Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Industrial Engineering

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 30 of 56

Full-Text Articles in Entire DC Network

Space Utilisation Strategy For Thailand Underground Transit Station. A Case Study Of Thailand Cultural Centre Underground Station, Wirasinee Tongsoo Jan 2017

Space Utilisation Strategy For Thailand Underground Transit Station. A Case Study Of Thailand Cultural Centre Underground Station, Wirasinee Tongsoo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The ridership of Thailand underground station continuously increases every year. On the other hand, space management of terminal of underground station does not success as expected. The main reason is space does not have strategy to handle. majority of renter rarely stay until the completion of the rental contract, and they prefer to break the contract, pay the fine and move business elsewhere. According to research, there is no research study about this for Thailand underground station. In order to create appreciate plan for Thailand underground station in 2022. The strategy is core to integrate plan. Passengers would be attracted …


การพัฒนาโปรแกรมการจัดการซ่อมบำรุงรักษาบนมือถือสำหรับโรงงานผลิตภัณฑ์เคมี, จารุวรรณ แต้มศรี Jan 2017

การพัฒนาโปรแกรมการจัดการซ่อมบำรุงรักษาบนมือถือสำหรับโรงงานผลิตภัณฑ์เคมี, จารุวรรณ แต้มศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้พัฒนาระบบการจัดการซ่อมบำรุงรักษา ด้วยระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์บนมือถือ ซึ่งระบบที่พัฒนาขึ้นได้นำไปประยุกต์ใช้กับระบบซ่อมบำรุงรักษาของท่อส่งเคมีภัณฑ์ โดยปัจจุบันการนำระบบการจัดการซ่อมบำรุงรักษาด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการจัดการข้อมูลยังไม่สามารถตอบสนองต่อความต้องการได้ ดังนั้นโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นจะมีระบบการแจ้งซ่อมบำรุงและสามารถรายงานผลการซ่อมบำรุงได้แบบทันท่วงที เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถตอบสนองและตรวจสอบเหตุขัดข้องได้ในทันที นอกจากนี้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นยังสามารถช่วยวางแผนการจัดการจัดตารางเวลาซ่อมบำรุงรักษาในอนาคต จากการทดลองโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นเพื่อช่วยในการลดความสูญเสียทางด้านเวลาในการดำเนินการส่งเอกสารทางอีเมลตั้งแต่ต้นจนจบกระทวนการ และทำการบันทึกข้อมูลลงในระบบฐานข้อมูล เมื่อนำระบบแอพพลิเคชั่นมาใช้ในการจัดการระบบซ่อมบำรุงรักษามีความเป็นระบบมากขึ้น โดยมีความสะดวกในการบันทึกข้อมูลในขั้นตอนต่างๆ ในการดำเนินงาน พบว่า ระยะเวลาเฉลี่ยก่อนเสียหายแต่ละครั้งเพิ่มขึ้น 11% ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่เสียหายจนใช้งานได้แต่ละครั้งลดลง 5%


การวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนา และการระบุความสำคัญของสถานีในเครือข่ายขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานคร, พิชญา ณ บางช้าง Jan 2017

การวิเคราะห์รูปแบบการพัฒนา และการระบุความสำคัญของสถานีในเครือข่ายขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานคร, พิชญา ณ บางช้าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เครือข่ายขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครเป็นเครือข่ายขนส่งมวลชนทางรางในเมืองเครือข่ายแรกของประเทศไทย ซึ่งในปี พ.ศ. 2572 เครือข่ายดังกล่าวจะมีจำนวนสถานีทั้งหมด 285 สถานี และจะเป็นหนึ่งในเครือข่ายขนส่งมวลชนทางรางที่มีขนาดใหญ่ติด 5 อันดับแรกของโลก ในงานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษารูปแบบการพัฒนาของเครือข่ายดังกล่าวตั้งแต่เปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2542 จนถึง พ.ศ. 2572 ในทุกลำดับการขยายผ่านทฤษฎีเครือข่ายซับซ้อน โดยอาศัยตัวชี้วัดเครือข่ายทั้งหมด 7 ชนิดในการอธิบายปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นจากรูปแบบการพัฒนาเครือข่ายในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนี้ผู้วิจัยยังได้ทำการพัฒนาตัวชี้วัดรวบยอดเชิงประสิทธิภาพเครือข่าย และเชิงการเป็นจุดแพร่กระจายผลกระทบ เพื่อระบุสถานีที่มีความสำคัญ ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับเครือข่ายในอนาคตได้ จากผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดระดับเครือข่ายโดยภาพรวม อันประกอบไปด้วย ค่าเส้นผ่านศูนย์กลางเครือข่าย ดัชนีแกมมา และค่าเอนโทรปีมาตรฐานของเครือข่าย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และมีค่าเฉลี่ยของค่าความเป็นศูนย์กลาง Degree อยู่ในช่วง [1.91,2.27] สถานีที่มีค่าความเป็นศูนย์กลาง Closeness สูงมักอยู่บริเวณกึ่งกลางของเครือข่าย ในขณะที่สถานีที่มีค่าความเป็นศูนย์กลาง Betweenness สูงมักอยู่บนเส้นทางรัศมีที่เชื่อมต่อระหว่างกึ่งกลางเมืองและชานเมือง สำหรับผลจากตัวชี้วัดรวบยอดที่ใช้เพื่อระบุความสำคัญของสถานีนั้น พบว่าสถานีที่มีความสำคัญเชิงประสิทธิภาพเครือข่ายสูงมักจะอยู่บริเวณสถานีที่มีค่า Degree สูง และเน้นไปในเส้นทางที่เป็นทางผ่านระหว่างจุดเชื่อมต่อออกไปทางชานเมือง โดยมีการกระจายอยู่หลายจุดทั่วทั้งเครือข่าย ในขณะที่สถานีที่มีความสำคัญเชิงการเป็นจุดแพร่กระจายผลกระทบสูงมักอยู่บริเวณใดบริเวณหนึ่งของเครือข่ายเพียงเท่านั้น


Plastics Injection Molding Process Improvement, Poom Popattanachai Jan 2017

Plastics Injection Molding Process Improvement, Poom Popattanachai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purpose of this thesis is to investigate, analyze the strategies that a small plastic injection molding factory uses. It emphasizes process improvement which is aligned with and support the factory's main strategies. The result from this thesis helps factory analyze, improve and monitor changes in business strategy that the company chooses to use as well as the manufacturing strategy. The aim of this framework is to ensure that the long term objectives of the company can be achieved under the trends that the company is evolving into. The principal tools and techniques that have been used in this thesis …


Determination Of Waste Treatment Fee Pricing Mechanism For Municipal Solid Waste By Mechanical Biological Treatment Method Utilising The Public Private Partnership Model In Thailand, Adrian Paul Raj Jan 2017

Determination Of Waste Treatment Fee Pricing Mechanism For Municipal Solid Waste By Mechanical Biological Treatment Method Utilising The Public Private Partnership Model In Thailand, Adrian Paul Raj

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Private participation in the development of municipal solid waste treatment projects through public-private partnership models accelerate the implementation of sustainable treatment technologies such as Mechanical Biological Treatment (MBT) facilities within developing countries without creating excessive burden to government infrastructure investment. The introduction of preset pricing mechanism to regulate potential waste treatment fee structure based on pre-determined project internal rate-of-return mitigates multi-party risks, such as the potential developer project losses or the opportunity to profiteer. Research encompasses technical assessment of project requirements for implementation of required technologies, commercial analysis of project capital expenditure (CAPEX), operational expenditure (OPEX) and assessment of revenue …


Logistics Business Process Improvement In A Sport Gear Company, Azadeh Kamyabi Jan 2017

Logistics Business Process Improvement In A Sport Gear Company, Azadeh Kamyabi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

A small sports gear company, specialising in boxing and muaythai, is receiving complaints from customers due to incorrect shipments. The consequences of incorrect shipments are: customer dissatisfaction, higher costs due to returns and reshipments, and waste of time and resources. As a result, the objective of this thesis is to reduce incorrect shipments improving the internal logistics processes using framework of SCOR model and information technology management. Having investigated the record of each incorrect shipment, a working group of employees was formed to analyse and determine possible causes using quality improving tools such as fishbone diagram and why-why analysis. Each …


Purchasing Strategy For Refurbished Gas Chromatography Instruments, Chamaiporn Panleng Jan 2017

Purchasing Strategy For Refurbished Gas Chromatography Instruments, Chamaiporn Panleng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this study is to develop purchasing strategy for procurement of used Gas Chromatography (GC) instrument for refurbishing in order to enhance company's competitive advantages. The purchasing strategy study is developed by 5 steps, which are (1) analysis of spending data, (2) determining customer requirements, (3) assessing supply market, (4) formulating purchasing strategy, and (5) executing and refining strategy. The purchasing strategy consists of (1) vision, (2) mission, (3) objectives, (4) action plans, and (5) key performance indicators. Implementation on the case study company was done by applying Leagile purchasing portfolio model and assemble-to-order systems, as well as …


การสร้างแบบจำลองพยากรณ์น้ำท่าสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีสถานีวัดในลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน, ณัฐนนท์ สงวนศัพท์ Jan 2017

การสร้างแบบจำลองพยากรณ์น้ำท่าสำหรับพื้นที่ที่ไม่มีสถานีวัดในลุ่มแม่น้ำปิงตอนบน, ณัฐนนท์ สงวนศัพท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ข้อมูลปริมาณน้ำท่ามีความสำคัญต่อการวางแผนและการจัดการทรัพยากรน้ำ ไม่ว่าจะเป็นการป้องกันการเกิดอุทกภัย หรือ ภัยแล้ง ซึ่งในบางพื้นที่ลุ่มน้ำไม่มีการบันทึกข้อมูลปริมาณน้ำท่าหรือมีการบันทึก แต่สถิติข้อมูลไม่เพียงพอต่อการนำไปใช้งาน ดัชนีทางอุกทกวิทยาจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่า วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงได้นำเสนอวิธีการในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่าในบริเวณที่ไม่มีสถานีวัดน้ำท่าจำนวน 34 ลุ่มน้ำย่อยในบริเวณลุ่มน้ำปิงตอนบนตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศไทย โดยทำการศึกษาในช่วงปี 2549-2557 ผู้วิจัยได้นำเทคนิคการวิเคราะห์การถดถอยมาประยุกต์ใช้ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีน้ำท่ากับลักษณะทางกายภาพของลุ่มน้ำจำนวน 7 ตัว ได้แก่ สัมประสิทธิ์น้ำท่า ดัชนีการไหลพื้นฐาน ดัชนีความอ่อนไหวของน้ำท่าต่อน้ำฝนตามฤดูกาล เปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของปริมาณน้ำท่า เปอร์เซนไทล์ที่ 50 ของปริมาณน้ำท่า เปอร์เซนไทล์ที่ 5 ของปริมาณน้ำท่า ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ และผลต่างของปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายปีเฉลี่ย โดยใช้ช่วงความเชื่อมั่นจากตัวแบบการถดถอยในการจำกัดชุดพารามิเตอร์ของแบบจำลองน้ำฝน-น้ำท่า และใช้ตัวชี้วัด NSE* และ Reliability ในการประเมินประสิทธิภาพของแบบจำลอง ผลการศึกษาพบว่าดัชนีน้ำท่าที่มีความสามารถในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่ามากที่สุดคือเปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของปริมาณน้ำท่า สัมประสิทธิ์น้ำท่า ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ ผลต่างของปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายปีเฉลี่ย และดัชนีความอ่อนไหวของน้ำท่าต่อน้ำฝนตามฤดูกาล มีความสามารถในการพยากรณ์ปริมาณน้ำท่าน้อยที่สุด โดยเปอร์เซนไทล์ที่ 95 ของปริมาณน้ำท่า สัมประสิทธิ์น้ำท่า ปริมาณน้ำท่ารายปีเฉลี่ยต่อพื้นที่ลุ่มน้ำ และผลต่างของปริมาณน้ำฝนและน้ำท่ารายปีเฉลี่ยใช้ได้ดีในบริเวณลุ่มน้ำย่อยที่มีลักษณะการใช้ที่ดินแบบเกษตรกรรมและมีขนาดเล็ก


การแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบมากวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบลักษณะตัวยูขนาน, เพ็ญนภัส จิรชัย Jan 2017

การแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบมากวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบลักษณะตัวยูขนาน, เพ็ญนภัส จิรชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบมากวัตถุประสงค์บนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมแบบลักษณะตัวยูขนาน เป็นการแก้ปัญหาโดยการพิจารณาทุกวัตถุประสงค์ไปพร้อมๆกัน ซึ่งจัดเป็นปัญหาแบบยาก (NP-Hard) ดังนั้นการค้นหาคำตอบจึงต้องนำวิธีการทางฮิวริสติก (Heuristic) มาช่วยเพื่อให้ได้คำตอบที่มีความเหมาะสม งานวิจัยนี้จึงนำเสนออัลกอริทึมใหม่ คือ วิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนกประยุกต์รวมกับอัลกอริทึมการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตตามภูมิศาสตร์ ( The Multi-Objective Evolutionary Optimization Hybridised With The Biogeography-Based Optimization Algorithm: MOEA/D-BBO) สำหรับแก้ปัญหาการจัดสมดุลสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมลักษณะตัวยูขนานที่มีมากวัตถุประสงค์ โดยงานวิจัยนี้มีจำนวนวัตถุประสงค์ 4 วัตถุประสงค์ คือ จำนวนสถานีงานน้อยที่สุด จำนวนสถานีน้อยที่สุด ความแตกต่างของภาระงานระหว่างสถานีงานมีค่าน้อยที่สุด และความสัมพันธ์ของงานที่ไม่เกี่ยวเนื่องกันภายในสถานีงานมีค่าน้อยที่สุด พร้อมทั้งทำการเปรียบเทียบสมรรถนะของอัลกอริทึม MOEA/D-BBO กับอัลกอริทึมอื่นๆ ที่เป็นที่นิยม คือ การหาค่าที่เหมาะสมที่สุดแบบการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิตตามภูมิศาสตร์ (BBO) และวิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนก (MOEA/D) จากผลการทดลองพบว่า MOEA/D-BBO มีสมรรถนะในการแก้ปัญหาดีกว่า MOEA/D และ BBO ทั้งด้านการลู่เข้าสู่กลุ่มคำตอบที่เหมาะสมที่สุดที่แท้จริง ด้านการกระจายของกลุ่มคำตอบ ด้านอัตราส่วนของคำตอบที่ไม่ถูกครอบงำ ส่วนด้านจำนวนของคำตอบที่ไม่ถูกครอบงำ MOEA/D-BBO มีสมรรถนะดีกว่าอัลกอริทึมอื่น สำหรับโจทย์ปัญหาขนาดเล็ก และขนาดกลางบางโจทย์ ด้านเวลาในการค้นหาคำตอบนั้น MOEA/D-BBO ใช้เวลานานที่สุด แต่ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ยอมรับได้ (นานที่สุดไม่เกิน 1 ชั่วโมง)


การลดความสูญเสียจากปริมาตรบรรจุของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแบบกระป๋อง, ชานิดา กัมพลานนท์ Jan 2017

การลดความสูญเสียจากปริมาตรบรรจุของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแบบกระป๋อง, ชานิดา กัมพลานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อปริมาตรน้ำผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่สกัดจากผลไม้ภายในกระป๋อง และหาค่าการปรับตั้งปัจจัยของเครื่องบรรจุที่เหมาะสมเพื่อให้มูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุน้อยลง ขั้นตอนการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาในงานวิจัยนี้เลือกใช้เครื่องมือแผนผังสาเหตุและผล และเลือกใช้เมทริกซ์ความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลในการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปริมาตรบรรจุ ในขั้นตอนการปรับปรุงได้ทำการทดลองเพื่อหาระดับที่เหมาะสมของปัจจัย โดยอาศัยวิธีการพื้นผิวตอบสนองแบบส่วนประสมกลางชนิดแบบ Faced Central Composite Design: CCF จากนั้นจึงทำการสร้างสมการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้ากับมูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุเพื่อหาค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมที่ทำให้มูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุมีค่าน้อยที่สุด พบว่าค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสม คือ ความยาวของท่อระบายเท่ากับ 106 มิลลิเมตร ระดับของวาล์วปิดแก๊ส CO2 เท่ากับระดับ 1 ระดับของวาล์วที่ไล่อากาศและไล่แก๊ส CO2 เท่ากับระดับ 3 ค่าความดันภายในถังเก็บเท่ากับ 3.5 บาร์ และค่าระดับน้ำผลิตภัณฑ์ภายในถังเก็บเท่ากับ 45 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้นทางผู้วิจัยได้จัดทำวิธีการปฏิบัติงานในกระบวนการตรวจสอบลักษณะของโอริง และสร้างแผ่นตรวจสอบลักษณะกระป๋องก่อนเข้ากระบวนการบรรจุ หลังจากปรับปรุงพบว่าค่าเฉลี่ยปริมาตรน้ำผลิตภัณฑ์ภายในกระป๋อง ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของปริมาตรน้ำผลิตภัณฑ์ภายในกระป๋อง และมูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุหลังการปรับปรุงต่อ 1 รอบการผลิตมีค่าเท่ากับ 254.63 มิลลิลิตร 1.37 มิลลิลิตร และ 3,978 บาท ตามลำดับ ซึ่งค่าเฉลี่ยเพิ่มขึ้นจากก่อนปรับปรุง และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานลดลงจากก่อนปรับปรุงทำให้มูลค่าความสูญเสียรวมในกระบวนการบรรจุลดลงจากก่อนปรับปรุงเท่ากับ 6,679 บาทต่อ 1 รอบการผลิต คิดเป็นความสูญเสียที่ลดลง 62.67 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคาดว่าสามารถลดความสูญเสียได้ 3,205,920 บาทต่อปี สุดท้ายทางผู้วิจัยได้จัดทำแผนควบคุม และวิธีการปฏิบัติงานใหม่ของการตั้งค่าเครื่องบรรจุ


การปรับปรุงความสามารถในการใช้งานฉลากโภชนาการโดยคำนึงถึงระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้บริโภค, ปฐมา จันตะคุณ Jan 2017

การปรับปรุงความสามารถในการใช้งานฉลากโภชนาการโดยคำนึงถึงระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้บริโภค, ปฐมา จันตะคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ฉลากโภชนาการเป็นเครื่องมือในการสื่อสารข้อมูลโภชนาการของผลิตภัณฑ์อาหารระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค แต่ปัจจุบันพบว่าผู้บริโภคมีความยากลำบากในการใช้งานฉลากโภชนาการ ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เป็นการปรับปรุงความสามารถในการใช้งานฉลากโภชนาการโดยคำนึงถึงระดับความฉลาดทางสุขภาพของผู้บริโภค การศึกษานี้ได้ทำการทดสอบการใช้งานเชิงปริมาณพร้อมกับการสัมภาษณ์ในเชิงลึก โดยจะแบ่งผู้เข้าร่วมทดสอบในแต่ละระยะการทดสอบจำนวน 40 คน คือ การทดสอบก่อนการปรับปรุง และการทดสอบหลังการปรับปรุง ผู้เข้าร่วมทดสอบจะเป็นคนละกลุ่มกัน ซึ่งประกอบด้วยผู้เข้าร่วมทดสอบที่มีระดับความฉลาดด้านสุขภาพสูง 10 คนและผู้เข้าร่วมทดสอบที่มีระดับความฉลาดด้านสุขภาพต่ำ 30 คน เพื่อพิจารณาการเข้าถึงข้อมูลโภชนาการในแต่ละกลุ่มและแนวทางในการออกแบบฉลากโภชนาการที่เหมาะสมกับผู้บริโภค โดยปัญหาที่พบจากการวิเคราะห์เชิงคุณภาพพบว่าปัญหาหลักของผู้บริโภค คือ ไม่เข้าใจความหมายของหน่วยบริโภค และความสัมพันธ์ของข้อมูลโภชนาการรวมทั้งคำศัพท์เฉพาะ จึงทำการปรับปรุงฉลากโภชนาการโดยใช้ทฤษฎีหลักการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน ทฤษฎีเกสตอลท์กับการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้งาน ในส่วนของ ความใกล้ชิด และความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน หลักการออกแบบส่วนติดต่อเชิงนิเวศ ทฤษฎีกลิ่นของข้อมูล การออกแบบรูปสัญลักษณ์และหลักการความสามารถในการใช้งานเพื่อช่วยในการจำแนกหรือจัดกลุ่มข้อมูลเพื่อเข้าใจรายละเอียดบนฉลากโภชนาการดีขึ้นและจากการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า (1) ด้านประสิทธิผล ผู้ร่วมงานทดสอบโดยรวมมีสัดส่วนผลสำเร็จของงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 120.36 (2) ด้านประสิทธิภาพ ผู้ร่วมงานทดสอบโดยรวมมีระยะเวลาในการพิจาณาลดลงร้อยละ 95.38 3) ด้านความพึงพอใจ สำหรับระดับความพึงพอใจหลังงานทดสอบ ผู้ร่วมงานทดสอบโดยรวมมีความพึงพอใจหลังงานทดสอบเพิ่มขึ้นร้อยละ 54.25 ส่วนความพึงพอใจหลังการทดสอบในด้านภาพรวมผู้ร่วมงานทดสอบโดยรวมมีความพึงพอใจ เพิ่มขึ้นร้อยละ 74.96


การวิเคราะห์ภาพถ่ายการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลายด้วยวิธีแยกสัญญาณแบบเอมพีริเคิลโมด, พณสรรค์ งามศิริจิตร Jan 2017

การวิเคราะห์ภาพถ่ายการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลายด้วยวิธีแยกสัญญาณแบบเอมพีริเคิลโมด, พณสรรค์ งามศิริจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้วิธีแยกสัญญาณแบบเอมพิริเคิลโมด (EMD) ในการวิเคราะห์สัญญาณการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลาย (DAS) วิธีการดังกล่าวเกิดจากการควบรวมระหว่างวิธีแยกสัญญาณแบบเอมพิริเคิลโมดกับการวิเคราะห์สัญญาณแบบฟูเรียร์ (EMD-Fourier) เข้าไว้ด้วยกัน สัญญาณจากการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลายจะถูกแยกย่อยออกมาเป็นชุดสัญญาณพื้นฐาน (IMFs) ที่มีความถี่แตกต่างกันออกไป ซึ่งจะแตกต่างไปจากการวิเคราะห์แบบดั้งเดิมที่ให้ค่าความถี่ของชุดสัญญาณออกมาเพียงค่าเดียว ในการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลลัพธ์ของการดำเนินการ ชุดข้อมูลสัญญาณการบีบตัวของกระเพาะอาหารส่วนปลายที่ถูกประเมินจากแพทย์แล้วว่าเป็นการบีบตัวแบบปกติจำนวน 18 ชุดสัญญาณได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาเปรียบเทียบ ด้วยวิธีการแปลงสัญญาณนำเข้า (pre-processing) ที่แตกต่างกัน 4 วิธีการ ได้แก่ วิธีเฉลี่ยสัญญาณเท่ากับศูนย์ (AVG), วิธีเฉลี่ยสัญญาณเท่ากับศูนย์เข้าร่วมกับวิธีอัตสหสัมพันธ์ (AVGAUTO), วิธีเฉลี่ยสัญญาณแบบพหุนาม (POLY), วิธีเฉลี่ยสัญญาณแบบพหุนามเข้าร่วมกับวิธีอัตสหสัมพันธ์ (POLYAUTO) ผลลัพธ์ที่ได้จากการศึกษาบ่งชี้ว่า วิธีการวิเคราะห์สัญญาณแบบควบรวมระหว่างวิธีแยกสัญญาณแบบเอมพิริเคิลโมดและวิธีการวิเคราะห์สัญญาณแบบฟูเรียร์สามารถลดค่าอัตราส่วนระหว่างความแปรปรวนต่อค่าเฉลี่ย (SD-to-mean ratio) ลงได้ จาก 144.9% เหลือเพียง 22% โดยระดับการเปลี่ยนแปลงนี้ขึ้นอยู่กับวิธีการแปลงสัญญาณนำเข้า ผู้วิจัยยังพบอีกว่า ค่าเฉลี่ยจากวิธีการควบรวมมีค่าค่อนข้างนิ่งและมีค่าความแปรปรวนต่ำเมื่อเทียบกับการวิเคราะห์สัญญาณแบบดั้งเดิมด้วยวิธีฟูเรียร์ นอกจากนี้ ค่าความถี่ของสัญญาณพื้นฐานที่ 3 จากวิธีการวิเคราะห์สัญญาณแบบควบรวมยังมีค่าตรงกันกับค่ามาตราฐานการบีบตัวของกระเพาะอาหารแบบปกติทางการแพทย์ในเชิงสถิติที่ 3.00 รอบต่อวินาที หากแต่มีค่าความแปรปรวนที่ต่ำกว่าการวิเคราะห์สัญญาณแบบดั้งเดิมด้วยวิธีฟูเรียร์


แนวทางการวิเคราะห์การสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ของสายงานผลิตไฟฟ้า, พีรวัจน์ ชัยมณีรัตน์ Jan 2017

แนวทางการวิเคราะห์การสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ของสายงานผลิตไฟฟ้า, พีรวัจน์ ชัยมณีรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการประยุกต์ใช้แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ กับสายงานผลิตไฟฟ้า ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้วัดผลการดำเนินงานทางด้านการเงิน และระบบการบริหารจัดการองค์กรโดยมีตัวชี้วัดคือ ค่ากำไรเชิงเศรษฐศาสตร์โดยเปรียบเทียบระหว่างกำไรหลังจากหักภาษี กับต้นทุนเงินทุน โดยมีสมมติฐานการจัดเก็บรายได้จากสัญญาการซื้อขายไฟฟ้าภายใน ที่ประกอบด้วยค่าความพร้อมจ่าย และรายได้จากค่าเชื้อเพลิง และใช้วิธีการวิเคราะห์ความไวในการกำหนดเป้าหมายของแผนการเพิ่มมูลค่าเชิงเศรษฐศาสตร์ ซึ่งได้แก่ แผนเพิ่มส่วนต่างค่าเชื้อเพลิง, แผนเพิ่มค่าความพร้อมจ่าย และแผนลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการที่ควบคุมได้ ใช้วิธีการคำนวณอัตราต้นทุนเงินทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก ของสายผลิตไฟฟ้าซึ่งเท่ากับ 6.43% และกำหนดภาษีเชิงเศรษฐศาสตร์ 20% และวิเคราะห์กำไรเชิงเศรษฐศาสตร์ของกลุ่มตัวอย่างของโรงไฟฟ้าในสายงาน 5 โรงไฟฟ้า ซึ่งได้แก่ โรงไฟฟ้า A และ D ประเภทพลังงานความร้อนร่วม 2 โรงไฟฟ้าถ่านหิน B โรงไฟฟ้าพลังน้ำ C และโรงไฟฟ้า E พลังงานความร้อน ที่ใช้น้ำมันเตาและน้ำมันปาล์มเป็นเชื้อเพลิง โดยในปี พ.ศ.2558 ในภาพรวมสายงานค่า EPสูงกว่าค่าประมาณการ 3,617 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากแผนกลยุทธ์ ทั้ง 3 แผนจำนวน 753 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบค่าจริงกำไรเชิงเศรษฐศาสตร์ พ.ศ.2558 กับ ปี 2559 พบว่าภาพรวมสายงานผลิตไฟฟ้ามีค่าลดลง 512 ล้านบาท และโรงไฟฟ้า A ลดลง 64 ล้านบาท, โรงไฟฟ้า B เพิ่มขึ้น 1,312 ล้านบาท, โรงไฟฟ้า C ลดลง 58 ล้านบาท, โรงไฟฟ้า D เพิ่มขึ้น 91 ล้านบาท, โรงไฟฟ้า E ลดลง 161 ล้านบาท โดยโรงไฟฟ้า A ,B, D ควรเน้น SIP ด้านเพิ่มส่วนต่างค่าเชื้อเพลิงค่าเชื้อเพลิง เพิ่มค่าความพร้อมจ่ายโรงไฟฟ้า C ควรเน้นเพิ่มส่วนเกินชั่วโมงความพร้อมจ่ายและโรงไฟฟ้า E ควรเน้น ด้านลดค่าใช้จ่ายที่ควบคุมได้พร้อมทั้งขยายผลการศึกษาค่า EP โรงไฟฟ้าในสังกัดอื่นๆ


ผลกระทบของสัดส่วนการผสมทรายเคลือบเรซินที่มีผลต่อคุณสมบัติและต้นทุน, ภูวดล ศิริวิมลพันธุ์ Jan 2017

ผลกระทบของสัดส่วนการผสมทรายเคลือบเรซินที่มีผลต่อคุณสมบัติและต้นทุน, ภูวดล ศิริวิมลพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาสัดส่วนการผสมทรายเคลือบเรซินที่มีค่าคุณสมบัติอยู่ในช่วงความต้องการของลูกค้า และเพื่อลดต้นทุนวัตถุดิบของทรายเคลือบเรซิน เนื่องจากก่อนการปรับปรุง แต่ละสูตรการผลิตจะถูกผสมจากผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และยังไม่มีวิธีการที่แน่ชัดสำหรับการหาสัดส่วนการผสมเพื่อให้ตรงตามความต้องการของลูกค้า ทำให้ต้องเสียเวลาในการลองผิดลองถูกเพื่อให้ได้ค่าคุณสมบัติตามที่ต้องการและเกิดต้นทุนวัตถุดิบที่สูงเกินความจำเป็น งานวิจัยนี้ได้ประยุกต์การออกแบบการทดลองแบบส่วนประสมกลาง เพื่อหาสัดส่วนการผสมทรายเคลือบเรซินที่เหมาะสม โดยมีปัจจัยนำเข้าทั้งหมด 5 ปัจจัยได้แก่ ทรายเอ ทรายบี เรซินเอ เรซินบี และเปอร์เซ็นต์เรซิน และมีตัวแปรตอบสนองทั้งหมด 7 ปัจจัย ได้แก่ ความทนแรงดัดโค้ง การขยายตัวทางความร้อน ปริมาณการสูญเสียหลังการเผา ค่าความโก่งงอ อุณหภูมิต่ำสุดที่ทรายเซตตัว ค่าแก๊ส และต้นทุนวัตถุดิบในส่วนของทรายและเรซิน จากนั้นทำการทดลองและวิเคราะห์ผลการทดลองเพื่อหาสมการความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้ากับตัวแปรตอบสนองโดยใช้เทคนิคการคัดเลือกตัวแปรอิสระแบบขั้นตอน (Stepwise Regression) ชนิดการเลือกตัวแปรโดยวิธีการลดตัวแปรอิสระ (Backward Elimination) จากนั้นทำการหาสัดส่วนการผสมใหม่ด้วยวิธีการหาจุดที่เหมาะสม ผลที่ได้จากการหาสัดส่วนการผสมใหม่ทั้งหมด 25 สูตรการผลิต พบว่าค่าคุณสมบัติทั้ง 6 ชนิดของทั้ง 25 สูตรการผลิตอยู่ในช่วงการยอมรับของโรงงาน และสามารถลดต้นทุนวัตถุดิบที่ใช้ลง 28.36% จากต้นทุนวัตถุดิบที่ได้จากสัดส่วนการผสมเก่า ซึ่งคิดเป็นต้นทุนที่ลดลง 42,293,318 บาทต่อปี


การพยากรณ์การสึกหรอของเม็ดมีดในกระบวนการกลึงซีเอ็นซีโดยใช้การแปลงเวฟเล็ต, ภทร ไชยวงค์ Jan 2017

การพยากรณ์การสึกหรอของเม็ดมีดในกระบวนการกลึงซีเอ็นซีโดยใช้การแปลงเวฟเล็ต, ภทร ไชยวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดการสึกหรอด้านข้างของเม็ดมีดกับอัตราส่วนแรงตัดพลวัตในกระบวนการกลึงเหล็กกล้าเกรด S45C โดยใช้เม็ดมีดคาร์ไบด์เคลือบผิวด้วยด้วยไททาเนียมคาร์บอนไนไตรด์กับอะลูมิเนียมออกไซด์ไทเทเนียมไนไตรด์ (TiCN+Al2O3TiN) การแปลงเวฟเล็ตถูกใช้สำหรับวิเคราะห์แรงตัดพลวัตเพื่อให้ได้สัญญาณแรงตัดอันเนื่องจากสึกหรอโดยคัดแยกสัญญาณรบกวนออก วิธีออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบห์เคนถูกเลือกสำหรับการออกแบบการทดลอง 4 ปัจจัย 3 ระดับ ปัจจัยที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ความเร็วตัด 150, 200 และ 250 m/min, อัตราการป้อนตัด 0.1, 0.2 และ 0.15 mm/rev ความลึกตัด 1, 1.2 และ 1.4 mm และรัศมีจมูกมีด 0.4, 0.8 และ 1.2 mm จากผลการทดลองพบว่า เงื่อนไขการตัดที่ทำให้อัตราการสึกหรอไวที่สุด ได้แก่ ความเร็วตัด 250 m/min อัตราการป้อนตัด 0.2 mm/rev ความลึกตัด 1.2 mm และรัศมีจมูกมีด 0.8 mm อัตราส่วนแรงตัดพลวัตมีความสัมพันธ์กับขนาดการสึกหรอด้านข้าง (Flank wear) ของเม็ดมีดอย่างมีนัยสำคัญ อัตราส่วนแรงตัดพลวัตลดลงเมื่อขนาดการสึกหรอเพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าเงื่อนไขการตัดจะเปลี่ยนไปอย่างไร อัตราส่วนแรงตัดพลวัตยังคงมีแนวโน้มเหมือนเดิม ด้วยเหตุนี้เองอัตราส่วนแรงตัดพลวัตจึงถูกนำเสนอเพื่อใช้สำหรับพัฒนาสมการพยากรณ์ขนาดการสึกหรอของเม็ดมีดในรูปแบบฟังก์ชั่นเอกซ์โพเนนเชียลที่ระดับความเชื่อมั่น 95% การวิเคราะห์การถดถอยพหูคูณถูกนำมาใช้เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์ด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุด สมการพยากรณ์ขนาดการสึกหรอของเม็ดมีดที่ได้ให้ค่าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 86.45% และจากสัมประสิทธิ์ของปัจจัยแต่ละตัวทำให้ทราบว่า อัตราส่วนแรงตัดพลวัตมีอิทธิพลต่อขนาดการสึกหรอมากที่สุด รองลงมาคือ ความเร็วตัด อัตราการป้อนตัด ความลึกตัด และรัศมีจมูกมีดตามลำดับ นอกจากนี้สมการพยากรณ์ถูกตรวจสอบความแม่นยำพบว่า ให้ค่าความแม่นยำเท่ากับ 93.85%


การลดสัดส่วนรอยแตกบริเวณขอบยางในการผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์, วรุตม์ รังรองรัตน์ Jan 2017

การลดสัดส่วนรอยแตกบริเวณขอบยางในการผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์, วรุตม์ รังรองรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดสัดส่วนรอยแตกบริเวณขอบยาง ในกระบวนการผลิตยางล้อรถจักรยานยนต์ของโรงงานกรณีศึกษา ซึ่งปัญหานี้ก่อให้เกิดความสูญเสียมากกว่า 20 ล้านบาทต่อปี แนวทางการปรับปรุงมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิตโดยใช้วัตถุดิบ วิธีการ และเครื่องจักรที่มีอยู่ โดยไม่ให้การเปลี่ยนแปลงนั้นกระทบต่อคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ การศึกษาแบ่งเป็น 6 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของปัญหาจากบันทึกการผลิต และเก็บข้อมูลลักษณะของปัญหาเพิ่มเติมจากตัวอย่างยางจริงที่เกิดปัญหารอยแตก พบว่ายางรุ่น 90/90-14EG ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางขอบยาง 14 นิ้ว หน้ายางกว้าง 90 มม. แก้มยางสูง 81 มม. มีความสูญเสียมากที่สุดถึง 4 ล้านบาทต่อปี หรือคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 7.31 จากปริมาณการผลิตทั้งหมด 2) ประเมินความสามารถของกระบวนการตรวจสอบปัญหา พบว่าพนักงานสามารถตรวจสอบคัดแยกปัญหารอยแตกได้อย่างถูกต้องทั้งหมด และจากการประเมินความสามารถในการวัดขนาดของปัญหา พบว่ามีความแม่นและเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ 3) วิเคราะห์และคัดกรองสาเหตุเบื้องต้นของปัญหา โดยใช้วิธีการทดสอบสมมติฐานที่ระดับความเชื่อมั่น 95% พบว่าสาเหตุของปัญหารอยแตกของยางรุ่นตัวอย่างมีสามประการ คือ ขนาดของแบบยาง ความกว้างของชิ้นส่วนหน้ายาง และแรงดันไอน้ำที่ใช้ในการขึ้นรูปแบบยาง 4) ดำเนินการทดลองเพื่อลดปัญหารอยแตกโดยใช้วิธีการออกแบบการทดลองแบบบ็อกซ์-เบ็ห์นเคน โดยพิจารณา 3 ปัจจัย ปัจจัยละ 3 ระดับ และทดสอบความมีนัยสำคัญของปัจจัยโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวน (ANOVA) พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อปัญหารอยแตกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ได้แก่ ขนาดของแบบยาง อันตรกิริยาระหว่างขนาดของแบบยางกับความกว้างของชิ้นส่วนหน้ายาง และอันตรกิริยาระหว่างขนาดของแบบยางกับแรงดันที่ใช้ในการขึ้นรูป ค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับยางรุ่นตัวอย่าง คือ ขนาดของแบบยาง 180 มม. ความกว้างชิ้นส่วนหน้ายาง 186 มม. และแรงดันที่ใช้ในการขึ้นรูป 0.12 เมกะปาสคาล 5) ปรับปรุงมาตรฐานการผลิต 6) ติดตามผลการใช้มาตรฐานใหม่ในกระบวนการผลิตจริงเป็นระยะเวลากว่า 1 ปี พบว่าสามารถลดสัดส่วนรอยแตกบริเวณขอบยางของยางรุ่นตัวอย่างจากร้อยละ 7.31 เหลือเพียงร้อยละ 1.04 โดยเฉลี่ย คิดเป็นมูลค่าความสูญเสียที่ลดลงได้มากกว่า 3 ล้านบาทต่อปี


การเปรียบเทียบระดับรูปสัญลักษณ์ในแถวลำดับของสัญรูปสำหรับการออกแบบตัวช่วยในการตัดสินใจ, ศิถี วังเอี่ยมเสริมสุข Jan 2017

การเปรียบเทียบระดับรูปสัญลักษณ์ในแถวลำดับของสัญรูปสำหรับการออกแบบตัวช่วยในการตัดสินใจ, ศิถี วังเอี่ยมเสริมสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แถวลำดับของสัญรูปหรือภาษาภาพถูกขนานนามว่าเป็นรูปแบบการนำเสนอข้อมูลเชิงตัวเลขในบริบทของความเสี่ยงที่มีประสิทธิผลสูงสุด แต่อย่างไรก็ตามจากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมาพบว่ากลุ่มผู้ใช้งานแต่ละระดับการคำนวณมีรูปแบบการประมวลผลข้อมูลจากแถวลำดับของสัญรูปแตกต่างกันประกอบกับระดับรูปสัญลักษณ์อาจส่งผลต่อการแปลความหมายข้อมูลที่แตกต่างกันของกลุ่มคนแต่ละระดับการคำนวณ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการเปรียบเทียบระดับรูปสัญลักษณ์ในแถวลำดับของสัญรูปสำหรับการออกแบบตัวช่วยในการตัดสินใจที่เหมาะสมกับประชากรไทยแต่ละระดับการคำนวณเพื่อประเมินประสิทธิผล คือ การทดสอบระดับการรับรู้ข้อมูล การทดสอบความเข้าใจและการทดสอบการดึงข้อมูลกลับมาใช้ ประสิทธิภาพ คือ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบความเข้าใจ ความพึงพอใจ คือ การทดสอบระดับการเข้าถึงข้อมูล โดยเริ่มจากการแบ่งกลุ่มกลุ่มผู้ทดสอบตามลักษณะส่วนบุคคลด้วยแบบทดสอบระดับการคำนวณและระดับการหลีกเลี่ยงความไม่แน่นอน หลังจากนั้นผู้ทดสอบจะถูกสุ่มเพื่อทำการทดสอบอิทธิพลของระดับรูปสัญลักษณ์เพียง 1 ระดับจากทั้งหมด 3 ระดับรูปสัญลักษณ์ในแถวลำดับของสัญรูป จากการทดลองพบว่ากลุ่มคนระดับการคำนวณต่ำสามารถแปลความหมายข้อมูลเชิงตัวเลขซึ่งนำเสนอด้วยแถวลำดับของสัญรูปที่ระดับรูปสัญลักษณ์กลางหรือสัญลักษณ์รูปคนได้ถูกต้องที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับการวัดผลด้านการเข้าถึงข้อมูล ในทางตรงกันข้ามอิทธิพลของระดับรูปสัญลักษณ์ไม่ส่งผลต่อการแปลความหมายข้อมูลและคะแนนการเข้าถึงข้อมูลของกลุ่มคนระดับการคำนวณสูง หากเปรียบเทียบความแตกต่างของการรับรู้ข้อมูลที่ระดับรูปสัญลักษณ์ต่ำหรือสัญลักษณ์รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าพบว่ากลุ่มคนทั้งสองระดับการคำนวณมีระดับการรับรู้ข้อมูลที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามผลจากการทดลองนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการออกแบบการนำเสนอข้อมูลเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจที่มีประสิทธิผลในการสื่อสารกับกลุ่มคนแต่ละระดับการคำนวณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับกลุ่มคนระดับการคำนวณต่ำเพื่อเพิ่มความสามารถในการแปลความหมายข้อมูลเชิงตัวเลขให้ถูกต้องมากยิ่งขึ้นและผลจากการทดลองยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการออกแบบสื่ออินโฟกราฟฟิกที่มีประสิทธิผลในการสื่อสารภายในสังคม


การเปรียบเทียบประสิทธิผลของผู้เรียนในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมที่แตกต่างกันตามกลยุทธ์มิติสัมพันธ์, สกุลพร พรพนม Jan 2017

การเปรียบเทียบประสิทธิผลของผู้เรียนในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการอบรมที่แตกต่างกันตามกลยุทธ์มิติสัมพันธ์, สกุลพร พรพนม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์เป็นความสามารถในการรับรู้ และจัดการการรับรู้ภายในใจได้อย่างแม่นยำ ซึ่งนักวิจัยหลายท่านให้ความสนใจในการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการสอนเพื่อช่วยในการพัฒนาแต่ยังไม่มีงานวิจัยใดที่ให้ความสนใจกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ของผู้เรียน ดังนั้นวัตถุประสงค์ของวิจัยนี้คือ เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ของผู้เรียนที่มีกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ที่แตกต่างกันผ่านรูปแบบการอบรมตามกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา โดยเริ่มจากการค้นหากลยุทธ์ในการแก้ปัญหาของผู้เรียน (กลยุทธ์การแก้ปัญหาแบบองค์รวม กลยุทธ์การแก้ปัญหาแบบวิเคราะห์ และกลยุทธ์การแก้ปัญหาแบบระหว่างกลาง) พร้อมทั้งทำการแบ่งระดับความสามารถ (ต่ำและสูง) ก่อนการอบรม จากนั้นทำการอบรมตามรูปแบบการสอนที่พิจารณาถึงกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา และประเมินผลหลังการอบรม ผลการทดสอบของหลังการอบรม มีความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านของกลยุทธ์การแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ซึ่งส่งผลต่อการความสามารถในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ (PSVT และ MRT) ซึ่งผู้เรียนที่มีระดับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สูงที่ใช้กลยุทธ์ในการแก้ปัญหาแบบระหว่างกลางในห้องอบรมแบบวิเคราะห์มีคะแนนจากแบบทดสอบ MRT สูงกว่าผู้เรียนในห้องอบรมแบบองค์รวม จึงสามารถสรุปได้ว่าผู้เรียนที่มีกลยุทธ์ในการแก้ปัญหาแบบระหว่างกลางสามารถสลับกลยุทธ์ที่ใช้ในการแก้ปัญหาด้านมิติสัมพันธ์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Gluck and Fitting (2003) อย่างไรก็ตามผลจากการทดลองนี้สามารถนำมาใช้เป็นแนวทางสำหรับการพัฒนาเทคโนโลยี หรือใช้เป็นแนวทางสำหรับการออกแบบรูปแบบการนำเสนอข้อมูล เพื่อให้ผู้ออกแบบข้อมูลตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลในด้านของกระบวนการคิด และผลการทดลองจึงสรุปได้ว่าเพื่อพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ควรออกแบบเครื่องมือ หรือรูปแบบการสอนโดยคำนึงถึงกลยุทธ์ในการแก้ปัญหา เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าเกิดการเรียนรู้ที่รวดเร็ว และสามารถเข้าถึงสิ่งนั้นๆได้อย่างลึกซึ้ง


การปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งชิ้นส่วนในโรงงานผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร, อนุสิทธิ์ สายสมาน Jan 2017

การปรับปรุงประสิทธิภาพการขนส่งชิ้นส่วนในโรงงานผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร, อนุสิทธิ์ สายสมาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่ปัญหาที่เกิดจากกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนภายในโรงงานผลิตเครื่องจักรกลทางการเกษตรในประเทศไทย ซึ่งนับเป็นหนึ่งในกระบวนการที่มีความสำคัญต่อกระบวนการผลิต และหากมีการจัดการกระบวนการขนส่งที่ไม่ดีพอจะส่งผลต่อความสามารถในการส่งมอบชิ้นส่วน ต้นทุนจม ปัญหาคุณภาพ รวมถึงความสามารถในการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าได้ทันเวลาที่ต้องการ และจากการแข่งขันในตลาดอุตสาหกรรมเครื่องจักรกลทางการเกษตรที่มีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ต้องมีการปรับ ปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการขนส่งชิ้นส่วน โดยปัญหาที่เกิดขึ้นล้วนแต่มาจากความสูญเปล่าในกระบวนการ ในครั้งนี้ได้ทำการศึกษาประสิทธิภาพกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนของโรงงานกรณีศึกษา พบว่ามีประสิทธิภาพในกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนจากสายการประ กอบย่อยไปสายการประกอบหลัก 83 เปอร์เซ็นต์ โดยมีแนวทางการปรับปรุงประสิทธิภาพด้วยการใช้เครื่องมือกำจัดความสูญเปล่าด้วยหลักการ ECRS และนำระบบการผลิตแบบ Pull มาประยุกต์ใช้ โดยเปลี่ยนวิธีการขนส่งให้เป็น Milk run เพื่อให้การขนส่งชิ้นส่วน Synchronize กับความต้องการชิ้นส่วนของสายการประกอบหลัก และหลังการปรับปรุงทำให้ประสิทธิภาพในกระบวนการขนส่งชิ้นส่วนจากสายการประกอบย่อยไปสายการประกอบหลักสูงขึ้นเป็น 98 เปอร์เซ็นต์ และทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในกระบวนการขนส่งได้ 540,000 บาทต่อปี


การกําหนดนโยบายคงคลังของสินค้ากึ่งสําเร็จรูปในกระบวนการผลิตสีนํ้ามัน, อารยะ ปัญญาเสริฐ Jan 2017

การกําหนดนโยบายคงคลังของสินค้ากึ่งสําเร็จรูปในกระบวนการผลิตสีนํ้ามัน, อารยะ ปัญญาเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการกำหนดนโยบายคลังพัสดุที่เหมาะสมสำหรับสินค้ากึ่งสำเร็จรูปคงคลังในโรงงานผลิตสีน้ำมัน ซึ่งสินค้ากึ่งสำเร็จรูปคือแม่สีเฉดสีต่างๆ ที่ถูกผลิตขึ้นในโรงงานผลิตสีน้ำมันและถูกจัดเก็บในพื้นที่ผลิต แม่สีเป็นส่วนประกอบหลักที่สำคัญของสีน้ำมันซึ่งโดยปกติแม่สีจะถูกใช้ในกระบวนการแต่งสีรวมไปถึงการปรับคุณภาพเฉดสี หนึ่งในปัญหาที่พบบ่อยในในโรงงานผลิตสีน้ำมันคือการขาดแคลนแม่สีในกระบวนการผลิตซึ่งทำให้การผลิตสีน้ำมันหยุดชะงักและเกิดการรอคอย นั้นอาจเป็นผลให้สินค้าสำเร็จรูปล่าช้ากว่าแผนการผลิตที่กำหนดไว้ เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น งานวิจัยนี้ได้วิเคราะห์ปัญหาและพัฒนาระบบการบริหารจัดการแม่สีคงคลังโดยการประยุกต์ใช้นโยบายคลังพัสดุแบบจุดสั่งเติมที่กำหนดรอบทบทวนและปริมาณที่สั่งเติมคงที่ (r, s, Q model) ด้วยเป้าหมายระดับการให้บริการสอดคล้องกับนโยบายบริษัทที่ระดับบริการ 99% และไม่เพิ่มระดับแม่สีคงคลังเฉลี่ย นโยบายคลังพัสดุในงานวิจัยนี้ถูกกำหนดโดยคำนึงถึงข้อกำจัดของการดำเนินการและการผลิตในโรงงานผลิตสีน้ำมัน รวมไปถึงรูปแบบของปริมาณความต้องการที่ไม่แน่นอนและระยะเวลาในการผลิต นโยบายคลังพัสดุและกำหนดวิธีการตัดสินใจสั่งผลิตแม่สีคงคลังที่กำหนดขึ้นได้นำไปทดสอบด้วยวิธีการจำลอง (Simulation) เพื่อแสดงลักษณะของปริมาณความต้องการที่เกิดขึ้นจริงและพิสูจน์ความสามารถของวิธีการที่งานวิจัยได้กำหนดขึ้น การทดสอบเป็นการเปรียบเทียบกับผลการดำเนินการในการบริหารควบคุมแม่สีคงคลังที่เกิดขึ้นจริงในอดีต ผลลัพธ์จากการจำลองได้แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพของวิธีการใหม่ในการควบคุมแม่สีคลังคงซึ่งสามารถปรับปรุงระดับการให้บริการของแม่สี 11 เฉดสีจาก 14 เฉดสีให้ดีขึ้นตามเป้าหมาย และยังสามารถลดระดับแม่สีคงคลังเฉลี่ยอย่างเห็นได้ชัดทำให้ต้นทุนถือครองโดยรวมลดลง 24.09% ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถลดจำนวนครั้งในการสั่งเติมได้ 20.18% และช่วยให้การบริหารจัดการแม่สีคงคลังทำได้อย่างเป็นระบบ


การออกแบบจำนวนคัมบังที่ใช้ในกระบวนการประกอบลิ้นชักหน้า, ชลธิชา ลิ้มพยานาค Jan 2017

การออกแบบจำนวนคัมบังที่ใช้ในกระบวนการประกอบลิ้นชักหน้า, ชลธิชา ลิ้มพยานาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หลายทศวรรษแล้วที่การผลิตแบบ JIT (Justin Time) ได้นำระบบคัมบังมาประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมสินค้าคงคลังและการผลิต ในเงื่อนไขที่เหมาะสมกระบวนการผลิตควรมีปริมาณผลิตภัณฑ์ที่สม่ำเสมอ ขนาดการผลิตเล็กๆ และใช้เวลาปรับตั้งเครื่องน้อย เงื่อนไขที่กล่าวข้างต้นเป็นไปได้ยากแม้แต่ในการสายการประกอบรถยนต์ดังกรณีศึกษา กรณีศึกษานี้เป็นสายการประกอบลิ้นชักหน้ารถยนต์ซึ่งเป็นการประกอบชิ้นส่วนพลาสติก 2 ชิ้นส่วนเข้าด้วยกันด้วยการเชื่อมแบบสั่นสะเทือนหลังจากวางชิ้นงานลงในแม่พิมพ์ เนื่องจากอุปกรณ์จัดเก็บลิ้นชักหน้าในปัจจุบัน ทำให้ใบคัมบังแต่ละใบหมายถึงชิ้นงานจำนวน 60 อย่างไรก็ดีหัวหน้าแผนกผลิตไม่สนใจลำดับของคัมบังที่ได้รับมาและพยายามปรับลำดับการผลิตใหม่เพื่อลดจำนวนครั้งการเปลี่ยนแม่พิมพ์โดยพิจารณา 3 ปัจจัยได้แก่ ระยะเวลาที่ได้รับคัมบัง ส่วนต่างของจำนวนคัมบัง และแม่พิมพ์ที่ใช้งานอยู่ การจัดลำดับการผลิตด้วยตนเองทำให้เกิดการตามงานและผลิตเร่งด่วนซึ่งรบกวนการผลิต ดังนั้นเป้าหมายของงานวิจัยนี้คือออกแบบจำนวนคัมบังที่เหมาะสมระหว่างหน่วยงานประกอบลิ้นชักหน้าและแผนกคลังสินค้าและนำเสนอกระบวนการปรับลำดับการผลิตโดยอาศัยปัจจัยที่กล่าวมาร่วมกับขนาดของอุปกรณ์จัดเก็บโดยใช้แบบจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ หลังจากที่ได้วิเคราะห์และประยุกต์ข้อมูลในอดีตลงในแบบจำลองแล้ว ผลของแบบจำลองสถานการณ์แสดงว่า ส่วนต่างของจำนวนคัมบัง ไม่มีผลต่อรอบเวลาการผลิตและจำนวนครั้งในการเปลี่ยนแม่พิมพ์ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่รับคัมบังและขนาดของอุปกรณ์จัดเก็บมีผลต่อดัชนีชี้วัดทั้งสองคือเวลาเฉลี่ยที่คัมบังอยู่ในระบบและจำนวนครั้งในการเปลี่ยนแม่พิมพ์ ผลดังกล่าวนำไปสู่ข้อแนะนำให้ปรับขนาดการผลิตถ้าโรงงงานกรณีศึกษาตัดสินใจเปลี่ยนขนาดของอุปกรณ์จัดเก็บ


การลดของเสียในกระบวนการเป่าฟิล์ม โดยวิธีซิกซ์ ซิกมา, กุศลิน กิจพงษ์นิกร Jan 2017

การลดของเสียในกระบวนการเป่าฟิล์ม โดยวิธีซิกซ์ ซิกมา, กุศลิน กิจพงษ์นิกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเพื่อลดปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการเป่าฟิล์ม โดยมุ่งเน้นลดของเสียที่เกิดจากข้อบกพร่องประเภทเจล ยับ และหนาบางในแนวขวางเครื่องจักร งานวิจัยนี้ใช้แนวคิดซิกซ์ ซิกมา เริ่มจาก 1) ระยะนิยามปัญหา ซึ่งพบว่าของเสียจากการผลิตในกระบวนการเป่าฟิล์มประเภทเจล ยับ และหนาบางมีสัดส่วนที่สูง สำหรับการผลิตถุงพลาสติกขนาด 30 x (6+2+2) นิ้ว ขนาด 80 x 240 มิลลิเมตร และ 40 x 24 นิ้ว มีสัดส่วนของเสียประเภทเจล ยับ และหนาบาง ร้อยละ 11.03 1.26 และ 3.60 ของปริมาณการผลิต ตามลำดับ 2) ระยะการวัด ทำการประเมินระบบการตรวจสอบพบว่ามีความแม่นและเที่ยงอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้ 3) ระยะการหาสาเหตุของปัญหา ในขั้นแรกทำการระดมสมองโดยใช้แผนผังก้างปลาพบว่ามี 22 ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อข้อบกพร่องประเภทเจล ยับ และหนาบาง จากนั้นนำไปคัดกรองด้วยแผนผังแสดงสาเหตุและผล ทำให้เหลือเพียง 9 ปัจจัย ที่นำไปศึกษาต่อ 4) ระยะการปรับปรุงกระบวนการ ดำเนินการปรับปรุง 2 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ 4.1) การออกแบบการทดลองโดยใช้วิธีพื้นผิวผลตอบแบบส่วนประสมกลาง เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของปัจจัยด้วยวิธีการทางสถิติ และหาค่าที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัย พบว่าค่าระดับปัจจัยที่เหมาะสมสำหรับขนาด 30 x (6+2+2) นิ้ว ได้แก่ อุณหภูมิกระบอกสูบส่วนต้น 220 °C อุณหภูมิกระบอกส่วนกลาง 212 °C อุณหภูมิกระบอกส่วนท้าย 217 °C อุณหภูมิหน้าแปลน 220 °C อุณหภูมิหัวดาย 216 °C และความเร็วมอเตอร์ขับสกรู 50 kW สำหรับขนาด 80 x 240 มิลลิเมตร ได้แก่ อุณหภมิกระบอกส่วนต้น 220 °C อุณหภูมิหน้าแปลน 224 °C อุณหภูมิหัวดาย 216 …


การปรับปรุงค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินสำหรับทำไส้แบบกลวง, จักรพันธ์ จริยาจิรวัฒนา Jan 2017

การปรับปรุงค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินสำหรับทำไส้แบบกลวง, จักรพันธ์ จริยาจิรวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินที่ใช้ในกระบวนการผลิตไส้แบบกลวง โดยวิธีการหาค่าการปรับตั้งเครื่องจักรที่เหมาะสมของปัจจัยที่อยู่ภายในกระบวนการผสม ซึ่งคุณสมบัติที่ตรวจสอบจะประกอบไปด้วยคุณสมบัติทั้งแปดดังนี้คือ ความทนแรงดัดโค้ง ปริมาณการสูญเสียหลังการเผา อุณหภูมิต่ำสุดที่ทรายเริ่มเซตตัว แก๊ส การขยายตัวทางความร้อน ความโก่งงอของชิ้นงาน พีลแบค และความหนาของผนัง งานวิจัยนี้เริ่มต้นจากการวิเคราะห์หาปัจจัยนำเข้าโดยอาศัยเมทริกซ์ความสัมพันธ์ของสาเหตุและผลในการจัดลำดับความสำคัญของปัจจัย จากนั้นจึงใช้การออกแบบพื้นผิวผลตอบแบบส่วนประสมกลางชนิด Face-Centered (CCF) เพื่อทดสอบความมีนัยสำคัญของปัจจัยทั้ง 6 ปัจจัยที่ศึกษา ที่ส่งผลกระทบต่อค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินทั้งแปดคุณสมบัติ จากนั้นสร้างสมการความพันธ์ระหว่างปัจจัยนำเข้าที่มีนัยสำคัญกับตัวแปรตอบสนองโดยอาศัยเทคนิคการคัดเลือกตัวแปรอิสระแบบขั้นตอนชนิดวิธีลดตัวแปรอิสระ จากนั้นจึงหาค่าการปรับตั้งเครื่องจักรที่เหมาะสมด้วยเทคนิคการหาค่าที่เหมาะสม ซึ่งได้สภาวะที่เหมาะสมของปัจจัยในขั้นตอนการผสมคือ อุณหภูมิของวัตถุดิบตั้งต้นเท่ากับ 120 ºC เวลาในการปล่อยตัวประสานเท่ากับ 4 วินาที เวลาในการปล่อยสารละลายที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงเท่ากับ 45 วินาที เวลาในการเริ่มเปิดระบบระบายความร้อนด้วยอากาศเท่ากับ 8 วินาที ระยะเวลาในการระบายความร้อนด้วยอากาศเท่ากับ 100 วินาที และเวลาในการปล่อยสารที่ช่วยให้ทรายไหลตัวเท่ากับ 9 วินาที หลังจากนั้นจึงทำการทดสอบเพื่อยืนยันผลที่ได้จากค่าการปรับตั้งเครื่องจักรใหม่ พร้อมทั้งจัดทำแผนควบคุม วิธีการปฏิบัติงาน และใบตรวจสอบ เพื่อใช้ในการควบคุมปัจจัยในกระบวนการผสมและค่าคุณสมบัติที่สำคัญของทรายเคลือบเรซินให้อยู่ในเกณฑ์การยอมรับที่ทางโรงงานกำหนดไว้ ผลการปรับปรุงที่ได้จะใช้ค่าดัชนีชี้วัดความสามารถของกระบวนการ (Cpk) เป็นตัวเปรียบเทียบค่าคุณสมบัติก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง โดยพบว่าค่า Cpk ของความทนแรงดัดโค้งมีค่าเพิ่มขึ้นจาก -0.69 เป็น 0.54 ค่า Cpk ของปริมาณการสูญเสียหลังการเผามีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.01 เป็น 1.12 ค่า Cpk ของอุณหภูมิต่ำสุดที่ทรายเริ่มเซตตัวมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.78 เป็น 1.18 ค่า Cpk ของแก๊สมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.38 เป็น 1.29 ค่า Cpk ของการขยายตัวทางความร้อนมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.53 เป็น 0.54 ค่า Cpk ของความโก่งงอของชิ้นงานมีค่าเพิ่มขึ้นจาก -0.28 เป็น 0.01 ค่า Cpk ของพีลแบคมีค่าเพิ่มขึ้นจาก 0.06 เป็น 0.26 และค่า Cpk ของความหนาของผนังมีค่าเพิ่มขึ้นจาก -0.07 เป็น 0.75 นอกจากนี้ยังช่วยให้ทางโรงงานสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้เท่ากับ 236,058.91 บาทต่อปี


ผลกระทบของระยะเวลาในการนอนหลับต่อความสามารถในการทรงตัวของเพศชายในวัยทำงาน, คณิน คล้ายทับทิม Jan 2017

ผลกระทบของระยะเวลาในการนอนหลับต่อความสามารถในการทรงตัวของเพศชายในวัยทำงาน, คณิน คล้ายทับทิม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สาเหตุหนึ่งของปัญหาด้านความปลอดภัยและคุณภาพในการทำงานของมนุษย์นั้น คือการพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ซึ่งในปัจจุบันการตรวจจับความพร้อมของพนักงาน (บุคคล) ก่อนเริ่มต้นการทำงานนั้น ยังไม่สามารถตรวจจับความไม่พร้อมอันเนื่องมาจากการนอนน้อยได้ แต่เนื่องจากระยะเวลาในการนอนหลับจะส่งผลต่อความสามารถในการทรงตัวของมนุษย์ จึงได้ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการทรงตัวในท่ายืนตรงกับระยะเวลาของการนอนหลับ โดยอาศัยวีอ์บาลานซ์บอร์ด (Wii Balance Board) เพื่อตรวจวัดตำแหน่งของจุดศูนย์กลางความดัน (COP) ในท่ายืน ผู้เข้าร่วมการทดลองเป็นอาสาสมัคร 6 คนจากพนักงานในฝ่ายผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง เข้าร่วมการทดสอบสมรรถนะในการทรงตัว 2 วิธี ได้แก่ วิธีการทดสอบเชิงคลินิกดัดแปลงเพื่อทดสอบปฏิสัมพันธ์ของการรับรู้ความรู้สึกในการทรงตัว (mCTSIB) และวิธีการประเมินสมรรถนะแบบฟิตส์ (Fitts' Performance Test) ระยะเวลาในการนอนหลับของผู้เข้าร่วมถูกบันทึกด้วยแบบสอบถามการนอนหลับร่วมกับการวัดด้วยเครื่องติดตามกิจกรรมแบบสายรัดข้อมือ (Activity tracker) เพื่อบันทึกระยะเวลาในการนอนหลับ ผลการศึกษาพบว่า ระยะเวลาในการนอนหลับมีผลกระทบต่อความสามารถในการทรงตัวที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 สำหรับทั้ง 2 วิธีการทดสอบ โดยพบว่าตัวชี้วัดพื้นที่สนับสนุนการทรงตัว (SS) และค่าระยะทางการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางความดัน (SL) จากวิธีทดสอบแบบ mCTSIB มีค่าเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อผู้เข้าร่วมการทดลองมีระยะเวลาในการนอนหลับที่ลดลง โดยตรวจพบความเปลี่ยนแปลงเมื่อมีการนอนหลับ 6 ชั่วโมงต่อวัน สำหรับวิธีทดสอบสมรรถนะแบบ Fitts พบว่าตัวชี้วัดดัชนีสมรรถนะ (IP) ของผู้เข้าร่วมการทดลองที่มีการนอนหลับที่ 6 ชั่วโมงต่อวัน จะมีค่าลดลงจนตรวจพบความเปลี่ยนแปลงได้ สรุปได้ว่าระยะเวลาในการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ ( 6 ชั่วโมงต่อวันหรือน้อยกว่า) จะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทรงตัว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงการวัดความสามารถในการทรงตัวสามารถนำมาใช้ทดสอบความพร้อมของบุคคลก่อนการเริ่มทำงาน เพื่อตรวจจับความผิดปกติของการทรงตัวอันเนื่องมาจากการพักผ่อนที่ไม่เพียงพออันอาจส่งผลต่อประสิทธิภาพและความปลอดภัยในการทำงาน


การแก้ปัญหาการจัดตารางปฏิบัติงานนักบินของสายการบินราคาประหยัดโดยใช้วิธีเมตาฮิวริสติก, กนกพร อารยิกานนท์ Jan 2017

การแก้ปัญหาการจัดตารางปฏิบัติงานนักบินของสายการบินราคาประหยัดโดยใช้วิธีเมตาฮิวริสติก, กนกพร อารยิกานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันจำนวนเที่ยวบินของสายการบินราคาประหยัดมีเพิ่มมากขึ้นตามความต้องการของลูกค้าที่นิยมเดินทางด้วยเครื่องบิน ต้นทุนฝ่ายปฏิบัติการด้านพนักงานมีค่าใช้จ่ายสูงเป็นอันดับสองรองจากน้ำมันแต่ด้วยทรัพยากรที่มีอย่างจำกัดจึงจำเป็นต้องจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสม งานวิจัยนี้จึงเป็นการแก้ปัญหาการจัดสรรนักบินที่สามารถปฏิบัติการบินในแต่ละรูปแบบเที่ยวบินในตารางรายเดือนได้ ปัญหานี้มีความซับซ้อนทั้งกฏและข้อบังคับที่ต้องพิจารณาเป็นข้อจำกัดหลักและรอง ทั้งนี้ จะต้องเป็นไปตามตามประกาศกรมการบินพลเรือนตามประกาศอย่างเคร่งครัด เนื่องจากเป็นสายการบินราคาประหยัดจึงมุ่งเน้นที่จะลดค่าใช้จ่าย นอกจากนี้งานวิจัยจึงมีเป้าหมายที่จะช่วยปรับภาระงาน จัดสรรตารางงานนักบินของระดับงานอาวุโส และปรับการกระจายรูปแบบเที่ยวบินให้นักบินแต่ละคนเท่าเทียมกันอีกด้วย ปัญหาการจัดตารางปฏิบัติงานเป็นปัญหาที่มีขนาดใหญ่และข้อจำกัดหลายด้านจึงเสนอวิธีเมตาฮิวริสติกเพื่อการจัดตารางปฏิบัติงานนักบินของสายการบินราคาประหยัด อัลกอริทึมแบบผสมระหว่างวิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนกร่วมกับอัลกอริทึมการผสมพันธุ์ผึ้ง (MOEA/D-HBMO) จึงถูกประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหามากวัตถุประสงค์และการจัดตารางปฏิบัติงานนักบินที่ซับซ้อนนี้ ผลที่ได้จากงานวิจัยพบว่าอัลกอริทึม MOEA/D-HBMO มีประสิทธิภาพดีที่สุดทั้งปัญหาขนาดเล็ก กลาง และใหญ่


การจัดตารางการทำงานของพนักงานศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าโดยใช้เทคนิคการแยกส่วนปัญหา, เนตรนาวี อ่ำอินทร์ Jan 2017

การจัดตารางการทำงานของพนักงานศูนย์บริการข้อมูลลูกค้าโดยใช้เทคนิคการแยกส่วนปัญหา, เนตรนาวี อ่ำอินทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดตารางการทำงานของพนักงานโดยการมอบหมายพนักงานลงรูปแบบการเข้างานเพื่อให้มีต้นทุนในการจ้างพนักงานต่ำที่สุด การมอบหมายพนักงานลงรูปแบบการเข้างานนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขการทำงานต่างๆ เช่น ระยะเวลาในการทำงาน เวลาในการหยุดพัก เป็นต้น แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ได้ถูกนำมาใช้ในการหาคำตอบของปัญหา แต่เนื่องจากความซับซ้อนของปัญหาส่งผลให้เวลาที่ใช้ในการหาคำตอบเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อขนาดของปัญหาใหญ่ขึ้น ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดในการแบ่งปัญหาออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 การหาจำนวนพนักงานที่ต้องการในแต่ละรูปแบบการเข้างานให้เพียงพอต่อความต้องการใน 1 เดือนโดยความต้องการพนักงานนี้จะขึ้นอยู่กับจำนวนพนักงานที่ต้องการในแต่ละช่วงเวลา ปัญหาส่วนที่ 2 คือการมอบหมายพนักงานลงรอบการเข้างาน และปัญหาส่วนที่ 3 คือการมอบหมายพนักงานลงรูปแบบการเข้างาน ผลการวิจัยพบว่าวิธีการที่นำเสนอให้ค่าวัตถุประสงค์ซึ่งได้แก่ต้นทุนการทำงานล่วงเวลาและค่าเดินทางของพนักงานที่น้อยกว่าวิธีการปัจจุบันของธนาคารในทุกตัวอย่างปัญหา โดยค่าวัตถุประสงค์รวมของทุกปัญหาลดลง 176,783 บาทต่อเดือน และค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างค่าวัตถุประสงค์ของทุกปัญหาที่ได้จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และวิธีการปัจจุบันของธนาคารต่างกันร้อยละ 25.97 การเพิ่มจำนวนกะการทำงานจาก 18 กะงานเป็น 25 กะงานส่งผลให้ค่าวัตถุประสงค์รวมของทุกปัญหาลดลง 50,295 บาทต่อเดือน และค่าเฉลี่ยความแตกต่างระหว่างค่าวัตถุประสงค์ของก่อนและหลังการเพิ่มจำนวนกะการทำงานของพนักงานต่างกันร้อยละ 9.93 การเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้สามารถบริการลูกค้าได้มากกว่าหนึ่งงานหรือมีหลายทักษะงานส่งผลให้ต้นทุนที่เกี่ยวข้องในการจ้างพนักงานลดลงและสามารถลดจำนวนพนักงานที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานลงด้วยเนื่องจากพนักงานหลายทักษะสามารถให้บริการงานแก่ลูกค้าได้หลายงานในช่วงเวลาเดียวกัน ทั้งนี้การเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้ค่าวัตถุประสงค์ที่ดีกว่าการแยกงานของพนักงานร้อยละ 63.71 หรือ 581,363 บาทต่อเดือน


การออกแบบและพัฒนาระบบจัดการการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน, กฤษฎา โพธิ์นิ่มแดง Jan 2017

การออกแบบและพัฒนาระบบจัดการการดูแลผู้ป่วยที่บ้าน, กฤษฎา โพธิ์นิ่มแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Health Care) เป็นการดูแลผู้ป่วยให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ภายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล โดยอาศัยการทำงานระหว่างเครือข่ายโรงพยาบาลเพื่อกระจายผู้ป่วยจากโรงพยาบาลศูนย์ไปยังหน่วยเยี่ยมบ้านของโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในแต่ละพื้นที่ โดยจากการศึกษาเครือข่ายสุขภาพในจังหวัดชลบุรี พบว่าการส่งข้อมูลในระบบทั้งในแง่การไหลของข้อมูลและระบบที่สนับสนุนการดำเนินงานยังไม่สามารถทำให้เครือข่ายสถานพยาบาลทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งพบปัญหาได้จากการส่งข้อมูลล่าช้าจากบุคลากรเครือข่ายอันส่งผลให้การออกเยี่ยมบ้านครั้งแรกหลังจำหน่ายของผู้ป่วยมีความล่าช้าเกินกว่ามาตรฐานที่สถานพยาบาลกำหนด รวมไปถึงขาดความสามารถในการติดตามการออกเยี่ยมผู้ป่วยที่ส่งตัวในระบบ และยังมีระบบการจัดเก็บและบันทึกข้อมูลที่ไม่เหมาะสมกับการใช้งานจริง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบการจัดการการดูแลผู้ป่วยที่บ้านที่ชื่อว่า ChonburiCare เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาข้างต้นได้ ผลจากการพัฒนาพบว่า ChonburiCare สามารถทำให้การส่งข้อมูลผู้ป่วยในระบบรวดเร็วมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงสามารถทำให้บุคลากรในเครือข่ายสามารถติดตามการดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้น และบันทึกข้อมูลภายในระบบได้อย่างสะดวกและครบถ้วนยิ่งขึ้น


การประเมินความเหมาะสมของวัตถุดิบชีวมวลในการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดตามแนวคิดผลิตภาพสีเขียว, เลิศทัศนีย์ อยู่วัฒนา Jan 2017

การประเมินความเหมาะสมของวัตถุดิบชีวมวลในการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดตามแนวคิดผลิตภาพสีเขียว, เลิศทัศนีย์ อยู่วัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชีวมวลที่นำมาผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดในการศึกษานี้ ได้แก่ เศษไม้กระถิน (A) เศษไม้ยูคาลิปตัส (B) เนื่องจากเป็นไม้โตเร็ว แกลบ (C) และเถ้าชานอ้อย (D) เนื่องจากเป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรที่มีปริมาณจำนวนมาก ซึ่งมลสารอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นจากการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดจากไม้คือสารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) มีผลกระทบทางชีวภาพและเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ดังนั้น ในการประเมินความเหมาะสมในการนำวัตถุดิบชีวมวลมาใช้ผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด จึงได้นำแนวคิดผลิตภาพสีเขียว (Green Productivity) ซึ่งพิจารณาใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความสามารถในการทํากําไร พิจารณาจากปัจจัยนําเข้า ได้แก่ ต้นทุนการผลิต คือ ราคาวัตถุดิบ และต้นทุนการใช้พลังงานในการผลิตเชื้อเพลิงอัดเม็ดของแต่ละวัตถุดิบ ด้านคุณภาพ พิจารณาจากค่ามาตรฐานการผลิตชีวมวลอัดเม็ด และด้านสิ่งแวดล้อม พิจารณาจากผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งพิจารณาจากปริมาณ VOCs จากวัตถุดิบที่ใช้ โดยการออกแบบการทดลองแบบซิมเพล็กซ์เซนทรอยด์ (Simplex Centroid Design) และวิเคราะห์ผลโดยวิธีวิเคราะห์ถดถอย (Regression Analysis) ได้สมการต้นทุนการผลิต ด้านคุณภาพการผลิต และด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งพบว่าการผสมเถ้าชานอ้อยในชีวมวลอัดเม็ดจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง การผสมชีวมวลอัดเม็ดที่ผสมแกลบและเถ้าชานอ้อยในชีวมวลอัดเม็ด จะทำให้ค่าความร้อน และปริมาณ VOCs ลดลง โดยการผลิตชีวมวลอัดเม็ดตามแนวคิดผลิตภาพสีเขียวจากวัตถุดิบชีวมวล จะมีต้นทุนการผลิต 1,100-1,200 บาท/ตัน มีค่าความร้อน 14.7 -16.7 MJ/kg และมีปริมาณ VOCs 50-70 % ซึ่งสัดส่วนการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดที่เหมาะสมมีสัดส่วน ได้แก่ กระถิน80% : เถ้าชานอ้อย 20% ยูคาลิปตัส 80%: เถ้าชานอ้อย20% และ ยูคาลิปตัส70% : แกลบ15% : เถ้าชานอ้อย15% ตามลำดับ


การแก้ปัญหาการจัดสมดุลและจัดสรรพนักงานหลายทักษะบนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมลักษณะขนานแบบมากวัตถุประสงค์, ชินวิชญ์ สินธุเดชากุล Jan 2017

การแก้ปัญหาการจัดสมดุลและจัดสรรพนักงานหลายทักษะบนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมลักษณะขนานแบบมากวัตถุประสงค์, ชินวิชญ์ สินธุเดชากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การจัดสมดุลและจัดสรรพนักงานหลายทักษะบนสายการประกอบผลิตภัณฑ์ผสมลักษณะขนานแบบมากวัตถุประสงค์ภายใต้ปัญหาประเภทที่ 2 โดยทักษะที่หลากหลายเกิดจากความทุพพลภาพของและความชำนาญของพนักงาน ซึ่งถือว่าเป็นปัญหาแบบเอ็นพีแบบยาก (NP-hard) ทำให้เป็นไปได้ยากที่จะได้คำตอบที่ดีที่สุด (Optimal Solution) ในระยะเวลาที่จำกัด โดยวิธีที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาลักษณะนี้ คือวิธีการทางฮิวริสติก งานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการแบบผสมระหว่างวิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนกร่วมกับอัลกอริทึมการบรรจวบโดยมี (A Hybrid Multi-Objective Evolutionary and Combinatorial Optimization with Coincidence Algorithm with Template : AMOEA/D-COIN/WT) มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาโดยมีจำนวนวัตถุประสงค์ทั้งสิ้น 4 วัตถุประสงค์ ซึ่งจะพิจารณาค่าที่เหมาะสมที่สุดไปพร้อมๆกัน ได้แก่ ได้แก่ รอบเวลาดำเนินการน้อยที่สุด จำนวนสถานีน้อยที่สุด ความแตกต่างของภาระงานระหว่างสถานีงานน้อยที่สุด และความไม่เกี่ยวเนื่องกันของขั้นงานน้อยที่สุด พร้อมกันนี้ได้ทำการเปรียบเทียบสมรรถนะของ AMOEA/D-COIN/WT กับอัลกอริทึมอื่นๆที่มีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้ ได้แก่ อัลกอริทึมการบรรจวบ (COIN) และ วิธีการเชิงวิวัฒนาการแบบหลายวัตถุประสงค์โดยยึดหลักการจำแนก (MOEA/D) โดยตัวชี้วัดสมรรถนะทั้งหมด 6 ตัว ผลที่ได้จากการทดลองคือ อัลกอริทึม AMOEA/D-COIN/WT สามารถค้นพบคำตอบในแต่ละฟังก์ชันวัตถุประสงค์ที่มีค่าต่ำที่สุดที่ดีกว่าในเกือบทุกโจทย์ปัญหา ส่วนในด้านของตัวชี้วัดนั้น อัลกอริทึม AMOEA/D-COIN/WT มีสมรรถนะในการแก้ปัญหาที่ดีกว่า COIN และ MOEA/D ในด้านการลู่เข้าหาคำตอบที่แท้จริงของทุกโจทย์ปัญหาตัวอย่างที่นำมาวิจัย ซึ่งเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญที่สุดในการแก้ปัญหาแบบมากวัตถุประสงค์ ถึงแม้การกระจายตัวของกลุ่มคำตอบและจำนวนของคำตอบที่ไม่ถูกครอบงำจะไม่ดีเท่า COIN และใช้เวลาในการค้นหาคำตอบที่นานกว่า COIN และMOEA/D แต่ยังอยู่ในช่วงเวลาที่ยอมรับได้ (นานที่สุดไม่เกิน 1 ชั่วโมง)


การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากตะกอนบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมเบียร์ร่วมกับวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล, ปริญญ์รัฐ หนูสงค์ Jan 2017

การผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากตะกอนบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมเบียร์ร่วมกับวัสดุเหลือใช้จากกระบวนการผลิตไบโอดีเซล, ปริญญ์รัฐ หนูสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเงื่อนไขในกระบวนการคาร์บอไนซ์และสัดส่วนผสมในการผลิตเชื้อเพลิงอัดแท่งจากกากตะกอนบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมเบียร์ร่วมกับวัสดุเหลือใช้จากการผลิตไบโอดีเซล ได้แก่ กากดินฟอกสีและกลีเซอรอลดิบ ในงานวิจัยนี้ได้แบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน (1) ศึกษาเงื่อนไขในการคาร์บอไนซ์กากตะกอนบำบัดน้ำเสียที่มีผลต่อปริมาณคาร์บอนคงตัวในระดับสูงด้วยวิธีการออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียล โดยมีปัจจัยนำเข้า ได้แก่ อุณหภูมิและเวลาในการคาร์บอไนซ์ระหว่าง 100 ถึง 700 องศาเซลเซียส และเวลา 10 ถึง 120 นาที ตามลำดับ (2) ศึกษาเงื่อนไขของสัดส่วนผสมระหว่างกากตะกอนบำบัดน้ำเสีย กากดินฟอกสี และกลีเซอรอลดิบที่มีผลต่อปริมาณคาร์บอนคงตัวและค่าความร้อนในระดับสูงด้วยวิธีการออกแบบการทดลองแบบผสม (3) คำนวณผลิตภาพด้านพลังงานของเชื้อเพลิงอัดแท่ง จากการวิจัยพบว่า (1) เงื่อนไขที่เหมาะสมในการคาร์บอไนซ์กากตะกอนบำบัดน้ำเสีย คือ อุณหภูมิ 350 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 30 นาที โดยเงื่อนไขดังกล่าวมีปริมาณคาร์บอนคงตัวสูงสุดร้อยละ 10.01 ± 0.30 โดยน้ำหนัก (2) เงื่อนไขที่เหมาะสมของสัดส่วนผสมระหว่างกากตะกอนบำบัดน้ำเสียร่วมกับกากดินฟอกสี โดยมีกลีเซอรอลดิบเป็นตัวเชื่อมประสานที่ร้อยละ 30 ของของผสม พบว่าอัตราส่วนกากตะกอนบำบัดน้ำเสียร้อยละ 95 ต่อกากดินฟอกสีร้อยละ 5 ให้ปริมาณคาร์บอนคงตัวสูงสุดร้อยละ 3.05 ± 0.05 โดยน้ำหนัก และค่าความร้อนสูงสุด 3,548.10 กิโลแคลอรี่ต่อกิโลกรัม (3) ผลิตภาพด้านพลังงานหรือสัดส่วนของค่าพลังงานของเชื้อเพลิงอัดแท่งที่ได้ต่อค่าพลังงานไฟฟ้าที่ใช้ในการผลิตมีค่าสูงสุดเท่ากับ 11.29