ และเอ.ดับบลิว.เอส.คอร์ท, สยามศักดิ์ จารุอาภรณ์ประทีป

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้ประกอบการด้านปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนทางการเงินของโครงการอพาร์ทเม้นท์ที่มีรูปแบบการพัฒนา 2 รูปแบบคือการสร้างใหม่กับการซื้อโครงการเก่านำมาดำเนินการ โดยการศึกษาด้วยกรณีศึกษาอพาร์ทเม้นท์จำนวน 4 โครงการ แบ่งเป็นรูปแบบละ 2 โครงการ ใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ถ่ายภาพและบันทึกแผนผัง นำข้อมูลมาวิเคราะห์ แนวคิดการพัฒนา ลักษณะทางกายภาพ และวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ ผลการศึกษาพบว่า 1.การพัฒนาโครงการอพาร์ทเม้นท์รูปแบบการสร้างอาคารใหม่แตกต่างจากรูปแบบการซื้อโครงการเก่านำมาดำเนินการในขั้นตอนก่อนการก่อสร้างคือแนวคิดการพัฒนา ขั้นตอนการก่อสร้างรูปแบบสร้างอาคารใหม่ต้องใช้ระยะเวลาการก่อสร้างอย่างน้อย 10 เดือน รูปแบบซื้อโครงการเก่านำมาดำเนินการสามารถเปิดดำเนินการได้ทันทีหลังการซื้อโครงการ ขั้นตอนหลังการก่อสร้างทั้ง 2 รูปแบบมีลักษณะคล้ายคลึงกัน แตกต่างกันที่ระยะเวลาการปรับปรุงอาคารซึ่งรูปแบบซื้อโครงการเก่านำมาดำเนินการจะมีจำนวนครั้งที่มากกว่า 2.ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนทางการเงินที่แตกต่างกัน รูปแบบสร้างอาคารใหม่คือ ประสบการณ์ผู้บริหาร ขนาดของโครงการ เสถียรภาพทางการเมือง รูปแบบซื้อโครงการเก่ามาดำเนินการคือ การบริหารจัดการ อัตราการเข้าพัก อำนาจซื้อผู้บริโภค การให้บริการต่อผู้เช่า ความสามารถบุคลากร คุณภาพห้องพัก ราคาห้องพักและเงื่อนไขประกอบการเช่า 3.ทัศนคติต่อปัจจัยที่เหมือนกันคือ อัตราผลตอบแทนโครงการ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ การให้บริการต่อผู้เช่า การคัดเลือกผู้เช่า ทำเลที่ตั้งโครงการ กฎหมายที่เกี่ยวข้อง รายได้ของผู้เช่า ทัศนคติต่อปัจจัยที่แตกต่างกันคือ ประสบการณ์ผู้บริหาร จากผลการศึกษานี้จะช่วยให้นักพัฒนาที่สนใจโครงการอพาร์ทเม้นท์ใช้เลือกแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสมกับตนเอง ไม่เพียงแต่อพาร์ทเม้นท์ที่มีรูปแบบการพัฒนาสร้างอาคารใหม่ แต่ยังมีรูปแบบการซื้อโครงการเก่านำมาดำเนินการ เป็นอีก 1 ทางเลือกที่สามารถพัฒนาได้ และให้ความสำคัญกับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลตอบแทนในแต่ละรูปแบบการพัฒนาในภายหลังอีกด้วย


กระบวนการมีส่วนร่วมในการศึกษาความต้องการของผู้อยู่อาศัยในการปรับปรุงฟื้นฟูที่อยู่อาศัยและชุมชนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในย่านเมืองเก่ากรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา ชุมชนบริเวณสี่แยกแม้นศรี เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, มนสิชา ศรีบุญเพ็ง Jan 2017

กระบวนการมีส่วนร่วมในการศึกษาความต้องการของผู้อยู่อาศัยในการปรับปรุงฟื้นฟูที่อยู่อาศัยและชุมชนของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ในย่านเมืองเก่ากรุงเทพมหานคร : กรณีศึกษา ชุมชนบริเวณสี่แยกแม้นศรี เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย, มนสิชา ศรีบุญเพ็ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการมีส่วนร่วมนั้นเป็นหนึ่งในกระบวนการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่มีความสำคัญช่วยให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่มาจากชาวชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา สนง.ทรัพย์สินฯและชาวชุมชนนั้นมีเห็นความสำคัญของการศึกษาความต้องการของผู้อยู่อาศัยในการปรับปรุงฟื้นฟูที่อยู่อาศัยและชุมชนในงานวิจัยนี้ ดำเนินการด้วยกระบวนการแบบมีส่วนร่วมโดยการประยุกต์แนวคิดการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory Action Research, PAR)และการวางแผนเชิงปฏิบัติการ (Action Planning, AP)โดยการมีส่วนร่วมจากผู้อยู่อาศัยในชุมชนและภาคีที่เกี่ยวข้อง ในชุมชนบริเวณสี่แยกแม้นศรี ซึ่งเจ้าของที่ดินคือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ได้กำหนดให้เป็นชุมชนนำร่องการพัฒนาด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมในย่านเมืองเก่า กระบวนการประกอบด้วย การออกแบบกระบวนการมีส่วนร่วม และการนำกระบวนการไปปฏิบัติการในชุมชน ศึกษาและวิเคราะห์ผล คือ ความต้องการของชุมชนฯ ที่ได้จากกระบวนการ ไปเทียบเคียงกับผลที่ได้จากกระบวนการที่ได้มีการดำเนินการมาก่อนหน้า เพื่อเสนอแนะแนวทางการดำเนินการ ต่อไปในอนาคต กระบวนในการศึกษาความต้องการฯแบบมีส่วนร่วมนี้ มีการดำเนินการ ทั้งหมด 3 ระยะ 7 ขั้นตอนในช่วงระยะเวลา พฤศจิกายน 2560 - พฤษภาคม 2561 คือ 1) การวางแผนก่อนปฏิบัติการ 2) การสร้างความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจในชุมชน 3)การร่วมสำรวจและเก็บข้อมูล 4)การจัดลำดับและสรุปข้อมูล นำเสนอข้อมูลต่อชุมชนและภาคีโดย ได้มีการรวบรวมความต้องการในการปรับปรุงที่พักอาศัยจากการเสนอและจัดลำดับปัญหา พร้อมทั้งร่วมกันวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนออกมาเป็นผังเพื่อการปรับปรุงชุมชนในเบื้องต้น การดำเนินการได้รับความร่วมมือสนับสนุนจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ภาคีที่เกี่ยวข้องและผู้เชี่ยวชาญ 5)การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ข้อมูลการสำรวจชุมชน 6) การวางแผนและผังการพัฒนาที่อยู่อาศัย 7)เสนอแนะแนวทางการวางผังเบื้องต้นและการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับกระบวนการ ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจุบันนโยบายของสำนักงานทรัพย์สินฯ นั้นมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมความเข้มแข็ง ศักยภาพ และพลังของชุมชน ในการพัฒนาพื้นที่และชุมชนของตนเอง จากความพร้อมและความต้องการที่แท้จริง และมีแนวคิดในการพัฒนาชุมชนบนพื้นที่ของสำนักงานฯ ในย่านเมืองเก่า โดยประยุกต์จากกระบวนการบ้านมั่นคง ขับเคลื่อนแนวคิดชุมชนจัดการตนเองและตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ผลที่ได้จากจากกระบวนการตามแนวคิด PARและ AP ในงานวิจัยนี้ ทำให้ชาวชุมชนได้เข้ามาร่วมรับรู้ สามารถคิด วิเคราะห์แยกแยะปัญหา และระบุความต้องการปรับปรุงที่พักอาศัยออกมาอย่างเป็นรูปธรรมโดยได้ร่วมวางผังแนวคิดเบื้องต้นในการปรับปรุงชุมชน 3) ความต้องการของชุมชนที่ได้จากกระบวนการPAR ได้ผลที่แตกต่างจากดำเนินงานก่อนหน้า คือ ชาวชุมชนต้องการที่จะปรับปรุงที่พักอาศัยของตนโดยครอบคลุมทั้ง 3 มิติ คือ 1. ด้านกายภาพ ชาวชุมชนต้องการปรับปรุงอาคารให้มีสภาพดีขึ้นและร่วมกันวิเคราะห์ปัญหา ศักยภาพชุมชน และมีการร่วมวางแผนผังเบื้องต้นเพื่อ การปรับปรุงด้านกายภาพที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการพัฒนาในอนาคต 2. ด้านเศรษฐกิจ ชาวชุมชนร่วมกันตระหนักถึงแหล่งเงินทุนในการสนับสนุนการปรับปรุงที่พักอาศัย จึงมีการวิเคราะห์พื้นที่เพื่อทำการค้า การปรับปรุงอาคารให้เป็นโฮสเทล เป็นต้น 3.ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีการร่วมคิดให้เกิดการฟื้นฟูอาชีพดั้งเดิมและอาคารเก่าที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ เป็นต้น ซึ่งแตกต่างจากการดำเนินการก่อนหน้าที่ชาวชุมชนมีส่วนร่วมในการวางแผนผังปรับปรุงชุมชนน้อย ผลที่ได้จากการศึกษานั้นเป็นที่ยอมรับของชาวชุมชนมากกว่าผลจากกระบวนการเดิม และกระบวนการการมีส่วนร่วมในครั้งนี้ยังเป็นตัวจุดประกายให้ชุมชนลุกขึ้นริเริ่ม รวมกลุ่มเพื่อจะจัดตั้งสหกรณ์ออมทรัพย์อีกด้วย …


วิธีการส่งเสริมการขายที่อยู่อาศัยของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ปิยะภัสร์ โรจน์รัตนวาณิชย์ Jan 2017

วิธีการส่งเสริมการขายที่อยู่อาศัยของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ปิยะภัสร์ โรจน์รัตนวาณิชย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การส่งเสริมการขายที่อยู่อาศัยถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการส่งเสริมการขายที่อยู่อาศัยของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำนวน 451 โครงการ ของ 34 บริษัท วิเคราะห์ผลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนา หาความถี่ ร้อยละ และเปรียบเทียบ ผลการศึกษาพบว่า 1) การส่งเสริมการขายที่อยู่อาศัยมี 5 วิธี คือ การให้ส่วนลดเงินสด (ร้อยละ 31) การให้ของแจกของแถม (ร้อยละ 23) การสมนาคุณโดยฟรีค่าใช้จ่ายต่างๆ (ร้อยละ 21) การตกแต่งโดยให้เฟอร์นิเจอร์ครบ (ร้อยละ 13) และการให้อัตราการผ่อนชำระที่จูงใจ (ร้อยละ 12) 2) วิธีการให้ส่วนลดเงินสดเป็นวิธีการส่งเสริมการขายที่โครงการบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียม เลือกใช้เหมือนกัน ส่วนวิธีการอื่นๆเลือกใช้แตกต่างกันตามประเภทที่อยู่อาศัย คือ การสมนาคุณโดยฟรีค่าใช้จ่ายต่างๆมีการใช้มากในกลุ่มบ้านเดี่ยว ส่วนการให้ของแจกของแถมมีการใช้มากในกลุ่มทาวน์เฮาส์ และ การตกแต่งโดยให้เฟอร์นิเจอร์ครบมีการใช้มากในกลุ่มคอนโดมิเนียม 3) กลุ่มบ้านเดี่ยวระดับราคาสูง ทาวน์เฮาส์และคอนโดมิเนียมทุกระดับราคาใช้การส่งเสริมการขายที่อยู่อาศัยโดยการให้ส่วนลดเงินสดมากที่สุด ยกเว้นบ้านเดี่ยวระดับราคากลางและราคาต่ำที่ใช้การสมนาคุณฟรีค่าใช้จ่ายต่างๆและการให้ของแจกของแถม 4) บริษัทขนาดใหญ่ใช้การให้ส่วนลดเงินสดมากที่สุดเหมือนกันทั้งในบ้านเดี่ยว ทาวน์เฮาส์ และคอนโดมิเนียม ในขณะที่บริษัทขนาดกลางและบริษัทขนาดเล็กใช้ใช้วิธีการส่งเสริมการขายต่างกันตามประเภทที่อยู่อาศัย 5) การเลือกใช้วิธีการส่งเสริมการขายจะใช้วิธีแตกต่างกันตามช่วงเวลาของการขายและแตกต่างกันตามประเภทที่อยู่อาศัย ผลการศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่าวิธีการส่งเสริมการขายที่อยู่อาศัยจะใช้แตกต่างกันตามประเภทที่อยู่อาศัย ระดับราคาที่อยู่อาศัย ขนาดของบริษัทที่ดำเนินการ และระยะเวลาในการส่งเสริมการขายที่อยู่อาศัย ทั้งนี้เพื่อกระตุ้นการซื้อให้ตรงกับพฤติกรรมและความต้องการของลูกค้าในที่อยู่อาศัยแต่ละประเภท ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการวางแผนการตลาดโดยเฉพาะการเลือกวิธีการส่งเสริมการขายให้ตรงกลุ่มผู้ซื้อที่อยู่อาศัยต่อไป


ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อองค์ประกอบของการพัฒนาพื้นที่โซน B ในโครงการพัฒนาพื้นที่ 10 ไร่คลองไผ่สิงโต ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, จักราวุฒิ รุ่งโรจน์ Jan 2017

ความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อองค์ประกอบของการพัฒนาพื้นที่โซน B ในโครงการพัฒนาพื้นที่ 10 ไร่คลองไผ่สิงโต ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์, จักราวุฒิ รุ่งโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ มีนโยบายในการพัฒนาพื้นที่โซน B ในโครงการพัฒนาพื้นที่ 10 ไร่คลองไผ่สิงโต เขตคลองเตย กรุงเทพมหานคร เพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยในอดีตยังไม่เคยมีการศึกษา เพื่อกำหนดองค์ประกอบของโครงการที่จะพัฒนาสำหรับใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะมาก่อน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ ที่จะศึกษาหาแนวทางในการกำหนดองค์ประกอบของโครงการพัฒนาในพื้นที่โซน B ตามนโยบายของสำนักงานทรัพย์สินฯ ดังกล่าว ด้วยวิธีการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้บริหารของสำนักงานทรัพย์สินฯ การใช้กระบวนการวิเคราะห์กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและศึกษาความต้องการในการใช้พื้นที่เพื่อประโยชน์สาธารณะของแต่ละกลุ่ม โดยการสัมภาษณ์ และการจัดทำแบบสอบถาม ผลการศึกษากลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการพัฒนาพื้นที่โซน B ที่เป็นตัวแทนเพื่อตอบประโยชน์สาธารณะ จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มคือ 1. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง ประกอบกอบด้วย สำนักงานทรัพย์สินฯ ผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ของสำนักงานทรัพย์สินฯ โดยรอบโซน B ได้แก่ อาคาร 26-7 ชั้นและชุมชนข้างเคียง ซึ่งผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่เป็นครัวเรือนที่อยู่อาศัยมานาน ไม่มีอาชีพประจำ และมีรายได้น้อย และผู้อยู่อาศัยในอาคาร LPN ที่มีอาชีพประจำและมีรายได้ปานกลาง 2.ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางอ้อมประกอบด้วย กลุ่มผู้ใช้งานและทำงานโดยรอบพื้นที่ ได้แก่ ในอาคาร FYI CENTER ตลาดสดคลองเตย ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ผู้ใช้งานรถไฟฟ้า MRT ที่สถานีที่ใกล้เคียง ประชาชนทั่วไปที่สัญจรผ่านพื้นที่ และเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตคลองเตย ในฐานะเป็นตัวแทนความต้องการของประชาชนในเขต ผลการศึกษาความต้องการในองค์ประกอบการใช้พื้นที่โครงการเพื่อประโยชน์สาธารณะ พบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้ง 2 กลุ่มมีความต้องการที่คล้ายคลึงกันและคล้ายกับที่สำนักงานฯ ต้องการ โดย 1.ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงต้องการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ได้แก่ ร้านอาหาร/ศูนย์อาหาร ร้อยละ 69 ซึ่งเป็นทั้งประโยชน์สาธารณะและประโยชน์เชิงพาณิชย์ รองลงมาต้องการกิจกรรมสาธารณูปการ ได้แก่ คลินิกแพทย์/ทันแพทย์ ร้อยละ 65.1 สนามกีฬาในร่มร้อยละ 56.3 สนามเด็กเล่น ร้อยละ 53.2 ศูนย์อนามัย ร้อยละ 52.4 ศูนย์พัฒนาผู้สูงอายุ ร้อยละ 51 ศูนย์ฝึกอาชีพและสนามกีฬากลางแจ้ง ร้อยละ 50.1 และ พื้นที่จอดรถ(เก็บเงิน) ร้อยละ 56.6 และ 2. ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางอ้อมต้องการ พื้นที่จอดรถ(เก็บเงิน) …


การบริหารจัดการที่พักนักท่องเที่ยวในลักษณะวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์ : กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนบางน้ำผึ้งโฮมสเตย์, จังหวัดสมุทรปราการ, กิตติคุณ วงษ์จ้อย Jan 2017

