Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Plant Sciences

PDF

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

Articles 1 - 13 of 13

Full-Text Articles in Entire DC Network

Inhibitory Effects Of Propiconazole On Rice Root Development And Abilities Of Brassinosteroid And Auxin In Alleviating Its Effects, Watcharapong Wimonchaijit Jan 2021

Inhibitory Effects Of Propiconazole On Rice Root Development And Abilities Of Brassinosteroid And Auxin In Alleviating Its Effects, Watcharapong Wimonchaijit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Propiconazole is commonly used as a fungicide to minimize crop loss caused by various fungal diseases in many crop plants, including rice. Propiconazole has the potentials to deteriorate the environmental problems due to its chemical properties that it is highly persistent in soil after application, suggesting that the constant use of propiconazole could be problematic. Hence, the evaluation of its effects on plant growth and development is necessary for the assessment of future use of propiconazole. Here, we demonstrated that propiconazole had inhibitory effects on plant growth. Treatments of propiconazole resulted in shoot dwarfism, abnormal leaf morphology, reduced plant biomass, …


Epiphytic Microbiota Of Kai Cladophora Sp. From Nan River, Nan Province, Thailand, Karnjana Ruen-Pham Jan 2021

Epiphytic Microbiota Of Kai Cladophora Sp. From Nan River, Nan Province, Thailand, Karnjana Ruen-Pham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cladophora is a cosmopolitan green algal genus in northern Thailand, commonly known as Kai or Sa Rai Kai, which the local people use for culinary and medicinal purposes. In nature, Cladophora acts as an ecological engineer in the ecosystem by creating, modifying, and maintaining the habitat by providing oxygen and microhabitats for several organisms, including prokaryotes and eukaryotes, namely epiphytic microbiota. These epiphytic microbiota living on the algal host's surface might exhibit crucial roles in the ecosystem. However, most understandings of the Cladophora microbiota were from the USA. Therefore, this study aims to investigate the Cladophora microbiota collected from Nan …


ผลของฤดูกาลต่อการเติบโตและประสิทธิภาพของการดูดซึมกลับของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของแสมขาว Avicennia Alba Blume ในป่าชายเลน ปากแม่น้ำตราด, ปิยะพล แก่นคง Jan 2020

ผลของฤดูกาลต่อการเติบโตและประสิทธิภาพของการดูดซึมกลับของไนโตรเจนและฟอสฟอรัสของแสมขาว Avicennia Alba Blume ในป่าชายเลน ปากแม่น้ำตราด, ปิยะพล แก่นคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ป่าชายเลนมีบทบาทสำคัญในการเป็นแหล่งสะสมคาร์บอนเนื่องจากเป็นระบบนิเวศที่มีผลผลิตขั้นปฐมภูมิสุทธิ (net primary production; NPP) สูง แม้ว่าต้นไม้ในป่าชายเลนจะเจริญอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดินมีความเค็มสูง อีกทั้งยังมีปริมาณออกซิเจนในดินค่อนข้างจำกัด เนื่องจากได้รับผลกระทบจากการขึ้นลงของน้ำทะเล ระดับน้ำทะเลทั่วโลกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ส่งผลทำให้ความเค็มและปริมาณสารอาหารในป่าชายเลนเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเติบโตของต้นไม้ป่าชายเลน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเติบโตด้านการขยายพื้นที่หน้าตัดลำต้น และการผลิและร่วงของใบ รวมถึงศึกษาการดูดซึมกลับของสารอาหารในใบของแสมขาว (Avicennia alba) ในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 ถึงมิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยมีพื้นที่ศึกษาอยู่ในป่าชายเลนรุ่นสองบริเวณปากแม่น้ำตราด ผลการศึกษาพบว่าการขยายพื้นที่หน้าตัดลำต้นและการผลิใบมีความผันแปรตามฤดูกาล โดยพบว่ามีอัตราที่สูงขึ้นในช่วงฤดูฝนจากนั้นจึงลดลงในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่มากในช่วงฤดูฝนส่งผลให้ความเค็มของน้ำลดลง อีกทั้งไนโตรเจนในน้ำยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จึงทำให้ A. alba ได้รับน้ำจืดและไนโตรเจนผ่านการดูดซึมของรากสำหรับการเติบโตมากขึ้น นอกจากนี้ยังพบว่าประสิทธิภาพการดูดซึมกลับของฟอสฟอรัส (phosphorus resorption efficiency; PRE) ในใบมีค่าสูงในช่วงฤดูฝน จึงทำให้มีสารอาหารสำหรับการเติบโตเพิ่มมากขึ้น และส่งผลให้มีการเติบโตทั้งในด้านการขยายพื้นที่หน้าตัดลำต้นและการผลิใบที่มากขึ้นในช่วงฤดูฝน แสดงให้เห็นว่า A. alba มีกลยุทธ์ในการปรับตัวเพื่อให้เติบโตอยู่ได้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่มีความผันแปรของความเค็มและสารอาหารตามฤดูกาล โดยมีอัตราการเติบโตสูงในช่วงที่ความเค็มลดลง อีกทั้งยังเพิ่มการหมุนเวียนสารอาหารจากใบกลับมาใช้ใหม่มากขึ้นเพื่อตอบสนองต่อการเติบโตที่สูงในช่วงฤดูฝน ซึ่งกลยุทธ์การเติบโตนี้เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ระบบนิเวศป่าชายเลนยังคงทำหน้าที่เป็นแหล่งสะสมคาร์บอนที่สำคัญของโลกต่อไป


การชักนำแคลลัสและผลของเอลิสิเทอร์ต่อฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของแคลลัสฟักข้าวMomordica Cochinchinensis (Lour.) Spreng. ที่เลี้ยงในอาหารเหลว, สุพรรษา พลายเปี่ยม Jan 2019

การชักนำแคลลัสและผลของเอลิสิเทอร์ต่อฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของแคลลัสฟักข้าวMomordica Cochinchinensis (Lour.) Spreng. ที่เลี้ยงในอาหารเหลว, สุพรรษา พลายเปี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ฟักข้าว (Momordica cochinchinensis (Lour.) Spreng) หรือแก็ก (gac) เป็นพืชไม้เลื้อยที่อยู่ในวงศ์ Cucurbitaceae โดยฟักข้าวนั้นมีสารปฐมภูมิและสารทุติยภูมิสะสมอยู่ในทุกส่วนของต้น ประกอบไปด้วยแคโรทีนอยด์ กรดไขมัน วิตามินอี โพลีฟีนอล และ ฟลาโวนอยด์ ซึ่งทำให้การใช้ประโยชน์ของฟักข้าวถูกบันทึกลงในการแพทย์แผนโบราณของหลายประเทศ ในปัจจุบันมีการใช้เอลิสิเทอร์หลากหลาย เช่น ไคโทซาน และ เมทิลแจสโมเนต (MeJA) เพื่อเพิ่มปริมาณสารทุติยภูมิในพืช ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการชักนำแคลลัสฟักข้าวและศึกษาผลของไคโทซานน้ำหนักโมเลกุลสูง (HMC) ไคโทซานน้ำหนักโมเลกุลต่ำ (LMC) ความเข้มข้น 10 และ 20 mg/l MeJA ความเข้มข้น 100 และ 150 µM ต่อฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของแคลลัสฟักข้าวที่เลี้ยงในอาหารเหลว สำหรับการทดลองชักนำการเกิดแคลลัส ได้นำส่วนยอดและส่วนข้อของต้นฟักข้าวปลอดเชื้อมาเลี้ยงในอาหารแข็งสูตร MS ที่ประกอบไปด้วย 2,4-D และ BA พบว่าในสูตรอาหารที่ประกอบด้วย 0.8 mg/l 2,4-D + 0 mg/l BA 0.8 mg/l 2,4-D + 0.4 mg/l BA และ 0.8 mg/l 2,4-D + 0.8 mg/l BA สามารถชักนำการเกิดแคลลัสได้ดีที่สุด ในส่วนของการศึกษาผลของเอลิสิเทอร์ต่อฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของแคลลัสฟักข้าว HMC, LMC หรือ MeJA ถูกเติมลงในอาหารวันที่ 18 ของการเพาะเลี้ยงแคลลัสในอาหารเหลว และเก็บตัวอย่างแคลลัสในวันที่ 20 และ 22 ของการเพาะเลี้ยงเพื่อศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน ผลการทดลองพบว่าเอลิสิเทอร์ไม่มีผลเพิ่มฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของแคลลัสฟักข้าวที่เวลาดังกล่าว ยกเว้นในชุดการทดลองที่เติม 150 µM MeJA พบว่าในวันที่ 22 ของการเพาะเลี้ยงแคลลัสมีปริมาณของแคโรทีนอยด์มากกว่าชุดควบคุมและชุดทดลองอื่นๆอย่างมีนัยสำคัญ


