Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education

Theses/Dissertations

2019

Institution
Keyword
Publication
File Type

Articles 4411 - 4434 of 4434

Full-Text Articles in Entire DC Network

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ, ภัทรวดี สุวรรณศร Jan 2019

แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ, ภัทรวดี สุวรรณศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์วิชาดนตรีหลักสูตรอังกฤษในโรงเรียนนานาชาติ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ ประกอบไปด้วย (1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ (2) กิจกรรมที่เหมาะสม (3) บทเพลงที่คัดสรร (4) การประเมินผล กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มที่ 1 ผู้สอนดนตรีไทยในต่างประเทศ 3 ท่าน กลุ่มที่ 2 ผู้สอนดนตรีไทยในโรงเรียนนานาชาติ 3 ท่าน กลุ่มที่ 3 ผู้สอนดนตรีในโรงเรียนนานาชาติที่ดำเนินการสอนตามหลักสูตรอังกฤษ 3 ท่าน รวมทั้งหมด 9 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) เนื้อหาและทักษะดนตรีปรากฏในแต่ละช่วงชั้น สรุปได้ดังนี้ ช่วงชั้นที่ 1 ได้แก่ ทักษะการขับร้อง ทักษะการเล่น และทักษะการฟัง ช่วงชั้นที่ 2 ได้แก่ ทักษะการขับร้อง ทักษะการเล่น ทักษะการฟัง การประพันธ์เพลง การด้นสด การอ่านโน้ตดนตรี และประวัติศาสตร์ดนตรี ช่วงชั้นที่ 3 ได้แก่ ทักษะการขับร้อง ทักษะการเล่น และทักษะการฟัง การประพันธ์เพลง การด้นสด และ การอ่านโน้ตดนตรี ประวัติศาสตร์ดนตรี และ การประยุกต์ใช้องค์ประกอบดนตรี โดยการจัดเนื้อหาดนตรีในวิชาดนตรีของหลักสูตรอังกฤษนั้นเป็นแบบ Spiral Curriculum โดยเนื้อหาในการจัดเรียงนั้นมีความต่อเนื่อง เชื่อมโยงกัน โดยจะเพิ่มประสบการณ์เรียนรู้ให้ผู้เรียนให้ลึกซึ้งและกว้างขึ้นในแต่ละระดับชั้น 2) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ดนตรีไทยตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมในโรงเรียนนานาชาติ สรุปได้ดังนี้ (1) วัตถุประสงค์การเรียนรู้ ควรคำนึงถึงผู้เรียนและบริบทสังคมเป็นศูนย์กลางและศึกษาความแตกต่างทางวัฒนธรรมของผู้เรียนเพื่อหาลักษณะร่วมเพื่อใช้เป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอน (2) กิจกรรมที่เหมาะสม ควรมุ่งเน้นการลงมือปฏิบัติผ่านทักษะดนตรีต่าง ๆ พร้อมทั้งมุ่งเน้นทั้งด้านทักษะทางดนตรีและสุนทรียทางดนตรี กิจกรรมและเนื้อหาควรมีความหลายหลายทางวัฒนธรรม พร้อมทั้งเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อส่งเสริมความสำคัญของการเคารพและยอมรับในความแตกต่าง (3) บทเพลงที่คัดสรร ควรมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมโดยสอดแทรกเนื้อหาผ่านบทเพลงต่าง ๆ ทั้งนี้บทเพลงควรมีความง่ายและมีทำนองซ้ำเพื่อง่ายต่อผู้เรียนที่ไม่คุ้นชินกับเพลงไทย (4) การประเมินผล เป็นการประเมินผลตามสภาพจริงที่มีความยืดหยุ่นและสามารถประเมินผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันได้อย่างเหมาะสม โดยประเมินระหว่างเรียน หลังเรียนและประเมินการแสดงผลงานดนตรี


การพัฒนาการได้ยินภายในสำหรับการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายสำหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้น, ศุภ์กฤดญา อัศววีระเดช Jan 2019

การพัฒนาการได้ยินภายในสำหรับการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายสำหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้น, ศุภ์กฤดญา อัศววีระเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการได้ยินภายในสำหรับการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายสำหรับนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้นโดยสร้างแผนการจัดการเรียนรู้และนำไปพัฒนาตามผลการทดลองและคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยใช้ระเบียบวิจัยชั้นเรียน (action research) ใช้การคัดเลือกนักเรียนเปียโนระดับชั้นต้นที่มีอายุ 7-10 ปี จากสตูดิโอ บีบีพี มิวสิค (BBP MUSIC) จำนวน 10 คน แต่หลังจากเกิดเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ผู้วิจัยได้ทำปรับเปลี่ยนวิธีการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้เป็นการสอนออนไลน์ และมีผู้เรียนที่สะดวกเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 2 คน ในการพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลจากการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ ฉบับนำร่อง และจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการตีความ สร้างข้อสรุปแบบอุปนัยและนำเสนอเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาการได้ยินภายในสำหรับการอ่านโน้ตตามแนวคิดโคดายในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นเป็นเครื่องมือหลัก ซึ่งมีจำนวน 10 แผน แต่ละแผนใช้เวลา 30 นาที สำหรับเนื้อหาด้านจังหวะ ได้แก่ โน้ตตัวดำ เขบ็ดหนึ่งชั้น และโน้ตตัวหยุดตัวดำ โดยใช้การสอนตามรูปแบบจังหวะ ทา ทีที ด้านระดับเสียง ได้แก่ ลา ซอล มี เร โด ในการสอนและวัดประเมินผลเน้นทักษะด้านการอ่าน การร้อง และการฟัง โดยนำหลักการสอนตามแนวคิดโคดายที่สำคัญมาประยุกต์ใช้ในการสอน เช่น การใช้สัญญาณมือ การใช้สัญลักษณ์แทนจังหวะ และการอ่านรูปแบบจังหวะ ทา ทีที เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเอกสารประกอบการจัดการเรียนการสอนอื่น ๆ ได้แก่ โครงการสอนระยะยาว แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน 2) ในการสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาวิเคราะห์ข้อมูลและสร้างเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ ฉบับนำร่อง จากนั้นผู้วิจัยได้คัดเลือกบางส่วนไปทดลองใช้ เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนแล้วนำผลที่ได้มาพัฒนาเป็น แผนการจัดการเรียนรู้ ฉบับปรับปรุง จากนั้นผู้วิจัยได้นำไปให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำอีกครั้ง เพื่อพัฒนาเป็นแผนการจัดการเรียนรู้ (ฉบับสมบูรณ์) 3) ในการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นผ่านการเรียนการสอนออนไลน์ พบว่ามีข้อจำกัดในด้านสัญญาณอินเทอร์เน็ตจึงทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมที่ผู้สอนและผู้เรียนจำเป็นต้องมีปฏิสัมพันธ์กัน เช่น การร้องเพลงพร้อมกัน การปรบมือตามจังหวะ และการร้องออกเสียงสลับกับร้องในใจ 4) ในการทดลองใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่สร้างขึ้น พบว่า ผู้เรียนทั้งสองคนมีผลคะแนนจากการทดสอบหลังเรียนเพิ่มขึ้นในภาพรวม โดยเฉพาะในแบบทดสอบ ตอนที่ 1 ที่เป็นการวัดประเมินด้านจังหวะ และตอนที่ 4 …


การศึกษาสาระดนตรีพื้นบ้านในมาตรฐานผู้เรียน มาตรฐานผู้สอน มาตรฐานหลักสูตร และหลักสูตรดนตรีศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยและนานาชาติ, สุทิชา บุญโน Jan 2019

การศึกษาสาระดนตรีพื้นบ้านในมาตรฐานผู้เรียน มาตรฐานผู้สอน มาตรฐานหลักสูตร และหลักสูตรดนตรีศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตในสถาบันระดับอุดมศึกษาของประเทศไทยและนานาชาติ, สุทิชา บุญโน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดนตรีพื้นบ้านมีองค์ประกอบเฉพาะตัวที่สามารถสะท้อนตัวตนทางวัฒนธรรมของสังคม การศึกษาดนตรีพื้นบ้านส่งเสริมให้ผู้เรียนเข้าใจสังคม เคารพและเห็นคุณค่าในวัฒนธรรมของตนเองและผู้อื่น การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะทั่วไป และวิเคราะห์สาระดนตรีพื้นบ้านในมาตรฐานผู้เรียน มาตรฐานผู้สอน มาตรฐานหลักสูตร และ หลักสูตรดนตรีศึกษาของประเทศไทย สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และออสเตรเลีย การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเอกสารประกอบการสัมภาษณ์ ผลการศึกษา พบว่า การเรียนรู้สาระดนตรีพื้นบ้านปรากฏใน 2 รูปแบบ ประกอบด้วย 1) การเรียนรู้สาระดนตรีพื้นบ้านเชิงเนื้อหาซึ่งให้ความสำคัญกับสาระความรู้และทักษะดนตรีพื้นบ้าน และ 2) การเรียนรู้สาระดนตรีพื้นบ้านเชิงแนวคิดซึ่งให้ความสำคัญการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างดนตรีกับสังคมโดยอาศัยสาระความรู้และทักษะในดนตรีพื้นบ้านหลากหลายประเภทภายใต้กรอบแนวคิดพหุวัฒนธรรม ในแต่ละประเทศให้ความสำคัญกับสาระดนตรีพื้นบ้านในมาตรฐานผู้เรียน มาตรฐานผู้สอน มาตรฐานหลักสูตร และหลักสูตรดนตรีศึกษาในรูปแบบที่แตกต่างกันตามบริบททางสังคม ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และนโยบายทางการศึกษาของชาติ ผลการศึกษาสามารถนำไปปรับใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรดนตรีศึกษาของไทย โดยคำนึงถึงบริบทของหลักสูตรและความต้องการของสังคม


ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกายกับความฉลาดทางอารมณ์และความสุขของนักเรียนประถมศึกษา, ปกเกล้า อนันต์ Jan 2019

ความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกายกับความฉลาดทางอารมณ์และความสุขของนักเรียนประถมศึกษา, ปกเกล้า อนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับกิจกรรมทางกาย ความฉลาดทางอารมณ์และความสุขของนักเรียนประถมศึกษา 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างกิจกรรมทางกายกับ ความฉลาดทางอารมณ์และความสุขของนักเรียนประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5-6 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 482 คน ในกรุงเทพมหานคร ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการมีกิจกรรมทางกาย แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และแบบประเมินความสุข มีค่าความตรงเท่ากับ 0.99, 0.97 และ 0.99 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83, 0.90 และ 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ค่าความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนประถมศึกษามีกิจกรรมทางกายโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีกิจกรรมทางกายในการทำงานอยู่ในระดับมาก กิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันและในยามว่างอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ นักเรียนประถมศึกษามีความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และมีความสุขโดยรวมอยู่ในระดับคนทั่วไป 2) กิจกรรมทางกายกับความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ กิจกรรมทางกายกับความสุขของนักเรียนมีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับต่ำ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 สรุปผลการวิจัย นักเรียนประถมศึกษาส่วนใหญ่มีกิจกรรมทางกายอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นควรสนับสนุนให้นักเรียนวัยนี้มีกิจกรรมทางกายเพิ่มมากขึ้น และการมีกิจกรรมทางกายเพิ่มขึ้นยังเป็นการส่งเสริมความฉลาดทางอารมณ์และความสุขของนักเรียนเพิ่มขึ้นอีกด้วย


การพัฒนาโปรแกรมสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาพด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียนอาชีวศึกษา, ปุณรัตน์ พิพิธกุล Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมสุขศึกษาโดยใช้แนวคิดการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาและแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพเพื่อสร้างเสริมความฉลาดทางสุขภาพด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพของนักเรียนอาชีวศึกษา, ปุณรัตน์ พิพิธกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

No abstract provided.


การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีต่อการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา: การวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยน, ธำรงค์ บุญพรหม Jan 2019

การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีต่อการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา: การวิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยน, ธำรงค์ บุญพรหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ระดับการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 4) วิเคราะห์ความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่มีต่อการมีกิจกรรมทางกายระหว่างช่วงชั้นระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 5) นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมกิจกรรมทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาที่สอดคล้องกับโมเดลเชิงสาเหตุ กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ในเขตจังหวัดกรุงเทพมหานคร มี 4 กลุ่ม คือ นักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้นจำนวน 523 คน นักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 566 คน นักเรียนเรียนชายมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 568 คน และนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 543 คน ได้มาจากการสุ่มหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีความเที่ยงในการวัดตัวแปรแต่ละตัวตั้งแต่ .814-.962 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลสมมติฐานระหว่างช่วงชั้น ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1) นักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายมีระดับกิจกรรมทางกายในระดับปานกลาง และนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลายมีระดับกิจกรรมทางกายในระดับเบา 2) โมเดลเชิงสาเหตุของการมีกิจกรรมทางกายของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่พัฒนาขึ้นทั้ง 4 กลุ่ม มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยตัวแปรอิสระในโมเดลอธิบายสาเหตุของการมีกิจกรรมทางกายของกลุ่มนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 78 (Chi-square = 26.419, df = 17, p = 0.067, CFI = 0.997, TLI = 0.991) ตัวแปรอิสระในโมเดลอธิบายสาเหตุของการมีกิจกรรมทางกายของกลุ่มนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น คิดเป็นร้อยละ 36 (Chi-square = 24.00, df = 18, p = 0.155, CFI = 0.998, TLI = 0.993) ตัวแปรอิสระในโมเดลอธิบายสาเหตุของการมีกิจกรรมทางกายของกลุ่มนักเรียนชายมัธยมศึกษาตอนปลาย คิดเป็นร้อยละ 48 (Chi-square = 25.101, df = …


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ที่มีต่อภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, มนัสวี แขดวง Jan 2019

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ที่มีต่อภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, มนัสวี แขดวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ที่มีต่อภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติกับกลุ่มนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ที่มีต่อภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2 ห้อง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 31 คน และกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียนจำนวน 31 คน รวมทั้งสิ้น 62 คน โดยการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ 2) แบบประเมินภาวะผู้นำ และ3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนพลศึกษา การวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ที่มีต่อภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาตามแนวคิดธอร์นไดค์ที่มีต่อภาวะผู้นำและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีเอไอที่มีต่อพัฒนาการความสามารถกีฬาฟุตบอลและความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, พชรพล พรมมา Jan 2019

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีเอไอที่มีต่อพัฒนาการความสามารถกีฬาฟุตบอลและความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, พชรพล พรมมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความสามารถกีฬาฟุตบอลและความมีน้ำใจนักกีฬาระหว่างก่อนกับหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความสามารถกีฬาฟุตบอลและความมีน้ำใจนักกีฬาหลังการทดลอง ระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสาธิตในมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ด้วยวิธีแบบเจาะจง (Purposive Selection) จำนวน 40 คน โดยเป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน แบ่งกลุ่มทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีเอไอ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลาทั้งสิ้น 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีเอไอ (IOC = 0.88-0.90) แบบทดสอบความสามารถกีฬาฟุตบอล (IOC = 1.00) และแบบประเมินความมีน้ำใจนักกีฬา (IOC = 1.00) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถกีฬาฟุตบอลและความมีน้ำใจนักกีฬาของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่มการทดลองหลังการทดลอง พบว่า 2.1) ความสามารถกีฬาฟุตบอลหลังการทดลองของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกับกลุ่มควบคุมที่นัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 2.2) ความมีน้ำใจนักกีฬาหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปว่า การจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือด้วยเทคนิคทีเอไอช่วยพัฒนาความสามารถกีฬาฟุตบอลและความมีน้ำใจนักกีฬาในนักเรียนได้


ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, วิไลวรรณ ศิริอรรถ Jan 2019

ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, วิไลวรรณ ศิริอรรถ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิพากษ์ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและของนักเรียนกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงวิพากษ์หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 64 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน จำนวน 32 คน และกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาแบบปกติ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้แนวคิดห้องเรียนกลับด้าน จำนวน 8 แผน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการคิดเชิงวิพากษ์ ระยะเวลาในการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการทดลองไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการคิดเชิงวิพากษ์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาด้วยการฝึกแบบสถานีที่มีต่อทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น, ชญานันทน์ ไทรศักดิ์สิทธิ์ Jan 2019

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาด้วยการฝึกแบบสถานีที่มีต่อทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น, ชญานันทน์ ไทรศักดิ์สิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลของคะแนนทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานก่อนและหลังการทดลองของคะแนนทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของคะแนนทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานหลังการทดลองของกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง ทำการเลือกนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนระดับประถมศึกษา ที่มีอายุระหว่าง 8-9 ปี ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) จากนั้นทำการจัดนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยการสุ่มห้องเรียนจำนวน 2 ห้อง จากจำนวน 3 ห้อง ด้วยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) โดยการจับฉลาก จำนวน 64 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลองจำนวน 32 คน กลุ่มควบคุมจำนวน 32 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาด้วยการฝึกแบบสถานี ส่วนนักเรียนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามปกติ ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 60 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) คือ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การฝึกแบบสถานี จำนวน 8 แผน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.92-0.97 2) แบบประเมินทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.95 และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน โดยทดสอบค่าที (t-test) ก่อนและหลังทำการทดลอง แล้วทำการทดสอบทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ก่อนและหลังการทดลอง ด้วยแบบประเมินทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่าการจัดการเรียนรู้พลศึกษาด้วยการฝึกแบบสถานีสามารถพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานของนักเรียนประถมศึกษาตอนต้น ทำให้นักเรียนประถมศึกษาตอนต้นมีทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่ดีขึ้น


ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงบริหารของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, มนทรัตน์ สุจีรกุลไกร Jan 2019

ผลการจัดการเรียนรู้สุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงบริหารของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, มนทรัตน์ สุจีรกุลไกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงบริหารก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการคิดเชิงบริหารหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน ที่ได้จากการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานจำนวน 40 คนและกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานจำนวน 8 แผน และแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ และการคิดเชิงบริหาร ระยะเวลาในการดำเนินการวิจัย 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการคิดเชิงบริหารหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการคิดเชิงบริหารหลังการทดลองของกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และการคิดเชิงบริหารของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และทฤษฎีการตั้งเป้าหมายสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พีชาณิกา เพชรสังข์ Jan 2019

การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และทฤษฎีการตั้งเป้าหมายสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พีชาณิกา เพชรสังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และทฤษฎีการตั้งเป้าหมายสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ 2) ประเมินคุณภาพของโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และทฤษฎีการตั้งเป้าหมายสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีระยะเวลาในการทดลองใช้โปรแกรมที่พัฒนาขึ้น 15 สัปดาห์ ซึ่งมีนักศึกษากลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามทั่วไป แบบวัดพฤติกรรมการเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน และแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว วิเคราะห์ความแปรปรวนสองทางและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมีหลักการ 4 ประการ คือ 1) หลักการกำหนดเป้าหมายด้วยตนเอง 2) หลักการรับรู้ความสามารถของตนเองและการมั่นว่าทำได้ 3) หลักการวางแผนการทำงาน 4) หลักการการประเมินตนเอง มีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ซึ่งเนื้อหาที่ใช้ในโปรแกรมมีดังนี้ 1) การกำหนดเป้าหมาย 2) การรับรู้ความสามารถของตนเอง 3) ความเชื่อมั่นในอำนาจแห่งตน 4) การวางแผนการทำงาน และ 5) การกำกับและประเมินตนเอง โดยขั้นตอนของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 2) คิดและเชื่อในความสามารถและความพยายามของตนเอง 3) วางแผนเพื่อดำเนินการ 4) ทำตามแผนอย่างมุ่งมั่น และ 5) ประเมินและสะท้อนคิด การดำเนินการใช้โปรแกรมประกอบด้วย 3 ระยะ ได้แก่ ก่อนใช้โปรแกรม ระหว่างใช้โปรแกรม และหลังใช้โปรแกรม การวัดและประเมินพฤติกรรมการเรียนดำเนินการวัดก่อน ระหว่างและหลังเข้าร่วมโปรแกรม โดยใช้แบบสอบถามทั่วไป แบบวัดพฤติกรรมการเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนและแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมการเรียน 2. นักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรมมีพฤติกรรมการเรียนหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม และหลังเข้าร่วมโปรแกรมสูงกว่าระหว่างเข้าร่วมโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อจำแนกตามลักษณะชีวสังคมภูมิหลัง พบว่า ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมนักศึกษาที่มีลักษณะชีวสังคมภูมิหลังแตกต่างกันมีพฤติกรรมการเรียนไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักศึกษาที่เข้าร่วมโปรแกรมเสริมสร้างพฤติกรรมการเรียนโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์และทฤษฎีการตั้งเป้าหมายมีพฤติกรรมการเรียนที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมโดยมีพฤติกรรมการเรียนที่เหมาะสมมากขึ้น


การพัฒนาความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสาระรายวิชาด้วยโปรแกรมฝึกอบรมที่ใช้แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้เชิงรุก, ฐนัส มานุวงศ์ Jan 2019

การพัฒนาความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสาระรายวิชาด้วยโปรแกรมฝึกอบรมที่ใช้แนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้เชิงรุก, ฐนัส มานุวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมฝึกอบรมตามแนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์และการเรียนรู้เชิงรุกในการพัฒนาความสามารถการออกแบบการเรียนการสอน ที่บูรณาการหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับสาระรายวิชา และ 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกอบรมฯ งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มเป้าหมายเป็นอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษาทางทหาร จำนวน 8 นาย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม แบบทดสอบและแบบสอบถาม และรายงานการจดบันทึก โดยใช้ระยะเวลาฝึกอบรมร่วมกับการเก็บข้อมูล 3 สัปดาห์ จากการสอบถาม การสัมภาษณ์ การเสวนากลุ่มย่อย การสังเกตการณ์ และการถอดบทเรียนร่วมกับกลุ่มเป้าหมาย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย และการเลือกข้อมูลเพื่อแสดงหลักฐาน ผลการวิจัยพบว่า โปรแกรมการฝึกอบรมฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน ที่บูรณาการหลักปรัชญาฯ กับสาระรายวิชา โดยมีหลักการ วัตถุประสงค์ ผลการเรียนรู้ ตลอดจนการวัดและประเมินผล อันเป็นไปตามแนวคิดการศึกษาแบบเน้นผลลัพธ์ และมีการกำหนดวิธีการฝึกอบรม โดยเลือกใช้กิจกรรมที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ตามหลักการของแนวคิดการเรียนรู้เชิงรุก ระยะการดำเนินการมี 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การกำหนดเป้าหมายในการออกแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การดำเนินการฝึกปฏิบัติที่มีความใส่ใจต่อผู้อื่น และระยะที่ 3 การสรุปผลการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาการออกแบบการเรียนการสอน ส่วนประสิทธิผลของโปรแกรมฝึกอบรมฯ พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีพัฒนาการของความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนที่บูรณาการหลักปรัชญาฯ กับสาระรายวิชา ทั้ง 9 ด้าน รวมทั้งมีพัฒนาการที่สะท้อนอัตลักษณ์ตามหลักการของโปรแกรมฝึกอบรม ได้แก่ การจัดทรัพยากรการสอนอย่างสมดุล การร่วมมือในการพัฒนาเป็นหมู่คณะ และการออกแบบการสอนที่ตระหนักถึงคุณธรรม จริยธรรม และคุณค่าสิ่งแวดล้อม


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, เธียรดนัย เสริมบุญไพศาล Jan 2019

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, เธียรดนัย เสริมบุญไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยและพัฒนาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต แบ่งการดำเนินการเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการวางแผนกลยุทธ์และการคิดนอกกรอบ ระยะที่ 3 การศึกษาผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 4 การปรับปรุงแก้ไขและพัฒนากระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นหลังการทดลองใช้ กลุ่มตัวอย่างวิจัยได้จากการเลือกแบบเจาะจง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งลงทะเบียนในรายวิชาเคมีผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ ระยะเวลาดำเนินการทดลอง 15 สัปดาห์ รวม 60 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีและแบบบันทึกการเรียนรู้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าที และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ว่า กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต มีขั้นตอนของกระบวนการ 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ 1 ระบุเป้าหมายจากปัญหา ขั้นที่ 2 วิเคราะห์ตนและกำหนดกลยุทธ์ ขั้นที่ 3 ดำเนินกลยุทธ์เพื่อนวัตกรรม ขั้นที่ 4 ตรวจสอบผลการใช้กลยุทธ์ ผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่า นักศึกษามีระดับของความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์ดี มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 78.41 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 11.74 และมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่า นักศึกษาที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนการสอนที่สร้างขึ้นมีความสามารถในการสร้างนวัตกรรมทางเคมีสูงขึ้น สามารถสร้างนวัตกรรมทางเคมีจากการระบุปัญหาของกลุ่มเป้าหมายอย่างแท้จริง พร้อมทั้งวางแผนสร้างผลงานผสมผสานด้วยองค์ความรู้ทางด้านเคมีอย่างเป็นระบบด้วยแนวทางที่เหมาะสมกับตนเอง เพื่อนำไปสู่นวัตกรรมที่แก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ


The Impact Of Using Selected Art Therapy Approaches On Students Diagnosed On The Autism Spectrum (As) Or With Behavioral Disabilities (Bd) In An Elementary School Art Classroom., Amie Dawn Perriello Jan 2019

The Impact Of Using Selected Art Therapy Approaches On Students Diagnosed On The Autism Spectrum (As) Or With Behavioral Disabilities (Bd) In An Elementary School Art Classroom., Amie Dawn Perriello

Graduate Theses, Dissertations, and Problem Reports

Students with autism and behavior disorders frequently have a difficult time communicating with their teachers and peers. Art can serve as a vehicle for communication while supporting strengths and encouraging self-esteem. Yet few art teachers have the specialized training needed to work with students on the spectrum, and we are often times left to our own intuition and devices on how to deal with these students. These students deserve greater individualized education, yet this can present a unique challenge to any classroom art teacher who does not have the training to deal with students who come from these special populations. …


An Assessment Of The Methods Used To Teach Content Skill Sets Required For The Introduction To Agriculture, Food, And Natural Resource Course, Lee I. Wright Jan 2019

An Assessment Of The Methods Used To Teach Content Skill Sets Required For The Introduction To Agriculture, Food, And Natural Resource Course, Lee I. Wright

Graduate Theses, Dissertations, and Problem Reports

Numerous studies have shown that students learn best when theory is applied to hands-on experiences. Traditionally, vocational agriculture, which evolved into agricultural education, has incorporated hands-on learning. For example, students typically raise livestock and crops as part of supervised agricultural experiences; learn to use chain saws, tractors, hay rakes, balers and other equipment found on farms; and basic metal working skills. They also sample soil and water to test for mineral levels and types of pollution that might affect agricultural practices. The purpose of this study, which incorporates a survey of agricultural education teachers in West Virginia, is to determine …


Stockmanship Education And Evaluation, John K. Yost Jan 2019

Stockmanship Education And Evaluation, John K. Yost

Graduate Theses, Dissertations, and Problem Reports

This dissertation documents two separate works. The first is an evaluation of WVU SFMS/SOIDC Large Animal Module and the second is the development and use of the Stockman’s Scorecard. The WVU SFMS/SOIDC Large Animal Module provides foundational information on food animal husbandry and veterinary procedures to SOF Combat Medic candidates. A quasi-experimental design was used to determine if the module content resulted in an increase in food animal production knowledge for the participants. Seventy-five percent of the subjects had no previous livestock exposure and only seven percent had previously participated in 4-H or FFA. Matched pair analysis determined that the …


Impact Of Parent Mentoring And Participation In First Robotics On Middle And High School Age Female Perceptions Of Engineering Careers, Kirsten Olson Jan 2019

Impact Of Parent Mentoring And Participation In First Robotics On Middle And High School Age Female Perceptions Of Engineering Careers, Kirsten Olson

Dissertations and Theses @ UNI

Female presence within engineering careers has been a growing concern for decades, as females continue to major in engineering at a far lesser rate than males. Females may be affected by many different environmental factors, from parental influence, early engineering experiences, negative stereotypes present in male dominated careers, and male dominant culture in content classes and the workplace. Researchers have explored ways in which the gender gap within engineering can be closed, such as heightening females’ self-efficacy and providing early STEM experiences. Early engineering experiences include the FIRST (For Inspiration and Recognition of Science and Technology) Programs, where students are …


Racial Microaggressions And Alienation Among Hmong American College Students, Bruce Yang Jan 2019

Racial Microaggressions And Alienation Among Hmong American College Students, Bruce Yang

All Graduate Theses, Dissertations, and Other Capstone Projects

Students of color continue to experience racism within institutions of higher education across the United States. These experiences often include racial microaggressions, which are evolved forms of racism that are subtle, difficult to detect, and harmful. Racial microaggressions have been found to be associated with several consequences including mental health, emotional, and physical problems (Dahlia & Lieberman, 2010; Connolly, 2011; Cheng, Tran, Miyake, & Kim, 2017). Furthermore, studies have also alluded to the potential relationship between racial microaggressions and the dimensions of alienation for student populations of color (Fissori, 2010; James, 1988; Lambert, Herman, Bynum, & Ialongo, 2009; Sauceda, 2010; …


Curso De Formación Básica Empresarial - Red Padres De Familia De La Universidad De La Salle, Jesús David Quintana Velásquez, Brandon Giovanny Ávila Adrada Jan 2019

Curso De Formación Básica Empresarial - Red Padres De Familia De La Universidad De La Salle, Jesús David Quintana Velásquez, Brandon Giovanny Ávila Adrada

Contaduría Pública

La Universidad de la Salle en su tarea altruista de trabajar por el bien del prójimo, desde el año 2005 a través de la Vicerrectoría de Promoción y Desarrollo Humano, la unidad de trabajo social y la Facultad de Ciencias Administrativas y Contables puso en marcha un programa de capacitación teórico-práctico para la creación e innovación de empresas dirigido a los padres de familia de los estudiantes de la Universidad, dicho curso es desarrollado e implementado por los estudiantes de últimos semestres de los programas de Administración de Empresas y Contaduría Pública como opción del desarrollo de su trabajo de …


Evaluating The Effects Of Tootling When Implemented In Special Education Classrooms Providing Behavior Supports, Jannine E. Ray Jan 2019

Evaluating The Effects Of Tootling When Implemented In Special Education Classrooms Providing Behavior Supports, Jannine E. Ray

All Graduate Theses, Dissertations, and Other Capstone Projects

Managing student misbehavior is often a challenge for teachers. Effective classroom behavior management strategies maximize academic instruction time and decrease disruptive behavior. One intervention that has proven to be effective in decreasing disruptive behavior, increasing prosocial behavior, and increasing on-task behavior in the general education classroom is tootling. There are no published studies that have applied tootling in a special education classroom, and this population could greatly benefit from such an intervention. The current study used a multiple baseline design across settings to examine the effectiveness of a tootling intervention in three special education classrooms with students who exhibit behavior …


Revoicing In Undergraduate Physics Education: A Case Study, Elizabeth Noël Olson Jan 2019

Revoicing In Undergraduate Physics Education: A Case Study, Elizabeth Noël Olson

All Graduate Theses, Dissertations, and Other Capstone Projects

When an instructor repeats or "revoices" the words or ideas that a student has just said, what is the instructor's goal? What results can this tactic bring? In order to lay the groundwork for a broader investigation of these questions, video recordings were viewed of one-on-one interviews of students populating a discussion-based modern physics-like course taken by non-physics science, technology, engineering, and mathematics (STEM) majors at a medium-sized public university. This work focuses on a one particular interview which reveals several functions of this revoicing technique. For the interview in question, revoicing instances were identified and put into three inflection …


Using Behavioral Skills Training To Teach Children With Autism To Seek Help From Law Enforcement Officers When Lost, Greta Kos Jan 2019

Using Behavioral Skills Training To Teach Children With Autism To Seek Help From Law Enforcement Officers When Lost, Greta Kos

All Graduate Theses, Dissertations, and Other Capstone Projects

Children with Autism Spectrum Disorder (ASD) are at an elevated risk of becoming lost in situations due to running away or wandering behaviors. When children with ASD become lost it may be difficult for them to effectively and efficiently seek help from community helpers in a safe manner due to communication deficits and poor social skills. This study aims to teach children with ASD how to identify when they are lost and how to seek help from police officers in the community by vocalizing the problem and using a communication card. Generalization probes were conducted with three children diagnosed with …


Teacher Awareness And Perceptions Of Social Media Use And Cyberbullying In Belize, Abbey Linderholm Jan 2019

Teacher Awareness And Perceptions Of Social Media Use And Cyberbullying In Belize, Abbey Linderholm

All Graduate Theses, Dissertations, and Other Capstone Projects

Intro: Cyberbullying and other problems related to social media are growing concerns across the world with increased access to technology at home and in schools. Several studies have suggested that although instances of cyberbullying have increased in schools, teachers and other school staff members lack awareness of and training in identifying and preventing instances of it from occurring. The current study investigates school staff member awareness and perceptions of social media use and cyberbullying across two districts in Belize. Methods: A written 47-question survey regarding social media use and awareness and perceptions of cyberbullying was given to voluntary participants across …