การบริหารจัดการที่พักนักท่องเที่ยวในลักษณะวิสาหกิจชุมชนโฮมสเตย์ : กรณีศึกษา วิสาหกิจชุมชนบางน้ำผึ้งโฮมสเตย์, จังหวัดสมุทรปราการ, กิตติคุณ วงษ์จ้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันวิสาหกิจชุมชนที่ประกอบการที่พักโฮมสเตย์ได้มีการเพิ่มจำนวนขึ้นตามกระแสการท่องเที่ยวในแบบยั่งยืน แต่วิสาหกิจชุมชนที่ประกอบการที่พักโฮมสเตย์มีจำนวนน้อยที่ได้รับ"มาตราฐานโฮมสเตย์ไทย" และรางวัล"วิสาหกิจชุมชนดีเด่น"งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษา ลักษณะทางกายภาพ แนวคิด การบริหารจัดการของวิสาหกิจชุมชนบางน้ำผึ้งโฮมสเตย์ ซึ่งได้รับรางวัลทั้งสองประเภทดังกล่าว รวบรวมข้อมูลจากการสำรวจพื้นที่ สัมภาษณ์ประธานโฮมสเตย์ เจ้าของบ้านพักโฮมสเตย์ และผู้เข้าพัก ผลการศึกษาพบว่า 1.) รูปแบบบ้านพักส่วนใหญ่จะเป็นแบบพื้นถิ่นริมน้ำภาคกลาง บ้านยกใต้ถุนสูง 2 ชั้น ชั้นบนเป็นที่หลับนอน ชั้นล่างไว้สำหรับสันทนาการและเก็บอุปกรณ์ มีขนาดพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 300-61 ตร.ม แต่ถ้าตั้งอยู่ริมน้ำจะเป็นบ้านไม้ชั้นเดียวมีขนาดพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 139-90 ตร.ม ส่วนเรื่องการจัดบ้านพักโฮมสเตย์ ส่วนใหญ่เจ้าของบ้านพักใช้การจัดการพื้นที่เดิมแทนการปรับปรุงบ้านพักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ 1.ใช้ห้องนอนเดิมซึ่งเป็นรูปแบบที่มากที่สุดรองลงมาใช้ห้องโถงภายในบ้าน และใช้ทั้งห้องนอนและห้องโถงภายในบ้าน 2.) โฮมสเตย์ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบได้แก่ .องค์ประกอบด้านกายภาพ คือ บ้านพักโฮมสเตย์ทั้ง 11 หลัง องค์ประกอบด้านชุมชน คือ คณะกรรมการ สมาชิกเจ้าของบ้านพัก คนในชุมชน ตลอดจนภาครัฐในพื้นที่ที่ร่วมมือกันพัฒนาทั้งบุคคลและพัฒนาพื้นที่ร่วมกันอย่างเป็นโครงข่าย และองค์ประกอบด้านทรัพยากร คือ ทรัพยากรทางธรรมชาติในพื้นที่โดยการสร้างสรรค์ออกมาในรูปแบบกิจกรรมต่างๆให้กับนักท่องเที่ยว 3.) กลุ่มนักท่องเที่ยวส่วนมากมีจุดประสงค์เข้ามาเรียนรู้วิธีการบริหารจัดการของโฮมสเตย์ และมีความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการในระดับมากในทุกด้าน และพึ่งพอใจในการบริหารจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยวมากที่สุด ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า วิสาหกิจชุมชนบางน้ำผึ้งโฮมสเตย์ มีองค์กรประกอบหลักในการบริหารจัดการทั้งทางด้านบ้านพัก การร่วมมือของชุมชน และทรัพยากรธรรมชาติ จึงส่งผลให้ได้รับรางวัล ผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้สำหรับชุมชนอื่นในการบริหารจัดการโฮมสเตย์ให้มีมาตรฐานต่อไป


การเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวในรูปแบบบ้านพักพูลวิลล่าที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ธนาสิน ออสุวรรณ Jan 2017

การเลือกที่พักของนักท่องเที่ยวในรูปแบบบ้านพักพูลวิลล่าที่ดำเนินการโดยผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ธนาสิน ออสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พฤติกรรมของนักท่องเที่ยวมีแนวโน้มเปลี่ยนไปในลักษณะการท่องเที่ยวแบบความสนใจพิเศษ ส่งผลให้ธุรกิจบ้านพักพูลวิลล่ามีการเจริญเติบโต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและองค์ประกอบของบ้านพักพูลวิลล่า ลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ แนวคิดในการเลือกที่พัก รวมถึงความพึงพอใจในการเข้าพักของนักท่องเที่ยว รวบรวมข้อมูลที่พักจากเว็บไซต์ด้านการท่องเที่ยว สัมภาษณ์ผู้ประกอบการณ์ธุรกิจนำเที่ยว สำรวจบ้านพักที่เป็นกรณีศึกษา รวมถึงสอบถามนักท่องเที่ยวที่เข้าพักในบ้านพักกรณีศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการระบุตำแหน่งที่พักลงในแผนที่ เขียนผัง เพื่อเปรียบเทียบข้อมูลในด้านรูปแบบการพัฒนา รวมถึงแนวคิดในการเลือกที่พักและความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบการมีแนวคิดในการนำที่พักอาศัยที่มีอยู่มาดัดแปลง เพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเอง โดยมีการสร้างสระว่ายน้ำและสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มเติม รวมถึงพัฒนาระบบการบริหารบุคลากร 2) ลักษณะที่ตั้งของบ้านพักพูลวิลล่ามี 2 แบบ คือ 2.1) ที่พักที่อยู่ติดและใกล้กับชายหาดที่ระยะ 50 - 200 เมตร 2.2) ที่พักที่อยู่ในตัวเมือง ห่างจากเทศบาลหัวหิน 10-30 กิโลเมตร 3) บ้านพักพูลวิลล่าแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะโครงการตั้งต้นก่อนดัดแปลงเป็นที่พักสำหรับนักท่องเที่ยว ได้แก่ บ้านพักอาศัยทั่วไปซึ่งมีจำนวนมากที่สุด (ร้อยละ 70) บ้านพักอาศัยในโครงการบ้านจัดสรร และโครงการที่สร้างขึ้นเป็นบ้านพักพูลวิลล่าสำหรับนักท่องเที่ยวโดยตรง 4) ระดับราคาของที่พักจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับตำแหน่งที่ตั้งของโครงการ และพบว่า ในวันธรรมดาจะมีราคาลดลงมาก โดยมีอัตราเฉลี่ยต่อนักท่องเที่ยว 1 คนเหลือเพียง 460 - 790 บาท และมีการปรับขึ้นลงกันอย่างต่อเนื่อง 5) นักท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มได้แก่ 5.1) กลุ่มอายุ 20 - 29 ปี จะให้ความสำคัญกับลักษณะทางกายภาพของที่พักมากที่สุด รองลงมาคือระดับราคา และตำแหน่งที่ตั้งของโครงการ (ร้อยละ 17.2 15.7 และ14.5 ตามลำดับ) 5.2) กลุ่มอายุ 30 - 39 ปี จะให้ความสำคัญกับลักษณะทางกายภาพของที่พักมากที่สุดเช่นกัน แต่รองลงมาคือตำแหน่งที่ตั้ง และระดับราคา (ร้อยละ 17.5 15.3 และ15.2 ตามลำดับ) 6) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจต่อลักษณะทางกายภาพและองค์ประกอบของที่พักในระดับมาก โดยโครงการที่สร้างขึ้นเป็นบ้านพักพูลวิลล่าสำหรับนักท่องเที่ยวโดยตรงได้รับความพึงพอใจจากนักท่องเที่ยวมากที่สุด และพบว่านักท่องเที่ยวมีระดับความพึงพอใจต่อห้องพักของบ้านพักพูลวิลล่าที่มีจำนวนมากสอดคล้องกับจำนวนสมาชิกที่เข้าพักมากที่สุด จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า นักท่องเที่ยวที่เข้าพักให้ความสำคัญกับลักษณะทางกายภาพของที่พัก โดยพึงพอใจในที่พักที่มีห้องพักจำนวนมากสอดคล้องกับจำนวนสมาชิกมากที่สุด สะท้อนให้เห็นถึงรูปแบบการพัฒนาที่พักที่สอดคล้องกับพฤติกรรมการท่องเที่ยวในปัจจุบัน การศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในเขตพื้นที่ …


การออมเพื่อที่อยู่อาศัยของพนักงานที่ทำงานในองค์กรด้านการเงิน กรณีศึกษา : พนักงานที่ทำงานในอาคารธนาคารกสิกรไทย (สำนักงานใหญ่) อาคารพหลโยธิน, คุณากร ทัตตินาพานิช Jan 2017

