Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 30 of 88

Full-Text Articles in Entire DC Network

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม, พิชญากร บำรุงกิจ Jan 2017

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม, พิชญากร บำรุงกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ แผนกที่ปฏิบัติงาน การได้รับการฝึกอบรม ระยะเวลาที่ออกปฏิบัติงานภาวะภัยพิบัติ การได้รับการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชา และการทำงานเป็นทีม กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม ประชากร ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชา แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม และแบบสอบถามความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96, .96 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดกระทรวงกลาโหม อยู่ในระดับสูง ( X = 3.64, SD = 0.65 ) 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การได้รับการฝึกอบรมมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (c2 = 9.821, C = .188) การได้รับการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง และการทำงานเป็นทีมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับ ความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .557 และ .838 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านแผนกที่ปฏิบัติงานและระยะเวลาที่ออกปฏิบัติงานภาวะภัยพิบัติ ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม


สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง, สโรชิน คมแท้ Jan 2017

สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง, สโรชิน คมแท้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi tecnique) ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ประกอบด้วย กลุ่มแพทย์ที่รักษาด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy: HBOT) จำนวน 5 คน กลุ่มผู้บริหารการพยาบาลด้าน HBOT จำนวน 6 คน กลุ่มอาจารย์พยาบาลด้าน HBOT จำนวน 3 คน และกลุ่มพยาบาลที่ปฏิบัติงานด้าน HBOT จำนวน 6 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ ความดันบรรยากาศสูง และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปเป็นสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง จำนวน 14 สมรรถนะ 2) ด้านการให้ความรู้ และการสื่อสาร จำนวน 10 สมรรถนะ 3) ด้านการจัดการความเสี่ยง จำนวน 9 สมรรถนะ และ 4) ด้านการพัฒนาคุณภาพ จำนวน 6 สมรรถนะ


A Development Of Thai Moral Integrity Scale For Professional Nurses, Jinda Nunthawong Jan 2017

A Development Of Thai Moral Integrity Scale For Professional Nurses, Jinda Nunthawong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this study was to develop the Thai Moral Integrity Scale (TMIS), and to test its psychometric properties. The construct definition and content domains of the TMIS were developed through the intensive literature reviews and test the content validity by experts. This used to guide the conceptual framework in this instrument. The content validity was examined using the panel of five experts. The content validity index (S-CVI) was 1.00. The Moral Integrity Scale was consists 27 items with five Likert scale. The result of psychometric properties from 502 professional nurses by using exploratory factor analysis indicated that there …


The Effect Of Uncertainty Management Program On Quality Of Life Among Vietnamese Women With Post Mastectomy, Xuan Ha Thi Nhu Jan 2017

The Effect Of Uncertainty Management Program On Quality Of Life Among Vietnamese Women With Post Mastectomy, Xuan Ha Thi Nhu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this study was to test the effect of the Uncertainty Management Program (UMP) on quality of life among Vietnamese women at 3-weeks post mastectomy. The quasi-experimental design with posttest only was conducted in 115 women with post mastectomy who were assigned in experimental group (n=57) and control group (n=58). The experimental group received the UMP and routine care while the control group received only routine care. Participants were assessed at 3-weeks post mastectomy using the modified Quality of Life Index Scale Vietnamese version with Cronbach's alpha coefficient of .81. It was found that at 3-weeks post-mastectomy, the …


บทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย, จิณภัค เกิดกลิ่นหอม Jan 2017

บทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย, จิณภัค เกิดกลิ่นหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย การวิจัยนี้ใช้เทคนิคแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มแพทย์อาชีวเวชศาสตร์จำนวน 4 คน ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มอาจารย์พยาบาลจำนวน 6 คน ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มผู้บริหารทางการพยาบาล และ/หรือคณะกรรมการสมาคมการพยาบาลอาชีวอนามัยแห่งประเทศไทย จำนวน 4 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาลอาชีวอนามัยจำนวน 6 คน โดยวิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้ชี่ยวชาญเกี่ยวกับบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำมาสร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของข้อคำถามแต่ละข้อที่เป็นบทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย และขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ แล้วส่งแบบสอบถามกลับไปให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า บทบาทพยาบาลอาชีวอนามัย ประกอบด้วย 5 บทบาท ดังนี้ 1. ผู้ปฏิบัติการพยาบาลด้านอาชีวอนามัย เกี่ยวกับการดูแลคนทำงานตามกระบวนการพยาบาลด้านอาชีวอนามัย 2. ผู้ให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลด้านอาชีวอนามัย เกี่ยวกับการให้คำปรึกษาและให้ข้อมูลแก่คนทำงานด้านสุขภาพ อาชีวอนามัยและความปลอดภัย ด้านวิชาการแก่ฝ่ายการศึกษา 3. ผู้นิเทศงานด้านอาชีวอนามัย เกี่ยวกับให้การนิเทศงานด้านการพยาบาลอาชีวอนามัย ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมแก่นักศึกษาพยาบาลฝึกงานและพยาบาลจบใหม่ 4. ผู้จัดการงานอาชีวอนามัย เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานในแผนก การติดต่อประสาน งานกับบุคคลและหน่วยงานต่างๆ การสื่อสารความเสี่ยงให้แก่คนทำงานและประชาชนทั่วไป 5. ผู้พัฒนางานการพยาบาลอาชีวอนามัย เกี่ยวกับการนำผลการวิจัยมาปรับปรุงกระบวน การทำงานหรือการบริการด้านอาชีวอนามัย และการปฏิบัติตามมาตรฐานการพยาบาล


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพนักงานหญิงนวดแผนไทย, ชนาภา อุดมเวช Jan 2017

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพนักงานหญิงนวดแผนไทย, ชนาภา อุดมเวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย เพื่อศึกษาปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพนักงานหญิงนวดแผนไทย กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานหญิงนวดแผนไทยที่ผ่านการอบรมการนวดเพื่อสุขภาพ ของสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพ เขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 190 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างง่าย จากสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพ เขตกรุงเทพมหานคร ผ่านการรับรองมาตรฐานสถานประกอบการนวดเพื่อสุขภาพจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม 7 ส่วน ได้แก่ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม 3) แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถตนเองในการกระทำพฤติกรรมป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม 4) แบบสอบถามทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อม 5) แบบสอบถามการได้รับสนับสนุนทางสังคม 6) แบบสอบถามนโยบายของสถานประกอบการ และ 7) แบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันข้อเข่าเสื่อม แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ .87, .90, .91, 1.0, .72 และ .83 ตามลำดับ และตรวจสอบความเที่ยง มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .89, .87, .85, .86 และ .88 ตามลำดับ โดยแบบสอบถามความรู้โรคข้อเข่าเสื่อมมีค่า KR-20 เท่ากับ .72 วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวนค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพนักงานหญิงนวดแผนไทยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( x = 22.77, S.D = 3.312) 2) การสนับสนุนทางสังคม (Beta = .333) นโยบายของสถานประกอบการ (Beta = .309) และความรู้เกี่ยวกับโรคข้อเข่าเสื่อม (Beta = .197) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพนักงานหญิงนวดแผนไทย ได้ร้อยละ 34.3 อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สำหรับปัจจัยด้านการรับรู้ความสามารถของตน และด้านทัศนคติต่อพฤติกรรมการป้องกันโรค ไม่สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคข้อเข่าเสื่อมของพนักงานหญิงนวดแผนไทยได้


ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้สึกตราบาปของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน, ณัฐสุภา พรสมบุญ Jan 2017

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่อความรู้สึกตราบาปของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน, ณัฐสุภา พรสมบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้สึกตราบาปของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และเพื่อเปรียบเทียบความรู้สึกตราบาปของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 40 คน คัดเลือกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน โดยการจับคู่ด้วยอายุ และระดับคะแนนอาการทางจิตของกลุ่มตัวอย่าง กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตน และแบบวัดความรู้สึกตราบาป ผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาของผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ความรู้สึกตราบาปของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความรู้สึกตราบาปของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะแห่งตนต่ำกว่าจากกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมแบบเผชิญหน้าร่วมกับการส่งข้อความผ่านระบบไลน์ต่อการเสพยาบ้าในวัยรุ่นที่เสพติดยาบ้า, ธมลชนก ส่งแสง Jan 2017

ผลของโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมแบบเผชิญหน้าร่วมกับการส่งข้อความผ่านระบบไลน์ต่อการเสพยาบ้าในวัยรุ่นที่เสพติดยาบ้า, ธมลชนก ส่งแสง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) การเสพยาบ้าของวัยรุ่นที่เสพติดยาบ้าที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมแบบเผชิญหน้าร่วมกับการส่งข้อความผ่านระบบไลน์ในระยะก่อนและหลังการทดลอง และ 2) การเสพยาบ้าของวัยรุ่นที่เสพติดยาบ้าระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมแบบเผชิญหน้าร่วมกับการส่งข้อความผ่านระบบไลน์กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ในระยะก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นที่เสพติดยาบ้าจำนวน 40 คน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดและมารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอก สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี ได้รับการจับคู่ด้วยเพศและคะแนนความรุนแรงของการเสพติดยาบ้า แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้โปรแกรมการบำบัดฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมแบบเผชิญหน้าร่วมกับการส่งข้อความผ่านระบบไลน์ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินการใช้ยาบ้าและ 4) แบบประเมินระดับความอยากเสพ เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 3 และเครื่องมือชุดที่ 4 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .83 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณาและสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. วัยรุ่นที่เสพติดยาบ้าในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมแบบเผชิญหน้าร่วมกับการส่งข้อความผ่านระบบไลน์ มีคะแนนการเสพยาบ้าต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. วัยรุ่นที่เสพติดยาบ้าในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมแบบเผชิญหน้าร่วมกับการส่งข้อความผ่านระบบไลน์ มีคะแนนการเสพยาบ้าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ประสบการณ์ของพยาบาลที่ดูแลญาติผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อม, ธวัชชัย เขื่อนสมบัติ Jan 2017

ประสบการณ์ของพยาบาลที่ดูแลญาติผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อม, ธวัชชัย เขื่อนสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของพยาบาลที่ดูแลญาติผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger ผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อมจำนวน 14 คน โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การบันทึกภาคสนาม และนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลและวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen (1990) ผลการศึกษาประสบการณ์ของพยาบาลที่ดูแลญาติผู้สูงอายุในครอบครัวที่มีภาวะสมองเสื่อมมีดังต่อไปนี้ 1. สังเกตเห็นอาการผิดปกติของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) พฤติกรรมการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไป 1.2) โวยวาย ตะโกนด่า พูดจาหยาบคาย และ 1.3) หลงลืมหลายเรื่อง ถามต่อเนื่องซ้ำไปซ้ำมา 2. พยาบาลถูกเสนอเป็นผู้ดูแลหลัก ไม่ยึกยักรับได้จากหลายเหตุผล ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) หน้าที่ของลูกต้องดูแลบุพการี 2.2) ตอบแทนบุญคุณที่ท่านลี้ยงดูเมื่อเยาว์วัย และ 2.3) เป็นแบบอย่างให้ลูกของตนได้ปฏิบัติตาม 3. เริ่มต้นจากดูแลเหมือนคนทั่วไป ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 3.1) มั่นใจว่าทำได้ แค่ดูแลการใช้ชีวิตประจำวัน 3.2) หากไปทำงานวานผู้อื่นดูแลให้ และ 3.3) หงุดหงิดใจหากท่านทำในสิ่งที่ไม่พึงประสงค์ 4. หาความรู้สร้างความเข้าใจ พร้อมรับปรับการดูแลใหม่ ประกอบด้วย 6 ประเด็นย่อย ได้แก่ 4.1) ใส่ใจกิจวัตรประจำวัน 4.2) จัดการและป้องกันอาการไม่พึงประสงค์ 4.3) ดูแลเพื่อคงความสามารถในการช่วยเหลือตนเองได้ 4.4) พาไปตรวจตามแพทย์นัด 4.5) จัดสรรเวลาพาเที่ยวนอกบ้าน และ 4.6) ชวนท่านทำบุญทำทาน ไหว้พระสวดมนต์ 5. ปัญหามากมาย เหนื่อยกายและใจ ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 5.1) รับผิดชอบงานหลากหลาย ร่างกายพักผ่อนไม่พอ และ 5.2) รู้สึกท้อ เครียดง่าย และเหนื่อยใจ 6. หาวิธีการจัดการ เพื่อให้ชีวิตเกิดสมดุล ประกอบด้วย 3 …


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สมดุลชีวิตกับการทำงาน การสนับสนุนจากองค์การ กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลผู้มีประสบการณ์ โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองโรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล กรุงเทพมหานคร, นฤมล นุ้ยรัตน์ Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สมดุลชีวิตกับการทำงาน การสนับสนุนจากองค์การ กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลผู้มีประสบการณ์ โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองโรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล กรุงเทพมหานคร, นฤมล นุ้ยรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความตั้งใจคงอยู่ในงาน และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล สมดุลชีวิตกับการทำงาน การสนับสนุนจากองค์การ กับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลผู้มีประสบการณ์ โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองโรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพผู้มีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไป และมีประสบการณ์ในการทำงาน 10 ปีขึ้นไป ปฏิบัติงานอยู่ในโรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองโรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล กรุงเทพมหานคร จำนวน 230 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามปัจจัยส่วนบุคคล แบบสอบถามสมดุลชีวิตกับการทำงาน แบบสอบถามการสนับสนุนจากองค์การ และแบบสอบถามความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลผู้มีประสบการณ์ ซึ่งได้ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน วิเคราะห์ความเที่ยงโดยสูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคของแบบสอบถามสมดุลชีวิตกับการทำงานกับการสนับสนุนจากองค์การเท่ากับ .90 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา หาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสถิติสัมประสิทธิ์อีต้า (Eta Coefficient) และสถิติไค-สแควร์ (Chi-square) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลผู้มีประสบการณ์ โรงพยาบาลเอกชนที่ผ่านการรับรองโรงพยาบาลมาตรฐานระดับสากล กรุงเทพมหานคร มีความตั้งใจที่จะทำงานในองค์การนี้โดยไม่คิดที่จะลาออกหรือเกษียณอายุก่อนกำหนด ภายในระยะ 1-3 ปี ร้อยละ 75.65 และมีความตั้งใจลาออกจากองค์การ ร้อยละ 24.35 2. ระดับเงินเดือน (Eta = .350) สมดุลชีวิตกับการทำงาน (Eta = .681) และการสนับสนุนจากองค์การ (Eta = .624) มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางกับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลผู้มีประสบการณ์ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน (Eta = .208) และภูมิลำเนา (r = .089) มีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับความตั้งใจคงอยู่ในงานของพยาบาลผู้มีประสบการณ์


ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การปฏิบัติงาน การอบรมเฉพาะทาง ความฉลาดทางอารมณ์ สภาพแวดล้อมในการทำงาน กับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ, นฤมล ศิลวิศาล Jan 2017

ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การปฏิบัติงาน การอบรมเฉพาะทาง ความฉลาดทางอารมณ์ สภาพแวดล้อมในการทำงาน กับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ, นฤมล ศิลวิศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ ความฉลาดทางอารมณ์ สภาพแวดล้อมในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การปฏิบัติงาน การอบรมเฉพาะทาง ความฉลาดทางอารมณ์และสภาพแวดล้อมในการทำงานกับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก และศึกษาปัจจัยที่สามารถทำนายสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอกโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ จำนวน 125 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ความฉลาดทางอารมณ์ สภาพแวดล้อมในการทำงาน และสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและทดสอบสอบความเที่ยงด้วยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .96 .96 .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติไคสแควร์ และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก ความฉลาดทางอารมณ์และสภาพแวดล้อมในการทำงานอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย = 4.23, 4.01 และ 4.17 ตามลำดับ) ประสบการณ์การปฏิบัติงาน การอบรมเฉพาะทาง ความฉลาดทางอารมณ์และสภาพแวดล้อมในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก (r =.368, .315, .631และ .593) ปัจจัยที่สามารถทำนายสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก คือสภาพแวดล้อมในการทำงาน ความฉลาดทางอารมณ์และประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยมีอำนาจในการพยากรณ์ร้อยละ 53.3 (R2= .533) ได้สมการในรูปคะแนนมาตรฐานดังนี้ Zสมรรถนะพยาบาลวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอก=.350Z*สภาพแวดล้อมในการทำงาน +.329 Z*ความฉลาดทางอารมณ์ +.320 Z*ประสบการณ์การปฏิบัติงาน


ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลหลังการสวนหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, นิพนธ์ วาตาดา Jan 2017

ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลหลังการสวนหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, นิพนธ์ วาตาดา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีต่อความวิตกกังวลหลังการสวนหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันชนิดเอสทียก (STEMI) ที่ได้รับการสวนหลอดเลือดหัวใจแบบฉุกเฉินครั้งแรก ณ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา คัดเลือกแบบเจาะจงคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีเป็นเวลา 2 วัน หลังการสวนหลอดเลือดหัวใจ ณ หอผู้ป่วยหนักโรคหัวใจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ (STAI form Y-1) ของ Spielberger (1983), แบบวัดความรู้โรคหัวใจและหลอดเลือด ของสำนักการพยาบาล (2549) และแบบประเมินความพึงพอใจในการฟังดนตรี ค่าความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ (STAI form Y-1) และแบบวัดความรู้โรคหัวใจและหลอดเลือด เท่ากับ .75 และ .93 ส่วนค่าความเที่ยง เท่ากับ .82 และ .90 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ dependent และ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลหลังการสวนหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยความวิตกกังวลหลังการสวนหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลอย่างมีแบบแผนร่วมกับการฟังดนตรีต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาประสบการณ์การมีอาการและกลวิธีการจัดการอาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง, ปฏิวัติ คดีโลก Jan 2017

การศึกษาประสบการณ์การมีอาการและกลวิธีการจัดการอาการของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่อง, ปฏิวัติ คดีโลก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประสบการณ์การมีอาการใน 4 มิติ (มิติการเกิดอาการ มิติความถี่ มิติความรุนแรง และมิติความทุกข์ทรมาน) 2) กลวิธีการจัดการอาการ และ 3) เปรียบเทียบประสบการณ์การมีอาการทั้ง 4 มิติ (ภาระอาการ) จำแนกตามตัวแปร เพศ อายุ โรคร่วม ระยะเวลาในการล้างไตทางช่องท้อง ระดับของฮีโมโกลบิน บียูเอ็น ครีเอตินิน อัลบูมิน แคลเซียม ฟอสเฟต และความพอเพียงของการล้างไต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ได้รับการล้างไตทางช่องท้องแบบต่อเนื่องที่มารับบริการ ณ หน่วยบริการล้างไตผ่านทางช่องท้องในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในเขตกรุงเทพมหานคร 2 แห่ง จำนวน 178 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามอาการในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง และแบบสอบถามกลวิธีการจัดการอาการ ค่าความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามอาการในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังและแบบสอบถามกลวิธีการจัดการอาการ เท่ากับ 0.97 และ 0.94 ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคของแบบสอบถามอาการในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังทั้ง 4 มิติ เท่ากับ 0.77, 0.83, 0.84, และ 0.86 ตามลำดับ ส่วนของแบบสอบถามกลวิธีการจัดการอาการทั้ง 2 มิติ คือ การเลือกปฏิบัติกลวิธีการจัดการอาการและประสิทธิผลของกลวิธีการจัดการอาการ เท่ากับ 0.73 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา สถิติทดสอบที สถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า 1. อาการที่ผู้ป่วยรายงานมิติการเกิดอาการและมิติความถี่มากที่สุด คือ อาการผิวแห้ง (ร้อยละ 78.1) (mean ± SD = 7.65 ± 2.83) ส่วนอาการที่ผู้ป่วยรายงานมิติความรุนแรงและมิติความทุกข์ทรมานมากที่สุด คือ อาการคัน (mean ± SD = 5.04 ± 2.76, 4.75 …


ผลของพฤติกรรมบำบัดโดยผู้ดูแลมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเกเร, ผุสดี กุลสุวรรณ Jan 2017

ผลของพฤติกรรมบำบัดโดยผู้ดูแลมีส่วนร่วมต่อพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเกเร, ผุสดี กุลสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดสองครั้งก่อนและหลังการทดลองเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเกเรก่อนและหลังได้รับพฤติกรรมบำบัดโดยผู้ดูแลมีส่วนร่วม และเปรียบเทียบพฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเกเรระหว่างกลุ่มที่ได้รับพฤติกรรมบำบัดโดยผู้ดูแลมีส่วนร่วมกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเกเร อายุ 7 - 12 ปี และผู้ดูแลที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอก ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ ได้รับการจับคู่ และสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลโดยใช้พฤติกรรมบำบัดโดยผู้ดูแลมีส่วนร่วม 4 ครั้ง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ คู่มือพฤติกรรมบำบัดสำหรับผู้ดูแล, แนวทางปฏิบัติพฤติกรรมบำบัดโดยผู้ดูแลมีส่วนร่วมสำหรับพยาบาล และแบบวัดความสามารถของผู้ดูแลในการนำพฤติกรรมบำบัดไปใช้ในการดูแลเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเกเรที่บ้าน เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเกเร เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน แบบประเมินพฤติกรรมก้าวร้าวเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเกเร และ แบบวัดความสามารถของผู้ดูแลในการนำพฤติกรรมบำบัดไปใช้ในการดูแลเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเกเรที่บ้าน มีความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .86, .87 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบค่าที่ (t-test) ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเกเร หลังได้รับพฤติกรรมบำบัดโดยผู้ดูแลมีส่วนร่วม น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2. พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเกเร หลังการทดลองในกลุ่มที่ได้รับพฤติกรรมบำบัดโดยผู้ดูแลมีส่วนร่วม น้อยกว่า กลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่อการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, มานิตา ศิริพัฒน์ Jan 2017

ผลของโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่อการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, มานิตา ศิริพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่ม 2) การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทและผู้ป่วยจิตเภท ที่เข้ารับบริการในคลินิกจิตเวชแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช ที่ได้รับการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คน และจับคู่ด้วยระยะเวลาการเผชิญหน้ากับผู้ป่วยในแต่ละสัปดาห์และความเพียงพอของรายได้ สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่ม กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) โปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่ม ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นการให้ความรู้และส่งเสริมทักษะเรื่อง การสร้างสัมพันธภาพ กระบวนการประเมินทางความคิด การประเมินความเครียดจากการปฏิสัมพันธ์กับผู้ป่วยจิตเภท การประเมินแหล่งประโยชน์ โรคจิตเภทและทักษะการดูแล การแสดงออกทางอารมณ์อย่างเหมาะสมและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหาและมุ่งปรับอารมณ์ และการประเมินสถานการณ์หลังได้รับการแก้ไขซ้ำ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3)แบบวัดการแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท 4) แบบวัดการเผชิญความเครียดแบบมุ่งแก้ปัญหา เครื่องมือสองชุดแรกผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน เครื่องมือชุดที่ 3) - 4) มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟ่าครอนบาค เท่ากับ.89 และ .82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติทดสอบที ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ดังนี้ 1. การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทหลังได้รับโปรแกรมการการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2. การแสดงออกทางอารมณ์ของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการเผชิญความเครียดแบบกลุ่มต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, วราภรณ์ สินธุโสภา Jan 2017

ผลของโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มต่อคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท, วราภรณ์ สินธุโสภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่ม และเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภทระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 39 ราย ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่พาผู้ป่วยจิตเภทมารับบริการหรือมารับยาแทนผู้ป่วย ที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จับคู่ให้กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะใกล้เคียงกันด้วยรายได้ของครอบครัวและภาวะสุขภาพ ใช้การสุ่มอย่างง่ายแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลอง 19 ราย และกลุ่มควบคุม 20 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่ม แบบประเมินคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท แบบวัดการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน โดยเครื่องมือสองชุดหลังมีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคเท่ากับ 0.79 และ 0.80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท หลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. ค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเภท กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนทางสังคมแบบกลุ่มสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่ต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ตามรูปแบบของเพนเดอร์ในบิดา-มารดาเด็กป่วยโรคหืด, วิชชุดา มากมาย Jan 2017

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่ต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ตามรูปแบบของเพนเดอร์ในบิดา-มารดาเด็กป่วยโรคหืด, วิชชุดา มากมาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่ต่อพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ตามรูปแบบของเพนเดอร์ในบิดา-มารดาเด็กป่วยโรคหืด กลุ่มตัวอย่างคือ บิดา-มารดาที่สูบบุหรี่ของเด็กป่วยโรคหืดอายุต่ำกว่า 5 ปี ที่มารับบริการที่คลินิกโรคภูมิแพ้ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงตามคุณสมบัติที่กำหนดไว้ จำนวน 50 คน จัดให้กลุ่มตัวอย่าง 25 คนแรกเป็นกลุ่มควบคุม แล้วจัดให้กลุ่มตัวอย่างอีก 25 คนหลังเข้ากลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุมได้รับคำแนะนำตามปกติ ส่วนกลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่ ซึ่งพัฒนามาจากรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์และการทบทวนวรรณกรรม กิจกรรมในโปรแกรม ประกอบด้วย การให้ความรู้เรื่องพิษภัยของควันบุหรี่มือสองต่อภาวะสุขภาพเด็กป่วยโรคหืด แนะนำวิธีการเลิกบุหรี่ด้วยตนเอง การให้ความรู้เกี่ยวกับอาการถอนนิโคติน ตลอดจนวิธีการจัดการกับอาการถอนนิโคตินและการป้องกันการสูบซ้ำ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ ซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .89 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบด้วยสถิติที และสถิติซี ผลการวิจัยพบว่า 1. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของบิดา-มารดาเด็กป่วยโรคหืดที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่สูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการเลิกบุหรี่ของบิดา-มารดาเด็กป่วยโรคหืดกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมการเลิกบุหรี่สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) 3. เมื่อประเมินที่ระยะเวลา 2 เดือนหลังการทดลอง พบว่า บิดา-มารดาเด็กป่วยโรคหืดในกลุ่มทดลองเลิกบุหรี่ได้ 15 คน ส่วนกลุ่มควบคุมเลิกได้ 5 คน อัตราการเลิกบุหรี่ในช่วง 7 วันก่อนประเมินผล ในกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05)


ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ, วิไลวรรณ แสงเนียม Jan 2017

ปัจจัยทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ, วิไลวรรณ แสงเนียม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบหาความสัมพันธ์เชิงทำนาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและศึกษาปัจจัยทำนายได้แก่ ความสามารถในการฟื้นพลัง การเผชิญปัญหา ความปวด ความรุนแรงของการบาดเจ็บ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบภายหลังบาดเจ็บ 1 เดือน - 5 ปี อายุ 18-59 ปี ที่มาตรวจแผนกผู้ป่วยนอกคลินิกศัลยกรรมบาดเจ็บ ศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมประสาท ศัลยกรรมกระดูกและข้อ ของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า และคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช จำนวน 106 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลการเจ็บป่วย แบบสอบถามความสามารถในการฟื้นพลัง แบบสอบถามการเผชิญปัญหา แบบสอบถามความปวด และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน หาค่าความเที่ยงเท่ากับ .90, .71, .91, และ .71 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วยเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสเปียร์แมน และสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบอยู่ในระดับไม่ดี ( x =725.21, SD = 140.57) 2. ความสามารถในการฟื้นพลัง มีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .442) 3. การเผชิญปัญหาแบบมุ่งปรับอารมณ์ ความปวด ความรุนแรงของความปวด และความพิการที่เกิดจากความปวด มีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =-.472; rs = -.476, -.536, -.452 ตามลำดับ) 4. ความรุนแรงของการบาดเจ็บไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ 5. ความรุนแรงของความปวด ความสามารถในการฟื้นพลัง การเผชิญปัญหาแบบมุ่งปรับอารมณ์ และความพิการที่เกิดจากความปวด สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยบาดเจ็บหลายระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F=24.159) และร่วมทำนายได้ร้อยละ 48.9 (R2=.489) Zคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ = -.187 …


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในอาคารสูง กรุงเทพมหานคร, สุชาดา ใจซื่อ Jan 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในอาคารสูง กรุงเทพมหานคร, สุชาดา ใจซื่อ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศ การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคม กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในอาคารสูง กรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดของ Pender (2002) กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในชุมชนอาคารทรัพย์สิน 26-7 จำนวน 117 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ แบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเอง และแบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม ได้ผ่านการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเที่ยงของแบบสอบถามเท่ากับ .88, .88, .80, .85 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย สถิติที และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุที่พักอาศัยในอาคารสูง กรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับสูง (Mean=3.05, SD= .32) 2. การรับรู้ประโยชน์ของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเอง และการสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในอาคารสูง กรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .658, .632 และ .627 ตามลำดับ) 3. เพศ และการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในอาคารสูง กรุงเทพมหานครอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ .05


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์, หมื่นไทย เหล่าบรรเทา Jan 2017

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์, หมื่นไทย เหล่าบรรเทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์ และตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนาแบบประเมิน โดยทบทวนวรรณกรรมและสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง จำนวน 10 คน เพื่อกำหนดรายการสมรรถนะ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ตรวจสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบด้วยวิธีสกัดตัวประกอบหลัก หมุนแกนแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ กับกลุ่มตัวอย่างพยาบาลวิชาชีพ จำนวน 330 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงและสุ่มแบบมีระบบ นำผลที่ได้ไปสร้างแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์ 2) การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน โดยนำแบบประเมินที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 3กลุ่ม คือ ผู้บังคับบัญชา หัวหน้าหอผู้ป่วย และผู้ใต้บังคับบัญชา จำนวน 350 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงและสุ่มแบบมีระบบ ประกอบด้วย การตรวจสอบหาความสอดคล้องของการประเมิน ความเที่ยงของแบบประเมิน และความเที่ยงของการใช้แบบประเมิน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์ ประกอบด้วย 8 ด้าน มีจำนวนข้อรายการสมรรถนะย่อย 62 ข้อ สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 80.41 ดังนี้ 1) ด้านการพัฒนาคุณภาพบริการพยาบาลและการบริหารความปลอดภัย 11 ข้อ 2) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 9 ข้อ 3) ด้านภาวะผู้นำ 9 ข้อ 4) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 7 ข้อ5) ด้านการจัดการทรัพยากรมนุษย์ 9 ข้อ 6) ด้านการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม 6 ข้อ 6) ด้านการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ 6 ข้อ 7) ด้านวิชาการ วิจัยและนวัตกรรม 5 ข้อ 2. คุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะหัวหน้าหอผู้ป่วย โรงพยาบาลสุรินทร์ การประเมินของผู้ประเมิน 3 กลุ่ม ผู้บังคับบัญชา หัวหน้าหอผู้ป่วย …


ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของชายวัยกลางคนในเขตกรุงเทพมหานคร, ไวริญจน์ เปรมสุข Jan 2017

ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของชายวัยกลางคนในเขตกรุงเทพมหานคร, ไวริญจน์ เปรมสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงทำนาย เพื่อศึกษาพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของชายวัยกลางคนในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ชายวัยกลางคนที่มีโรคประจำตัว ได้แก่ โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคอ้วน อย่างน้อย 1 โรค ที่มารับบริการที่คลินิกเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และอายุรกรรมทั่วไป โรงพยาบาลระดับตติยภูมิในเขตกรุงเทพมหานคร 3 แห่ง จำนวน 175 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการคัดเลือกตามสะดวก เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม 8 ส่วน ได้แก่ 1) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความเครียดในชีวิตประจำวัน 3) แบบสอบถามการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค 4) แบบสอบถามการรับรู้ความรุนแรงของโรค 5) แบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค 6) แบบสอบถามการรับรู้อุปสรรคของการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค 7) แบบสอบถามปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค และ 8) แบบสอบถามพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ แบบสอบถามผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน แบบสอบถามส่วนที่ 3 ถึงส่วนที่ 8 มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.83, 0.83, 0.80, 0.84, 0.80 และ 0.82 ตามลำดับ แบบสอบถามส่วนที่ 2 ถึงส่วนที่ 8 มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาค เท่ากับ 0.93, 0.76, 0.86, 0.93, 0.81, 0.71 และ 0.75 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณแบบมีขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า 1) ชายวัยกลางคนในเขตกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจอยู่ในระดับเหมาะสม (Mean = 97.44, S.D.=12.758) 2) ปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของชายวัยกลางคนในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 4 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยกระตุ้นการปฏิบัติเพื่อป้องกันโรค (Beta=.464) ความเครียดในชีวิตประจำวัน (Beta= -.232) ระดับการศึกษา (Beta=.205) และการรับรู้ประโยชน์ของการป้องกันโรค (Beta=.128) สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจของชายวัยกลางคนในเขตกรุงเทพมหานครได้ร้อยละ 37.4 …


การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ หน่วยวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ, กัญญารัตน์ ทะริยะ Jan 2017

การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ หน่วยวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ, กัญญารัตน์ ทะริยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบและตัวแปรที่อธิบายสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ หน่วยวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหน่วยวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีประสบการณ์การทำงานตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป จำนวน 276 คน ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมี 2 ขั้นตอน คือ 1) การทบทวนวรรณกรรม 2) การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์การทำงานในหน่วยวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิและหาความเที่ยงของเครื่องมือ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .979 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันโปรดักโมเมนต์ วิเคราะห์องค์ประกอบโดยการสกัดองค์ประกอบหลัก (Principle component) หมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอล (Orthogonal) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax) ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ หน่วยวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและทรวงอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ มีทั้งหมด 7 องค์ประกอบ บรรยายด้วย 55 ตัวแปร มีค่าความแปรปรวนรวมคิดเป็นร้อยละ 79.963 ได้แก่ 1) องค์ประกอบที่ 1 สมรรถนะด้านการปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงในผู้ป่วยวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและทรวงอก ประกอบด้วย 14 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 18.468 2) องค์ประกอบที่ 2 สมรรถนะด้านการส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพและวิจัยทางการพยาบาล ประกอบด้วย 8 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 12.736 3) องค์ประกอบที่ 3 สมรรถนะด้านการประเมินและเฝ้าระวังอาการผิดปกติในผู้ป่วยวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและทรวงอก ประกอบด้วย 8 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 11.919 4) องค์ประกอบที่ 4 สมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางในผู้ป่วยวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและทรวงอก ประกอบด้วย 8 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 10.336 5) องค์ประกอบที่ 5 สมรรถนะด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤตหลังผ่าตัดหัวใจและทรวงอก ประกอบด้วย 5 ตัวแปร สามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 9.718 6) …


ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว, ศิริมา สมตน Jan 2017

ผลของโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ต่อความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว, ศิริมา สมตน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) ใช้รูปแบบเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่มที่ไม่เท่าเทียมกัน (Nonequivalent comparison-group design) วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วก่อนและหลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และเปรียบเทียบความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วหลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับผู้ป่วยที่ได้รับการพยาบาลปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาราชนครินทร์ จำนวน 40 คน กลุ่มตัวอย่างถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 20 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์, 2) แบบประเมินความรุนแรงของอาการ Brief Bipolar Disorder Symptom Scale, 3) แบบประเมินความรู้เรื่องโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว และ4) แบบสัมภาษณ์การจัดการกับอาการด้วยตนเอง เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 2 มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค เท่ากับ .85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วหลังได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์น้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความรุนแรงของอาการในผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วที่ได้รับโปรแกรมสุขภาพจิตศึกษาร่วมกับการใช้สื่อสังคมออนไลน์น้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


บทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน, เกวลี เชียรวิชัย Jan 2017

บทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน, เกวลี เชียรวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้างและองค์ประกอบย่อยบทบาทหลักแต่ละด้านของบทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ประกอบด้วย ผู้บริหารเชิงนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข นักวิชาการ/ผู้สอนหลักสูตร Care manager ผู้บริหารทางการพยาบาลโรงพยาบาลชุมชน/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และผู้ปฏิบัติบทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในโรงพยาบาลชุมชน/โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 18 คน การดำเนินงานวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในรอบที่ 1 มาวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่เนื้อหาสาระในลักษณะเดียวกัน สร้างเป็นแบบสอบถามมาตราประมาณค่า 5 ระดับ ให้ผู้เชี่ยวชาญเขียนตอบระดับความสำคัญขององค์ประกอบย่อยในแต่ละข้อรายการ เพื่อนำมาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันคำตอบ และนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการศึกษาพบว่า บทบาทพยาบาลผู้จัดการการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวในชุมชน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก และมีองค์ประกอบย่อยจำนวน 47 ข้อรายการ ได้แก่ 1) บทบาทผู้วางแผนการดูแล มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 7 ข้อรายการ 2) บทบาทผู้ปฏิบัติการพยาบาล มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 9 ข้อรายการ 3) บทบาทผู้ประสานงาน มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 7 ข้อรายการ 4) บทบาทผู้นำ มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 9 ข้อรายการ 5) บทบาทผู้ให้คำปรึกษา มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 9 ข้อรายการ และ 6) บทบาทผู้พิทักษ์สิทธิ์ มีองค์ประกอบย่อยจำนวน 6 ข้อรายการ โดยพบว่าทั้ง 6 องค์ประกอบหลัก มีทุกองค์ประกอบย่อยจำนวน 47 ข้อรายการ มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด


การศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้านผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย, เกศินี พุทธมนต์ Jan 2017

การศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้านผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย, เกศินี พุทธมนต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้านผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับการดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย จำนวน 18 คน โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ เดลฟาย วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 เป็นการสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง เกี่ยวกับตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้านผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหา แล้วนำมาสร้างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญในแต่ละข้อ และขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามมาคำนวณหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และนำกลับส่งไปยังผู้เชี่ยวชาญเพื่อยืนยันคำตอบ หลังจากนั้นนำข้อมูลมาคำนวณหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดคุณภาพการพยาบาลด้านผลลัพธ์การดูแลแบบประคับประคองในผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ประกอบด้วย 6 ด้าน 37 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านการทุเลาอาการเจ็บปวดของผู้ป่วย จำนวน 5 ข้อ 2) ด้านการทุเลาอาการรบกวนทางกายต่างๆของผู้ป่วย จำนวน 8 ข้อ 3) ด้านความปลอดภัยของผู้ป่วยจากภาวะแทรกซ้อนต่างๆ จำนวน 4 ข้อ 4) ด้านการได้รับการตอบสนองความต้องการด้านจิตใจ จิตสังคม และจิตวิญญาณ ของผู้ป่วยและครอบครัว จำนวน 5 ข้อ 5) ด้านการเผชิญปัญหาและการปรับตัวของผู้ป่วยและครอบครัว จำนวน 8 ข้อ และ6) ด้านการเผชิญกับความตายอย่างสงบของผู้ป่วยและครอบครัว จำนวน 7 ข้อ


โปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน, เพ็ญพิไล โพธิ์ทะเล Jan 2017

โปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน, เพ็ญพิไล โพธิ์ทะเล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะต่อพฤติกรรมของมารดาในการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหัน ตามแนวคิดการสอนแนะของ Parsloe และ Wray (2000) กลุ่มตัวอย่าง คือ มารดาของทารกเกิดก่อนกำหนด จำนวน 50 ราย ได้รับการจับคู่ให้มีอายุและประสบการณ์การดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดคล้ายกัน แบ่งเป็นกลุ่มละ25 ราย กลุ่มทดลองได้รับการสอนแนะ 3 ครั้งในช่วง 3 วันก่อนการจำหน่ายและ โทรติดตาม เยี่ยมหลังการจำหน่าย 2 ครั้ง กลุ่มควบคุมได้รับการเตรียมความพร้อมในการดูแลทารกก่อนกลับบ้าน 7 วันก่อนการจำหน่ายตามปกติ เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการสอนแนะและคู่มือการป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในทารก และแบบสอบถามพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาเพื่อป้องกันการตายอย่างกะทันหันในทารกและแบบสอบถามความมั่นใจในการปฏิบัติเพื่อป้องกันการเสียชีวิตอย่างกะทันหันในทารกเกิดก่อนกำหนด เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน แบบสอบถามทั้ง 2 ชุด มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .89 และ .80 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการดูแลทารกเกิดก่อนกำหนดของมารดาเพื่อป้องกันการตายอย่างกะทันหันในทารก กลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาในผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว, เมธาวี ลุนสมบัติ Jan 2017

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาในผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว, เมธาวี ลุนสมบัติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส การประกอบอาชีพ การใช้สารเสพติด การรับรู้การเจ็บป่วยของตนเอง ทัศนคติต่อการรับประทานยา อายุที่เริ่มป่วย ประวัติการนอนโรงพยาบาลด้วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ระดับความรุนแรงของโรค ฤทธิ์ข้างเคียงจากการใช้ยา กับการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาในผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว กลุ่มตัวอย่างจำนวน 198 คน เป็นผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คุณสมบัติในการคัดเข้าจากแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลรามาธิบดี และโรงพยาบาลวชิรพยาบาล เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินฤทธิ์ข้างเคียงจากการใช้ยา 3) แบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา 4) แบบประเมินการรับรู้การเจ็บป่วย 5) แบบประเมินทัศนคติต่อการรับประทานยา และ 6) แบบประเมินความรุนแรงของอาการ เครื่องมือชุดที่ 2-6 โดยมีค่าความเที่ยงอัลฟาครอนบาค เท่ากับ .813, .879, .808, .814 และ .805 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา สถิติสหสัมพันธ์สเปียร์แมน และค่าสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว มีการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( x = 4.64, S.D. = 0.46) 2. เพศ ระดับการศึกษา สถานภาพสมรส การประกอบอาชีพ การใช้สารเสพติด การรับรู้การเจ็บป่วยของตนเอง และประวัติการนอนโรงพยาบาลด้วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วไม่มีความสัมพันธ์กับการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาในผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3. อายุ อายุที่เริ่มป่วย และทัศนคติต่อการรับประทานยามีความสัมพันธ์ทางบวกกับการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาในผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 4. ระดับความรุนแรงของโรค และฤทธิ์ข้างเคียงจากการใช้ยามีความสัมพันธ์ทางลบกับการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาในผู้ป่วยโรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้วอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


ผลของการให้การดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดโดยผู้ดูแลในครอบครัวต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง, เสาวนีย์ เปรมทอง Jan 2017

ผลของการให้การดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดโดยผู้ดูแลในครอบครัวต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง, เสาวนีย์ เปรมทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เพื่อศึกษาผลของการให้การดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดโดยผู้ดูแลในครอบครัวต่อภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมอง โดยใช้แนวคิดฮิวแมนนิจูดของ Gineste & Marescotti (2008) กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลในครอบครัวและผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองที่มีภาวะซึมเศร้า โดยคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 44 คู่ แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 คู่ กลุ่มควบคุม 22 คู่ โดยการจับคู่เพศ อายุ ระดับความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ระดับภาวะซึมเศร้าและความสัมพันธ์ของผู้ดูแลในครอบครัวกับผู้สูงอายุ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ การดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูดโดยผู้ดูแลในครอบครัว ผ่านการตรวจสอบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบประเมินภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุไทย มีค่าความเที่ยงตรงเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองภายหลังได้รับการดูแลตามแนวคิดฮิวแมน-นิจูดโดยผู้ดูแลในครอบครัว ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมการดูแลตามแนวคิดฮิวแมนนิจูด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามแนวคิดฮิวแมน-นิจูดโดยผู้ดูแลในครอบครัว ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาสมรรถนะพยาบาลจักษุ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, โศศิษฐา ไชยมนตรี Jan 2017

การศึกษาสมรรถนะพยาบาลจักษุ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ, โศศิษฐา ไชยมนตรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลจักษุตามบันไดอาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ EDFR ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านจักษุ ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษา กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารงานการพยาบาลจักษุ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาลขั้นสูง กลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการพยาบาล และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิชาการ รวมทั้งหมด 19 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการเก็บข้อมูล 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์เกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลจักษุ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐแต่ละระดับ โดยจำแนกตามระดับของพยาบาลตามแนวคิดของ Benner (1984) รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จาการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของสมรรถนะของข้อคำถามแต่ละข้อ รอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์จัดทำเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคำตอบอีกครั้ง หลังจากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัยซึ่งผลการวิจัยพบว่า พยาบาลจักษุ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐ ประกอบด้วยสมรรถนะ 4 ด้าน ดังนี้ 1. สมรรถนะด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางตา ประกอบด้วยสมรรถนะย่อย 100 รายข้อ 2. สมรรถนะด้านการจัดการความเสี่ยง ประกอบด้วยสมรรถนะย่อย 5 รายข้อ 3. สมรรถนะด้านการให้ข้อมูลและคำปรึกษา ประกอบด้วยสมรรถนะย่อย 15 รายข้อ 4. สมรรถนะด้านการพัฒนาคุณภาพการพยาบาล ประกอบด้วยสมรรถนะย่อย 10 รายข้อ พยาบาลจักษุ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยของรัฐทั้ง 5 ระดับ จะมีสมรรถนะเหล่านี้แตกต่างกัน โดยสรุปได้ดังนี้ พยาบาลระดับ 1 สามารถให้การพยาบาลเฉพาะทางตาและปฏิบัติงานอื่นๆ ได้ในระดับพื้นฐานและอยู่ภายใต้การดูแลของพยาบาลพี่เลี้ยง พยาบาลระดับ 2 สามารถให้การพยาบาลเฉพาะทางตาและปฏิบัติงานอื่นๆ ในผู้ป่วยที่ไม่มีปัญหาซับซ้อนได้ครอบคลุมทั้ง 4 มิติ กาย จิต สังคม อารมณ์ รวมทั้งสามารถนำนวัตกรรรมทางการพยาบาลมาใช้ได้อย่างถูกต้อง พยาบาลระดับ 3 สามารถนำความรู้เชิงลึกมาใช้ในการให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาซับซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งประยุกต์ใช้ผลงานวิจัยมาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาลได้ พยาบาลระดับ 4 สามารถตอบสนองต่อเหตุการณ์เฉพาะหน้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ตลอดจนสร้างงานวิจัยและนวัตกรรมทางการพยาบาลเฉพาะทางตาได้ พยาบาลระดับ 5 สามารถเป็นผู้นำในการพัฒนาคุณภาพทางการพยาบาลโดยการนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการปฏิบัติการพยาบาล รวมทั้งเป็นแบบอย่างด้านการพยาบาลและการพัฒนานวัตกรรมและงานวิจัยเฉพาะทางตาได้


ผลของโปรเเกรมการปรับพฤติกรรมการนอนต่ออาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว, กรรณิกา ชูจิตร Jan 2017

ผลของโปรเเกรมการปรับพฤติกรรมการนอนต่ออาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว, กรรณิกา ชูจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการปรับพฤติกรรมการนอนต่ออาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว ที่มารับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกที่ห้องตรวจโรคหัวใจ และห้องตรวจโรคอายุรกรรม ณ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด จำนวน 40 คน สุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน โดยจับคู่ให้ทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันในเรื่อง ระดับความรุนแรงของภาวะหัวใจล้มเหลว และระดับอาการนอนไม่หลับก่อนการทดลอง โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับพฤติกรรมการนอน ของ Troxel et al.(2012) ที่ประกอบด้วยการให้ความรู้เกี่ยวกับสุขวิทยาการนอนหลับ หลักการปรับพฤติกรรมการนอนหลับ (การจำกัดการนอนและการควบคุมสิ่งเร้า) และการให้ผู้ป่วยปฏิบัติตามตารางการนอนหลับอย่างต่อเนื่องที่บ้าน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามอาการนอนไม่หลับของ Morin (1993) ฉบับที่แปลเป็นภาษาไทยโดย พัทรีญา แก้วแพง (2547) ได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 4 ท่าน และหาค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวในหลังได้รับโปรแกรมการปรับพฤติกรรมการนอนน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการปรับพฤติกรรมการนอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรับพฤติกรรมการนอนน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05