Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 30 of 434

Full-Text Articles in Entire DC Network

Prevalence And Factors Associated With Sexual Activites Among High School Students In Kendal Regency, Indonesia, Ekha Rifki Fauzi Jan 2017

Prevalence And Factors Associated With Sexual Activites Among High School Students In Kendal Regency, Indonesia, Ekha Rifki Fauzi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: The risk of sexual activities among adolescents is high in globally. Unwanted pregnancy, sexual transmitted infections, and HIV are still the big problem in adolescents. This study was involved to exam the prevalence and factor associated with sexual activities among high school students. Methods: A cross-sectional study was conducted around 145 male students and 315 female students. The total populations was 460 students with multistage random sampling technique. A self-reported questionnaire was used including Illustrative Questionnaire for Interview-Surveys with Young People, Sexual Activity Scale and Sex Education Inventory. Descriptive statistics, Chi-square test, and multivariate logistic regression were used to …


Effectiveness Of Integrated Health Literacy And Self-Management Model For Hypertension Control In Urban Community, Nakhonratchasima Province, Thailand, Sawitree Visanuyothin Jan 2017

Effectiveness Of Integrated Health Literacy And Self-Management Model For Hypertension Control In Urban Community, Nakhonratchasima Province, Thailand, Sawitree Visanuyothin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Hypertension (HT) response a half of death from heart disease and stroke due to poorly-controlled hypertension. Many strategies have been approached poorly-controlled HT. The integrated health literacy and self-management model led care on poorly-controlled HT in urban area were few on reviewing. This study aimed to determine effectiveness of integrated program for poorly-controlled HT in urban community, Nakhorn Ratchasima, Thailand in experimental group comparing with usual care. Methods: This was a quasi-experiment during January 2017- March 2018 of The catchment areas of two primary care unit (PCU) in urban area of Nakhorn Ratchasima, Thailand were selected to be one …


ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง, อรกนก สังข์พระกร Jan 2017

ภาวะซึมเศร้า และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง, อรกนก สังข์พระกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ เพื่อหาความชุกของภาวะซึมเศร้า และศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้าของพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง วิธีการศึกษา ศึกษาในพนักงานเกษียณอายุการไฟฟ้านครหลวง ที่คลินิกผู้ป่วยนอก แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง จำนวน 115 คน โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถาม 6 ชุด ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินสมองเบื้องต้น แบบวัดความเศร้าในผู้สูงอายุของไทย แบบสอบถามเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตในช่วงหนึ่งปี แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามการมีส่วนร่วมในสังคมของผู้สูงอายุ ใช้โปรแกรม SPSS เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา คำนวณสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์การถดถอยลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายภาวะซึมเศร้า ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง 115 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 62.6 มีอายุเฉลี่ย 68.8 ปี พบความชุกของภาวะซึมเศร้า คิดเป็นร้อยละ 35.6 แบ่งเป็นภาวะซึมเศร้าเล็กน้อย ร้อยละ 33.0 และภาวะซึมเศร้าปานกลาง ร้อยละ 2.6 โดยปัจจัยส่วนบุคคลที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ เพศชาย มีอายุมากกว่า 66 ปีขึ้นไป ระดับการศึกษาชั้นมัธยม รายได้ปัจจุบันน้อยกว่าเท่ากับ 10,000 บาท/เดือน รายได้ไม่เพียงพอและมีหนี้สิน จำนวนสมาชิกในครอบครัวน้อยกว่าเท่ากับ 2 คน ปัจจัยด้านการทำงานที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ตำแหน่งงานก่อนเกษียณอายุระดับน้อยกว่าเท่ากับซี 6 กองทุนสำรองเลี้ยงชีพน้อยกว่าเท่ากับ 3 ล้านบาท รายได้ก่อนเกษียณอายุน้อยกว่าเท่ากับ 60,000 บาท/เดือน รายได้หลังเกษียณอายุน้อยกว่าเท่ากับ 10,000 บาท/เดือน ปัจจัยด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ มีโรคประจำตัวมากกว่า 2 โรค การเป็นโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคไต โรคต่อมลูกมากโต ได้รับยารักษาโรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ โรคต่อมลูกมากโต และปัจจัยทางจิตสังคมที่สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ การมีเหตุการณ์ความเครียดในชีวิตระดับสูง การสนับสนุนทางสังคมระดับต่ำ และการมีส่วนร่วมในสังคมระดับต่ำ จากการวิเคราะห์พหุสัมพันธ์พบว่าที่เสี่ยงต่อภาวะซึมเศร้า ได้แก่ อายุมากกว่า 66 ปี ขึ้นไป …


การศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ภัทราวรรณ พันธ์น้อย Jan 2017

การศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ภัทราวรรณ พันธ์น้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงกึ่งทดลอง (Quasi Experimental Design) ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ดนตรีบำบัดเพื่อลดความวิตกกังวลในผู้ที่มีภาวะพุทธิปัญญาบกพร่องเล็กน้อย จากศูนย์ Cognitive Fitness Center แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ผ่านการวินิจฉัยจากจิตแพทย์ และการคัดกรองโดยเก็บข้อมูลแบบทดสอบ Thai Mental state Examination (TMSE) ที่คะแนน ≥ 24 คะแนน และThe Montreal Cognitive Assessment (MOCA) ฉบับภาษาไทย ที่คะแนน ≤ 24 คะแนน ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 20 คน เพื่อเข้าร่วมกลุ่มดนตรีบำบัดร่วมกับการจัดกิจกรรม แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองจำนวน 10 คน จะได้รับดนตรีบำบัดร่วมกับการจัดกิจกรรมควบคู่ไปกับการดูแลรักษาทางการแพทย์แบบปกติเป็นระยะเวลา12 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมจำนวน 10 คน จะได้รับการรักทางการดูแลแพทย์แบบปกติเพียงอย่างเดียว เป็นระยะเวลา12 สัปดาห์เท่ากัน จากนั้นทำการเก็บข้อมูลพื้นฐานทั่วไป และแบบวัดความวิตกกังวลโดยแบบทดสอบ State-Trait Anxiety Inventory (STAI) ใช้สถิติเชิงพรรณา, Non-parametric Wilcoxon signed Ranks test และ Generalized Estimating Equation (GEE) เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการศึกษาพบว่า ในช่วงก่อนการทดลอง ระดับความวิตกกังวลของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันทางสถิติ ส่วนการเปลี่ยนแปลงของความวิตกกังวลก่อนการทดลอง (ครั้งที่ 1) และหลังการทดลอง (ครั้งที่ 12) ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า ไม่แตกต่างกันทางสถิติ และผลของเวลาในการใช้ดนตรีบำบัดต่อการจัดกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวล พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับดนตรีบำบัดจะมีค่าคะแนนความวิตกกังวล (State) ลดลงเท่ากับ 3.43 คะแนน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.028) ส่วนจำนวนครั้งในการทดลองไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความเปลี่ยนแปลงของความวิตกกังวล (p = 0.403) และกลุ่มตัวอย่างที่ได้รับดนตรีบำบัดจะมีค่าคะแนนความวิตกกังวล (Trait) ลดลงเท่ากับ 3.47 คะแนน แต่ไม่แตกต่างกันทางสถิติ (p …


การศึกษาลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้เครื่องวัดอาการสั่น และเปรียบเทียบอาการมือสั่นระหว่างท่าพัก ท่ายกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และขณะที่มีการเคลื่อนไหวมือ เทียบกับอาการสั่นขณะผู้ป่วยกำลังเดิน ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น, ณัฐพจน์ ดัดพันธ์ Jan 2017

การศึกษาลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้เครื่องวัดอาการสั่น และเปรียบเทียบอาการมือสั่นระหว่างท่าพัก ท่ายกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และขณะที่มีการเคลื่อนไหวมือ เทียบกับอาการสั่นขณะผู้ป่วยกำลังเดิน ในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น, ณัฐพจน์ ดัดพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทนำ : ลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันมีหลายรูปแบบ รูปแบบของอาการมือสั่นในผู้ป่วยพาร์กินสันที่พบได้บ่อยคืออาการมือสั่นในขณะพัก อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยส่วนหนึ่งพบว่ามีอาการมือสั่นขณะกำลังเดิน แต่ปัจจุบันยังไม่ค่อยมีการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของอาการมือสั่นในผู้ป่วยโรคพาร์กินสันในขณะเดิน วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและบรรยายลักษณะของอาการมือสั่นขณะเดินในผู้ป่วยพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่น โดยใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ตรวจจับลักษณะการหมุนในการตรวจวัดจลนศาสตร์ของอาการมือสั่น (ChulaPD tremor device, www.chulapd.org) วัสดุและวิธีการ : เป็นการศึกษาแบบตัดขวางในผู้ป่วยจำนวน 22 รายที่ได้รับการวินิจฉัยว่าโรคพาร์กินสันที่มีอาการมือสั่นเป็นอาการเด่นและมีอาการมือสั่นในขณะเดิน โดยการใช้อุปกรณ์เซ็นเซอร์ติดตั้งบริเวณข้อมือในการวัดความเร่งและเซ็นเซอร์ตรวจจับลักษณะการหมุน (ChulaPD tremor device, www.chulapd.org) เพื่อศึกษาลักษณะจลนศาสตร์ของอาการมือสั่น โดยมีการวัดเปรียบเทียบกับอาการมือสั่นรูปแบบอื่นได้แก่อาการมือสั่นขณะพัก อาการมือสั่นขณะยกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก และวัดอาการมือสั่นในขณะที่ให้ผู้ป่วยเดินด้วยความผ่อนคลายในระยะเวลา 30 วินาที และมีการเก็บข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย การตรวจร่างกายผู้ป่วยตามระบบของ UKPDS และนำข้อมูลทางจลนศาสตร์ได้แก่ค่าเฉลี่ยกำลังสองของอัตราเร็วเชิงมุม ค่าเฉลี่ยกำลังสองของมุมในการสั่น ขนาดของการสั่น และความถี่ของการสั่น มาทำการวิเคราะห์ต่อไป ผลการศึกษา : จากผู้ป่วยโรคพาร์กินสันที่เข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 22 ราย มีอายุเฉลี่ยที่ 68.18 ปี (SD=8.93) ระยะเวลาเฉลี่ยที่เป็นโรคพาร์กินสัน 6.91 ปี (SD=5.5) ผู้ป่วยทุกรายในการศึกษานี้มีอาการมือสั่นในขณะพัก โดยผลการศึกษาพบว่าอาการมือสั่นในขณะพักในแนวแกนที่มีอาการสั่นมากที่สุด มีค่าความถี่เฉลี่ย 4.07 ครั้งต่อวินาที (SD=1.96) โดยมีลักษณะใกล้เคียงกับอาการมือสั่นในขณะยกแขนต้านแรงโน้มถ่วงของโลก ซึ่งเข้าได้กับอาการมือสั่นที่พบบ่อยในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน ส่วนอาการสั่นในขณะที่ผู้ป่วยกำลังเดิน ในแนวแกนที่มีอาการสั่นมากที่สุด พบว่ามีค่าความถี่ต่ำกว่าอาการสั่นในขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ โดยมีความถี่ 1.67 ครั้งต่อวินาที (SD=1.77) (p=0.001) ลักษณะทางจลนศาสตร์ของอาการมือสั่นอื่นๆเช่นค่าเฉลี่ยกำลังสองของอัตราเร็วเชิงมุมในการสั่น ค่าเฉลี่ยกำลังสองของมุมในการสั่น ขนาดของอาการสั่น และค่า Q-value มีความแตกต่างกับอาการมือสั่นขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05 ในทุกลักษณะทางจลนศาสตร์) สรุป : จากผลการศึกษาพบว่าอาการมือสั่นขณะเดินในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีลักษณะทางจลนศาสตร์ของอาการสั่นแตกต่างจากอาการสั่นที่พบได้ทั่วไปในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน บ่งบอกว่าอาการมือสั่นในขณะเดินอาจจะเป็นอาการสั่นที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาการมือสั่นในขณะพัก ซึ่งในอนาคตต้องมีการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับกลไกการเกิดการมือสั่นในขณะเดินในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน


Bioactive Compounds From Dendrobium Infundibulum, Salinee Na Ranong Jan 2017

Bioactive Compounds From Dendrobium Infundibulum, Salinee Na Ranong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Phytochemical study of the methanol extract from Dendrobium infundibulum (Orchidaceae) led to isolation of nine pure compounds including two new compounds (dendroinfundin A and dendroinfundin B) and seven known compounds (ephemeranthol A, moscatilin, aloifol I, batatasin III, 3,3'-dihydroxy-4,5-dimethoxybibenzyl, 3,4'-dihydroxy-3',4,5-trimethoxybibenzyl and dendrosinen B). Their structures were determined from their spectroscopic data. All compounds were then examined for their lipase and alpha-glucosidase inhibitory activities. Dendrosinen B (IC50 = 295.0±37.9 µM) showed moderate inhibitory activity against lipase when compared with orlistat (IC50 = 31.4±0.6 nM). Strong anti alpha-glucosidase agents were batatasin III (IC50 = 148.8±8.4 µM) and dendrosinen B (IC50 = 213.9±2.4 µM), …


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม, พิชญากร บำรุงกิจ Jan 2017

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม, พิชญากร บำรุงกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติ และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ แผนกที่ปฏิบัติงาน การได้รับการฝึกอบรม ระยะเวลาที่ออกปฏิบัติงานภาวะภัยพิบัติ การได้รับการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชา และการทำงานเป็นทีม กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม ประชากร ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 268 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชา แบบสอบถามการทำงานเป็นทีม และแบบสอบถามความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติ ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและทดสอบความเที่ยงของเครื่องมือโดยวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96, .96 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดกระทรวงกลาโหม อยู่ในระดับสูง ( X = 3.64, SD = 0.65 ) 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ การได้รับการฝึกอบรมมีความสัมพันธ์ในระดับต่ำกับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (c2 = 9.821, C = .188) การได้รับการเสริมพลังอำนาจจากผู้บังคับบัญชามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง และการทำงานเป็นทีมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับ ความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .557 และ .838 ตามลำดับ) ส่วนปัจจัยส่วนบุคคลด้านแผนกที่ปฏิบัติงานและระยะเวลาที่ออกปฏิบัติงานภาวะภัยพิบัติ ไม่มีความสัมพันธ์กับความสามารถในการจัดการด้านการรับมือและฟื้นฟูภาวะภัยพิบัติของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหม


สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง, สโรชิน คมแท้ Jan 2017

สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง, สโรชิน คมแท้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง โดยใช้เทคนิคเดลฟาย (Delphi tecnique) ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ประกอบด้วย กลุ่มแพทย์ที่รักษาด้วยออกซิเจนความกดบรรยากาศสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy: HBOT) จำนวน 5 คน กลุ่มผู้บริหารการพยาบาลด้าน HBOT จำนวน 6 คน กลุ่มอาจารย์พยาบาลด้าน HBOT จำนวน 3 คน และกลุ่มพยาบาลที่ปฏิบัติงานด้าน HBOT จำนวน 6 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ ความดันบรรยากาศสูง และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปเป็นสมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะพยาบาลเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง ประกอบด้วย 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางเวชศาสตร์ความดันบรรยากาศสูง จำนวน 14 สมรรถนะ 2) ด้านการให้ความรู้ และการสื่อสาร จำนวน 10 สมรรถนะ 3) ด้านการจัดการความเสี่ยง จำนวน 9 สมรรถนะ และ 4) ด้านการพัฒนาคุณภาพ จำนวน 6 สมรรถนะ


ส่วนประสมทางการตลาด 7ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง, จิตพิสุทธิ์ หงษ์ขจร Jan 2017

ส่วนประสมทางการตลาด 7ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพบ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง, จิตพิสุทธิ์ หงษ์ขจร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง ผู้วิจัยเลือกศึกษา 1. ส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง 2. เปรียบเทียบลักษณะประชากรศาสตร์ด้านเพศ อายุ อาชีพ และรายได้ ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีค่า IOC เท่ากับ 0.82 และมีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟา เท่ากับ 0.96 นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้การวิเคราะห์เพื่อการค่าถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple Linear Regression) เพื่อหาระดับความแตกต่างของการตัดสินใจ ผลการวิจัย พบว่านักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมาท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองมีความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาด 7Ps ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง โดยรวมอยู่ในระดับมาก และนักท่องเที่ยวชาวไทยมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองโดยรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งนี้นักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีเพศ อายุ อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่ต่างกัน ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองไม่แตกต่างกัน เมื่อวิเคราะห์ส่วนประสมทางการตลาดที่ส่งผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนอง ส่วนประสมทางการตลาดด้านผลิตภัณฑ์ ด้านสถานที่ ด้านส่งเสริมการตลาด และด้านกระบวนการให้บริการ มีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ บ่อน้ำพุร้อนรักษะวาริน จังหวัดระนองมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ช่องว่างของการบูรณะเรซิน คอมโพสิตชนิดบูรณะทั้งก้อนในโพรงฟันชนิดคลาสทู, ชินเดช จิระอานนท์ Jan 2017

ช่องว่างของการบูรณะเรซิน คอมโพสิตชนิดบูรณะทั้งก้อนในโพรงฟันชนิดคลาสทู, ชินเดช จิระอานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินถึงผลของวิธีการบูรณะวัสดุเรซิน คอมโพสิตชนิดบูรณะทั้งก้อนที่มีรูปแบบผลิตภัณฑ์และลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันในโพรงฟันชนิดคลาสทู ต่อช่องว่างที่เกิดขึ้นในการบูรณะ ด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี่ โดยทำการเตรียมโพรงฟันชนิดคลาสทูในฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งทั้งหมด 40 ซี่ และแบ่งตามกลุ่มของการบูรณะเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บูรณะด้วยฟิลเทค บัลค์ฟิลล์ โพสทีเรียแบบหลอด (Filtek Bulk Fill Posterior, Syringes) โดยตักวัสดุใส่โพรงฟันเพียงครั้งเดียว กลุ่มที่ 2 บูรณะด้วยฟิลเทค บัลค์ฟิลล์ โพสทีเรียแบบหลอด (Filtek Bulk Fill Posterior, Syringes) โดยตักวัสดุใส่โพรงฟันสองครั้ง กลุ่มที่ 3 บูรณะด้วยฟิลเทค บัลค์ฟิลล์ โพสทีเรียแบบแคปซูล (Filtek Bulk Fill Posterior, Capsule) โดยฉีดวัสดุเพียงครั้งเดียว และกลุ่มที่ 4 ทำการบูรณะด้วยโซนิคฟิลล์แบบแคปซูล (SonicFill 2, Capsule) โดยฉีดวัสดุเพียงครั้งเดียวจากเครื่องมือฉีดสำหรับวัสดุโซนิคฟิลล์ (SonicFill Handpiece) สารยึดติด OptiBond FL ถูกใช้เตรียมพื้นผิวโพรงฟันก่อนบูรณะ ภายหลังบูรณะเก็บชิ้นตัวอย่างไว้ในตู้ที่มีความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 100 ที่ อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นประเมินร้อยละของช่องว่างที่เกิดขึ้นทั้งหมดภายในโพรงฟันที่บูรณะแล้วด้วยเครื่องไมโครคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย One-way ANOVA ร่วมกับ Tukey Post-hoc test ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละของช่องว่างในกลุ่มที่ 2 ซึ่งบูรณะด้วยการตักวัสดุสองครั้ง (1.62 %) มากกว่ากลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่ร้อยละของช่องว่างของกลุ่มที่ 1 ซึ่งตักวัสดุเพียงครั้งเดียวหรือกลุ่มที่ 3 และ 4 ซึ่งฉีดวัสดุใส่โพรงฟันเพียงครั้งเดียวไม่แตกต่างกัน (0.49 %, 0.33 % และ 0.21 % ตามลำดับ) …


การวิเคราะห์อาการความผิดปกติช่วงกลางคืน ทั้งอาการการเคลื่อนไหวผิดปกติ และอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โดยการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ติดกับผู้ป่วยเพื่อประเมินอาการที่บ้านของผู้ป่วย, จิรดา ศรีเงิน Jan 2017

การวิเคราะห์อาการความผิดปกติช่วงกลางคืน ทั้งอาการการเคลื่อนไหวผิดปกติ และอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน โดยการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ติดกับผู้ป่วยเพื่อประเมินอาการที่บ้านของผู้ป่วย, จิรดา ศรีเงิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาการเคลื่อนไหวลำบากตอนนอน (nocturnal hypokinesia) เป็นอาการที่ทำให้เกิดผลแทรกซ้อนตามมา ได้ หลากหลาย ตั้งแต่ความรุนแรงของอาการน้อย เช่นอาการ หรือเสียชีวิตฉับพลันขณะนอน ซึ่งอาการเคลื่อนไหวลำบากขณะนอน เป็นปัญหาที่ไม่ค่อยได้รับความสนใจจากแพทย์โดยทั่วไป และตรวจพบได้ยากในการตรวจที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกปกติ จุดประสงค์ของการศึกษานี้ เพื่อการพัฒนาอุปกรณ์ในการวัดการเคลื่อนไหวตอนนอน ชนิดที่ใช้ติดกับตัวผู้ป่วย เพื่อใช้ประเมินอาการที่บ้าน และเปรียบเทียบการเคลื่อนไหวตอนนอน ของผู้ป่วยพาร์กินสัน กับคู่สามีหรือภรรยาของผู้ป่วยที่ไม่ได้เป็นโรคพาร์กินสัน ร่วมกับการหาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดอาการเคลื่อนไหวลำบากตอนนอน (nocturnal hypokinesia) ในผู้ป่วยพาร์กินสัน การดำเนินการศึกษาวิจัย เริ่มจากการพัฒนาชุดวัดการเคลื่อนไหวตอนนอน ชนิดติดกับตัวผู้ป่วย ซึ่งประกอบด้วย accelerometer และ gyroscope 3 แนวแกน ที่มีขนาดเล็ก เพื่อติดที่บริเวณลำตัวและแขนขาของผู้ป่วย ผลการศึกษา พบว่าในผู้ป่วยพาร์กินสัน 27 ราย และคู่สามีภรรยาที่ไม่ได้เป็นโรคพาร์กินสัน มีอายุเฉลี่ย น้ำหนัก ไม่แตกต่างกัน และผู้ป่วยมีการดำเนินโรค ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงระดับกลาง มีอาการทั้งอาการเคลื่อนไหวผิดปกติ และอาการที่ไม่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว และมีการตอบสนองต่อการรักษาโดยยาทดแทนโดปามีน ไม่สม่ำเสมอ จากผลการประเมินด้วยชุดวัดการเคลื่อนไหวตอนนอน พบว่า ผู้ป่วยพลิกตัว ความเร็วและความเร่งเฉลี่ยในการพลิกตัว น้อยกว่าคู่สามีหรือภรรยา (P < 0.001) และมุมที่เฉลี่ยในการพลิกตัว น้อยกว่าคู่สามีหรือภรรยา (P= 0.003) และพบความสัมพันธ์ระหว่าง อาการละเมอผิดปกติ (RBD) กับจำนวนการพลิกตัวในช่วงครึ่งหลังของการนอน การศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของชุดวัดการเคลื่อนไหวตอนนอน ที่พัฒนาขึ้นร่วมกับ แสดงให้เห็นการประเมินอาการตอนกลางคืน เป็นค่าที่วัด เปรียบเทียบได้ และพบอาการเคลื่อนไหวลำบากในผู้ป่วยพาร์กินสัน เพื่อประโยชน์ในการปรับยาเพื่อครอบคลุมอาการตอนกลางคืนต่อไป


การศึกษาการพยากรณ์โรคโดยอาศัยระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อร่วมกับข้อมูลทางคลินิกในการทำนายโอกาสกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูระยะแรกในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างปีพ.ศ. 2548-2559, สุรัมภา ประภัสสรวิจิตร Jan 2017

การศึกษาการพยากรณ์โรคโดยอาศัยระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อร่วมกับข้อมูลทางคลินิกในการทำนายโอกาสกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูระยะแรกในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ระหว่างปีพ.ศ. 2548-2559, สุรัมภา ประภัสสรวิจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความเป็นมา แม้ว่าในปัจจุบันผู้ป่วยมะเร็งเต้านมกลุ่มที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูจะได้รับการรักษาด้วยยาต้านเฮอร์ทูแล้ว แต่ยังพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีการกลับเป็นซ้ำของโรค มีหลายการศึกษาพบว่าระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อ (TILs) มีความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรคที่ดี วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อ (TILs) ร่วมกับปัจจัยทางคลินิกและพยาธิวิทยาในการพยากรณ์โอกาสการกลับเป็นซ้ำของโรคในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูระยะแรก วิธีการศึกษา ศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูระยะ 1-3 แบบย้อนหลัง ระหว่างมกราคม 2548 ถึงธันวาคม 2560 จำนวน486 คนโดยศึกษาระดับ TILs ร่วมกับปัจจัยทางคลินิกและพยาธิวิทยาโดยทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูอย่างมีนัยสำคัญ ผลการวิจัย หลังจากติดตามผู้ป่วย 4.1 ปี พบผู้ป่วยมีการกลับเป็นซ้ำของโรคทั้งหมด 92 รายคิดเป็นร้อยละ 18.9 และปัจจัยที่มีผลลดการกลับเป็นซ้ำของมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าต่อตัวรับสัญญาณเฮอร์ทูและระดับปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อ (TILs) ที่สูง สรุปผลการวิจัย ระดับปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวลิมป์โฟไซต์ที่ตรวจพบในชิ้นเนื้อ (TILs) ที่สูงและการได้รับการรักษาด้วยยามุ่งเป้าต่อตัวรับสัญญาณเฮอร์ทู สามารถเป็นปัจจัยพยากรณ์โอกาสการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมชนิดที่มีตัวรับสัญญาณเฮอร์ทู


Barriers To Prompt And Effective Malaria Treatment Among Malaria Infected Patients In Palaw Township, Tanintharyi Region,Myanmar : Cross Sectional Study, Zar Zar Naing Jan 2017

Barriers To Prompt And Effective Malaria Treatment Among Malaria Infected Patients In Palaw Township, Tanintharyi Region,Myanmar : Cross Sectional Study, Zar Zar Naing

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Barriers to Prompt and Effective Malaria Treatment among Malaria Infected Patients in Palaw Township, Tanintharyi Region, Myanmar : Cross Sectional Study Background: In Greater Mekong Sub regions, Myanmar is the highest malaria burden country. At the Myanmar-Thailand border, Artemisinin resistance in Plasmodium falciparum has been present for several years . Prompt and effective malaria treatment is the corner stone to reduce malaria morbidity , mortality and drug resistance malaria. Although National Malaria Control Program leads to fill the gaps for prompt and effective treatment of malaria, gaps are still present related to sociodemographic characteristics and knowledge of malaria, treatment seeking …


Chinese Tourists' Perception For Medical Tourism Services In Bangkok, Thailand, Zhuang Liu Jan 2017

Chinese Tourists' Perception For Medical Tourism Services In Bangkok, Thailand, Zhuang Liu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of this research, a cross-sectional study, were twofold: 1) to investigate the factor structure of medical tourism perception among Chinese tourists, 2) to investigate the correlation between medical tourism perception and demographic, health characteristics among Chinese tourists. The data were analysed by performing Exploratory Factor Analysis (EFA) with varimax rotation method. The questionnaire was distributed to the samples covering 481 Chinese tourists currently travelling to Thailand through travel agency as tour group and as Free Individual Tourists (FIT). The purposive sampling technique, a non-probability sampling, was used for data collection. The research findings can be summarized as follows: …


Effectiveness Of Healing Touch Technique Among Autistic Patient : A Randomized Control Trial, Vanvisa Sresumatchai Jan 2017

Effectiveness Of Healing Touch Technique Among Autistic Patient : A Randomized Control Trial, Vanvisa Sresumatchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This randomized control trial study aimed to compare of effectiveness of healing touch technique in changing of behavior problem of autism patient between intervention group and control group of autistic children in Nonthaburi Autistic Center, Nonthaburi province. Data was collected by using a self-administered questionnaire from parent of autistic among 64 sampled (59 Male, 5 female) age of samples ranged from 13-26 years were included in this study. Binary logistic regression, Generalized Linear Model, and Generalized Estimating Equations were applied for the analysis.For main symptom of autistic, most of them were repetitive behavior and fixated interests 78.5% and 75.0% respectively. …


Development Of A Competency Assessment System For Clinical Reasoningthrough Self-Reflection In The Community Pharmacy Practice Of 6th-Year Pharmacy Students, Kitiyot Yotsombut Jan 2017

Development Of A Competency Assessment System For Clinical Reasoningthrough Self-Reflection In The Community Pharmacy Practice Of 6th-Year Pharmacy Students, Kitiyot Yotsombut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to develop the rubric system for assessment of clinical reasoning competency in community pharmacy practice through self-reflection of 6th-year pharmacy students. There were 3 phases of this study with different research methodology. The first phase was focus group discussion of experts to identify components of the competency. The item-objective congruence (IOC) index and the expert discussion were used to judge the content validity of the identified components. In the second phase, the identified components were transformed into a rubric. The rubric was tested for its intra-rater reliability and revised. In the third phase, the inter-rater reliability, and …


Deep Approach To Learning Of Pharmacy Students : A Multilevel Analysis, Chamipa Phanudulkitti Jan 2017

Deep Approach To Learning Of Pharmacy Students : A Multilevel Analysis, Chamipa Phanudulkitti

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Deep approach to learning (DA) of pharmacy students is crucial because it can help to produce the students’ academic performance and desirable professional outcomes. The objectives of this study were to assess the extent of students’ deep approaches to learning of pharmacy students in Thailand, examine relationship of student-level factors and course-level factors with students’ deep approach to learning, and validate the Multilevel Structural Equation Model. The participants consisted of 536 pharmacy students from 67 courses of Faculties of Pharmaceutical Sciences, Chulalongkorn University and Burapha University. Eight to twelve students were randomly selected to evaluate each learning course in the …


Isoquinoline Alkaloid Composition And Expression Of Biosynthetic Genes In Mechanically Wounded Sacred Lotus, Thitirat Meelaph Jan 2017

Isoquinoline Alkaloid Composition And Expression Of Biosynthetic Genes In Mechanically Wounded Sacred Lotus, Thitirat Meelaph

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Isoquinoline alkaloids, a plant secondary metabolites present in many plant species including lotus (Nelumbo nucifera Gaertn.). Lotus leaf contains high amount of bioactive nuciferine and N-nornuciferine. A set of enzyme including NCS, 6OMT and CNMT and WRKY transcription factors (WRKY TFs) has been reported to have corresponding function in the biosynthesis isoquinoline alkaloids. Thus, we performed quantitative analysis on expression level of these corresponing genes and on nuciferine and N-nornuciferine content in lotus leaf using mechanical wounding method. Sequence analysis clearly showed that all the targeted genes possess the conserved region belongs to their protein families. The accumulation of compound …


Protein Profiling Analysis Of Platelets In Hypercoagulable State Of Β-Thalassemia/Hbe Patients, Puangpaka Chanpeng Jan 2017

Protein Profiling Analysis Of Platelets In Hypercoagulable State Of Β-Thalassemia/Hbe Patients, Puangpaka Chanpeng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

β-thalassemia/HbE is an inherited hemolytic anemia caused by defect in β-globin synthesis resulting in accumulation of excess α-globin chains in red blood cells. A hypercogulable state leading to high risk of thromboembolic event is one of the most common complications observed in this disease, particularly in patients with splenectomy. Previous studies suggested that increased platelet activation and coagulation factors in β-thalassemia/HbE intermediate patients promote the hypercoagulable state. However, the hypercoagulable state as well as the molecular mechanism regarding this pathogenesis in β-thalassemia/HbE is not yet well understood. This study aimed to identify proteins related to platelet activation and to hypercoagulable …


Histopathologic Difference Between Sinonasal Mucosa And Polyp Tissue For Diagnosing Eosinophilic Chronic Rhinosinusitis, Wanrawee Thaitrakool Jan 2017

Histopathologic Difference Between Sinonasal Mucosa And Polyp Tissue For Diagnosing Eosinophilic Chronic Rhinosinusitis, Wanrawee Thaitrakool

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aims to assess the appropriate site for diagnosing eosinophilic chronic rhinosinusitis (ECRS) by histopathology. Patients with chronic rhinosinusitis with polyps (CRSwNP) were enrolled. Specimens were collected from polyp apex, polyp pedicle, polyp scraping and ethmoid mucosa. Number of tissue eosinophil of the four samples was assessed with intrapersonal comparison for diagnosing ECRS. Correlations with clinical characteristics of ECRS were assessed for each site. Results showed that thirty patients with CRSwNP were enrolled. Polyp apex, polyp pedicle and ethmoid mucosa gave similar results for diagnosing ECRS in 16 patients (53.3%). Median tissue eosinophil was greater in polyp apex (84, …


Development Of In Situ Gel For Artificial Saliva And Satisfaction Study, Rawi Tishyadhigama Jan 2017

Development Of In Situ Gel For Artificial Saliva And Satisfaction Study, Rawi Tishyadhigama

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Xerostomia, the subjective complaint about the dry mouth, may lead to the difficulty in daily living including speaking, swallowing, taste acuity and sleeping. Patients are often advised to drink water or chew ice to moisturize the oral cavity and also recommended to use stimulant or saliva substitute, such as sour candies, chewing gum and artificial saliva. In Thailand, there is no artificial saliva products available in the market and this makes it difficult to access the artificial saliva. Hence, artificial saliva have been developed in the form of solution in many hospitals to dispense for xerostomia patients in the hospitals. …


Evaluation Of Push Out Bond Strength Of Glass Fiber Post Related With Ultrasonic Irrigation, Nomjit Vidhyaphum Jan 2017

Evaluation Of Push Out Bond Strength Of Glass Fiber Post Related With Ultrasonic Irrigation, Nomjit Vidhyaphum

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective This study compared the bond strength of glass fiber post to dentin using different irrigation methods and solutions and to evaluate the bond strength in different regions of the root. Methods One hundred human anterior maxillary teeth were randomly divided into 10 groups (n=10). Root canal filling and post space preparation were carried out followed by diverse final irrigation techniques. Groups 1 to 3 underwent syringe irrigation, groups 4 to 6 irrigation with ultrasonic instrumentation and groups 7 to 9 passive ultrasonic irrigation. Different irrigant solutions were used in each groups as 2.5% NaOCl (groups 1,4,7), 17% EDTA (groups …


ความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เปรียบเทียบกับผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง, จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์ Jan 2017

ความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เปรียบเทียบกับผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง, จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พญ.จุฑาทิพย์ รัตนพันธ์: ความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เปรียบเทียบกับผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง (THE FREQUENCY OF HEAD TURNING SIGN IN ALZHEIMER'S DISEASE PATIENTS COMPARED TO VASCULAR DEMENTIA PATIENTS) อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์หลัก: อาจารย์ นพ.ยุทธชัย ลิขิตเจริญ วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์เปรียบเทียบกับผู้ป่วยสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมองและหาความสัมพันธ์ระหว่างความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลและความเร็วของพุทธิปัญญาและปริมาณรอยโรคสมองขาดเลือดจากภาพสะท้อนคลื่นแม่เหล็ก วิธีการวิจัย: การศึกษาแบบตัดขวาง เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม 2017 ถึงเดือนมกราคม 2018 ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคอัลไซเมอร์และสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง โดยผู้ป่วยทุกรายจะต้องได้รับการทำภาพสะท้อนคลื่นแม่เหล็กมาแล้วเพื่อการวินิจฉัย ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยสมองเสื่อมหลายชนิดร่วมกันหรือมีความเจ็บป่วยที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถสื่อสารได้ จะถูกคัดออกจากการศึกษา การคัดเลือกผู้ป่วยเข้าสู่การศึกษาคัดเลือกโดยผู้ช่วยวิจัย ผู้ทำวิจัยจะไม่ทราบมาก่อน การบันทึกการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในระหว่างสัมภาษณ์จะต้องทำอย่างระมัดระวัง โดยบันทึกภาพเคลื่อนไหวขณะทำการสัมภาษณ์ และกลับมาดูภาพเคลื่อนไหวที่บันทึกไว้อีกครั้งเพื่อบันทึกการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลของผู้ป่วย ความเร็วของพุทธิปัญญาและปริมาณรอยโรคสมองขาดเลือดจากภาพสะท้อนคลื่นแม่เหล็ก ผลการศึกษา: ผู้ป่วยจำนวน 25 ราย ผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ 13 ราย ผู้ป่วยสมองเสื่อมจากสมองขาดเลือด 12 ราย ผลการศึกษาที่ได้ตามวัตถุประสงค์หลักพบว่า ความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มากกว่าผู้ป่วยสมองเสื่อมจากสมองขาดเลือดอย่างมีนัยสำคัญ (p-value < 0.001) ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์รองพบว่า ความถี่ของพฤติกรรมการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลไม่มีความสัมพันธ์กับความเร็วของพุทธิปัญญา (p-value 0.06) และไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณสมองขาดเลือด (p-value 0.27) สรุป: การศึกษานี้ ความถี่ของการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มากกว่าสมองเสื่อมจากสมองขาดเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น ความถี่ของพฤติกรรมการหันศีรษะไปหาผู้ดูแลอาจจะเป็นหนึ่งในอาการแสดงที่ใช้ในการวินิจฉัยแยกโรคอัลไซเมอร์


ประสิทธิผลของยา 15% ซิงค์ออกไซด์ชนิดขี้ผึ้งสำหรับการรักษาหูดบนผิวหนัง, การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม, ชาญเกียรติ ส่องสันติภาพ Jan 2017

ประสิทธิผลของยา 15% ซิงค์ออกไซด์ชนิดขี้ผึ้งสำหรับการรักษาหูดบนผิวหนัง, การศึกษาแบบสุ่มเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม, ชาญเกียรติ ส่องสันติภาพ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันมียาทาที่ใช้รักษาโรคหูดไม่มากนักและมีเพียงการศึกษาจำนวนหนึ่งที่บ่งบอกถึงประสิทธิผลของยาทาซิงค์-ออกไซด์ที่ใช้ในการรักษาเหล่านั้น วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิผลของยาทา 15% ซิงค์ออกไซด์ ในแง่ของการลดขนาดของรอยโรคหูดทั่วไป วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 16 รายที่มีหูดชนิดทั่วไปบนฝ่ามือที่สามารถเปรียบเทียบกันได้อย่างน้อย 2 รอยโรคถูกนำมาศึกษาในงานวิจัย หูดทั้ง 2 รอยโรคได้รับการสุ่มเพื่อรับยา 15% ซิงค์ออกไซด์และยาควบคุม ทาอย่างน้อยวันละ 3 ครั้งเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ผลการรักษาประเมินจากความยาวเส้นผ่าศูนย์กลาง ขนาดพื้นที่ผิว ปริมาตรของรอยโรคที่เปลี่ยนแปลงไป รวมไปถึงการประเมินผลการรักษาจากผู้ป่วยและแพทย์ผิวหนัง ผลการศึกษา: ณ สัปดาห์ที่ 4 ซิงค์ออกไซด์สามารถลดค่ามัธยฐานของขนาดพื้นที่ผิวของรอยโรคหูดทั่วไปได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับก่อนรักษา (P < 0.037) อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงระหว่าง 2 กลุ่มพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล: ซิงค์ออกไซด์สามารถลดขนาดของหูดทั่วไปที่มือได้ภายในระยะเวลา 4 สัปดาห์ จึงเป็นไปได้ว่าซิงค์ออกไซด์สามารถนำมาใช้ร่วมกับการรักษาชนิดอื่นๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาหูดให้ดียิ่งขึ้น


การศึกษาการใช้แสงเลเซอร์ชนิดพัลส์ดายเพื่อเป็นการรักษาเสริมในผื่นชนิดตุ่มเม็ดและตุ่มหนองจากการใช้ยายับยั้งอิพิเดอร์มอลโกรทแฟคเตอร์รีเซปเตอร์, ญาดา สุพรรณคง Jan 2017

การศึกษาการใช้แสงเลเซอร์ชนิดพัลส์ดายเพื่อเป็นการรักษาเสริมในผื่นชนิดตุ่มเม็ดและตุ่มหนองจากการใช้ยายับยั้งอิพิเดอร์มอลโกรทแฟคเตอร์รีเซปเตอร์, ญาดา สุพรรณคง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ผื่นตุ่มแดงและตุ่มหนอง เป็นผลข้างเคียงที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่ได้รับยารักษามะเร็งชนิดมุ่งเป้า epidermal growth factor receptor inhibitors (EGFRIs) การรักษาผื่นดังกล่าวมีหลากหลายแต่ยังไม่มีการรักษาที่มีประสิทธิภาพหรือได้ผลรวดเร็วเพียงพอในขณะที่ผลข้างเคียงน้อย เลเซอร์พัลส์ดาย (pulsed-dye laser, PDL) ได้ถูกนำมารักษาผื่นผิวหนังที่เกิดจากการอักเสบ รวมถึง สิว ซึ่งพบว่าผลการรักษาดี แต่อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการนำมาใช้รักษาผื่นจากยาดังกล่าว วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของ PDL เป็นการรักษาเสริมในผื่นจาก EGFRIs -> ซึ่งใช้เป็นการรักษาเสริมสำหรับผื่นจากยา EGFRIs วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยที่ได้รับยา EGFRIs ที่มีผื่นบนใบหน้า 14 ราย ได้รับการสุ่มเลือกข้างของใบหน้า โดยครึ่งใบหน้าได้รับการรักษาโดย PDL และอีกครึ่งใบหน้าได้รับการรักษาหลอก (sham) เป็นกลุ่มควบคุม การรักษาโดยเลเซอร์รวม 4 ครั้งทุก 2 สัปดาห์ การประเมินแบ่งเป็นที่ก่อนรักษา หลังการรักษาโดยเลเซอร์ทุกครั้ง และ ติดตามที่ 4 สัปดาห์หลังเลเซอร์ครั้งสุดท้าย โดยใช้ค่าความแดง (erythema index, EI วัดจาก colorimeter) จำนวนตุ่มเม็ดและตุ่มหนอง (lesion count) การประเมินโดยแพทย์ (physician global assessment, PGA) การประเมินโดยผู้ป่วย (patients satisfaction) และ ระดับความรุนแรงผื่น (severity grading) โดยผู้ป่วยทุกรายยังสามารถได้รับการรักษามาตรฐานเดิม ได้แก่ การป้องกันแดด และยาด็อกซีไซคลิน (doxycycline) ชนิดรับประทาน ผลการศึกษา: หลังสิ้นสุดการรักษา ผื่นตุ่มในใบหน้าข้างที่ได้รับการรักษาโดย PDL มีค่า EI ที่ลดลงมากกว่า sham อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.001, ค่าลดลงเฉลี่ย 7.20 (30.65%) ใน PDL และ ลดลง 2.98 (12.69 มี 2 ที่ใน sham) ค่า lesion counts ลดลงในทั้งสองกลุ่ม โดยกลุ่ม PDL มีแนวโน้มไปทางการมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ ค่า PGA และ patient’s satisfaction ยังดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในกลุ่ม PDL (P ≤0.001 และ P ≤ 0.009 ตามลำดับ) ผลข้างเคียงพบเพียงเล็กน้อยและเป็นเพียงชั่วคราว เช่น อาการเจ็บ และบวม เป็นต้น สรุปผล: เลเซอร์ชนิดพัลส์ดายเป็นอีกทางเลือกในการรักษาเสริมสำหรับผู้ป่วยผื่นตุ่มแดงและตุ่มหนองจากยา EGFRIs และพบว่าประโยชน์เพิ่มเติมจากการรักษา โดยเฉพาะการลดความแดง


การศึกษาความสัมพันธ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองแบบคลื่นเดลตาและคลื่นทีตาที่สมองส่วนเทมพอรอลกับผลการรักษาด้วยการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยาที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล, พีรยา ภิรมย์รื่น Jan 2017

การศึกษาความสัมพันธ์ของคลื่นไฟฟ้าสมองแบบคลื่นเดลตาและคลื่นทีตาที่สมองส่วนเทมพอรอลกับผลการรักษาด้วยการผ่าตัดในผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยาที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล, พีรยา ภิรมย์รื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การพบ TIRDA ในEEG ของผู้ป่วยโรคลมชักจากสมองส่วนเทมพอรอล และฮิปโปแคมปัสฝ่อ มีหลักฐานว่า ช่วยบอกตำแหน่งจุดกำเนิดการชักได้ดี จึงคาดว่า ผลการควบคุมชักหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่พบ TIRDA น่าจะได้ผลดีด้วย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของการพบคลื่นไฟฟ้าสมอง TIRDA/TIRTA กับผลการควบคุมการชัก ภายหลังการรักษาด้วยการผ่าตัด ในผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยาที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล และฮิปโปแคมปัสฝ่อ วิธีการศึกษา: ประชากรตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยาที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล ร่วมกับ ฮิปโปแคมปัสฝ่อ 71 รายที่ได้รับการตรวจ VEM และทำการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคลมชัก ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ช่วงปีพ.ศ. 2556-2560 เก็บรวบรวมข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน ทั้งข้อมูลพื้นฐาน ข้อมูลเรื่องโรคลมชักของผู้ป่วย ยากันชักที่รับประทาน ความถี่ของการชัก ทั้งก่อนและหลังผ่าตัด เป็นเวลาอย่างน้อย 1ปีและทบทวนผล EEG เพื่อหาลักษณะ TIRDA/TIRTA และ EEG ขณะที่มีการชัก และไม่มีการชัก ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยา ที่ได้รับการผ่าตัดเพื่อรักษาอาการชัก กลุ่มที่ไม่มีการกลับมาของอาการชัก (Engel Ia) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่กลับมามีอาการชัก พบว่า TIRDA/TIRTA และ TIRDA alone เป็นปัจจัยที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยมี Hazard ratio 0.27 (p=0.023, 95%CI 0.09-0.83) และเมื่อติดตามผลไปในระยะยาว ผู้ป่วยที่พบ TIRDA/TIRTA จะมีโอกาสกลับมาชัก น้อยกว่า กลุ่มที่ไม่พบ TIRDA หรือ TIRTA สรุปผล: ผู้ป่วยโรคลมชักดื้อยา ที่การชักเกิดจากสมองส่วนเทมพอรอล ร่วมกับ ฮิปโปแคมปัสฝ่อ ที่พบ TIRDA/TIRTA มีผลการควบคุมชักได้ดี มีโอกาสกลับมาชักน้อยกว่า กลุ่มที่ไม่พบTIRDA/TIRTA ภายหลังการรักษาโรคลมชักด้วยการผ่าตัด


การใช้โปรแกรมประเมินอาการโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านระบบสารสนเทศเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้เร็วขึ้นในโรงพยาบาลลูกข่ายของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วสันต์ อัครธนวัฒน์ Jan 2017

การใช้โปรแกรมประเมินอาการโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านระบบสารสนเทศเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้เร็วขึ้นในโรงพยาบาลลูกข่ายของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วสันต์ อัครธนวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา การรักษาโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่มีอาการภายใน 4.5 ชั่วโมง ด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ เป็นการรักษามาตรฐาน สามารถให้การรักษาในโรงพยาบาลที่ไม่มีประสาทแพทย์ได้โดยใช้ระบบการปรึกษาทางไกลผ่านระบบสารสนเทศ แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการใช้โปรแกรมที่ช่วยในการปรึกษาเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำได้เร็วขึ้น

วัตถุประสงค์ ทำการศึกษาระยะเวลาที่ใช้ในการฉีดยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำ อาการทางระบบประสาทที่ดีขึ้นเมื่อประเมินอาการที่ 3 เดือน และการเกิดเลือดออกในสมองที่ทำให้อาการแย่ลง เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีการใช้โปรแกรมและกลุ่มควบคุม
วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม ทำการศึกษาผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี โดยผู้วิจัยได้สร้างโปรแกรมบนสมาร์ทโฟน ทำการสุ่มผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม จากนั้นวัดระยะเวลา door-to-needle time อาการทางระบบประสาทที่ดีขึ้นเมื่อประเมินอาการที่ 3 เดือน โดยใช้ modified Rankin Scale คะแนน 0-2 และการเกิดเลือดออกในสมองที่ทำให้อาการแย่ลง เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่มีการใช้โปรแกรมและกลุ่มควบคุม
ผลการวิจัย มีผู้ป่วยเข้าร่วมในการวิจัยจำนวน 64 ราย พบว่า door-to-needle time ในกลุ่มที่ใช้โปรแกรมน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.009*) มีอาการทางระบบประสาทที่ดีขึ้นเมื่อประเมินอาการที่ 3 เดือน (p=0.008*) และเกิดภาวะเลือดออกในสมองที่ทำให้อาการแย่ลง (symptomatic intracerebral hemorrhage) ไม่ต่างกันกับกลุ่มควบคุม
สรุป การใช้โปรแกรมประเมินอาการโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านระบบสารสนเทศ ช่วยให้ผู้ป่วยในโรงพยาบาลลูกข่ายได้รับการรักษาด้วยการฉีดยาละลายลิ่มเลือดได้เร็วขึ้น และมีอาการทางระบบประสาทดีขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม


การเสื่อมวอลเลอเรียนในโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันถึงกึ่งเฉียบพลันแสดงโดยภาพดิฟฟิวชันเทนเซอร์, วสุนนท์ ธินรุ่งโรจน์ Jan 2017

การเสื่อมวอลเลอเรียนในโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันถึงกึ่งเฉียบพลันแสดงโดยภาพดิฟฟิวชันเทนเซอร์, วสุนนท์ ธินรุ่งโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: งานวิจัยชิ้นนี้ทำเพื่อศึกษาการเสื่อมวอลเลอเรียนของใยประสาทโดยใช้การตรวจภาพถ่ายสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กโดยใช้เทคนิคการกระจายของโมเลกุลน้ำและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของดัชนีการกระจายของโมเลกุลน้ำกับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการของผู้ป่วยสมองขาดเลือด ทั้งนี้ เพื่อที่จะนำผลการศึกษาไปใช้พยากรณ์โรคในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือด วิธีการศึกษา: รูปแบบการศึกษาเป็นแบบ prospective analytic study โดยรวบรวมผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดจำนวน 12 ราย โดยทำการเก็บข้อมูลการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการจากแบบประเมิน Fugh-Meyer และตรวจภาพสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กโดยใช้เทคนิคการกระจายตัวของโมเลกุลน้ำที่เวลาแรกรับ ที่เวลา 1 เดือน และที่เวลา 3 เดือน จากนั้นทำการเปลี่ยนข้อมูลให้เป็นดัชนีการกระจายของโมเลกุลน้ำด้วยวิธี region base analysis และ tract base spatial statistical analysis (TBSS) จากนั้นหาความสัมพันธ์ของดัชนีการกระจายของน้ำกับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการจากแบบประเมิน Fugh-Meyer ด้วย Spearman correlation coefficient และใช้ Mann-Whitney U test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างกันของดัชนีการกระจายของน้ำระหว่างฐานสมองข้างที่ขาดเลือดและฐานสมองข้างที่ไม่ขาดเลือด ผลการศึกษา: พบความสัมพันธ์ของค่า FA ที่เวลา 90 วัน กับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการของรยางค์บนที่เวลาแรกรับ (r = 0.678 p value = 0.45 ) พบความสัมพันธ์ของค่า FA ที่เวลา 90 วัน กับการฟื้นตัวของระบบประสาทสั่งการของรยางค์บน, รยางค์ล่าง และการประเมินโดยรวม จากการประเมินด้วย FMA ที่เวลา 1 เดือน (r = 0.833 p value = 0.01, r = 0.765 p value = 0.02, r=0.817 p value = 0.01 ตามลำดับ) พบความสัมพันธ์ของค่า FA ที่ 3 เดือนกับการฟื้นตัวของระบบประสาทของรยางค์บน และการประเมินโดยรวม จากการประเมินด้วย FMA ที่เวลา …


ความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในประเทศไทย : การศึกษาการวัดความดันโลหิตที่บ้านของคนไทย, สกลวัชร มนต์ไตรเวศย์ Jan 2017

ความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในประเทศไทย : การศึกษาการวัดความดันโลหิตที่บ้านของคนไทย, สกลวัชร มนต์ไตรเวศย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงแนะนำการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านเพื่อการวินิจฉัยภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อน วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและลักษณะของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงแบบหลบซ่อน โดยใช้ระดับความดันโลหิตที่บ้านในการวินิจฉัยด้วยระบบสาธารณสุขทางไกล วิธีดำเนินการ: ทำการศึกษาในคลินิกความดันโลหิตสูงจากทั่วประเทศไทย วัดความดันโลหิตที่บ้านโดยใช้เครื่องวัดความดันโลหิตที่บ้านชนิดเชื่อมต่อระบบระบบสาธารณสุขทางไกล เก็บข้อมูลระดับความดันโลหิตที่คลินิก ระดับความดันโลหิตที่บ้าน และข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วย ทำการวินิจฉัยชนิดของภาวะความดันโลหิตสูงตามระดับความดันโลหิตที่คลินิก (≥ หรือ <140/90 มิลลิเมตรปรอท) และระดับความดันโลหิตที่บ้าน (≥ หรือ <135/85 มิลลิเมตรปรอท) ผลการศึกษา: ผู้ป่วยเข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 1,184 ราย ในกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาลดความดันโลหิตพบความชุกของภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนเท่ากับ 25.7% และ 6.9% ตามลำดับ ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาลดความดันโลหิตพบความชุกของภาวะไวท์โคทและภาวะความดันโลหิตสูงหลบซ่อนเท่ากับ 23.3% และ 9.6% สรุป: ผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงไวท์โคทพบสูงถึงหนึ่งในสี่ของผู้ป่วยในคลินิก การวัดระดับความดันโลหิตที่บ้านด้วยระบบสาธารณะสุขทางไกลเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยวินิจฉัยและรักษาโรคความดันโลหิตสูงให้ดีขึ้น


การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการสลายนิ่วโดยการใช้กล้องสปายกลาสร่วมกับเลเซอร์และ การสลายนิ่วโดยไม่ใช้เลเซอร์ร่วม ในผู้ป่วยที่มีนิ่วขนาดใหญ่ในท่อน้ำดี, สันติ กุลพัชรพงศ์ Jan 2017

การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างการสลายนิ่วโดยการใช้กล้องสปายกลาสร่วมกับเลเซอร์และ การสลายนิ่วโดยไม่ใช้เลเซอร์ร่วม ในผู้ป่วยที่มีนิ่วขนาดใหญ่ในท่อน้ำดี, สันติ กุลพัชรพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ที่มา: การขยายขนาดหูรูดท่อน้ำดีด้วยบอลลูนขนาดใหญ่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการนำนิ่วออกจากท่อน้ำดี อย่างไรก็ดียังมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งจำเป็นต้องมีการใช้อุปกรณ์เพื่อทำการสลายนิ่ว วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่าการสลายนิ่วด้วยกล้องส่องทางเดินน้ำดีโดยตรงหรือกล้องสปายกลาส ร่วมกับการใช้เลเซอร์ในการสลายนิ่ว กับการสลายนิ่วด้วยเครื่องมือสลายนิ่วเชิงกลโดยใช้ตะกร้อขบในผู้ป่วยที่มีนิ่วในท่อน้ำดีขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถนำนิ่วออกจากท่อน้ำดีภายหลังการถ่ายขยายหูรูดทางเดินน้ำดีด้วยบอลลูนขนาดใหญ่ วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งสิ้น 32 รายที่ไม่สามารถนำนิ่วออกได้ภายหลังการถ่างขยายท่อน้ำดีด้วยบอลลูนขนาดใหญ่ถูกนำเข้าสู่การศึกษาโดยถูกสุ่มให้ถูกใช้วิธีการสลายนิ่วด้วยกล้องสปายกลาสร่วมกับการใช้เลเซอร์ (CL) และกลุ่มที่ใช้การสลายนิ่วด้วยเครื่องมือสลายนิ่วเชิงกลโดยการใช้ตะกร้อขบ (ML) โดยเปรียบเทียบอัตราการประสบความสำเร็จของการนำนิ่วออกหมดภายในการส่องกล้องทาเดินน้ำดีครั้งแรก ผลการศึกษา: ผู้ป่วยกลุ่ม CL มีอัตราการประสบความสำเร็จในการนำนิ่วออกทั้งหมดในการส่องกล้องทางเดินน้ำดีครั้งแรกมากกว่า และใช้เวลาในการใช้เครื่องเอ๊กซเรย์ฟลูโอโรสโคปี้รวมถึงปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับน้อยกว่ากลุ่ม ML อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล: ในผู้ป่วยที่มีนิ่วในท่อน้ำดีขนาดใหญ่ที่ไม่ประสบความสำเร็จในการนำนิ่วออกภายหลังการขยายหูรูดทางเดินน้ำดีด้วยบอลลูนขนาดใหญ่ การใช้เลเซอร์เป็นทางเลือกที่ดีกว่าการใช้ตะกร้อขบนิ่วเนื่องจากมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า และได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า