การออมเพื่อที่อยู่อาศัยของพนักงานที่ทำงานในองค์กรด้านการเงิน กรณีศึกษา : พนักงานที่ทำงานในอาคารธนาคารกสิกรไทย (สำนักงานใหญ่) อาคารพหลโยธิน, คุณากร ทัตตินาพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีการเจาะตลาดกลุ่มคนวัยทำงานที่ทำงานในกรุงเทพมหานคร เพราะเล็งเห็นว่าเป็นกลุ่มที่มีศักยภาพและมีรายได้สูง งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการวางแผนทางการเงินเพื่อที่อยู่อาศัยรวมถึงวัตถุประสงค์ในการซื้อที่อยู่อาศัย โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากพนักงานที่ทำงานในอาคารธนาคารกสิกรไทย (สำนักงานใหญ่) อาคารพหลโยธิน จำนวน 336 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 22-39 ปี (Generation Y) มากถึงร้อยละ 75 รองลงมาคืออายุ 40-55 ปี (Generation X) ร้อยละ 21 และอายุ 55 ปีขึ้นไป (Baby Boomer) ร้อยละ 4 ทั้งนี้กลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มที่ซื้อที่อยู่อาศัยแล้ว ร้อยละ 46 รองลงมาคือกลุ่มที่ยังไม่ซื้อที่อยู่อาศัย โดยมีแผนจะซื้อในอีกภายใน 5 ปี ร้อยละ 34 และกลุ่มที่ยังไม่มีแนวคิดในการซื้อที่อยู่อาศัย ร้อยละ 20 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างมีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร เมื่อพิจารณาตามการซื้อที่อยู่อาศัยพบว่าในกลุ่มที่ซื้อที่อยู่อาศัยแล้วมีรายได้ส่วนตัวมากกว่า 70,000 บาทต่อเดือน ขณะที่กลุ่มที่ยังไม่ซื้อที่อยู่อาศัยและกลุ่มที่ยังไม่มีแนวคิดในการซื้อมีรายได้ส่วนตัวน้อยกว่าหรือเท่ากับ 30,000 บาทต่อเดือน (2) กลุ่มตัวอย่างมีแนวคิดและวัตถุประสงค์ในการซื้อที่อยู่อาศัยเพื่ออยู่อาศัยมากถึง ร้อยละ 84 รองลงมาเพื่อการลงทุน ร้อยละ 10 และเพื่อเก็งกำไร ร้อยละ 6 ทั้งนี้กลุ่มที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจะมีเหตุผลในการซื้อที่เกี่ยวกับการสร้างครอบครัวและการเดินทางไปทำงาน ขณะที่กลุ่มที่ซื้อเพื่อการลงทุนมีเหตุผลเพื่อการสร้างผลตอบแทนระยะยาว และที่กลุ่มที่ซื้อเพื่อเก็งกำไรเลือกซื้อโดยพิจารณาจากความน่าเชื่อถือของโครงการและทำเลที่ตั้งที่น่าลงทุน (3) ด้านการออมเพื่อที่อยู่อาศัยพบว่า จำนวนเงินออมมีความสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ในการซื้อ กล่าวคือ กลุ่มที่ซื้อเพื่ออยู่อาศัยมีเงินออมน้อยที่สุด ประมาณ 30% ของรายได้ต่อเดือน (20,001-30,000 บาท) มีระยะเวลาออมตั้งแต่น้อยกว่า 3 ปี-มากกว่า 10 ปี ขณะที่กลุ่มที่ซื้อเพื่อเก็งกำไรมีเงินออม 40% ของรายได้ต่อเดือน (30,001-40,000 บาท) มีระยะเวลาออม 3-5 ปี และกลุ่มที่ซื้อเพื่อการลงทุน มีเงินออมมากที่สุดคือ มากกว่า 50% ของรายได้ต่อเดือน (มากกว่า 40,000 บาท) มีระยะเวลาในการออมมากกว่า 10 ปี ซึ่งในทุกวัตถุประสงค์ในการซื้อมีวิธีการออมโดยการฝากธนาคารและมีแหล่งที่มาของเงินจากเงินออมส่วนตัวเหมือนกัน …


ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมของผู้ใช้บริการกับร้านค้าภายในคอมมูนิตี้มอลล์ กรณีศึกษา อเวนิว รัชโยธิน และ นวมินทร์ซิตี้ อเวนิว, จุฑามาศ ศศิขัณฑ์ Jan 2017

ความสัมพันธ์ของพฤติกรรมของผู้ใช้บริการกับร้านค้าภายในคอมมูนิตี้มอลล์ กรณีศึกษา อเวนิว รัชโยธิน และ นวมินทร์ซิตี้ อเวนิว, จุฑามาศ ศศิขัณฑ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ ปัจจัยการเข้าใช้บริการคอมมูนิตี้มอลล์ และความสัมพันธ์ระหว่างการใชบริการกับร้านค้าในคอมมูนิตี้มอลล์ โดยทำการศึกษาคอมมูนิตี้มอลล์ที่มีบริบทโดยรอบต่างกันใน 2 กรณี คือพื้นที่ชุมชนโดยรอบที่เป็นที่พักอาศัยเป็นส่วนใหญ่ อันได้แก่ นวมินทร์ ซิตี้ อเวนิว และชุมชนโดยรอบที่มีทั้งแหล่งงาน สถานศึกษาและที่พักอาศัย อันได้แก่ อเวนิว รัชโยธิน เพื่อหาความเหมือนและแตกต่างของ 2 กรณี โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลด้วยการสำรวจพื้นที่ภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลร้านค้า และใช้แบบสอบถามจำนวน 400 ชุด ด้วยการสุ่มแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) โดยเลือกเก็บแบบสอบถามกระจายตั้งแต่วันจันทร์ถึงอาทิตย์ ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มคนที่เข้าใช้บริการคอมมูนิตี้มอลล์ทั้ง 2 แห่ง เป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ส่วนใหญ่ มีอายุ 18-25 ปี ร้อยละ 59 มีระดับรายได้อยู่ในช่วง 10,001-35,000 บาท เป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา และพนักงานประจำ เหตุผลในการเข้าใช้บริการคอมมูนิตี้มอลล์ที่ให้ความสำคัญมากที่สุด คือคอมมูนิตี้มอลล์อยู่ใกล้ที่พักอาศัย มีร้านค้าที่ตรงความต้องการ และมีที่จอดรถ ลักษณะการใช้บริการมีทั้งมาคนเดียว มากับเพื่อน คนรัก หรือครอบครัว พฤติกรรมการใช้บริการส่วนใหญ่สอดคล้องกับลักษณะร้านค้าและเหตุผลการเข้าใช้บริการ เช่น กลุ่มตัวอย่างผู้เข้าใช้บริการ อเวนิว รัชโยธิน ส่วนใหญ่มักมาใช้บริการคนเดียว ต่างจาก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้บริการนวมินทร์ซิตี้ อเวนิว ส่วนใหญ่มากับกลุ่มเพื่อนและครอบครัว สัมพันธ์กับเหตุผลความต้องการที่จอดรถและประเภทร้านค้าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เป็นต้น จากข้อมูลดังกล่าวทำให้สรุปได้ว่าร้านค้าในคอมมูนิตี้มอลล์สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เน้นความสะดวกในการเดินทางและใช้จ่าย เพราะสถานที่ให้บริการอยู่ไม่ไกลจากที่พักอาศัย หรืออาคารสำนักงาน หรือสถานศึกษา ใช้เวลาเดินทางไม่นาน มีร้านค้าที่ให้บริการตรงวัตถุประสงค์ มีที่จอดรถ แต่กลุ่มคนที่เข้าใช้บริการอาจมีความแตกต่างกันตามบริบทแวดล้อมของแต่ละสถานที่


การวางแผนที่อยู่อาศัยหลังเกษียณของคนทำงาน 3 ช่วงวัย กรณีศึกษา : ธนาคารอาคารสงเคราะห์ การเคหะแห่งชาติ และ บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด(มหาชน), อนรรฆธีปะวีร์ เกิดแย้ม Jan 2017

การวางแผนที่อยู่อาศัยหลังเกษียณของคนทำงาน 3 ช่วงวัย กรณีศึกษา : ธนาคารอาคารสงเคราะห์ การเคหะแห่งชาติ และ บริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด(มหาชน), อนรรฆธีปะวีร์ เกิดแย้ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการวางแผนด้านที่อยู่อาศัยรวมถึงการเตรียมการทางด้านการเงินไว้ใช้หลังเกษียณ ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย คือ คนวัยทำงาน โดยในงานวิจัยนี้แบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 3 ช่วงวัย คือ เจนบี หรือ Baby Boomer Generation (ผู้ที่เกิดระหว่าง พ.ศ.2489-2507หรือ อายุ 53-71 ปี) เจนเอ็กซ์ หรือ Generation X (ผู้ที่เกิดระหว่าง พ.ศ.2508-2523 หรือ อายุ 37-52 ปี) เจนวาย หรือ Generation Y (ผู้ที่เกิดระหว่าง พ.ศ.2524-2543 หรือ อายุ 17-36 ปี) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจและสังคม วิเคราะห์รูปแบบที่อยู่อาศัย และเสนอแนะแนวทางการวางแผนที่อยู่อาศัยเพื่อวัยเกษียณของประชากร 3 ช่วงวัยนี้ เพื่อเปรียบเทียบว่าแต่ละช่วงวัยนั้นมีการวางแผนแตกต่างกันหรือไม่ กลุ่มประชากรที่ศึกษานั้นเป็นบุคลากรของ 3 องค์กร ได้แก่ การเคหะแห่งชาติ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และบริษัท แกรนด์ คาแนล แลนด์ จำกัด(มหาชน) มีจำนวนประชากรทั้งหมดรวม 5,639 คน ได้ 504 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ช่วงวัยที่มีการวางแผนที่อยู่อาศัยเพื่อวัยเกษียณสูงที่สุด คือ คนเจนเอ็กซ์ มีการวางแผนที่อยู่อาศัยเพื่อวัยเกษียณร้อยละ 80 มีการวางแผน 2 แบบ คือ แบบที่ 1 อยู่ที่เดิมพร้อมกับปรับปรุงที่อยู่อาศัยร้อยละ 41 เน้นปรับปรุงห้องน้ำและห้องนอน งบประมาณไม่เกิน 3 แสนบาท แบบที่ 2 คือ วางแผนย้ายที่อยู่อาศัยร้อยละ 39 โดยเหตุผลอันดับแรก คือ ต้องการกลับภูมิลำเนาเดิม รูปแบบที่อยู่อาศัยที่ต้องการ คือ บ้านปลูกเอง 2 ชั้น 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ขนาด 200 ตร.ม. งบประมาณไม่เกิน …


พฤติกรรมการใช้พื้นที่จอดแล้วจรของไฮเปอร์มาร์เก็ต ในการสนับสนุนการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนระบบราง, ปริวรรต แม้นศิริ Jan 2017

พฤติกรรมการใช้พื้นที่จอดแล้วจรของไฮเปอร์มาร์เก็ต ในการสนับสนุนการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนระบบราง, ปริวรรต แม้นศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พื้นที่จอดแล้วจรในไฮเปอร์มาร์เก็ต (Hyper market shared park and ride) เป็นจอดแล้วจร ที่มีประเด็นศึกษาที่แตกต่างจากจอดแล้วจรประเภทอื่น ๆ ในแง่ของพฤติกรรมการซื้อสินค้าร่วมกับพฤติกรรมการใช้พื้นที่จอดแล้วจร ดังนั้นจึงต้องศึกษาพฤติกรรมการเดินทางด้วยรถระบบขนส่งมวลชน และพฤติกรรมการซื้อสินค้าของผู้ใช้พื้นที่จอดแล้วจรในไฮเปอร์มาร์เก็ต วัตถุประสงค์งานวิจัยคือ 1. สำรวจคุณลักษณะ พฤติกรรมการใช้พื้นที่จอดแล้วจร พฤติกรรมการเดินทาง พฤติกรรมการซื้อสินค้า และทัศนคติของผู้ใช้พื้นที่จอดแล้วจรของไฮเปอร์มาร์เก็ต 2. เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้พื้นที่จอดแล้วจรกับพฤติกรรมการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนและพฤติกรรมการซื้อสินค้าในไฮเปอร์มาร์เก็ต 3. เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลในการสนับสนุนการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนระบบราง และการซื้อสินค้าในไฮเปอร์มาร์เก็ต โดยมี เทสโก้โลตัส ไฮเปอร์มาร์เก็ต สาขาสุขุมวิท 50 เป็นกรณีศึกษา การเก็บข้อมูลใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จำนวน 298 ชุด โดยสามารถจำแนกผู้ใช้พื้นที่จอดแล้วจรได้ 3 ประเภท ได้แก่ ผู้ที่จอดแล้วจร ผู้ที่จอดแล้วรับส่ง และผู้ที่จอดแล้วซื้อ โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Chi-square และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression) ผลการศึกษาพบว่า พฤติกรรมการใช้งานพื้นที่จอดแล้วจรของไฮเปอร์มาร์เก็ต มีส่วนสนับสนุนการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนระบบรางอย่างมีนัยสำคัญ โดยพฤติกรรมการใช้พื้นที่จอดแล้วจร มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเดินทาง ซึ่งผู้ที่จอดแล้วจรมีความถี่การเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนมากที่สุด นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้พื้นที่จอดแล้วจรยังมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อสินค้า โดยผู้ที่จอดแล้วจรมีความถี่ในการซื้อสินค้ามากที่สุด แต่ผู้ที่จอดแล้วรับส่งกลับมีมูลค่าการซื้อสินค้าในแต่ละครั้งมากที่สุด ในส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการสนับสนุนการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนระบบราง พบว่า การเป็นสมาชิกที่จอดรถรายเดือน เป็นปัจจัยที่มีผลในการสนับสนุนการเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชน โดยมีผลต่อความถี่การเดินทางด้วยระบบขนส่งมวลชนที่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การเป็นสมาชิกที่จอดรถรายเดือน ยังเป็นปัจจัยที่มีผลในการสนับสนุนการซื้อสินค้าอีกด้วย โดยมีผลต่อความถี่การซื้อสินค้าในไฮเปอร์มาร์เก็ตที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การส่งเสริมให้ผู้ใช้งานพื้นที่จอดแล้วจรสมัครเป็นสมาชิกที่จอดรถรายเดือน จึงสำคัญต่อการพัฒนาพื้นที่จอดแล้วจรของไฮเปอร์มาร์เก็ต ผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะในการพัฒนาพื้นที่จอดแล้วจร เพื่อรองรับการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนระบบราง นำไปสู่การแก้ปัญหาจราจรเมืองอย่างยั่งยืนต่อไป


รูปแบบเชิงพื้นที่ของการล่อซื้อยาเสพติดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจโคกคราม กรุงเทพมหานคร, กานต์ชนิต เพชรศรี Jan 2017

รูปแบบเชิงพื้นที่ของการล่อซื้อยาเสพติดในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจโคกคราม กรุงเทพมหานคร, กานต์ชนิต เพชรศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหายาเสพติดเป็นปัญหาระดับชาติที่ส่งผลให้เกิดความสูญเสียอย่างมาก เนื่องจากปัญหายาเสพติดมักเป็นจุดเริ่มต้นที่ส่งผลกระทบต่อเนื่องให้เกิดอาชญากรรมประเภทอื่นๆ ตามมา เช่น การชิงทรัพย์ ลักทรัพย์ หรือแม้กระทั่งการฆาตรกรรม ทั้งนี้อาชญากรรมแต่ละประเภทจะเกิดขึ้นบนพื้นที่ที่มีลักษณะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับระดับการสัญจรอิสระที่เกิดขึ้นมากน้อยแตกต่างกันในตำแหน่งพื้นที่ต่างๆ ของเมือง อันเนื่องมาจากศักยภาพการเข้าถึงและมองเห็นของพื้นที่นั้นๆ เมื่อเทียบกับพื้นที่อื่นๆ ทั้งหมดในระบบโครงข่ายของเมือง ตามทฤษฎีการสัญจรอิสระ (Theory of Natural Movement) (Hillier, 1993) ที่จะทำหน้าที่เป็นทั้ง "สายตาเฝ้าระวัง" และยังเพิ่มโอกาสในการ "พรางตัว" ของอาชญากร วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบเชิงพื้นที่ (spatial pattern) ได้แก่ รูปแบบโครงข่ายพื้นที่สาธารณะ รูปแบบศักยภาพการเข้าถึงและมองเห็น รูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินและอาคาร รูปแบบมวลอาคารและพื้นที่ว่าง และรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ส่วนบุคคลและพื้นที่สาธารณะ กับรูปแบบการใช้พื้นที่ (spatial use pattern) ของการล่อซื้อยาเสพติด ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจโคกคราม กรุงเทพฯ ผลการศึกษาพบว่า การล่อซื้อยาเสพติดมักเกิดในบริเวณที่มีทางเลือกในการหลบหนีเป็นจำนวนมากหรือบริเวณที่ง่ายต่อการหลบหนี เช่น บริเวณถนนรองที่มีศักยภาพการเชื่อมต่อไปยังโครงข่ายการสัญจรหลักในระบบ และบริเวณทางแยก นอกจากนี้ยังพบว่าการล่อซื้อยาเสพติดมักเกิดในบริเวณที่มีความพลุกพล่านของผู้คนในระดับหนึ่ง ซึ่งทำให้เพิ่มโอกาสในการพรางตัวของอาชญากรขณะค้ายาเสพติด รวมถึงสามารถหนีปะปนไปกับฝูงชนได้ เช่น บริเวณที่มีศักยภาพการเข้าถึงและสูงแต่ไม่สูงมากจนเกินไป หรือบริเวณ 1 เลี้ยวถัดไปจากถนนสายหลัก รวมถึงบริเวณที่เป็นจุดหมายปลายทางของผู้คน มีการเข้าใช้พื้นที่ของผู้คนจำนวนมาก ซึ่งเพิ่มโอกาสในการพรางตัวของอาชญากร เช่น อาคารที่มีการโยชน์เป็นพาณิชยกรรม อย่างไรก็ตามการล่อซื้อยาเสพติดจะไม่เกิดบริเวณที่มีสายตาเฝ้าระวังที่เกิดจากคนที่อยู่ในอาคารจำนวนมาก เช่น บริเวณที่มีความถี่ของจำนวนประตูที่หันออกสู่ถนนสูง


การประยุกต์ใช้เซลลูลาร์ออโตมาตาศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของพื้นที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี, พนรัตน์ มะโน Jan 2017

การประยุกต์ใช้เซลลูลาร์ออโตมาตาศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินของพื้นที่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี, พนรัตน์ มะโน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของภาคตะวันออกของประเทศไทยส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจและการอุตสาหกรรมการผลิตที่มีความสำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะในพื้นที่อำเภอศรีราชา ที่ถูกส่งเสริมให้เป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจใหม่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 โดยรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดินส่วนใหญ่ของอำเภอศรีราชาได้ถูกเปลี่ยนแปลงจากพื้นที่การเกษตรมาเป็นพื้นที่อุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย และพาณิชยกรรม งานวิจัยนี้นำเสนอรูปแบบการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินจากอดีตถึงปัจจุบัน ในช่วง ปี พ.ศ. 2539-2559 ของพื้นที่อำเภอศรีราชา โดยประยุกต์แนวคิดของแบบจำลองเซลลูลาร์ออโตมาตามาร์คอฟ (Cellular Automata Markov: CA-Markov) ในการวิเคราะห์ผลของการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินจากอดีตจนถึงปัจจุบัน และเสนอแนะแนวทางในการวางแผนการใช้ที่ดินในอนาคต ผลการศึกษาพบว่า พื้นที่เปลี่ยนแปลงมากที่สุดในอำเภอศรีราชา คือ บริเวณที่ใกล้กับการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังและจุดขึ้น - ลง ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 โดยการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานส่งผลให้การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทสิ่งปลูกสร้างอื่น ๆ ที่อยู่ในเมืองไปเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทอุตสาหกรรมมากที่สุดอยู่ที่เฉลี่ยร้อยละ 1.11 ที่ความน่าจะเป็นในการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยเท่ากับ 0.0828 ผลลัพธ์ของแบบจำลอง CA-Markov อาจจะเหมาะสมในการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินในอนาคตระยะสั้น เช่น การสร้างข้อเสนอแนะสำหรับพื้นที่เฝ้าระวังในการรับมือการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่เหมาะสม แต่อาจจะไม่เหมาะสมในการคาดการณ์การใช้ประโยชน์ที่ดินในระยะยาว เนื่องจากในปัจจุบัน เมืองมีการเปลี่ยนแปลงที่มีพลวัตรสูงอย่างที่ไม่เคยมีมาในอดีต


พฤติกรรมการเดินทางเพื่อซื้อสินค้าที่สยามสแควร์ของผู้บริโภคออนไลน์, วนัชวรรณ ชานวิทิตกุล Jan 2017

พฤติกรรมการเดินทางเพื่อซื้อสินค้าที่สยามสแควร์ของผู้บริโภคออนไลน์, วนัชวรรณ ชานวิทิตกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการเดินทางเพื่อซื้อสินค้าที่ของผู้บริโภคที่สยามสแควร์ ในบริบทที่มีการเติบโตของการซื้อขายสินค้าออนไลน์อย่างรวดเร็วทั้งในและต่างประเทศ อันจะส่งผลกระทบต่อการเดินทางเพื่อซื้อสินค้ายังหน้าร้าน และการใช้พื้นที่เมือง ดังนั้นจึงต้องศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมระหว่างกลุ่มผู้บริโภคที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์และผู้ที่ไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการเดินทางเพื่อซื้อสินค้าที่เกิดขึ้น โดยควบคุมปัจจัยทางด้านประชากร เศรษฐสถานะ พฤติกรรมการซื้อสินค้าออนไลน์ ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์มาจากการเก็บแบบสอบถามในพื้นที่สยามสแควร์ซึ่งเป็นพื้นที่จุดหมายของการเดินทางเพื่อซื้อสินค้า จำนวน 415 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า ผู้บริโภคในสยามสแควร์ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่เคยซื้อสินค้าทางออนไลน์ โดยที่ผู้บริโภคออนไลน์มีการเดินทางมาสยามสแควร์ด้วยระยะทาง ระยะเวลา ค่าเดินทาง และวัตถุประสงค์ในการซื้อสินค้าสูงกว่าผู้ที่ไม่เคยซื้อสินค้าออนไลน์ ในทางกลับกันยิ่งผู้บริโภคออนไลน์มีความถี่ในการซื้อสินค้าออนไลน์สูงขึ้น จะยิ่งเดินทางมายังพื้นที่น้อยลง ความถี่ ระยะเวลาที่ใช้ภายในพื้นที่ รูปแบบการเดินทางหลายวัตถุประสงค์ รวมถึงวัตถุประสงค์ในการเดินทางมีความแตกต่างกันในแต่ละวันที่ผู้บริโภคเดินทางเข้ามา จากการวิเคราะห์ทัศนคติของผู้ตอบแบบสอบถาม พบว่า สาเหตุที่ผู้บริโภคเดินทางมายังสยามสแควร์เป็นเพราะปัจจัยเรื่องการสัมผัสสินค้า ที่ตั้งที่ใกล้ห้างสรรพสินค้า หรือความหลากหลายของร้านค้ามากกว่าปัจจัยอื่น


ผลกระทบของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างและดัดแปลงอาคารภายในระยะ 15 เมตร จากทั้งบริเวณสองฟากของเขตถนนสายหลัก, ณัฐภาส์ วรปทุม Jan 2017

ผลกระทบของข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยการกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างและดัดแปลงอาคารภายในระยะ 15 เมตร จากทั้งบริเวณสองฟากของเขตถนนสายหลัก, ณัฐภาส์ วรปทุม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรุงเทพมหานครได้ตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครในการควบคุมบริเวณห้ามก่อสร้างอาคารภายในระยะ 15 เมตร จากทั้งบริเวณสองฟากของเขตถนนสายหลัก จำนวน 37 สาย โดยระบุวัตถุประสงค์ไว้เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาจราจรและเพื่อให้เกิดความเป็นระเบียบเรียบร้อยริมถนนสายหลัก การตราข้อบัญญัติฯ ดังกล่าวมีความหลากหลาย ทั้งข้อบัญญัติฯ ที่เป็นการควบคุมบริเวณริมถนนสายหลักที่มีการตัดไว้นานแล้ว และที่เป็นการควบคุมบริเวณริมถนนสายหลักที่ตัดใหม่ ซึ่งมีผลแตกต่างกันในการก่อสร้างอาคารและลักษณะการใช้ที่ดิน เนื่องจากข้อบัญญัติฯ จะมีผลบังคับใช้กับอาคารและสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างและดัดแปลงภายหลังการบังคับใช้เท่านั้น อาคารที่มีอยู่ก่อนหรืออาคารประเภทที่ไม่ได้มีการห้ามก่อสร้างจะได้รับการยกเว้น การศึกษานี้ จะดำเนินการวิเคราะห์ถึงนโยบายการให้มีพื้นที่ถอยร่น 15 เมตร โดยการรวบรวมข้อมูลปีที่มีการก่อสร้างถนน เปรียบเทียบกับปีที่มีการตราข้อบัญญัติฯ เพื่อหาข้อสังเกตเกี่ยวกับถนนที่มีการบังคับใช้ข้อบัญญัติฯ ดังกล่าว และดำเนินการสำรวจถนนที่กำหนดจากการเลือกอย่างมีเงื่อนไขให้เป็นพื้นที่ศึกษาจำนวน 5 สาย เพื่อติดตามสภาพการถอยร่นตามข้อบัญญัติฯ ดังกล่าว รวมถึงลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในระยะถอยร่น 15 เมตร เพื่อวิเคราะห์ว่ามีความสอดคล้องและเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการตราข้อบัญญัติฯ หรือไม่ อย่างไร ผลการศึกษาพบว่าความแตกต่างของปีที่มีการสร้างถนนและปีที่มีการตราข้อบัญญัติฯ ขนาดแปลงที่ดิน รูปแบบถนน และตำแหน่งที่ตั้งของถนน ส่งผลให้เกิดสภาพการถอยร่นที่ต่างกัน โดยลักษณะการใช้ประโยชน์ที่ดินในระยะถอยร่น 15 เมตร สามารถแบ่งเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ พื้นที่จอดรถ ทางสัญจร พื้นที่สีเขียว และลานเอนกประสงค์ พบว่าจำนวนแปลงที่ดินที่มีการถอยร่นในถนนที่เป็นพื้นที่ศึกษาทั้งห้า มีการใช้เป็นที่จอดรถและทางสัญจรเฉลี่ยประมาณร้อยละ 76 ซึ่งถือว่าบรรลุวัตถุประสงค์ของการใช้พื้นที่ในระยะถอยร่นในด้านการส่งเสริมให้เจ้าของอาคารที่ตั้งอยู่ริมถนนสายหลักร่วมรับผิดชอบในการเตรียมที่จอดรถ แต่ยังไม่บรรลุประโยชน์ในด้านการแก้ไขปัญหาจราจร เพราะยังคงพบปริมาณการจราจรมากและปัญหารถติดในช่วงเวลาเร่งด่วนแม้ในถนนที่มีการถอยร่นเป็นสัดส่วนสูง ขณะเดียวกันบริเวณที่ไม่มีการถอยร่นโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่มีตึกแถวจำนวนมากกลับได้รับผลกระทบจากข้อบัญญัติฯ ด้วยข้อจำกัดของแปลงที่ดินทำให้ไม่สามารถพัฒนาได้อีกเลย ซึ่งเป็นผลกระทบต่อแปลงที่ดินในเขตกรุงเทพชั้นในและชั้นกลางที่มีมูลค่าสูงและมีศักยภาพในการพัฒนาให้เกิดความคุ้มทุนทางเศรษฐกิจ แต่กลับไม่สามารถสร้างพัฒนาอาคารใหม่ได้


ศักยภาพการพัฒนาสยามสแควร์สู่ย่านนวัตกรรมของเทคโนโลยีทางการเงิน, ภูริณัฐ ทองชมภู Jan 2017

