Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1711 - 1730 of 1730

Full-Text Articles in Entire DC Network

Factors Influencing Chinese Medical Tourists' Satisfaction With Medical Services In Thailand, Xiyuan Zhao Jan 2017

Factors Influencing Chinese Medical Tourists' Satisfaction With Medical Services In Thailand, Xiyuan Zhao

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Medical tourism is a new worldwide niche market, which generates apparent economic benefits. Chinese medical tourists are a significant consumer group in the medical tourism industry that many countries have begun to explore. This research aims to study the factors motivating mainland Chinese medical tourists to seek healthcare in Thailand and to assess their satisfaction with the medical services they received in this country. This research adopted both qualitative and quantitative methods. The findings indicate that the key factors motivating mainland Chinese medical tourists to travel to Thailand to receive in medical services include recommendations and media advertisements, national policies, …


The Effects Of Digital Story Writing Instruction On Narrative Writing Skills Of Junior High School Students In Indonesia, Elsa Widya Hapsari Jan 2017

The Effects Of Digital Story Writing Instruction On Narrative Writing Skills Of Junior High School Students In Indonesia, Elsa Widya Hapsari

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of the study were: 1) to explore the effects of digital story writing instruction on narrative writing skills of junior high school students in Indonesia; 2) to investigate how digital story writing instruction enhance English writing motivation of junior high school students in Indonesia. The instruments used in this study were online narrative writing test, writing motivation questionnaire, and a semi-structured interview. The sample in this study was 35 students from eighth- grade who were studying in 2017 academic year at Sekolah Menengah Pertama Islam Terpadu (SMP IT) in Indonesia. The research design was one-group pretest-posttest, quasi-experimental design. …


Students’ Motivation And Teachers’ Motivational Strategies In English Language Classrooms In Unstable Socio-Political Contexts, Hkawn San Nra Jan 2017

Students’ Motivation And Teachers’ Motivational Strategies In English Language Classrooms In Unstable Socio-Political Contexts, Hkawn San Nra

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigated students' motivation, teachers' use of motivational strategies in English classrooms in an unstable socio-political state in Myanmar. In addition, how the situation affected the use of motivational strategies was also explored. Since previous studies have shown how students and teachers in such areas may be affected by the situation, this study will provide insights into how teacher education institutions can prepare and support the teachers in such areas. Sequential explanatory mix-method was employed and the data were collected from 172 students and 5 teachers in eleventh grade English classrooms from five upper secondary schools. Questionnaires, classroom observations, …


Effects Of Direct Vocabulary And Vocabulary Learning Strategies Instruction On Indonesian Prospective English Teachers’ Vocabulary Size, Sudarman - Jan 2017

Effects Of Direct Vocabulary And Vocabulary Learning Strategies Instruction On Indonesian Prospective English Teachers’ Vocabulary Size, Sudarman -

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of the study were: 1) to explore the effects of direct vocabulary and vocabulary learning strategies instruction on Indonesian prospective English teachers' vocabulary size, and 2) to investigate the students' opinions towards the treatment of direct vocabulary and vocabulary learning strategies instruction. The study was one-group pretest-posttest, pre-experimental design. The instruments employed in this study were the Vocabulary Levels Test (VLT) and a semi-structured interview. The samples were the 33 first-year students majoring in English education at University of Kutai Kartanegara, Indonesia for the Academic Year 2017/2018. The findings of the study showed that there was a significant …


The Development Of The English Content-Based Reading Materials For Buddhist Student Monks, Phatchareporn Supphipat Jan 2017

The Development Of The English Content-Based Reading Materials For Buddhist Student Monks, Phatchareporn Supphipat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this study are 1) to develop the English content-based reading materials for Buddhist student monks, 2) to examine the attitude of student monks towards the quality of the English content-based reading materials, and 3) to examine the attitude of teachers towards the quality of the English content-based reading materials. The study was conducted in 6 stages starting from the identification of needs to create materials to the evaluation of the effectiveness of the developed materials. The participants of 42 student monks and 3 English teachers were purposefully selected from the Education Department of Wat Phra Dhammakaya in …


การแปลงเว็บแอปพลิเคชันบนพื้นฐานจาวาสคริปต์ให้เป็นเดสก์ท็อปข้ามแพลตฟอร์มด้วยอิเล็กตรอน, กิตติ เกร็ดพัฒนกุล Jan 2017

การแปลงเว็บแอปพลิเคชันบนพื้นฐานจาวาสคริปต์ให้เป็นเดสก์ท็อปข้ามแพลตฟอร์มด้วยอิเล็กตรอน, กิตติ เกร็ดพัฒนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา มีหลายแนวทางได้เกิดขึ้นเพื่อปรับเปลี่ยนแอปพลิเคชันที่มีอยู่ไปสู่โปรแกรมที่มีฐานร่วมกัน ในบรรดาแนวทางต่างๆ อิเล็กตรอนเป็นกรอบงานหนึ่งที่แพร่หลายรู้จักกันดีสำหรับนักพัฒนาเว็บเพื่อใช้สร้างเดสก์ท็อปแอปลิเคชันข้ามแพลตฟอร์ม ด้วยเว็บเทคโนโลยีต่างๆ ที่คุ้นเคย ได้แก่ เอชทีเอ็มแอล ซีเอสเอส และจาวาสคริปต์ งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอแนวทางสำหรับการแปลงเว็บแอปพลิเคชันที่พัฒนาด้วยจาวาสคริปต์ให้เป็นเดสก์ท็อปแอปพลิเคชันที่สามารถประมวลผลได้บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แม็คโอเอส และลินุกซ์ เดสก์ท็อปแอปพลิเคชันที่เป็นผลลัพธ์จากการแปลงจะยังคงประกอบด้วยซอร์สโค้ดชุดเดิมที่สามารถพัฒนาได้ต่อไป


การวิเคราะห์ผลกระทบอินสแตนซ์ฐานข้อมูลจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าของความต้องการเชิงฟังก์ชัน, กฤษฎา แก่นเฉลียว Jan 2017