ทรานสคริปโทมของข้าวพันธุ์พื้นเมืองไทยภายใต้ภาวะเครียดจากความเค็ม, พีรวัธน์ จันทนกูล Jan 2019

ทรานสคริปโทมของข้าวพันธุ์พื้นเมืองไทยภายใต้ภาวะเครียดจากความเค็ม, พีรวัธน์ จันทนกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้าว (Oryza sativa L.) เป็นพืชอาหารสำคัญในภูมิภาคเอเชีย ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทยนั้นถือเป็นแหล่งผลิตข้าวสำคัญที่มีคุณภาพดีแต่มีผลผลิตต่ำเนื่องจากภาวะดินเค็มที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตและความสามารถในการติดเมล็ด จากการประเมินการตอบสนองต่อภาวะเค็มในกล้าข้าวพบว่าข้าวพันธุ์หลวงประทานซึ่งเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองไทยแสดงลักษณะการทนเค็ม ดังนั้น จึงทำการศึกษาทรานสคริปโทมที่เวลา 0 3 6 12 24 และ 48 ชั่วโมง หลังจากได้รับภาวะเค็มเพื่อศึกษากลไกการทนเค็มของข้าวพันธุ์นี้โดยใช้เทคนิค 3’-Tag RNA-seq ผลการศึกษาพบว่ามียีนที่แสดงออกอย่างแตกต่างเป็นครั้งแรกภายหลังเผชิญกับภาวะเค็มเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ได้แก่ OsRCI2-5 ซึ่งเป็นยีนที่เกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณ และเมื่อเวลาผ่านไป 24 ชั่วโมงพบว่า OsRMC ซึ่งเป็นยีนที่สามารถตอบสนองต่อภาวะเครียดจากความเค็มแสดงออกมาอย่างแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ และเมื่อพืชเผชิญกับภาวะเค็มเป็นเวลา 48 ชั่วโมงพบว่ามียีนที่แสดงออกอย่างแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญจำนวน 63 ยีน ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการทนเค็ม ผลการวิเคราะห์โครงข่ายการแสดงออกร่วมของยีนที่ภาวะเค็มทั้ง 63 ยีน จากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพลวัตบางส่วน พบว่า OsRCI2-5 และ OsRMC มีการแสดงออกร่วมกับยีนที่ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงออกของยีนอื่น ๆ ประกอบด้วย Transcription factor และ Ubiquitin ligase enzyme โดยในภาวะเค็ม OsRMC มีส่วนทำให้มีการแสดงออกมากขึ้นของยีนที่เกี่ยวกับการตอบสนองเพื่อป้องกันตนเองของพืชจากปัจจัยทางชีวภาพ จากการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อยืนยันผลกระทบของภาวะเค็มต่อการแสดงออกของยีนที่ระบุได้ ด้วย qRT-PCR ในข้าวพันธุ์ต่าง ๆ พบว่า OsRCI2-5 และ OsRMC เป็นยีนที่พืชตอบสนองต่อภาวะเค็มและเกี่ยวข้องกับกลไกการทนเค็มในข้าวพันธุ์หลวงประทาน


Flowering Phenology And Pollination Biology Of Ceropegia Thailandica Meve And Ceropegia Suddeei Kidyoo, Chayanin Kraithep Jan 2018

Flowering Phenology And Pollination Biology Of Ceropegia Thailandica Meve And Ceropegia Suddeei Kidyoo, Chayanin Kraithep

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The flowers of the genus Ceropegia have complex structures that involve in pollination mechanism. These structres gynostegium, pollinarium and corona. Moreover, the corolla tube which is inflated at base and the corolla lobes are connate only at tip forming a cage-like structure functions as a trap. When pollinators are attracted to flower, they could be temporarily trapped inside the flower. From previous studies, there are about 18 species in Thailand. Most Thai species have flowers characterized by a long narrow corolla lobe with distinct inflated basal portion. However, some species have a short corolla tube, such as C. thailandica Meve. …


Taxonomic Revision Of The Fern Family Athyriaceae In Thailand, Puttamon Pongkai Jan 2018

Taxonomic Revision Of The Fern Family Athyriaceae In Thailand, Puttamon Pongkai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The most up-to-date account of the Athyriaceae is in Flora of Thailand. This account includes seven genera, i.e. Athyrium, Anisocampium, Cornopteris, Deparia, Diplazium, Hypodematium and Kuniwatsukia. Previously, the taxonomic relationships among genera were ambiguous and not well understood. The existing keys and descriptions are uncertain and do not include some unknown taxa. This research aims to clarify the taxonomic status of this family and its genera based on morphological, anatomical, palynological and molecular data. The results indicated that the types and shapes of frond, scale types, sorus shapes, shapes of vascular bundle and ornamentation of spores are valuable characters for …


การแยกและการคัดเลือกราไมคอร์ไรซาเพื่อกระตุ้นการเจริญของต้นกล้ากล้วยไม้น้ำ Epipactis Flava Seidenf., ญาณิศา พันธุ์สังข์ Jan 2018

การแยกและการคัดเลือกราไมคอร์ไรซาเพื่อกระตุ้นการเจริญของต้นกล้ากล้วยไม้น้ำ Epipactis Flava Seidenf., ญาณิศา พันธุ์สังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถแยกราเอนโดไฟต์จากกล้วยไม้น้ำ Epipactis flava Seidenf. ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ได้ทั้งหมด 50 ไอโซเลต เป็นราที่แยกได้จากราก 35 ไอโซเลต และจากโปรโตคอร์ม 15 ไอโซเลต ราที่แยกได้ทั้งหมดถูกนำมาตรวจสอบการกระตุ้นการงอกของเมล็ดกล้วยไม้น้ำ พบว่ามีรา 7 ไอโซเลต ได้แก่ MSR07 MSR24 MSR34 MSP01 MSP02 MSP04 และ MSP13 ที่สามารถกระตุ้นการงอกของเมล็ดกล้วยไม้น้ำบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Oat Meal Agar (OMA) ได้ภายใน 30 วัน หลังหว่านเมล็ด การกระตุ้นการงอกของเมล็ดและการพัฒนาของโปรโตคอร์มด้วยราทั้ง 7 ไอโซเลตถูกทดสอบบนอาหารเลี้ยงเชื้อ OMA เป็นเวลา 4 เดือน หลังหว่านเมล็ด พบว่ามีรา 6 ไอโซเลตที่สามารถกระตุ้นการงอกของเมล็ดและส่งเสริมการพัฒนาของโปรโตคอร์มจนถึงระยะที่ 2 ยกเว้นราไอโซเลต MSP04 ที่ไม่ส่งเสริมการพัฒนาของโปรโตคอร์ม ค่าดัชนีของอัตราการงอก (Germination rate index, GRI) ของราทั้ง 7 ไอโซเลตมีค่าอยู่ระหว่าง 56.62-148.14 โดยไอโซเลต MSP13 ให้ค่า GRI สูงที่สุด (148.14) ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับค่า GRI ของราไอโซเลต MSP01 (139.41) ค่าดัชนีของอัตราการพัฒนาของโปรโตคอร์ม (developmental rate index, DRI) ของราทั้ง 7 ไอโซเลตมีค่าอยู่ระหว่าง 0-33.20 จากการศึกษาพบว่า ราไอโซเลต MSP01 ให้ค่า DRI สูงที่สุด (33.20) ขณะที่เมล็ดที่ไม่ได้เพาะเลี้ยงร่วมกับรา (ชุดควบคุม) มีค่า GRI และ DRI เท่ากับ 6.76 และ 0 ตามลำดับ จากลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการวิเคราะห์ทางชีววิทยาโมเลกุลที่ตำแหน่ง …


Taxonomic Revision And Pollination Biology Of Orchid Genera Crepidium Blume And Dienia Lindl. (Malaxidinae, Orchidaceae) In Thailand, Anchalee Nuammee Jan 2018

Taxonomic Revision And Pollination Biology Of Orchid Genera Crepidium Blume And Dienia Lindl. (Malaxidinae, Orchidaceae) In Thailand, Anchalee Nuammee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The terrestrial orchid Crepidium Blume and Dienia Lindl. in Thailand were enumerated by Gunnar Seidenfaden under Malaxis with key and drawings. Because of no species descriptions in publication, it is difficult to delimit species boundary. Moreover, recent discovery of new species results in unreliable assessment of species, therefore, the taxonomic revision of Crepidium and Dienia in Thailand should be carried out. The results indicated that the column and transversal callus on labellum are taxonomically important characters to delimit these two genera. In addition, morphological characters, i.e. stem and leaf morphology, labellum auricles, margins and number of teeth on distal margin …


การคัดแยก Beauveria Bassiana (Balsamo) Vuillemin ไอโซเลทที่รอดชีวิตในภาวะอุณหภูมิสูงซึ่งสามารถควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata Lugens (St?L), ญาณิศา วงศ์วานิช Jan 2017

การคัดแยก Beauveria Bassiana (Balsamo) Vuillemin ไอโซเลทที่รอดชีวิตในภาวะอุณหภูมิสูงซึ่งสามารถควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata Lugens (St?L), ญาณิศา วงศ์วานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Beauveria bassiana เป็นราที่ใช้ในการควบคุมแมลงอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม เมื่ออุณหภูมิเพิ่มสูงขึ้นจะส่งผลให้ความสามารถในการควบคุมแมลงของราลดลง การคัดแยก B. bassiana ที่มีความสามารถในการเจริญได้ในที่อุณหภูมิสูงและมีความสามารถในการควบคุมแมลงที่อุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของรา เป็นอีกหนทางหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่อุณหภูมิสูง B. bassiana จำนวน 3 ไอโซเลท ที่มีความสามารถในการควบคุมแมลงสูง ได้รับความอนุเคราะห์จากกรมการข้าว ถูกเลือกมาชักนำให้เกิดการกลายพันธุ์ด้วยสาร ethyl methanesulfonate (EMS) จากนั้นนำมาคัดแยกที่อุณหภูมิ 31 33 และ 35°C พร้อมกับศึกษาความสามารถในการฟื้นฟูของราหลังจากที่ผ่านอุณหภูมิ 33°C เป็นระยะเวลา 7 วัน จากนั้นย้ายไปบ่มที่ 25°C ดูประสิทธิภาพการงอกของสปอร์ที่ 25°C (หลังจากบ่มที่ 33°C เป็นระยะเวลา 5 10 และ 15 วัน) และนำเชื้อสายพันธุ์กลายที่ได้ไปทดสอบความสามารถในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล จากผลการศึกษาพบไอโซเลท B. bassiana สายพันธุ์กลาย 1 ไอโซเลท ที่มีขนาดโคโลนีที่ใหญ่กว่า และสร้างสปอร์ที่มากกว่าราต้นแบบ ที่อุณหภูมิ 33°C ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุด เนื่องจากที่อุณหภูมิ 35°C ไม่พบการเจริญเติบโตของราในทุกไอโซเลท ผลทดสอบการฟื้นฟูของรา พบราสายพันธุ์กลายมีขนาดโคโลนีและปริมาณสปอร์ที่มากกว่าราต้นแบบ ผลการทดสอบการงอกของสปอร์ที่อุณหภูมิ 33°C ไม่พบการงอกของสปอร์ราทั้งไอโซเลทสายพันธุ์กลายและต้นแบบ แต่เมื่อย้ายสปอร์ไปเลี้ยงที่ 25°C (หลังจากการเลี้ยงที่ 33°C) ไอโซเลทสายพันธุ์กลายมีเปอร์เซ็นต์การงอกที่มากกว่าราต้นแบบในทุกชุดการทดลอง และความสามารถในการควบคุมเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล Nilaparvata lugens (Stål) ของราสายพันธุ์กลายมีค่ามากกว่าราต้นแบบ


ผลของ 1-เมทิลไซโคลโพรพีนต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยาและการเสื่อมตามอายุของกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ ที่กลุ่มเรณูได้รับความเสียหาย, ชวิศา สุขพิทักษ์ Jan 2017

ผลของ 1-เมทิลไซโคลโพรพีนต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยาและการเสื่อมตามอายุของกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ ที่กลุ่มเรณูได้รับความเสียหาย, ชวิศา สุขพิทักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การเสื่อมตามอายุอย่างรวดเร็วของดอกไม้เนื่องจากเอทิลีนนับเป็นปัญหาหลักในอุตสาหกรรมไม้ตัดดอก นอกจากนี้ การหลุดร่วงของกลุ่มเรณูและฝาปิดในขณะเก็บเกี่ยวหรือบรรจุเพื่อเตรียมขนส่งสู่ตลาดอาจส่งผลให้เกิดบาดแผลในดอกย่อยของกล้วยไม้ได้ การทดลองรม 1-MCP ความเข้มข้น 0.5 µl/l เป็นเวลา 3 ชั่วโมงแก่ดอกกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ พบว่าสามารถยืดอายุการปักแจกันและชะลอการหลุดร่วงของดอกได้ ในขณะที่เอทิลีนกระตุ้นให้เกิดการหลุดร่วงของดอกเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การทดลองนำกลุ่มเรณูและฝาปิดออกจากดอก พบว่าชุดการทดลองที่มีการนำกลุ่มเรณูและฝาปิดออกจากดอกมีอายุการปักแจกันที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับชุดควบคุม ในขณะที่การรม 1-MCP แก่ดอกกล้วยไม้สกุลหวายพันธุ์มะลิไวท์ที่กลุ่มเรณูและฝาปิดถูกนำออกไป พบว่าชุดการทดลองที่รม 1-MCP มีอายุการปักแจกันเพิ่มขึ้น และมีเปอร์เซ็นต์การหลุดร่วงของดอกตูมและดอกบานลดลงเมื่อเทียบกับชุดควบคุม แต่ 1-MCP ไม่มีผลต่อการบานเพิ่มของดอกตูม ผลการศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยา พบว่าชุดการทดลองที่รม 1-MCP มีเปอร์เซ็นต์การรั่วไหลของประจุและกิจกรรมของเอนไซม์ protease และเอนไซม์ lipoxygenase ลดลง อย่างไรก็ตาม 1-MCP ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนสีของกลีบดอกในกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ โดยสารประกอบฟีนอลทั้งหมด กิจกรรมของเอนไซม์ polyphenol oxidase และ phenylalanine ammonialyase ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับชุดที่ไม่ได้รม 1-MCP ดังนั้น การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า 1-MCP สามารถชะลอการเสื่อมตามอายุของดอกกล้วยไม้สกุลหวาย ‘มะลิไวท์’ ได้โดยชะลออาการเสื่อมตามอายุและการสลายตัวของโปรตีนและไขมัน


Taxonomic Revision Of Dendrobium Sw. Section Stachyobium Lindl. (Orchidaceae) In Thailand, Phataravee Prommanut Jan 2017

Taxonomic Revision Of Dendrobium Sw. Section Stachyobium Lindl. (Orchidaceae) In Thailand, Phataravee Prommanut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Taxonomic revision of Dendrobium Sw. section Stachyobium Lindl. in Thailand has been conducted from 2015-2018 based on natural habitats observation in Thailand as well as various herbaria visits, i.e. BCU, BK, BKF, BM, C, CMUB, E, K, KKU and QBG. Key to species, taxonomic descriptions, ecological data, illustrations and geographical distribution of all taxa are provided. Twenty four taxa with including 21 species and 3 varieties were recognized. Among these, two species namely Dendrobium chiangdaoense and D. obchantiae are new to Thailand and two species viz. Dendrobium sp.2 and Dendrobium sp.3 are being proposed as new species. Besides, Dendrobium sp.1 …


Diversity Of Mosses In Phu Kradueng National Park, Loei Province, Patsakorn Ajintaiyasil Jan 2017

Diversity Of Mosses In Phu Kradueng National Park, Loei Province, Patsakorn Ajintaiyasil

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study of mosses diversity in Phu Kradueng National Park, Loei Province was explored from December 2014 to December 2016. The samples were collected along the 6 natural trails. A total of 501 samples were identified into 30 families, 55 genera, 100 species, 5 subspecies, and 9 varieties. Three families of mosses namely Sphagnaceae, Fissidentaceae, and Leucobryaceae were common families which included 11, 9 and 7 taxa, respectively. Additionally, the most common microhabitat was saxicolous with 45 species. The second and third common microhabitats were terrestrial and corticolous with 43 and 37 species, respectively. Additionally, there are 4 species which …