Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Music

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 23 of 23

Full-Text Articles in Entire DC Network

การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิก โดย ธาณิช แสงวิชัย, ธาณิช แสงวิชัย Jan 2017

การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิก โดย ธาณิช แสงวิชัย, ธาณิช แสงวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาและส่งเสริมทักษะด้านการบรรเลงกีตาร์คลาสสิกโดยนักแสดงได้ตัดเลือกบทเพลงที่ต่างยุกคต่างสมัยกันเพื่อสาธิตความเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการของดนตรีในแต่ละยุคสมัย การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกในครั้งนี้ ผู้แสดงได้คัดเลือกไว้ทั้งหมด 5 บทเพลง ได้แก่ (1) Rondo Op.2 No.3 ประพันธ์โดย Dionisio Aguado (2) Suite Espanola, Op.47 ประพันธ์โดย Isaac Albeniz (3) Theme, Variations and Finale ประพันธ์โดย Manuel Ponce (4) Prelude, Fugue and Allegro, BWV 998 ประพันธ์โดย Johann Sebastian Bach และ (5) Sonata ประพันธ์โดย Antonio Jose การแสดงครั้งนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 15.00 น. ณ ห้องแสดงดนตรี ชั้น 3 คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้เวลาในการแสดงทั้งสิ้นประมาณ 1 ชั่วโมง This guitar recital aims to develop the performer's performance abilities. The performer chose a number of pieces to represent certain periods and characteristics of each era. The program consists of 5 pieces: (1) Rondo Op.2 No.3 by Dionisio …


การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย พรพิมล อ้นจู, พรพิมล อ้นจู Jan 2017

การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย พรพิมล อ้นจู, พรพิมล อ้นจู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวเปียโน มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบทประพันธ์ เพื่อใช้ประกอบเป็นข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์ในระดับมหาบัณฑิตด้านการแสดงเดี่ยวเปียโนโดย พรพิมล อ้นจู เนื้อหาในการวิเคราะห์บทประพันธ์ประกอบไปด้วย การศึกษาชีวประวัติของผู้ประพันธ์ การวิเคราะห์และตีความบทประพันธ์ วิธีการนำเสนอ รวมไปถึงเทคนิคต่าง ๆ ในการบรรเลงบทเพลง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญในการฝึกซ้อมและการประกอบการแสดงบทเพลงได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด อีกทั้งเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพในการบรรเลงเปียโนของผู้แสดงและเพื่อเผยแพร่ผลงานการแสดงเดี่ยวเปียโนต่อผู้ที่ความสนใจในงานแสดงดนตรี โดยผู้วิจัยได้คัดเลือกบทประพันธ์โซนาตาที่น่าสนใจจากยุคสมัยที่แตกต่างกัน นอกจากนี้การแสดงเดี่ยวเปียโน ยังเป็นเป้าหมายสำคัญในการถ่ายทอดความไพเราะของดนตรีคลาสสิกและเผยแพร่บทเพลงอันทรงคุณค่าต่อผู้ที่สนใจในดนตรีคลาสสิก เพื่อให้คนรุ่นหลังได้ทราบถึงคุณค่าของดนตรีคลาสสิกสืบไป


หลักการแปลทำนองจะเข้เพลงจีนแสเรื่องเล็กของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน, ประเสริฐศรี ชื่นพลี Jan 2017

หลักการแปลทำนองจะเข้เพลงจีนแสเรื่องเล็กของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน, ประเสริฐศรี ชื่นพลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งเน้นศึกษาหลักการประดิษฐ์ทำนองจะเข้เพลงจีนแสเรื่องเล็กของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ และการปฏิบัติเพื่อวิเคราะห์หาหลักการประดิษฐ์ทำนองจะเข้ด้วยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าหลักการประดิษฐ์ทำนองจะเข้ของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อนเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อนมีทั้งการแปล (Translation) และต่อยอดไปยังการแปร (Variation) เกิดทำนองที่หลากหลายในเพลงจีนแสเรื่องเล็ก มีหลักและวิธีการที่แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ของการบรรเลง แสดงความเป็นเอกภาพในศาสตร์แห่งตน อยู่ภายใต้หลักขนบธรรมเนียมและบทบาทหน้าที่ของจะเข้ตามแบบแผนของโบราณาจารย์ เพลงจีนแสเรื่องเล็กประกอบไปด้วย 7 บทเพลง คือ 1.เพลงจีนแส 2.เพลงแป๊ะ 3.เพลงอาเฮีย 4.เพลงชมสวนสวรรค์ 5.เพลงมาลีหวน 6.เพลงเร็วแม่วอนลูก และ7.เพลงลา หลักการประดิษฐ์ทำนองจะเข้เพลงจีนแสเรื่องเล็กของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อนที่ปรากฏในงานวิจัยเรื่องนี้มี 14 ลักษณะคือ 1.การยึดทำนองหลัก 2.ใช้การเปลี่ยนกระสวนทำนอง 3.การใช้กลวิธีการดีดทิงนอย 4.ใช้เสียงประสานและความปลั่งจำเพาะของจะเข้ 5.สร้างสำเนียงจีนด้วยการจัดจังหวะช่องไฟ 6.สร้างสำเนียงจีนด้วยการใช้เสียงเรียง 7.สร้างสำเนียงจีนด้วยการใช้ทำนองสลับฟันปลา 8.สร้างสำเนียงจีนด้วยการใช้เสียงชิดและข้ามในกลอนเพลง 9.ใช้การเปิดมือของกระจับปี่ 10.การใช้สัมผัสในและสัมผัสนอก 11.เปลี่ยนช่วงเสียงในการดำเนินทำนองภายใน 4 ห้อง 12.คงทำนองลูกล้อลูกขัด 13.ใช้กลวิธีพิเศษ 8 ลักษณะในการประดิษฐ์ทำนองในเพลงเร็วแม่วอนลูก 14.ใช้กลวิธีพิเศษ 7 ลักษณะในการประดิษฐ์ทำนองในเพลงประเภทปรบไก่สำเนียงจีน


พิธีกรรม และความเชื่อดนตรีกาหลอ ครูสมพงศ์ บุญมาเกิด, ปานตา ศรีคง Jan 2017

พิธีกรรม และความเชื่อดนตรีกาหลอ ครูสมพงศ์ บุญมาเกิด, ปานตา ศรีคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติชีวิตของครูสมพงศ์ พิธีกรรม ความเชื่อ บทเพลงที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมและความเชื่อ วงดนตรีดนตรีกาหลอคณะครูสมพงศ์ บุญมาเกิด ดำเนินการวิจัยโดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลจากการศึกษาพบว่า คณะกาหลอครูสมพงศ์เป็นคณะที่รับใช้สังคมมาเป็นเวลา 120 ปี สืบทอดมาจากรุ่นบิดาจนถึงรุ่นครูสมพงศ์ คณะได้รับการว่าจ้างไปบรรเลงหลากหลายที่ เช่น จังหวัดกระบี่ จังหวัดพัทลุง พิธีกรรมกาหลอของคณะครูสมพงศ์จะเกิดความสมบูรณ์เมื่อมีองค์ประกอบหลัก ๆ 3 อย่างเกิดขึ้นคือ พิธีกรรม คาถา และบทเพลง สามารถแบ่งพิธีกรรมกาหลอได้ออกเป็น 2 ประเภท คือพิธีกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับศพ และพิธีกรรมที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกับศพ มีทั้งหมด 20 เพลง แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือเพลงที่มีคาถากำกับ มีจำนวน 12 เพลง โดยการเป่าปี่พร้อมกับท่องคาถาในใจ และเพลงที่บรรเลงตามช่วงเวลาโดยไม่มีคาถากำกับ มีทั้งหมดจำนวน 8 เพลง การศึกษาบทเพลงชุดไหว้พระ คือเพลงยายแก่ขอไฟ เพลงไหว้พระ เพลงขันธ์เพชร เพลงล่อบัด เพลงลาพระ พบว่ามีการบรรเลงในกลุ่มเสียงปัญจมูลเสียง ร การบรรเลงปี่กาหลอมีการดำเนินทำนองลากเสียงยาว การดำเนินทำนองห่าง ๆ ควบคู่ไปกับการตีกลองและการบรรเลงฆ้อง


การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกโดย เอกบุตร โปสินธุ์, เอกบุตร โปสินธุ์ Jan 2017

การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกโดย เอกบุตร โปสินธุ์, เอกบุตร โปสินธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกเป็นการพัฒนาทักษะทางด้านการบรรเลงกีตาร์ และพัฒนาองค์ความรู้ต่างๆ ทางด้านดนตรี โดยผู้แสดงได้คัดเลือกบทเพลงที่ประพันธ์ และเรียบเรียงสำหรับกีตาร์คลาสสิก จากยุคที่สำคัญทางดนตรี ซึ่งแต่ละบทเพลงนั้นประกอบด้วยชีวประวัติผู้ประพันธ์ การวิเคราะห์บทเพลง เทคนิคการเล่น วิธีการฝึกซ้อม ตลอดจนแบบฝึกหัดที่ใช้ประกอบการซ้อมเพื่อให้การเล่นมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยการแสดงเดียวกีตาร์คลาสสิกในครั้งนี้ผู้แสดงได้ทำการคัดเลือกบทเพลงสำหรับใช้ในการแสดงจำนวน 8 บทเพลงได้แก่ (1) Vals No.4 Op.8 ประพันธ์โดย Agustin Barrios Mangore (2) Una Limosna por el Amor de Dios ประพันธ์โดย Agustin Barrios Mangore (3) Fugue BWV 998 in D Major ประพันธ์โดย Johann Sebastian Bach (4) Sonatina Op.52 ท่อนที่ 1 ประพันธ์โดย Lennox Berkeley (5) Sonata in A Major K.208 ประพันธ์โดย Domenico Scarlatti (6) Sonata in D minor K.1 ประพันธ์โดย Domenico Scarlatti (7) Sonata in D Major K.491 ประพันธ์โดย Domenico Scarlatti (8) Introduction & Variations on a Theme by Mozart Op.9 ประพันธ์โดย Fernando Sor


การแสดงขับร้องเดี่ยวโดย ชัยพร พวงมาลี, ชัยพร พวงมาลี Jan 2017

การแสดงขับร้องเดี่ยวโดย ชัยพร พวงมาลี, ชัยพร พวงมาลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงขับร้องครั้งนี้โดยมีจุดประสงค์ในการถ่ายทอดบทประพันธ์ประเภทคลาสสิกในรูปแบบหลากหลายภาษา และยุคสมัยของคีตกวีชาวตะวันตก ผ่านการประยุกต์เทคนิคการขับร้องของของนักร้องชาวตะวันตกผสมผสานให้เข้ากับกายภาพและลักษณะของนักร้องชาวเอเชียให้สามารถถ่ายทอดศักยภาพในการขับร้องโดยมีแบบฉบับเฉพาะตัวของนิสิต อีกทั้งเป็นการแสดงศักยภาพการจัดเตรียมการแสดงอย่างเป็นมืออาชีพ อาทิ การรังสรรค์บทประพันธ์ให้เชื่อมโยงถักทอเนื้อหาให้เป็นเรื่องเดียวกัน การเตรียมการจัดการสถานที่รวมถึงสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ชม การเตรียมการจัดทำโปสเตอร์และสูจิบัตรการแสดงรวมถึงการวางแผนงานในการฝึกซ้อมกับนักดนตรีผู้ร่วมแสดง บทประพันธ์ที่ใช้ในการแสดงมีทั้งบทประพันธ์ประเภท เพลงร้องศิลป์ ชุดเพลงร้องที่ถูกขับร้องเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และบทประพันธ์ประเภทอาเรีย จากมหาอุปรากรสำคัญ โดยบทประพันธ์ทั้งหมดได้ถูกร้อยเรียงเสมือนเป็นเนื้อเรื่องเดียวกันในแง่มุมของความหมายตั้งแต่เริ่มต้นการแสดงจนกระทั่งสิ้นสุดการแสดง ประกอบด้วย บทประพันธ์เพลงที่ 1 ชุดเพลงร้อง Serenade Op.31 โดย Benjamin Britten 2. Nuit d'étoiles โดย Claude Debussy 3. Erlkönig โดย Franz Schubert 4. Ich bin der Welt abhandengekommen โดย Gustav Mahler 5. Come away, death โดย Roger Quilter 6. Je Crois Entendre Encore โดย Georges Bizet การแสดงขับร้องในครั้งนี้จัดขั้นเมื่อวันอังคารที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 17:30 น. ณ ห้องแสดงดนตรีธงสรวง 54/1 สุขุมวิทซอย 3 (ซอยนานา) กรุงเทพมหานครฯ โดยมีรวมระยะเวลาในการแสดงประมาณ 1 ชั่วโมง


การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย ทรรศวรรณ ภูริเริงภูมิ, ทรรศวรรณ ภูริเริงภูมิ Jan 2017

การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย ทรรศวรรณ ภูริเริงภูมิ, ทรรศวรรณ ภูริเริงภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวเปียโนในครั้งนี้มีจุดประสงค์ในการพัฒนาด้านทักษะทางด้านการบรรเลงเปียโน ผู้แสดงได้เลือกสรรค์บทประพันธ์ที่มีมาตรฐาน บทประพันธ์ที่ใช้ในการแสดงในครั้งนี้มีความแตกต่างกันของยุคสมัยโดยจะได้ศึกษาด้านประวัติศาสตร์ทางดนตรี ชีวประวัติของผู้ประพันธ์ การวิเคราะห์ การตีความบทประพันธ์ การฝึกซ้อม การสื่ออารมณ์และความหมายของบทประพันธ์ต่อผู้ฟัง การเตรียมตัวก่อนการแสดง และการแสดงต่อหน้าสาธารณชน ในการแสดงครั้งนี้ผู้แสดงได้คัดเลือกบทประพันธ์ทั้งหมด 6 บทเพลง ดังนี้ (1) Piano Sonata in G major, K.13 ประพันธ์โดย Domenico Scarlatti (2) Piano Sonata in E minor, K.98 ประพันธ์โดย Domenico Scarlatti (3) Piano Sonata in E flat major, Op.27 No.1 ประพันธ์โดย Ludwig van Beethoven (4) Kinderszenen, Op.15 ประพันธ์โดย Robert Schumann (5) Love of the Three Oranges Op.33 และ Romeo and Juliet Op.75 ประพันธ์โดย Sergei Prokofiev การแสดงเดี่ยวเปียโนในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 16.00 น. ณ ห้องแสดงดนตรีธงสรวง โดยแบ่งการแสดงออกเป็น 2 ช่วง ใช้เวลาในการแสดงทั้งหมด 1 ชั่วโมง 15 นาที รวมพักครึ่งการแสดง คำสำคัญ: เปียโน / การแสดงเดี่ยวเปียโน / ทรรศวรรณ ภูริเริงภูมิ


การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกโดย ภูนที ทาคำ, ภูนที ทาคำ Jan 2017

การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกโดย ภูนที ทาคำ, ภูนที ทาคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวกีตาร์คลาสสิกโดย ภูนที ทาคำ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพทางด้านต่าง ๆ ของผู้แสดงให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล ทั้งด้านเทคนิคการบรรเลงกีตาร์ การศึกษาประวัติเพลงและผู้แต่ง การวิเคราะห์และตีความบทเพลง รวมถึงการเตรียมตัวและกระบวนการจัดแสดงผลงาน ทั้งนี้ยังเป็นการเผยแพร่บทเพลงกีตาร์คลาสสิกให้เป็นที่รู้จัก ผู้แสดงได้คัดเลือกบทเพลงที่ใช้ในการแสดงทั้งหมด 6 บทเพลง จากยุคบาโรก ยุคคลาสสิก ยุคดนตรีศตวรรษที่ 20 และดนตรีร่วมสมัย ได้แก่ (1) Fantasie sur deux Motifs de La Norma แต่งโดย Napoleon Coste (2) Violin Sonata No. 1 BWV 1001 แต่งโดย Johann Sebastian Bach (3) La Cathedral แต่งโดย Agustin Barrios (4) Libra Sonatine แต่งโดย Rolands Dyens (5) Aquarelle แต่งโดย Sergio Assad และ (6) Histoire du Tango แต่งโดย Astor Piazzolla การแสดงครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 13.00 น. ณ ห้องแสดงดนตรี ชั้น 3 คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การแสดงแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ระยะเวลาโดยประมาณ 1 ชั่วโมง 15 นาที


การแสดงขับร้องเดี่ยวโดย วงดาว วัชรานันท์, วงดาว วัชรานันท์ Jan 2017

การแสดงขับร้องเดี่ยวโดย วงดาว วัชรานันท์, วงดาว วัชรานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวขับร้องคลาสสิกครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะและศักยภาพทางด้านการขับร้องคลาสสิก ทั้งด้านการฝึกซ้อม การตีความ การวิเคราะห์และศึกษาค้นคว้าข้อมูลของบทเพลง รวมถึงการดำเนินงานการจัดแสดง โดยผู้แสดงได้คัดเลือกบทเพลงในยุคเดียวกัน เพื่อแสดงให้เห็นถึงความคล้ายคลึง และความแตกต่างของดนตรีในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 ของผู้ประพันธ์แต่ละคน ได้แก่ Joseph Maurice Ravel (1875 – 1937) Francis Jean Marcel Poulenc (1899 – 1963) Edward Benjamin Britten (1913 – 1976) และ George Jacob Gershwin (1898 – 1937) การแสดงเดี่ยวขับร้องคลาสสิกในครั้งนี้ ผู้แสดงได้คัดเลือกบทเพลงทั้งหมด 14 บทเพลง แบ่งออกเป็นชุดเพลงร้อง และบทเพลงอาเรียจากอุปรากรได้แก่ เพลงชุดที่ (1.) Chant populaire ผลงานการประพันธ์ของ Maurice Ravel ประกอบด้วย 4 บทเพลงย่อยได้แก่ 1. Chanson espagnole 2. Chanson française 3. Mélodie italienne 4. Chanson hébraïque เพลงชุดที่ (2.) Banalités, FP.107 ผลงานการประพันธ์ของ Francis Poulenc ประกอบด้วย 5 บทเพลงย่อยได้แก่ 1. Chansons d'Orkenise 2. Hôtel 3. Fagnes de Wallonies, 4. Voyage à Paris 5. Sanglots เพลงชุดที่ (3.) Cabaret Songs ผลงานการประพันธ์ของ Benjamin Britten ประกอบด้วย 4 บทเพลงย่อย …


กรรมวิธีการสร้างซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง, ธีรพงค์ คำโปร่ง Jan 2017

กรรมวิธีการสร้างซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง, ธีรพงค์ คำโปร่ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง กรรมวิธีการสร้างซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการสร้างซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง ศึกษากรรมวิธีการสร้างซอด้วงและปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซอด้วง โดยใช้วิธีในการเก็บข้อมูลลงศึกษาภาคสนามในฐานะลูกมือช่างเป็นเวลา 6 เดือน ผลการศึกษาพบว่าช่างมาโนช ผุดผ่องได้เริ่มศึกษาการสร้างซอด้วงใจรักดนตรีไทยแต่ไม่มีโอกาสได้เรียน จึงเป็นแรงผลักดันให้ช่างมาโนชค้นคว้าศึกษาด้วยตนเองจนประสบความสำเร็จในการสร้างซอด้วงเป็นที่รู้จักทั่วประเทศ สถาบันการศึกษาหลายแห่งให้ความสนใจที่จะมาศึกษาดูงานการสร้างซอ พันธุ์ไม้ที่ใช้ทำซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง มีทั้งหมด 5 ชนิด คือ ไม้มะเกลือ ไม้ชิงชัน ไม้กระพี้เขาควาย ไม้แก้ว และไม้ดำดง การสร้างซอด้วงมีวัสดุและอุปกรณ์ทั้งหมด 45 ชนิด มีกรรมวิธีการสร้างทั้งหมด 8 ขั้นตอนคือ การเตรียมกระบอกซอด้วง การขึ้นหนังซอด้วง การกลึงคันทวนซอด้วง การกลึงลูกบิด การขึ้นหางม้า การกลึงคันชักซอด้วง การประกอบซอด้วง การแต่งเสียงซอด้วง ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซอด้วงของช่างมาโนช ผุดผ่อง มี 5 ขั้นคือ 1. การกลึงกระบอกซอด้วงจะต้องใช้บุ้งตะไบด้านในให้ผิวไม่เรียบ 2.การใช้หนังงูที่มีขนาดตัวยาว 4 เมตรขึ้นไปและจะใช้เฉพาะช่วงหลังเท่านั้น 3. การขึ้นหางม้าจะให้หางม้ามีลักษณะแบนไม่กลม 4.การคัดเลือกหางม้า ช่างมาโนช ผุดผ่อง ช่างใช้หางม้าที่นำเข้าจากประเทศมองโกเลีย คุณสมบัติของหางม้านั้นมีเส้นขนที่หนากว่าม้าประเทศไทย 5.หย่อง มีขนาด 1 เซนติเมตร ช่างใช้ไม้ไผ่ที่ทำตะเกียบที่ผ่านการอมน้ำมันแล้วเพราะคุณสมบัติของไม้ไผ่ที่อมน้ำมันนั้น ช่วยให้เสียงซอมีความดังกังวาน


ดนตรีสำหรับการแสดงหนังตะลุง คณะครูบุญส่ง ไกรเดช จังหวัดระยอง, กวีทัศน์ อะโสต Jan 2017

ดนตรีสำหรับการแสดงหนังตะลุง คณะครูบุญส่ง ไกรเดช จังหวัดระยอง, กวีทัศน์ อะโสต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องดนตรีสำหรับการแสดงหนังตะลุงของคณะครูบุญส่ง ไกรเดช จังหวัดระยอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับดนตรีสำหรับการแสดงหนังตะลุงในจังหวัดระยอง ศึกษาประวัติและผลงานของนายหนังตะลุง คณะครูบุญส่ง ไกรเดช และวิเคราะห์ดนตรีสำหรับการแสดงหนังตะลุง คณะหนังตะลุงของครูบุญส่ง ไกรเดช พบว่าได้รับอิทธิพลมาจากการแสดงหนังตะลุงแถบภาคใต้ เริ่มก่อตั้งคณะตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2525 ได้รับการสืบทอดจากครูหริ่ง ศิริคำ ผลงานที่โดดเด่น คือได้รับรางวัลเกียรติคุณเป็นศิลปินดีเด่นจังหวัดระยอง ประจำปีพุทธศักราช 2555 จากการวิเคราะห์ทำนองการขับประกาศหน้าบท พบการสร้างสรรค์เครื่องดนตรีด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นไปตามการเปลี่ยนแปลงในยุคของโลกาภิวัตน์ จึงทำให้เครื่องดนตรีบางชิ้นไม่ได้ถูกนำมาประสมวงด้วยคือ ปี่ หากแต่ว่าเพิ่มเครื่องดนตรีกำกับจังหวะคือ กลองบองโก้ เพื่อทำให้เกิดความชื่นชอบของผู้ชมในการว่าจ้าง มิได้ประสมขึ้นเพื่อทำลายแบบแผนโบราณแต่อย่างใด เครื่องดนตรีประกอบการแสดงหนังตะลุงของคณะครูบุญส่ง ไกรเดช มีการประสมวงคล้ายกับวงปี่พาทย์ชาตรีที่ใช้แสดงประกอบการแสดงโนราห์และหนังตะลงุทางภาคใต้ ซึ่งมีวิวัฒนาการแพร่กระจายวัฒนธรรมเข้ามาสู่จังหวัดระยอง ได้แก่ หนังสด (โขนสด) และละครเท่งกรุ๊ก ที่ใช้วงดนตรีดังกล่าวประสมอยู่ด้วย เครื่องดนตรีสำหรับการแสดงหนังตะลุงประกอบไปด้วย กลองตุ๊ก 1 คู่ โทน 2 ใบ โหน่งเหน่ง 1 ราง ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบ 1 คู่ กรับ 1 คู่ และกลองบองโก้ 1 ชุด บทเพลงในขั้นตอนการโหมโรงปรากฏกระสวนจังหวะหน้าทับ 8 จังหวะ และพบกระสวนจังหวะ การบรรเลงหน้าทับประกอบอากัปกริยาของตัวหนังมีทั้งหมด 6 จังหวะได้แก่ ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ ตัวตลก รัว และเชิด นายหนังยังใช้การขับบทเพลงประเภทเพลงลูกทุ่ง เพลงแหล่และเพลงฉ่อย ทำนองการขับประกาศหน้าบทมีการผันเสียงร้องในกลุ่มคำที่ใช้สำเนียงภาษาถิ่นระยองสอดแทรกอยู่ โดยพบว่ากำหนดทำนองร้องให้ตรงกับเสียงซอล ลา ที โด เร ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้ระดับเสียงทางใน การใช้ระดับเสียงนอกกลุ่มเสียงพบเป็นส่วนน้อย ลักษณะเด่นของคณะคือนายหนังประพันธ์บทประกาศหน้าบทขึ้นเอง และเป็นผู้ที่ต้องอาศัยความสามารถพิเศษ ความชำนาญและความแข็งแรงของของเสียง รวมทั้งมีความสามารถพิเศษในการร้องและพากย์เสียงโดยไม่มีเครื่องดนตรีดำเนินทำนองแม้แต่ชิ้นเดียว ตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งจบการแสดง


ดนตรีประกอบพิธีทำขวัญนาคของครูชนะ ชำนิราชกิจ, ปราโมทย์ เที่ยงตรง Jan 2017

ดนตรีประกอบพิธีทำขวัญนาคของครูชนะ ชำนิราชกิจ, ปราโมทย์ เที่ยงตรง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเล่มนี้เป็นการทำงานวิจัยเชิงคุณภาพ เรื่องดนตรีประกอบพิธีทำขวัญนาคของครูชนะ ชำนิราชกิจ มุ่งเน้นศึกษาความเป็นมาของการประกอบพิธีทำขวัญนาคของครูชนะ ชำนิราชกิจ ตลอดจนบททำขวัญนาคและดนตรีประกอบพิธีทำขวัญนาค ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาแบบมีส่วนร่วม พบว่าพิธีทำขวัญนาคเป็นพิธีกรรมหนึ่งที่มีความสัมพันธ์กับประเพณีการบวชที่เป็นที่นิยมปฏิบัติสืบต่อกันมา จุดมุ่งหมายของการทำขวัญนาคนั้นประการสำคัญคือการสอนให้นาคได้ระลึกถึงความกตัญญูต่อผู้มีพระคุณ ครูชนะ ชำนิราชกิจ ได้รับการถ่ายทอดการประกอบพิธีการทำขวัญนาคมาจากคุณตารื่นและพระพร ภิรมย์ ในด้านของการขับร้องเพลงไทยได้รับการถ่ายทอดจากคุณแม่ลูกอินทร์ ชำนิราชกิจ ครูชนะ ชำนิราชกิจได้ยึดหลักการประกอบพิธีทำขวัญนาคแบบโบราณ ใช้กลวิธีการขับร้องตามแบบแผนของการบรรเลงและขับร้องเพลงไทยตามหลักวิชาการดุริยางคศิลป์ พบบทเพลงสำคัญที่ใช้บรรเลงประกอบพิธีการทำขวัญนาคแบ่งออกเป็น 3 ประเภทได้แก่ เพลงหน้าพาทย์จำนวน 8 เพลงประเภทเพลงสองชั้นจำนวน 11 เพลง และเพลงประเภทอื่นๆจำนวน 2 เพลง โดยใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็งในการบรรเลงประกอบพิธี


วิเคราะห์ทางขับร้องเพลงละครและเพลงหน้าพาทย์บทคอนเสิร์ต ตับนางลอย บ้านพาทยโกศล โดยครูอุษา แสงไพโรจน์, ปริญญา ทัศนมาศ Jan 2017

วิเคราะห์ทางขับร้องเพลงละครและเพลงหน้าพาทย์บทคอนเสิร์ต ตับนางลอย บ้านพาทยโกศล โดยครูอุษา แสงไพโรจน์, ปริญญา ทัศนมาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง วิเคราะห์ทางขับร้องเพลงละครและเพลงหน้าพาทย์บทคอนเสิร์ต ตับนางลอย บ้านพาทยโกศล โดยครูอุษา แสงไพโรจน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องและวิธีการขับร้องเพลงละครและเพลงหน้าพาทย์บทคอนเสิร์ต ตับนางลอยบ้านพาทยโกศล โดยครูอุษา แสงไพโรจน์ ผู้วิจัยได้ทำการเลือกศึกษาเพลงจำนวน 8 เพลง ได้แก่ เพลงโอ้ชาตรี เพลงโอ้โลมใน เพลงโอ้ปี่ใน เพลงช้าปี่ใน เพลงโลมนอก เพลงโล้ เพลงเชิดฉิ่ง และเพลงเชิดนอก ซึ่งผลการศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้ ทางขับร้องเพลงบทคอนเสิร์ตตับนางลอยมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 โดยนางเจริญ พาทยโกศล เป็นผู้ขับร้องคนแรกและเป็นผู้ถ่ายทอดวิธีการขับร้องให้คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติ-วรรณ และครูอุษา แสงไพโรจน์ ผู้รับช่วงวิธีการขับร้องเป็นรุ่นที่ 3 จากการศึกษาทางขับร้องทั้ง 8 เพลงพบว่าทุกเพลงใช้กลุ่มเสียงทางเพียงออล่างเป็นหลัก มีการกำกับจังหวะที่สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ การกำกับเพลงที่มีจังหวะควบคุมและการกำกับเพลงที่มีจังหวะลอย พบสังคีตลักษณ์ที่สามารถแบ่งได้เป็น 3 แบบ คือ การขับร้องที่มีดนตรีรับ การขับร้องที่มีดนตรีแทรกกลางคำร้อง และการขับร้องพร้อมกับการบรรเลงดนตรี วิธีการขับร้องที่ถือเป็นเอกลักษณ์ คือ การขับร้องแบบไม่ปั้นคำ เป็นการออกเสียงพยางค์เดี่ยวแบบตรงเสียงไม่มีการปรุงแต่งเสียง และพบกลวิธีการขับร้องทั้งหมด 10 กลวิธี คือ การครั่นเสียง การปั้นคำ การกระทบ-เสียง การผันเสียงลง การผันเสียงขึ้น การใช้หางเสียง การตวัดเสียง การกดเสียง การเหินเสียง และการกลึงเสียง กลวิธีที่ใช้มากที่สุดคือ การครั่นเสียง มีทั้งการครั่นเสียงในเอื้อน การครั่นเสียงในคำร้อง และกลวิธีการขับร้องที่มีเฉพาะเพลง คือ การกลึงเสียง พบในเพลงช้าปี่ในเท่านั้น ส่วนวิธีการขับร้องที่มีช่วงการเอื้อนเป็นทำนองโดยใช้ลมหายใจเดียว คือ เพลงเชิดนอก


ดนตรีกันตรึมในพิธีบวงสรวงงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง, วีรวรรณ คชรัตน์ Jan 2017

ดนตรีกันตรึมในพิธีบวงสรวงงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง, วีรวรรณ คชรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องดนตรีกันตรึมในพิธีบวงสรวงงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพิธีกรรมการบวงสรวงแบบเขมรและดนตรีกันตรึมที่ใช้ในงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้ง ในพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการวิจัยพบว่า พิธีกรรมของการบวงสรวงงานประเพณีขึ้นเขาพนมรุ้งแบบเขมร แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 พิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ และส่วนที่ 2 พิธีเชิญชวนให้ร่วมทำบุญบวงสรวง ในส่วนของพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ประกอบด้วยขั้นตอนการจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย การอัญเชิญเทพเทวดาตามบทสวด และการรำถวายมือ ในส่วนที่สอง ประกอบด้วยการร้องทักทายผู้ฟัง การเชิญชวนให้มาร่วมทำบุญ การเล่นกลอนสดอุปมาอุปไมย ร้องโต้ตอบกัน และการกล่าวอวยพรผู้มาร่วมพิธี โดยมีอาจารย์เกรียงศักดิ์ ปะรุนรัมย์ เป็นผู้ประกอบพิธีกรรม ในส่วนของดนตรีที่ใช้ในพิธีกรรมของการบวงสรวงแบบเขมรใช้วงกันตรึมมคณะสุริยชัย ส.สไบทอง (เกรียงศักดิ์ ส.สไบทอง) เครื่องดนตรีประกอบด้วย ซอกันตรึม 1 คัน กลองกันตรึม 2 ตัว กรับ 1 คู่ ฉาบเล็ก 1 คู่ และฉิ่ง 1 คู่ บรรเลงด้วยเพลง 9 เพลง ได้แก่ เพลงเปิดวงเพลงที่ 1 เพลงเปิดวงเพลงที่ 2 เพลงแสร็ย สะตือ เพลงรำปี (รำเปย) เพลงปทุมทอง เพลงทานอ เนียงนอ เพลงชะโอละหน่าย เพลงสาวกันตรึม เพลงอายัยเวง เพลงที่ 3-9 เป็นเพลงที่มีการร้องประกอบ นอกนั้นเป็นเพลงบรรเลงแบบไม่มีร้อง


กรรมวิธีการสร้างซอด้วงของครูประสิทธิ์ ทัศนากร, วัชรพล คงอุดมสิน Jan 2017

กรรมวิธีการสร้างซอด้วงของครูประสิทธิ์ ทัศนากร, วัชรพล คงอุดมสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง กรรมวิธีการสร้างซอด้วงของครูประสิทธิ์ ทัศนากร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการสร้างซอด้วง ศึกษากรรมวิธีการสร้างซอด้วง และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพเสียงซอด้วงของครูประสิทธิ์ ทัศนากร โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าครูประสิทธิ์ ทัศนากร ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างซอด้วง จากครูบุญมี ฉ่ำบุญรอด นักดนตรีไทยและช่างทำเครื่องดนตรีไทย ชาวจังหวัดสมุทรสงคราม โดยได้ยึดกรรมวิธีการสร้างแบบของครูบุญมี ฉ่ำบุญรอด จากนั้นในปี พ.ศ. 2532 ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบขึ้นมาจนเป็นรูปแบบที่มีคุณภาพเสียงและรูปทรงเป็นอัตลักษณ์เฉพาะของตนเอง กรรมวิธีการสร้างซอด้วงของครูประสิทธิ์ ทัศนากร เป็นกรรมวิธีการสร้างที่ละเอียด ประณีต เน้นคุณภาพเสียง สัดส่วนที่เหมาะสม สมดุล สวยงาม วัสดุที่ใช้สร้างเป็นวัสดุที่คัดสรรมาอย่างดี ส่งผลให้คุณภาพเสียงซอด้วงมีความคมชัด ดัง กังวาน และมีแก้วเสียงที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะ ลวดลายการกลึงมีความงดงาม มีการประดิษฐ์หย่องซอด้วงขึ้นเป็นรูปแบบของตนเอง ปัจจัยที่ส่งผลให้ซอด้วงของครูประสิทธิ์ ทัศนากร มีคุณภาพเสียงที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะนอกเหนือจากความพิถีพิถันดังกล่าวแล้ว คือการกลึงภายในกระบอกซอด้วงซึ่งส่งผลให้เกิดเสียงที่ไพเราะและนุ่มนวลขึ้นซึ่งเป็นเอกลักษณ์ที่ไม่เหมือนใคร


การเเสดงเดี่ยวบาสซูนโดย คชภัค บุญวิภารัตน์, คชภัค บุญวิภารัตน์ Jan 2017

การเเสดงเดี่ยวบาสซูนโดย คชภัค บุญวิภารัตน์, คชภัค บุญวิภารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวบาสซูนในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับบทเพลงที่ใช้ในการแสดงบาสซูน ประกอบด้วยการศึกษาเกี่ยวกับผู้ประพันธ์ในด้านชีวประวัติด้านการประพันธ์ การตีความบทเพลง ศึกษาแนวคิดและเทคนิคการบรรเลง และวิเคราะห์บทเพลงเพื่อเป็นประโยชน์ในการฝึกซ้อม การเตรียมตัวสำหรับการแสดงรวมถึงการจัดการแสดง การแสดงเดี่ยวบาสซูนในครั้งนี้ ผู้แสดงได้คัดสรรบทเพลงด้วยกันทั้งหมด 4 บทเพลงโดยเป็นบทเพลงที่ทรงคุณค่าจากนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงในแต่ละยุคสมัย รวมทั้งสิ้น 3 ยุค ดังนี้ (1) Cello Suite No. 2 in D minor, BWV 1008 ประพันธ์โดย Johann Sebastian Bach (2) Concerto in F Major for 2 Bassoons and Orchestra ประพันธ์โดย Johann Baptist Wanhal (3) Andante e Rondo Ongarese, Op. 35 ประพันธ์โดย Carl Maria von Weber (4) Ciranda das Sete Notas, W325 ประพันธ์โดย Heitor Villa-Lobos การแสดงเดี่ยวบาสซูนในครั้งนี้กำหนดจัดการแสดงในวันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561 เวลา 16.00 น. ณ หอแสดงดนตรียามาฮ่า ชั้น 4 อาคารสยามมอเตอร์ ปทุมวัน รวมเวลาที่ใช้ในการแสดงทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมง 20 นาที


การสร้างซอสามสายของครูศักดิ์ชัย กาย, อนันท์สิทธิ์ การหนองใหญ่ Jan 2017

การสร้างซอสามสายของครูศักดิ์ชัย กาย, อนันท์สิทธิ์ การหนองใหญ่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องการสร้างซอสามสายของครูศักดิ์ชัย กาย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติการสร้างซอสามสาย กระบวนการสร้างซอสามสาย และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซอสามสายของครูศักดิ์ชัย กาย โดยผู้วิจัยเก็บข้อมูลการศึกษาภาคสนามระหว่างปี พ.ศ. 2559 - 2561 ครูศักดิ์ชัย กาย พบปัญหาของซอสามสายว่าเสียงของซอสามสายมักจะถูกกลืนในขณะที่บรรเลงกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น จึงได้ริเริ่มที่จะพัฒนาและยกระดับคุณภาพเสียงของซอสามสายให้ดังกังวาน และมีความไพเราะยิ่งขึ้นโดยได้ร่วมมือกับช่างซอระดับแนวหน้าของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่าครูศักดิ์ชัย กาย ได้ทำการอนุรักษ์และปรับปรุงทั้งรายละเอียดต่าง ๆ จากกระสวน ซอสามสายของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต จนทำให้เกิดคุณภาพเสียงและรูปทรงในแบบฉบับของตนได้สำเร็จ ผู้วิจัยได้พบปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเสียงซอสามสายของครูศักดิ์ชัย กาย 6 ประการ คือ 1. การสร้างกะโหลกซอสามสายที่ไร้แกนยึดทวนมีผลทำให้เกิดคุณภาพเสียงที่ดังกังวาน 2. การกำหนดรูปแบบขอบขนงซอสามสายให้มีลักษณะโค้งเว้ารับกับการขึงหน้าซอทำให้เกิดการสั่นสะเทือนของหนังหน้าซอมากขึ้น 3. พื้นผิวภายในกะโหลกซอที่เรียบมีผลทำให้การกำธรภายในมากขึ้นกว่าซอสามสายสมัยก่อน 4. การลงรักปิดทองภายในกะโหลกซอมีผลทำให้พื้นผิวภายในมีมวลหนาแน่นส่งผลทำให้มีการกำธรเสียงที่ดีขึ้น 5. การคัดเลือกหนังสำหรับขึงหน้าซอที่ใสและมีความบางประมาณ 0.15 มิลลิเมตร มีผลทำให้การสั่นสะเทือนของเสียงมีการสั่นสะเทือนเร็วขึ้น 6. รูปแบบการขึ้นหน้าซอที่ไม่หุ้มหลังกะโหลกซอมีผลทำให้กะโหลกซอสั่นสะเทือนได้เต็มที่ จึงช่วยทำให้เสียงซอมีความดังและกังวานมากขึ้นกว่าซอสามสายแบบเดิม


การแสดงเดี่ยวเฟร็นช์ฮอร์นโดย ณัฐภรณ์ ณ เชียงใหม่, ณัฐภรณ์ ณ เชียงใหม่ Jan 2017

การแสดงเดี่ยวเฟร็นช์ฮอร์นโดย ณัฐภรณ์ ณ เชียงใหม่, ณัฐภรณ์ ณ เชียงใหม่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวเฟร็นช์ฮอร์นมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาค้นคว้าและวิเคราะห์บทเพลง เพื่อใช้ประกอบข้อมูลในการทำวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตด้านการแสดงเดี่ยวเฟร็นช์ฮอร์นของ ณัฐภรณ์ ณ เชียงใหม่ อีกทั้งศึกษาหาข้อมูลชีวประวัติผู้ประพันธ์ ประวัติความเป็นมาของบทเพลง การคิดวิเคราะห์ข้อมูลเพลงในเชิงลึก ตลอดจนวิธีแนวทางการฝึกซ้อมที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับผู้บรรเลงเครื่องดนตรีเฟร็นช์ฮอร์นมากยิ่งขึ้น ผู้แสดงได้คัดเลือกบทเพลงที่มีความไพเราะน่าสนใจและมีเทคนิคต่าง ๆ มากมายซึ่งเป็นบทเพลงในยุคคลาสสิกและยุคโรแมนติก โดยเป็นบทเพลงที่ต้องใช้ความสามารถและทักษะในการเล่นเครื่องดนตรีเฟร็นช์ฮอร์นระดับสูง เพื่อเป็นแนวทางในการฝึกซ้อมและเป็นประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้ที่สนใจ บทเพลงที่ได้นำมาแสดงมีทั้งสิ้น 2 บทเพลง ได้แก่ (1) Concerto for Horn in Bb Major, Op.91 ประพันธ์โดย ไรน์โฮลด์ กลิแอร์ (2) Concerto for Two Horns in Eb Major ประพันธ์โดย โจเซฟ ไฮเดิน การแสดงเดี่ยวเฟร็นช์ฮอร์นได้จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ.2561 เวลา 16.00 น. ณ ห้องแสดงดนตรี ชั้น 3 คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยใช้เวลาในการแสดงทั้งหมดประมาณ 1 ชั่วโมง และในการแสดงคอนเสิร์ตครั้งนี้ได้มีผู้ร่วมแสดงประกอบ ได้แก่นายเอกนก ขอเจริญ นักดนตรีเฟร็นช์ฮอร์น และนายเกริกสกุล จารี นักเปียโน


ระเบียบวิธีการแสดง ทำนองร้องและรำมะนาลำตัด คณะกำนันสำเริง คนฑา จังหวัดระยอง, สุธินันท์ โสภาภาค Jan 2017

ระเบียบวิธีการแสดง ทำนองร้องและรำมะนาลำตัด คณะกำนันสำเริง คนฑา จังหวัดระยอง, สุธินันท์ โสภาภาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องระเบียบวิธีการแสดงทำนองร้องและรำมะนาลำตัด คณะกำนันสำเริง คนฑา มีวัตถุประสงค์ศึกษาประวัติของคณะลำตัดและศึกษาระเบียบวิธีการแสดงทำนองร้องและรำมะนาลำตัดผลการศึกษาพบว่าคณะลำตัดกำนันสำเริง คนฑา เริ่มจากบิดาดำเนินกิจการรับงานลิเกและทำขวัญนาค ต่อมาศึกษาลำตัดจากครูสงวน เมตตา จึงชักชวนเพื่อนๆที่ร่วมเรียนออกมารับงานแสดง ใช้ชื่อคณะลำตัดว่าส.เริงศิลป์และเปลี่ยนชื่อคณะเป็นลำตัดคณะกำนันสำเริง คนฑาตามลำดับ ระเบียบวิธีการแสดงทำนองร้องและรำมะนาลำตัดพบว่า ระเบียบวิธีการร้องลำตัดมีทั้งหมด 11 ขั้นตอน ได้แก่ โหมโรง ร้องบันตน ออกแขก ผู้ชายยืนตน ผู้หญิงยืนตน ผู้ชายยืนสอง ผู้หญิงแก้ลำ ผู้ชายผู้หญิงสลับกันร้องแก้ ตัดเพลง ร้องลาและลงกลอง ทำนองร้องใช้กลุ่มเสียงปัญจมูลกลุ่มเสียงเดียวและไม่พบการร้องเสียงนอกบันไดเสียง ทำนองรำมะนาพบ 12 ทำนองและ 1 ทำนองลงกลอง คือ ทำนองเรียบ ทำนองจำปาเทศ ทำนองปรบไก่ ทำนองพม่า ทำนองลาว ทำนองมอญ ทำนองเขมร ทำนองญวน ทำนองจีน ทำนองโยน ทำนองฝรั่ง และทำนองแขก และทำนองลงกลอง คณะลำตัดกำนันสำเริงจะใช้ทำนองรำมะนาทั้งหมด 9 ทำนองและ 1 ทำนองลงกลอง คือ ทำนองเรียบ ทำนองจำปาเทศ ทำนองพม่า ทำนองลาว ทำนองมอญ ทำนองจีน ทำนองโยน ทำนองฝรั่ง และทำนองแขก ทำนองสุดท้ายคือ ทำนองลงกลอง ทำนองที่ใช้มากที่สุดคือทำนองพม่าและทำนองลาว


การแสดงขับร้องเดี่ยวโดย พันธวิทย์ อัศวเดชเมธากุล, พันธวิทย์ อัศวเดชเมธากุล Jan 2017

การแสดงขับร้องเดี่ยวโดย พันธวิทย์ อัศวเดชเมธากุล, พันธวิทย์ อัศวเดชเมธากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงขับร้องเดี่ยวโดย พันธวิทย์ อัศวเดชเมธากุล มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษาและวิเคราะห์บทเพลง เทคนิคการขับร้องและการนำเสนอบทเพลงด้วยการใช้เสียงประเภทเคาน์เตอร์เทเนอร์ ซึ่งเป็นลักษณะเสียงที่ต้องใช้เทคนิคการขับร้องขั้นสูงตามกระบวนแบบยุคบาโรก และใช้วิธีการฝึกซ้อมอย่างมีแบบแผนด้วยความละเอียด โดยได้คัดเลือกบทเพลงชุด Stabat mater ประพันธ์โดย โจวานนี บาทิสตา เปร์โกเลซี (Giovanni Battista Pergolesi : 1710-1736) เป็นเพลงชุดประกอบด้วย 12 บทเพลงจากบทกวีภาษาละตินศตวรรษที่ 14 ซึ่งมีความหลากหลายทั้งในศาสตร์ของการขับร้องเดี่ยวและคู่ บทเพลงเร็วและช้า และลีลาของทำนองที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญ รวมทั้งการถอดความและตีความบทเพลงซึ่งมีหลากหลายกระบวนแบบ จากนั้นนำสู่การฝึกปฏิบัติ การวางแผนการฝึกซ้อมและการจัดแสดง การฝึกซ้อมร่วมกับนักร้องคู่และเปียโนบรรเลงประกอบ เพื่อถ่ายทอดบทเพลงอย่างได้อรรถรส ตามที่ผู้ประพันธ์ได้รังสรรค์ไว้


การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย มันทนา ก่อพานิชกุล, มันทนา ก่อพานิชกุล Jan 2017

การแสดงเดี่ยวเปียโนโดย มันทนา ก่อพานิชกุล, มันทนา ก่อพานิชกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวเปียโนในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะด้านการบรรเลงเปียโน โดยผู้แสดงได้คัดเลือกบทเพลงที่มีมาตรฐานเทียบเท่ากับระดับบัณฑิตศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาทั่วโลก บทประพันธ์สำหรับการแสดงในครั้งนี้คัดเลือกมาจากยุคสมัยที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ผู้แสดงจะได้ศึกษาประวัติศาสตร์ การวิเคราะห์ การตีความบทประพันธ์ การฝึกซ้อม การถ่ายทอดอารมณ์ และพัฒนาทักษะในการบรรเลง โดยผู้แสดงได้ทำการคัดเลือกบทเพลงสำหรับการแสดงครั้งนี้ไว้ 4 บทเพลงดังนี้ 1. Le Rappel Des Oiseaux ผลงานการประพันธ์ของ Jean-Philippe Rameau 2. Miroirs ผลงานการประพันธ์ของ Maurice Ravel 3. Trois Pièces for Piano ผลงานการประพันธ์ของ Francis Poulenc 4. Images (Book 1) ผลงานการประพันธ์ของ Claude Debussy การแสดงในครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2561 เวลา 14.00 น. ณ ห้องแสดงดนตรีธงสรวง (Tongsuang Recital Hall) ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 54/1 ถนนสุขุมวิทซอย 3 กรุงเทพมหานคร การแสดงทั้งหมดใช้เวลาประมาณ 83 นาที


การแสดงเดี่ยวไวโอลินโดย อธิปไตย พรหมสุรินทร์, อธิปไตย พรหมสุรินทร์ Jan 2017

การแสดงเดี่ยวไวโอลินโดย อธิปไตย พรหมสุรินทร์, อธิปไตย พรหมสุรินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแสดงเดี่ยวไวโอลินในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาและค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับบทเพลงที่ใช้แสดงไวโอลินประกอบด้วยการศึกษาเกี่ยวกับผู้ประพันธ์ในด้านชีวประวัติ ด้านการประพันธ์เพลงและแรงบันดาลใจในการประพันธ์เพลงของผู้ประพันธ์ การตีความบทเพลง เปรียบเทียบการตีความในบทเพลงของนักแสดงไวโอลินต่างๆ ศึกษาแนวความคิดและเทคนิคการบรรเลง และวิเคราะห์ในบทเพลงเพื่อให้เป็นประโยชน์ในการฝึกซ้อม การเตรียมตัวสำหรับการแสดงและรวมถึงการจัดการแสดง การแสดงเดี่ยวไวโอลินได้คัดเลือกบทเพลงบรรเลง 4 บทเพลง จากการประพันธ์ของนักประพันธ์เพลงที่มีชื่อเสียงและได้ประพันธ์ผลงานอันทรงคุณค่าไว้รวมทั้งหมด 3 ยุค ได้แก่ (1) Violin sonata no.1 in A minor, Op.105 ประพันธ์โดย Robert Schumann (2) Sonatas for solo Violin no.3 in D minor, Op.27 (Ballade) ประพันธ์โดย Eugene Esaye (3) Violin Concerto in D major, Op.61 ประพันธ์โดย Lugwig Van Beethoven (4) Cantabile for Violin and Piano in D major, Op.17 ประพันธ์โดย Niccolo Paganini การแสดงเดี่ยวไวโอลินในครั้งนี้กำหนดจัดการแสดงในวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2561 เริ่มการแสดงเวลา 14.00 น. ณ ห้อง Recital hall ชั้น 3 คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมเวลาที่ใช้ในการแสดง 1 ชั่วโมง 30 นาที


มหาบัณฑิตนิพนธ์การประพันธ์เพลง: สุวรรณภูมิ (แผ่นดินทอง) สำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา, อัญนา แจสิริ Jan 2017

มหาบัณฑิตนิพนธ์การประพันธ์เพลง: สุวรรณภูมิ (แผ่นดินทอง) สำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา, อัญนา แจสิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทเพลง สุวรรณภูมิ (แผ่นดินทอง) มีวัตถุประสงค์ในการประพันธ์ขึ้นเพื่อเป็นผลงานในการนำออกแสดงเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชเนื่องในวโรกาสมหามงคลเสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติครบ 70 ปี และสะท้อนวัฒนธรรมดนตรีที่มีนวัตกรรมทางดนตรีพื้นเมืองของไทยทั้ง 4 ภาค โดยผู้วิจัยแบ่งบทเพลงออกเป็นทั้งหมด 4 ท่อนดังนี้ ท่อนที่ 1 ผู้วิจัยให้ความสำคัญกับการจัดลำดับกลุ่มโน้ตที่จะใช้ในแต่ละตอนของท่อนนี้ ผสมกับจังหวะที่คล้ายกับจังหวะรำวงพื้นบ้าน ท่อนที่ 2 ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มโน้ตที่สื่อถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และนำมาใช้ในรูปแบบต่าง ๆ ในท่อนนี้ ผนวกกับใช้คอร์ดคู่ 4 เรียงซ้อน และคอร์ดคู่ 5 เรียงซ้อนมาเป็นเสียงประสานผสมกับทำนองเพลงพื้นบ้านภาคเหนือทั้ง 3 เพลง ทำให้ท่อนนี้ยังคงมีกลิ่นอายของความเป็นภาคเหนือของไทย ท่อนที่ 3 ทำนองหลักมาจากเพลงพื้นบ้านของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้วิจัยทำให้อัตราจังหวะเกิดความคลาดเคลื่อนผสมกับความไม่สมมาตรในแง่ต่าง ๆ ของตัวดนตรี ในท่อนสุดท้ายของบทเพลง สุวรรณภูมิ (แผ่นดินทอง) ผู้วิจัยได้เลือกใช้เพลงพื้นบ้านของภาคใต้ นอกจากนั้นผู้วิจัยใช้เสียงประสานที่เป็นกลุ่มเสียงสมมาตรในตัวทำให้เกิดแกนกลางความสมมาตร จากที่กล่าวมาในข้างต้นจะเห็นได้ว่า สุวรรณภูมิ (แผ่นดินทอง) เป็นบทเพลงมีแสดงถึงชนชาติของผู้วิจัยอย่างชัดเจน กล่าวได้ว่าบทเพลงนี้ถือเป็นดนตรีชาตินิยม