Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Life Sciences

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2018

Articles 61 - 75 of 75

Full-Text Articles in Entire DC Network

การคัดแยกและลักษณะสมบัติของแบคทีเรียที่ผลิตเซลลูเลสจากดินบริเวณรากของมันสำปะหลัง, พิชญ์วสุ เอี่ยมยั่งยืน Jan 2018

การคัดแยกและลักษณะสมบัติของแบคทีเรียที่ผลิตเซลลูเลสจากดินบริเวณรากของมันสำปะหลัง, พิชญ์วสุ เอี่ยมยั่งยืน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มันสำปะหลังเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจที่นิยมเพาะปลูกในเกือบทุกภาคของประเทศไทย ปกติหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ใบและลำต้นจะถูกทิ้งไว้เพื่อรอการไถกลบสำหรับเตรียมแปลงปลูกในครั้งถัดไป งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคัดแยกและศึกษาสมบัติของแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสซึ่งเป็นส่วนประกอบหลักของพืช จากดินบริเวณที่ปลูกมันสำปะหลัง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ เกษตรศาสตร์ 50, พิรุณ 1, พิรุณ 2, ห้วยบง 60 และ ห้านาที ณ ศูนย์วิจัยพืชไร่ จังหวัดระยอง โดยคัดแยกบนอาหารแข็งที่มีสับสเตรตต่างกัน 3 ชนิด ได้แก่ คาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลส, Avicel และเซลลูไบโอส จากนั้นคัดเลือกแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยเซลลูโลส 2 ใน 3 หรือ 3 ใน 3 ชนิดของสับสเตรต มาวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์ 16S rDNA และวิเคราะห์หาปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ คัดเลือกแบคทีเรีย 3 ไอโซเลทที่มีความสามารถในการย่อยสลายเซลลูโลสดีที่สุด ซึ่งได้แก่ Bacillus amyloliquefaciens, Bacillus pumilus และ Paenibacillus kribbensis แล้วนำแบคทีเรียทั้ง 3 ไอโซเลทมาทดสอบหาภาวะที่เหมาะสม พบว่าที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส และความเป็นกรดด่าง (pH) 7 แบคทีเรียสามารถย่อยสลายเซลลูโลสได้ดีที่สุดจากสับสเตรตทั้ง 3 ชนิด จากนั้นนำมาทดสอบในการย่อยกระดาษกรอง ขนาด 1.5*1.5 เซนติเมตร ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แบบส่องกราดแสดงให้เห็นว่า สภาพเส้นใยของกระดาษกรองเปลี่ยนแปลงไปมากที่สุด เมื่อเลี้ยงรวมกับ Paenibacillus kribbensis ในขณะที่ชุดการทดลองการย่อยใบมันสำปะหลังโดยตรง และชุดการทดลองการย่อยใบมันสำปะหลังในดิน เห็นผลการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของใบมันสำปะหลังมากที่สุดเมื่อใช้แบคทีเรียผสมกันทั้ง 3 ไอโซเลท หลังจากนำดินจากชุดการทดลองการย่อยใบมันสำปะหลังในดินไปวิเคราะห์คุณสมบัติ โดยศึกษาพารามิเตอร์ ความเป็นกรดด่าง, ปริมาณอินทรียวัตถุ, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม, แคลเซียม, แมกนีเซียม, ไนโตรเจน และ ปริมาณอินทรีย์คาร์บอนรวมในดิน พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในทุกการทดลอง เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม อย่างไรก็ดีแบคทีเรียผสมจากการทดลองนี้ มีแนวโน้มที่สามารถนำไปประยุกต์ในสภาพแวดล้อมจริงได้ แต่ควรมีการยืนยันประสิทธิภาพที่เห็นผลชัดเจนมากกว่านี้ต่อไป.


การโคลนและการแสดงออกของแฟลกเจลลินจาก Bacillus Subtilis N3 ใน Escherichia Coli เพื่อการยับยั้งราก่อโรคในพืช Curvularia Lunata, จุฑากาญจน์ นามสง่า Jan 2018

การโคลนและการแสดงออกของแฟลกเจลลินจาก Bacillus Subtilis N3 ใน Escherichia Coli เพื่อการยับยั้งราก่อโรคในพืช Curvularia Lunata, จุฑากาญจน์ นามสง่า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Curvularia lunata เป็นราสายใยที่พบทั่วไปในดินซึ่งก่อให้เกิดโรคในพืชเศรษฐกิจหลายชนิด และส่งผลให้เกิดความเสียหายทางด้านเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก เกษตรกรจึงจำเป็นต้องควบคุมและกำจัดรานี้ ซึ่งแนวทางที่น่าสนใจในการยับยั้งและกำจัดรา คือ การใช้วิธีการทางชีวภาพซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและไม่ส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อม งานวิจัยก่อนหน้าพบว่าสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพจาก Bacillus subtilis N3 สามารถยับยั้งการเจริญของ C. lunata ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อวิเคราะห์สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพดังกล่าว พบว่าเป็นโปรตีนที่มีความคล้ายกับแฟลกเจลลิน เอ ซึ่งเป็นยูนิตโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของแฟลกเจลลาในแบคทีเรีย งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษายีนที่ประมวลรหัสให้โปรตีนแฟลกเจลลินจาก B. subtilis N3 โดยให้แสดงออกใน Escherichia coli BL21 ผลการวิจัยพบว่ายีนแฟกเจลลินที่สมบูรณ์จาก B. subtilis N3 มีขนาด 990 คู่เบส ที่แปลรหัสให้โปรตีนที่มีกรดอะมิโน 330 เรซิดิว โดยมีความใกล้เคียงกับโปรตีนแฟลกเจลลิน เอ ของแบคทีเรียในกลุ่ม Bacillus สูงถึง 100% เมื่อถ่ายโอนรีคอมบิแนนท์พลาสมิดที่มียีนแฟลกเจลลินดังกล่าวเข้าสู่ E. coli BL21 แล้วชักนำให้เกิดการแสดงออกของโปรตีนด้วย IPTG พบว่าส่วนของเซลล์และส่วนของน้ำเลี้ยงเชื้อที่ปราศจากเซลล์มีการแสดงออกโปรตีนขนาด 37 kDa และ 37-40 kDa ตามลำดับ ภาวะที่เหมาะสมในการชักนำให้เกิดการแสดงออกของโปรตีน คือ IPTG ความเข้มข้นสุดท้าย 0.1 มิลลิโมลาร์ เป็นเวลา 8 ชั่วโมงในส่วนของเซลล์ และ 16 ชั่วโมงในส่วนของน้ำเลี้ยงเชื้อ เมื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการยับยั้ง C. lunata พบว่าน้ำเลี้ยงเชื้อปราศจากเซลล์สามารถยับยั้ง C. lunata ได้ 21.3 % เมื่อทำบริสุทธิ์โปรตีนพบว่าโปรตีนบริสุทธิ์มีขนาดประมาณ 41 kDa และมีความสามารถในการยับยั้ง C. lunata ได้ โดยทำให้เกิดความผิดปกติของสายใยและยับยั้งการงอกของสปอร์ เมื่อโคลนและแสดงออกโดเมน N และโดเมน C ของแฟลกเจลลินพบว่าไม่เกิดการแสดงออกโปรตีนใน E. coli BL 21 เมื่อใช้วิธีการกลายแบบสุ่มบนยีนแฟลกเจลลินด้วยปฏิกิริยาลูกโซ่พอลิเมอเรสในภาวะที่มีความแม่นยําต่ำและเอื้อต่อความผิดพลาด พบว่าโคลนที่แสดงออกโปรตีนที่เกิดการกลายบริเวณโดเมน C โดยเกิดการเปลี่ยนแปลง A330T …


การผลิตน้ำมันโดย Pseudozyma Tsukubaensis จากแป้งมันสำปะหลัง, พุธิตา โชคเหรียญสุขชัย Jan 2018

การผลิตน้ำมันโดย Pseudozyma Tsukubaensis จากแป้งมันสำปะหลัง, พุธิตา โชคเหรียญสุขชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

คัดกรองได้ยีสต์น้ำมัน Pseudozyma tsukubaensis YWT 7-2 จากยีสต์ทั้งหมด 28 สายพันธุ์ที่แยกมาจากป่าชายเลน จังหวัดจันทบุรี ซึ่งสะสมน้ำมันภายในเซลล์ 31.36% (น้ำหนัก/น้ำหนัก) ของน้ำหนักเซลล์แห้ง งานวิจัยนี้เป็นการรายงานครั้งแรกว่ายีสต์ P. tsukubaensis เป็นยีสต์น้ำมัน P. tsukubaensis YWT 7-2 สามารถผลิตน้ำมันเมื่อเจริญในอาหารที่มีอัตราส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนสูง (high C/N medium) และในสารละลายกลูโคส แสดงว่าการผลิตน้ำมันของยีสต์ P. tsukubaensis YWT 7-2 ในบางครั้งอาจไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเจริญ แต่ให้ผลผลิตน้ำมันใน high C/N medium มากกว่าในสารละลายกลูโคส P. tsukubaensis YWT 7-2 ผลิตน้ำมันและเพิ่มจำนวนในไฮโดรไลเสตแป้งมันสำปะหลังที่ปรับด่างเกินด้วยแคลเซียมไฮดรอกไซด์ (DCSH) ได้มากกว่าในไฮโดรไลเสตแป้งมันสำปะหลัง (CSH) ปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้เท่ากับ 1.49 กรัม/ลิตร (อัตราการผลิตน้ำมัน 0.75 กรัม/ลิตร/วัน) เมื่อเติม 0.25% (น้ำหนัก/ปริมาตร) แอมโมเนียมซัลเฟตลงใน DCSH พบว่าผลผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 3.85 กรัม/ลิตร (อัตราการผลิตน้ำมัน 1.28 กรัม/ลิตร/วัน) พีเอชเริ่มต้นทีเหมาะสมที่สุดสำหรับการผลิตน้ำมันคือ 5.5 การเพิ่มจำนวนเซลล์ของ P. tsukubaensis YWT7-2 ใน DCSH ที่เติม 0.2% (น้ำหนัก/ปริมาตร) แอมโมเนียมซัลเฟต และ 0.1% (น้ำหนัก/ปริมาตร) โพแทสเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต แทนการเพิ่มจำนวนเซลล์ใน CSH ที่เติม 0.2% (น้ำหนัก/ปริมาตร) แอมโมเนียมซัลเฟต ทำให้ผลผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 5.42 กรัม/ลิตร (อัตราการผลิตน้ำมัน 1.36 กรัม/ลิตร/วัน) น้ำมันที่ยีสต์ P. tsukubaensis YWT7-2 ผลิตเมื่อเจริญใน high C/N medium และใน DCSH …


การผลิตและลักษณะสมบัติของรีคอมบิแนนท์แอนติบอดี Scfv-Fc ต่อ Notch1 และ Notch2 โดยใช้เซลล์ไลน์ Hek-293t, วรวรรณ บุญรัศมี Jan 2018

การผลิตและลักษณะสมบัติของรีคอมบิแนนท์แอนติบอดี Scfv-Fc ต่อ Notch1 และ Notch2 โดยใช้เซลล์ไลน์ Hek-293t, วรวรรณ บุญรัศมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิถีสัญญาณ Notch ประกอบด้วย รีเซบเตอร์ 4 ชนิด (Notch 1-4) และลิแกนด์ 5 ชนิด (Delta-1, 3, 4 และ Jagged 1, 2) การเกิดอันตรกิริยาระหว่างลิแกนด์และรีเซบเตอร์ จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบริเวณ NRR ทำให้เกิดการเผยตำแหน่งที่มีการตัดโดยเอนไซม์ซึ่งนำไปสู่การตัดโดยแกมมาซีครีเทส ดังนั้น NRR จึงเป็นตำแหน่งสำคัญเพื่อรักษาเสถียรภาพของ NRR ไว้เพื่อป้องกันการตัดของ Notch รีเซบเตอร์ วิถีสัญญาณ Notch ทำหน้าที่ควบคุมการเพิ่มจำนวน การเปลี่ยนสภาพ ตลอดจนถึงการตายของเซลล์หลายประเภท ความผิดปกติของสัญญาณ Notch ส่งผลให้เกิดการพัฒนาเป็นมะเร็งชนิดต่าง ๆ ได้ มีการใช้ยากดการทำงานของเอนไซม์แกมมาซีครีเทส (GSI) เพื่อการยับยั้งวิถีสัญญาณ Notch แต่มีรายงานว่า GSI ทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เนื่องจากมีซับสเตรทหลายชนิด รีคอมบิแนนท์แอนติบอดีในรูป scFv-Fc ซึ่งเป็นโปรตีนลูกผสมประกอบด้วย scFv และ Fc ของอิมมูโนโกลบูลินจีของมนุษย์ ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้ทางการรักษาบำบัดเนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีกว่ามอโนคลอนอลแอนติบอดีทั้งโมเลกุลหลายด้าน ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการผลิตรีคอมบิแนนท์แอนติบอดีชนิด scFv-Fc ต่อบริเวณ NRR ของ Notch1 และ Notch2 โดยใช้เซลล์ไลน์ HEK-293T และศึกษาลักษณะสมบัติของรีคอมบิแนนท์แอนติบอดี scFv-Fc โดยทดสอบการจับกับ Notch1 และ Notch2 และผลกระทบต่อวิถีสัญญาณ Notch ในเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว Jurkat จากผลการทดลองพบว่าสามารถผลิตรีคอมบิแนนท์แอนติบอดี scFv-Fc ต่อ Notch1 และ 2 ได้ในเซลล์ไลน์ HEK-293T เมื่อทำการทรานส์เฟคชันพลาสมิดที่มีชิ้นยีนของ scFv-Fc เข้าสู่เซลล์ โดยนำโปรตีนที่ได้ในอาหารเลี้ยงเซลล์ ไปแยกบริสุทธิ์ด้วยคอลัมน์โครมาโทกราฟีสัมพรรคภาพ พบว่าบน SDS-PAGE ปรากฏโปรตีนเพียงแถบเดียว เมื่อผ่านการแยกบริสุทธิ์ด้วยสองขั้นตอนโดยใช้คอลัมน์ต่อ His-tag และ คอลัมน์โปรตีน A นำแอนติบอดีที่ได้ไปทดสอบรีคอมบิแนนท์แอนติบอดีต่อบริเวณ NRR โดย anti-Notch1 …


การพัฒนาแบบจำลองเซลล์ลำไส้ของมนุษย์บนกระดาษที่มีการดัดแปรพื้นผิวและต้นแบบไบโอเซนเซอร์ไร้สายสำหรับตรวจวัดการเจริญของจุลชีพก่อโรค, ปัณณวิชญ์ ถิรบวรกิจพิธาน Jan 2018

การพัฒนาแบบจำลองเซลล์ลำไส้ของมนุษย์บนกระดาษที่มีการดัดแปรพื้นผิวและต้นแบบไบโอเซนเซอร์ไร้สายสำหรับตรวจวัดการเจริญของจุลชีพก่อโรค, ปัณณวิชญ์ ถิรบวรกิจพิธาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้เป็นการนำเสนองานวิจัย การพัฒนาวิธีการใหม่เพื่อควบคุมและเฝ้าระวังโรคติดเชื้อ โดยประกอบด้วยเนื้อหาสำคัญสองส่วน ได้แก่ (i) การพัฒนาแบบจำลองเซลล์ลำไส้ของมนุษย์ที่เพาะเลี้ยงบนกระดาษที่มีการดัดแปรพื้นผิว เพื่อใช้ประโยชน์ในการศึกษากลไกการบุกรุกของเชื้อจุลชีพก่อโรคในระบบทางเดินอาหาร และ (ii) การพัฒนาต้นแบบไบโอเซนเซอร์แบบไร้สายเพื่อการตรวจติดตามการเจริญของเชื้อจุลชีพก่อโรค โดยในส่วนแรก เซลล์ลำไส้ของมนุษย์ HT-29 จำนวน 200,000 เซลล์ ถูกเพาะเลี้ยงในบริเวณชอบน้ำของกระดาษกรอง Whatman No.1 โดยกระดาษถูกดัดแปรพื้นผิวด้วยสารแมทริกซ์นอกเซลล์ (Extracellular matrix: ECM) ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ Matrigel, Collagen-1 และ Laminin พื้นที่เพาะเลี้ยงเซลล์มีขนาด 12.56 ตารางมิลลิเมตร ภายใต้สภาวะที่เหมาะสม เซลล์ HT-29 ที่ถูกเพาะเลี้ยงบนกระดาษ มีชีวิตรอดได้ถึง 28 วัน และแสดงลักษณะของเซลล์ที่เจริญเต็มที่ โดยมีการแสดงออกของวิลไล (villi) ที่ผิวเซลล์ด้านบน (apical) และมีการแสดงออกของโปรตีน ZO-1 ซึ่งแสดงถึงเซลล์มีการสร้างไทต์จังก์ชันเกิดขึ้น จากการใช้สารเชื่อมพันธะสำหรับเชื่อมพันธะ ECM แต่ละชนิด พบว่าเมื่อใช้สารเจนิพินในการเชื่อมพันธะ เซลล์มีชีวิตรอดทั้งหมด (100 -112.8%) ในขณะที่มีเพียง 1.1 - 67.3 % ของเซลล์รอดชีวิต หากใช้สารกลูตารัลดีไฮด์ในการเชื่อมพันธะ แต่การใช้สารเชื่อมพันธะทั้งสองชนิด ทำให้เซลล์ไม่สามารถแบ่งตัวมีรูปร่างแบบสามมิติได้ เมื่อสังเกตด้วย SEM เซลล์มีลักษณะแบน การดัดแปรพื้นผิวกระดาษด้วยสาร ECM ชนิด Matrigel ส่งผลให้เซลล์มีชีวิตรอดมากที่สุดและสาร ECM ชนิด Laminin ทำให้เซลล์เกิดการแปรสภาพ (cell differentiation) ได้ดีที่สุด งานวิจัยส่วนที่ 2 เป็นการพัฒนาไบโอเซนเซอร์ไร้สายสำหรับติดตามการเจริญของเชื้อจุลชีพก่อโรค ได้แก่ เชื้อ Escherichia coli, Staphylococcus aureus, Pseudomonas aeruginosa, Streptococcus gordonii และ Candida albicans พบว่าเชื้อดังกล่าวสามารถสร้างไบโอฟิล์มบนผิวของขั้วไฟฟ้าคาร์บอนอสัณฐาน (glassy carbon electrode) และสามารถให้ค่าศักย์ไฟฟ้าที่เป็นลบได้ …


การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์ฐานกระดาษสำหรับหาปริมาณสารเพรดนิโซโลนและเดกซาเมทาโซนที่ปลอมปนในผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้วยวิธีเคมีไฟฟ้า, วิศรุต พริ้มพราย Jan 2018

การพัฒนาอุปกรณ์วิเคราะห์ฐานกระดาษสำหรับหาปริมาณสารเพรดนิโซโลนและเดกซาเมทาโซนที่ปลอมปนในผลิตภัณฑ์สมุนไพรด้วยวิธีเคมีไฟฟ้า, วิศรุต พริ้มพราย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การปลอมปนของสารสเตียรอยด์ชนิดเดกซาเมทาโซนและเพรดนิโซโลนในผลิตภัณฑ์สมุนไพรเป็นปัญหาสำคัญที่ก่อผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพของผู้ใช้ ในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา งานวิจัยนี้ ประสบความสำเร็จในการพัฒนาอุปกรณ์สำหรับแยกและตรวจวัดปริมาณการปลอมปนของสารสเตียรอยด์ดังกล่าว โดยใช้อุปกรณ์ตรวจวิเคราะห์ฐานกระดาษและใช้หลักการทางเคมีไฟฟ้า (electrochemical paper-based analytical device หรือ ePAD) ซึ่งประกอบด้วยกระดาษ Whatman SG81 ตลับพลาสติกจากการพิมพ์สามมิติ และขั้วไฟฟ้าชนิด screen printed electrode โดยกระดาษ Whatman SG81 ใช้สำหรับแยกสารสเตียรอยด์ชนิดเดกซาเมทาโซนและเพรดนิโซโลน โดยใช้วัฏภาคเคลื่อนที่เป็นสารละลาย 60% ethyl acetate ใน cyclohexane ซึ่งผลการศึกษาพบว่าสามารถแยกสารสเตียรอยด์ดังกล่าวออกจากสิ่งเจือปนต่าง ๆ ได้ภายใน 7 นาที สารสเตียรอยด์ที่แยกออกจากกันบนกระดาษ นำมาวัดปริมาณด้วยเทคนิคเคมีไฟฟ้าชนิด differential pulse voltammetry โดยใช้ตลับพลาสติกจากการพิมพ์สามมิติที่ถูกออกแบบทำให้สารละลายอิเล็กโทรไลต์ถูกขังอยู่บนกระดาษ ทำให้สามารถตรวจวัดสัญญาณทางเคมีไฟฟ้าได้คงที่ ซึ่งอุปกรณ์ที่พัฒนาขึ้นสามารถตรวจวัดปริมาณปลอมปนของสารสเตียรอยด์ทั้งชนิดเดกซาเมทาโซนและ เพรดนิโซโลนได้ในช่วงความเข้มข้นระหว่าง 10 ถึง 500 µg/mL โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.988 และ 0.994 ตามลำดับ มีขีดจำกัดในการตรวจวิเคราะห์เชิงคุณภาพเท่ากับ 3.59 µg/mL และ 6.00 µg/mL ตามลำดับ และขีดจำกัดในการตรวจวิเคราะห์เชิงปริมาณมีค่าเท่ากับ 11.98 µg/mL และ 20.02 µg/mL ตามลำดับ การตรวจวัดปริมาณปลอมปนของสารสเตียรอยด์ทั้งสองชนิดในสิ่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์สมุนไพรจริงด้วยวิธีที่พัฒนาขึ้นมีค่าสอดคล้องกับผลที่ตรวจด้วยวิธี HPLC และเป็นวิธีที่ใช้งานง่าย มีต้นทุนต่ำ รวดเร็ว และมีศักยภาพนำไปใช้ตรวจหาสิ่งตัวอย่างผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่สงสัยว่ามีการปลอมปนของสารสเตียรอยด์ ในระดับภาคสนาม


การแยกและการคัดเลือกราไมคอร์ไรซาเพื่อกระตุ้นการเจริญของต้นกล้ากล้วยไม้น้ำ Epipactis Flava Seidenf., ญาณิศา พันธุ์สังข์ Jan 2018

การแยกและการคัดเลือกราไมคอร์ไรซาเพื่อกระตุ้นการเจริญของต้นกล้ากล้วยไม้น้ำ Epipactis Flava Seidenf., ญาณิศา พันธุ์สังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการศึกษาครั้งนี้ สามารถแยกราเอนโดไฟต์จากกล้วยไม้น้ำ Epipactis flava Seidenf. ซึ่งเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ ได้ทั้งหมด 50 ไอโซเลต เป็นราที่แยกได้จากราก 35 ไอโซเลต และจากโปรโตคอร์ม 15 ไอโซเลต ราที่แยกได้ทั้งหมดถูกนำมาตรวจสอบการกระตุ้นการงอกของเมล็ดกล้วยไม้น้ำ พบว่ามีรา 7 ไอโซเลต ได้แก่ MSR07 MSR24 MSR34 MSP01 MSP02 MSP04 และ MSP13 ที่สามารถกระตุ้นการงอกของเมล็ดกล้วยไม้น้ำบนอาหารเลี้ยงเชื้อ Oat Meal Agar (OMA) ได้ภายใน 30 วัน หลังหว่านเมล็ด การกระตุ้นการงอกของเมล็ดและการพัฒนาของโปรโตคอร์มด้วยราทั้ง 7 ไอโซเลตถูกทดสอบบนอาหารเลี้ยงเชื้อ OMA เป็นเวลา 4 เดือน หลังหว่านเมล็ด พบว่ามีรา 6 ไอโซเลตที่สามารถกระตุ้นการงอกของเมล็ดและส่งเสริมการพัฒนาของโปรโตคอร์มจนถึงระยะที่ 2 ยกเว้นราไอโซเลต MSP04 ที่ไม่ส่งเสริมการพัฒนาของโปรโตคอร์ม ค่าดัชนีของอัตราการงอก (Germination rate index, GRI) ของราทั้ง 7 ไอโซเลตมีค่าอยู่ระหว่าง 56.62-148.14 โดยไอโซเลต MSP13 ให้ค่า GRI สูงที่สุด (148.14) ซึ่งไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับค่า GRI ของราไอโซเลต MSP01 (139.41) ค่าดัชนีของอัตราการพัฒนาของโปรโตคอร์ม (developmental rate index, DRI) ของราทั้ง 7 ไอโซเลตมีค่าอยู่ระหว่าง 0-33.20 จากการศึกษาพบว่า ราไอโซเลต MSP01 ให้ค่า DRI สูงที่สุด (33.20) ขณะที่เมล็ดที่ไม่ได้เพาะเลี้ยงร่วมกับรา (ชุดควบคุม) มีค่า GRI และ DRI เท่ากับ 6.76 และ 0 ตามลำดับ จากลักษณะทางสัณฐานวิทยาและการวิเคราะห์ทางชีววิทยาโมเลกุลที่ตำแหน่ง …


นิเวศวิทยาการกินอาหารเชิงเปรียบเทียบระหว่างปลาแป้นจมูกสั้น Nuchequula Gerreoides (Bleeker, 1851) และปลาแป้นกระสวย Eubleekeria Splendens (Cuvier, 1829) จากปากแม่น้ำปราณบุรี ประเทศไทย, ทัศพร กาญจนเรขา Jan 2018

นิเวศวิทยาการกินอาหารเชิงเปรียบเทียบระหว่างปลาแป้นจมูกสั้น Nuchequula Gerreoides (Bleeker, 1851) และปลาแป้นกระสวย Eubleekeria Splendens (Cuvier, 1829) จากปากแม่น้ำปราณบุรี ประเทศไทย, ทัศพร กาญจนเรขา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Description of the resource partitioning (or niche differentiation) among fish is an essential part of substantial difference in a resources used for coexisting species for reducing competition. Food and reproductive activity are the most important factor concerning the resource partitioning among fishes. Decorated ponyfish (Nuchequula gerreoides) and splendid ponyfish (Eubleekeria splendens) are the two abundantly co-occurring leiognathid’s species in the Pranburi river estuary. The coexistence of these two species may promote resource partitioning. To examine this hypothesis, two important ponyfishes were collected from the Pranburi river estuary in this study. All fish specimens collection were carried out during dry (February …


การสะสมของพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่ Perna Viridis จากการกรองกิน Alexandrium Minutum ที่แยกจากบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา, ปฏิภาณ พุ่มพวง Jan 2018

การสะสมของพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่ Perna Viridis จากการกรองกิน Alexandrium Minutum ที่แยกจากบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยา, ปฏิภาณ พุ่มพวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Alexandrium minutum เป็นไดโนแฟลกเจลเลตที่เป็นสาเหตุของพิษอัมพาตในหอย สามารถพบการกระจายในปริมาณน้อยเป็นบางครั้งบริเวณชายฝั่งอ่าวไทย เนื่องจากบริเวณอ่าวไทยเป็นพื้นที่เลี้ยงหอยแมลงภู่ที่สำคัญของประเทศ ทำให้มีความเป็นไปได้ของการสะสมพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่จากการกรองกิน A. minutum อย่างไรก็ตามการศึกษาการสะสมพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่ในประเทศไทยยังมีอยู่อย่างจำกัด เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากขึ้น จึงทำการศึกษาการสะสมพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่ (Perna viridis) และแพลงก์ตอนพืชที่กรองแยกจากน้ำทะเลในพื้นที่เลี้ยงหอย บริเวณศรีราชา จังหวัดชลบุรี และคลองด่าน จังหวัดสมุทรปราการ ในฤดูลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และฤดูลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และการสะสมพิษอัมพาตที่ส่งผ่านจาก A. minutum ไปสู่หอยแมลงภู่ในห้องปฏิบัติการ ด้วยการให้หอยกรองกิน A. minutum อย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 2 สัปดาห์ และในช่วงเวลากำจัดพิษ ให้หอยกรองกินแพลงก์ตอนชนิด Isochrysis sp. ซึ่งไม่สร้างสารชีวพิษเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ทำการตรวจวัดปริมาณและองค์ประกอบพิษอัมพาตโดยเครื่อง HPLC ด้วยวิธีตรวจวัดแบบ pre-chromatographic oxidation ผลการศึกษาในพื้นที่เลี้ยงหอยแมลงภู่ ไม่พบเซลล์ของ A. minutum แต่พบปริมาณพิษอัมพาตในหอยแมลงภู่อยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานสารชีวพิษกลุ่มพิษอัมพาตในหอยสองฝา การศึกษาในห้องปฏิบัติการ ใช้เซลล์ A. minutum ที่เติบโตในช่วงปลายของระยะ exponential ซึ่งมีปริมาณพิษอัมพาตอยู่ในช่วง 3.75-4.46 pgSTXeq./เซลล์ และมี GTX1,4 เป็นองค์ประกอบพิษหลักมากกว่า 90% เป็นอาหารแก่หอยแมลงภู่ ผลการทดลองพบว่าปริมาณพิษอัมพาตที่สะสมในหอยแมลงภู่ต่อตัวเพิ่มขึ้นสอดคล้องกับปริมาณ A. minutum ที่ถูกกรองกิน ปริมาณพิษอัมพาตมีค่ามากกว่าค่าควบคุมภายใน 24 ชั่วโมง และมีค่าสูงสุดในวันสุดท้ายที่กรองกิน A. minutum คือ วันที่ 14 (11.20 µg STXeq.ต่อตัว) ซึ่งมีค่าสูงกว่าระดับควบคุม 14 เท่า โดยตลอดช่วงการศึกษาพบการสะสมพิษอัมพาตมีค่าอยู่ระหว่าง 23-47% ของปริมาณที่ได้รับจากการกรองกิน ในช่วงการกำจัดพิษพบว่า ปริมาณพิษอัมพาตต่อตัวหอยลดลงอย่างรวดเร็วและต่ำกว่าค่าควบคุมภายใน 3 วัน โดยในวันสุดท้ายของการกำจัดพิษพบพิษอัมพาต 0.08% จากปริมาณที่ได้รับ นอกจากนี้ยังพบความแตกต่างของการกำจัดพิษอัมพาตที่ได้รับจาก A. minutum คือ GTX1,4 (อนุพันธ์ที่มีความเป็นพิษสูง) สามารถถูกกำจัดจากเนื้อหอยอย่างรวดเร็ว และการที่องค์ประกอบของพิษอัมพาตแต่ละชนิดมีการเปลี่ยนแปลงตลอดช่วงการทดลอง แสดงให้เห็นความสามารถของกระบวนการทางชีวเคมีของหอยในการกำจัดพิษอัมพาตออกจากร่างกาย การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นได้ว่าพิษอัมพาตจาก …


การจำแนกลักษณะทางโมเลกุลของเชื้อ Escherichia Coli ที่สร้างเอนไซม์ Extended-Spectrum Beta-Lactamases ที่แยกได้จากสุกรและประชากรในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน, จักรพงษ์ สีนามะ Jan 2018

การจำแนกลักษณะทางโมเลกุลของเชื้อ Escherichia Coli ที่สร้างเอนไซม์ Extended-Spectrum Beta-Lactamases ที่แยกได้จากสุกรและประชากรในอำเภอเมือง จังหวัดลำพูน, จักรพงษ์ สีนามะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันพบเชื้อ Escherichia coli ที่สร้างเอนไซม์ extended-spectrum beta-lactamase (ESBL) แพร่กระจายในชุมชนอย่างกว้างขวาง เชื้อแบคทีเรียดังกล่าวสามารถพบได้ว่าเป็นเชื้อประจำถิ่นในลำไส้ของคน และสัตว์ รวมไปถึงสามารถพบได้ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป ซึ่งอาจกลายเป็นแหล่งเก็บกักเชื้อแบคทีเรียดื้อสารต้านจุลชีพ ที่สามารถแพร่กระจายในชุมชนต่างๆ ทั่วโลก การศึกษาครั้งนี้ทำการจำแนกลักษณะทางโมเลกุลของเชื้อ E. coli ที่สร้างเอนไซม์ ESBL ซึ่งแยกได้จากสุกรในฟาร์มปศุสัตว์และประชากรในชุมชน ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน เพื่อศึกษารูปแบบของยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ ESBL และศึกษาหาความสัมพันธ์ของเชื้อในกลุ่มตัวอย่างทั้งสอง เชื้อ E. coli ที่สร้างเอนไซม์ ESBL จำนวนทั้งสิ้น 212 สายพันธุ์ แยกได้จากอุจจาระของสุกรและประชากรที่มีสุขภาพดี และทำการจำแนกยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ ESBL ได้แก่ ยีน blaCTX-M ยีน blaTEM และยีน blaSHV ด้วยเทคนิค multiplex-PCR และเทคนิค whole genome sequencing และศึกษาความสัมพันธ์ของเชื้อ E. coli ที่สร้างเอนไซม์ ESBL ที่แยกได้จากทั้งสองกลุ่มตัวอย่างด้วยเทคนิค multilocus sequence typing ผลการศึกษาพบว่าเชื้อ E. coli ที่สร้างเอนไซม์ ESBL ส่วนใหญ่เป็นเชื้อดื้อยาหลายขนาน และมักดื้อยากลุ่ม fluoroquinolones ยากลุ่ม aminoglycosides และยา trimethoprim/sulfamethoxazole ในขณะที่เชื้อทุกสายพันธุ์ดื้อต่อยา ampicillin ยา ceftriaxone และยา cefotaxime ยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ ESBL ที่พบมากที่สุดได้แก่ ยีน blaCTX-M ซึ่งพบได้ 95.75% รองลงมาคือยีน blaTEM และยีน blaSHV พบได้ 62.73% และ 2.40% ตามลำดับ โดย subgroup ของยีนที่ควบคุมการสร้างเอนไซม์ ESBL ที่พบมากที่สุด ได้แก่ ยีน blaCTX-M-55 …


Preparation And Antimicrobial Activity Of Caprylic Acid Emulsion For Food Coating, Raweewan Bunyovimonnat Jan 2018

Preparation And Antimicrobial Activity Of Caprylic Acid Emulsion For Food Coating, Raweewan Bunyovimonnat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Antimicrobial food coating is the interesting method for food preservation, especially in fruits and vegetables. Previous studies have been reported that the caprylic acid had the antimicrobial activity against a variety of microorganisms. However, little research has been conducted on the use of caprylic acid in the form of food coatings. Therefore, this study aims to determine the optimum conditions for the caprylic acid emulsion preparation and to evaluate the antimicrobial activity of the emulsion, including the effect of food coatings with caprylic acid emulsion on physical properties and microbial growth inhibition. Emulsions containing 4% w/v caprylic acid (oil) and …


Effects Of Aldosterone On Striatin And Caveolin-1 Protein Levels In Rat Kidney: Role Of Mineralocorticoid Receptor, Kevalin Inthachart Jan 2018

Effects Of Aldosterone On Striatin And Caveolin-1 Protein Levels In Rat Kidney: Role Of Mineralocorticoid Receptor, Kevalin Inthachart

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The mineralocorticoid hormone aldosterone is a steroid hormone which plays an important role in maintenance of sodium, potassium, and acid-base balance. Aldosterone actions are mediated by mineralocorticoid receptor (MR) that could operate via genomic or nongenomic pathways. It has been shown that MR forms a complex with several molecules including scaffolding proteins, such as striatin and caveolin-1 (cav-1). Previous in vitro studies demonstrated that aldosterone increased striatin and cav-1 protein abundance. In addition, both striatin and cav-1 could interact with MR. However, there is no in vivo study of aldosterone effects on striatin and cav-1 protein levels in rat kidney. …


Involvement Of Nucleus Raphe Magnus In Neuronal Excitability Of Long Term Paracetamol-Treated Rats, Prangtip Potewiratnanond Jan 2018

Involvement Of Nucleus Raphe Magnus In Neuronal Excitability Of Long Term Paracetamol-Treated Rats, Prangtip Potewiratnanond

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study examined an involvement of nucleus raphe magnus (NRM) on neuronal excitability at cortex and trigeminal nucleus caudalis (TNC) of chronic paracetamol-treated rats. Male Wistar rats were separated into two main groups. The rats in paracetamol-treated group were intraperitoneally injected with 200 mg/kg paracetamol while 0.9% NaCl was injected in control rats for 30 days. In the first experiment, cortical spreading depression (CSD) event was initiated and direct current (DC) shift was recorded for 2 hours. Thirty minutes after CSD induction, the rats were injected with glutamate, muscimol or saline at NRM and continued signal recording. In the second …


บทบาทของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ในการเป็นแหล่งอาหารของนกชายเลนในนาเกลือที่ถูกทิ้งร้าง จังหวัดเพชรบุรี, ธนภัทร กลับชุ่ม Jan 2018

บทบาทของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ในการเป็นแหล่งอาหารของนกชายเลนในนาเกลือที่ถูกทิ้งร้าง จังหวัดเพชรบุรี, ธนภัทร กลับชุ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นกชายเลนเป็นกลุ่มนกอพยพที่เข้ามาหากินในอ่าวไทยตอนในบริเวณหาดเลนและบางส่วนของนาเกลือ นาเกลือที่ถูกทิ้งร้างมีศักยภาพเป็นแหล่งหาอาหารของนกชายเลน เนื่องจากเป็นที่อาศัยของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ซึ่งเป็นอาหารหลักของนกชายเลนหลายชนิดในช่วงฤดูอพยพ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างชุมชนของของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ และความชุกชุมของนกชายเลนที่ลงเข้าใช้ในบ่อนาเกลือที่ถูกทิ้งร้างในตำบลปากทะเล อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ในบ่อนาเกลือที่ถูกทิ้งร้างสองแบบ คือ บ่อที่ดินโผล่พ้นน้ำเมื่อน้ำลง (A) และบ่อที่ถูกน้ำท่วมตลอดเวลา (B) ทำการเก็บตัวอย่างดิน และเก็บข้อมูลของนกชายเลนในช่วงเวลาน้ำลงต่ำสุด เดือนละ 1 ครั้ง ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. 2560 - เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 ผลการศึกษาพบสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่ทั้งสิ้น 60 ชนิด กลุ่มที่มีความหนาแน่นสูงสุด คือ ไส้เดือนทะเลและแมลง ตามลำดับ โดยไส้เดือนทะเลมีความหนาแน่นสูงในบ่อที่ดินโผล่พ้นน้ำซึ่งมีความเค็มใกล้เคียงกับความเค็มของน้ำทะเล ส่วนบ่อที่ถูกน้ำท่วมตลอดเวลาที่มีลักษณะพื้นที่ที่แตกต่างกัน เช่น พื้นที่น้ำท่วมสูง และพื้นที่เนินดินที่ถูกปกคลุมด้วยไบโอฟิลม์ ซึ่งมีแมลงเป็นกลุ่มเด่น ส่วนนกชายเลนพบทั้งสิ้น 23 ชนิด รวม 7,715 ตัว ความชุกชุมของนกชายเลนสูงสุดในเดือนตุลาคมซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูอพยพ รองลงมาในเดือนมกราคมเป็นฤดูอพยพ และในเดือนเมษายนเป็นช่วงปลายฤดูอพยพ ตามลำดับ การผันแปรชองชนิดและความหนาแน่นของสัตว์ทะเลหน้าดินขนาดใหญ่และนกชายเลนอยู่ภายใต้อิทธิพลของปัจจัยสิ่งแวดล้อมที่สำคัญ คือ ระดับน้ำในบ่อ ซึ่งในบ่อที่ถูกน้ำท่วมตลอดเวลามีน้ำลึกเฉลี่ย 10 เซนติเมตร ดินตะกอนในบ่อมีปริมาณอินทรีย์สารและปริมาณซัลไฟด์ทั้งหมดสูง ส่วนนกชนิดเด่นที่พบลงหากินในบ่อนี้ คือ นกปากแอ่นหางดำและนกตีนเทียน ซึ่งเป็นนกขนาดใหญ่ที่มีปากและขายาว โดยเฉพาะนกปากแอ่นหางดำเป็นนกที่มีสถานภาพใกล้ถูกคุกคามและมีความสัมพันธ์กับความหนาแน่นของแมลง ส่วนบ่อที่ดินโผล่พ้นน้ำมีน้ำตื้น (เฉลี่ย 3 เซนติเมตร) นกชนิดเด่นที่พบในบ่อนี้ คือ นกหัวโตทรายและนกชายเลนปากกว้างซึ่งเป็นนกขนาดเล็กและมีขาสั้น การศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความสำคัญความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเลหน้าดินรวมถึงสภาพแวดล้อมในนาเกลือที่ถูกทิ้งร้าง เช่น ความลึกของน้ำและความเค็มของน้ำในบ่อซึ่งใกล้เคียงกับสภาพของหาดเลนในธรรมชาติ ส่งผลให้บ่อนาเกลือร้างที่ศึกษามีความสำคัญทั้งในด้านของการเป็นแหล่งอาหารและหากินของนกชายเลน (ซึ่งรวมถึงนกที่มีสถานภาพการอนุรักษ์ถึง 7 ชนิด) นอกจากนี้นาเกลือที่ถูกทิ้งร้างเป็นแหล่งทำรังวางไข่ให้แก่นกประจำถิ่น


Taxonomy And Systematics Of Earthworm Genus Pontodrilus Perrier, 1874 In Thailand, Teerapong Seesamut Jan 2018

Taxonomy And Systematics Of Earthworm Genus Pontodrilus Perrier, 1874 In Thailand, Teerapong Seesamut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A taxonomic study of the littoral earthworm genus Pontodrilus Perrier, 1874 was critically conducted based on material collected from marine sandy coasts along the east and west sides of the Thai-Malay Peninsula (Thailand and Malaysia) and selected localities in Japan. Comparative material from other parts of Southeast Asia, including Myanmar, Vietnam, Malaysia, Singapore and Indonesia, were also collected. Morphological examination identified almost all of the specimens as Pontodrilus litoralis, but as two morphotypes with some character differences in the diverticulum between them. A combined morphological and molecular phylogenetic analyses supported one of these morphotypes as a new species, P. longissimus. …