ศักยภาพการพัฒนาสยามสแควร์สู่ย่านนวัตกรรมของเทคโนโลยีทางการเงิน, ภูริณัฐ ทองชมภู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รัฐบาลและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่างมีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาพื้นที่สยามสแควร์ให้เป็นย่านนวัตกรรม (Innovation District) ของเทคโนโลยีทางการเงิน (Financial Technology: FinTech) เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่สำหรับการรวมกลุ่มของธุรกิจนวัตกรรมในการบริการทางการเงินซึ่งเป็นหนึ่งในนวัตกรรมที่มีบทบาทในการสนับสนุนและต่อยอดให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมอื่น ๆ ในประเทศไทย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรวมกลุ่มของบริษัทเทคโนโลยีทางการเงินในกรุงเทพมหานครด้วยการคำนวณค่าสหสัมพันธ์เชิงพื้นที่ (Spatial Autocorrelation) (2) เพื่อวิเคราะห์กลไกการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินด้วยการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม (Social Network Analysis) (3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่สนับสนุนธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินด้วยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ และ (4) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยสำคัญในการพัฒนาพื้นที่สยามสแควร์ในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงิน
ผลการศึกษาพบว่า (1) บริษัทเทคโนโลยีทางการเงินในกรุงเทพมหานครมีการรวมกลุ่มอย่างมีนัยยะสำคัญเชิงสถิติ (2) สมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายทางสังคมของเทคโนโลยีทางการเงิน (3) ความเหมาะสมของกฎหมายและการเชื่อมโยงกับเครือข่ายธุรกิจเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุนธุรกิจเทคโนโลยีทางการเงินทางการเงิน และ (4) สยามสแควร์มีศักยภาพสูงในการพัฒนาเป็นศูนย์กลางของเทคโนโลยีทางการเงิน โดยการพัฒนาระบบนิเวศนวัตกรรมในเชิงสินทรัพย์ทางกายภาพสยามสแควร์มีโครงสร้างพื้นฐานที่พร้อมรองรับการพัฒนา อีกทั้งในเชิงสินทรัพย์ทางเศรษฐกิจทั้งภาครัฐและมหาวิทยาลัยมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ แต่ทว่าในเชิงสินทรัพย์ทางเครือข่ายการพัฒนาพื้นที่และเทคโนโลยีทางการเงินของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความสัมพันธ์กับวงการเทคโนโลยีทางการเงินน้อยมาก ดังนั้นการพัฒนาศักยภาพการพัฒนาสยามสแควร์สู่ย่านนวัตกรรมของเทคโนโลยีทางการเงินจึงควรปรับปรุงความเชื่อมโยงของหน่วยงานของจุฬาลงกรณ์กับธุรกิจในเทคโนโลยีทางการเงินให้มากขึ้น


ผลกระทบของการเผาอ้อยต่อพื้นที่เมือง: กรณีศึกษาอำเภอเมืองและอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี, สุพัตรา กิ่งไทร Jan 2017

ผลกระทบของการเผาอ้อยต่อพื้นที่เมือง: กรณีศึกษาอำเภอเมืองและอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี, สุพัตรา กิ่งไทร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเก็บเกี่ยวอ้อยด้วยวิธีการเผาเป็นกิจกรรมการเกษตรที่ส่งผลกระทบเชิงลบต่อพื้นที่เมือง ในช่วงฤดูการเผาเขม่าควันจากการเผาอ้อยสร้างมลพิษทางอากาศและปัญหาสุขภาพของประชากร รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว หนึ่งในพื้นที่ที่ประสบปัญหาผลกระทบจากการเผาอ้อยอย่างมาก คือ พื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี ในปัจจุบันการเผาอ้อยเป็นกิจกรรมที่ผิดกฏหมาย รัฐบาลได้ออกกฏหมายและมาตรการเพื่อควบคุมการเผาอ้อย รวมถึงให้การสนับสนุนทางการเงินและเทคโนโลยีการเกษตรเพื่อลดการเผาอ้อย แต่ทว่าปริมาณการเผาอ้อยในพื้นที่ไม่ได้ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์ในการศึกษามาตรการที่เหมาะสมในการควบคุมการเผาอ้อย โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญและการวิเคราะห์ด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytical Hierarchy Process: AHP) ผลการศึกษาพบว่ามาตรการที่เหมาะสมมากที่สุดในการลดการเผาอ้อยในพื้นที่อำเภอเมืองและอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี คือ (1) มาตรการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำและความรู้ในการบริหารจัดการทรัพยากร (2) มาตรการหักเงินค่าอ้อยไฟไหม้ และเฉลี่ยคืนให้อ้อยสด (3) มาตรการห้ามเผาภายในพื้นที่รัศมี 5 กิโลเมตรจากเขตเทศบาลเมือง (4) มาตรการประกาศ 90 วัน ห้ามเผาอ้อย และ (5) มาตรการไม่รับซื้ออ้อยไฟไหม้จากเกษตรกร ตามลำดับ นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังได้ศึกษาระยะของพื้นที่กันชนที่เหมาะสมสำหรับการลดผลกระทบจากเขม่าควันจากพื้นที่ปลูกอ้อยด้วยวิธีการใช้แบบสอบถามซึ่งสามารถใช้เป็นทางเลือกหนึ่งในการศึกษาผลกระทบของมลพิษทางอากาศและพบว่าระยะที่เหมาะสมของแนวกันชนในอำเภอเมืองและอำเภอบ้านบึงควรมีระยะ 5 กิโลเมตร


พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยผ่านสื่อดิจิทัลของผู้ที่คิดจะซื้อที่อยู่อาศัย, เขมรินทร์ คงคาจีรชยานนท์ Jan 2017

พฤติกรรมการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยผ่านสื่อดิจิทัลของผู้ที่คิดจะซื้อที่อยู่อาศัย, เขมรินทร์ คงคาจีรชยานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สื่อดิจิทัลหรือสื่อที่ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตมีความสำคัญมากในยุคปัจจุบัน เพราะเป็นช่องทางที่สามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น ผู้ที่คิดจะซื้อที่อยู่อาศัยในปัจจุบันจึงใช้ช่องทางดังกล่าวนี้ในการค้นคว้าหาข้อมูลประกอบการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัย และในด้านของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เองก็ให้ความสำคัญกับพฤติกรรมของผู้ที่คิดจะซื้อที่อยู่อาศัยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับที่อยู่อาศัยผ่านสื่อดิจิทัล รวมถึงการศึกษารูปแบบและรายละเอียดของข้อมูลจากสื่อดิจิทัลที่ผู้คิดจะซื้อที่อยู่อาศัยต้องการ ผู้วิจัยได้นำทฤษฎี กระบวนการตัดสินใจซื้อมาปรับใช้ในงานวิจัย โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างอายุ 23-40 ปี ที่กำลังค้นหาข้อมูลเพื่อซื้อที่อยู่อาศัย ซึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยและมีการใช้สื่อดิจิทัลในการค้นหาข้อมูล ได้แก่ โปรแกรมค้นหาข้อมูล (Search Engine), เว็บไซต์, Facebook และ Youtube โดยผู้วิจัยได้ออกแบบสอบถามเพื่อเก็บข้อมูลทางออนไลน์จำนวน 573 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่อายุ 26-35 ปี มีรายได้ 20,001 - 40,000 บาท ในการค้นหาข้อมูลผ่านสื่อดิจิทัลกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดเริ่มต้นการค้นหาข้อมูลจากการใช้โปรแกรมค้นหาข้อมูล มีการใช้คำค้นหา 3 อันดับแรกคือ รูปแบบที่อยู่อาศัยที่สนใจ ทำเลที่สนใจ และราคา ตามลำดับ โดยกลุ่มตัวอย่างจะเลือกการค้นหาข้อมูลจากผลการค้นหาที่เข้าไปสู่เว็บไซต์หลักของบริษัทผู้ประกอบการ เพื่อให้ทราบถึงข้อมูลทั่วไปของโครงการ และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่จะค้นหาข้อมูลจาก Facebook ของบริษัทผู้ประกอบการเป็นหลักก่อน เนื่องจากต้องการข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นจากผู้ซื้อคนอื่นๆ ส่วนใหญ่จะอ่านความคิดเห็นที่ปรากฏในหน้า Facebook และนำความคิดเห็นต่างๆ ไปใช้ประกอบการตัดสินใจ ในขณะที่การค้นหาข้อมูลด้วย Youtube กลุ่มตัวอย่างจะเลือกดูวีดิโอรีวิวจากผู้ผลิตที่เป็นเว็บไซต์ที่อยู่อาศัย พฤติกรรมในการค้นหาข้อมูลของกลุ่มตัวอย่างจะทำการเปรียบเทียบโครงการประมาณ 3-4 โครงการเพื่อคัดเลือกโครงการและติดต่อเข้าไปดูสถานที่จริง ผลจากการวิเคราะห์พบว่า อายุ, รายได้, และขั้นตอนในการตัดสินใจซื้อที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อพฤติกรรมในการค้นหาข้อมูล, ปัจจัยที่ให้ความสำคัญ, รูปแบบข้อมูลและข้อมูลที่ต้องการแตกต่างกัน จึงสรุปได้ว่าหากพิจารณาจากพฤติกรรมในยุคปัจจุบันแล้ว พบว่า รูปแบบและกระบวนการค้นหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจยังเป็นวิธีการเดิม คือ การแสวงหาข้อมูล และเยี่ยมชมสถานที่จริง แต่การเข้าถึงเท่านั้นที่เปลี่ยนแปลงไป คือใช้การค้นหาและแสวงหาทางสื่อดิจิทัลแทนการดูโบรชัวร์ การเดินงานมหกรรมบ้าน และเยี่ยมชมโครงการผ่านออนไลน์วิดีโอเพื่อพิจารณาก่อนการเยี่ยมชมโครงการจริง การที่ผู้ประกอบการเข้าใจพฤติกรรมของผู้ที่คิดจะซื้อที่อยู่อาศัย ทำให้ผู้ประกอบการสามารถนำเสนอข้อมูลบนสื่อดิจิทัลได้อย่างถูกต้องและช่วยลดค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาได้


การปรับปรุงกายภาพของพื้นที่ส่วนกลางและการบริหารจัดการโครงการอาคารชุดตามกลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่สำหรับคนทุกวัย” : กรณีศึกษา ลุมพินีเพลส พระราม 3 ริเวอร์วิว , ลุมพินีเพลส นราธิวาสเจ้าพระยา , ลุมพินีเพลส พระราม 8 , ลุมพินีเพลส พระราม 9 รัชดา, ศิริรัตน์ รามรินทร์ Jan 2017

การปรับปรุงกายภาพของพื้นที่ส่วนกลางและการบริหารจัดการโครงการอาคารชุดตามกลยุทธ์ “ชุมชนน่าอยู่สำหรับคนทุกวัย” : กรณีศึกษา ลุมพินีเพลส พระราม 3 ริเวอร์วิว , ลุมพินีเพลส นราธิวาสเจ้าพระยา , ลุมพินีเพลส พระราม 8 , ลุมพินีเพลส พระราม 9 รัชดา, ศิริรัตน์ รามรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันที่อยู่อาศัยประเภทอาคารชุดเป็นที่นิยมในลักษณะครอบครัวมากขึ้น การอยู่อาศัยร่วมกันของคนทุกวัยจึงเป็นเรื่องสำคัญ ผู้ประกอบการจึงให้ความสำคัญเรื่องคนทุกวัยโดยมีการปรับกลยุทธ์ บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้นำกลยุทธ์ที่เกี่ยวกับคนทุกวัยมาดำเนินการเป็นรายแรก โดยเริ่มกลยุทธ์ชุมชนน่าอยู่สำหรับคนทุกวัยในปีพุทธศักราช 2559 งานวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการปรับปรุง ผลการใช้งาน นำมาวิเคราะห์ และเสนอแนะจากผลการปรับปรุงกายภาพของพื้นที่ส่วนกลางและการบริหารจัดการตามกลยุทธ์ชุมชนน่าอยู่สำหรับคนทุกวัย โดยวิธีการสังเกตกายภาพพื้นที่ส่วนกลาง การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ ผู้จัดการชุมชนประจำโครงการ และแบบสอบถามผู้อยู่อาศัยทั้ง 4 กรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่าด้านกายภาพพื้นที่ส่วนกลาง มีแนวคิดเพื่อความสะดวกของผู้อยู่อาศัย และการปรับปรุงทางลาดในทุกกรณีศึกษา โดยแต่ละกรณีศึกษาปรับปรุงแตกต่างกันตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย และด้านการบริหารจัดการคุณภาพชีวิตมีแนวคิดเพื่อให้คนทุกวัยมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม การปรับปรุงการประชาสัมพันธ์ และกิจกรรมวันปีใหม่ในทุกกรณีศึกษา โดยแต่ละกรณีศึกษาปรับปรุงแตกต่างกันตามลักษณะของผู้อยู่อาศัย ซึ่งผลความพึงพอใจด้านกายภาพพื้นที่ส่วนกลาง กรณีศึกษาที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ กรณีศึกษา 4 เนื่องจากมีการออกแบบและปรังปรุงกายภาพตรงตามกฎกระทรวงฯ มากที่สุด และเป็นโครงการที่มีอายุการใช้งานน้อยที่สุด กรณีศึกษาที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ กรณีศึกษา 1 เนื่องจากมีการออกแบบและปรังปรุงกายภาพตรงตามมาตรฐาน กฎกระทรวงฯ น้อยที่สุด และเป็นโครงการที่มีอายุการใช้งานมากที่สุด ส่วนความพึงพอใจด้านการบริหารจัดการคุณภาพชีวิต กรณีศึกษาที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ กรณีศึกษา 4 เนื่องจากการเพิ่มวิธีการประชาสัมพันธ์ผ่านโซเชียลมีเดีย มีการจัดกิจกรรมเหมาะกับช่วงวัยของผู้อยู่อาศัย คือ วัยทำงาน กรณีศึกษาที่มีความพึงพอใจน้อยที่สุด คือ กรณีศึกษา 2 เนื่องจากการจัดกิจกรรมเน้นเฉพาะวัยเด็กเป็นส่วนใหญ่ ส่วนด้านกายภาพพื้นที่ส่วนกลาง พื้นที่ที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ พื้นที่ติดต่อนิติบุคคล และด้านการบริหารจัดการคุณภาพชีวิต กิจกรรมที่มีความพึงพอใจมากที่สุด คือ กิจกรรมทำบุญตักบาตร ดังนั้นการปรับปรุงควรคำนึงถึงสภาพสังคมของผู้อยู่อาศัย จากผลการศึกษาจะเป็นประโยชน์ต่อการปรับปรุงกายภาพของพื้นที่ส่วนกลางและการบริหารจัดการเพื่อให้ผู้อยู่อาศัยทุกวัยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น


สภาพการอยู่อาศัยของพนักงานทำความสะอาดที่เป็นลูกจ้างบริษัทรับเหมาทำความสะอาด : กรณีศึกษาพนักงานที่ทำงานในเขตการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อัจฉราพรรณ พลสิงห์ Jan 2017

สภาพการอยู่อาศัยของพนักงานทำความสะอาดที่เป็นลูกจ้างบริษัทรับเหมาทำความสะอาด : กรณีศึกษาพนักงานที่ทำงานในเขตการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อัจฉราพรรณ พลสิงห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พนักงานทำความสะอาดเป็นเป็นแรงงานสำคัญที่ที่มีอัตราการจ้างงานเพิ่มสูงขึ้นในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร แต่เป็นกลุ่มผู้มีรายได้น้อยซึ่งมักจะประสบปัญหาด้านการอยู่อาศัยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางเศรษฐกิจสังคม สภาพที่อยู่อาศัย และปัญหาในการอยู่อาศัยของพนักงานทำความสะอาดของบริษัทเอกชนที่ทำงานในพื้นที่เขตการศึกษาของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง 125 ตัวอย่าง และสำรวจสภาพที่อยู่อาศัยจำนวน 19 ตัวอย่าง วิเคราะห์ผลทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผลการศึกษาพบว่า 1) ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 86 ได้รับการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุดร้อยละ 67 ส่วนมากมีอายุอยู่ในช่วง 50-59 ปี มีรายได้โดยเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ในช่วง 9,000-10,000 บาท ส่วนมากใช้เวลาเดินทางมาทำงานไม่เกิน 30 นาทีและมีที่พักอยู่ในพื้นที่กรุงเทพชั้นในมากที่สุดร้อยละ 75 ส่วนมากมีระยะเวลาในการอยู่อาศัยมากกว่า 1 ปี 2) ความแตกต่างระหว่างชาวไทยและต่างด้าว คือ คนไทยอยู่ในช่วงอายุที่สูงกว่าต่างด้าว มีช่วงรายได้สูงกว่า พักอาศัยไกลจากแหล่งงานมากกว่า มีระยะเวลาในการอยู่อาศัยนานกว่า และมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายแตกต่างกันคือ ค่าใช้จ่ายที่มากที่สุด 3 ลำดับของคนไทยคือ ค่าอาหาร ค่าที่อยู่อาศัยและชำระหนี้รายเดือน ของต่างด้าวคือ ค่าอาหาร เงินส่งกลับภูมิลำเนา และค่าที่อยู่อาศัย 3) ประเภทหน่วยพักอาศัยของกลุ่มตัวอย่างที่สัมภาษณ์ส่วนมากเป็นห้องแบ่งเช่าภายในบ้านหรืออาคารพาณิชย์ร้อยละ 70 กรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยส่วนมากเป็นแบบเช่าร้อยละ 90 ทั้งนี้ทำการสำรวจหน่วยที่อยู่อาศัยประเภทห้องแถว อาคารพานิชย์แบ่งเช่าและบ้านแบ่งเช่า แบ่งรูปแบบหน่วยพักเป็น 4 รูปแบบคือ 1.มีห้องน้ำและห้องครัวในตัว 2.มีห้องน้ำในตัว 3.มีระเบียงในตัว และ 4.มีเพียงห้องเอนกประสงค์ไม่มีการแบ่งกั้นพื้นที่ใช้สอยอื่น ขนาดพื้นที่ใช้สอยเฉลี่ย 4.84 ตร.ม.ต่อคน พื้นที่ที่ใหญ่ที่สุด 10.1 ตร.ม.ต่อคน เล็กที่สุด 2.74 ตร.ม. ต่อคน มีค่าเช่าเฉลี่ย 1,159 บาทต่อคน บาท ค่าเช่าแพงที่สุด 3,000 บาทต่อคน ถูกที่สุด 750 บาทต่อคน 4) ด้านกายภาพเปรียบเทียบสภาพที่อยู่อาศัยกับมาตรฐานที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ในด้านขนาดพื้นที่ใช้สอย ความกว้างของทางสัญจร บันได ความสูงของผ้าเพดาน ขนาดห้องน้ำ พื้นที่ช่องเปิดระบายอากาศ พบว่าส่วนใหญ่ลักษณะทางกายภาพต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน อย่างไรก็ตามด้านคุณภาพที่อยู่อาศัยเปรียบเทียบกับเกณฑ์สิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐาน (จปฐ.) พบว่าต่ำกว่าเกณฑ์ทั้งหมดทุกตัวชี้วัด 5) ปัญหาอุปสรรคของการอยู่อาศัย ประกอบด้วย ครัวเรือนไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยและบ้านมีสภาพคงทนถาวร พื้นที่ใช้สอยคับแคบไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน สภาพที่อยู่อาศัยไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย …