Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Architecture Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Urban, Community and Regional Planning

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2018

Articles 1 - 30 of 38

Full-Text Articles in Architecture

ประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกรในโครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา, กษมา วงษ์สนอง Jan 2018

ประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกรในโครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียง อำเภอวังน้ำเขียว จังหวัดนครราชสีมา, กษมา วงษ์สนอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียงอำเภอวังน้ำเขียว เป็นหนึ่งใน 11 โครงการนำร่องของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเกษตรภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งได้ดำเนินแล้วแต่ยังไม่มีการติดตามผลการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะด้านการวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกร อีกทั้งการวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเกษตรยังมีจำกัดอยู่ การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกรที่อยู่ในโครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียง โดยศึกษาลักษณะทางกายภาพของโครงการ การใช้พื้นที่และผลตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกร วิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกร โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสำรวจลักษณะทางกายภาพของโครงการและแปลงที่ดินของเกษตรกร การสัมภาษณ์เกษตรกรและผู้อำนวยการโครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียง นำผลมาวิเคราะห์กับแนวคิดทฤษฎีประสิทธิภาพ ผลการศึกษา 1) ลักษณะทางกายภาพของโครงการฯ โดยโครงการฯแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 โซน แต่ละโซนมีลักษณะภูมิประเทศและสภาพดินที่แตกต่างกัน ในพื้นที่โซน 1 และโซน 2 มีความลาดชันต่ำ เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การทำการเกษตร และมีปริมาณน้ำใช้ตลอดทั้งปี ส่วนในพื้นที่โซน 3, 4 และ 5 เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง อีกทั้งยังพบปัญหาการขาดแคลนน้ำสูง 2) การใช้ที่ดินและผลตอบแทนของเกษตรกรในโครงการฯพบว่า เกษตรกรมีการแบ่งพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรให้นำไปใช้ในการเพาะปลูกพืชเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการปรับเปลี่ยนประเภทกิจกรรมทางการเกษตรจากในช่วงเริ่มต้นโครงการที่ส่วนใหญ่เพาะปลูกผักผสมผสาน ปรับเปลี่ยนมาเป็นการทำการเกษตรผสมผสานเป็นส่วนใหญ่ในปัจจุบัน ในด้านผลตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ในที่ดินของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีกำไรจากการใช้ประโยชน์ในที่ดิน 3) การวิเคราะห์ประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกรพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพ มีเพียงโซน 3 และโซน 5 ที่เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้ที่ดินโดยมีประสิทธิภาพน้อย โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกรในด้านกายภาพได้แก่ ลักษณะภูมิประเทศ สภาพดิน และปริมาณน้ำ ส่วนปัจจัยในด้านการใช้ที่ดินของเกษตรกรได้แก่ การเลือกประเภทพืชที่จะเพาะปลูกให้เหมาะสมกับพื้นที่ นอกจากนี้ปัจจัยด้านตัวเกษตรกรได้แก่ ความรู้และประสบการณ์ซึ่งจะส่งผลต่อการเลือกประเภทพืชเพาะปลูกให้เหมาะสม รวมถึงการเลือกประกอบอาชีพหลัก ที่จะส่งผลต่อรายได้จากการใช้ที่ดิน และส่งผลต่อประสิทธิภาพการใช้ที่ดินของเกษตรกรข้อเสนอแนะแก่โครงการนิคมเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรกรในโครงการฯ ข้อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาในระยะสั้น คือ ควรจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องการเพาะปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่โดยเฉพาะในพื้นที่โซน 3 และโซน 5 สนับสนุนให้เกษตรกรที่มีปัญหาจากลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ มาทำการเกษตรในพื้นที่แปลงรวมมากขึ้น และสนับสนุนให้เกษตรกรในโซนที่ประสบปัญหานี้ มีอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ครัวเรือน ข้อเสนอแนะในระยะยาว ได้แก่ เกษตรกรและ ส.ป.ก. นครราชสีมา ควรร่วมกันจัดการแก้ไขปัญหาน้ำในโครงการ โดยทำการสร้างเครือข่ายการจัดการน้ำชุมชน และกองทุนบริหารจัดการน้ำของโครงการฯ รวมทั้งดำเนินการในโครงการฯ ในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป ก่อนที่จะทำการวางผังโครงการและจัดสรรพื้นที่ หน่วยงานที่รับผิดชอบควรวิเคราะห์ข้อดี-ข้อจำกัดของพื้นที่แต่ละโซนก่อน อีกทั้งควรมีการติดตามผลการใช้ประโยชน์ที่ดินของเกษตรกรในนิคมเศรษฐกิจพอเพียงอย่างสม่ำเสมอ เพื่อทราบถึงปัญหาในการใช้พื้นที่และนำไปสู่แนวทางการแก้ไขปัญหาหรือข้อเสนอแนะต่อไป


แนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทเกสต์เฮ้าส์ในย่านเมืองเก่าภูเก็ต, ณัฐติกา สุวคันธ์ Jan 2018

แนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทเกสต์เฮ้าส์ในย่านเมืองเก่าภูเก็ต, ณัฐติกา สุวคันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ย่านเมืองเก่าภูเก็ตเป็นย่านที่มีอาคารที่มีคุณค่าในการอนุรักษ์อยู่มาก ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงเป็นย่านท่องเที่ยวมากขึ้น มีธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักนักท่องเที่ยวเกิดขึ้นมากถึง 31 แห่ง โดยเป็นที่พักประเภทเกสต์เฮ้าส์ที่พัฒนาโดยผู้ประกอบการที่เป็นคนในพื้นที่มากถึง 9 แห่ง พัฒนาในอาคาร 2 รูปแบบ คือ ในอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ และในอาคารที่สร้างใหม่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ในการศึกษาแนวทางการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทเกสต์เฮ้าส์ โดยศึกษา กระบวนการพัฒนา ปัญหาอุปสรรค และผลการดำเนินงาน วิเคราะห์ข้อดีข้อจำกัดและสรุปบทเรียนจากการพัฒนาในอาคารทั้งสองรูปแบบ ด้วยวิธีการ ศึกษาเอกสาร การสำรวจพื้นที่และอาคาร การสัมภาษณ์ผู้ประกอบการและเข้าพักสังเกตการณ์ ในกรณีศึกษา 4 กรณี โดยเป็น กรณีศึกษาที่พัฒนาในอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ 2 กรณีศึกกษาและในอาคารที่สร้างใหม่ 2 กรณีศึกษา ผลจากการศึกษาการพัฒนาโครงการ 4 กรณีศึกษา พบว่า 1) การพัฒนาในอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ เป็นการนำเอาอาคารเก่ามาดัดแปลงเป็นที่พัก จึงทำในพื้นที่ที่มีอย่างจำกัด โดยการก่อสร้างต้องระมัดระวังให้กระทบกับตัวอาคารเก่าน้อยที่สุดและต้องมีการเสริมโครงสร้างเหล็กให้กับอาคารเก่าเพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้เหมาะสมกับการใช้งาน ผลที่เกิดขึ้นคือมีจำนวนห้องพักน้อย รูปด้านอาคารมีความสอดคล้องกับความเป็นย่านเมืองเก่า มีความสวยงามซึ่งเป็นผลมาจากเสน่ห์เฉพาะตัวของอาคารที่เลือกมาพัฒนา ในด้านการลงทุน เป็นการเช่าที่ดินและอาคารมาดำเนินการ โครงการใช้งบประมาณในการลงทุนไม่สูง ระยะเวลาการดำเนินการพัฒนาโครงการสั้น และระยะเวลาการคืนทุนเร็ว 2) การพัฒนาในอาคารที่สร้างใหม่ ทำการพัฒนาบนที่ดินที่เป็นเจ้าของ โดยการสร้างอาคารขึ้นใหม่อย่างเต็มประสิทธิภาพที่ดิน โดยได้ศึกษากฎหมายและข้อกำหนดของย่านเมืองเก่าภูเก็ตอย่างละเอียด และดำเนินการโดยได้รับการยินยอมจากบ้านข้างเคียงก่อนการก่อสร้าง การก่อสร้างโครงการ มีการวางผังอาคาร โดยการแบ่งอาคารออกเป็นหลายหลังและทำทางเชื่อมเพื่อรวมเป็นอาคารเดียว เพื่อให้สะดวกในการก่อสร้างอาคารในที่แคบและเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกฎหมาย โดยระมัดระวังไม่ให้เกิดผลกระทบกับอาคารข้างเคียง ผลที่ได้คือ มีจำนวนห้องพักมาก ส่วนรูปด้านอาคารจะมีความสอดคล้องกับความเป็นย่านเมืองเก่าหรือไม่ ขึ้นอยู่กับความรู้และประสบการณ์ของผู้ประกอบการและผู้ร่วมพัฒนาโครงการ ในการเห็นคุณค่าของสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของย่านเมืองเก่า ในด้านการลงทุน ใช้งบประมาณในการลงทุนสูง ระยะเวลาการดำเนินการพัฒนาโครงการยาวนาน และระยะเวลาคืนทุนช้ากว่าแบบที่พัฒนาในอาคารที่มีคุณค่าควรแก่การอนุรักษ์ การเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงทำให้สามารถประกอบการได้ในระยะยาว ผลการศึกษาสรุปได้ว่า กระบวนการการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทเกสต์เฮ้าส์ในย่านเมืองเก่าภูเก็ต 2 แนวทาง ซึ่งมีข้อดีข้อจำกัดที่แตกต่างกัน ทั้งในระยะก่อนการก่อสร้าง ระหว่างการก่อสร้าง หลังการก่อสร้าง และการลงทุนโครงการ จึงมีข้อเสนอแนะว่า 1) ผู้ที่สนใจลงทุนพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทเกสต์เฮ้าส์ในย่านเมืองเก่าภูเก็ตควรศึกษาแนวทางการพัฒนาในอาคารทั้งสองรูปแบบก่อนการตัดสินใจลงทุน 2) ผู้ประกอบการควรมีความเข้าใจในกระบวนการพัฒนาอสังอสังหาริมทรัพย์และวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนของตนเองอย่างดีก่อนการพัฒนา และ 3) ควรมีการจัดตั้งกลุ่มหรือชมรมนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่พักนักท่องเที่ยวของย่านเมืองเก่าภูเก็ต ร่วมกำหนดแนวทางและกฎเกณฑ์การพัฒนาที่เหมาะสม เพื่อสามารถดำรงรักษาอัตลักษณ์ของย่านเมืองเก่าภูเก็ตให้คงอยู่


สภาพที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในย่านชุมชนเก่า : กรณีศึกษา 2 ชุมชน แพร่งภูธรและ แพร่งนรา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร, วิลาสินี ลักษมีวัฒนา Jan 2018

สภาพที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุในย่านชุมชนเก่า : กรณีศึกษา 2 ชุมชน แพร่งภูธรและ แพร่งนรา เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร, วิลาสินี ลักษมีวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เขตพระนครที่แนวโน้มมีผู้สูงอายุอยู่มาก ส่วนหนึ่งอยู่อาศัยในอาคารเก่าที่ขึ้นทะเบียนควรค่าแก่การอนุรักษ์ ที่มีข้อจำกัดเรื่องขนาดตัวอาคารแคบบันไดที่สูงชันมีสภาพไม่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ การศึกษางานวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพสังคม เศรษฐกิจ พฤติกรรมและการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุในย่านชุมชนเก่า วิเคราะห์และเสนอแนะแนวทางปรับปรุงพื้นที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุโดยใช้วิธีการศึกษาโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากกลุ่มตัวอย่าง 22 คนในขอบเขตพื้นที่ชุมชนแพร่งภูธรและแพร่งนรา ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่อาศัยกับครอบครัวเดิมหรือคนคุ้นเคย รายได้หลักมาจากลูกหลานเป็นส่วนใหญ่ ยังมีผู้สูงอายุจำนวนหนึ่งที่ยังคงประกอบอาชีพอยู่ ด้านสุขภาพผู้สูงอายุเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากที่สุด ผู้สูงอายุวัยปลายมีการใช้กายอุปกรณ์ในการช่วยเดินอย่างเห็นได้ชัด และบางคนมีภาวะพึ่งพิง ปัญหาที่พบคือผู้สูงอายุยังอาศัยนอนอยู่ที่ชั้น 2 และใช้ห้องน้ำที่ชั้น 1 บันไดที่เป็นทางสัญจรระหว่างชั้น 1 และ 2 เป็นพื้นที่เสี่ยงหกล้ม ผิวบันไดลื่นและขั้นบันไดสูงชันและเป็นพื้นที่ที่ผู้สูงอายุเกิดอุบัติเหตุมากที่สุด นอกจากนี้จากการสำรวจที่อยู่อาศัย ยังพบว่าห้องน้ำเป็นพื้นที่ที่มีความไม่เหมาะสมกับมาตรฐานการออกแบบให้ถูกหลักที่อยู่อาศัยเพื่อผู้สูงอายุมากที่สุด โดยมีปัญหามากที่สุดในเรื่องขนาดไม่สอดคล้องกับการออกแบบเพื่อผู้สูงอายุ สรุปผล เสนอแนะแนวทางจัดพื้นที่ย้ายส่วนนอนลงมาชั้น 1 ใกล้กับห้องน้ำมากที่สุด ให้ใช้เฟอร์นิเจอร์หรือสิ่งอำนวยความสะดวกที่รูปแบบยืดหยุ่นเคลื่อนย้ายได้เหมาะกับการใช้และปรับเปลี่ยนในการทำกิจกรรมหลายอย่างในพื้นที่จำกัด รวมถึงไม่ยึดติดอาคารเพื่อไม่ให้ทำความเสียหายแก่ส่วนอนุรักษ์ ส่วนบันไดและห้องน้ำที่พบว่ามีการเกิดอุบัติเหตุ มีข้อจำกัดในการปรับให้เหมาะสมตามมาตรฐานผู้สูงอายุเรื่องขนาดภายในห้องน้ำและการปรับขั้นบันได เนื่องจากพบข้อจำกัดขนาดพื้นที่ภายในอาคาร จึงเสนอแนะให้เพิ่มเติมสิ่งอำนวยความสะดวกและปรับปรุงซ่อมแซมส่วนที่ทรุดโทรมเพื่อให้ปลอดภัยขึ้น


การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นในยุคแรกเริ่ม กรณีศึกษา: หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1, ปฐมา ภัยผ่องแผ้ว Jan 2018

การเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นในยุคแรกเริ่ม กรณีศึกษา: หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1, ปฐมา ภัยผ่องแผ้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินของหมู่บ้านจัดสรรที่เกิดขึ้นในยุคแรกเริ่มในพื้นที่หมู่บ้านประชานิเวศน์ 1 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่เกิดขึ้นในพื้นที่โครงการ วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว และวิเคราะห์ผลกระทบที่มีผลต่อการอยู่อาศัย โดยแบ่งวิธีการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน คือ นำข้อมูลแผนผังในอดีตมาศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินและนำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับผลการสำรวจการใช้ประโยชน์ที่ดินในปัจจุบัน จากนั้นทำการคัดเลือกพื้นที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงสูงกว่าในบริเวณอื่นมาทำการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการ และในส่วนสุดท้ายเป็นการสำรวจผลกระทบต่อผู้อยู่อาศัยโดยใช้แบบสอบถาม
ผลการศึกษาพบว่า เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยแบบบ้านเดี่ยวไปเป็นการใช้ประโยชน์ที่ดิน 3 ประเภทหลัก ได้แก่ การค้าและการบริการ สำนักงานและบริษัท และที่พักอาศัยรวม โดยมีลักษณะการกระจุกและกระจายตัวในรูปแบบที่แตกต่างกัน ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินนั้น แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยในกลุ่มการค้าและการบริการ พบปัจจัยที่สำคัญ ได้แก่ ทำเลที่ตั้ง การถือครองที่ดิน และการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ และในกลุ่มสำนักงานและบริษัท พบปัจจัยที่สำคัญได้แก่ ทำเลที่ตั้ง (ใกล้ตลาด) การถือครองที่ดิน และความสะดวกในการติดต่องาน
ในประเด็นผลกระทบที่มีผลต่อการอยู่อาศัยของคนในหมู่บ้านพบว่า ระดับของผลกระทบในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง มีบางบริเวณที่ได้รับผลกระทบสูงกว่าค่าเฉลี่ย ได้แก่ เขตที่ 10 ซึ่งมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด จากการสำรวจการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินพบว่า บริเวณดังกล่าวเกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยไปเป็นประเภทพาณิชยกรรมทั้งในกลุ่มของการค้าและการบริการและกลุ่มสำนักงานและบริษัท เกิดการขยายพื้นที่ของร้านค้า ร้านอาหารที่ติดกับบริเวณถนนเทศบาลสงเคราะห์เข้ามาในพื้นที่ ส่วนในกลุ่มของสำนักงานและบริษัท เกิดการใช้งานในพื้นที่เป็นที่ตั้งของสำนักงานขนาดใหญ่ อยู่ติดกับศูนย์กีฬาประชานิเวศน์ และมีการกระจายที่ตั้งของสำนักงานในบริเวณนี้ค่อนข้างมาก จึงทำให้บริเวณนี้ค่อนข้างมีผลกระทบต่อการอยู่อาศัยของคนในหมู่บ้านค่อนข้างสูง นอกจากนี้ยังพบว่า ปัญหาส่วนมากที่พบจากแบบสอบถามคือปัญหาการจราจร เนื่องจากถนนภายในหมู่บ้านถูกเชื่อมต่อเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระดับเมือง และมีปัญหาเรื่องที่จอดรถในบางบริเวณ ซึ่งเป็นผลมาจากตำแหน่งที่ตั้งของสาธารณูปการและกิจกรรมพาณิชยกรรมบางส่วน ในขณะที่บริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงไปเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมมากขึ้นนั้น ผู้อยู่อาศัยไม่ได้สะท้อนว่ามีปัญหาในเรื่องของที่จอดรถมากนัก เนื่องจากขนาดถนนภายในหมู่บ้านมีขนาดความกว้างเกินกว่ามาตรฐานของหมู่บ้านจัดสรรทั่วไปในปัจจุบัน


การวางผังอาคารและลักษณะพื้นที่ว่างระหว่างอาคารในโครงการอาคารชุดพักอาศัยแนวราบในเขต กรุงเทพมหานคร, ปริยากร พิมานแมน Jan 2018

การวางผังอาคารและลักษณะพื้นที่ว่างระหว่างอาคารในโครงการอาคารชุดพักอาศัยแนวราบในเขต กรุงเทพมหานคร, ปริยากร พิมานแมน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวางผังอาคารนับเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญที่ทำให้สภาพแวดล้อมพื้นที่ว่างระหว่างอาคารที่ถูกสร้างขึ้นนั้นมีความแตกต่างกันออกไป ซึ่งการวางผังที่ดีนี้จะส่งผลให้ 1) เกิดพื้นที่ภายในน่าอยู่ด้วยการวางตัวอาคารโอบล้อมพื้นทีส่วนกลาง เพิ่มความสงบให้กับพื้นที่ภายในโครงการ 2) นำไปสู่การจัดสรรพื้นที่ Facility ของโครงการ จากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า พื้นที่ดังกล่าวจะถูกออกแบบเป็นฟังก์ชันการใช้งานที่หลากหลาย และมักถูกพบเป็นพื้นที่นันทนาการของโครงการ ซึ่งทำให้เกิดการใช้งานของผู้อยู่อาศัย 3)สามารถบรรลุ ตอบโจทย์การลงทุน เนื่องการวางผังอาคารจะขึ้นอยู่กับข้อกำหนดและกฎหมายต่างๆ ซึ่งความแตกต่างของการวางผังและสร้างสรรค์พื้นที่ว่างในโครงการนี้ ไม่เพียงแต่เป็นจุดขายของโครงการเท่านั้นแต่พื้นที่ดังกล่าวยังช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ดีให้กับโครงการ สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้อีกด้วย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและจำแนกประเภทการวางผังโครงการ และพื้นที่ว่างระหว่างอาคารที่เกิดจากการวางผังในโครงการอาคารชุดพักอาศัยแนวราบ ในเขตกรุงเทพมหานครจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ที่มีผลประกอบการสูงสุดในปี พ.ศ. 2560 จำนวน 10 บริษัท โดยรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์และหน่วยงานต่างๆ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการวางผังและพื้นที่ว่างระหว่างอาคารที่เกิดจากการวางผัง จากรูปแบบผังอาคารที่ต่างกัน ผลการศึกษาพบว่าการวางผังโครงการอาคารชุดพักอาศัยแนวราบที่พบมี 3 รูปแบบหลักและ 1 รูปแบบผสม คือรูปแบบ A วางอาคารแบบสวนกลาง เกิดพื้นที่ว่างที่มีการปิดล้อม 3 ด้านขึ้นไป รูปแบบ B วางอาคารตามแนวถนน 2 ฝั่ง เกิดพื้นที่ว่าง มีด้านปิดล้อม 2 ด้าน รูปแบบ C วางอาคารตามแนวถนน เกิดพื้นที่ว่างเฉพาะด้านสกัดของอาคาร ไม่เกิดการปิดล้อม รูปแบบ D วางอาคารแบบผสม 2 รูปแบบขึ้นไป หรือตามรูปร่างที่ดิน 1) จากโครงการกลุ่มตัวอย่างพบ ผังรูปแบบ A มากที่สุด รองลงมาคือรูปแบบ D C และ B ตามลำดับ โดยผังรูปแบบ C และ D จะพบในโครงการที่มีขนาดใหญ่กว่ารูปแบบ A และ B 2) ผังรูปแบบ A เป็นรูปแบบผังที่มีระดับราคาขายสูงที่สุดใน 4 รูปแบบ และผังในรูปแบบ C เป็นรูปแบบผังที่มีระดับราคาขายต่ำที่สุด 3) ผังรูปแบบ A และ B มีลักษณะและพื้นที่ว่างระหว่างอาคารที่เกิดจากการวางอาคารใกล้เคียงกัน แต่ผังรูปแบบ A ถูกออกแบบพื้นที่ให้เป็นพื้นที่ใช้งานประเภทนันทนาการเพื่อทำกิจกรรมทางเลือกมากกว่า ผังรูปแบบ B …


กระบวนการพัฒนาโรงแรมภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา บ้านริมแคว แพริมน้ำ รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี, อรุณวรรณ ปราบพาล Jan 2018

กระบวนการพัฒนาโรงแรมภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษา บ้านริมแคว แพริมน้ำ รีสอร์ท จ.กาญจนบุรี, อรุณวรรณ ปราบพาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาโรงแรมเป็นการพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่สำคัญในช่วงที่ประเทศไทยใช้การท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในขณะที่โรงแรมส่วนใหญ่มุ่งการดำเนินงานในเชิงธุรกิจ ได้มีโรงแรมจำนวนหนึ่งได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินงาน บ้านริมแคว แพริมน้ำ รีสอร์ท เป็นโรงแรมที่ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการพอแล้วดี เพื่อเป็นต้นแบบในการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้กับธุรกิจ ประเภทธุรกิจโรงแรมและที่พัก งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาโรงแรมภายใต้หลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยวิธีการ คือ 1. ศึกษาเอกสาร แนวคิด ทฤษฎี โดยเฉพาะเรื่องของหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำเครื่องมือในการสัมภาษณ์ 2.สัมภาษณ์ เจ้าของบ้านริมแคว แพริมน้ำ ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเจ้าหน้าที่โครงการพอแล้วดี ผลการศึกษาพบว่า บ้านริมแคว แพริมน้ำ รีสอร์ท ในปัจจุบัน(2562) มีห้องพักจำนวน 98 ห้อง แบ่งเป็นแพพัก 47 ห้อง และบ้านพัก 51 ห้อง มีที่ตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ มีแม่น้ำแควน้อยไหลผ่าน มีการแบ่งสัดส่วนการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยไม่ได้สร้างโรงแรมอย่างเต็มพื้นที่แต่แบ่งเป็นที่ดินในการทำเกษตรเพื่อนำผลผลิตมาใช้ในโครงการ พื้นที่สำหรับบ้านพักพนักงาน โดยกระบวนการพัฒนาโรงแรมนี้ใช้ระยะเวลามาแล้ว 25 ปีและยังคงพัฒนาต่อไป กระบวนการพัฒนาที่ผ่านมาแบ่งได้เป็น 3 ช่วง คือ (1) การพัฒนาโดยแนวคิดทำการใหญ่ในธุรกิจท่องเที่ยว และยังไม่มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ดำเนินงานระหว่าง พ.ศ.2524-2527 ผลการดำเนินงานในช่วงนี้มีปัญหาหนี้สิน และที่ดินส่วนใหญ่ถูกทิ้งร้าง (2) ระยะปรับแนวคิด เป็นการทำไป อยู่ไป กินไป (พ.ศ. 2527-2545) การพัฒนาโครงการเริ่มจากแพพักเพียง 1 หลัง และพัฒนาจากรายได้ที่ได้จากการบริการ สร้างบ้านพักทีละ 1-2 หลัง/ปี ซึ่งทำให้ผลการดำเนินงานช่วงนี้พอที่จะสามารถเลี้ยงตนเอง และหนี้สินลดลง และ (3) ช่วงการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางการดำเนินงาน(พ.ศ. 2545 - ปัจจุบัน) โดยการค่อยๆพัฒนาบ้านพักทีละ 1-2 หลัง เน้นการลงทุนการเงินหมุนเวียนภายใน มีการกู้เงินจากสถาบันทางการเงินเป็นส่วนน้อย ส่งผลให้ภาระหนี้สินลดลง ขยายโรงแรมเป็น 98 ห้อง(เท่าจำนวนปัจจุบัน) ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน สามารถเลี้ยงตนเอง ครอบครัว รวมทั้งพนักงานในรีสอร์ทซึ่งเป็นคนในพื้นที่ได้ และสามารถไปช่วยเหลือชุมชน วัดและโรงเรียน โดยรอบโครงการได้ ผลจากการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนี้ทำให้ได้รับการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการพอแล้วดี เพื่อเป็นต้นแบบธุรกิจที่นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินงาน คือความพอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว มีความรู้ …


ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการเข้าพักที่พักแรมย่านสถานีรถไฟกรุงเทพ, กฤชภัสสร์ วีวัยวุธภิญโญ Jan 2018

ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวต่อการเข้าพักที่พักแรมย่านสถานีรถไฟกรุงเทพ, กฤชภัสสร์ วีวัยวุธภิญโญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะที่พักแรมบริเวณรอบสถานีรถไฟกรุงเทพ การเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยว รวมถึงความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวในการเข้าพัก รวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ 3 แหล่ง คือ Booking.com Agoda และ Trip Adviser ตั้งแต่วันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ถึง 15 เมษายน พ.ศ. 2562 มีจำนวนผู้รีวิวทั้งสิ้น 23,109 คน นอกจากนี้ยังสำรวจที่พักแรมรอบสถานีรถไฟกรุงเทพระยะ 500 เมตร จำนวน 27 แห่ง สัมภาษณ์ผู้จัดการที่พักแรม 27 คน และนักท่องเที่ยวจำนวน 30 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการถอดคำสำคัญ จัดกลุ่ม และใช้วิธีการทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า 1) ที่พักแรมสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท คือ โฮสเท็ล (ร้อยละ 41) โรงแรม (ร้อยละ 33) และเกสต์เฮาส์ (ร้อยละ 26) ตามลำดับ โดยโฮสเท็ลมีสัดส่วนมากที่สุด ซึ่งที่พักแรมส่วนใหญ่ร้อยละ 70 มีระยะทางเดินเท้าจากสถานีรถไฟไม่เกิน 600 เมตร และร้อยละ 66 มีราคาไม่เกิน 1,000 บาท 2) นักท่องเที่ยวที่เข้าพักแรมส่วนมากเป็นชาวต่างชาติ (ร้อยละ 73) เข้าพักเป็นจำนวน 2 วัน 1 คืน (ร้อยละ 56) และจ่ายค่าที่พักไม่เกิน 1,000 บาทต่อคืน (ร้อยละ 70) เหตุผลในการเลือกพักย่านหัวลำโพงเนื่องจากมีแผนการท่องเที่ยวที่ใช้รถไฟเป็นหลัก หรือทำธุระในพื้นที่ใกล้เคียง 3) นักท่องเที่ยวพึงพอใจต่อที่พักในย่านนี้ระดับสูง (8.1 คะแนน) โดยพึงพอใจด้านการบริการมากที่สุด (8.3 คะแนน) รองลงมาด้านทำเลที่ตั้ง (8.2 คะแนน) ความคุ้มค่าเงิน (8.2 คะแนน) และสิ่งอำนวยความสะดวก (8.1 …


การจัดให้มีสถานดูแลผู้สูงอายุ และสถานรับเลี้ยงเด็กในเวลากลางวัน (Daycare) เพื่อเพิ่มพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Far Bonus) สำหรับผู้พัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยในกรุงเทพมหานคร, กฤติยา วิรบุตร์ Jan 2018

การจัดให้มีสถานดูแลผู้สูงอายุ และสถานรับเลี้ยงเด็กในเวลากลางวัน (Daycare) เพื่อเพิ่มพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (Far Bonus) สำหรับผู้พัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยในกรุงเทพมหานคร, กฤติยา วิรบุตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน พ.ศ. 2562 จำนวนประชากรผู้สูงอายุของประเทศไทยมีมากกว่าประชากรวัยเด็ก และมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี ทำให้อัตราส่วนของวัยแรงงานในการเลี้ยงดูผู้สูงอายุ 1 คนลดลงเรื่อยมา จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ดังนั้น การดูแลโดยครอบครัวจึงไม่เพียงพออีกต่อไป สาเหตุส่วนหนึ่งเกิดจากอัตราการเกิดที่ลดลง โดยเหตุผลที่ครอบครัวสมัยใหม่มีบุตรน้อยลง เพราะวัฒนธรรมการทำงาน และขนาดครอบครัวที่เล็กลง ทำให้ขาดผู้ดูแลบุตรในเวลากลางวัน จากสถานการณ์ข้างต้น ภาครัฐจึงออกนโยบายหลายด้านเพื่อขานรับการเปลี่ยนแปลง รวมถึงกระตุ้นความร่วมมือจากภาคเอกชน มาตรการทางผังเมืองเป็นมาตรการหนึ่งที่สนับสนุนให้ภาคเอกชนร่วมจัดตั้งบริการทางสังคม โดยร่างผังเมืองรวมกรุงเทพฯ ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 4 ได้เพิ่มเกณฑ์การจัดให้มีสถานดูแลผู้สูงอายุ และสถานเลี้ยงเด็กในเวลากลางวันในมาตรการเพิ่มพื้นที่อาคารรวมต่อพื้นที่ดิน (FAR Bonus) จึงเกิดคำถามในการนำกฎหมายดังกล่าวไปปฏิบัติจริง โดยเลือกศึกษาอาคารชุดพักอาศัยที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในกรุงเทพฯ แนวทางการศึกษาอาศัยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อการคาดการณ์ที่น่าเชื่อถือ เทคนิคเดลฟาย (Delphi Technique) จึงถูกนำมาใช้ในการคัดเลือกผู้ให้สัมภาษณ์ การสัมภาษณ์ และการตอบแบบสอบถาม โดยมีกลุ่มประชากร 4 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้พัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสถานดูแลผู้สูงอายุ และสถานเลี้ยงเด็กในเวลากลางวัน และผู้เชี่ยวชาญทางผังเมือง รวม 19 ท่าน สำหรับการศึกษาด้านความคุ้มค่าในการลงทุน อาศัยแบบจำลองการเพิ่มพื้นที่ของกรณีศึกษาอาคารชุดพักอาศัย จำนวน 11 โครงการ แบ่งตามระดับราคา เพื่อนำมาคำนวณหาผลตอบแทนและต้นทุนเมื่อพื้นที่เพิ่มขึ้น โดยดัดแปลงวิธีการคำนวณจาก อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อต้นทุน (Return on Investment หรือ ROI) ผลที่ได้จึงนำมาวิเคราะห์ร่วมกับตัวแปรด้านระดับราคา และค่า FAR ของที่ตั้งโครงการ ผลการศึกษาความเห็นจากผู้พัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัย และผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน พบว่า มาตรการส่งเสริมดังกล่าวมีความเป็นไปได้ในการดำเนินงาน ขึ้นอยู่กับลักษณะโครงการ และกลุ่มเป้าหมาย กล่าวคือ โครงการระดับราคาปานกลาง มีความเหมาะสมในการเข้าร่วมเกณฑ์มากที่สุด เพราะที่ตั้งโครงการอยู่ในทำเลที่มีความต้องการเพิ่มพื้นที่อาคาร และขนาดของโครงการทำให้โอกาสที่จำนวนผู้ใช้บริการจะมีมากขึ้น ด้านความคุ้มค่าในการลงทุน ผลจากแบบจำลองการเพิ่มพื้นที่แสดงให้เห็นว่า เกณฑ์การจัดให้มีสถานดูแลผู้สูงอายุ และสถานเลี้ยงเด็กในเวลากลางวัน มีความคุ้มค่าในการลงทุน โดยมีสัดส่วนผลตอบแทนต่อต้นทุนมากที่สุดในโครงการระดับราคาสูง และลดลงในโครงการระดับราคาปานกลาง และระดับราคาต่ำ และยังมีแนวโน้มแปรผันตรงกับค่า FAR ของที่ตั้งโครงการ ด้านข้อจำกัดในการเข้าร่วมเกณฑ์ ครอบคลุมในเรื่องการเปลี่ยนแปลงการใช้งานพื้นที่ ความต้องการเพิ่มพื้นที่อาคาร ซึ่งสวนทางกับความต้องการสถานดูแลในเวลากลางวันเมื่อเปรียบเทียบระหว่างพื้นที่ในเมือง และชานเมือง รวมถึงการจัดหาผู้ประกอบการสถานดูแลในเวลากลางวันที่เชี่ยวชาญ


ความสัมพันธ์ระหว่างราคาค่าเช่ากับลักษณะของอะพาร์ตเมนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร, ชนากานต์ สุรมิตร Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างราคาค่าเช่ากับลักษณะของอะพาร์ตเมนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร, ชนากานต์ สุรมิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพิ่มขึ้นของจำนวนที่อยู่อาศัยประเภทเช่าตามความต้องการของผู้อยู่อาศัย ส่งผลให้อะพาร์ตเมนต์ในกรุงเทพมหานครมีการขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีความหลากหลายของทำเลที่ตั้ง ลักษณะอาคาร รวมถึงระดับราคา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกายภาพ ทำเลที่ตั้ง และราคาค่าเช่าของอะพาร์ตเมนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยรวบรวมข้อมูลจากเว็บไซต์ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน 2561 พบอะพาร์ตเมนต์ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 471 แห่ง นอกจากนี้ยังสำรวจอะพาร์ตเมนต์จำนวน 12 แห่ง เพื่อศึกษาสภาพอาคารและที่ตั้งวิเคราะห์ผลโดยวิธีสถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษาพบว่า 1) อะพาร์ตเมนต์ในเขตกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตชั้นในและชั้นกลางของเมือง คิดเป็นร้อยละ 40 และ 47 ตามลำดับ ส่วนในเขตชั้นนอกมีร้อยละ 13 ทั้งนี้พบว่าอะพาร์ตเมนต์ที่อยู่ในเขตเมืองชั้นในและชั้นกลางมักอยู่ใกล้แหล่งงาน ขณะที่อะพาร์ตเมนต์ในเขตเมืองชั้นนอกมักตั้งใกล้แหล่งจับจ่ายใช้สอย 2) อะพาร์ตเมนต์ส่วนใหญ่เปิดให้บริการมา 1-5 ปี ห้องพักส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก 12-27 ตารางเมตร โดยห้องขนาดใหญ่มักพบในเขตเมืองชั้นใน สำหรับสิ่งอำนวยความสะดวกภายในห้องพักที่พบมากที่สุด คือ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องปรับอากาศ อินเตอร์เน็ตไร้สาย เคเบิลทีวี และเครื่องทำน้ำอุ่น 3) ราคาค่าเช่าเฉลี่ยของอะพาร์ตเมนต์ส่วนใหญ่อยู่ในระดับราคาปานกลาง (4,351-7,050 บาทต่อเดือน) โดยราคาค่าเช่าเฉลี่ยสูงสุดอยู่ในเขตเมืองชั้นใน ทั้งนี้พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อราคาค่าเช่าอะพาร์ตเมนต์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ มี 6 ปัจจัย เรียงตามลำดับ ได้แก่ ขนาดหน่วยพัก สถานที่ขนส่งสาธารณะ จำนวนปีที่เปิดให้บริการ เขตที่ตั้ง สิ่งอำนวยความสะดวก และสถานศึกษาผลการศึกษาชี้ให้เห็นถึงลักษณะ (Characteristics) ของอะพาร์ตเมนต์ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยแบบเช่าซึ่งส่วนใหญ่ตั้งอยู่ในเขตชั้นในและเขตชั้นกลางของกรุงเทพมหานคร โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาค่าเช่าอย่างมีนัยสำคัญคือทำเลที่ตั้ง ลักษณะของอพาร์ตเมนต์ และสิ่งอำนวยความสะดวก งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการในการพัฒนาโครงการให้สอดคล้องกับระดับราคาซึ่งสะท้อนความสามารถในการจ่ายของผู้อยู่อาศัย นอกจากนี้ผลการศึกษายังสะท้อนให้เห็นลักษณะตลาดอสังหาริมทรัพย์ประเภทเช่าเพื่อนำไปสู่การวางแผนเรื่องที่อยู่อาศัยประเภทเช่าในเขตกรุงเทพมหานครต่อไป


การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล กรณีศึกษา โรงละครสยามนิรมิตและพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย Moca, ชุติกาญจน์ แจ้งเสนาะ Jan 2018

การพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล กรณีศึกษา โรงละครสยามนิรมิตและพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย Moca, ชุติกาญจน์ แจ้งเสนาะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร่วมกับมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล ได้มีการขับเคลื่อน โครงการการท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวล ในประเทศไทย เพื่อพัฒนาให้เกิดแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม (Universal Accessibility) โดยพัฒนาการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อทุกคน ( Universal Design ) รวมไปถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืนในเชิงวัฒนธรรม สอดคล้องกับวิสัยทัศน์การท่องเที่ยวไทย พ.ศ. 2579 ในแผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติฉบับที่ 2 ภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 20 ปี และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถเข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม โดย UNWTO ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเลือกศึกษาการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อคนทั้งมวล กรณีศึกษา พิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA และ โรงละครสยามนิรมิต ซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้รับรางวัลอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวลในกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2559 – 2560 จากมูลนิธิอารยสถาปัตย์เพื่อคนทั้งมวล เพื่อหาแนวทางการปรับปรุง พัฒนา การเข้าถึงและสิ่งอำนวยความสะดวกภายในอาคาร การจัดการเข้าถึงการแสดงนิทรรศการและการเรียนรู้ศิลปะ วัฒนธรรม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนทั้งมวล และได้มีวัตถุประสงค์ ศึกษาการเข้าถึงเนื้อหา ภายในพิพิธภัณฑ์และโรงละคร โดยใช้หลักการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) เพื่อสำรวจและหาแนวทาง การปรับปรุงการเข้าถึงและการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อทุกคนอย่างเหมาะสม จากการศึกษานี้ ได้ใช้วิธีการ สำรวจแบบมีโครงสร้าง สังเกต และการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเชิงลึก เป็นกรณีศึกษา มีแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง มุ่งเน้นประเด็นปัญหาและอุปสรรคการใช้งานสิ่งอำนวยความสะดวก และการเข้าถึงเนื้อหาโดยการจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก และการช่วยเหลืออย่างสมเหตุสมผล ภายในพิพิธภัณฑ์ และโรงละคร เพื่อหาแนวทางการปรับปรุง และการออกแบบพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวก ที่สอดคล้องกับกฏกระทรวงฯและการใช้งาน ผลการศึกษา พบว่าปัญหา ส่วนใหญ่ เป็นอุปสรรคสำหรับคนพิการทางสายตา ซึ่งจากกรณีศึกษาพิพิธภัณฑ์ศิลปะไทยร่วมสมัย MOCA มีการจัดให้ความช่วยเหลือแบบสมเหตุสมผล และสำหรับโรงละครสยามนิรมิตพบว่าคนพิการทางสายตา ไม่สามารถเข้าถึงลักษณะการแสดงและเนื้อหาได้ทั้งหมด ยังไม่มีการรองรับการจัดเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับคนพิการทางสายตา จากการรวบรวมข้อมูลสามารถสรุปข้อค้นพบการพัฒนาการเข้าถึงเนื้อหาโดย (1) ติดตั้งจอมัลติมีเดีย ที่มีความหลากหลายของการจัดเทคโนโลยีเพื่อตอบสนองต่อประสาทสัมผัสหลักที่มีประสิทธิภาพของคนทุกคน และ (2) การจัดพื้นที่ งานศิลปะจำลอง เพื่อสร้างกระบวนการ การเข้าถึงผ่านการสัมผัสและสร้างจินตนาการ และข้อเสนอแนะให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก ผ่านแอฟพลิเคชั่นของกรณีศึกษา เพื่อให้นักท่องเที่ยวและสถานที่เข้าถึงกันมายิ่งขึ้น ในการเตรียมด้านรายละเอียดเนื้อหารองรับทุกคนและการจัดทำแผนผังสัมผัสเพื่อให้ผู้พิการทางสายตาสามารถเข้าถึงเส้นทางสัญจรภายในสถานที่ผ่านประสบการณ์การท่องเที่ยว


สภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ในโครงการบ้านมั่นคง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ชุมชนคลองลัดภาชี ชุมชนศิรินทร์และเพื่อน และหมู่บ้านราศรีธรรม, พิงค์ รัตนไพศาล Jan 2018

สภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ในโครงการบ้านมั่นคง เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร กรณีศึกษา ชุมชนคลองลัดภาชี ชุมชนศิรินทร์และเพื่อน และหมู่บ้านราศรีธรรม, พิงค์ รัตนไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สถานการณ์ผู้สูงอายุโลกและผู้สูงอายุไทยระบุว่าปัจจุบันเข้าสู่สังคมสูงวัย อีกทั้งแนวโน้มประชากรสูงอายุไทยจะอาศัยอยู่ในเขตเทศบาลหรือเขตเมืองเพิ่มขึ้น สำนักงานสถิติแห่งชาติสำรวจพบว่าประชากรส่วนใหญ่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย และเป็นครัวเรือนที่มีรายได้น้อยเกินกว่าครึ่ง โดยพบว่ากรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและตะวันออกมีจำนวนโครงการบ้านมั่นคงซึ่งเป็นโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยมากที่สุด การไล่รื้อที่ดินเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเมืองส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย จึงเกิดเป็น 3 โครงการบ้านมั่นคงในเขตภาษีเจริญ คือ โครงการคลองลัดภาชี โครงการศิรินทร์และเพื่อน และโครงการราศรีธรรม ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ ด้านสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมของผู้สูงอายุ นำมาสู่การเคราะห์ กิจกรรมและการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุ และเสนอแนะแนวทางการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพภายในที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุ โดยใช้วิธีเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้สูงอายุ 16 คน รวมถึงการสำรวจ สังเกต ถ่ายภาพที่อยู่อาศัย จากผลการเก็บข้อมูลพบว่า จากการศึกษาผู้สูงอายุเพศหญิง 11 คน ผู้สูงอายุเพศชาย 5 คน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุวัยต้น มีสถานภาพสมรสแล้ว อยู่อาศัยร่วมกับบุตรหลานมากที่สุด และพบว่าส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง ด้านสภาพเศรษฐกิจส่วนใหญ่ได้รับเบี้ยยังชีพ มีรายได้ต่อเดือน 600-12,600 บาท ด้านกิจกรรมกับการอยู่อาศัยไม่ว่าจะเป็นประเภทที่อยู่อาศัยบ้านเดี่ยว บ้านแฝด หรือบ้านแถว พบว่าส่วนใหญ่ประกอบด้วยพื้นที่ส่วนอเนกประสงค์ พื้นที่ห้องน้ำ และพื้นที่ครัว โดยพื้นที่อเนกประสงค์ ได้แก่ พื้นที่ซึ่งประกอบด้วยการทำกิจกรรมใดๆมากกว่าหนึ่งกิจกรรมขึ้นไปเพื่อประโยชน์ในการใช้สอย แต่อาจไม่เหมาะสม เช่น การปูที่นอนกับพื้น พื้นที่ห้องน้ำที่ยังมีส่วนประกอบที่ไม่ปลอดภัย พื้นที่ครัวที่มีการจัดวางข้าวของไม่เป็นระเบียบ จึงเสนอแนะแนวทางการจัดสรรพื้นที่โดย พื้นที่อเนกประสงค์เลือกใช้เตียงแบบพับเก็บได้ ห้องน้ำเพิ่มการติดราวจับช่วยพยุงตัว เพื่อลดอุบัติเหตุจากการลื่นล้ม และพื้นที่ครัวใช้โต๊ะวางของที่มีที่ว่างใต้โต๊ะสำหรับการจัดวางถังแก๊ส


แนวทางการจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพในที่ทำงานเพื่อสนับสนุนการทำงานของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอาคารศาลอาญา , สำนักงานอัยการสูงสุด(อาคารกรุงเทพใต้), ภัคฐ์พิชา จันทรโรจน์ Jan 2018

แนวทางการจัดการสภาพแวดล้อมทางกายภาพในที่ทำงานเพื่อสนับสนุนการทำงานของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาอาคารศาลอาญา , สำนักงานอัยการสูงสุด(อาคารกรุงเทพใต้), ภัคฐ์พิชา จันทรโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์ และความเจริญมั่นคงทางเศรษฐกิจ ล้วนเป็นปัจจัยที่ส่งผลให้ประชาชนโดยรวมมีอายุยืนยาวมากขึ้น หลายประเทศมีการขยายอายุการเกษียณงานให้ยาวนานขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์และลดปัญหาทางด้านเศรษฐกิจ สำหรับประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่ "สังคมสูงวัย" ตั้งแต่ พ.ศ. 2548 เมื่อสัดส่วนประชากรสูงอายุ (60 ปี ขึ้นไป) สูงถึงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด มีการปรับเปลี่ยนอายุเกษียณราชการบางประเภท ให้ต่ออายุเกษียณราชการได้ถึงอายุ 70 ปีบริบูรณ์ ซึ่งถือว่าเป็นผู้สูงอายุที่ยังสามารถปฏิบัติงาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพระดับหนึ่ง ทั้งในเรื่องความคิด ประสบการณ์การทำงาน แต่ก็ต้องมีสภาพแวดล้อมของการทำงาน ที่เกื้อกูล สามารถสนับสนุนตามสรีระความถดถอยทางร่างกายของผู้สูงอายุไปพร้อมกันด้วย งานวิจัยชิ้นนี้จึงมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานของผ้สูงอายุ ศึกษาสภาพแวดล้อมทางกายภาพในสภานที่ทำงานสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อนำมาวิเคราะห์และหาแนวทางการพัฒนา ปรับปรุง สภาพแวดล้อมของสถานที่ทำงานสำหรับผู้สูงอายุให้มีความเหมาะสมกับการใช้งาน มีความปลอดภัยและเกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด ผู้วิจัยเลือกศึกษาอาคาร 2 แห่งคือ อาคารศาลอาญา และ สำนักงานอัยการสูงสุด (อาคารกรุงเทพใต้) ซึ่งเป็นอาคารที่มีกลุ่มข้าราชการตุลาการที่ขยายอายุเกษียณปฏิบัติงานอยู่คือ 1) ผู้พิพากษาอาวุโส 2) อัยการอาวุโส สัมภาษณ์กลุ่มประชากรร้อยละ 30 จำนวนทั้งสิ้น 14 คน และสัมภาษณ์เชิงลึก 4 คน เพื่อทำการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์และสำรวจพื้นที่สำนักงานทั้ง 2 แห่ง พบว่าผู้สูงอายุมีความเสื่อมถอยของอวัยวะต่าง ๆ ทางร่างกาย ที่เห็นได้ชัดคือ สายตา และกล้ามเนื้อ เป็นหลัก ลักษณะการทำงานของข้าราชการตุลาการขยายอายุเกษียณเป็นงานด้านเอกสารคดีความที่ต้องใช้สมาธิ วิเคราะห์อย่างละเอียด รอบคอบ สภาพแวดล้อมทางกายภาพในที่ทำงานทั้งภายในและภายนอก ปัจจุบันยังไม่รองรับกับรูปแบบการทำงานและพัฒนาการด้านร่างกายที่เปลี่ยนไปของผ้สูงอายุเท่าที่ควร ปัญหาที่พบคือ ที่จอดรถ ทางเดิน บันได ลิฟต์โดยสาร ห้องน้ำ ห้องทำงาน มีสภาพเก่า ค่อนข้างทรุดโทรมตามระยะเวลาการใช้งานของอาคารที่มีอายุมากกว่า 20 ปี จึงทำให้บางส่วนเสียหาย ยังไม่ได้รับการซ่อมแซมและไม่เพียงพอ จากการศึกษาจึงนำเสนอแนวทางการจัดการออกแบบและปรับปรุงตามแนวคิดการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design) และแนวคิดการออกแบบสถานที่ทำงานที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุหรือ Welcoming Workplace เช่น การปรับแสงสว่างที่เหมาะสมกับประเภทของงานของผู้สูงอายุ การเลือกใช้เฟอร์นิเจอร์ที่มีคุณภาพสูง สามารถรองรับสรีระของผู้สูงอายุ การเพิ่มพื้นที่การใช้ความคิด (Spaces to Contemplate) เพื่อให้ผู้สูงอายุสามารถพักผ่อนระหว่างวัน โดยออกแบบเสมือนที่พักอาศัย รวมทั้งเสนอแนวทางการจัดพื้นที่ทำงานของผู้สูงอายุแยกเป็นบริเวณพิเศษ …


พัฒนาการการวางผังและออกแบบพื้นที่เปิดโล่งในโครงการที่อยู่อาศัยของ Hdb สิงคโปร์ ระหว่างค.ศ.1960-2018, วรรณชนก บุญชำนาญ Jan 2018

พัฒนาการการวางผังและออกแบบพื้นที่เปิดโล่งในโครงการที่อยู่อาศัยของ Hdb สิงคโปร์ ระหว่างค.ศ.1960-2018, วรรณชนก บุญชำนาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สิงคโปร์เป็นประเทศที่มีการพัฒนารูปแบบโครงการที่อยู่อาศัยที่สะท้อนนโยบายของรัฐบาล เห็นได้ชัดจากการวางผังและออกแบบพื้นที่เปิดโล่งในโครงการของ เอช ดี บี ที่มีการพัฒนารูปแบบต่างจากช่วงสมัยเริ่มก่อตั้งองค์กรอย่างมาก งานวิจัยนี้มุ่งศึกษาพัฒนาการ การวางผังพื้นที่เปิดโล่งในโครงการที่อยู่อาศัย ตั้งแต่ก่อตั้งเอช ดี บี จนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นบทเรียนให้กับองค์กรพัฒนาที่อยู่อาศัยในประเทศไทย โดยใช้การวิจัยจาก เอกสาร ผังโครงการ และการสำรวจพื้นที่ เริ่มจากศึกษานโยบายประเทศระหว่างปี ค.ศ. 1960-2018 เพื่อแบ่งยุคการพัฒนา จากนั้นเลือก 4 โครงการต่อยุค เพื่อใช้เป็นกรณีศึกษา โดยใช้การจำแนกองค์ประกอบ ถอดแบบการวางผัง ศึกษารูปแบบอาคารและพื้นที่เปิดโล่ง และทำการคำนวณ สัดส่วนการใช้ที่ดินของแต่ละองค์ประกอบ ความหนาแน่นของหน่วยที่อยู่อาศัยต่อพื้นที่โครงการ และสัดส่วนพื้นที่เปิดโล่งต่อห้องพัก เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับนโยบายของรัฐในยุคนั้นๆ จากนั้นจึงสรุปเป็นบทเรียนเสนอแนะให้แก่องค์กรพัฒนาที่อยู่อาศัยของรัฐบาลไทย จากการศึกษาพบว่าพัฒนาการของโครงการ เอช ดี บี แบ่งได้เป็น 4 ยุค ตามสมัยของผู้นำทั้ง 3 คน คือ สมัยแรก คือยุคแห่ง "Garden City" และการแก้ปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัย ทำให้ผังมีพื้นที่เปิดโล่งที่เรียบง่าย เพื่อการสร้างให้มากที่สุดในเวลาที่สั้นที่สุด ส่วนในยุคที่สอง คือยุคแห่งการสร้างชุมชน การวางผังโครงการจึงมีรูปแบบอาคารที่โอบล้อมพื้นที่เปิดโล่ง ยุคที่สาม มีการมุ่งหวังให้ที่อยู่อาศัยเป็นหลักทรัพย์ของผู้ครอบครอง จึงมีการสร้างอาคารจอดรถแทนการจอดบนพื้นดิน เพิ่มพื้นที่สวนหลังคาในโครงการ ส่งผลให้ที่อยู่อาศัยเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าเพิ่มอีกด้วย จนมาถึงยุคปัจจุบัน เป็นยุคที่เอช ดี บีมุ่งเพิ่มพื้นที่สีเขียวมากขึ้นตามแนวคิด "City in a Garden" จึงปรับให้ที่จอดรถอยู่ใต้ดิน เพิ่มสวนหลังคา และเพิ่มพื้นที่เปิดโล่งสีเขียวเพื่อการใช้งาน นอกจากนั้น ถึงแม้ความหนาแน่นของหน่วยพักอาศัยจะสูงขึ้น ตามความต้องการและข้อจำกัดด้านที่ดิน แต่สัดส่วนพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียวต่อโครงการก็มีแนวโน้มสูงขึ้นจากการออกแบบวางผังที่ดี ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า การออกแบบวางผังพื้นที่เปิดโล่งในโครงการที่อยู่อาศัยของ เอช ดี บี สะท้อนแนวคิด และเป้าหมายตามนโยบายของรัฐบาลแต่ละยุค สามารถสรุปเป็นบทเรียนเสนอแนะแก่หน่วยงานพัฒนาที่อยู่อาศัยของรัฐบาลไทยได้ดังนี้ คือ ควรตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่เปิดโล่งและพื้นที่สีเขียวในการออกแบบและวางผังโครงการ เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้อยู่อาศัย และภาครัฐควรเล็งเห็นถึงโอกาสการนำการพัฒนาที่อยู่อาศัยมาเป็นเครื่องมือพัฒนาประเทศด้วย


แนวทางการพัฒนา Coworking Space บริเวณสถาบันการศึกษา กรณีศึกษา โครงการแนปแลป, โครงการเน็กซ์ดอทส์, โครงการทูฟาสทูสลีพ และ โครงการทูฟาสทูสลีพดอทเอสซีบี, วีรพล พืชธัญญากิจ Jan 2018

แนวทางการพัฒนา Coworking Space บริเวณสถาบันการศึกษา กรณีศึกษา โครงการแนปแลป, โครงการเน็กซ์ดอทส์, โครงการทูฟาสทูสลีพ และ โครงการทูฟาสทูสลีพดอทเอสซีบี, วีรพล พืชธัญญากิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบัน Coworking Space ในกรุงเทพได้เติบโตเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะตามแหล่งใจกลางย่านธุรกิจของเมือง เนื่องจากมีเส้นทางรถไฟฟ้าผ่าน และการเดินทางเข้าถึงได้สะดวก โดยเฉพาะบริเวณย่านสยามสแควร์และสามย่านมี Coworking Space เปิดให้บริการมากมายหลายรูปแบบ ซึ่งเมื่อพิจารณาพื้นที่บริเวณนี้พบว่ามีสถาบันการศึกษาที่สำคัญๆตั้งอยู่ใกล้เคียงหลายแห่ง โดยวัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ เพื่อศึกษาแนวคิดและข้อจำกัดในการดำเนินงาน Coworking Space บริเวณใกล้เคียงสถาบันการศึกษา รวมทั้งรูปแบบและการให้บริการที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการ Coworking Space ของผู้มาใช้บริการ ซึ่งใช้การเก็บข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์ การสำรวจ และแจกแบบสอบถามผู้มาใช้บริการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ร่วมกับทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้เพื่อนำมาซึ่งความเข้าใจในการจัดการพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมกับผู้เข้ามาใช้บริการ รวมทั้งเป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการที่สนใจลงทุนในธุรกิจประเภทนี้ จากการศึกษาพบว่าผู้มาใช้งานส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีอายุประมาณ 19-28 ปี ส่วนใหญ่เป็นนักศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า 10,000 บาท ซึ่งความถี่ในการเข้าใช้บริการจะอยู่ที่ประมาณ 1-2 ครั้งต่อเดือน เข้าใช้บริการประมาณ 3-4 ชม.ต่อครั้ง โดยช่วงเวลาที่มีผู้เข้าใช้บริการมากที่สุดคือ 18.01น. - 21.00น. และค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อครั้งจะตกอยู่ที่ครั้งละ 100 - 200 บาท จุดประสงค์ที่มาใช้งานเนื่องมาจากต้องการพื้นที่ทำงานมากที่สุด ส่วนสาเหตุที่เลือกใช้บริการเพราะมีสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทำงานครบครัน โดยผู้มาใช้บริการให้ความสำคัญกับปัจจัยด้านการสร้างและนำเสนอลักษณะทางกายภาพ เช่น การตกแต่งภายใน บรรยากาศผ่อนคลายไม่เครียด มากที่สุด ส่วนแนวความคิดที่มาของการทำ Coworking Space ของกรณีศึกษาเกิดจากการเห็นปัญหาความไม่สะดวกของนิสิตนักศึกษาที่ไปนั่งทำงานอ่านหนังสือตามร้านกาแฟหรือห้องสมุด จึงอยากช่วยสนับสนุนนิสิตนักเรียนนักศึกษาได้มีพื้นที่เพื่อใช้ประโยชน์สำหรับทำงานหรืออ่านหนังสือได้ตลอด 24 ชม. โดยปัญหาที่พบคือในช่วงปิดเทอมรายได้อาจลดลง เนื่องจากนักศึกษาจะกลับบ้านกัน จึงต้องมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่บางส่วนเพื่อปล่อยเช่าเป็น Service Office รายเดือน หรือ จัดประชุม สัมมนาได้ โดยปัจจุบันแนวโน้มและการเติบโตของธุรกิจนี้ยังเติบโตได้อีก เพราะยังมีตลาดของคนที่ต้องการใช้งานพื้นที่ลักษณะนี้มากขึ้น ผู้ประกอบการรายย่อยต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการรายใหญ่มากขึ้น แต่สิ่งสำคัญที่สุดของธุรกิจนี้คือ ทำเลที่ตั้งต้องอยู่ในที่ที่มีการคมนาคมสะดวกอยู่ใกล้กลุ่มเป้าหมาย และมีการสร้างจุดขายที่มีความน่าสนใจ เพื่อดึงดูดให้คนมาใช้งาน


การติดตามผลการดำเนินงานโครงการบ้านประชารัฐบนที่ดินราชพัสดุ : กรณีศึกษา โครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ, ศิฬินภา ศิริสานต์ Jan 2018

การติดตามผลการดำเนินงานโครงการบ้านประชารัฐบนที่ดินราชพัสดุ : กรณีศึกษา โครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ, ศิฬินภา ศิริสานต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

"โครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐ" เป็นโครงการหนึ่งภายใต้โครงการบ้านประชารัฐบนที่ดินราชพัสดุ ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาที่อยู่อาศัย 10 ปี (พ.ศ.2559-2568) ซึ่งดำเนินการโดยกรมธนารักษ์ร่วมมือกับภาคเอกชนในการพัฒนาที่อยู่อาศัย มีระยะเวลา 5 ปี โดยเป็นการจัดทำที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่ผู้มีรายได้น้อยที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของโครงการสามารถจ่ายได้ เพื่อจะได้มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยเป็นของตนเอง พร้อมทั้งมีมาตรการช่วยเหลือทางการเงิน วัตถุประสงค์ของงานวิจัยเป็นการติดตามผลการดำเนินงานและถอดบทเรียนในการทำงานร่วมกันของภาครัฐและภาคเอกชนในการจัดทำที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยผู้วิจัยได้ทำการศึกษาพื้นที่ดำเนินโครงการนำร่องทั้งหมด 6 แปลง ได้แก่ กท.5050 (กรุงเทพฯ) กท.2615 (กรุงเทพฯ) ชม.35, 1698 (จ.เชียงใหม่) อ.ชร.31 (จ.เชียงราย) พบ.260 (จ.เพชรบุรี) และ พบ.261 (จ.เพชรบุรี) พบว่ามีโครงการ พบ.261 เพียงแปลงเดียวที่มีการก่อสร้างที่อยู่อาศัยและโอนสิทธิให้ผู้เข้าร่วมโครงการเสร็จสมบูรณ์แล้วบางส่วน การศึกษานี้แบ่งผลการดำเนินโครงการเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ผลการดำเนินงานโครงการฯ ในภาพรวม และผลการดำเนินงานโครงการฯ แปลง พบ.261 โดยในแต่ละระดับได้ทำการศึกษา 2 ส่วน ได้แก่ 1) การติดตามผลการดำเนินงานการจัดทำที่อยู่อาศัย (Supply Side) จากข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์ภาครัฐและภาคเอกชน และ 2) การติดตามผลของการเข้าร่วมโครงการ (Demand) จากแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้เข้าร่วมโครงการ ผลการศึกษาในภาพรวมพบว่า มีพื้นที่ดำเนินโครงการหลายแห่งที่ถูกยกเลิกโครงการ มีสาเหตุเนื่องมาจากทำเลที่ตั้งอยู่ห่างไกลทำให้ขาดอุปสงค์ พื้นที่ดำเนินโครงการขาดการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางสังคม รวมถึงขาดการศึกษาอุปสงค์และอุปทานที่อยู่อาศัยก่อนการดำเนินงานโครงการ อีกทั้งขั้นตอนการทำงานมีจำนวนมาก จึงทำให้การดำเนินงานมีความล่าช้ากว่าแผนงาน ส่วนผลการศึกษาโครงการ พบ.261 พบว่า ผู้ประกอบการสามารถสร้างที่อยู่อาศัยในระดับราคาที่กลุ่มเป้าหมายสามารถจ่ายได้ แต่ปัจจุบันก่อสร้างได้สำเร็จเพียงเฟสเดียวและไม่สามารถก่อสร้างเฟสถัดไปได้ สืบเนื่องมาจากมีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการน้อย ผู้มีรายได้น้อยไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อและไม่สามารถจ่ายได้ จากผลการศึกษาจึงสรุปได้ว่า ผลการดำเนินงานโครงการภาพรวมไม่เป็นไปตามเป้าหมายเนื่องจากมีระยะเวลาในการเตรียมการจัดทำโครงการน้อยมาก จึงขาดการศึกษาและวิเคราะห์ความเป็นไปได้โครงการอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนการจัดทำโครงการ และในส่วนของโครงการ พบ.261 พบว่าผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่และมีที่ทำงานอยู่ใกล้กับทำเลที่ตั้งของโครงการ การไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อของผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ เป็นปัญหาสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จของโครงการ สิทธิการครอบครองแบบเช่าระยะยาวและการแบ่งแปลงที่ดินเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตัดสินใจของผู้เข้าร่วมโครงการ คุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการที่กำหนดว่า "ไม่เคยมีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยมาก่อน" ไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการน้อย จากการติดตามผลการดำเนินงานโครงการบ้านธนารักษ์ประชารัฐที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่ผ่านมา นำไปสู่การสรุปผลและการถอดบทเรียนของโครงการฯ ทั้งข้อดีและปัญหาอุปสรรค ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกันระหว่างรัฐกับเอกชน ในการพัฒนาที่อยู่อาศัยตามนโยบายของรัฐทั้งในระดับนโยบาย โครงการหลัก และโครงการย่อ


การพัฒนาที่พักขนาดเล็กสำหรับนักท่องเที่ยวในกรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่ต่อเนื่องกรุงรัตนโกสินทร์, ศุภราณี พิมเสน Jan 2018

การพัฒนาที่พักขนาดเล็กสำหรับนักท่องเที่ยวในกรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่ต่อเนื่องกรุงรัตนโกสินทร์, ศุภราณี พิมเสน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ ตำแหน่งที่ตั้ง การกระจุกตัว และลักษณะทางกายภาพของที่พักขนาดเล็กสำหรับนักท่องเที่ยว และศึกษารูปแบบการบริหารจัดการ ตลอดจนปัญหาและปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาที่พักขนาดเล็กสำหรับนักท่องเที่ยว ในการวิเคราะห์แนวโน้มและข้อจัดกัดในการส่งเสริมการพัฒนาที่พักขนาดเล็กสำหรับนักท่องเที่ยว ซึ่งการเก็บข้อมูลซึ่งแบ่งประเภทของที่พักขนาดเล็กสำหรับนักท่องเที่ยวเป็น 3 ประเภท คือ โฮสเทล เกสเฮาส์ และบูทีค โฮเทล ดำเนินการโดยการสำรวจภาคสนามและจดบันทึกข้อมูลอาคารที่ใช้ดำเนินกิจการที่พักขนาดเล็กสำหรับนักท่องเที่ยว และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่พักขนาดเล็กสำหรับนักท่องเที่ยวแบบเชิงลึก และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงกายภาพ และผลการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่พักในพื้นที่มาผ่านกระบวนวิธีการวิเคราะห์ศักยภาพของพื้นที่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงกายภาพ พบว่า ปัจจัยเรื่องการตั้งอยู่ใกล้ถนนสายหลัก การตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชน และการตั้งอยู่ใกล้ร้านค้าชุมชน มีผลต่อการพัฒนาที่พักขนาดเล็กสำหรับนักท่องเที่ยว ในขณะที่ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงกายภาพของที่พักประเภทโฮสเทล พบว่า ปัจจัยการตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชน มีผลต่อการพัฒนาโฮสเทล ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงกายภาพของที่พักประเภทเกสเฮาส์ พบว่า ปัจจัยการตั้งอยู่ใกล้ร้านค้าชุมชน มีผลต่อการพัฒนาเกสเฮาส์ และ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงกายภาพของที่พักประเภทบูทีค โฮเทล พบว่า ปัจจัยการตั้งอยู่ใกล้ถนนสายหลัก การตั้งอยู่ใกล้แหล่งชุมชน และการตั้งอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าในอนาคต ที่มีผลต่อการพัฒนา ในขณะที่ผู้ประกอบการเห็นว่าปัจจัยที่มีผลมากที่สุด คือ ปัจจัยการตั้งอยู่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว รองลงมา คือ การตั้งใกล้จุดให้บริการขนส่งสาธารณะ การตั้งอยู่ใกล้ร้านค้าชุมชน การตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความปลอดภัย และการตั้งใกล้แหล่งชุมชน ข้อมูลดังกล่าวทำให้สามารถคาดการณ์ถึงพื้นที่ในกรุงรัตนโกสินทร์และพื้นที่ต่อเนื่องฯ บริเวณแขวงชนะสงคราม แขวงตลาดยอด แขวงวัดบวรนิเวศ แขวงศาลเจ้าพ่อเสือ และแขวงสำราญราษฎร์ ที่มีแนวโน้มเกิดการพัฒนาของที่พักขนาดเล็กสำหรับนักท่องเที่ยวในอนาคต


การใช้สวนสาธารณะระดับย่านในพื้นที่โดยรอบสถานีระบบขนส่งมวลชนทางราง กรณีศึกษาสวนลุมพินี, ธนวุฒ นาชีวะ Jan 2018

การใช้สวนสาธารณะระดับย่านในพื้นที่โดยรอบสถานีระบบขนส่งมวลชนทางราง กรณีศึกษาสวนลุมพินี, ธนวุฒ นาชีวะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการใช้สวนสาธารณะในพื้นที่โดยรอบสถานีระบบขนส่งมวลชนทางราง (2) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของตำแหน่งที่ตั้งของที่อยู่อาศัยและที่ทำงานกับการใช้สวนสาธารณะระดับย่านในพื้นที่โดยรอบสถานีระบบขนส่งมวลชนทางราง และ (3) วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สวนสาธารณะในพื้นที่โดยรอบสถานีระบบขนส่งมวลชนทางราง โดยใช้สวนลุมพินีเป็นกรณีศึกษา มีวิธีการวิจัยด้วยการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้มาใช้บริการสวนลุมพินี จำนวน 400 ตัวอย่าง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบไคสแควร์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการศึกษา พบว่า (1) สวนสาธารณะระดับย่านในพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟฟ้ามีผู้ใช้งานหลัก คือ ผู้ที่อาศัยในพื้นที่โดยรอบสถานี นั่นคือ ผู้ใช้สวนลุมพินีส่วนใหญ่เป็นผู้ที่อาศัยอยู่ในคอนโดมิเนียมใกล้สถานีรถไฟฟ้าในระยะ 1 กิโลเมตร (2) ระยะห่างจากสถานีของที่อยู่อาศัยและที่ทำงานของผู้ใช้สวนลุมพินีที่แตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้สวนลุมพินีที่แตกต่างกันทั้งในด้านความถี่และวันที่ไปใช้สวน และ (3) เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อความถี่ในการมาใช้สวน พบว่า ที่อยู่อาศัยอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้ามีผลต่อความถี่การใช้สวนลุมพินี โดยผู้ใช้สวนที่บ้านอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้ามาใช้สวนแห่งนี้เป็นประจำมากกว่าผู้ใช้สวนที่บ้านอยู่ไกลสถานี ทั้งนี้ มีข้อค้นพบที่สำคัญ คือ (1) ความถี่ในการใช้สวนสาธารณะขึ้นอยู่กับความใกล้สถานีรถไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นบ้านหรือที่ทำงาน (2) ผู้ใช้สวนที่ทำงานอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าจะไม่ใช้รถไฟฟ้าในการเดินทางมาสวนสาธารณะ แต่ใช้รถยนต์เดินทางมาสวนสาธารณะแทนรถไฟฟ้า และ (3) สวนสาธารณะเป็นทางผ่านในการเดินทางกลับบ้านของผู้ที่ขับรถยนต์มาทำงาน


ผลกระทบของแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ในเขตพาณิชยกรรมสวนหลวง-สามย่าน ในช่วงเปลี่ยนผ่าน, ฐานิตา แก้วกลัด Jan 2018

ผลกระทบของแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยต่อการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม ในเขตพาณิชยกรรมสวนหลวง-สามย่าน ในช่วงเปลี่ยนผ่าน, ฐานิตา แก้วกลัด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลกระทบจากการพัฒนาพื้นที่ตามแผนแม่บทของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพื้นที่สวนหลวง-สามย่าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาที่เกิดขึ้น การโยกย้ายผู้เช่าเดิมในพื้นที่ และการเข้ามาของผู้เช่าใหม่ และศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคมที่เกิดขึ้นจากโครงการพัฒนาที่ดินบริเวณสวนหลวง-สามย่าน ตามแผนแม่บทฯ ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นของการโยกย้ายของผู้เช่าบางส่วนเข้าไปในพื้นที่ที่รองรับการโยกย้ายชั่วคราว เพื่อนำพื้นที่มาพัฒนาแบบรื้อแล้วสร้างใหม่ การพัฒนาที่เกิดขึ้นทำให้ผู้เช่าเดิมที่ได้รับผลกระทบต้องโยกย้ายการประกอบกิจการไปยังโครงการพัฒนาใหม่ที่รองรับ ตามนโยบายของแผนแม่บทฯ ซึ่งจะคัดเลือกกิจการบางประเภทของผู้เช่าให้อยู่ต่อในพื้นที่ได้ โดยจะได้รับสิทธิ์และเงื่อนไขในการพิจารณาจากสำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งพื้นที่ที่สามารถรองรับการโยกย้ายของผู้เช่าเดิม มีด้วยกัน 3 พื้นที่ ได้แก่ โครงการสวนหลวงสแควร์ โครงการ Stadium One และตึกแถวริมถนนบรรทัดทอง ผลการศึกษา พบว่า หลังการโยกย้ายทำให้ผู้เช่ามีรายรับมากขึ้น แต่ด้วยค่าเช่าใหม่มีราคาสูงขึ้น ประกอบกับผู้เช่าได้ลงทุนทำร้านใหม่ จึงทำให้เงินออมของผู้เช่าส่วนใหญ่เท่าเดิม ทั้งนี้กลุ่มที่มีปัญหาในเรื่องรายได้และเงินออมมากที่สุด คือ กลุ่มผู้เช่าที่ประกอบกิจการประเภทจำหน่ายเสื้อผ้าและอุปกรณ์กีฬาที่โยกย้ายไปยังตึกแถวริมถนนบรรทัดทอง ส่วนทางด้านสังคม ความสัมพันธ์ของผู้เช่ากับร้านค้าโดยรอบเดิมลดลง เนื่องจากแยกย้ายกระจายกันไปประกอบกิจการตามหมอนต่างๆ และผู้เช่าส่วนใหญ่ยังไม่ได้สร้างความสัมพันธ์กับร้านค้าโดยรอบใหม่ เพราะเพิ่งย้ายมาประกอบการในที่แห่งใหม่ได้ไม่นาน


การกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กและผลกระทบต่อพื้นที่โดยรอบในเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร, ปุณยนุช แสงวัฒนะ Jan 2018

การกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กและผลกระทบต่อพื้นที่โดยรอบในเขตชั้นในของกรุงเทพมหานคร, ปุณยนุช แสงวัฒนะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรุงเทพมหานครมีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและคมนาคมขนส่ง อีกทั้งมีการกระจุกตัวของแรงงาน วัตถุดิบ และผู้บริโภค ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดการตั้งโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กในพื้นที่เมืองเพื่อผลิตสินค้า งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมการกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก และประเมินผลกระทบจากการกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กที่มีต่อชุมชนโดยรอบพื้นที่ในเขตขั้นในของกรุงเทพมหานคร การเก็บข้อมูลดำเนินการโดยการสัมภาษณ์เพื่อบันทึกข้อมูลลงในแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มใน 6 พื้นที่ คือ กลุ่มผู้ประกอบการเพื่อศึกษาถึงเหตุผลที่เลือกดำเนินกิจการโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กในพื้นที่นั้น และกลุ่มผู้อยู่อาศัยในพื้นที่เพื่อวัดระดับของการรับรู้ถึงผลกระทบของการกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก ผลการศึกษาพบว่า การกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กมีสาเหตุมาจาก ปัจจัยการเลือกที่ตั้งใกล้แหล่งจำหน่ายวัตถุดิบ ความเป็นแหล่งชุมชนที่มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการประกอบกิจการโรงงานอุตสาหกรรม และใกล้โรงงานที่ผลิตสินค้าประเภทเดียวกัน และส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมของชุมชนในระดับน้อย โดยระยะห่าง 200 เมตรรอบพื้นที่ที่กระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กเป็นระยะที่รับรู้ถึงผลกระทบได้ ข้อเสนอแนะ การกระจุกตัวของโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กในพื้นที่เมือง ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในชุมชนอยู่ในระดับน้อย แต่อย่างไรก็ดีควรมีการควบคุมให้เหมาะสมควบคู่กับการส่งเสริม โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบมีความจำเป็นในการตรวจสอบผลกระทบที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาวะของประชาชนที่อาศัยโดยรอบ


การเดินทางเข้าสู่จุดหมายปลายทางของผู้โดยสารรถบัสในย่านเมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, โพเงิน แหวนวงทอง Jan 2018

การเดินทางเข้าสู่จุดหมายปลายทางของผู้โดยสารรถบัสในย่านเมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว, โพเงิน แหวนวงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษารูปแบบการเดินทางเข้าสู่จุดหมายปลายทางของผู้ที่ใช้รถบัสในย่านเมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ มีวัตถุประสงค์คือ 1. เพื่อสำรวจรูปแบบการเดินทางเข้าสู่จุดหมายปลายทางของผู้ใช้บริการรถบัสในย่านเมืองเก่าในนครหลวงเวียงจันทน์ 2. วิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อรูปแบบการเดินทางเข้าสู่จุดหมายปลายทางของผู้ใช้รถบัส และ 3. เสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการเดินทางแบบไม่ใช้เครื่องยนต์ รูปแบบของงานวิจัยนี้ มีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้ที่ใช้บริการรถโดยสารสาธาณณะ จำนวน 140 ตัวอย่าง โดยสามารถจำแนกผู้ใช้บริการออกเป็น 2 ประเภทได้แก่ คนลาว และคนต่างชาติ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติไคสแควร์จากผลการศึกษาพบว่าผู้ใช้รถบัสส่วนใหญ่เดินเท้าเข้าสู่จุดหมายปลายทางในย่านเมืองเก่านครหลวงเวียงจันทน์ โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติจะเดินเท้ามากกว่าคนลาว หลังจากรสบัสเปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2017 คนลาวส่วนใหญ่ยังคงใช้รถยนต์เป็นหลักในการเดินทางเพื่อไปทำงาน การเดินทางด้วยรถบัสเป็นการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวและการซื้อสินค้าของผู้หญิงคนต่างชาติ ป้ายรถเมล์ที่มีคนเดินเยอะจึงมักเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ รวมถึงเป็นย่านพาณิชยกรรมการค้า ตลาด และโรงแรม เมื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเดินเท้า พบว่า คุณลักษณะของผู้เดินทาง ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ เชื้อชาติ และลักษณะทางกายภาพบริเวณป้ายรถบัส ได้แก่ ป้ายและเครื่องหมายบอกทิศทางในเวลาเดิน ที่นั่งหรือผ่อนคลายในเวลาหยุดพัก ห้องน้ำ ความต่อเนื่องของกิจกรรม และความสะอาดของทางเท้ามีผลต่อการเดินเท้าเข้าสู่จุดหมายปลายทางอย่างมีนัยสำคัญ ผลการศึกษานำไปสู่ข้อเสนอแนะที่สำคัญในการออกแบบเมืองเพื่อส่งเสริมการเดินทางแบบไม้ใช้เครื่องยนต์ อาทิ การออกแบบป้ายสัญลักษณ์ที่อำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยว รวมถึงการออกแบบภูมิทัศน์ให้ทางเท้ามีต้นไม้ร่มรื่นน่าเดิน มีห้องน้ำ จุดนั่งพักระหว่างทางและมีกิจกรรมสองข้างทาง จะช่วยส่งเสริมการเดินเท้านำไปสู่การพัฒนาเมืองน่าอยู่และยั่งยืนต่อไป


แนวทางการออกแบบ และปรับปรุง ที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันกรณีศึกษา ชมรมเพื่อนพาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ณัฐ จิระอมรนิมิต Jan 2018

แนวทางการออกแบบ และปรับปรุง ที่อยู่อาศัย สำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันกรณีศึกษา ชมรมเพื่อนพาร์กินสัน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ณัฐ จิระอมรนิมิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ประชากรผู้สูงอายุของโลกมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น พาร์กินสันเป็นโรคเรื้อรังที่มักเกิดกับผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ในปัจจุบันพบว่าผู้ป่วยร้อยละ 8 ถูกพบว่าเป็นโรคพาร์กินสันก่อนอายุ 40 ปี ดังนั้นโรคพาร์กินสันจึงไม่ใช่โรคของผู้ป่วยสูงอายุเท่านั้น ดังนั้นการศึกษาแนวทางการเตรียมความพร้อมด้านที่อยู่อาศัยสำหรับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อให้ผู้ป่วยมีสุขภาวะที่ดี โดยพึ่งพาตนเองได้มากที่สุด ที่อยู่อาศัยที่มีความเหมาะสมสามารถส่งเสริมสภาพร่างกาย และจิตใจ ให้มีความพร้อมสู่การใช้ชีวิตในสังคมภายนอก ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันร้อยละ 73 เคยได้รับอุบัติเหตุภายในที่พักอาศัย โดยเกิดเหตุในห้องนอนและทางเดิน ร้อยละ 40 ห้องนั่งเล่นร้อยละ 33 2) สาเหตุหลักมาจากอาการของโรคพาร์กินสันที่ก้าวขาไม่ออก และปัญหาการทรงตัว 3) ผู้ป่วยที่ไม่เคยได้รับอุบัติเหตุส่วนใหญ่พบว่าอยู่ในระยะการดำเนินอาการที่ 2 และ 2.5 จากทั้งหมด 5 ระยะ โดยผู้ป่วยและผู้ดูแล มีความระมัดระวังต่อการการเกิดอุบัติเหตุสูง สรุปผลการศึกษาพบว่า ในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้มีความเหมาะสมกับผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีข้อสำคัญดังนี้ 1) พื้นควรมีระดับที่เสมอกันทั้งบริเวณ 2) พื้นที่แต่ละส่วนควรมีความกระชับ กล่าวคือผู้ป่วยสามารถเดินจากพื้นที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่งได้ในระยะที่สอดคล้องกับสภาพร่างกายของตัวผู้ป่วยเอง 3) การจัดผังทางเดินควรวางให้เรียบง่าย เป็นเส้นตรง ไม่ซับซ้อนหรือไม่ต้องให้ผู้ป่วยหมุนตัวบ่อย ๆ จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุให้กับผู้ป่วย 4) ประตู ควรเป็นบานเลื่อน และมีที่ให้ผู้ป่วยจับยึดขณะเปิด 5) ทางเดินภายในควรมีระยะทางเดินอย่างน้อย 1.20 ม. มีราวจับ หรือวางเฟอร์นิเจอร์ที่มั่นคงเพื่อให้ผู้ป่วยได้ยึดจับ


ทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อการอยู่อาศัยในอาคารชุดที่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์: กรณีศึกษาโครงการแฮปปี้ คอนโด ลาดพร้าว 101 และโครงการเอ็ม จตุจักร, เชี่ยวชาญ ไพศาลธีระจิต Jan 2018

ทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อการอยู่อาศัยในอาคารชุดที่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์: กรณีศึกษาโครงการแฮปปี้ คอนโด ลาดพร้าว 101 และโครงการเอ็ม จตุจักร, เชี่ยวชาญ ไพศาลธีระจิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเพิ่มขึ้นของอาคารชุดที่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ในปัจจุบัน เกิดขึ้นจากค่านิยมการเลี้ยงสัตว์ของคนเมือง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติของผู้อยู่อาศัยต่อการอยู่อาศัยในอาคารชุดที่อนุญาตให้เลี้ยงสัตว์ โดยศึกษาภาพรวมของอาคารชุด 13 แห่งในกรุงเทพมหานคร ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้จัดการนิติบุคคลอาคารชุด จากนั้นเลือกกรณีศึกษา 2 แห่ง คือโครงการแฮปปี้ คอนโด ลาดพร้าว 101 (HCL) และโครงการเอ็ม จตุจักร (MJJ) ใช้การสอบถามผู้อยู่อาศัย โดยแบ่งเป็นผู้มีสัตว์เลี้ยงแห่งละ 105 ชุด และผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงแห่งละ 105 ชุด รวม 2 แห่งเป็น 420 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้มีสัตว์เลี้ยงและไม่มีสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่มากกว่าร้อยละ 50 อยู่อาศัยเป็นคู่รักทั้งสมรส และไม่สมรส ซึ่งส่วนมากไม่มีบุตรถึงร้อยละ 95 ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรี และสูงกว่าปริญญาตรี ทั้งนี้กลุ่มผู้มีสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นผู้เช่าถึงร้อยละ 60 ในขณะที่ผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงร้อยละ 90 เป็นเจ้าของห้องชุด 2) การจัดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารชุด แบ่งได้ 3 ลักษณะ (1) สิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ เช่น คลินิกสัตว์เลี้ยง หรือพื้นที่ขับถ่ายสำหรับสัตว์เลี้ยง เป็นต้น (2) สิ่งอำนวยความสะดวกที่ให้สัตว์เลี้ยงใช้ร่วมกับคน ได้แก่ สวนรอบอาคาร และดาดฟ้าอาคาร (3) ไม่มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้สัตว์เลี้ยง โดยสัตว์เลี้ยงไม่สามารถออกไปเดินนอกห้องชุดได้ ยกเว้นการอุ้มเท่านั้น 3) ทัศนคติของผู้มีสัตว์เลี้ยงใน HCL เห็นว่าไม่มีปัญหาทั้งก่อนและหลังเข้าอยู่อาศัย ในขณะที่ผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงของ HCL เห็นว่าเป็นปัญหาทั้งก่อนและหลังเข้าอยู่อาศัย ส่วนผู้มีสัตว์เลี้ยงและไม่มีสัตว์เลี้ยงใน MJJ เห็นว่าไม่มีปัญหาก่อนเข้าอยู่อาศัย แต่พบว่ามีปัญหาหลังเข้าอยู่อาศัย 4) ผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงมีความพึงพอใจต่ออาคารชุดน้อยกว่าผู้มีสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะเรื่องความเหมาะสมของห้องชุดต่อการเลี้ยงสัตว์ การระบายอากาศ และการมีเพื่อนบ้านที่เลี้ยงสัตว์ ในขณะที่ผู้มีสัตว์เลี้ยงมีความพึงพอใจสูงในหลายด้าน ยกเว้นเรื่องการป้องกันเสียงเห่าหอนจากห้องข้างเคียง 5) ปัญหาส่วนใหญ่ที่ผู้มีสัตว์เลี้ยงและไม่มีสัตว์เลี้ยงพบตรงกันคือ ได้ยินเสียงรบกวนของสัตว์เลี้ยงจากห้องข้างเคียง รองลงมาคือพบสัตว์เลี้ยงตัวอื่นขับถ่ายแล้วเจ้าของไม่ทำความสะอาด ส่วนปัญหาที่พบต่างกันคือ ผู้มีสัตว์เลี้ยงพบปัญหานิติบุคคลดูแลเรื่องสัตว์เลี้ยงไม่เต็มที่ ส่วนผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงพบปัญหาสัตว์เลี้ยงเห่าทำให้ตกใจเสียขวัญ อย่างไรก็ตามในภาพรวมผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงจะรู้สึกถึงปัญหามากกว่าผู้มีสัตว์เลี้ยง ผลการศึกษานี้สะท้อนให้เห็นถึงทัศนคติของผู้อยู่อาศัยที่มีสัตว์เลี้ยงและไม่มีสัตว์เลี้ยงในอาคารชุดเดียวกัน รวมถึงปัญหาที่เกิดขึ้น ซึ่งผู้ไม่มีสัตว์เลี้ยงจะรู้สึกถึงปัญหามากกว่า โดยเฉพาะเรื่องเสียงรบกวนของสัตว์เลี้ยงจากห้องข้างเคียง ในขณะที่ผู้มีสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่พบปัญหาสัตว์เลี้ยงตัวอื่นขับถ่ายแล้วเจ้าของไม่ทำความสะอาด …


การจัดการที่พักแรงงานก่อสร้างขนาดใหญ่ในเขตเมืองกรุงเทพมหานคร, วิภาวี อังศุวัชรากร Jan 2018

การจัดการที่พักแรงงานก่อสร้างขนาดใหญ่ในเขตเมืองกรุงเทพมหานคร, วิภาวี อังศุวัชรากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แรงงานก่อสร้าง เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมก่อสร้าง จากแนวโน้มการขยายตัวของอุตสาหกรรมก่อสร้าง ทำให้เกิดความต้องการแรงงานและที่พักแรงงานเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบการหรือบริษัทรับเหมาก่อสร้าง จะต้องรับหน้าที่จัดเตรียมที่พักสำหรับแรง งานก่อสร้าง เพื่อเป็นแหล่งพักอาศัย ทำให้เกิดความสะดวกต่อการทำงานและการควบคุมบริหารงานก่อสร้าง โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างขนาดใหญ่ที่ต้องอาศัยแรงงานจำนวนมากในการดำเนินงาน แต่จากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมา พบว่า ลักษณะที่พักแรงงานก่อสร้าง ร้อยละ 70 มีการจัดพื้นที่และใช้วัสดุในการก่อสร้างต่ำกว่ามาตรฐาน ไม่ได้รับการจัดการเรื่องสุขอนามัยและความปลอดภัยที่ดี รวมถึงสวัสดิการต่าง ๆ ที่ควรได้รับ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด วิธีการ ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการที่พักแรงงานก่อสร้างของ 2 บริษัทที่เป็นกรณีศึกษา ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างที่มีการจัดที่พักแรงงานก่อสร้างขนาดใหญ่ในเขตเมืองของกรุงเทพมหานคร โดยผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับบุคลากรที่เกี่ยวข้องในการจัดที่พักแรงงาน รวมถึงทัศนคติของแรงงานก่อสร้าง และนำข้อมูลมาวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ผลการศึกษาแบ่งได้เป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้ ส่วนที่ 1 แนวคิดในการจัดการที่พักแรงงานก่อสร้างของ 2 บริษัทที่เป็นกรณีศึกษา ผู้ดำเนินการจัดการที่พักแรงงานก่อสร้างโดยมุ่งเน้นเรื่องคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี ด้วยการจัดที่พักแรงงานก่อสร้างให้มีสุขลักษณะ ความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งส่งผลให้แรงงานทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยป้องกันปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ส่วนที่ 2 วิธีการจัดการที่พักแรงงานก่อสร้าง ซึ่งแบ่งเป็น 12 ประเด็น ได้แก่ 1.การเลือกทำเลที่ตั้ง 2.การจัดผังบริเวณ 3.การก่อสร้าง (โครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวก) 4.การจัดแรงงานเข้าพักอาศัย 5.การจัดการเดินทาง 6.การจัดการสุขลักษณะ 7.การจัดการสิ่งแวดล้อม 8.การจัดการความปลอดภัย 9.การบริการรักษาพยาบาล 10.กฎระเบียบและบทลงโทษ 11.การสื่อสารและอบรมให้ความรู้ 12.การจัดการงบประมาณ ส่วนที่ 3 ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการ พบว่า มีข้อจำกัดในเรื่องการหาทำเลที่ตั้งที่เหมาะสม ภายใต้งบประมาณและพื้นที่ในเมืองที่จำกัด และปัญหาจากพฤติกรรมส่วนบุคคลของแรงงานเอง และส่วนที่ 4 ทัศนคติของแรงงานก่อสร้าง พบว่า แรงงานมีทัศนคติที่ดีต่อการพักอาศัยในที่พักที่จัดให้ทั้ง 2 บริษัทที่เป็นกรณีศึกษา


แนวทางการจัดตั้งกองทุนเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร, หฤษฏ์ โคกผา Jan 2018

แนวทางการจัดตั้งกองทุนเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ กรณีศึกษา ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา เขตวังทองหลาง กรุงเทพมหานคร, หฤษฏ์ โคกผา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงสร้างประชากรไทยมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสูงวัย จึงควรปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมเพื่อลดอุบัติเหตุจากสภาพร่างกายที่เสื่อมลง แต่จากสภาพทางเศรษฐกิจของผู้สูงอายุพบว่ามีรายได้ไม่เพียงพอ ค่าใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยมีราคาสูงส่งผลให้ผู้สูงอายุไม่มีความสามารถในการจ่ายเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมได้ งานวิจัยนี้จึงศึกษาลักษณะเศรษฐกิจ สภาพที่อยู่อาศัย และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกองทุนปรับปรุงที่อยู่อาศัยของผู้สูงอายุภายในชุมชนรุ่งมณีพัฒนา รวมถึงวิเคราะห์องค์ประกอบของกองทุนทั้งผลดีและผลเสียจากกองทุนในชุมชน เพื่อเสนอแนะแนวทางรูปแบบกองทุนเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยให้มีความเหมาะสมสำหรับผู้สูงอายุในพื้นที่ชุมชนรุ่งมณีพัฒนา จากข้อมูลการสอบถามผู้สูงอายุภายในชุมชน และสัมภาษณ์กรรมการระบบการเงินชุมชน ผู้เชี่ยวชาญจากกรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน และผู้ดูแลพื้นที่สำนักงานทรัพย์สินพระมหากษัตริย์ พบว่า กองทุนภายในชุมชนรุ่งมณีพัฒนามีกองทุนทั้งหมด 7 กองทุน โดยมี 3 กองทุนที่ไม่สามารถแก้ไขได้ เนื่องจากติดระเบียบข้อบังคับของกองทุน ได้แก่ กองทุนรักษาดินรักษาบ้าน วิสาหกิจชุมชน และกองทุนแม่แห่งแผ่นดิน และอีก 4 กองทุนที่สามารถแก้ไขระเบียบข้อบังคับได้ ได้แก่ สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคง สถาบันการเงินกองทุน กองทุนสวัสดิการ และกลุ่มสัจจะสตรี จากการสอบถามผู้สูงอายุในชุมชนพบว่า ร้อยละ 76.2 เห็นด้วยกับการมีกองทุนเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับรองรับผู้สูงอายุในชุมชนและยินดีจะออมเงินเพื่อใช้สำหรับปรับปรุงที่อยู่อาศัย ในส่วนของการสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญ และคณะกรรมการระบบการเงินชุมชน วิเคราะห์ได้ว่ากองทุนที่เหมาะสมที่สุดในการแก้ไขระเบียบข้อบังคับ ให้เป็นแหล่งเงินทุนในการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุกองทุนที่มีความเหมาะสมที่สุดคือ สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคง และรองลงมาคือสถาบันการเงินกองทุนชุมชน จึงควรเสนอแนะแนวทางการจัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ในชุมชนรุ่งมณีพัฒนา ได้แก่การปรับปรุงแก้ไขกองทุนเดิม ได้แก่ สหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคง และสถาบันการเงินกองทุน และในกรณีชุมชนที่ไม่มีระบบการเงินชุมชน เสนอควรให้จัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองเพื่อเป็นระบบการเงินชุมชนก่อนในเบื้องต้น เพื่อพัฒนาต่อยอดให้เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อการปรับปรุงที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุต่อไป


ติดตามผลที่ผู้อยู่อาศัยได้รับจากบ้านประหยัดพลังงานในโครงการบ้านจัดสรร กรณีศึกษาโครงการเสนาปาร์ค วิลล์ และโครงการเสนาพาร์คแกรนด์ รามอินทรา วงแหวน, มัลลิกา มงคลรังสฤษฎ์ Jan 2018

ติดตามผลที่ผู้อยู่อาศัยได้รับจากบ้านประหยัดพลังงานในโครงการบ้านจัดสรร กรณีศึกษาโครงการเสนาปาร์ค วิลล์ และโครงการเสนาพาร์คแกรนด์ รามอินทรา วงแหวน, มัลลิกา มงคลรังสฤษฎ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิดของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน ขนาด 135-259 ตารางเมตร รวมถึงศึกษาลักษณะการใช้งาน และทัศนคติของผู้อยู่อาศัยที่มีต่อรูปแบบบ้านประหยัดพลังงาน โดย วิธีการสัมภาษณ์จากผู้ประกอบการ และแจกแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง ที่เป็นผู้อยู่อาศัยในโครงการบ้านประหยัดพลังงานที่เป็น กรณีศึกษาทั้ง 2 โครงการ ได้แก่ เสนาพาร์ควิลล์ และ เสนาพาร์คแกรนด์ จำนวน 90 ตัวอย่าง สำหรับข้อมูลเชิงปริมาณและใช้การ สัมภาษณ์เชิงลึก 10 ตัวอย่างสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ การศึกษาแนวความคิดบ้านประหยัดพลังงาน ทั้งด้านสถาปัตยกรรมและด้านงานระบบที่ส่งผลให้เกิดการประหยัด พลังงานภายในบ้าน ค้นพบว่า บ้านประหยัดพลังงานมีช่องเปิดระบายอากาศ และ สัดส่วนอาคารต่อที่ดิน สูงกว่ามาตรฐานกำหนดไว้ อีกทั้ง ระบบ Solar cell ที่ช่วยให้ลดค่าใช้จ่ายไฟฟ้า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยอยู่ที่ 700 - 4,100 ต่อเดือน ซึ่งจัดอยู่ในระดับค่าไฟฟ้าค่อนข้าง ไม่สูงมากหนักเมื่อเทียบกับบ้านขนาดเดียวกันในโครงการอื่นๆ อันนี้เป็นตัวแปรสำคัญต่อการออกแบบบ้านประหยัดพลังงาน ผลการสำรวจด้านครัวเรือน และการใช้งานพื้นที่พบว่าผู้อยู่อาศัยบ้านประหยัดพลังงานทั้ง 5 รูปแบบ ส่วนใหญ่มี สมาชิกในครัวเรือนจำนวน 4 คน มีรายได้ครัวเรือนประมาณ 100,000 ขึ้นไป ช่วงเช้า – ช่วงเย็น จะใช้งานส่วนพื้นที่ห้องรับแขกเป็น หลัก เฉลี่ยอยู่บ้านต่อวันเป็น 17 ชม. นอกจากนี้ผู้อยู่อาศัยทั้ง 5 รูปแบบ การใช้ระบบภายในบ้านที่คล้ายกัน คือ การใช้ เครื่องปรับอากาศ เครื่องใช้ไฟฟ้า และแผงโซลาเซลล์ ผลที่ได้รับจากบ้านประหยัดพลังงาน (ก่อนอยู่) ทั้งด้านสถาปัตยกรรม และ ด้านระบบของบ้านประหยัดพลังงาน อยู่ในระดับปานกลาง และ ความพึงพอใจต่อบ้านประหยัดพลังงาน(อยู่อาศัย) ทั้งด้าน สถาปัตยกรรม และด้านระบบของบ้านประหยัดพลังงานอยู่ ในระดับมากการปรับปรุงด้านสถาปัตยกรรม 3 อันดับแรก คือ ปรับปรุง รูปแบบบ้านให้มีระแนงกันแดดเข้าถึงตัวบ้าน รองลงมาคือ รูปแบบบ้านน่าจะเหมาะสมกับราคามากกว่านี้ และ อยากให้ใช้สีกับตัว บ้านมีความโดดเด่นมากกว่านี้ ผู้อยู่อาศัย ต้องการให้เพิ่มแบตเตอรี่เก็บไฟตอนกลางคืน ข้อเสนอแนะด้านอื่นๆ อยากให้ปลูกต้นไม้ที่ …


ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของผู้ใช้บริการกับประเภทร้านค้าในคอมมูนิตี้ มอลล์ กรณีศึกษา : โครงการเดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า และโครงการเออร์เบิน สแควร์, เสาวพร วรสินธพ Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะของผู้ใช้บริการกับประเภทร้านค้าในคอมมูนิตี้ มอลล์ กรณีศึกษา : โครงการเดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า และโครงการเออร์เบิน สแควร์, เสาวพร วรสินธพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การกำหนดประเภทของร้านค้าให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายถือเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของการพัฒนาโครงการคอมมูนิตี้ มอลล์ งานวิจัยนี้ศึกษาแนวคิดในการกำหนดประเภทร้านค้ารวมถึงลักษณะของผู้ใช้บริการโดยมีกรณีศึกษาคือ โครงการเดอะ เซ้นส์ ปิ่นเกล้า (SP) และโครงการเออร์เบิน สแควร์ (US) ใช้วิธีการสำรวจลักษณะทางกายภาพโครงการ สัมภาษณ์ผู้ประกอบการ และสอบถามผู้ใช้บริการ 300 คน วิเคราะห์โดยวิธีการทางสถิติและการถอดคำสำคัญจากบทสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้ประกอบการให้ความสำคัญกับการเลือกทำเลที่ตั้งและการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เพื่อให้คอมมูนิตี้ มอลล์เป็นสถานที่ตอบสนองความต้องการของการใช้ชีวิต เน้นความสะดวกสบายและใกล้ชุมชน 2) ประเภทร้านค้าของทั้งสองโครงการทีมีความคล้ายคลึงกัน คือ มีซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหารและเครื่องดื่ม ร้านสุขภาพและความงาม สถาบันกวดวิชา ธนาคารและตู้เอทีเอ็ม อย่างไรก็ตาม มีการจัดตราสินค้าของร้านค้าแต่ละประเภทแตกต่างกันตามกลุ่มเป้าหมาย 3) ลักษณะของผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ของโครงการ SP คือ กลุ่มอายุ 26-35 ปี มีอาชีพเป็นพนักงานบริษัทเอกชน ส่วนโครงการ US เป็นกลุ่มอายุ 18-25 ปี มีอาชีพนักเรียน/นักศึกษา ทั้งนี้ ร้านค้าที่มีการใช้บริการหลักคือ ซูเปอร์มาร์เก็ตและร้านอาหารรวมถึงร้านเครื่องดื่มและขนม 4) ประเภทร้านค้าที่จัดไว้ทั้งสองโครงการเป็นร้านค้าที่รองรับการใช้ชีวิตประจำวันและมีความหลากหลายของตราสินค้า อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างของตราสินค้าส่งผลต่อการใช้บริการที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะเรื่องระยะเวลาการเข้าใช้บริการและค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าประเภทร้านค้าที่มีอยู่ในคอมมูนิตี้ มอลล์ยุคนี้คือ ร้านอาหารและร้านเกี่ยวกับสุขภาพและความงาม ซึ่งถือเป็นกลุ่มร้านค้าหลักนอกเหนือจากซูเปอร์มาร์เก็ต ทั้งนี้ ตราสินค้าจะเป็นตัวบ่งชี้ลักษณะการใช้บริการของกลุ่มเป้าหมาย งานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้พัฒนาคอมมูนิตี้ มอลล์ โดยเฉพาะการเลือกที่ตั้งที่ควรสะดวกต่อการเดินทางและมีร้านค้าที่มีตราสินค้าตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันของกลุ่มเป้าหมาย


โอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมโดยใช้แนวคิดสุขภาวะของผู้ประกอบการ ในเขตกรุงเทพมหานคร, ณิชารัตน์ อัครมณี Jan 2018

โอกาสและข้อจำกัดของการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมโดยใช้แนวคิดสุขภาวะของผู้ประกอบการ ในเขตกรุงเทพมหานคร, ณิชารัตน์ อัครมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการคำนึงถึงสุขภาวะในการอยู่อาศัยเป็นสิ่งจำเป็นโดยเฉพาะการอยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโอกาสและข้อจำกัดในการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมของผู้ประกอบการโดยใช้แนวคิดสุขภาวะ รวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้อยู่อาศัยในคอนโดมิเนียมจำนวน 131 คน กลุ่มผู้เชี่ยวชาญจำนวน 11 คน โดยใช้แบบสอบถาม และกลุ่มผู้ประกอบการจำนวน 4 บริษัท โดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการถอดคำสำคัญ จัดกลุ่มคำตามความหมายและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า 1) ความพึงพอใจเรื่องสุขภาวะในคอนโดมิเนียมที่ผู้อยู่อาศัยอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ให้คะแนนความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลางถึงมาก (ร้อยละ 76) โดยอายุต่ำกว่า 20 ปี มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยมากที่สุด (4.27 คะแนน) 2) องค์ประกอบของลักษณะคอนโดมิเนียมที่ส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะในการอยู่อาศัย สามารถจำแนกได้ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) คุณภาพอากาศ (2) ความสะดวก (3) สุนทรียภาพ (4) สภาวะน่าสบาย (5) การจัดการชุมชน (6) ความปลอดภัย (7) แสงสว่าง (8) การเลือกใช้วัสดุ 3) ในทัศนคติของผู้ประกอบการ มีโอกาสสูงในการพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมที่ส่งเสริมสุขภาวะ เพราะมีนโยบายเรื่องนี้อยู่แล้ว ประกอบกับแนวโน้มการคำนึงถึงสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน อย่างไรก็ตามมีข้อจำกัดด้านการเงินการลงทุนที่ค่อนข้างสูง โดยเพิ่มขึ้นจาก (1) การออกแบบ เช่น สิ่งอำนวยความสะดวก พื้นที่ส่วนกลาง (2) วัสดุ รวมถึงข้อจำกัดด้านเทคโนโลยีในการผลิตวัสดุที่ยังไม่สามารถตอบโจทย์ความต้องการในการพัฒนาในอนาคตได้ และการสื่อสารทางการตลาด 4) องค์ประกอบของลักษณะคอนโดมิเนียมที่ส่งเสริมให้เกิดสุขภาวะในการอยู่อาศัยที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่เห็นว่ามีโอกาสสูงในการทำได้จริงและมีคุณประโยชน์และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการลงทุนต่ำ (ระดับ A) เช่น ปัจจัยด้านความปลอดภัยเรื่อง Safety และ Secure ปัจจัยด้านการจัดการชุมชนเรื่องการบริหารจัดการที่ดีของนิติบุคคล เป็นต้น ทั้งนี้ปัจจัยส่วนใหญ่ผู้ประกอบการมีการทำอยู่แล้วในโครงการปัจจุบัน ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ในทัศนคติของผู้ประกอบการพบว่ามีโอกาสสูงในการพัฒนาคอนโดมิเนียมที่ส่งเสริมสุขภาวะในการอยู่อาศัยในอนาคต ในขณะเดียวกันก็มีข้อจำกัดโดยเฉพาะด้านการเงินการลงทุนที่มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมค่อนข้างมาก โครงการส่วนใหญ่จึงอยู่ในระดับราคาสูง โดยผลการศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการ รวมถึงภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาคอนโดมิเนียมที่ส่งเสริมสุขภาวะในการอยู่อาศัย ซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้อยู่อาศัยในอนาคต


การพัฒนาโครงการอาคารชุดระดับราคาสูง ในเขตกรุงเทพมหานครของ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2560, ธัญลักษณ์ พุ่มมาก Jan 2018

การพัฒนาโครงการอาคารชุดระดับราคาสูง ในเขตกรุงเทพมหานครของ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) ระหว่างปี พ.ศ. 2550-2560, ธัญลักษณ์ พุ่มมาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการที่มีรถไฟฟ้า ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มสูงขึ้น และการใช้ชีวิตของคนเปลี่ยนไป ทำให้ผู้ประกอบการพัฒนาอาคารชุดตามแนวรถไฟฟ้าเป็นจำนวนมาก ซึ่งบมจ.แสนสิริ ถือได้ว่าเป็นผู้นำในการพัฒนาตลาดอาคารชุดระดับราคาสูง และจากการศึกษาเบื้องต้นพบว่าตลาดอาคารชุดระดับราคาสูงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ในการศึกษา การพัฒนาโครงการอาคารชุดระดับราคาสูงของ บมจ.แสนสิริ โดยศึกษาลักษณะการพัฒนาโครงการและการวางผังอาคารชุดระดับราคาสู วิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนาโครงการ ด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์ฝ่ายปฏิบัติงาน และฝ่ายผู้บริหาร จากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนาโครงการอาคารชุดระดับราคาสูงโดยแบ่งตามช่วงระยะเวลา พบว่า 1) ช่วงระยะเวลาที่ 1 (2550-2552) เป็นช่วงที่ บมจ.แสนสิริ มีกลยุทธ์การตลาดที่มุ่งเน้นพัฒนาโครงการอาคารชุดระดับราคาสูง ส่งผลให้ในมีการเปิดตัวโครงการอาคารชุดระดับราคาสูงถึง 5 โครงการ แต่มีการเว้นช่วงในปี 2551 เป็นผลจากภาวะเศรษฐกิจซัพไพร์ม ในช่วงเวลานั้นมีห้องชุดขนาด 50 ตร.ม. ซึ่งราคาขายอยู่ที่ 100,000-140,000 บาท/ตร.ม. 2) ช่วงระยะเวลาที่ 2 (2553-2555) เป็นช่วงที่ตลาดอสังหาฯ มีการขยายตัว เนื่องมาจากมีการขยายเส้นทางรถไฟฟ้า โดยในปี 2553 เกิดโครงการ 4 โครงการ ช่วงนี้ตลาดขยายตัว ทำให้ราคาที่ดินเพิ่มสูง จึงส่งผลให้ขนาดของห้องชุดมีขนาดเล็กลง คือ 40 ตร.ม. ตั้งราคาขายอยู่ที่ 120,000-195,000 บาท/ตร.ม. 3) ช่วงระยะเวลาที่ 3 (2556-2557) เป็นช่วงที่ตลาดอาคารชุดมีการขยายตัว ทำในปี 2556 ที่ดินมีราคาเพิ่มสูงมากขึ้น ส่งผลให้มีขนาดห้องชุดเล็กลงถึง 30 ตร.ม. ตั้งราคาขายอยู่ที่ 180,000 บาท/ตร.ม. เนื่องจากราคาที่ดินสูงมาก จึงทำให้ช่วงระยะเวลานี้ บมจ.แสนสิริ เน้นไปพัฒนาโครงการอาคารชุดระดับอื่น และเริ่มทำการขยายฐานลูกค้าไปยังชาวต่างชาติ 4) ช่วงระยะเวลาที่ 4 (2558-2560) เป็นช่วงเวลาที่ตลาดอสังหาฯเริ่มฟื้นตัวจากปัญหาการเมืองในปี 2557 และหลังจากนั้นภาครัฐได้มีนโยบายการสร้างส่วนต่อขยายรถไฟฟ้า ทำให้ตลาดอสังหาฯมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จากปัญหาที่ดินในเมืองเริ่มเหลือน้อย และมีราคาแพง ทำให้ บมจ.แสนสิริ มีการร่วมทุนกับ บมจ.บีทีเอส เพื่อพัฒนาโครงการอาคารชุดพักอาศัยตามแนวรถไฟฟ้า ซึ่งเป็นการใช้ที่ดินของ บมจ.บีทีเอส และนอกจากนี้ยังทำให้ได้ข้อมูลลูกค้าเพิ่มขึ้นอีกด้วย ทำให้กลยุทธ์การตลาดสามารถมุ่งเป้าไปยังกลุ่มลูกค้าได้อย่างถูกต้อง ซึ่งเป็นผลให้มีการพัฒนาโครงการห้องชุดพักอาศัยระดับราคาสูงแบ่งเป็น 2 ขนาด ได้แก่ ห้องชุดขนาดเฉลี่ย …


ทัศนคติและความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยเจเนอเรชั่นวายต่อพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการในอาคารชุด กรณีศึกษา บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), ธัญญ์นารี ชัยชาญ Jan 2018

ทัศนคติและความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยเจเนอเรชั่นวายต่อพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการในอาคารชุด กรณีศึกษา บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน), ธัญญ์นารี ชัยชาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บริษัท แอล.พี.เอ็น. ให้ความสำคัญต่อพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการจากกลยุทธชุมชนน่าอยู่ เพื่อคนทุกวัยอาศัยร่วมกันอย่างมีความสุข โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือคนหนุ่มสาวในวัยทำงาน หรือคนเจเนอเรชั่นวาย (GenY) ในปัจจุบัน ที่เกิดระหว่างปี พ.ศ. 2524 - 2543 งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทางกายภาพและองค์ประกอบของพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการ และ ศึกษาทัศนคติและความพึงพอใจของผู้อยู่อาศัยเจเนอเรชั่นวาย โครงการกรณีศึกษา 5 SUB BRAND ด้วยการสังเกต, ถ่ายภาพ, การสัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และแจกแบบสอบถามผู้อาศัยเพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่าพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการมีองค์ประกอบ 9 ประเภท โดยใช้พื้นที่ระหว่างร้อยละ 5-8 ของพื้นที่โครงการ แยกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ (1)พื้นที่ที่ใช้ทำกิจกรรมอเนกประสงค์ เช่น ทำบุญตักบาตร, งานเทศกาลประจำปี เป็นต้น (2)พื้นที่สำหรับใช้ทำกิจกรรมเฉพาะ เช่น ว่ายน้ำ, อ่านหนังสือ, ออกกำลังกาย เป็นต้น โดยมีตำแหน่งการวาง 2 จุดคือ (1)อยู่ชั้น 1 ของโครงการ โดยประเภทพื้นที่ที่วางไว้ที่ชั้น 1 เหมือนกันทุกโครงการคือ สวน/ลานกิจกรรม และ สนามเด็ก และ (2)วางไว้ชั้นอื่น ๆ ในตัวอาคาร โดยประเภทพื้นที่ที่วางไว้ที่ชั้นอื่น ๆ เหมือนกันทุกโครงการคือ ฟิตเนส และแต่ละโครงการมีความแตกต่างกันในด้านความครบครัน, ตำแหน่งการจัดวาง, ขนาดพื้นที่ และแนวความคิดในการออกแบบ ด้านผู้อาศัยเจเนอเรชั่นวายพบว่า มีบุคลิกเด่นชัด 4 ลักษณะ คือ (1)ชอบพบปะพูดคุย มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนชอบทีมเวิร์ค ในกรณีศึกษา 1, (2)ชอบการมีส่วนร่วม ในกรณีศึกษา 2, (3)มีความสมดุลในการทำงานและใช้ชีวิต ในกรณีศึกษา 3 และ 5, (4)รักอิสระ ในกรณีศึกษา 4 ผู้อยู่อาศัยเจเนอเรชั่นวายมีความพึงพอใจรวมต่อพื้นที่ส่วนกลางด้านนันทนาการในระดับมาก 4 โครงการคือ กรณีศึกษา 1, 2, 3 และ 4 โดยกรณีศึกษา 5 …


สภาพการอยู่อาศัยของผู้ค้าแผงลอยอาหารในย่านเยาวราช, นนธวัช วรมงคลชัย Jan 2018

สภาพการอยู่อาศัยของผู้ค้าแผงลอยอาหารในย่านเยาวราช, นนธวัช วรมงคลชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เยาวราชเป็นแหล่งแผงลอยอาหารกลางคืนที่มีชื่อเสียง และมีรูปแบบการค้านอกระบบที่มีการประกอบอาชีพเชื่อมโยงกับที่พักอาศัย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการอยู่อาศัยของผู้ค้าแผงลอยอาหารบนถนนเยาวราชเป็นกรณีศึกษา รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจและสัมภาษณ์ กระบวนการประกอบอาชีพแผงลอยอาหาร สภาพสภาพสังคม เศรษฐกิจ และที่อยู่อาศัย ของผู้ค้าแผงลอยอาหารแบบมีโครงสร้าง จำนวน 93 ตัวอย่าง ร่วมกับการสำรวจที่พักอาศัยของกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 25 ตัวอย่าง เพื่อศึกษาการอยู่อาศัยและการใช้พื้นที่ประกอบอาชีพร่วมกับการอยู่อาศัย และนำข้อมูลมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงปริมาณและพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1). ผู้ค้าแผงลอยอาหารที่เป็นเจ้าของกิจการ ประกอบอาชีพและอยู่อาศัยในย่านเยาวราชมานานกว่า 20 ปี ซึ่งมีมากถึงร้อยละ 62.4 และเป็นกลุ่มคนที่สืบทอดธุรกิจจากรุ่นพ่อแม่ ขณะที่ร้อยละ 37.6 เป็นกลุ่มคนต่างถิ่นย้ายเข้ามาทำการค้าในย่านเยาวราชมากขึ้น 2). ผู้ค้าแผงลอยอาหารส่วนใหญ่พักอาศัยในอาคารพาณิชย์ ห้องเช่าและทาวน์เฮาส์ ตามลำดับ ซึ่งตั้งอยู่ในรัศมีไม่เกิน 1 กิโลเมตรจากแหล่งประกอบอาชีพแผงลอยอาหาร ส่วนลูกจ้างพักอาศัยอยู่ระยะห่างไม่เกิน 1 กิโลเมตรจากย่านเยาวราช 3). ผู้ค้าแผงลอยอาหารใช้ที่พักอาศัยเพื่อทั้งการอยู่อาศัยและจัดเตรียมอาหารเพื่อไปขายที่แผงลอยที่เยาวราช โดยส่วนใหญ่ใช้พื้นที่เปิดโล่งของอาคารสำหรับการจัดเตรียมและปรุงอาหาร ทั้งนี้พบว่าอาคารพาณิชย์และห้องเช่า มีพื้นที่เปิดโล่งไม่เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ ทำให้มีการใช้พื้นที่อเนกประสงค์ภายในอาคารในการจัดเตรียมอาหารเพื่อการค้าและการอยู่อาศัยร่วมกัน แต่ปรับเปลี่ยนตามเวลาใช้งาน รวมถึงมีการใช้พื้นที่นอกอาคารที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ เช่น หน้าห้อง ทางเดิน ในการจัดเตรียมอาหาร ในขณะที่ทาวน์เฮาส์มีพื้นที่แยกส่วนระหว่างการอยู่อาศัยและการประกอบอาชีพอาหาร งานวิจัยนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจสภาพการอยู่อาศัย สภาพสังคม เศรษฐกิจ และกระบวนการประกอบอาชีพของผู้ค้าแผงลอยอาหารในย่านเยาวราช สามารถเป็นแนวทางให้ภาครัฐ นักพัฒนา และผู้ค้าแผงลอยอาหาร ในการนำข้อเสนอแนะการจัดการพื้นที่ประกอบอาชีพทั้งบริเวณแผงลอย และที่พักอาศัย ไปใช้ให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดสุขอนามัยและความปลอดภัยทั้งการอยู่อาศัยและการประกอบอาชีพอาหารแผงลอยต่อไป