Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 31 - 60 of 1781

Full-Text Articles in Entire DC Network

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการบังคับใช้ พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562, พงษ์ศักดิ์ วชิรศักดิ์พานิช Jan 2019

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจจากการบังคับใช้ พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562, พงษ์ศักดิ์ วชิรศักดิ์พานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติทรัพย์ อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ด้วยวิธีการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษาค้นคว้า รวบรวมข้อมูลเอกสาร ตำราวิชาการที่ เกี่ยวข้อง บทความ งานวิจัย และสื่ออิเล็กทรอนิกส์เกี่ยวกับหลักการส าคัญ แนวความคิดทางกฎหมาย ความ เป็นมา และมาตรการแก้ไขข้อจำกัดเรื่อง “การเช่าทรัพย์สิน” ของกลุ่มประเทศในระบบกฎหมาย Civil Law, กลุ่ม ประเทศในระบบกฎหมาย Common Law และประเทศไทย เพื่อน ามาวิเคราะห์ถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจ และ เสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องต่างๆ อันจะส่งผลให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 มี ความเหมาะสม และเกิดประสิทธิภาพได้อย่างสูงสุดในทางความเป็นจริง จากการศึกษาพบว่า นอกเหนือจากผลกระทบในเชิงบวกที่เกิดจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติทรัพย์ อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ที่มีต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม เช่น ก่อให้เกิดการลงทุน และการจ้างงานในธุรกิจ พัฒนาที่ดิน และอสังหาริมทรัพย์มากขึ้นแล้วนั้น การบังคับใช้กฎหมายฉบับนี้ก็อาจจะก่อให้เกิดปัญหาต่างๆในทาง ปฏิบัติได้เช่นกัน อาทิปัญหาเรื่องการเอื้อประโยชน์แก่นักลงทุนต่างชาติที่อาจอาศัยช่องว่างของกฎหมายเพื่อไม่ให้ ต้องนำเงินของตนเองเข้ามาลงทุนในประเทศไทย หรือปัญหาเรื่องการที่จะต้องปรับเปลี่ยนระบบการพิจารณา อนุมัติสินเชื่อเพื่อการจ านองทรัพย์อิงสิทธิของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินทั่วทั้งประเทศ หรือปัญหาเรื่อง การกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิที่ไม่เหมาะสม และมีอัตราสูงกว่าค่าธรรมเนียม ของการทำนิติกรรมในประเภทอื่นๆ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการจดทะเบียนสิทธิการเช่า เป็นต้น ซึ่งประเด็น ปัญหาต่างๆ เหล่านี้อาจเป็นปัจจัยส าคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจ และการตัดสินใจของบรรดานักลงทุนได้ว่า ตนควรที่จะนำทรัพย์สินไปจดทะเบียนก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิตามกฎหมายฉบับนี้ต่อไปหรือไม่ ซึ่งหากเป็นเช่นนี้แล้ว ก็ ย่อมส่งผลให้การบังคับใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่สัมฤทธิผลสมดังเจตนารมณ์ของรัฐซึ่งเป็นผู้บังคับใช้กฎหมายแต่ อย่างใด ดังนั้น การศึกษาในครั้งนี้ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะแนวทางของการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไว้ว่า รัฐ หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรจะต้องด าเนินการเร่งออกกฎหมายล าดับรองในประเภทต่างๆ เพื่อก าหนดหลักเกณฑ์ไว้ ให้ชัดเจนว่า ให้ผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิที่เป็นนักลงทุนต่างชาติจะต้องนำเงินลงทุนขั้นต่ าเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าที่ กฎหมายลำดับรองกำหนดไว้มาใช้ในการลงทุนเกี่ยวกับการพัฒนาทรัพย์อิงสิทธิให้เสร็จสิ้นเสียก่อนในขั้นแรก ก่อนที่จะได้มีการนำเอาทรัพย์อิงสิทธิไปตราเป็นหลักประกันการช าระหนี้ด้วยวิธีการจดทะเบียนจำนองไว้กับ สถาบันการเงิน หรือธนาคารพาณิชย์ในล าดับถัดไป หรือให้ปรับเปลี่ยนแนวทางการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อเพื่อการ จดทะเบียนจำนองทรัพย์อิงสิทธิของธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินใหม่ทั้งหมด เพื่อให้ทุกฝ่ายปฏิบัติร่วมกัน หรือให้ปรับลดอัตราค่าธรรมเนียมของการรังวัดแบ่งแยกที่ดิน และ/หรือค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนก่อตั้ง ทรัพย์อิงสิทธิให้มีจำนวนเท่ากับ หรือ น้อยกว่าอัตราค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสิทธิการเช่า เป็นต้น …


แนวทางในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ว่าด้วยการกำกับการประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาต, ภัคชัญญา คำหอม Jan 2019

แนวทางในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ว่าด้วยการกำกับการประกอบธุรกิจเป็นบุคคลรับอนุญาต, ภัคชัญญา คำหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การรับซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศนั้น เป็นสิ่งจำเป็นที่ภาครัฐให้ความสำคัญเพราะมีผลกระทบต่อตลาดการเงิน ตลาดทุน และระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินชีวิต การดำเนินธุรกิจ รวมถึงการป้องกันปัญหาการฟอกเงิน โดยการลักลอบส่งหรือนำเงินออกจากประเทศ โดยกฎหมายแม่บทที่ใช้ในการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินของประเทศไทยคือ พระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 และจากการอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้มีการออกกฎกระทรวง ประกาศกระทรวงการคลัง และประกาศเจ้าพนักงานควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับการซื้อ ขาย แลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังให้ ทำหน้าที่กำกับดูแลการซื้อขายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ โดยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ได้แต่งตั้งพนักงานของธนาคารเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน พุทธศักราช 2485 มาตรา 4 เพื่อควบคุมดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน การซื้อ ขาย แลกเปลี่ยน หรือโอนเงินตราต่างประเทศทุกประเภท กฎหมายแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศไทยเป็นกฎหมายที่ค่อนข้างเก่า โดยมีการประกาศใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2485 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่ประเทศไทยขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ และต่อมาในปี พ.ศ. 2540 ประเทศไทยเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้จำเป็นต้องกำหนดออกกฎเกณฑ์การแลกเปลี่ยนเงินหลายอย่างเพิ่มเติมเพื่อลดความเสี่ยงจากเงินทุนไหลออก โดยช่วงเวลาที่ผ่านมา ค่าเงินบาทมีพัฒนาการที่ดีขึ้น และทางธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการทบทวนกฎเกณฑ์ที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเงินเป็นระยะ


ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า กับการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเช่าตามประมวลรัษฎากร, วิจักขณ์ เจติยานุวัตร Jan 2019

ผลกระทบจากการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า กับการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเช่าตามประมวลรัษฎากร, วิจักขณ์ เจติยานุวัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเช่าเป็นหนึ่งในวิธีการบริหารการเงินที่สำคัญของกิจการ เป็นการช่วยให้กิจการผู้เช่ามีสิทธิในการเข้าถึงการใช้สินทรัพย์ซึ่งจะทำให้กิจการไม่ต้องลงทุนใช้เงินเพื่อซื้อสินทรัพย์ในครั้งเดียว แต่สามารถทยอยจ่ายชำระเป็นงวดครั้งไปได้อันเป็นการลดความเสี่ยงในด้านสภาพคล่องทางการเงิน ไม่เป็นการเพิ่มภาระต่อกิจการในช่วงแรกจนกันไป ซึ่งเป็นผลดีต่อการจัดสรรเงินทุนได้อย่างเหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจของกิจการ จากหลักเกณฑ์กฎหมายที่เกี่ยวกับการรับรู้รายการค่าใช้จ่ายค่าเช่าทางภาษีตามเกณฑ์สิทธิตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 299/2561 เรื่อง การใช้เกณฑ์สิทธิในการคำนวณรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (แก้ไขเพิ่มเติมมาจากคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 1/2528) ข้อ 3 (3.4) วรรคสอง ซึ่งวางหลักกฎหมายไว้ว่า การคำนวนรายได้และรายจ่ายของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งเป็นผู้เช่าทรัพย์สินให้ใช้เกณฑ์สิทธิโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นต้องนำรายจ่ายค่าเช่าหรือค่างวดและรายจ่ายที่เกี่ยวข้องมารวมคำนวณเป็นรายจ่ายในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามส่วนแห่งระยะเวลาการเช่าทรัพย์สิน หรือตามเกณฑ์อื่นที่เหมาะสมตามวิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไป โดยวิธีการทางภาษีที่ให้ทางเลือกแก่ผู้เช่าในการเลือกปฎิบัติโดยให้รับรู้รายการค่าใช้จ่ายตามจำนวนเงินที่ชำระตามสัญญาหรือตามวิธีการปฏิบัติทางบัญชีที่รับรองทั่วไปที่แต่เดิมผู้เช่าต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 17 เรื่อง สัญญาเช่า โดยกำหนดให้พิจารณาว่าเป็นสัญญาเช่าการเงินหรือสัญญาเช่าเงินทุน แต่ปัจจุบันผู้เช่าต้องมาปฏิบัติตามมาตรฐานการรายงานทางการเงิน ฉบับที่ 16 เรื่อง สัญญาเช่า ซึ่งเปลี่ยนเป็นใช้วิธีการเดียวสำหรับผู้เช่า (Single lease accounting model) หรือก็คือให้รับรู้รายการสินทรัพย์สิทธิการใช้และหนี้สินตามสัญญาเช่า โดยต้องมีการการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ยจ่ายจากการคำนวณซึ่งวิธีการทางบัญชีดังกล่าวนั้นไม่สอดคล้องกับหลักการทางภาษีอากรที่ค่าใช้จ่ายที่จะนำไปคำนวณกำไรขาดทุนสุทธิทางภาษีนั้นต้องเป็นค่าใช้จ่ายที่เกิด ขึ้นจริง ประกอบกับการรับรู้ค่าใช้จ่ายตามวิธีการบัญชีนี้นั้นไม่สอดคล้องกับวิธีการรับรู้ค่าเสื่อมราคาและดอกเบี้ยจ่ายตามวิธีปฏิบัติทางภาษี ซึ่งถ้าหากผู้เช่าเลือกใช้วิธีการรับรู้ค่าใช้จ่ายค่าเช่าเพื่อคำนวณกำไรขาดทุนทางภาษีตามวิธีการบัญชีแล้วนั้นอาจจะทำให้การจัดเก็บภาษีอากรไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดีและอาจก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษีอากรได้


ปัญหาการกำหนดเงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดาจากการจำหน่ายทรัพย์สิน: ศึกษากรณีบุคคลธรรมดาขายหุ้นอันได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน, สุธาสินี เนติวิวัฒน์ Jan 2019

ปัญหาการกำหนดเงินได้พึงประเมินของบุคคลธรรมดาจากการจำหน่ายทรัพย์สิน: ศึกษากรณีบุคคลธรรมดาขายหุ้นอันได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน, สุธาสินี เนติวิวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากรกําหนดให้เงินได้พึงประเมินจากการ ขายหุ้นของบุคคลธรรมดา หมายถึง ผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้นเฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้ เกินกว่าที่ลงทุน ดังนั้น ในกรณีที่เป็นการขายหุ้นอันได้มาโดยไม่มีค่าตอบแทน ผู้ขายหุ้นจึงต้องนํา ผลประโยชน์ทั้งหมดที่ได้จากการขายหุ้นมาถือเป็นเงินได้พึงประเมินและเสียภาษีเงินได้เมื่อขายหุ้น อย่างไรก็ตาม ในขณะได้รับหุ้น ผู้ขายหุ้นถือว่ามีเงินได้พึงประเมินจากการได้รับหุ้นโดยไม่มี ค่าตอบแทนซึ่งจะต้องนํามาเสียภาษีด้วย จึงทําให้ผู้ขายหุ้นอาจต้องเสียภาษีซ้ําซ้อนจากเงินได้ พึงประเมินบนทรัพย์สินเดียวกัน กล่าวคือ เมื่อได้รับหุ้นและเมื่อขายหุ้นออกไป จากการศึกษาพบว่า เพื่อให้เกิดเป็นธรรมต่อผู้เสียภาษีควรกําหนดให้ผู้ขายหุ้นสามารถนํา ฐานของเงินได้พึงประเมินจากการรับโอนหุ้นเฉพาะส่วนที่ได้เสียภาษีไว้แล้ว มาถือเป็นต้นทุนเพื่อ คํานวณเงินได้พึงประเมินจากการขายหุ้นตามมาตรา 40 (4) (ช) แห่งประมวลรัษฎากร และสามารถ นําเงินได้พึงประเมินที่ได้เสียภาษีจากการรับโอนไว้เฉพาะส่วนเกินจากราคาขายหุ้นหรือภาษีที่ได้เสีย ไปเกินกว่าภาษีที่ควรจะต้องชําระ มาหักออกจากเงินได้พึงประเมินหรือภาษีที่ต้องเสียเมื่อมีการขาย หุ้นได้นอกจากนี้ ผู้เขียนมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่าควรจะมีการกําหนดให้สามารถนําค่าใช้จ่ายใดๆที่ได้ จ่ายไปเพื่อให้ได้มาซึ่งหุ้นมาถือเป็นส่วนหนึ่งของเงินลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานการบัญชี และควรมีการปรับแก้กฎหมายที่อาจเกี่ยวข้องเพื่อให้การปรับใช้กฎหมายเหมาะสมและเป็นธรรมมาก ขึ้น ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาความไม่ชัดเจนในการกําหนดเงินได้พึงประเมินจากการขายหุ้นอันได้มาโดย ไม่มีค่าตอบแทนได้เพื่อช่วยหลีกเลี่ยงการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรอันจะส่งผลให้การ จัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรมีความยุติธรรมเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นอีกด้วย


ผลกระทบของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล, ณัชชารีย์ จุรีย์โรจน์ Jan 2019

ผลกระทบของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล, ณัชชารีย์ จุรีย์โรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการด าเนินธุรกิจอย่างไร้พรมแดน ย่อมท าให้เกิด การเคลื่อนย้ายทุน แรงงานและเทคโนโลยีระหว่างประเทศได้ง่าย มีการขยายตัวของนักลงทุนและ บริษัทข้ามชาติจ านวนมาก ซึ่งจ าเป็นจะต้องปรับตัวให้ทันต่อสถานการณ์และการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้ บริษัทข้ามชาติซึ่งมักจะเป็นกลุ่มบริษัทที่มีการจัดตั้งและด าเนินธุรกิจอยู่ใน ประเทศตั้งแต่สองประเทศขึ้นไป เพื่อให้กลุ่มบริษัทมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจได้และ มีต้นทุนที่ต่ าที่สุด ซึ่งการพิจารณาปรับโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทข้ามชาติเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ใช้ ในการบริหารต้นทุนทางธุรกิจและภาษีเงินได้ของกลุ่มบริษัทให้ลดลงได้โดยมักมีการถ่ายโอนก าไรจาก ประเทศที่มีอัตราภาษีสูงไปยังประเทศที่อัตราภาษีต่ าเพื่อการเลี่ยงภาษีโดยอาศัยช่องว่างของ กฎหมายระหว่างประเทศที่ไม่ลงรอยกัน ตลอดจนการใช้สิทธิประโยชน์ตามอนุสัญญาภาษีซ้อนเพื่อ บรรเทาภาระภาษีซ้อนโดยรวมภายในกลุ่มบริษัทข้ามชาติให้ลดลง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อ การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยเฉพาะในรัฐแหล่งเงินได้ที่สูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษี จากบริษัทข้ามชาติเป็นอย่างมาก เอกัตศึกษาฉบับนี้จัดท าขึ้นเพื่อศึกษาผลกระทบของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของ บริษัทข้ามชาติในลักษณะรูปแบบโครงสร้างธุรกิจต่างๆ รวมถึงหลักการจัดเก็บภาษีเงินได้และ ผลกระทบที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาถึงมาตรการเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคล จากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจดังกล่าว เพื่อน ามาประยุกต์ใช้กับบริบทของประเทศไทยได้ นอกจากนี้ ได้ศึกษาถึงกฎหมายและมาตรการต่างๆ ที่ใช้อยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน ซึ่งพบว่า ประเทศไทยยังไม่มีการก าหนดมาตรการรองรับผลกระทบหรือเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคล ส าหรับกรณีการปรับโครงสร้างทางธุรกิจของบริษัทข้ามชาติไว้เป็นการเฉพาะ ซึ่งอาจส่งผลให้รัฐ ไม่สามารถจัดเก็บหรือจัดเก็บภาษีเงินได้ได้น้อยลง จากการศึกษาผลกระทบของการปรับโครงสร้างทางธุรกิจต่อการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคล และมาตรการเพื่อป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการปรับโครงสร้างทางธุรกิจโดยใช้รูปแบบ ลักษณะธุรกิจตามแนวทางของ OECD ประกอบกับการศึกษาถึงหลักการจัดเก็บภาษีและมาตรการ ป้องกันการเลี่ยงภาษีเงินได้ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อน ามาปรับใช้กับประเทศไทย ซึ่งสามารถ สรุปผลได้ว่า ประเทศไทยสมควรปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มีการป้องกันการเลี่ยงภาษี ไว้เป็นหมวดเฉพาะ รวมถึงปรับปรุงกฎหมายภายในประเทศให้มีอ านาจในการสั่งการผู้ประกอบการ หรือนิติบุคคลจัดท ารายงานเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศ เพื่อเป็นมาตรการป้องกัน การเลี่ยงภาษีอย่างรุนแรงของกลุ่มบริษัทข้ามชาติและลดโอกาสในการเลี่ยงภาษีจากการปรับ โครงสร้างทางธุรกิจและธุรกรรมระหว่างประเทศ


ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นภาระของผู้บริโภคเกินสมควร กรณีศึกษาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าผ้าอนามัย, ทวีพร อดิทิพยางกูร Jan 2019

ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เป็นภาระของผู้บริโภคเกินสมควร กรณีศึกษาการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าผ้าอนามัย, ทวีพร อดิทิพยางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผู้หญิงที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์และสภาพร่างกายปกติจะมีประจําเดือนทุกเดือน ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบัน ทําให้ผ้าอนามัยเข้ามามีบทบาทในการดําเนินชีวิตของผู้หญิงในช่วงการมีประจําเดือน แต่อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ผู้หญิง ทุกคนที่มีความาสามารถในการจับจ่ายและเข้าถึงผ้าอนามัยได้ หากเราตระหนักว่ายังมีประชาชนกลุ่มหนึ่ง ในประเทศที่ยังอดมื้อกินมื้อ นั่นก็คือ ผู้หญิงในกลุ่มนั้นก็น่าจะไม่มีเงินเพียงพอที่จะซื้อผ้าอนามัยเช่นกัน ผ้าอนามัยเป็นสิ่งที่ช่วยซับเลือดประจําเดือน ทําให้ผู้หญิงที่สวมใส่เกิดความสะดวกสบาย มีความมั่นใจ ในช่วงเวลาที่ไม่ปกติของเดือน ข้อสําคัญของการใส่ผ้าอนามัยคือช่วยยับยั้งเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายในช่วงอ่อนไหว ของผู้หญิงอีกด้วย ในปัจจุบัน ผ้าอนามัยเป็นสินค้าที่ได้รับการควบคุมราคาโดยกระทรวงพาณิชย์แต่ยังคงเป็นสินค้าที่ถูก จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม แม้ว่าผ้าอนามัยจะเป็นสินค้าที่สําคัญต่อสุขอนามัย เป็นสินค้าบริโภคขั้นพื้นฐาน ส่งผลถึง อนามัยเจริญพันธุ์ของผู้หญิงโดยตรง และในนานาชาติรวมถึงประเทศไทย ผ้าอนามัยได้รับการเรียกร้องให้มี การยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งมีบางประเทศที่การเรียกร้องนั้นประสบผลสําเร็จแล้วและในเอกัตศึกษา ฉบับนี้ได้นํามาศึกษา นั่นคือ ประเทศออสเตรเลีย วัตถุประสงค์ของเอกัตศึกษาฉบับนี้ ต้องการศึกษาหลักการการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม และสินค้าที่ได้รับ การยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศไทย เพื่อหาแนวทางว่าการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในสินค้าผ้าอนามัย สอดคล้องกับหลักการจัดเก็บของภาษีมูลค่าเพิ่มของประเทศไทยหรือไม่ และมีแนวทางใดที่สามารถทําให้ ผ้าอนามัยเป็นสินค้าที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากผลการศึกษา สินค้าที่ประเทศไทยยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีความหลากหลาย ไม่ได้จําเพาะว่า เป็นสิ่งที่จําเป็นต่อการดํารงชีวิต เช่น ในรายการปัจจัยสี่ ได้แก่ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค มีเพียงอาหารที่ยังไม่แปรรูปเท่านั้นที่เป็นสิ่งที่ได้รับการยกเว้นการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น หากจะผลักดันให้ ผ้าอนามัยได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาครัฐจะต้องให้ความตระหนักในความสําคัญและภาระที่ผู้บริโภค จะต้องได้รับให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญที่รัฐจะต้องบริการสาธารณสุขอย่างทั่วถึง ส่งเสริมสุขภาพ ควบคุมและป้องกันโรคให้แก่ประชาชน


มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยเอกชน, โสภาพรรณ ร่มโพธิ์เงิน Jan 2019

มาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยเอกชน, โสภาพรรณ ร่มโพธิ์เงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่ง พัสดุภัณฑ์โดยเอกชน เนื่องจากมาตรการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์ใน ปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายใดเป็นการเฉพาะในการก ากับดูแลหรือควบคุมท าให้ผู้บริโภคเสียเปรียบและ ไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงสมควรกำหนดแนวทางหรือบทบัญญัติของกฎหมายในการคุ้มครอง ผู้บริโภคในการใช้บริการธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์ การเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมผู้บริโภคจากในยุคดิจิทัล มีแนวโน้มการซื้อขายสินค้าและ บริการเปลี่ยนรูปแบบจากเดิมที่เป็นการซื้อขายแบบหน้าร้าน สู่ยุคการตลาดแบบออนไลน์ โดยการซื้อ สินค้าผ่าน แพลตฟอร์มออนไลน์ การขยายตัวของธุรกิจ e-Commerce ส่งผลให้ความต้องการ บริการ E-Logistics เพิ่มขึ้น มูลค่าการประกอบธุรกิจแบบการขายสินค้าหรือบริการไปยังผู้บริโภค โดยตรงมีมากขึ้น ส่งผลให้การจัดตั้งธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์มีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าใน ปัจจุบัน ผู้ประกอบการแต่ละรายมีการแข่งขันกันในด้านราคาเพื่อดึงดูดผู้บริโภค ซึ่งอัตราค่าบริการ ขนส่งพัสดุโดยเฉลี่ยมีการปรับลดลงในแต่ละปี รวมถึงการแข่งขันกันด้านบริการและความรวดเร็วใน การจัดส่งพัสดุภัณฑ์ แต่ก็ยังปรากฏปัญหาของผู้บริโภคซึ่งมีการร้องทุกข์เกี่ยวกับการใช้บริการรับส่ง พัสดุภัณฑ์ต่อส านักงานคุ้มครองผู้บริโภคเพิ่มขึ้นในทุกปี และปัญหาอื่นๆขึ้นตามที่ปรากฏเป็นข่าวทาง สื่อต่างๆ จากผลการศึกษาพบว่าธุรกิจบริการรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยเอกชนนั้น กฎหมายที่มีผลบังคับใช้ ในปัจจุบันไม่ได้ครอบคลุมถึงการกำกับดูแลกิจการซึ่งก าลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้เขียนจึงศึกษา กฎหมายภายในประเทศเกี่ยวกับมาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสม เพื่อกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการคุ้มครองผู้บริโภคในการใช้บริการรับส่ง พัสดุภัณฑ์โดยเอกชน ในลักษณะเป็นการป้องกันปัญหาและลดความเสี่ยงที่อาจถูกเอาเปรียบจาก ผู้ประกอบการ ผู้เขียนเสนอให้ การประกอบธุรกิจรับส่งพัสดุภัณฑ์โดยเอกชน อยู่ในการกำกับดูแลของ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมเป็นหน่วยงานหลัก และเสนอให้มีการแก้ไขเพิ่มเติม พระราชบัญญัติไปรษณีย์พ.ศ. 2477 ให้มีการก าหนดบทบัญญัติทางกฎหมายที่จะก ากับดูแลการ ดำเนินธุรกิจของผู้ประกอบการทั้งของรัฐเอกชนให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน


ปัญหาการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยการยกเว้นฐานภาษีที่อยู่อาศัย, ดลพร สุตัณฑวิบูลย์ Jan 2019

ปัญหาการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยการยกเว้นฐานภาษีที่อยู่อาศัย, ดลพร สุตัณฑวิบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่อยู่อาศัยเป็นสิ่งที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน และประชากรในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้ระดับกลางไปจนถึงผู้มีรายได้น้อย รัฐจึงให้ความสำคัญโดยการกำหนดมาตรการการบรรเทาภาระภาษีให้กับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย โดยใช้วิธีการยกเว้นมูลค่าฐานภาษีให้กับที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของเป็นบุคคลธรรมดาใช้เป็นที่อยู่อาศัยและมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนราษฎรในวันที่ 1 มกราคมของปีภาษี เป็นจำนวน 50 ล้านบาท หากบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของเพียงสิ่งปลูกสร้าง แต่ไม่ได้เป็นเจ้าของที่ดินจะได้รับยกเว้นเป็นจำนวน 10 ล้านบาท ซึ่งทำให้ไม่สอดคล้องกับหลักความสามารถในการเสียภาษีและหลักประโยชน์ที่ได้รับอย่างแท้จริง และไม่ได้คำนึงถึงสัดส่วนในการถือครองทรัพย์สินของแต่ละบุคคลอย่างเท่าเทียมกัน จึงเป็นประเด็นที่น่าศึกษาเพื่อหาแนวทางแก้ไขปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศไทยให้มีหลักเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษีที่มีความเหมาะสมมากขึ้นเพื่อให้เกิดความเป็นธรรม โดยจะศึกษาเปรียบเทียบกับหลักเกณฑ์การจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของประเทศฟิลิปปินส์และประเทศสหรัฐอเมริกา


แนวทางการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบการธุรกิจหอพักเอกชน ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558, เปมิกา ทั่งทอง Jan 2019

แนวทางการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ผู้ประกอบการธุรกิจหอพักเอกชน ตามมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติหอพัก พ.ศ.2558, เปมิกา ทั่งทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


ความแตกต่างของการคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมาย ภาษีอากร, จินห์จุฑา ชูแก้ว Jan 2019

ความแตกต่างของการคำนวณกำไรสุทธิตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมาย ภาษีอากร, จินห์จุฑา ชูแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาผลกระทบของความแตกต่างของการคํานวณกําไรสุทธิตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมายภาษีอากร โดยมีสมมติฐานของการศึกษาวิจัยว่า กฎหมายและมาตรฐานการบัญชีมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยหลักเกณฑ์การรับรู้รายได้และรายจ่ายหลายส่วนสอดคล้องกับหลักเกณฑ์ของกฎหมายภาษีอากร แต่ในขณะเดียวกันก็มีหลักเกณฑ์บางส่วนแตกต่างกับหลักเกณฑ์ในกฎหมายภาษีอากร ซึ่งทั้งความสอดคล้องกันและความแตกต่างกันอาจทําให้เกิดปัญหาในการใช้กฎหมายภาษีอากรเพื่อการจัดเก็บภาษีในการศึกษาและพิสูจน์สมมติฐานข้างต้นพบว่า การรับรู้รายได้และรายจ่ายตามกฎหมายการบัญชีกับกฎหมายภาษีอากร มีทั้งที่สอดคล้องกัน คล้ายคลึงกัน และไม่สอดคล้องกัน ส่งผลให้กําไรสุทธิในกฎหมายการบัญชีกับกฎหมายภาษีอากรนั้นไม่เท่ากัน นั้นเป็นเพราะวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่แตกต่างกัน ความสอดคล้องกันเป็นเรื่องง่ายในการปรับใช้กฎหมายสําหรับผู้ปฏิบัติงาน ความคล้ายคลึงกันนั้นเป็นเงื่อนไขหรือวิธีการที่กฎหมายภาษีอากรสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ในการป้องกันการหลีกเลี่ยงภาษีซึ่งบางครั้งก็เคร่งครัดกับผู้เสียภาษีมากเกินไปจนสร้างภาระหนัก และความไม่สอดคล้องกันนั้นย่อมส่งผลกระทบในการปรับใช้กฎหมายของผู้เสียภาษีอย่างแน่นอน แต่ไม่ใช่ว่าทุกความไม่สอดคล้องจะต้องถูกขจัดเพราะวัตถุประสงค์บางอย่างของกฎหมายจึงจําเป็นที่ยังจะคงไว้ซึ่งความแตกต่าง เพราะไม่เพียงแต่ความคล้ายคลึงกัน และความไม่สอดคล้องกันเท่านั้นที่เกิดปัญหาในการจัดเก็บภาษี แม้ความสอดคล้องเองนั้นยังไม่เหมาะสมกับกฎหมายภาษีอากรในบางกรณี ดังนั้นผู้เขียนจึงเสนอแนะให้มีการแก้ไขประมวลรัษฎากรและกฎหมายลําดับรอง ทั้งความสอดคล้องกันความคล้ายคลึงกัน และความไม่สอดคล้องกันส่วนที่สร้างความไม่เป็นธรรม ก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษี และสร้างปัญหาในการปรับใช้กฎหมายเพื่อจัดเก็บภาษีโดยไม่มีความจําเป็นใช้บังคับอย่างมีสิทธิภาพในทางปฏิบัติมากยิ่งขึ้นเป็นแนวทางในการใช้มาตรการทางภาษีอากรและมาตรการอื่นในประเทศไทยอย่างมีประสิทธิภาพ


มาตรการให้ความคุ้มครองผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิจากการถูกเพิกถอนการฉ้อฉล ในคดีล้มละลาย, นงนภัส บุญญาวัฒน์ Jan 2019

มาตรการให้ความคุ้มครองผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิจากการถูกเพิกถอนการฉ้อฉล ในคดีล้มละลาย, นงนภัส บุญญาวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลและการให้เปรียบเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 - มาตรา 116 ที่ถูกเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อเพิกถอนนิติกรรมการฉ้อฉลหรือการให้เปรียบเจ้าหนี้เป็นจำนวนมากทำให้ส่งผลกระทบต่อบุคคลภายนอกได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นกับผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิพ.ศ.2562 จึงได้ศึกษาไปถึงแนวคิด หลักการ รูปแบบการก่อตั้งสิทธิ ตลอดจนผลผูกพันทางกฎหมายที่เกิดขึ้นของทรัพย์อิงสิทธิ แต่เนื่องจากลักษณะและหลักการของสิทธิตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิพ.ศ.2562 ไม่ได้มีการบัญญัติไว้ในกฎหมายต่างประเทศ จึงไม่สามารถนำตัวอย่างของแนวปฏิบัติของเรื่องดังกล่าว ในต่างประเทศมาเปรียบเทียบได้ จึงศึกษาเทียบเคียงเคียงกับสิทธิที่อ้างอิงในการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์ในต่างประเทศเพื่อทำความเข้าใจและวิเคราะห์ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากทรัพย์อิงสิทธิภายใต้กฎหมายไทย จากการศึกษาพบว่า เมื่อบัญญัติตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ.2562 ได้ให้สิทธิการใช้ประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์เป็นพิเศษมากกว่าผู้ที่ทรงสิทธิครอบครองตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงควรกำหนดมาตรการปกป้องคุ้มครองผู้ทรงทรัพย์อิงสิทธิที่สุจริตให้ชัดเจน เพื่อเป็นการรับรองสิทธิและป้องกันมิให้ถูกเพิกถอนการฉ้อฉลในคดีล้มละลายซึ่งทำให้เกิดความเสียหายต่อผู้รับโอนทรัพย์อิงสิทธิที่รับโอนจากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์โดยตรง และผู้รับโอนทรัพย์อิงสิทธิในลำดับต่อ ๆ ไป ผู้เขียนจึงได้นำเสนอผลการวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินการกับทรัพย์อิงสิทธิเกิดขึ้นตามหลักเกณฑ์การเพิกถอนการฉ้อฉลและการให้เปรียบเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 ดังนี้ 1. ปัญหาตามหลักเกณฑ์การเพิกถอนการฉ้อฉลตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 113 และมาตรา 114 ในกรณีที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้โอนทรัพย์อิงสิทธิต่อไปให้ผู้ได้ลาภงอกและบุคคลภายนอกโดยไม่คิดค่าตอบแทน ซึ่งสามารถทำได้ตามกฎกระทรวงฯ ข้อ 12 (1) แต่พระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ มาตรา 13 และมาตรา 14 ได้ให้ความคุ้มครองบุคคลภายนอกที่สุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียนโดยสุจริตซึ่งไม่สอดคล้องกัน ดังนั้น หากเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็จะมีอำนาจจัดการทรัพย์สินทั้งหมดของลูกหนี้ และหากเห็นว่านิติกรรมที่ลูกหนี้ได้กระทำมีลักษณะเป็นการให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ เป็นการให้โดยเสน่หาทำให้ทรัพย์สินลดน้อยถอยลงไม่มีพอชำระหนี้ให้แก่เจาหนี้ หรือก่อตั้งภาระผูกพันเกินสมควรหรือหากทำภายในระยะเวลา 1 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายซึ่งเป็นเวลาตั้งข้อสงสัย กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีเจตนาให้เจ้าหนี้เสียเปรียบเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอต่อศาลให้เพิกถอนนิติกรรมได้ 2. ปัญหาตามหลักเกณฑ์การเพิกถอนการให้เปรียบเจ้าหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 115 และมาตรา 116 ในกรณีที่เจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้โอนทรัพย์อิงสิทธิต่อไปให้ผู้ได้ลาภงอกและบุคคลภายนอก ภายในระยะเวลา 3 เดือน หรือ 1 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลายซึ่งเป็นเวลาตั้งข้อสงสัย ผู้ได้ลาภงอกและบุคคลภายนอกมีภาระกรพิสูจน์ให้ศาลเห็นได้ว่าได้รับโอนมาโดยสุจริต เสียค่าตอบแทน และจดทะเบียน ซึ่งคำว่า"สุจริต" กรณีนี้หมายถึง ไม่รู้ว่าเจ้าของอสังหาริมทรัพย์มีหนี้สินล้นพ้นตัว และได้กระทำลงโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้รายอื่นเสียเปรียบ ซึ่งมีความหมายแคบกว่าสุจริตตมพระราชบัญญัติรัพย์อิงสิทธิ มาตรา 13 และมาตรา 14


แนวทางการพัฒนากระบวนการก่อนการนำพยานหลักฐานเข้าสืบข้อเท็จจริง ในคดีภาษีอากร, จุฬารัตน์ วงษ์ผักเบี้ย Jan 2019

แนวทางการพัฒนากระบวนการก่อนการนำพยานหลักฐานเข้าสืบข้อเท็จจริง ในคดีภาษีอากร, จุฬารัตน์ วงษ์ผักเบี้ย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การนำมาตรการป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกำไรโดยการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในทางที่ไม่ถูกต้องตามแนวทางของ Oecd มาใช้ในประเทศไทย, สิตา พลังวชิรา Jan 2019

การนำมาตรการป้องกันการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกำไรโดยการป้องกันการใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในทางที่ไม่ถูกต้องตามแนวทางของ Oecd มาใช้ในประเทศไทย, สิตา พลังวชิรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนในทางที่ไม่ถูกต้องเป็นสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งของการกัดกร่อนฐานภาษีและการโยกย้ายกําไร หรือ Base Erosion and Profit Shifting – BEPS ที่องค์การเพื่อความร่วมมือและการพัฒนาทางเศรษฐกิจ หรือ OECD (Organization for Economic Co – Operation and Development) ได้ให้ความสําคัญ โดยมีการประกาศแผนปฎิบัติการที่ 6 เรื่อง Preventing the Granting of TreatyBenefits in Inappropriate Circumstances อีกทั้งมีการกําหนดมาตรการขั้นต่ํา (Minimum Standard) ซึ่งแต่ละประเทศสมาชิกต้องทําการปฎิบัติตาม ได้แก่การบัญญัติเจตนารมณ์ (The Express Statement) ไว้ในคํานําแห่งอนุสัญญาภาษีซ้อน (Preamable) และให้ประเทศสมาชิกเลือก 1 ใน 3 มาตรการ ได้แก่ มาตรการที่ 1 การบัญญัติหลักการทดสอบวัตถุประสงค์สําคัญ (Principle Purposes Test – PPT Rule) และหลักการจํากัดสิทธิของบุคคลที่จะได้รับสิทธิประโยชน์จากอนุสัญญาภาษีซ้อน (Limitations of Benefits –LOB Rule) ไม่ว่าจะเป็นฉบับย่อ (Simplied Version) หรือฉบับละเอียด (Detailed Version) หรือ มาตรการที่ 2 การบัญญัติเพียง PPT Rule หรือ มาตรการที่ 3 การบัญญัติ LOB Rule ฉบับละเอียดไว้เพียงอย่างเดียว โดยควบคู่กับกฎหมายภายในประเทศที่ใช้เพื่อป้องกันปัญหา Conduit Arrangement ทั้งนี้ OECD ได้มีแผนปฎิบัติการที่ 15 เรื่อง Multilateral Instrument โดยพัฒนาสนธิสัญญาพหุภาคี Multilateral Convention to Implement Tax Treaty Related …


ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีธุรกิจประกัน, สุวคนธ์ ภมรสุวรรณ Jan 2019

ปัญหาการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 : ศึกษากรณีธุรกิจประกัน, สุวคนธ์ ภมรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงปัญหาและผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่อาจจะเกิดขึ้นกับธุรกิจประกันในประเทศไทย ทั้งนี้ เนื่องจากธุรกิจประกันภัยเป็นธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคลจำนวนมากของลูกค้าไม่ว่าจะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลทั่วไป เช่น ชื่อ นามสกุลอายุ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ หรือข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) เช่น ข้อมูลสุขภาพ ข้อมูลทางการแพทย์ ข้อมูลการนับถือศาสนา ข้อมูลพฤติกรรมทางเพศ โดยเมื่อพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูล พ.ศ. 2562 มีผลบังคับใช้แล้วจะส่งผลให้ โดยหลักแล้ว การที่บริษัทประกันภัยจะดำเนินการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลกล่าวคือ การเก็บรวบรวม การใช้ หรือการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) ของลูกค้านั้นจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกค้าผู้เป็นเจ้าของข้อมูลก่อนทุกครั้งซึ่งในทางปฏิบัติของการดำเนินธุรกิจประกันในทุกขั้นตอนนั้นจะต้องมีการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าหรือผู้เอาประกันตั้งแต่ขั้นตอนแรกไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ก่อนการทำสัญญาประกันภัย ระหว่างอายุของสัญญาประกันภัย หรือแม้กระทั่งภายหลังจากสัญญา ประกันภัยสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม ยิ่งไปกว่านั้นภายหลังจากการให้ความยินยอมแล้ว เจ้าของข้อมูลยังมีสิทธิที่จะถอน การให้ความยินยอมได้ โดยเมื่อเจ้าของข้อมูลได้ถอนความยินยอมแล้วบริษัทประกันจะไม่สามารถประมวลผล ข้อมูลส่วนบุคคลต่อไปได้ซึ่งเมื่อเป็นเช่นนี้บริษัทประกันอาจจะได้รับผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ของ ธุรกิจประกันภัยตามสัญญาประกันภัยได้ ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี้จึงมุ่งศึกษาถึงผลกระทบจากการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ที่มีอาจจะมีต่อธุรกิจประกัน เพื่อที่จะวิเคราะห์และเสนอฐานทางกฎหมาย (lawful basis) ในการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว (Sensitive Data) รวมถึงเสนอแนวทางในการขอความยินยอม เพื่อเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบคคลที่มีความอ่อนไหวจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอีกด้วย


ปัญหาการตีความการจัดเก็บภาษีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในประเทศไทย, จินตนา แทนวันดี Jan 2019

ปัญหาการตีความการจัดเก็บภาษีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในประเทศไทย, จินตนา แทนวันดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประกอบธุรกิจในรูปแบบของนิติบุคคลประเภทบริษัทจ้ากัดหรือบริษัทมหาชนจ้ากัด จำต้องอาศัยแหล่งเงินทุนเพื่อนำไปประกอบธุรกิจอย่างยั่งยืน ที่ผ่านมามีบริษัทในประเทศไทยจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ ส่งผลให้เกิดภาวะการขาดทุนสะสมภายในบริษัทต่อเนื่องกันมา แม้ว่ากรมสรรพากรจะมีมาตรการในการช่วยเหลือบริษัทที่ยังคงมีผลขาดทุนสะสม ดังนั้น หลายบริษัทในประเทศไทยที่ยังคงมีผลขาดทุนสะสมอย่างต่อเนื่อง และไม่สามารถที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในประเทศไทยหรือในต่างประเทศได้ การจัดหาแหล่งเงินทุนภายนอก (External Source of fund) ประเภทการออกจ้าหน่ายหุ้นสามัญ (Common Stock) หรือการออกจำหน่ายหุ้นบุริมสิทธิ (Preferred Stock) จึงได้รับความสนใจและเป็นที่นิยมในเวลาต่อมา เดิมการออกหุ้นโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสามารถกระท้าได้หากเป็นไปตามข้อบังคับและหนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทตามที่มาตรา 1105 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์กำหนดไว้ และไม่ได้มีกฎหมายอื่นใดกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าจะต้องกำหนดส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในอัตราส่วนเท่าใด นอกจากนั้นหากได้รับช้าระค่าหุ้นพร้อมทั้งส่วนล้ำมูลค่าหุ้นตามมาตรา 1202 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ รวมถึงมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 35 เรื่องการนำเสนองบการเงิน ให้ถือว่า ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นส่วนของเจ้าของ (Equity) ที่ไม่ต้องน้ามาค้านวนเพื่อเสียภาษีเงินได้ และไม่ใช่รายรับที่ต้องน้าไปค้านวนเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่มรวมถึงมีข้อหารือกรมสรรพากรให้ความเห็นสนับสนุนหลักการดังกล่าวเรื่อยมา ต่อมาในปี 2559 ได้มีค้าพิพากษาศาลฎีกาหมายเลขคดี 2050/2559 ระหว่างบริษัทเอ็นอีซี (ประเทศไทย) จ้ากัด (โจทก์) และ กรมสรรพากร (จ้าเลย) ได้มีแนวคำวินิจฉัยตัดสินให้ส่วนล้ำมูลค่าหุ้นในกรณีดังกล่าว ถือเป็นเงินให้เปล่าหรือเงินช่วยเหลือ ซึ่งถือเป็นรายได้ที่ต้องน้าไปรวมค้านวนเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร และต่อมาจึงได้มีแนวค้าวินิจฉัยของกรมสรรพากรเดินตามแนววินิจฉัยของศาลฎีกาแผนกคดีภาษีอากรดังกล่าว ดังนั้น เอกัตศึกษาฉบับนี จึงมุ่งศึกษาถึงแนวความคิดและความแตกต่างระหว่างการตีความของกรมสรรพากรเดิมกับแนวค้าพิพากษาของศาลฎีกา ซึ่งพบว่าส่วนล้ำมูลค่าหุ้นเป็นส่วนหนึ่งของส่วนทุนของบริษัทและในการจัดหาแหล่งเงินทุนที่ถูกต้อง บริษัทต่าง ๆ สามารถที่จะดำเนินการออกหุ้นเพิ่มทุนโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นได้ แต่ทั้งนี้ หากบริษัทได้ดำเนินการออกหุ้นโดยมีส่วนล้ำมูลค่าหุ้นสูงเกินและมิได้แสดงให้เห็นถึงกิจการของบริษัท อย่างถูกต้องแล้วนั้น ในบางกรณีย่อมเห็นได้ชัดว่าเป็นการหลีกภาษี หรือการเลี่ยงภาษีอย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งนี้ ปัจจุบันประเทศไทยยังคงขาดความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว จึงควรมีการเพิ่มเติมความหมาย พร้อมทั้งกำหนดรูปแบบการจัดเก็บภาษีไว้ในประมวลรัษฎากร เพื่อความชัดเจนและส่งผลให้ข้อขัดแย้งในการตีความที่จะเป็นข้อพิพาทขึ้นสู่ศาลลดน้อยลง


แนวทางการปรับปรุงมาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทย, จักรินทร์ ภาณุวงศ์ Jan 2019

แนวทางการปรับปรุงมาตรการภาษี เพื่อส่งเสริมการศึกษาในประเทศไทย, จักรินทร์ ภาณุวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระแสของโลกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลากหลายมิติ เกิดโอกาส ปัจจัยเสี่ยงภัยและโรคภัยคุกคามที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ยกตัวอย่างได้ว่าในขณะที่ผู้ทําวิจัยเล่มนี้นั้นเกือบทั้งโลกรวมทั้งประเทศไทยได้ประสบกับการแพร่ระบาด (pandemic) อย่างรุนแรงของไวรัสโคโรน่า (Coronavirus disease) หรือมีชื่อย่อว่า โควิด-19 (COVID-19)ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อการบริหารจัดการทรัพยากรรวมถึงเสรีภาพ การปรับวิถีชีวิตของประชาชนเพื่อให้ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจทั้งสังคมแบบทั่วไป และสังคมออนไลน์รวมถึงระบบการศึกษา ประเทศไทยมียุทธศาสตร์ชาติฉบับแรกเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558 ซึ่งได้ระบุถึงวิสัยทัศน์ของประเทศไทยที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” เพื่อที่นําประเทศเข้าสูประเทศที่พัฒนา อย่างไรก็ตามปัญหาด้านการศึกษาที่ผ่านมามีความซับซ้อน โดยเฉพาะในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมา จึงทําให้ความเสี่ยงของการศึกษาไม่ได้มีแต่มีอยู่ในแต่ห้องเรียน แต่หมายถึงอาจจะไม่มีประชาชนที่มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุนทางปัญญาถดถอย ส่งผลให้ไม่มีความมั่นคงในระดับตนเองและครอบครัวซึ่งตรงข้ามกับคติพจน์ประจําชาติว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” อย่างสิ้นเชิง เอกัตศึกษาเล่มนี้มุ่งศึกษามาตรการภาษีด้านการส่งเสริมการศึกษาทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยเปรียบเทียกับมาตรการภาษีของต่างประเทศซึ่งจากการศึกษาพบว่า ภาครัฐยังไม่ได้ใช้มาตรการด้านภาษีในการสนับสนุนด้านการศึกษาอย่างเหมาะสม จึงสมควรที่ภาครัฐจะต้องกําหนดหลักเกณฑ์และมีการบัญญัติกฎหมายในด้านการส่งเสริมการศึกษาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามกรอบยุทธศาสตร์และเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและความเสมอภาคทางภาษี


การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ศึกษากรณี : คำร้องขอหรือคำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากรัฐ, กิตติพงศ์ หาริเทศ Jan 2019

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ศึกษากรณี : คำร้องขอหรือคำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากรัฐ, กิตติพงศ์ หาริเทศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เอกัตศึกษาเล่มนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาถึงการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในธุรกิจสถาบันการเงิน ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐมีคำร้องหรือคำสั่งขอเข้าถึงขอข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งกำลังประสบปัญหาอยู่ในหลาย ประการ ตลอดจนศึกษาถึงแนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการเปิดเผยข้อมูลตามคำร้องขอหรือ คำสั่งขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลจากหน่วยงานของรัฐ เพื่อนำมาวิเคราะห์และนำเสนอถึงมาตรการทางกฎหมาย ที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยต่อไป จากการศึกษาระบุให้เห็นอย่างเป็นที่ประจักษ์ว่า การที่หน่วยงานของรัฐมีคำสั่งหรือคำร้องขอเข้าถึง ข้อมูลส่วนบุคคลจากธุรกิจสถาบันการเงินนั้น ยังมีความไม่ถูกต้องชัดเจนในการใช้อำนาจ ส่งผลให้สถาบัน การเงินไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งแม้ในปัจจุบันประเทศไทยจะมี มาตรการทางกฎหมายหรือแนวทางปฏิบัติของสถาบันการเงินที่อาจปรับใช้กับปัญหาดังกล่าวได้อยู่บ้างก็ตาม แต่ก็ยังไม่ครอบคลุมถึงกรณีปัญหาต่างๆได้อย่างเพียงพอ ฉะนั้น หากประเทศไทยได้มีการกำหนดมาตรการทาง กฎหมายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกรณีดังกล่าวแล้ว ย่อมจะส่งผลให้ปัญหาการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ให้กับหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจกฎหมายถูกแก้ไขและเกิดความชัดเจนมากขึ้น


ประมวลศัพท์เรื่องกฎหมายการแข่งขันทางการค้า, กาญจนาภรณ์ พ่วงสุวรรณ Jan 2019

ประมวลศัพท์เรื่องกฎหมายการแข่งขันทางการค้า, กาญจนาภรณ์ พ่วงสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอประมวลศัพท์เรื่องกฎหมายการแข่งขันทางการค้า ประกอบด้วยคำศัพท์ในส่วนที่เป็นลักษณะทั่วไป หลักเกณฑ์การพิจารณาการกำหนดตลาด ผู้ที่มีส่วนในตลาด โครงสร้างตลาด และพฤติกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันทางการค้า โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้เป็นแหล่งอ้างอิงและแหล่งที่รวบรวมความรู้ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจหรือบุคคลทั่วไปที่สนใจศึกษากฎหมายฉบับนี้ ในการจัดทำประมวลศัพท์ฉบับนี้ ได้ศึกษาและนำทฤษฎีและแนวทางการจัดทำประมวลศัพท์ของนักศัพทวิทยาและสำนักต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ โดยแบ่งเป็น 5 ขั้นตอนที่สำคัญ ดังนี้ 1) การกำหนดหัวข้อ ขอบเขตการศึกษา แลวัตถุประสงค์ในการจัดทำประมวลศัพท์ 2) การศึกษาทฤษฎีและระเบียบวิธีในการจัดทำประมวลศัพท์ 3) การรวบรวมข้อมูลเพื่อจัดทำคลังข้อมูลภาษา และการดึงคำศัพท์เฉพาะทาง 4) การสร้างมโนทัศน์สัมพันธ์ 5) การจัดทำบันทึกข้อมูลศัพท์เบื้องต้นและบันทึกข้อมูลศัพท์เพื่อกำหนดนิยามและคำศัพท์เทียบเคียงในภาษาไทย ประมวลศัพท์เรื่องกฎหมายการแข่งทางการค้านี้ประกอบด้วยคำศัพท์ทั้งหมด 36 คำ ซึ่งนำเสนอตามการจัดกลุ่มและลำดับของมโนทัศน์สัมพันธ์ การนำเสนอคำศัพท์แต่ละคำนั้น ประกอบด้วยคำศัพท์ภาษาอังกฤษ คำศัพท์เทียบเคียงในภาษาไทย คำนิยาม ประเภททางไวยากรณ์ หมวดหมู่ บริบทอ้างอิงที่พบคำศัพท์ รูปทางภาษาอื่นของคำศัพท์ ความสัมพันธ์กับคำศัพท์อื่น เป็นต้น


บทบาทของกองทัพอากาศไทยในปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงครามศึกษากรณีการปฏิบัติการดับไฟป่า, ณัฐพล นิสยันต์ Jan 2019

บทบาทของกองทัพอากาศไทยในปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงครามศึกษากรณีการปฏิบัติการดับไฟป่า, ณัฐพล นิสยันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาบทบาทของกองทัพอากาศไทยในการปฏิบัติการทางทหารนอกเหนือจากสงคราม เนื่องจากในสถานการณ์โลกปัจจุบันได้มีภัยคุกคามในรูปแบบใหม่มากขึ้นและกองทัพอากาศไทยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และกองทัพอากาศไทยเป็นหน่วยงานที่มีกำลังบุคคลและอุปกรณ์ในการช่วยเหลือจึงต้องปรับบทบาทขององค์กรเพื่อให้ดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะศึกษามุ่งเน้นไปยังกรณีการดับไฟป่า การศึกษาพบว่ากองทัพอากาศได้มีบทบาทในการดับไฟป่าอย่างมาก เนื่องจากการดับไฟป่าต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างรวดเร็ว เพราะไฟป่าสามารถลุกลามสร้างความเสียหายทำลายพื้นที่ทั้งป่าและบ้านเรือนของประชาชนได้ในเวลาอันรวดเร็ว ยิ่งไปกว่านั้นไฟป่ายังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต ซึ่งกองทัพอากาศในภาวะปกติต้องมีการฝึกซ้อมเพื่อพัฒนาความสามารถ ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ให้สามารถบริหารจัดการวิกฤตการณ์และภัยพิบัติได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ การศึกษายังได้ข้อสรุปเพิ่มเติมว่าปัจจุบันอุปกรณ์เครื่องมือในการดับไฟป่าได้มีวิวัฒนาการที่ทันสมัย และสามารถใช้เพื่อปฏิบัติการดับไฟป่าได้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งหากกองทัพอากาศไทยนำอุปกรณ์เครื่องมือเหล่านี้มาใช้ก็จะทำให้สามารถดำเนินการดับไฟป่าได้เร็วยิ่งขึ้น


นโยบาย "3 ไม่" ของเวียดนามกับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2010-2019, ชภาภัทร โสตถิอนันต์ Jan 2019

นโยบาย "3 ไม่" ของเวียดนามกับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2010-2019, ชภาภัทร โสตถิอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การมีภัยคุกคามและผลประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ร่วมกันในทะเลจีนใต้ของเวียดนามกับสหรัฐอเมริกาเป็นปัจจัยขับเคลื่อนในความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงของทั้งสองประเทศอย่างต่อเนื่อง แต่เวียดนามยืนยันไม่เป็นพันธมิตรทางการทหารกับสหรัฐฯ เพื่อร่วมกันต่อต้านจีนโดยยึดนโยบาย “3 ไม่”กล่าวคือ ไม่เป็นพันธมิตรทางทหาร ไม่ให้ตั้งฐานทัพต่างชาติในประเทศ และไม่ร่วมมือกับรัฐหนึ่งเพื่อต่อต้านรัฐอื่น นโยบาย 3 ไม่จึงเป็นเครื่องมือในการรักษาความสัมพันธ์กับจีนควบคู่ไปกับพัฒนาความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐฯ สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษานโยบาย “3 ไม่” ของเวียดนามกับความสัมพันธ์ด้านความมั่นคงกับสหรัฐอเมริการะหว่างปี 2010-2019 โดยประยุกต์ใช้แนวคิดเรื่องพันธมิตรทางทหารของเคนเน็ต วอลท์เพื่อเสนอว่าการใช้นโยบาย “3 ไม่” ทำให้เวียดนามยังรักษาความสัมพันธ์ในฐานะเพื่อนบ้านที่ดีกับจีนไว้ได้ พร้อม ๆ กับอนุญาตให้เวียดนามสามารถเข้าใกล้สหรัฐฯ ได้มากขึ้นด้วย และยังเป็นนโยบายที่เวียดนามใช้เพื่อป้องกันตนเองจากแรงกดดันและแสวงหาผลประโยชน์จากความสัมพันธ์กับสองมหาอำนาจ ทั้งนี้ แม้เวียดนามมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับสหรัฐฯ มากขึ้น แต่เวียดนามหลีกเลี่ยงคำและการกระทำที่เข้าข่ายการเป็นพันธมิตรทางทหาร โดยในการสร้างข้อตกลงทางการทหารอย่างไม่เป็นทางการกับสหรัฐฯ เวียดนามพยายามจำกัดให้อยู่ภายในขอบเขตของนิยามความเป็นหุ้นส่วน เพื่อยืนยันว่าตนยังคงยึดมั่นนโยบาย “3 ไม่” อย่างมั่นคง


การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผ่านกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง (Lmc), ปภาพรรณ หารบุรุษ Jan 2019

การขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ผ่านกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง (Lmc), ปภาพรรณ หารบุรุษ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้ มุ่งศึกษานโยบายต่างประเทศของจีนที่มีต่ออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยเฉพาะภายใต้การดำเนินงานของกรอบความร่วมมือล้านช้าง - แม่โขง (Lancang - Mekong Cooperation: LMC) ระหว่างปี ค.ศ. 2016 ถึง 2020 เพื่อวิเคราะห์แรงจูงใจที่ทำให้จีนต้องการจัดตั้งกรอบความร่วมมือดังกล่าว โดยผู้วิจัยใช้กรอบแนวคิดการเปลี่ยนผ่านของอำนาจ (Power transition theory) ของ A.F.K. Organski และ Jacek Kugler เป็นแนวทางในการวิเคราะห์ การศึกษาครั้งนี้พบว่า แรงจูงใจสำคัญที่ทำให้จีนจัดตั้งกรอบความร่วมมือล้านช้าง – แม่โขง มี 3 ประการ ได้แก่ (1) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการบริหารจัดการผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงได้อย่างเต็มที่ (2) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการช่วงชิงบทบาทนำในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงจากมหาอำนาจนอกภูมิภาค และ (3) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมอำนาจทางเศรษฐกิจของตนให้แข็งแกร่งขึ้น โดยในท้ายที่สุด กรอบความร่วมมือนี้จะช่วยสนับสนุนให้จีนสามารถก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจ (Dominant power) ที่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกได้อย่างเต็มภาคภูมิ


การปรับแนวทางความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยรัฐบาลชินโซ อาเบะ, อุมาพร เกตุสุวรรณ์ Jan 2019

การปรับแนวทางความช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยรัฐบาลชินโซ อาเบะ, อุมาพร เกตุสุวรรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความสัมพันธ์ของการปรับแนวทางการให้ความช่วยเหลืออย่างเป็นทางการ (ODA) ของญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ.2015 กับการดำเนินยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นในยุครัฐบาลชินโซ อาเบะต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ด้วยกรอบแนวคิดการถ่วงอำนาจแบบใช้ไม้อ่อน (soft balancing) เนื่องจากญี่ปุ่นใช้ ODA เป็นเครื่องมือดำเนินยุทธศาสตร์ต่างประเทศมาตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเฉพาะอย่างยิ่งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เป็นพื้นที่เป้าหมายหลักของ ODA ญี่ปุ่นและมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ความมั่นคงและเศรษฐกิจต่อญี่ปุ่น โดยการปรับแนวทาง ODA ของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการปรับเป้าหมายและแนวทางการดำเนินยุทธศาสตร์ของญี่ปุ่นต่อภูมิภาคในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งผลการศึกษาพบว่า รัฐบาลอาเบะใช้ ODA เป็นเครื่องมือสกัดกั้นการขยายอิทธิพลของจีนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเสริมสร้างความเป็นแกนกลางของอาเซียน (ASEAN Centrality) และศักยภาพด้านการพัฒนาของประเทศในภูมิภาคด้วยการให้ ODA เพื่อให้อาเซียนและประเทศสมาชิกลดการพึ่งพาจีนและรักษาระเบียบของภูมิภาคที่เอื้อต่อผลประโยชน์ของญี่ปุ่น เนื่องจากการผงาดขึ้นมาของจีน โดยเฉพาะการขยายอิทธิพลทางทะเลและยุทธศาสตร์ Belt and Road เป็นประเด็นท้าทายต่อการดำเนินยุทธศาสตร์และอิทธิพลของญี่ปุ่นในภูมิภาค


พฤติกรรมผู้บริโภคและคุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลวอทช์, ปรัชธินีย์ ชนะโอภาส Jan 2019

พฤติกรรมผู้บริโภคและคุณค่าตราสินค้าของแอปเปิ้ลวอทช์, ปรัชธินีย์ ชนะโอภาส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้า Apple Watch ซึ่งได้แก่ การรับรู้ของผู้บริโภค ทัศนคติของผู้บริโภค พฤติกรรมการซื้อสินค้า และความพึงพอใจของผู้บริโภค และ 2) คุณค่าตราสินค้า Apple ของผู้บริโภค อันประกอบด้วย การตระหนักรู้ในตราสินค้า การเชื่อมโยงตราสินค้า คุณภาพของตราสินค้าที่ถูกรับรู้ และความภักดีต่อตราสินค้า โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 25-35 ปี จำนวน 211 คน ที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร รวมถึงเป็นผู้ซื้อและใช้สินค้า Apple Watch มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 เดือน ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีพฤติกรรมต่อ Apple Watch และคุณค่าตราสินค้าต่อ Apple ทั้ง 4 ตัวแปรย่อยในเชิงบวกทุกตัวแปรย่อยที่วัด นอกจากนั้น พฤติกรรมผู้บริโภคต่อสินค้า Apple Watch ทั้ง 4 ตัวแปรย่อย มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคุณค่าตราสินค้า Apple อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และภาพลักษณ์กองทัพเรือ ของผู้ใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ, นงลักษณ์ จิตต์อารีย์ Jan 2019

การเปิดรับข่าวสาร ความรู้ และภาพลักษณ์กองทัพเรือ ของผู้ใช้เฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ, นงลักษณ์ จิตต์อารีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ด้วยการใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ (Survey research) โดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และทำการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างเฉพาะผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ จำนวน 200 คน ช่วงเวลาที่เก็บแบบสอบถามคือเดือนมิถุนายน 2563 และประมวลผลข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ผลการวิจัย มีดังนี้ 1) ผู้ติดตามเฟซบุ๊กแฟนเพจกองประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกองทัพเรือ รู้จักเฟซบุ๊กแฟนเพจจากที่เพื่อนแบ่งปัน (Share) ข้อมูลในช่องทางออนไลน์ อาทิ เว็บไซต์ เฟซบุ๊ก ไลน์ เป็นต้น 2) ค่าเฉลี่ยการเปิดรับข่าวสารโดยรวมอยู่ในระดับน้อย 3) ความถี่ในการเห็นโพสต์จากหน้า New Feed 1 - 2 ครั้งต่อสัปดาห์ 4) ความถี่ในการเข้าชมแฟนเพจ 1 - 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ 5) ค่าเฉลี่ยระยะเวลาในการเข้าชมแฟนเพจแต่ละครั้งน้อยกว่า 15 นาที 6) มีความสนใจในเนื้อหาของเพจเรื่องการชี้แจงเหตุการณ์ที่สังคมกำลังให้ความสนใจเกี่ยวกับกองทัพเรือมากที่สุด 7) มีความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรืออยู่ในระดับสูง 8) มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์กองทัพเรือในเชิงบวกอยู่ในระดับมากที่สุด 9) มีความคิดเห็นต่อภาพลักษณ์กองทัพเรือในเชิงบวกด้านการดำเนินงานของกองทัพเรือมากที่สุด 10) การเปิดรับข่าวสาร ไม่มีความสัมพันธ์กับ ความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรือ 11) การเปิดรับข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์กองทัพเรือ 12) ความรู้เกี่ยวกับกองทัพเรือ มีความสัมพันธ์กับ ความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพลักษณ์กองทัพเรือ


พฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่านยูทูบ, ณัฐนรี ทินนโชติ Jan 2019

พฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่านยูทูบ, ณัฐนรี ทินนโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมผู้ปกครองต่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยผ่าน YouTube รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติและพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการรับชม YouTube ของเด็ก โดยเก็บข้อมูลกับผู้ปกครอง อายุระหว่าง 26 ถึง 56 ปี และมีบุตรหลานที่กำลังศึกษาในชั้นอนุบาลปีที่ 1 ถึง 3 จำนวน 217 คน ผลการวิจัยพบว่า โดยรวมผู้ปกครองมีทัศนคติเชิงบวกต่อการรับชม YouTube ของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทัศนคติด้านการรับชม YouTube ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ พัฒนาการด้านภาษา และพัฒนาการจากความรู้ต่างประเทศ และผู้ปกครองส่วนใหญ่มีพฤติกรรมเชิงบวกต่อการรับชม YouTube โดยเน้นไปที่ด้านการให้ความรู้กับเด็กเกี่ยวกับสื่อ นอกจากนี้ยังพบว่า ทัศนคติรวมและพฤติกรรมของผู้ปกครองต่อการรับชม YouTube ของเด็กมีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ (Cuss : Common Use Self Service) ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ณัฐสิทธิ์ สุทธิสมบูรณ์ Jan 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ (Cuss : Common Use Self Service) ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, ณัฐสิทธิ์ สุทธิสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ปัจจัยทางด้านประชากรศาสตร์ ปัจจัยการรับรู้ความเสี่ยง และปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติ ของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้โดยสารชาวไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จำนวน 100 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาจากการสุ่มแบบโควตา และแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างที่เคยใช้เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ 50 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยใช้เครื่องเช็คอินอัตโนมัติ 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล 1) สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ค่าจำนวน ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย 2) สถิติเชิงอนุมาน ประกอบด้วย การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระจากกัน (Independent Sample t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 25 – 30 ปี สถานภาพโสด มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพพนักงานบริษัทเอกชน มีรายได้ต่อเดือน 20,001 – 30,000 บาท และส่วนใหญ่นิยมเช็คอินที่เคาน์เตอร์เช็คอินของสายการบิน ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าปัจจัยประชากรศาสตร์ ด้านอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ที่แตกต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.10 และปัจจัยด้านการรับรู้ความเสี่ยงไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยด้านการยอมรับการใช้เทคโนโลยีส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการเครื่องเช็คอินอัตโนมัติของผู้โดยสารคนไทยที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.10


พฤติกรรมและทัศนคติต่อการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) และต่อระบบภาษี ของผู้ประกอบอาชีพในเศรษฐกิจนอกระบบ กรณีศึกษา ผู้ประกอบการออนไลน์, ชญานิน แก้วหาญ Jan 2019

พฤติกรรมและทัศนคติต่อการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Payment) และต่อระบบภาษี ของผู้ประกอบอาชีพในเศรษฐกิจนอกระบบ กรณีศึกษา ผู้ประกอบการออนไลน์, ชญานิน แก้วหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและทัศนคติต่อ (1) การใช้งานระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) (2) การชำระภาษี ของผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในเศรษฐกิจนอกภาคทางการ และ (3) เพื่อศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างทั้งสองส่วนข้างต้น โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ประกอบการออนไลน์ที่อยู่ในเศรษฐกิจนอกระบบ จำนวน 10 ราย เก็บข้อมูลผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยจำแนกเนื้อหาในการเก็บข้อมูลตามคำถามในการวิจัยและทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้แนวคิดทฤษฎีตามกรอบแนวคิดมาเชื่อมโยงความสัมพันธ์เพื่อตอบคำถามของงานวิจัยดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่มีพฤติกรรมและทัศนคติต่อการใช้งาน e-Payment ที่เป็นไปตามความยอมรับและตั้งใจใช้งานเทคโนโลยี จากการเห็นประโยชน์ คุณค่า มีความคุ้นชินในการใช้งาน รวมถึงความมีอิทธิพลของสังคมที่ส่งผลให้ผู้ประกอบการใช้งาน ในส่วนของผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการใช้งาน พบว่าเกิดจากความไม่รู้เทคโนโลยีและวิธีการใช้งาน (2) ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ในการยื่นแสดงรายได้จากกิจการออนไลน์ เนื่องด้วยรายได้ยังไม่เข้าข่ายที่จะต้องชำระภาษี และความไม่เชื่อมั่นถึงประโยชน์จากการนำเงินภาษีไปใช้ ส่วนรายที่มีประสบการณ์ในการแจ้งยื่นรายได้เนื่องด้วยเหตุผลที่ต้องการทำตามกฎหมายให้ถูกต้องและเกรงกลัวต่อโทษปรับ (3) ผู้ประกอบการที่มีแนวโน้มจะเข้าสู่ระบบภาษี เป็นผู้ประกอบการที่กิจการเติบโตในระดับหนึ่ง มีรายได้ที่เข้าข่ายจะต้องชำระภาษี และต้องการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับกิจการ กลุ่มนี้มีพฤติกรรมและทัศนติต่อการใช้งาน e-Payment ที่ดีและพร้อมเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีหรือใช้ e-Payment ที่อาจเชื่อมโยงไปสู่การชำระภาษี (4) ผู้ประกอบการที่ยังไม่มีแนวโน้มจะเข้าสู่ระบบ แม้ว่าจะมีพฤติกรรมเชิงบวกต่อการใช้ e-Payment แต่ด้วยเหตุผลที่รายได้ยังไม่เข้าข่ายต้องเสียภาษี จึงไม่มีความพร้อมใช้เทคโนโลยีหรือใช้ระบบ e-Payment ที่อาจเชื่อมโยงไปสู่การชำระภาษี เนื่องจากมองว่าเป็นภาระต้นทุนเพิ่มในการศึกษาและการใช้งาน


ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562, ปัฐญา วีระไวทยะ Jan 2019

ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562, ปัฐญา วีระไวทยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง “ประสิทธิผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ในช่วงปี พ.ศ. 2557 - 2562” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษานโยบายของรัฐบาล การนำนโยบายไปปฏิบัติ รวมถึงประสิทธิผลผ่านการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ เนื่องจากรัฐบาลมีเป้าหมายที่จะผลักดันนโยบายต่าง ๆ ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ และได้กำหนดแนวนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดินตามคำแถลงนโยบายที่แถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยการลงพื้นที่ตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่เป็นวิธีหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ผลการศึกษาพบว่า ในการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ตลอดรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา (กันยายน พ.ศ. 2557 - พฤษภาคม พ.ศ. 2562) รัฐบาลให้ความสำคัญกับการเพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศมากที่สุด เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเน้นด้านการเกษตรและพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นหลัก นอกจากนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับการรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากร และการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์กับการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และการศึกษาและเรียนรู้ การทะนุบำรุงศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม ตามลำดับ โดยมีจังหวัดเป็นผู้ขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญในระดับพื้นที่ เพราะมีความเข้าใจในบริบทของสภาพแวดล้อม ใกล้ชิดและรับรู้ความต้องการของประชาชน ตลอดจนสิ่งที่จังหวัดต้องการขับเคลื่อนนโยบายหรือพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการนำนโยบายไปปฏิบัติเริ่มต้นจากการที่นายกรัฐมนตรีมีข้อสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและจังหวัดนำนโยบายหรือข้อสั่งการไปปฏิบัติ โดยเน้นการดำเนินงานแบบบูรณาการร่วมกัน อย่างไรก็ตาม เมื่อนำนโยบายมาปฏิบัติจริงในพื้นที่พบว่า จังหวัดอาจมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ บุคลากร และการดำเนินงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน สำหรับประสิทธิผลของการตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่พบว่า บางข้อสั่งการสามารถนำไปปฏิบัติจนเป็นรูปธรรม อยู่ระหว่างการดำเนินงาน และบางข้อสั่งการมีข้อจำกัดจึงไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร นอกจากนี้ การสั่งการของนายกรัฐมนตรีจะต้องพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในการนำนโยบายไปปฏิบัติในพื้นที่ เนื่องจากแต่ละจังหวัดมีบริบทและสภาพสังคมแตกต่างกัน รวมทั้งรัฐบาลต้องเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาพื้นที่ และรัฐบาลควรเพิ่มการติดตามผลการนำข้อสั่งการไปปฏิบัติ เพื่อให้การตรวจราชการและการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่มีประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมมากที่สุด


การปรับตัวด้านการสื่อสารในองค์กรเพื่อการทำงานร่วมกันในสถานการณ์ที่ต้องปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์, พิมพ์ชนก ใบชิต Jan 2019

การปรับตัวด้านการสื่อสารในองค์กรเพื่อการทำงานร่วมกันในสถานการณ์ที่ต้องปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์, พิมพ์ชนก ใบชิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการปรับตัวด้านการสื่อสารในองค์กรเพื่อการทำงานร่วมกันของบุคลากรระหว่างช่วงวัยต่างๆ ในการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย (Work From Home) กรณีศึกษา กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ และ (2) สังเคราะห์เป็นข้อเสนอแนะและมาตรการสำหรับใช้เป็นแนวทางในการส่งเสริมการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย (Work From Home) รวมทั้งเพื่อใช้เป็นแนวทางสำหรับการเตรียมความพร้อมหรือการรับมือกับสถานการณ์ไม่ปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต กลุ่มผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วยบุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ตั้งแต่ระดับผู้ปฏิบัติงานไปจนถึงผู้อำนวยการกลุ่ม จำนวน 18 ราย โดยจำแนกผู้ให้ข้อมูลออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มแรก บุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ช่วงวัย 25-34 ปี จำนวน 6 ราย กลุ่มที่สอง บุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ช่วงวัย 35-44 ปี จำนวน 6 ราย และกลุ่มที่สามบุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ช่วงวัย 55-60 ปี จำนวน 6 ราย ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้างโดยการสัมภาษณ์แบบรายบุคคลผ่านทางโทรศัพท์และใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) โดยจำแนกตามคำถามวิจัย และวิเคราะห์ตีความข้อมูลโดยใช้แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมาประกอบและเชื่อมโยงความสัมพันธ์ในแต่ละส่วน ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ทั้ง 3 ช่วงวัย มีการปรับตัวด้านการสื่อสารในสถานการณ์ที่ต้องปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย โดยมีผลสัมฤทธิ์ของการทำงานเป็นจุดมุ่งหมายในการปรับตัว กล่าวคือในการปฏิบัติงานช่วงสถานการณ์ดังกล่าวต้องสำเร็จตามตัวชี้วัดที่วางไว้ และในการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัยไม่สามารถปฏิบัติได้ในทุกลักษณะงานของกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ถึงอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบหลักรวมถึงรายละเอียดของงานในแต่ละลักษณะงานว่าลักษณะงานแบบใดที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานจากที่พักอาศัย อีกทั้งการสื่อสารช่วงสถานการณ์ที่ต้องปฏิบัติงานจากที่พักอาศัยมีการใช้รูปแบบการสื่อสารเหมือนการทำงานในสถานการณ์ปกติ แต่จะมีการผ่อนปรนรูปแบบการสื่อสารลงโดยไม่ต้องเป็นทางการอย่างเต็มรูปแบบ มีการลดลำดับการสื่อสารให้น้อยลง โดยเน้นความคล่องตัวมากขึ้น โดยบุคลากรช่วงวัย 45-60 ปี บางส่วนจะสามารถปรับตัวในการใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารผ่านโปรแกรม Virtual Meeting ได้ โดยบุคลากรที่สามารถปรับตัวในการนำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารมาใช้ในการทำงานได้ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบหลักเกี่ยวกับงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค, สุทธิภา เฉลิมพักตร์ Jan 2019

ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบ Real Time โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 : กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค, สุทธิภา เฉลิมพักตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง ระดับความพึงพอใจต่อการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และแนวทางบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 กรณีศึกษา ศูนย์สารสนเทศ กรมควบคุมโรค เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยเชิงปริมาณโดยศึกษาระดับความพึงพอใจด้านรูปแบบเนื้อหาการรายงานข่าวสาร ด้านการบริหารจัดการข้อมูลข่าวสาร และด้านนำมาใช้ประโยชน์ของประชาชน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยศึกษาหลักการแนวทางบริหารจัดการภาครัฐและปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับแนวทางบริหารจัดการข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคไวรัสโคโรนา 2019 ผลการศึกษาเชิงปริมาณพบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจด้านรูปแบบเนื้อหาการรายงานข่าวสาร ด้านการบริหารจัดการ ด้านการใช้ประโยชน์จากการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยประชาชนพึงพอใจในการนำเสนอข้อมูลแบบเรียลไทม์ทำให้สังคมไทยมีความตื่นตัวและตระหนักในการป้องกันโรคอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนแนวทางการบริหารจัดการภาครัฐด้านการรายงานข่าวสารแบบเรียลไทม์โรคไวรัสโคโรนา 2019 มีแนวทางการบริหารงานที่เป็นไปตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 และพระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล 2562 เน้นความถูกต้อง โปร่งใส โดยมีหลักในการดำเนินงานในด้านข้อมูลข่าวสารคือกระบวนการจัดระบบข้อมูลข่าวสาร และการบริการข้อมูลข่าวสารในรูปแบบทันสมัย หลากหลายช่องทาง ทันสถานการณ์ในปัจจุบัน และสามารถรองรับการพัฒนาในยุคโลกาภิวัตน์