การวิเคราะห์ผลกระทบอินสแตนซ์ฐานข้อมูลจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าของความต้องการเชิงฟังก์ชัน, กฤษฎา แก่นเฉลียว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความต้องการเชิงฟังก์ชันถูกนำมากำหนดฟังก์ชันการทำงานของซอฟต์แวร์ ซึ่งความต้องการดังกล่าวสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ทุกช่วงของการพัฒนาซอฟต์แวร์ บางฟังก์ชันสัมพันธ์ฐานข้อมูล หากข้อมูลนำเข้าของฟังก์ชันเกิดการเปลี่ยนแปลงจะส่งผลกระทบไปยังสคีมาฐานข้อมูล เมื่อสคีมาฐานข้อมูลได้รับผลกระทบอาจจะเกิดผลกระทบกับอินสแตนซ์ฐานข้อมูลด้วย ในการทดสอบฟังก์ชันที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูล กรณีทดสอบจะถูกสร้างขึ้นโดยมีรายการข้อมูลนำเข้าเป็นไปตามฟังก์ชัน และมีค่าข้อมูลทดสอบที่มาจากอินสแตนซ์ฐานข้อมูล และตารางการตามรอยจะถูกนำมาใช้เพื่อบอกความสัมพันธ์ระหว่างความต้องการเชิงฟังก์ชันกับกรณีทดสอบ ดังนั้นเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าข้องความต้องการเชิงฟังก์ชัน จึงจำเป็นต้องวิเคราะห์ผลกระทบต่อสคีมาฐานข้อมูล อินสแตนซ์ฐานข้อมูล ความต้องการเชิงฟังก์ชัน กรณีทดสอบ และตารางการตามรอยความต้องการ วิทยานิพนธ์จึงเสนอวิธีการวิเคราะห์ผลกระทบต่อสคีมาฐานข้อมูล อินสแตนซ์ฐานข้อมูล ความต้องการเชิงฟังก์ชัน กรณีทดสอบ และตารางการตามรอยความต้องการที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าของความต้องการเชิงฟังก์ชัน 3 ประเภทคือ เพิ่ม ลบ แก้ไข โดยผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือสนับสนุนการวิเคราะห์ผลกระทบตามที่นำเสนอ โดยเครื่องมือมีความสามารถนำเข้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถร้องขอเปลี่ยนแปลงข้อมูลนำเข้าของความต้องการเชิงฟังก์ชัน ซึ่งเครื่องมือสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวและสามารถปรับปรุงสิ่งที่กระทบได้อย่างอัตโนมัติ สุดท้ายเครื่องมือถูกนำไปทดสอบความถูกต้องกับกรณีศึกษาที่แบ่งการทดสอบออกเป็น 4 กรณี ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือเครื่องมือสามารถวิเคราะห์ผลกระทบและปรับปรุงสิ่งที่ได้รับผลกระทบได้อย่างถูกต้อง


การแปลงไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีโดยอัตโนมัติสำหรับการทวนสอบเชิงรูปนัย, ชลิกา ศักดิ์สุภาวัฒนกุล Jan 2017

การแปลงไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีโดยอัตโนมัติสำหรับการทวนสอบเชิงรูปนัย, ชลิกา ศักดิ์สุภาวัฒนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โดยทั่วไปการออกแบบซอฟต์แวร์เป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์ ความถูกต้องของพฤติกรรมของระบบซอฟต์แวร์แบบเรียลไทม์มีความสัมพันธ์กับเวลาของการทำงานของระบบ หากพบข้อผิดพลาดหลังจากการพัฒนาซอฟต์แวร์จะทำให้มีผลกระทบที่ต้องสูญเสียอย่างมาก จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องทำการทวนสอบแบบจำลองของการออกแบบ เพื่อหาจุดผิดพลาดก่อนที่จะลงเมื่อพัฒนาซอฟต์แวร์ วิทยานิพนธ์นี้จึงนำเสนอทางเลือกในการทวนสอบเชิงรูปนัยโดยใช้ไทมด์เพทริเน็ตในการสร้างแบบจำลองเชิงรูปนัย ซึ่งในปฏิบัติแล้วไทมด์เพทริเน็ตเป็นวิธีการเชิงรูปนัยที่ใช้สัญลักษณ์กราฟิกสำหรับจำลองโครงสร้างของระบบ ซึ่งทำให้สามารถเข้าใจพฤติกรรมของระบบได้ง่าย แต่ไทมด์เพทริเน็ตยังขาดการแสดงส่วนของข้อมูลที่ใช้ภายในระบบและยังไม่ได้มีการปรับแต่งใดๆ หากระบบมีขนาดใหญ่และมีความซับซ้อนมาก อาจจะเกิดปัญหาการระบบของสถานะได้ State explosion อีกทางเลือกของวิธีการเชิงรูปนัยพบว่าอีเวนท์บี เป็นวิธีการเชิงรูปนัยที่นิยมสำหรับการทวนสอบการทำงานของระบบโดยสนใจข้อมูลภายในระบบอีกทั้งสนับสนุนการปรับแต่งของระบบซอฟต์แวร์แบบเรียลไทม์ โดยใช้วิธีการพิสูจน์ทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดปัญหาการระเบิดของสถานะในระหว่างการทวนสอบ อย่างไรก็ตามการเขียนอีเวนท์บีไม่ง่ายนักเนื่องจากต้องมีทักษะทางด้านคณิตศาสตร์สำหรับการเขียนอีเวนท์บีเพื่อทวนสอบระบบ งานวิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอเครื่องมือการแปลงไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีโดยอัตโนมัติสำหรับการทวนสอบเชิงรูปนัย โดยสนใจแบบจำลองไทมด์เพทริเน็ตที่มีค่าน้ำหนักโทเค็นที่มีค่าเท่ากับ 1 เท่านั้น และกฎการแปลงส่วนประกอบไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีทั้งหมด 7 ข้อ ข้อมูลนำเข้าเครื่องมือการแปลงจะเป็นแบบจำลองไทมด์เพทริเน็ตที่อยู่ในรูปแบบแฟ้มเอกสารเอกซ์เอ็มแอล และเครื่องมือจะดำเนินการแปลงโดยใช้กฎการแปลงที่ได้นิยามขึ้นมา เพื่อแปลงแบบจำลองไทมด์เพทริเน็ตให้เป็นอีเวนท์บีได้โดยอัตโนมัติ เมื่อได้ผลลัพธ์การแปลงอีเวนท์บีเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการทวนสอบด้วยเครื่องมือโรดิน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของวิธีการแปลงโดยใช้เครื่องมือการแปลงและทวนสอบการทำงานของระบบ


อัลกอริทึมการอนุมานไวยากรณ์สม่ำเสมอเชิงความน่าจะเป็นด้วยเทคนิคการเพิ่มขึ้น, ต่อศักดิ์ เพ็ญภินันท์ Jan 2017

อัลกอริทึมการอนุมานไวยากรณ์สม่ำเสมอเชิงความน่าจะเป็นด้วยเทคนิคการเพิ่มขึ้น, ต่อศักดิ์ เพ็ญภินันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การอนุมานไวยากรณ์เป็นเรื่องที่ได้รับการศึกษามาเป็นเวลานาน ซึ่งไวยากรณ์จะถูกแสดงในรูปของกฎการสร้างใหม่ ๆ พร้อมด้วยความน่าจะเป็นที่สนับสนุนกฎการสร้างไวยากรณ์นั้น งานวิจัยนี้สนใจในรูปแบบของไวยากรณ์ทั่วไปที่ได้รับการยอมรับผ่านเครื่องจักรแบบจำกัดสถานะ เทคนิคการอนุมานไวยากรณ์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันคืออัลกอริทึมอัลเลอเจียร์ (Alergia) ซึ่งวิธีการคือสร้างเครื่องจักรแบบจำกัดสถานะเชิงความน่าจะเป็นจากตัวอย่างเชิงบวกพร้อมกับหาค่าความน่าจะเป็น ซึ่งงานวิจัยนี้นำเสนออัลกอริทึมการอนุมานไวยากรณ์เชิงความน่าจะเป็นจากการพิจารณาตัวอย่างเชิงบวกเริ่มต้นจากความยาวน้อยไปหาความยาวที่มากที่สุดตามลำดับ กำหนดรูปแบบให้กับไวยากรณ์ที่เกิดขึ้น และนำเสนอในรูปแบบของเครื่องจักรแบบจำลองสถานะเชิงความน่าจะเป็น


การตรวจจับการเรียกใช้เว็บเซอร์วิซสำหรับทดสอบดับเบิลยูเอส-บีเพล, ณัฐพงศ์ เอื้อเพิ่มเกียรติ Jan 2017

การตรวจจับการเรียกใช้เว็บเซอร์วิซสำหรับทดสอบดับเบิลยูเอส-บีเพล, ณัฐพงศ์ เอื้อเพิ่มเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดับเบิลยูเอส-บีเพล เป็นภาษาที่อนุญาตให้ผู้ออกแบบกระบวนการทางธุรกิจ นำเว็บเซอร์วิซที่มีมาทำงานร่วมกับกระบวนการทางธุรกิจขององค์กร โดยเรียกผ่านพาร์ทเนอร์ลิงก์ที่เป็นแท็กเชื่อมโยงการเรียกใช้งานเว็บเซอร์วิซ เมื่อออกแบบกระบวนการทางธุรกิจโดยใช้ ดับเบิลยูเอส-บีเพล แล้ว ผู้ทดสอบควรมีการทดสอบการทำงานทุกเว็บเซอร์วิซ ที่อยู่ภายใต้ดับเบิลยูเอส-บีเพล ซึ่งความท้าทายของการทดสอบเว็บเซอร์วิซคือ การตามรอยข้อความที่รับส่งระหว่างดับเบิลยูเอส-บีเพลกับเว็บเซอร์วิซ และทดสอบทุกเว็บเซอร์วิซที่อยู่ภายใต้ดับเบิลยูเอส-บีเพล วิทยานิพนธ์นี้มีจุดประสงค์เพื่อนำเสนอวิธีการสำหรับตรวจจับการเรียกใช้เว็บเซอร์วิซสำหรับทดสอบดับเบิลยูเอส-บีเพล โดยมุ่งเน้นการตรวจจับข้อความที่รับส่งระหว่างเว็บเซอร์วิซ โดยใช้วิธีการแทรกรหัสต้นทาง และสามารถแสดงรายการเว็บเซอร์วิซที่ไม่ถูกทดสอบให้ผู้ทดสอบทราบได้ วิธีการที่นำเสนอนี้ยังครอบคลุมถึงการสร้างกรณีทดสอบเพิ่มเติมสำหรับเว็บเซอร์วิซที่ไม่ถูกทดสอบภายใต้ข้อจำกัดบางประการได้ วิทยานิพนธ์นี้ยังนำวิธีการที่เสนอมาพัฒนาเป็นเครื่องมือสำหรับตรวจจับการเรียกใช้เว็บเซอร์วิซสำหรับทดสอบดับเบิลยูเอส-บีเพล โดยเครื่องมือจะสามารถอ่านไฟล์ดับเบิลยูเอส-บีเพล เพื่อจัดเก็บเส้นทางการไหลและแทรกรหัสต้นทางได้ สามารถจัดเก็บและแสดงข้อความที่รับส่งระหว่างเว็บเซอร์วิซกับดับเบิลยูเอส-บีเพลได้ สามารถแสดงเว็บเซอร์วิซที่ไม่ถูกทดสอบให้ผู้ทดสอบทราบได้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างกรณีทดสอบเพิ่มเติมสำหรับเว็บเซอร์วิซที่ไม่ถูกทดสอบภายใต้ข้อจำกัดที่ระบุไว้ได้ เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นนี้ได้นำไปทดสอบกับกรณีศึกษา 3 กรณีศึกษา ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้คือ เครื่องมือสามารถจัดเก็บข้อมูลนำเข้าและข้อมูลส่งออกที่รับส่งระหว่างเว็บเซอร์วิซได้ สามารถแสดงรายการเว็บเซอร์วิซที่ไม่ถูกทดสอบ และสามารถสร้างกรณีทดสอบเพิ่มเติม ตามที่คาดหวังได้ถูกต้อง


การสร้างมิวแตนท์สําหรับนิพจน์เงื่อนไขบนแบบจําลองบีพีเอ็มเอ็น, ปฤษฎี ท่าดีสม Jan 2017

การสร้างมิวแตนท์สําหรับนิพจน์เงื่อนไขบนแบบจําลองบีพีเอ็มเอ็น, ปฤษฎี ท่าดีสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นเป็นแบบจำลองเชิงธุรกิจที่ถูกพัฒนาให้สามารถประมวลกระบวนการกิจกรรมเชิงธุรกิจบนเครื่องประมวลผลแบบจำลอง ซึ่งความสามารถดังกล่าวเป็นสาเหตุให้ต้องมีการทดสอบการทำงานของกระบวนการกิจกรรมบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามเงื่อนไขทางธุรกิจ นักทดสอบจึงได้นำเสนอวิธีการสร้างกรณีทดสอบด้วยเทคนิคที่แตกต่างกัน แต่กรณีทดสอบเหล่านั้นยังไม่มีการประเมินคุณภาพ จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการทดสอบมิวเทชันบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นในงานวิจัยนี้ ทั้งนี้การทดสอบมิวเทชันบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นของงานวิจัยนี้จะเริ่มต้นที่การกำหนดตัวดำเนินการมิวเทชันสำหรับแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็น จากนั้นพัฒนาเครื่องมือสร้างมิวแตนท์ขึ้นมาเพื่อสามารถทำการทดสอบมิวเทชันบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นได้ งานวิจัยนี้ได้กำหนดตัวดำเนินการมิวเทชันของแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นได้ทั้งหมด 25 ตัวดำเนินการ และพัฒนาเครื่องมือสร้างมิวแตนท์สำหรับนิพจน์เงื่อนไขบนแบบจำลองบีพีเอ็มเอ็นขึ้น ด้วยตัวดำเนินการสำหรับนิพจน์เงื่อนไข 3 ตัวดำเนินการคือตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ ตัวดำเนินการเชิงสัมพันธ์ และตัวดำเนินการเชิงตรรกะ จากนั้นนำมิวแตนท์ที่ได้จากเครื่องมือสร้างมิวแตนท์มาทำการทดสอบมิวเทชัน หลังจาก ทดสอบมิวเทชันกับกรณีทดสอบที่ได้จากงานวิจัยก่อนหน้า ทำให้ทราบว่าผลการทดสอบของแต่ละเทคนิคการสร้างกรณีทดสอบนั้นมีค่าคะแนนมิวเทชันที่แตกต่างกัน ชุดกรณีทดสอบที่มีค่าคะแนนมิวเทชันมากที่สุด เป็นชุดกรณีทดสอบที่มีคุณภาพที่สุด


การจำแนกคุณภาพการใช้งานและปัญหาของเกมแอ็คชัน จากบทวิจารณ์ของผู้ใช้ด้วยการทำเหมืองข้อความ, อตินัติ์ วัฒนบุรานนท์ Jan 2017

การจำแนกคุณภาพการใช้งานและปัญหาของเกมแอ็คชัน จากบทวิจารณ์ของผู้ใช้ด้วยการทำเหมืองข้อความ, อตินัติ์ วัฒนบุรานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้อมูลความคิดเห็นของผู้ใช้ที่มีต่อเกมคือบทวิจารณ์เกมที่ปรากฏบนเว็บไซต์ต่างๆ จากผู้ใช้เกม สามารถระบุถึงความพึงพอใจของผู้ใช้ในการใช้ซอฟต์แวร์เกม และนำมาช่วยในการระบุความต้องการเชิงคุณภาพของซอฟต์แวร์เกม อย่างไรก็ตามบทวิจารณ์เกมจากผู้ใช้เกมนั้นมีจำนวนมากตามความนิยมของเกม รวมทั้งมีจำนวนที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นภาษาธรรมชาติ ซึ่งมีความแตกต่างกันตามแต่ลักษณะการเขียนของผู้เขียนบทวิจารณ์ มักไม่มีการสรุปว่าเป็นประโยคที่กล่าวถึงประเภทของคุณภาพและปัญหาของเกมในเรื่องใด และมีความคิดเห็นเป็นเชิงบวกหรือเชิงลบ การที่จะจำแนกประโยคจากบทวิจารณ์เกมในด้านคุณภาพและปัญหาจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรด้านมนุษย์และเวลา งานวิทยานิพนธ์นี้จึงเสนอวิธีการจำแนกประโยคของบทวิจารณ์เกมแอ็คชันด้วยวิธีการทำเหมืองข้อความ ซึ่งบทวิจารณ์เกมประเภทแอ็คชันได้ถูกเลือกมาใช้เพราะเกมแอ็คชันเป็นประเภทของเกมที่ได้รับความนิยมสูง โดยงานวิทยานิพนธ์นี้แบ่งเป็น 5 ขั้นตอนคือ 1) การระบุและนิยามปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของเกมและปัญหาของเกม 2) การสร้างคลังคำศัพท์ของปัจจัยที่นิยามไว้ด้วย การสกัดคำอธิบายการระบุและนิยามปัจจัย การสกัดจากบทวิจารณ์เกม และการใช้เครื่องมือเวิร์ดเน็ตในการขยายคลังคำศัพท์ 3) การวิเคราะห์เพื่อจำแนกประโยคของบทวิจารณ์ทั้งในด้านความคิดเห็นเชิงบวกและเชิงลบ และด้านปัจจัยที่นิยามไว้ 4) การพัฒนาเครื่องมือตามแนวคิดที่นำเสนอ 5) การประเมินประสิทธิผลของเครื่องมือด้วยการทดลองจากการคำนวณค่าความแม่นยำ โดยการตรวจสอบการจำแนกประโยคของบทวิจารณ์เกมโดยเครื่องมือเปรียบเทียบกับการจำแนกโดยผู้เชี่ยวชาญ ประสิทธิผลของเครื่องมือในการจำแนกได้เหมือนกันทั้งหมดกับผู้เชี่ยวชาญในรูปของค่าความแม่นยำเฉลี่ย ของการจำแนกความคิดเห็นเชิงบวกและเชิงลบมีค่าร้อยละ 59.51 ของการจำแนกปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพของเกมและปัญหาของเกมมีค่าร้อยละ 64.46 และ 81.01 ตามลำดับ


การวิเคราะห์ค่าความถูกต้องทางตำแหน่งโดยการใช้ค่าแก้จากระบบดาวเทียม Gagan สำหรับการประมวลผลการรังวัดตำแหน่งแบบจุดเดี่ยวด้วยระบบดาวเทียมนำหน Gps ในพื้นที่ประเทศไทย, ปทุมพร พวงเพ็ชร Jan 2017

การวิเคราะห์ค่าความถูกต้องทางตำแหน่งโดยการใช้ค่าแก้จากระบบดาวเทียม Gagan สำหรับการประมวลผลการรังวัดตำแหน่งแบบจุดเดี่ยวด้วยระบบดาวเทียมนำหน Gps ในพื้นที่ประเทศไทย, ปทุมพร พวงเพ็ชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันระบบดาวเทียมนำหน GPS ได้ประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการใช้งานหลายด้าน เช่น การสำรวจ การทำแผนที่ การนำทาง การบิน และงานด้านอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ค่าความถูกต้องและความแม่นยำทางตำแหน่งจาก GPS ยังไม่เพียงพอสำหรับงานบางอย่าง ระบบเสริมการระบุพิกัดด้วยดาวเทียม Satellite Based Augmentation Systems (SBAS) ซึ่งพัฒนาโดยหลายๆประเทศที่พัฒนาแล้วและตั้งชื่อเรียกระบบต่างกันไป โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อปรับปรุงความถูกต้องและความแม่นยำระบบดาวเทียมนำหน GPS โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการนำร่องอากาศยาน ในปัจจุบัน SBAS ที่ครอบคลุมพื้นที่ในประเทศไทย คือ GPS Aided GEO Augmented Navigation (GAGAN) ที่พัฒนาโดยประเทศอินเดีย GAGAN ได้ช่วยเสริมค่าความถูกต้องและความน่าเชื่อถือทางตำแหน่งสำหรับการนำร่องการบินในประเทศอินเดียและพื้นที่ใกล้เคียง การศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นเรื่องการวิเคราะห์ค่าความถูกต้องทางตำแหน่งโดยการใช้ค่าแก้จากระบบดาวเทียม GAGAN สำหรับการประมวลผลการรังวัดตำแหน่งแบบจุดเดี่ยวด้วยระบบดาวเทียมนำหน GPS ในพื้นที่ประเทศไทย ผลจากการรังวัดดังกล่าวจะเปรียบเทียบกับค่าพิกัดอ้างอิง โดยใช้ข้อมูลจากสถานีรังวัดสัญญาณดาวเทียมสากลแบบต่อเนื่อง (GNSS CORS) ของกรมที่ดิน จำนวน 11 สถานี และกรมโยธาธิการและผังเมือง จำนวน 11 สถานี ซึ่งใช้ข้อมูล GPS จากวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2560 ถึง 31 มีนาคม พ.ศ. 2560 ในการศึกษาวิจัย จากผลการทดสอบข้างต้นแสดงให้เห็นว่าประสิทธิภาพของระบบดาวเทียม GAGAN ยังไม่ครอบคลุมกับทุกพื้นที่ในประเทศไทย เนื่องจากค่าแก้ค่าคลาดเคลื่อนของชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ที่ได้รับจากระบบดาวเทียม GAGAN นั้นยังคงไม่เหมาะสมกับประเทศไทยซึ่งแสดงให้เห็นจากค่าความถูกต้องทางตำแหน่งของค่าพิกัดที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล GPS ร่วมกับค่าแก้จากระบบดาวเทียม GAGAN โดยใช้ค่าแก้ค่าคลาดเคลื่อนชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์แบบ Klobuchar model และค่าพิกัด Ionosphere-Free Combination (P3) มีค่าความถูกต้องทางตำแหน่งของค่าพิกัดที่ดีกว่าค่าความถูกต้องทางตำแหน่งของค่าพิกัด GPS ร่วมกับการใช้ข้อมูลค่าแก้จากระบบดาวเทียม GAGAN ในบางพื้นที่ของประเทศไทย


การติดตามการเปลี่ยนแปลงของ Total Water Storage จากข้อมูลดาวเทียม Grace โดยใช้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในพื้นที่ประเทศไทยตอนบน, จิรวัฒน์ จันทองพูน Jan 2017

การติดตามการเปลี่ยนแปลงของ Total Water Storage จากข้อมูลดาวเทียม Grace โดยใช้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในพื้นที่ประเทศไทยตอนบน, จิรวัฒน์ จันทองพูน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อการติดตาม Total Water Storage (TWS) ในพื้นที่ประเทศไทยตอนบน โดยใช้การประมาณค่าด้วยข้อมูลดาวเทียม GRACE ที่สามารถหาค่า Gravity field Changes และแปลงค่า TWS ที่อยู่บนพื้นผิวโลก โดยศึกษาเปรียบเทียบกับข้อมูลของ TWS ที่ได้จากข้อมูลอุทกวิทยา อันประกอบด้วยข้อมูลปริมาณน้ำฝน ข้อมูลปริมาณน้ำท่า และข้อมูลการคายระเหย จากสมการสมดุลน้ำ และทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในบริเวณตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกกับข้อมูล TWS จากข้อมูลดาวเทียม GRACE และข้อมูลอุทกวิทยาของพื้นที่ประเทศไทยตอนบน จากการศึกษาสามารถสรุปได้ว่า ข้อมูล TWS จากข้อมูลดาวเทียม GRACE และข้อมูลอุทกวิทยา ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากข้อมูลสถานีตรวจวัดภาคพื้นดินมีความสอดคล้องกันในพื้นที่ประเทศไทยตอนบน มีค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) ที่ร้อยละ 71.16 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของ TWS ในพื้นที่ได้ โดยความแตกต่างระหว่างข้อมูล TWS ที่เกิดขึ้นอาจเกิดจากปริมาณน้ำบาดาลซึ่งไม่ถูกรวมอยู่ในข้อมูลอุทกวิทยา ซึ่งผลจากการศึกษาความสัมพันธ์พบว่า อุณหภูมิพื้นผิวทะเลมีอิทธิพลสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงของ TWS ในปีที่มีปรากฏการณ์ ENSO ทั้งในปีที่มีปรากฎการณ์ลานีญาและปรากฎการณ์เอลนีโญ และการคำนวณความล่าช้าของเวลาระหว่างการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิผิวน้ำทะเลกับการเปลี่ยนแปลงของ TWS ในพื้นที่การศึกษามีประโยชน์ในการทำนายปริมาณน้ำในพื้นที่


แบบจำลองการหาค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม Aqua เพื่อประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศจากข้อมูล Gnss สำหรับประเทศไทย, พรวิลัย ค่ายชัยภูมิ Jan 2017

แบบจำลองการหาค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์โดยใช้ข้อมูลจากดาวเทียม Aqua เพื่อประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศจากข้อมูล Gnss สำหรับประเทศไทย, พรวิลัย ค่ายชัยภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้แสดงการหาแบบจำลองค่าอุณหภูมิเฉลี่ยในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์จากข้อมูลดาวเทียม AQUA ด้วยกระบวนการทางคณิตศาสตร์ในการประมาณค่าพารามิเตอร์จากวิธี Extended Kalman Filter (EKF) เพื่อประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศ (Precipitable Water Vapor, PWV) จากสถานี GNSS Continuously Operating Reference Station (CORS) ในประเทศไทย ในกระบวนการศึกษาประการแรก นำข้อมูลของ Atmospheric Infrared Sounder (AIRS) และ Advanced Microwave Sounding Unit (AMSU) จากดาวเทียม NASA's Aqua satellite (Aqua) ประมวลผลด้วยกระบวนการประมาณค่าพารามิเตอร์ของแบบจำลองค่าอุณหภูมิเฉลี่ย (Mean Temperature, Tm) จากวิธีการประมวลผลแบบ EKF โดยในงานวิจัยจะแบ่งพื้นที่ออกเป็นระดับระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และ 11 สถานี COR ทั่วประเทศ กระบวนการศึกษาประการที่สอง นำแบบจำลองค่าอุณหภูมิเฉลี่ยท้องถิ่นที่ได้นำไปประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศจากข้อมูล GNSS ที่ได้จากการคำนวณการประมาณค่าคลาดเคลื่อนในชั้นบรรยากาศโทรโพสเฟียร์ (Zenith Total Delay, ZTD) ด้วยกระบวนการรังวัดจุดเดี่ยวความแม่นยำสูง (Precise Point Positioning, PPP) โดยมีค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศอ้างอิงที่ได้จากเครื่องรับ AIRS และ AMSU จากดาวเทียม Aqua จากการศึกษาพบว่า การหารูปแบบจำลองค่าอุณหภูมิเฉลี่ยท้องถิ่นเพื่อประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศจากข้อมูล GNSS สามารถนำไปประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศที่มีความแม่นยำได้ในระดับบางสถานี ได้แก่ สถานี DPT9, PJRK, SISK, SOKA, SRTN และ UTTD แต่มีบางสถานีที่ไม่สามารถใช้แบบจำลองค่าอุณหภูมิเฉลี่ยท้องถิ่นไปประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศได้ อย่างไรก็ตาม สถานี COR บางสถานีสามารถใช้ข้อมูล GNSS สำหรับประมวลผลเพื่อประมาณค่าปริมาณไอน้ำในบรรยากาศได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้แบบจำลองค่าอุณหภูมิเฉลี่ยท้องถิ่น


การประเมินประสิทธิภาพของเทคนิคการรังวัดดาวเทียมแบบจลน์โดยอาศัยเครือข่ายสถานี Gnss แบบต่างๆ ในประเทศไทย, สมเกียรติ ทิพย์สุมณฑา Jan 2017

การประเมินประสิทธิภาพของเทคนิคการรังวัดดาวเทียมแบบจลน์โดยอาศัยเครือข่ายสถานี Gnss แบบต่างๆ ในประเทศไทย, สมเกียรติ ทิพย์สุมณฑา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันการรังวัดดาวเทียมจีเอ็นเอสเอสหรือ GNSS (Global Navigation Satellite System) ได้ใช้กันอย่างกว้างขวางในประเทศไทย การรังวัดแบบจลน์หรือ RTK (Real Time Kinematic) ซึ่งให้ความถูกต้องอยู่ในระดับเซนติเมตรและต้องการเวลาในการรังวัดในสนามไม่นาน อย่างไรก็ตามการรังวัดแบบ RTK ยังมีข้อจำกัดอยู่ (ระยะทางจากสถานีฐานโดยปกติน้อยกว่า 20 ก.ม.) การรังวัดแบบจลน์โดยอาศัยระบบเครือข่ายหรือ NRTK (Network-based Real Time Kinematic) ได้ถูกพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โดยทั่วไป NRTK มีอยู่ 4 แนวคิด ยกตัวอย่างเช่น Virtual Reference Station (VRS), Flächen Korrektur Parameter (FKP), Master Auxiliary Concept (MAX) และ Individualized MAX (i-MAX) ในประเทศไทยยังไม่เคยมีการประเมินประสิทธิภาพระบบเครือข่ายทั้ง 4 ระบบนี้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ทดสอบทั้ง 4 ระบบนี้โดยใช้ซอฟต์แวร์ SpiderNet โดยทำการทดสอบที่สถานี DPT9 และ GISTDA ตั้งรับสัญญาณนาน 1 วันและทำการรับสัญญาณแบบมีการเคลื่อนที่ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ แต่ละระบบเครือข่ายที่ทำการทดสอบมีความยาวของเส้นฐาน 2 ขนาด ได้แก่ 20 – 50 และ 40 – 60 กิโลเมตร ผลการทดสอบที่สถานี DPT9 และ GISTDA พบว่าจำนวนพิกัดที่อยู่ในโหมด Fixed Solution ทั้ง 2 เครือข่ายมีค่ามากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ทั้งหมดและเปรียบเทียบผลกับการรับสัญญาณแบบ Static พบว่าระบบ VRS ให้ความถูกต้องและความแม่นยำมากที่สุดสำหรับผลการทดสอบจากการรับสัญญาณแบบมีการเคลื่อนที่พบว่าระบบ MAX ให้ผลค่าพิกัดที่อยู่ในโหมด Fixed Solution โดยเฉลี่ยมากที่สุดจากทั้งสองเครือข่าย


การกำจัดสารกลุ่มฮาโลอะซิโตไนไตรล์ด้วยถ่านกัมมันต์ที่ทำการต่อติดกับอนุภาคเหล็กขนาดนาโน, ต่อศักดิ์ นวนิล Jan 2017

การกำจัดสารกลุ่มฮาโลอะซิโตไนไตรล์ด้วยถ่านกัมมันต์ที่ทำการต่อติดกับอนุภาคเหล็กขนาดนาโน, ต่อศักดิ์ นวนิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการปรับปรุงถ่านกัมมันต์ชนิดผง (PAC) และชนิดเกล็ด (GAC) โดยการต่อติดอนุภาคเหล็กขนาดนาโน (NZVI) บนพื้นผิว และศึกษาผลกระทบของการต่อติดอนุภาคเหล็กขนาดนาโนต่อประสิทธิภาพและกลไกการดูดซับสารฮาโลอะซิโตไนไตร์ล 5 ชนิด ( HANs ) ได้แก่ โมโนคลอโรอะซิโตไนร์ล (MCAN) ,โมโนโบรโมอะซิโตไนไตร์ล (MBAN) ,ไดคลอโรอะซิโตไนไตร์ล ( DCAN) ,ไดโบรโมอะซิโตไนไตร์ล (DBAN) และ ไตรคลอโรอะซิโตไนไตร์ล ( TCAN ) ที่ช่วงความเข้มข้นต่ำ ( 0-500 ไมโครกรัมต่อลิตร ) ที่พีเอช 7 และค่าความแรงประจุ 0.01 โมลาร์ ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของตัวกลางดูดซับพบว่า การต่อติด NZVI บนพื้นผิวของ GAC และ PAC ส่งผลทำให้รูพรุนของถ่านกัมมันต์เกิดการอุดตัน พื้นที่ผิวภายในตัวกลางดูดซับและปริมาตรรูพรุนของตัวกลางดูดซับลดลงอย่างมากและทำให้ประสิทธิภาพการดูดซับสารฮาโลอะซิโตไนไตร์ลลดลง การศึกษาจลนพลศาสตร์พบว่าการดูดซับฮาโลอะซิโตไนไตร์ลเข้าสู่สภาวะสมดุลที่ระยะเวลาประมาณ 2- 3 ชั่วโมง และสอดคล้องกับสมการอันดับสองเสมือน การต่อติดอนุภาคเหล็กขนาดนาโนไม่สามารถทำให้อัตราการดูดซับของ PAC และ GAC เร็วขึ้น ไอโซเทอร์มการดูดซับฮาโลอะซิโตไนไตร์ลแบบเดี่ยวทั้ง 5 ชนิดพบว่าประสิทธิภาพการดูดซับสอดคล้องกับความสามารถในการละลายน้ำของ HANs โดย สาร MCAN และ MBAN มีประสิทธิภาพการดูดซับต่ำสุด และการต่อติด NZVI บนพื้นผิวถ่านกัมมันต์ทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับสารฮาโลอะซิโตไนไตร์ลได้ ผลการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับ HANs ระหว่างแบบผสมและแบบเดี่ยว พบว่าลำดับและปริมาณการดูดซับของ HANs แบบผสมบนพื้นผิวของ PAC , GAC และ PAC/NZVI ลดลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับผลการทดลองแบบเดี่ยว และการมีอยู่ของไอออนในน้ำประปาไม่กระทบต่อสมบัติการดูดซับแบบคัดเลือกของ PAC PAC/NZVI และ NZVI อย่างชัดเจน


ผลของอุณหภูมิและแอมโมเนียต่อระดับสุขภาพปะการัง กรณีศึกษาเกาะสีชัง ประเทศไทย, บุษปกรณ์ อุดมทรัพย์ Jan 2017

ผลของอุณหภูมิและแอมโมเนียต่อระดับสุขภาพปะการัง กรณีศึกษาเกาะสีชัง ประเทศไทย, บุษปกรณ์ อุดมทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของอุณหภูมิและแอมโมเนียต่อระดับสุขภาพปะการังเขากวาง ปะการังจาน และปะการังโขด โดยใช้การทดสอบความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน ที่อุณหภูมิ 30 และ 33 องศาเซลเซียส ร่วมกับความเข้มข้นแอมโมเนีย 0 0.05 0.07 และ 0.1 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ระยะเวลา 24 และ 48 ชั่วโมง ทำการทดลองความเข้มข้นละ 3 ซ้ำ เพื่อหาร้อยละสุขภาพและร้อยละสุขภาพเสื่อมโทรมของปะการัง ด้วยการประเมินจากแผนภูมิสุขภาพปะการัง และคำนวณค่าความเป็นพิษแบบเฉียบพลัน (LC50) ที่เวลา 48 ชั่วโมง ด้วยการวิเคราะห์แบบโพรบิท และคำนวณร้อยละการยืดโพลิปของปะการังเขากวางและปะการังจาน เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับร้อยละสุขภาพปะการัง ผลการศึกษาพบว่าที่อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส เวลา 24 และ 48 ชั่วโมง และที่อุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส เวลา 24 ชั่วโมง ไม่สามารถคำนวณค่า LC50 ได้ เนื่องจากปะการังมีร้อยละสุขภาพเสื่อมโทรมน้อยกว่าร้อยละ 50 แต่ที่อุณหภูมิ 33 องศาเซลเซียส เวลา 48 ชั่วโมง สามารถหาค่า LC50 ได้ เนื่องจากปะการังมีร้อยละสุขภาพเสื่อมโทรมมากกว่าร้อยละ 50 โดยที่ผลสามารถยืนยันได้จากค่าความหนาแน่นของสาหร่ายซูแซนเทลลี ดังนั้นค่า LC50 ที่ 48 ชั่วโมงของปะการังเขากวาง ปะการังจาน และปะการังโขด ในการศึกษานี้ มีเท่ากับ 0.043 0.075 และ 0.054 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร ตามลำดับ ผลการศึกษาคุณภาพน้ำทะเลรอบพื้นที่เกาะสีชังเดือนมีนาคม กรกฎาคม และธันวาคม ปี 2560 พบว่าอุณหภูมิน้ำทะเลเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 29.07±1.23 องศาเซลเซียส และปริมาณแอมโมเนียเฉลี่ยมีค่าเท่ากับ 0.063±0.007 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร โดยค่ามาตรฐานแอมโมเนียมีค่าเท่ากับ 0.07 มิลลิกรัมไนโตรเจนต่อลิตร


แนวทางการสร้างโปรแกรมพลวัตเพื่อวางแผนการบำรุงรักษาแบบเหมาะที่สุดของอุปกรณ์หลักในสถานีไฟฟ้าโดยพิจารณาค่าใช้จ่ายและความเชื่อถือได้, สุรวิชญ์ เลาหนันทน์ Jan 2017

แนวทางการสร้างโปรแกรมพลวัตเพื่อวางแผนการบำรุงรักษาแบบเหมาะที่สุดของอุปกรณ์หลักในสถานีไฟฟ้าโดยพิจารณาค่าใช้จ่ายและความเชื่อถือได้, สุรวิชญ์ เลาหนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบริหารสินทรัพย์ภายในสถานีไฟฟ้าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ โดยเฉพาะระบบเฝ้าระวังสภาวะเพื่อวางแผนงานการบำรุงรักษา การกำหนดแผนงานบำรุงรักษานั้นส่งผลกระทบต่อการทำงานอุปกรณ์ ความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า และค่าใช้จ่ายวงชีพ วิทยานิพนธ์นี้มุ่งความสนใจกับการวางแผนบำรุงรักษาระยะยาวโดยพิจารณาความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า การวางแผนบำรุงรักษาสามารถแบ่งได้เป็น 2 ระดับ คือ ระดับอุปกรณ์ และระดับสถานีไฟฟ้า เราใช้การแจกแจงแบบไวบูลล์เพื่อประมาณฟังก์ชันความเชื่อถือได้ของอุปกรณ์ ความเชื่อถือได้ของสถานีไฟฟ้ากำหนดโดยใช้วิธีเซตตัดต่ำสุด และอาจประมาณด้วยความเชื่อถือได้ของอุปกรณ์ที่ส่งผลกระทบอย่างแรงต่อความเชื่อถือได้ของระบบ การกำหนดแผนงานบำรุงรักษามีรูปแบบเป็นปัญหาการหาค่าเหมาะที่สุดแบบไม่ต่อเนื่อง เพื่อหาค่าใช้จ่ายวงชีพต่ำที่สุด ภายใต้เงื่อนไขอายุประสิทธิผลสุดท้ายของอุปกรณ์และเงื่อนไขบังคับของความเชื่อถือได้ การหาคำตอบเหมาะที่สุดของการวางแผนบำรุงรักษามีความซับซ้อนและใช้เวลามาก วิทยานิพนธ์นี้เสนอแนวทางของการสร้างโปรแกรมพลวัตเพื่อหาคำตอบเหมาะที่สุดย่อย โดยทำให้ค่าขอบเขตบนของค่าใช้จ่ายวงชีพมีค่าต่ำสุด เมื่อเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายวงชีพที่ได้จากวิธีการสร้างโปรแกรมพลวัต กับคำตอบจากวิธีพันธุกรรมและการบำรุงรักษาตามเวลา เราพบว่าวิธีการสร้างโปรแกรมพลวัตให้แผนงานบำรุงรักษามีค่าใช้จ่ายวงชีพน้อยกว่า และสอดคล้องกับความเชื่อถือได้ที่กำหนด


การประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการมูลฝอยชุมชนจากสถานประกอบการ, ณัฐณิชา พุทธเกษม Jan 2017

การประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการมูลฝอยชุมชนจากสถานประกอบการ, ณัฐณิชา พุทธเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการมูลฝอยโดยเน้นการคัดแยกมูลฝอยและจัดการที่แหล่งกำเนิด เพื่อหาทางเลือกการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสมทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์ โดยงานวิจัยนี้ทำการศึกษาในอาคารสถานประกอบการทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต คอนโดมิเนียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงแรม ซึ่งมีแนวทางการจัดการมูลฝอยทั้งหมด 5 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 การฝังกลบ ทางเลือกที่ 2 การรีไซเคิลและการฝังกลบ ทางเลือกที่ 3.1 การรีไซเคิล การผลิตก๊าซชีวภาพ และการฝังกลบ ทางเลือกที่ 3.2 การรีไซเคิล การนำเศษอาหารไปทำอาหารสัตว์ และการฝังกลบ และทางเลือกที่ 4 การรีไซเคิล การผลิตก๊าซชีวภาพ การผลิตเชื้อเพลิงมูลฝอยอัดแท่ง (RDF) และการฝังกลบ โดยในงานวิจัยนี้ใช้วิธีประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) และกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) และคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) และประเมินความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้การประเมินต้นทุนการบำบัดมลพิษ (Abatement cost) จากผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบทางกายของกรณีศึกษาซูเปอร์มาร์เก็ตพบเศษอาหารมากที่สุดร้อยละ 35 และแนวทางการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ ทางเลือกที่ 4 สำหรับกรณีศึกษาคอนโดมิเนียมมีองค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยเป็นเศษอาหารมากที่สุดร้อยละ 53.62 และการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ ทางเลือกที่ 2 สำหรับกรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ องค์ประกอบมูลฝอยพบกระดาษมากสุดร้อยละ 33 สำหรับแนวทางการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ ทางเลือกที่ 2 และกรณีศึกษาสุดท้าย คือ โรงแรมพบองค์ประกอบมูลฝอยมีเศษอาหารมากสุดร้อยละ 29 โดยการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ แนวทางเลือกที่ 2 จากการศึกษาสรุปได้ว่าอาคารแต่ละประเภทมีลักษณะการดำเนินกิจกรรมที่แตกต่างกัน ส่งผลให้องค์ประกอบมูลฝอยมีความแตกต่างตามไปด้วย จึงทำให้การจัดการมูลฝอยแต่ละประเภทอาคารมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน