Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Music

2017

Institution
Keyword
Publication
Publication Type
File Type

Articles 1891 - 1903 of 1903

Full-Text Articles in Entire DC Network

การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย ทรรศวรรณ ภูริเริงภูมิ, ทรรศวรรณ ภูริเริงภูมิ Jan 2017

การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย ทรรศวรรณ ภูริเริงภูมิ, ทรรศวรรณ ภูริเริงภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวเปียโนในครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการพัฒนาด้านทักษะทางด้านการบรรเลงเปียโน ผู้แสดงได้เลือกสรรค์บทประพันธ์ที่มีมาตรฐาน บทประพันธ์ที่ใช้ในการแสดงในครั้งนี้มีความแตกต่างกันของยุคสมัยโดยจะได้ศึกษาด้านประวัติศาสตร์ทางดนตรี ชีวประวัติของผู้ประพันธ์ การวิเคราะห์ การตีความบทประพันธ์ การฝึกซ้อม การสื่ออารมณ์และความหมายของบทประพันธ์ต่อผู้ฟัง การเตรียมตัวก่อนการแสดง และการแสดงต่อหน้าสาธารณชน ในการแสดงครั้งนี้ผู้แสดงได้คัดเลือกบทประพันธ์ทั้งหมด 6 บทเพลง ดังนี้ (1) Piano Sonata in G major, K.13 ประพันธ์โดย Domenico Scarlatti (2) Piano Sonata in E minor, K.98 ประพันธ์โดย Domenico Scarlatti (3) Piano Sonata in E flat major, Op.27 No.1 ประพันธ์โดย Ludwig van Beethoven (4) Kinderszenen, Op.15 ประพันธ์โดย Robert Schumann (5) Love of the Three Oranges Op.33 และ Romeo and Juliet Op.75 ประพันธ์โดย Sergei Prokofiev การแสดงเดี่ยวเปียโนในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 16.00 น. ณ ห้องแสดงดนตรีธงสรวง โดยแบ่งการแสดงออกเป็น 2 ช่วง ใช้เวลาในการแสดงทั้งหมด 1 ชั่วโมง 15 นาที รวมพักครึ่งการแสดง คำสำคัญ: เปียโน / การแสดงเดี่ยวเปียโน / ทรรศวรรณ ภูริเริงภูมิ


การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิก โดย ธาณิช แสงวิชัย, ธาณิช แสงวิชัย Jan 2017

การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิก โดย ธาณิช แสงวิชัย, ธาณิช แสงวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะด้านการบรรเลงกีตาร์คลาสสิกโดยนักแสดงได้ตัดเลือกบทเพลงที่ต่างยุกคต่างสมัยกันเพื่อสาธิตความเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของดนตรีในแต่ละยุคสมัย การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกในครั้งนี้ ผู้แสดงได้คัดเลือกไว้ทั้งหมด 5 บทเพลง ได้แก่ (1) Rondo Op.2 No.3 ประพันธ์โดย Dionisio Aguado (2) Suite Espanola, Op.47 ประพันธ์โดย Isaac Albeniz (3) Theme, Variations and Finale ประพันธ์โดย Manuel Ponce (4) Prelude, Fugue and Allegro, BWV 998 ประพันธ์โดย Johann Sebastian Bach และ (5) Sonata ประพันธ์โดย Antonio Jose การแสดงครั้งนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 15.00 น. ณ ห้องแสดงดนตรี ชั้น 3 คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้เวลาในการแสดงทั้งสิ้นประมาณ 1 ชั่วโมง This guitar recital aims to develop the performer's performance abilities. The performer chose a number of pieces to represent certain periods and characteristics of each era. The program consists of 5 pieces: (1) Rondo Op.2 No.3 by Dionisio …


การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกโดย ภูนที ทาคำ, ภูนที ทาคำ Jan 2017

การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกโดย ภูนที ทาคำ, ภูนที ทาคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกโดย ภูนที ทาคำ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพทางด้านต่าง ๆ ของผู้แสดงให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล ทั้งด้านเทคนิคการบรรเลงกีตาร์ การศึกษาประวัติเพลงและผู้แต่ง การวิเคราะห์และตีความบทเพลง รวมถึงการเตรียมตัวและกระบวนการจัดแสดงผลงาน ทั้งนี้ยังเป็นการเผยแพร่บทเพลงกีตาร์คลาสสิกให้เป็นที่รู้จัก ผู้แสดงได้คัดเลือกบทเพลงที่ใช้ในการแสดงทั้งหมด 6 บทเพลง จากยุคบาโรก ยุคคลาสสิก ยุคดนตรีศตวรรษที่ 20 และดนตรีร่วมสมัย ได้แก่ (1) Fantasie sur deux Motifs de La Norma แต่งโดย Napoleon Coste (2) Violin Sonata No. 1 BWV 1001 แต่งโดย Johann Sebastian Bach (3) La Cathedral แต่งโดย Agustin Barrios (4) Libra Sonatine แต่งโดย Rolands Dyens (5) Aquarelle แต่งโดย Sergio Assad และ (6) Histoire du Tango แต่งโดย Astor Piazzolla การแสดงครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 13.00 น. ณ ห้องแสดงดนตรี ชั้น 3 คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การแสดงแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ระยะเวลาโดยประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที


การแสดงขับร้องเดี่ยวโดย พันธวิทย์ อัศวเดชเมธากุล, พันธวิทย์ อัศวเดชเมธากุล Jan 2017

การแสดงขับร้องเดี่ยวโดย พันธวิทย์ อัศวเดชเมธากุล, พันธวิทย์ อัศวเดชเมธากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงขับร้องเดี่ยวโดย พันธวิทย์ อัศวเดชเมธากุล มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาและวิเคราะห์บทเพลง เทคนิคการขับร้องและการนำเสนอบทเพลงด้วยการใช้เสียงประเภทเคาน์เตอร์เทเนอร์ ซึ่งเป็นลักษณะเสียงที่ต้องใช้เทคนิคการขับร้องขั้นสูงตามกระบวนแบบยุคบาโรก และใช้วิธีการฝึกซ้อมอย่างมีแบบแผนด้วยความละเอียด โดยได้คัดเลือกบทเพลงชุด Stabat mater ประพันธ์โดย โจวานนี บาทิสตา เปร์โกเลซี (Giovanni Battista Pergolesi : 1710-1736) เป็นเพลงชุดประกอบด้วย 12 บทเพลงจากบทกวีภาษาละตินศตวรรษที่ 14 ซึ่งมีความหลากหลายทั้งในศาสตร์ของการขับร้องเดี่ยวและคู่ บทเพลงเร็วและช้า และลีลาของทำนองที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ รวมทั้งการถอดความและตีความบทเพลงซึ่งมีหลากหลายกระบวนแบบ จากนั้นนำสู่การฝึกปฏิบัติ การวางแผนการฝึกซ้อมและการจัดแสดง การฝึกซ้อมร่วมกับนักร้องคู่และเปียโนบรรเลงประกอบ เพื่อถ่ายทอดบทเพลงอย่างได้อรรถรส ตามที่ผู้ประพันธ์ได้รังสรรค์ไว้


การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย มันทนา ก่อพานิชกุล, มันทนา ก่อพานิชกุล Jan 2017

การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย มันทนา ก่อพานิชกุล, มันทนา ก่อพานิชกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวเปียโนในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการบรรเลงเปียโน โดยผู้แสดงได้คัดเลือกบทเพลงที่มีมาตรฐานเทียบเท่ากับระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก บทประพันธ์สำหรับการแสดงในครั้งนี้คัดเลือกมาจากยุคสมัยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ผู้แสดงจะได้ศึกษาประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์ การตีความบทประพันธ์ การฝึกซ้อม การถ่ายทอดอารมณ์ และพัฒนาทักษะในการบรรเลง โดยผู้แสดงได้ทำการคัดเลือกบทเพลงสำหรับการแสดงครั้งนี้ไว้ 4 บทเพลงดังนี้ 1. Le Rappel Des Oiseaux ผลงานการประพันธ์ของ Jean-Philippe Rameau 2. Miroirs ผลงานการประพันธ์ของ Maurice Ravel 3. Trois Pièces for Piano ผลงานการประพันธ์ของ Francis Poulenc 4. Images (Book 1) ผลงานการประพันธ์ของ Claude Debussy การแสดงในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 14.00 น. ณ ห้องแสดงดนตรีธงสรวง (Tongsuang Recital Hall) ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 54/1 ถนนสุขุมวิทซอย 3 กรุงเทพมหานคร การแสดงทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 83 นาที


การแสดงเดี่ยวไวโอลินโดย อธิปไตย พรหมสุรินทร์, อธิปไตย พรหมสุรินทร์ Jan 2017

การแสดงเดี่ยวไวโอลินโดย อธิปไตย พรหมสุรินทร์, อธิปไตย พรหมสุรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวไวโอลินในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับบทเพลงที่ใช้แสดงไวโอลินประกอบด้วยการศึกษาเกี่ยวกับผู้ประพันธ์ในด้านชีวประวัติ ด้านการประพันธ์เพลงและแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลงของผู้ประพันธ์ การตีความบทเพลง เปรียบเทียบการตีความในบทเพลงของนักแสดงไวโอลินต่างๆ ศึกษาแนวความคิดและเทคนิคการบรรเลง และวิเคราะห์ในบทเพลงเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการฝึกซ้อม การเตรียมตัวสำหรับการแสดงและรวมถึงการจัดการแสดง การแสดงเดี่ยวไวโอลินได้คัดเลือกบทเพลงบรรเลง 4 บทเพลง จากการประพันธ์ของนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงและได้ประพันธ์ผลงานอันทรงคุณค่าไว้รวมทั้งหมด 3 ยุค ได้แก่ (1) Violin sonata no.1 in A minor, Op.105 ประพันธ์โดย Robert Schumann (2) Sonatas for solo Violin no.3 in D minor, Op.27 (Ballade) ประพันธ์โดย Eugene Esaye (3) Violin Concerto in D major, Op.61 ประพันธ์โดย Lugwig Van Beethoven (4) Cantabile for Violin and Piano in D major, Op.17 ประพันธ์โดย Niccolo Paganini การแสดงเดี่ยวไวโอลินในครั้งนี้กำหนดจัดการแสดงในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561 เริ่มการแสดงเวลา 14.00 น. ณ ห้อง Recital hall ชั้น 3 คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมเวลาที่ใช้ในการแสดง 1 ชั่วโมง 30 นาที


มหาบัณฑิตนิพนธ์การประพันธ์เพลง: สุวรรณภูมิ (แผ่นดินทอง) สำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา, อัญนา แจสิริ Jan 2017

มหาบัณฑิตนิพนธ์การประพันธ์เพลง: สุวรรณภูมิ (แผ่นดินทอง) สำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา, อัญนา แจสิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทเพลง สุวรรณภูมิ (แผ่นดินทอง) มีวัตถุประสงค์ในการประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นผลงานในการนำออกแสดงเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในวโรกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบ 70 ปี และสะท้อนวัฒนธรรมดนตรีที่มีนวัตกรรมทางดนตรีพื้นเมืองของไทยทั้ง 4 ภาค โดยผู้วิจัยแบ่งบทเพลงออกเป็นทั้งหมด 4 ท่อนดังนี้ ท่อนที่ 1 ผู้วิจัยให้ความสำคัญกับการจัดลำดับกลุ่มโน้ตที่จะใช้ในแต่ละตอนของท่อนนี้ ผสมกับจังหวะที่คล้ายกับจังหวะรำวงพื้นบ้าน ท่อนที่ 2 ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มโน้ตที่สื่อถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และนำมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ในท่อนนี้ ผนวกกับใช้คอร์ดคู่ 4 เรียงซ้อน และคอร์ดคู่ 5 เรียงซ้อนมาเป็นเสียงประสานผสมกับทำนองเพลงพื้นบ้านภาคเหนือทั้ง 3 เพลง ทำให้ท่อนนี้ยังคงมีกลิ่นอายของความเป็นภาคเหนือของไทย ท่อนที่ 3 ทำนองหลักมาจากเพลงพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้วิจัยทำให้อัตราจังหวะเกิดความคลาดเคลื่อนผสมกับความไม่สมมาตรในแง่ต่าง ๆ ของตัวดนตรี ในท่อนสุดท้ายของบทเพลง สุวรรณภูมิ (แผ่นดินทอง) ผู้วิจัยได้เลือกใช้เพลงพื้นบ้านของภาคใต้ นอกจากนั้นผู้วิจัยใช้เสียงประสานที่เป็นกลุ่มเสียงสมมาตรในตัวทำให้เกิดแกนกลางความสมมาตร จากที่กล่าวมาในข้างต้นจะเห็นได้ว่า สุวรรณภูมิ (แผ่นดินทอง) เป็นบทเพลงมีแสดงถึงชนชาติของผู้วิจัยอย่างชัดเจน กล่าวได้ว่าบทเพลงนี้ถือเป็นดนตรีชาตินิยม


The Application Of Konokol To Guitar Improvisation And Composition, Glenn Andrew Rogers Jan 2017

The Application Of Konokol To Guitar Improvisation And Composition, Glenn Andrew Rogers

Theses: Doctorates and Masters

This dissertation is an exploration of the rhythmic concepts used in two South Indian musical theory concepts, solkattu and konokol. Konokol application largely depends on instrument limitations and musical contexts. The principle focus here is on my personal application of konokol to the guitar both through composed and improvised music. A detailed study of konokol was undertaken through private lessons in India and personal experimentation to determine how these concepts could be adapted to Western improvisation, harmony and composition, as well as right--‐hand classical guitar and plectrum techniques. This was done intuitively by exploring guitar techniques and konokol simultaneously. …


Investigating Register Preferences In The Female Singer Of Contemporary Commercial Music, Tracey Cooke Jan 2017

Investigating Register Preferences In The Female Singer Of Contemporary Commercial Music, Tracey Cooke

Theses: Doctorates and Masters

The middle register is a region of the voice which has been discussed and disputed for many years in the disciplines of vocal pedagogy and voice science. This project, which was inspired by my own experience as a singing teacher in the private studio, seeks to investigate how female professional and pre-professional vocalists relate to their middle register. For the purposes of this dissertation, the middle register is assumed to refer to an area of the trained voice, or of the voice in training.

The project is composed of three studies. In Study One a pilot questionnaire was distributed to …


Hymn Preludes: Book Five "The Sacrament" - Piano Or Organ, Keith D. Rowley Dec 2016

Hymn Preludes: Book Five "The Sacrament" - Piano Or Organ, Keith D. Rowley

Keith D Rowley

20 hymn preludes of sacrament (communion) hymns.


The Christmas Carols Of Keith D Rowley - Part 5, Keith D. Rowley Dec 2016

The Christmas Carols Of Keith D Rowley - Part 5, Keith D. Rowley

Keith D Rowley

Six Christmas carols composed between 2012 and 2017.


A Philosophy Of Music Education According To Kant, Adrian D. Barnes Dec 2016

A Philosophy Of Music Education According To Kant, Adrian D. Barnes

Adrian Barnes

This article examines the past and current philosophies of music education based on the "music-education-is-aesthetic-education" model to offer clarification on the true aesthetic goals of music education. Through the use of Immanuel Kant's "Analytic of the Beautiful," the author insists that the goals of music education should be changed from teaching aesthetic evaluation, which cannot be done since pure aesthetic judgment is free from cognition, to the teaching, and judging, of the good and agreeable. Thus, the article suggests changing the goals of music education from teaching aesthetic evaluation to teaching appreciation.


Arnold Dolmetsch's "Green Harpsichord" And The Musical Arts And Crafts, Edmond Johnson Dec 2016

Arnold Dolmetsch's "Green Harpsichord" And The Musical Arts And Crafts, Edmond Johnson

Edmond Johnson

This study uses Arnold Dolmetsch’s “Green Harpsichord” as a starting point for a larger discussion of the relationship between Arnold Dolmetsch, William Morris, and other members of the Arts and Crafts movement who were active in London in the 1890s. Built in 1896 and displayed that same year by the Arts and Crafts Exhibition Society, the Green Harpsichord was the harpsichord built in England in nearly a century, and its design and decoration reflect its position as an object that had to negotiate the aesthetics of the past and the practical needs of the present. The article concludes by looking …