Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

Social and Behavioral Sciences

Journal of Social Sciences

อัตลักษณ์

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Entire DC Network

อัตลักษณ์ของตลาดนัดวันศุกร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชวิตรา ตันติมาลา, ดุษฎี โยเหลา, จารุวรรณ ขำเพชร Jan 2018

อัตลักษณ์ของตลาดนัดวันศุกร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ชวิตรา ตันติมาลา, ดุษฎี โยเหลา, จารุวรรณ ขำเพชร

Journal of Social Sciences

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจความหมายและคุณค่าของตลาดนัดวันศุกร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเพื่อสะท้อนอัตลักษณ์ของตลาดนัดภายในมหาวิทยาลัยของรัฐ ดำเนินการวิจัยตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบชาติพันธุ์วรรณนา โดยใช้เทคนิคการเก็บข้อมูลแบบสังเกตอย่างมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง ผลวิจัยพบว่า คนในตลาดนัดวันศุกร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการรับรู้และให้ความหมายในสามประเด็น หนึ่ง "ตลาดนัดคือพื้นที่แห่งชีวิต" สอง "ตลาดนัดคือสายใยแห่งความผูกพัน" และสาม “ตลาดนัด คือ การยอมรับและปรับตัวภายใต้ข้อจำกัด” ซึ่งเป็นหัวใจของสำคัญของการประกอบสร้างอัตลักษณ์ของตลาดนัดวันศุกร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เกิดจากการปฏิสัมพันธ์กันของผู้คนในมหาวิทยาลัยและผู้คนในตลาดนัดเป็นเวลานาน เหล่านี้สะท้อนค่านิยมที่ผูกโยงกันเป็นอัตลักษณ์ของตลาดนัดภายในมหาวิทยาลัยของรัฐ


การพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของอัตลักษณ์และการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี, ธีราพร ทองปัญญา Jan 2018

การพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำอย่างยั่งยืนบนพื้นฐานของอัตลักษณ์และการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาตลาดน้ำดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี, ธีราพร ทองปัญญา

Journal of Social Sciences

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตลักษณ์และความต้องการที่มีต่อตลาดน้ำดำเนินสะดวก รวมทั้งเสนอแนะแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวก ในการวิจัยได้ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกและจัดการสนทนากลุ่มกับผู้ให้ข้อมูลหลักที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 20 คนซึ่งเป็นคนในชุมชน ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ภาครัฐ นอกจากนี้ได้สัมภาษณ์กับกลุ่มนักท่องเที่ยวโดยใช้การสุ่มแบบบังเอิญ จำนวน 32 คน และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสรุปประเด็นสำคัญ พบว่า อัตลักษณ์ของตลาดน้ำดำเนินสะดวกสามารถสะท้อนให้เห็นถึงลักษณะที่มีการแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ยุคคือ 1) ชุมชนแห่งการสัญจรทางน้ำของเกษตรกรท้องถิ่น 2) ชุมชนตลาดน้ำแห่งการท่องเที่ยวตามวิถีชีวิตคนท้องถิ่น และ 3) ชุมชนตลาดน้ำแห่งการท่องเที่ยวที่เข้มข้น โดยความต้องการที่มีต่อตลาดน้ำดำเนินสะดวกมีความแตกต่างกันไปตามกลุ่มของบุคคล 3 กลุ่ม คือ นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการและเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ส่วนแนวทางการพัฒนาเพื่อให้เกิดความยั่งยืนของการท่องเที่ยวตลาดน้ำดำเนินสะดวกสามารถดำเนินการได้ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว