Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education

PDF

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2020

Articles 1 - 30 of 190

Full-Text Articles in Entire DC Network

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีรื้อสร้างและแนวคิดการโต้แย้งเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวิพากษ์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, สุธิญา พูนเอียด Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีรื้อสร้างและแนวคิดการโต้แย้งเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวิพากษ์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, สุธิญา พูนเอียด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีรื้อสร้างและแนวคิดการโต้แย้งเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการวิพากษ์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต และเพื่อประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 3 การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน และระยะที่ 4 การนำเสนอผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ในการประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน ผู้วิจัยนำรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักศึกษา จำนวน 30 คน ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการวิพากษ์ และเกณฑ์การประเมินความสามารถในการวิพากษ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการวิพากษ์ก่อน ระหว่าง และหลังการทดลอง โดยใช้สถิติทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ รวมทั้งได้วิเคราะห์เนื้อหาของข้อมูลจากแบบบันทึกการเรียนรู้ของผู้เรียน และแบบบันทึกผลการจัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการวิพากษ์ของนักศึกษาปริญญาบัณฑิต โดยมีหลักการ 5 ประการ คือ 1) การเรียนรู้โดยศึกษาเรื่องราว ปัญหา ประเด็นหรือสถานการณ์ที่มีลักษณะกำกวม ความคลุมเครือ หรือมีความหมายแฝง โดยเชื่อมโยงความรู้ และประสบการณ์เดิมเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ที่กำหนด 2) การเรียนรู้โดยฝึกแยกส่วนประกอบของสิ่งที่แตกต่าง เป็นคู่เด่น ไม่สอดคล้องหรือตรงกันข้ามในสถานการณ์เพื่อให้เห็นสิ่งที่ไม่ได้ให้ความสำคัญหรือละไว้และขยายฐานความคิดในการถอดรหัสของสารในสถานการณ์ 3) การเรียนรู้โดยจัดลำดับความสำคัญผ่านการแสวงหาข้อโต้แย้ง หลักฐาน และเหตุผลสนับสนุนจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ โดยคำนึงถึงประสบการณ์ ทัศนคติ น้ำเสียง และบริบททางสังคมเพื่อค้นหาคำตอบที่ยังมีข้อสงสัย 4) การเรียนรู้โดยใช้มุมมองที่แตกต่างและรอบด้านผ่านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนอันหลากหลายอย่างอิสระ โดยอธิบาย อภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตามลักษณะผู้เรียนเพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือ ความสมเหตุสมผล ข้อดีและข้อจำกัดในข้อกล่าวอ้างอันจะนำไปสู่การลงข้อสรุปที่เหมาะสม 5) การเรียนรู้โดยมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลที่เกิดขึ้นจากการยืนยันความคิด ให้มุมมองอื่น ให้ทางเลือกหรือสร้างความหมายใหม่ที่สมเหตุสมผล โดยมีข้อมูลและหลักฐานที่น่าเชื่อถือประกอบ เพื่อทำให้เกิดการยอมรับในความคิดนั้น มีขั้นตอนของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ตั้งคำถามเกี่ยวกับสถานการณ์ 2) รื้อความคิด และจัดลำดับความสำคัญ 3) ตรวจสอบข้อมูลหลักฐานอย่างรอบด้าน 4) โต้แย้งและแสดงเหตุผล และ 5) สร้างมุมมองของตนเอง 2. ประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอน พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการวิพากษ์ในภาพรวมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 …


การพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่, เรือนทอง ไวทยะพานิช Jan 2020

การพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่, เรือนทอง ไวทยะพานิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบผสานวิธีครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.พัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่ และ 2.เพื่อนำเสนอข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่ กลุ่มเป้าหมายของการศึกษา คือ ผู้ใหญ่วัยแรงงาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ในชุมชนที่เป็นพื้นที่วิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แผนการจัดเวทีชุมชน แบบบันทึกข้อมูล และแบบสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า 1. การพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สร้างความตระหนักถึงความจำเป็นในการรู้ดิจิทัล 2) กำหนดทิศทางการพัฒนาแผน 3) นำแผนไปทดลองใช้ 4) กำกับ ติดตาม และประเมินผลการใช้ และ 5) ถอดบทเรียน ปรับปรุงแผน และประกาศใช้แผน ซึ่งประกอบด้วย วิสัยทัศน์ พันธกิจ จุดมุ่งหมาย ประเด็นยุทธศาสตร์ กลยุทธ์ กิจกรรม เป้าหมาย ตัวชี้วัด แผนปฏิบัติ แนวทางพัฒนา การติดตามและประเมินผล โดยกลยุทธ์ของแผนมี 4 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) กลยุทธ์การบริหารจัดการชุมชนและการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) กลยุทธ์การส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัล 3) กลยุทธ์การยกระดับคุณภาพชีวิตดิจิทัล และ 4) กลยุทธ์การพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลชุมชน 2. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการพัฒนาแผนกลยุทธ์ชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัลสำหรับผู้ใหญ่ มี 3 ด้าน ได้แก่ 1) ข้อเสนอแนะด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต 2) ข้อเสนอแนะด้านการบริหารจัดการชุมชนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ3) ข้อเสนอแนะด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้านการรู้ดิจิทัล


ผลการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ศักรินทร์ อะจิมา Jan 2020

ผลการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ศักรินทร์ อะจิมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน 2) ศึกษากระบวนการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสร้างแบบจำลองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 34 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 1 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 ในโรงเรียนสาธิตสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม รูปแบบวิจัยเป็นแบบเชิงทดลองเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน รวม 23 คาบ และ (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตอนที่ 1 คือ แบบวัดความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ตอนที่ 2 คือ แบบสังเกตกระบวนการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยายได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ร้อยละ (%) การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานมีคะแนนความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยหลังเรียนรวมทุกองค์ประกอบสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการสร้างข้อกล่าวอ้างและเหตุผลสนับสนุนข้อกล่าวอ้างมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 คิดเป็นร้อยละ 44.00 และความสามารถในการสร้างข้อโต้แย้งที่แตกต่างออกไปมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนน้อยที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.53 คิดเป็นร้อยละ 28.15 เมื่อพิจารณาตามระดับความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนร้อยละ 58.82 มีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น ขณะที่นักเรียนร้อยละ 44.12 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ 2) นักเรียนมีรูปแบบกระบวนการโต้แย้งผ่านการสร้างแบบจำลองที่แตกต่างกัน


แนวทางการบริหารหลักสูตรภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ศุภลักษณ์ ศรีเดช Jan 2020

แนวทางการบริหารหลักสูตรภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ศุภลักษณ์ ศรีเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารหลักสูตรภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารหลักสูตรภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรจำนวน 1,110 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 โรงเรียน และผู้ให้ข้อมูลจำนวน 15 คน เครื่องมือ คือแบบสอบถามและ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละวิธี Priority Need Index (PNI) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าสภาพปัจจุบันของการบริหารหลักสูตรภาษาจีนด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านการศึกษาวิเคราะห์และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรมีการปฏิบัติมากที่สุดอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารหลักสูตรภาษาจีนด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านการศึกษาวิเคราะห์และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นที่มีค่าสูงสุด คือด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก แนวทางการบริหารหลักสูตรภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ 1) โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูภาษาจีนประชุมวิเคราะห์หลักสูตรร่วมกัน 2) โรงเรียนควรจัดชั่วโมงให้ครูชาวจีนสอนทักษะฟัง-พูดให้ครูไทย 3) โรงเรียนควรจัดชั่วโมงการสอนให้ครูไทยและครูชาวจีนอย่างเหมาะสม 4) โรงเรียนควรจัดแผนการเรียนตามความสนใจของผู้เรียน 5) โรงเรียนควรขอความสนับสนุนสถาบันขงจื่อสำหรับหนังสือเรียนและอุปกรณ์ 6) โรงเรียนควรจัดให้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย 7) โรงเรียนควรสนับสนุนให้มีการนิเทศการสอนครูภาษาจีนและติดตามการประเมินผลการนิเทศ 8) โรงเรียนควรส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหลักสูตรภาษาจีน


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล, ณัฐพงษ์ เกรียงไกรวงษ์ Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล, ณัฐพงษ์ เกรียงไกรวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลและ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ประชากร คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ขึ้นไปของจังหวัดเลย ประกอบด้วย 4 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนเลยพิทยาคม โรงเรียนเชียงคาน โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย เลย และโรงเรียนศรีสงครามวิทยา ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอนรวม จำนวน 124 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยมและการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ลำดับดัชนีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดเลย ตามแนวคิดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล ในภาพรวม พบว่าขอบข่ายการบริหารวิชาการที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การวัดและประเมินผล รองลงมาคือ การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการศึกษา ตามลำดับ ในภาพรวมขององค์ประกอบของการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคล พบว่า องค์ประกอบของการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลที่มีลำดับดัชนีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง รองลงมา คือ การกำหนดวิธีการเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น ตามลำดับ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการมีทั้งหมด 4 แนวทาง ดังนี้ (1) การพัฒนาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ทีส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลด้านการกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง (2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลด้านการกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง (3) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลด้านการกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง (4) การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษาที่ส่งเสริมศักยภาพเฉพาะบุคคลด้านการกำหนดเส้นทางการเรียนรู้ของตนเอง


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคม, เตชินี สุขสำราญ Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคม, เตชินี สุขสำราญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคม 2) เพื่อนำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคมโดยมีประชากร ได้แก่ โรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ จำนวน 7 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารและครูในโรงเรียนสังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทาง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น การวิเคราะห์ความถี่ และฐานนิยม ผลการวิจัย พบว่า 1) การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคม ที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การพัฒนาและส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ รองลงมา คือ การวัดและประเมินผล การพัฒนาหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน ตามลำดับ และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสหวิทยาเขตสุวรรณภูมิปราการ ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการทางสังคม โดยนำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น มีทั้งหมด 4 แนวทางหลัก 8 แนวทางย่อย 19 วิธีดำเนินการ โดยแนวทางหลักประกอบไปด้วย แนวทางหลักที่ 1 ยกระดับการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้ โดยการประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้ ที่เน้นให้ผู้เรียนทำงานเชิงรุกตามเป้าหมายเพื่อสังคมอย่างต่อเนื่อง แนวทางหลักที่ 2 พัฒนาแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผล ที่เน้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม แนวทางหลักที่ 3 พัฒนากระบวนการพัฒนาหลักสูตรด้านการประเมินผลการใช้หลักสูตร ที่เน้นให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อสังคม และแนวทางหลักที่ 4 พัฒนาการจัดการเรียนการสอน ผ่านการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น


แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตราชนครินทร์ ตามแนวคิดคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์, เกณิกา บริบูรณ์ Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตราชนครินทร์ ตามแนวคิดคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์, เกณิกา บริบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตราชนครินทร์ ตามแนวคิดคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ 2. นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัดสหวิทยาเขตราชนครินทร์ตามแนวคิดคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ ใช้วิธีการวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ โรงเรียนในสหวิทยาเขตราชนครินทร์ จำนวน 5 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและครูในสหวิทยาเขตราชนครินทร์ 209 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการ 5 คน รองผู้อำนวยการ 15 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 40 คน ครู 149 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย เลขคณิตส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลลัพธ์ของการบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดคือ ผลลัพธ์ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (PNI [Modified] = 0.386) มีคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ด้านการรู้จักคิดตั้งคำถามและการเปิดใจกว้าง มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด (PNI [Modified] = 0.462) และ การบริหารสู่ความเป็นเลิศที่มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดคือ ด้านบุคลากร (PNI [Modified] = 0.476) มีคุณลักษณะของนักคิดเชิงวิพากษ์ด้านการเปิดใจกว้าง มีลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุด (PNI [Modified] = 0.486) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศ 6 แนวทาง โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ (1) พัฒนาการบริหารบุคลากรสู่ความเป็นเลิศในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักณะตัดสินใจอย่างมีเหตุผลและเปิดใจกว้าง มี 2 แนวทางรอง และ 6 วิธีการพัฒนา (2) พัฒนาการวัด วิเคราะห์ และจัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ ในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะรู้จักคิดตั้งคำถามและเปิดใจกว้าง มี 2 แนวทางรอง และ 6 วิธีการพัฒนา (3) พัฒนานักเรียนสู่ความเป็นเลิศให้เกิดคุณลักษณะ เปิดใจกว้างและแสวงหาข้อเท็จจริงมี 2 …


แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการ, กิตติพศ ไชยคำภา Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 ตามแนวคิดคุณลักษณะผู้ประกอบการ, กิตติพศ ไชยคำภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะผู้ประกอบการ 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา ในการพัฒนานักเรียนให้มีคุณลักษณะผู้ประกอบการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 โรงเรียน เลือกโดยการกำหนดคุณสมบัติ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้บริหารและครู จำนวน 264 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีค่าความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษาที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และด้านการปฏิบัติการ มีความต้องการจำเป็นต่ำสุด โดยการบริหารความเป็นเลิศทั้งหมดมีองค์ประกอบคุณลักษณะผู้ประกอบการที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุดคือ ความกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยง 2) แนวทางพัฒนาการบริหารสู่ความเป็นเลิศของโรงเรียนมัธยมศึกษา มีทั้งหมด 6 แนวทาง 14 แนวทางย่อย 76 วิธีดำเนินการ แนวทางเรียงตามลำดับดัชนีความต้องการจำเป็นดังนี้ (1) พัฒนานักเรียนที่มุ่งเน้นให้มีความกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยงและความคิดสร้างนวัตกรรม (2) ปรับปรุงการวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยง (3) เพิ่มกลยุทธ์ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยง (4) เสริมสร้างบุคลากรที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยงและความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรม (5) ทบทบนการนำองค์กรที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยง (6) ปรับปรุงการปฏิบัติการที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความกล้าเผชิญหน้ากับความเสี่ยง


แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองสวนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ, พงศธร ยุติธร Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองสวนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ, พงศธร ยุติธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ และ 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐาน สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ ผู้ให้ข้อมูล คือ บุคลากร จำนวน 85 คน ประกอบด้วย หัวหน้าศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครู และผู้ช่วยครู/ผู้ดูแลเด็ก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเพื่อการวิจัยและแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีวัดความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นสูงสุดของการพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาปฐมวัยแห่งชาติ คือ การประเมินผล (PNI [modified] =0.081) รองลงมา คือ การวางแผน (PNI [modified]=0.079) และการนำแผนสู่การปฏิบัติ (PNI [modified]=0.076) ตามลำดับ และความต้องการจำเป็นสูงสุดตามองค์ประกอบของมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ คือ การบริหารจัดการบุคลากรทุกประเภท (PNI [modified]=0.112) และ 2) แนวทางพัฒนาการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี ตามมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ มีทั้งหมด 3 แนวทางหลัก 6 แนวทางย่อย และ 24 วิธีดำเนินการ ซึ่งเรียงตามลำดับความต้องการจำเป็น ดังนี้ แนวทางที่ 1 พัฒนาการประเมินผลการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยเน้นการบริหารจัดการบุคลากรและการบริหารจัดการสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 9 วิธีดำเนินการ แนวทางที่ 2 พัฒนาการวางแผนการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยเน้นการบริหารจัดการบุคลากรและการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 6 วิธีดำเนิน และแนวทางที่ 3 พัฒนาการนำแผนการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสู่การปฏิบัติโดยเน้นการบริหารจัดการบุคลากรและการบริหารจัดการสภาพแวดล้อม ประกอบด้วย 2 แนวทางย่อย 9 …


แนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0, สิริกานต์ แก้วคงทอง Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0, สิริกานต์ แก้วคงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ผู้ให้ข้อมูล คือ ข้าราชการของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา จำนวน 123 คน ซึ่งมาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้นและกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากตารางของเครซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบสอบถามสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลฯ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น (PNI [modified]) และฐานนิยม (mode) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารทรัพยากรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 3.466) โดยการพัฒนาบุคลากรมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด (X = 3.425) อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารทรัพยากรบุคคลฯ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X = 4.282) โดยการวางแผนบุคลากรมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (X = 4.330) อยู่ในระดับมาก สำหรับความต้องการจำเป็นของการบริหารทรัพยากรบุคคลฯ ภาพรวม คือ 0.210 (PNI [modified] = 0.210) ซึ่งการพัฒนาบุคลากรมีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด (PNI [modified] = 0.250) รองลงมา คือ การประเมินผลบุคลากร และการธำรงรักษาบุคลากร (PNI [modified] = 0.210) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การทำงานเชิงรุกและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและตอบสนองทันที มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงสุดและใกล้เคียงกันในสองลำดับแรก 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารทรัพยกรบุคคลของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐสู่ระบบราชการ 4.0 ตามกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล 3 ด้าน นำเสนอตามลำดับความต้องการจำเป็น ได้แก่ (1) การพัฒนาบุคลากร (2) การประเมินผลการปฏิบัติงานบุคลากร และ (3) การธำรงรักษาบุคลากร …


แนวทางพัฒนาครูโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ตามแนวคิดอุปนิสัยผู้มีประสิทธิผลสูง, ศศิมา แสงสว่าง Jan 2020

แนวทางพัฒนาครูโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ตามแนวคิดอุปนิสัยผู้มีประสิทธิผลสูง, ศศิมา แสงสว่าง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของอุปนิสัยผู้มีประสิทธิผลสูงของครูโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย และ 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาครูโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ตามแนวคิดอุปนิสัยผู้มีประสิทธิผลสูง ใช้วิธีวิจัยเชิงบรรยาย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย จำนวน 11 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลรวมทั้งสิ้น 351 คน ประกอบด้วย 1) กลุ่มผู้บริหาร 211 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการ 46 คน หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ 99 คน หัวหน้าระดับชั้น 66 คน และ 2) กลุ่มผู้ปฏิบัติ 140 คน ได้แก่ ครูจำแนกตามวิทยฐานะ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความหมาะสมและเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางพัฒนาครูโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัย ตามแนวคิดอุปนิสัยผู้มีประสิทธิผลสูง สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (u) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (o) การวิเคราะห์ดัชนีความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNI [Modified]) ฐานนิยม (Mode) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นของอุปนิสัยผู้มีประสิทธิผลสูงของครูโรงเรียนในเครือสวนกุหลาบวิทยาลัยสูงที่สุด คือ ด้านการกำหนดผลลัพธ์ของการกระทำในการกำหนดเกณฑ์การวัดที่ท้าทายในการประเมินความสามารถแบบก้าวกระโดด และความต้องการจำเป็นต่ำที่สุดคือด้านการพัฒนาตนเองให้มีความใฝ่เรียน ใฝ่รู้ในการพัฒนาการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงเสมอและ 2) แนวทางพัฒนาครูมี 18 วิธีการ 10 แนวทางรองจาก 6 แนวทางหลัก ดังนี้ 1. พัฒนาครูระหว่างปฏิบัติงานให้มีอุปนิสัยการกำหนดผลลัพธ์ของการกระทำ 2. พัฒนาครูระหว่างปฏิบัติงานให้มีอุปนิสัยการทำสิ่งสำคัญก่อน 3. พัฒนาครูระหว่างปฏิบัติงานให้มีอุปนิสัยการพยายามเข้าใจผู้อื่น 4. พัฒนาครูนอกเวลาปฏิบัติงานให้มีอุปนิสัยการกำหนดผลลัพธ์ของการกระทำ 5. พัฒนาครูนอกเวลาปฏิบัติงานให้มีอุปนิสัยการทำสิ่งสำคัญก่อนและ 6. พัฒนาครูนอกเวลาปฏิบัติงานให้มีอุปนิสัยการพยายามเข้าใจผู้อื่น


การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพในระดับพื้นที่จังหวัด, นวพรรณ อินต๊ะวงศ์ Jan 2020

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพในระดับพื้นที่จังหวัด, นวพรรณ อินต๊ะวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการเรียนรู้ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพในระดับพื้นที่จังหวัด 2) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพในระดับพื้นที่จังหวัด และ 3) นำเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพในระดับพื้นที่จังหวัด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการเรียนรู้ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพในระดับพื้นที่จังหวัด ของพื้นที่ศึกษาคือจังหวัดชลบุรีและตราด ประกอบด้วยกระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้นตอน ได้แก่ (1)รวมคน คือการรวมตัวของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาเพื่อร่วมกันวิเคราะห์สภาพปัจจุบัน ปัญหา ความต้องการในการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพในพื้นที่จังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นแกนนำ (2)ร่วมคิด คือ การประสานภาคีเครือข่ายมาร่วมระดมสมองเพื่อกำหนดแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพของพื้นที่จังหวัดให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเป็นรูปธรรม (3) ร่วมทำ คือ การร่วมกันพัฒนากลไกจังหวัด การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ การจัดเวทีบูรณาการลักษณะต่าง ๆ การจัดทำแผนและติดตามประเมินผล และการรณรงค์สื่อสาร (4) ร่วมสรุปบทเรียน คือ การร่วมกันประเมินผลการดำเนินงานตามแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพของพื้นที่จังหวัด แล้วร่วมกันสรุปบทเรียนเพื่อนำผลไปขยายผล ปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน (5) ร่วมรับผล คือ การร่วมกันรับผลจากการดำเนินการ ทั้งด้านและด้านลบแล้วนำไปปรับปรุง แก้ไขและพัฒนาต่อไป 2) การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพในระดับพื้นที่จังหวัดน่าน ตามกระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ได้แก่ ระยะที่ 1 การเตรียมการ พบว่าจังหวัดน่านมีความต้องการการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพที่สอดคล้องกับความต้องการของคนและบริบทพื้นที่ โดยอาชีพที่ควรส่งเสริม ได้แก่ 1) อาชีพด้านการท่องเที่ยวและบริการ 2) อาชีพเกษตรกรวิถีใหม่ 3) อาชีพในภาคอุตสาหกรรมขนาดย่อม (SME) 4) อาชีพเกี่ยวกับการค้าขายชายแดน และการขนส่งโลจิสติกส์ ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพในระดับพื้นที่จังหวัด เกิดกระบวนการเรียนรู้ 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) รวมคน (2) ร่วมคิด (3) ร่วมทำ (4) ร่วมสรุปบทเรียน (5) ร่วมรับผล และ(6) ร่วมพัฒนา ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่ปรากฏพบในการศึกษาพื้นที่จังหวัดชลบุรีและตราด จากนั้นยกร่างแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ฯ (ฉบับที่ 1) ระยะที่ 3 การตรวจสอบร่างแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ในการส่งเสริมการจัดการศึกษาเพื่ออาชีพในระดับพื้นที่จังหวัด เมื่อผู้ทรงวุฒิ 9 ท่าน ตรวจสอบให้ข้อเสนอแนะ ร่างแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ฯ …


การสืบทอดคุณค่างานช่างดอกไม้สดแบบราชสำนัก, ศิริธร สุตตานนท์ Jan 2020

การสืบทอดคุณค่างานช่างดอกไม้สดแบบราชสำนัก, ศิริธร สุตตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเชิงคุณภาพชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณค่างานช่างดอกไม้สดแบบราชสำนัก 2) เพื่อวิเคราะห์การสืบทอดคุณค่างานช่างดอกไม้สดแบบราชสำนัก 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการสืบทอดคุณค่างานช่างดอกไม้สดแบบราชสำนัก เก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและสารสนเทศ การสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัย พบว่า 1. วิเคราะห์คุณค่าของงานช่างดอกไม้สดแบบราชสำนัก พบว่ามี 5 ด้าน คือ 1) คุณค่าด้านจริยศาสตร์ เกิดจากความประพฤติและปฏิบัติ แสดงให้เห็นถึงความดีงาม ความสูงส่งในจิตใจผ่านงานช่างดอกไม้สดแบบราชสำนัก ก่อให้เกิดเป็นความประพฤติ ความคิด ทัศนคติ การใช้ชีวิต และกรอบจารีตประเพณี ที่ต้องปฏิบัติตาม 2) คุณค่าด้านสุนทรียศาสตร์ นำเอาองค์ประกอบศิลป์ทั้ง 10 ด้าน มาหลอมรวมกัน เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงาน ให้เกิดความสวยสดงดงาม วิจิตรตระการตา ยังคุณค่ามาแก่ผู้เสพงานช่างฯ 3) คุณค่าด้านเชิงช่างประณีตศิลป์ แสดงลักษณะเด่นทางด้านศิลปวัฒนธรรมไทยอย่างเด่นชัด ถือเป็นงานช่างฝีมือชั้นสูงที่ต้องใช้ทักษะฝีมือและระยะเวลาในการฝึกฝน แสดงศักยภาพให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาประชาคม 4) คุณค่าด้านการบริหารจัดการทรัพยากร ช่วยยกระดับกระบวนการผลิต การกระจายสินค้าและบริการ ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งด้านเวลา ต้นทุนและคุณภาพอันนำไปสู่การพัฒนาอย่างยืน และ 5) คุณค่าด้านนวัตกรรม มุ่งพัฒนารูปแบบ ลวดลายชิ้นงานให้หลากหลาย สวยงามและทันกับยุคสมัย 2. การสืบทอดคุณค่างานช่างดอกไม้สดแบบราชสำนัก พบว่าครอบคลุมทั้งการศึกษาในระบบ นอกระบบและตามอัธยาศัย โดยมีวิธีการสอนที่เน้นการปฏิบัติจริง การปฏิบัติให้ดูเป็นตัวอย่าง และให้ลงมือทำตามเพื่อฝึกทักษะ ประสบการณ์ ก่อให้เกิดความชำนาญและเกิดความคิดสร้างสรรค์ในผลงาน 3. แนวทางการสืบทอดคุณค่างานช่างดอกไม้สดแบบราชสำนักผ่านการศึกษาในระบบ ทำได้โดยผลิตครูช่างดอกไม้สดโดยตรงเพื่อให้เพียงพอกับผู้เรียน ส่งเสริมการเพิ่มชั่วโมงเรียนโดยเฉพาะระดับชั้นประถมศึกษา ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการแสดงผลงาน การประดิษฐ์ หรือการประกวดงานช่างดอกไม้สดแบบราชสำนักนอกห้องเรียน ทั้งในและนอกสถานศึกษา สอดแทรกความรู้เบื้องต้นและจัดกิจกรรมที่หลากหลาย จัดสรรงบประมาณและจัดตั้งกองทุนศิลปะและวัฒนธรรม และส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การศึกษานอกระบบ ทำได้โดยส่งเสริมการเปิดอบรมหลักสูตรระยะสั้นสำหรับครูช่างดอกไม้สดและเปิดโปรแกรมการเรียนการสอนอาชีพ และการศึกษาตามอัธยาศัย ทำได้โดยรวมพลังในรูปแบบเครือข่ายออนไลน์ ผลิตสื่อการเรียนสอนในรูปแบบเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมทั้งระดมสรรพกำลังจากหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งการสืบทอดคุณค่างานช่างดอกไม้สดแบบราชสำนักถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมหนึ่งที่สำคัญที่ควรได้รับการเหลียวแลจากหน่วยงานของรัฐบาล ใช้กลไกประชารัฐในการร่วมสืบทอดคุณค่างานช่าง กระจายองค์ความรู้ให้ทั่วถึงในทุกระบบ เพื่อสร้างความรู้เสริมความเข้าใจให้กับคนรุ่นใหม่ ในการร่วมสืบทอดงานช่างที่มีคุณค่านี้ให้คงอยู่ในสังคมไทยอย่างยั่งยืนสืบไป


การวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรในประเทศไทย, มนันยา สายชู Jan 2020

การวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรในประเทศไทย, มนันยา สายชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 จนถึง พ.ศ.2562 จำนวน 240 เรื่อง โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ด้วยแบบวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตร สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่และการหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) สถาบันที่มีการทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ภายใต้คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ซึ่งส่วนใหญ่ทำการวิจัยในระดับปริญญาโท พิมพ์เผยแพร่มากที่สุดในปีพุทธศักราช 2554 โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีการพัฒนาหลักสูตรมากที่สุด ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 2) องค์ความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตร มีรายละเอียดดังนี้ 1. ปรัชญาการศึกษาที่นำมาเป็นแนวทางในการออกแบบหลักสูตรที่นำมาใช้มากที่สุด คือ ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม 2. แนวคิดที่ใช้ในการออกแบบหลักสูตรมากที่สุด คือ แนวคิดที่ยึดกิจกรรมและปัญหาของสังคม ท้องถิ่นหรือชุมชน 3. รูปแบบของหลักสูตรที่มีการออกแบบมากที่สุด คือ หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม 4. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรในด้านเนื้อหาที่มีการออกแบบมากที่สุด คือ จุดมุ่งหมายด้านอาชีพ ขณะที่จุดมุ่งหมายด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ที่พบมากที่สุด คือ จุดมุ่งหมายด้านพุทธิพิสัย 5. เนื้อหาในหลักสูตรมีการออกแบบหลักสูตรมากที่สุด คือ เนื้อหาวิชาเฉพาะทางหรืออาชีพ 6. กิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้ออกแบบหลักสูตรนำมาบรรจุไว้ในหลักสูตรมากที่สุด คือ กิจกรรมการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนปฏิบัติจริง 7. การวัดประเมินผลโดยใช้การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เป็นวิธีการการวัดและประเมินผลที่มีผู้วิจัยเลือกใช้มากที่สุด ขณะที่การประเมินผลตามสภาพจริง ที่มีผู้วิจัยเลือกใช้มากที่สุด คือ การสังเกตพฤติกรรม


แนวทางการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร, สุรเชษฐ์ อโลภะตานนท์ Jan 2020

แนวทางการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร, สุรเชษฐ์ อโลภะตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังของครูต่อการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเสนอแนวทางการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร ดำเนินการเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังของครูต่อการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษา ประชากร คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 119 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูไทยที่สอนภาษาจีน 199 คน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หัวหน้างานนิเทศภายในโรงเรียน โรงเรียนละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 556 คน เครื่องมือเป็น แบบสอบถาม 1 ฉบับ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษา เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จาก ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ และครูผู้นิเทศการสอน จากโรงเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยวิชาความถนัดทางภาษาจีน (PAT 7.4) สูง 3 ปีติดต่อกัน ใน 10 อันดับแรก จำนวน 5 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 15 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ความคาดหวังการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นที่มีค่าสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แนวทางการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย …


แนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติการประเมินในชั้นเรียนของครู, กัญภ์หัชรินดา เภสัชชา Jan 2020

แนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติการประเมินในชั้นเรียนของครู, กัญภ์หัชรินดา เภสัชชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมิน เป็นสิ่งที่สำคัญซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียน จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติการประเมินในชั้นเรียนของครูที่เป็นประโยชน์และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู 2) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบลักษณะของกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนที่มีภูมิหลังต่างกันของครู 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู 4) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาเครื่องมือวัดกรอบคิดด้านการวัดและประเมินผลและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู โดยสร้างเครื่องมือวัดกรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู ที่อิงแนวคิดของการวัดแบบพหุมิติภายในข้อคำถาม (multidimensional within item) มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ (rating scale) การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือด้านความเที่ยงและความตรงเชิงเนื้อหา และความตรงโครงสร้างใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) ระยะที่ 2 การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู เก็บข้อมูลด้วยเครื่องมือที่พัฒนามาจากระยะที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อกรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู ตัวอย่างวิจัยได้แก่ ครูในกรุงเทพมหานคร จำนวน 287 คน และระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมกรอบคิดแบบเติบโตและการปฏิบัติการประเมินในชั้นเรียน โดยใช้ผลจากการวิจัยระยะที่ 2 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาเครื่องมือ พบว่า มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานทั้งความเที่ยง (Omega= .864 - .917) ความตรงเชิงเนื้อหา (IOC= 0.67-1.00) และมีความตรงเชิงโครงสร้าง โดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (confirmatory factor analysis) พบว่า โมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ χ2 (41, N = 179) = 45.65, p = .07, DIC = 2286.37 , BIC = 2427.26 ส่วนค่าน้ำหนักองค์ประกอบของกรอบคิดด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู มีค่าอยู่ในช่วง .40 - .78 และในมิติของการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู มีค่าอยู่ในช่วงระหว่าง 38 - .82. 2. ผลการวิเคราะห์ลักษณะกรอบคิดและการปฏิบัติด้านการประเมินในชั้นเรียนของครู พบว่า ครูมีระดับกรอบคิดแบบเติบโตต่ำ (ร้อยละ …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก, อัมพิกา สิริพรม Jan 2020

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก, อัมพิกา สิริพรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนและกรอบแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ (Multiphase Mixed Method Research) ที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ประชากร คือโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จำนวน 194 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 131 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือผู้อำนวยการโรงเรียนและครูวิชาการโรงเรียน จำนวน 262 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้ (3) การวัดและประเมินผล (4) การพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา กรอบแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก มี 7 สมรรถนะ ได้แก่ (1) สมรรถนะด้านการสื่อสาร (2) สมรรถนะด้านการคิดเชิงนวัตกรรม (3) สมรรถนะด้านการเป็นผู้ประกอบการ (4) สมรรถนะด้านการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ (5) สมรรถนะด้านวัฒนธรรมและความเป็นพลเมือง (6) สมรรถนะด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารนเทศ (7) สมรรถนะด้านการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน 2) ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาการบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกสูงที่สุด คือการพัฒนาหลักสูตร เมื่อพิจารณาเป็นรายสมรรถนะ สมรรถนะที่มีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือสมรรถนะการคิดเชิงนวัตกรรม 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก คือ (1) พลิกโฉมหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก มี 2 กลยุทธ์รอง 12 วิธีดำเนินการ (2) ปรับเปลี่ยนการจัดการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะผู้เรียนที่ตอบสนองความต้องการจำเป็นของระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก มี 2 กลยุทธ์รอง …


รูปแบบโรงเรียนผลิตภัณฑ์พลาสติกตามแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจพลาสติกใหม่, พิชญา ชูเอกวงศ์ Jan 2020

รูปแบบโรงเรียนผลิตภัณฑ์พลาสติกตามแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้และเศรษฐกิจพลาสติกใหม่, พิชญา ชูเอกวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้ และแนวคิดเศรษฐกิจพลาสติกใหม่ 2) ศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ของโรงเรียนผลิตภัณฑ์พลาสติกตามแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้ และเศรษฐกิจพลาสติกใหม่ และ 3) พัฒนารูปแบบโรงเรียนผลิตภัณฑ์พลาสติกตามแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้ และเศรษฐกิจพลาสติกใหม่ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพตามขั้นตอนการคิดออกแบบ ผู้ให้ข้อมูลเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการศึกษา ผู้อำนวยการ อาจารย์ผู้สอน ผู้เรียนอาชีวศึกษาด้านพลาสติก ผู้ประกอบการโรงงานผลิตภัณฑ์พลาสติก และสถาบันพลาสติก นักวิจัยและผู้อำนวยการสถาบันสิ่งแวดล้อม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพที่พึงประสงค์ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบ และแบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดโรงงานแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วย (1) รูปแบบการดำเนินการ (2) จุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมาย (3) ผลิตภัณฑ์ (4) กระบวนการผลิต (5) สภาพแวดล้อมการเรียนรู้ (6) การสอน ส่วนกรอบแนวคิดเศรษฐกิจพลาสติกใหม่ ประกอบด้วย (1) การออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกใหม่ที่ไม่ใช้หรือลดการใช้พลาสติกโดยไม่จำเป็น (2) การออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ใช้ซ้ำได้ (3) การออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่รีไซเคิลหรือย่อยสลายได้ (4) ผู้ผลิตและผู้ขายบรรจุภัณฑ์พลาสติกมีความรับผิดชอบในการทำให้เกิดการใช้ซ้ำ รีไซเคิล หรือการย่อยสลาย (5) การออกแบบบรรจุภัณฑ์พลาสติกโดยใช้ทรัพยากรที่ไม่หมดสิ้นหรือใช้แล้วใช้ใหม่ได้ (6) การออกแบบและผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกที่ปลอดสารเคมีอันตราย มีความปลอดภัย ไม่เกิดผลเสียต่อสุขภาพ และเคารพในสิทธิความเป็นมนุษย์ของผู้เกี่ยวข้อง 2) สภาพที่พึงประสงค์ของโรงเรียนผลิตภัณฑ์พลาสติกมี 6 ประการ (1) รูปแบบการดำเนินการ โดยสถาบันพลาสติก สอนโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค แหล่งเงินทุนจากภายนอกในช่วงแรก ตามด้วยเงินทุนภายในจากการขายสินค้าและการเก็บค่าเรียนหลักสูตรเมื่อมีความพร้อม (2) จุดมุ่งหมายและกลุ่มเป้าหมาย คือ การจัดการศึกษาผู้เรียนระดับปวส. และการฝึกอบรมบุคลากรกลุ่มพนักงาน/ช่างเทคนิค ผู้ประกอบการ และบุคคลที่สนใจ (3) ผลิตภัณฑ์ที่ผลิต ต้องรีไซเคิลได้ มีอยู่ในตลาดทั่วไป นำไปใช้ได้จริง และสามารถขาย สร้างรายได้ (4) กระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการผลิตผลิตภัณฑ์ด้วยการผลิตเป็นล็อตหรือผลิตต่อเนื่อง (5) สภาพแวดล้อม เป็นรูปแบบการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติพร้อมกับการใช้ดิจิทัลสนับสนุน …


แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว, ปฏิญญา มุขสาร Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว, ปฏิญญา มุขสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว 2) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive) ประชากร คือ โรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 119 โรงเรียน โดยมีผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครู รวมจำนวน 238 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของร่างแนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ความต้องการจำเป็นในการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานคร ตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว เมื่อพิจารณาตามขอบข่ายการบริหารงานวิชาการ พบว่า ขอบข่ายการบริหารงานวิชาการด้านการพัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษามีความต้องการจำเป็นสูงสุด (PNImodified = 0.508) รองลงมาเป็นด้านการวัดและประเมินผล (PNImodified = 0.500) ส่วนด้านการจัดการเรียนการสอน มีความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด (PNImodified= 0.496) 2) แนวทางพัฒนาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว ประกอบด้วย 1) พัฒนาหลักสูตรของสถานศึกษาที่บูรณาการสอดแทรกเนื้อหาและแนวคิดผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว มี 2 แนวทางย่อย 2) พัฒนาการนำหลักสูตรไปใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีสมรรถนะพลเมืองสีเขียว มี 2 แนวทางย่อย 3) พัฒนาแนวทางการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว มี 2 แนวทางย่อย 4) พัฒนาการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะพลเมืองสีเขียว มี 2 แนวทางย่อย และ 5) ส่งเสริมให้มีการออกแบบสื่อการสอนที่มีความทันสมัย จัดให้มีการประกวดสื่อ และนวัตกรรมที่มุ่งเน้นการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ด้านสมรรถนะพลเมืองสีเขียว มี 3 แนวทางย่อย


แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0, อจลา ศิริเสรีวรรณ Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0, อจลา ศิริเสรีวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ และทักษะของคนในสังคม 5.0 2) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0 และ 3) นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0 โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ประชากร คือ โรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 362 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานคร จำนวน 193 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการหรือรองผู้อำนวยการโรงเรียน หัวหน้าหรือรองหัวหน้าฝ่ายวิชาการ และครู รวมทั้งสิ้น 579 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีลำดับความต้องการจำเป็น ฐานนิยม และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การจัดการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล กรอบแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0 ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ ทักษะความคิดสร้างสรรค์ ทักษะดิจิทัล ทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลการตีความและตอบสนองต่อความรู้และสารสนเทศ ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และสืบค้นทางวิทยาศาสตร์เพื่อการแก้ปัญหาที่ซับซ้อน ทักษะการบริหารจัดการคน และทักษะการค้นหาและสร้างคุณค่า 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาเอกชนในกรุงเทพมหานครตามแนวคิดทักษะของคนในสังคม 5.0 อยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาแยกรายด้าน พบว่า สภาพปัจจุบัน การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะดิจิทัลของคนในสังคม 5.0 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (ค่าเฉลี่ย = 3.734) และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลการตีความและตอบสนองต่อความรู้และสารสนเทศของคนในสังคม 5.0 มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด (ค่าเฉลี่ย = 3.563) สภาพที่พึงประสงค์ การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความคิดสร้างสรรค์ของคนในสังคม 5.0 มีค่าเฉลี่ยสูงสุด …


แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามแนวคิดทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย, ศศิธร วัฒนกุล Jan 2020

แนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามแนวคิดทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย, ศศิธร วัฒนกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากรอบแนวคิดของทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย และการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชน 2. ศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามแนวคิดทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย 3. นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามแนวคิดทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย ใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ โดยการศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องจำนวน 11 ฉบับ ตรวจความเหมาะสมของกรอบแนวคิดโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบศึกษาเอกสารและแบบประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิด วิเคราะห์ข้อมูลกรอบแนวคิดโดยการแจกแจงความถี่ ประชากร คือ โรงเรียนอนุบาลเอกชนในกทม ที่จัดการศึกษาเฉพาะระดับอนุบาล จำนวน 71 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร 71 คน ครู 124 คน ผู้ปกครอง 168 คน รวม 363 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น ฐานนิยม การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา การสัมภาษณ์เชิงลึกอย่างมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิด 1.1) ทักษะชีวิตเด็กปฐมวัยได้แก่ 1. ทักษะทางอารมณ์-จิตใจ 2. ทักษะทางการคิด 3. ทักษะทางสังคม 1.2) การบริหารโรงเรียนอนุบาลได้แก่ 1. การบริหารหลักสูตรปฐมวัย 2.การบริหารงานบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัย 2) ความต้องการจำเป็นของการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนตามแนวคิดทักษะชีวิตเด็กปฐมวัย ได้แก่ ความต้องการจำเป็นโดยภาพรวมที่มีลำดับความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การบริหารงานบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัย (PNI 0.585) และการบริหารหลักสูตรปฐมวัย (PNI 0.566) โดยมีลำดับดัชนีความต้องการจำเป็นรายด้านดังนี้ การบริหารงานบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัย ได้แก่ การให้แรงเสริมเพื่อตอบแทนผู้บริหาร ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัย การคัดเลือกผู้บริหาร ผู้สอนและบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัย การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาปฐมวัย การออกแบบโครงสร้างองค์กรและงาน การบริหารหลักสูตรปฐมวัย ได้แก่ การบริหารความสัมพันธ์ของผู้ปกครองและชุมชน การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ สื่อของเล่น และแหล่งเรียนรู้ การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรโรงเรียนตามแนวคิดทักษะชีวิตปฐมวัย และลำดับดัชนีความต้องการจำเป็นของทักษะชีวิตเด็กปฐมวัยในภาพรวม ที่มีลำดับความต้องจำเป็นสูงที่สุด คือ …


ผลของการจัดการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, จักรกฤต ภุชงค์ประเวศ Jan 2020

ผลของการจัดการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, จักรกฤต ภุชงค์ประเวศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 3) ศึกษาคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองรูปแบบการทดลองกลุ่มเดียวแบบวัดซ้ำ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง รวม 48 คน มีวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .817 2) แบบสอบถามความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .931 และ 3) แบบประเมินคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .993 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนแตกต่างจากระหว่างเรียนครั้งที่ 2 ระหว่างเรียนครั้งที่ 1 และก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวัดโดยใช้แบบทดสอบ และการรับรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนแตกต่างจากระหว่างเรียนครั้งที่ 1 และก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวัดโดยใช้แบบสอบถาม 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนอยู่ในระดับสูง 3) คุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนอยู่ในระดับดี


หลักการสอนเพื่อส่งเสริมการแสดงออกของวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลาย, ศศินันท์ วิภูษิฑิมากูล Jan 2020

หลักการสอนเพื่อส่งเสริมการแสดงออกของวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลาย, ศศินันท์ วิภูษิฑิมากูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักการสอนเพื่อส่งเสริมการแสดงออกของวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลาย ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและเก็บรวบรวมข้อมูลจากการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญด้านการขับร้องประสานเสียงจำนวน 4 คน ผู้สอนวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลายจำนวน 4 คน และกลุ่มผู้เรียนของคณะนักร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลายจำนวน 4 คณะ ผลการวิจัยพบว่า หลักการสอนเพื่อส่งเสริมการแสดงออกของวงขับร้องประสานเสียงระดับประถมศึกษาตอนปลาย ประกอบด้วย 4 หลักการ ได้แก่ 1) บุคลิกลักษณะของผู้สอนควรมีความเข้าใจ ความอบอุ่น ความเอื้ออาทร มีอารมณ์ขัน มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกเชิงบวก ส่งผลให้ผู้เรียนรู้สึกปลอดภัยและกล้าแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกขณะร้องเพลง 2) สอนการตีความให้แก่ผู้เรียน เพื่อช่วยให้เกิดความรู้ความเข้าใจในบทเพลง และนำไปสู่การร้องที่แสดงอารมณ์ความรู้สึก 3) จัดกิจกรรมเสริมทักษะความเป็นนักดนตรี เพื่อช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจสาระดนตรีและสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการขับร้องประสานเสียง ควรเน้นให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะทั้ง 5 ได้แก่ ฟัง ร้อง-เล่น อ่าน สร้างสรรค์ และเคลื่อนไหว 4) สอนทักษะการร้องให้แก่ผู้เรียน โดยให้ความสำคัญในเรื่องท่าทางการยืนและการนั่ง การหายใจ การเปล่งเสียงร้อง การสร้างเสียงกังวาน และการออกเสียงคำร้อง เพื่อช่วยให้ร้องเพลงอย่างไพเราะ


แนวทางการส่งเสริมการรับมือของครูสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน, วนัชพร ถาวรสมสุข Jan 2020

แนวทางการส่งเสริมการรับมือของครูสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน, วนัชพร ถาวรสมสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมการรับมือของครูที่มีประโยชน์และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง เพื่อให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ ของนักเรียนในปัจจุบัน 2) เพื่อวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมและการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครู 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยม และการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครูที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน 4) เพื่อจัดทำแนวทางการรับมือของครูสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์อิทธิพลการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยม และการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครู ที่มีต่อพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ตัวอย่างวิจัยมีลักษณะข้อมูลเป็นแบบระดับสูงที่มีข้อมูล ในระดับล่างซ้อนอยู่ (nested) รวมจำนวนตัวอย่างในระดับครู 64 คน และระดับนักเรียน 1,157 คน เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามสำหรับครูและนักเรียนวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลด้วยโปรแกรม Process macro for SPSS ระยะที่ 2 การจัดทำแนวทางการรับมือของครูสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน โดยใช้ข้อมูลที่ได้จากระยะที่ 1 ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และปรับแก้ไขโดยสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายตัวแปรสังเกตได้ พบว่า ทุกตัวแปรมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาแยกตามสังกัด พบว่านักเรียนทั้ง 3 สังกัดโรงเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน 2. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่ได้จากการทำแบบประเมินตามการรับรู้ของตัวอย่างวิจัย พบว่า นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ในภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ครูมีการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครูในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ซึ่งไม่สอดคล้องกับข้อมูลเชิงคุณภาพที่พบว่า ครูมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้ที่ต่ำกว่านักเรียน ทำให้ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการจัด การเรียนรู้ได้ตามความต้องการของนักเรียนที่อยู่ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันได้ 3. ผลการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพล พบว่าการปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครู ได้รับอิทธิพลทางตรงจากการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.591 นอกจากนี้พฤติกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนได้รับอิทธิพลทางตรงจากการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยม และ การปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีของครู อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.002 และ 0.081 ตามลำดับ และได้รับอิทธิพลทางอ้อมจากการจัดการเรียนรู้ของครูตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยม อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ด้วยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพล เท่ากับ 0.021 4. แนวทางการส่งเสริมการรับมือของครูสำหรับการเรียนรู้ของนักเรียนตามทฤษฎีการเชื่อมโยงนิยมในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน คือ 1) ครูปรับเปลี่ยนกรอบคิดเรื่องการจัดการเรียนรู้ในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน …


แนวทางการสนับสนุนและยกระดับทักษะของครูอาวุโสในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน: การใช้พีแอลเอส-เอสอีเอ็ม และไอพีเอ็มเอ, วริษฐา บุณยัษเฐียร Jan 2020

แนวทางการสนับสนุนและยกระดับทักษะของครูอาวุโสในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน: การใช้พีแอลเอส-เอสอีเอ็ม และไอพีเอ็มเอ, วริษฐา บุณยัษเฐียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันถึงสองครั้ง จากเทคโนโลยีดิจิทัล และโรคระบาด โรงเรียนจึงถูกท้าทายให้มีประสบการณ์การสอนและการเรียนรู้ทั้งในแบบออนไลน์เต็มรูปแบบ และแบบผสมผสาน โดยเป็นการบังคับให้ครูต้องปรับตัวอย่างรวดเร็ว สถานการณ์นี้ทำให้เกิดปัญหาและความกังวลมากมายสำหรับครู โดยเฉพาะครูอาวุโสที่มีอายุมากกว่า 45 ปี ซึ่งดูเหมือนจะถูกคุกคามจากการขาดความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การพัฒนาครูผ่านการเสริมสร้างทักษะ (การเรียนรู้ชุดทักษะใหม่ทั้งหมดสำหรับงานใหม่) และการยกระดับทักษะ (การปรับปรุงและเพิ่มทักษะที่มีอยู่โดยมีเป้าหมายเพื่อความก้าวหน้า) เป็นการตอบสนองที่จำเป็นต่อทั้งการปฏิบัติงานของครูอาวุโส และโลกที่การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันถึงสองครั้ง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์ทักษะในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันและระดับทักษะของครูอาวุโส 2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นของทักษะในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันของครูอาวุโสที่ต้องเสริมสร้างและยกระดับ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะที่ต้องเสริมสร้าง และยกระดับ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างหรือยกระดับทักษะของครูอาวุโส 4) เพื่อนำเสนอแนวทางในการเสริมสร้างและยกระดับทักษะให้กับครูอาวุโส เก็บข้อมูลจากครูอาวุโสอายุ 40-60 โดยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย การวิเคราะห์สมการโครงสร้างแบบกำลังสองน้อยที่สุดบางส่วน (PLS-SEM) การวิเคราะห์เมทริกซ์ความสำคัญและผลการปฏิบัติงาน (IPMA) และ โมเดลสมการโครงสร้าง (SEM) ในโปรแกรม SPSS และ R ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. ทักษะที่สำคัญสำหรับครูอาวุโสในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน มี 2 กลุ่ม ได้แก่ ทักษะการเป็นนวัตกรในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ได้แก่ ทักษะการเชื่อมโยงความคิด ทักษะการตั้งคำถาม ทักษะการสังเกต ทักษะการสร้างเครือข่าย และทักษะการทดลอง และทักษะการทำงานในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ได้แก่ ทักษะการแก้ปัญหา ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และทักษะการสื่อสาร พบว่าครูอาวุโสที่มีภูมิหลังบางอย่าง เช่น ระดับการศึกษา จะมีระดับทักษะด้านต่าง ๆ แตกต่างกัน 2. ผลการวิเคราะห์ด้วย IPMA พบว่า ทักษะในกลุ่มทักษะการเป็นนวัตกรสามารถจัดลำดับเพื่อร่างความต้องการจำเป็น ในการเสริมสร้างและยกระดับทักษะได้ดังนี้ ทักษะการสร้างเครือข่าย ทักษะการทดลอง ทักษะการเชื่อมโยงความคิด ทักษะการตั้งคำถาม และทักษะการสังเกต ในส่วนของกลุ่มทักษะการทำงานในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน ทักษะการแก้ปัญหาเป็นทักษะที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุด รองลงมาคือ ทักษะการสื่อสาร ทักษะการเชื่อมโยงความคิด และทักษะการเรียนรู้แบบนำตนเอง โดยความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มทักษะทั้งสองเท่ากับ .428. 3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างหรือยกระดับทักษะของครูอาวุโส พบว่า ความพร้อมของโรงเรียนและจำนวนของหลักสูตรคุรุสภาที่เคยอบรมมีอิทธิพลต่อทักษะการเป็นนวัตกรและทักษะการทำงานในยุคเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลระหว่าง -.011 ถึง .038 อย่างไรก็ตาม พฤติกรรมการทำงานของครูมีอิทธิพลในระดับสูงกับทั้ง 2 ทักษะ …


แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานที่หลากหลายของนักศึกษาครูในยุคดิจิทัล, จุฑามาศ เตชะภัททวรกุล Jan 2020

แนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานที่หลากหลายของนักศึกษาครูในยุคดิจิทัล, จุฑามาศ เตชะภัททวรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ลักษณะงานที่หลากหลายและทักษะการทำงานที่หลากหลายของครูในยุคดิจิทัล 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของนักศึกษาครูในการพัฒนาทักษะการทำงานที่หลากหลายในยุคดิจิทัลจากหลักสูตรผลิตครู 3) วิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรผลิตครูในการพัฒนาทักษะการทำงานที่หลากหลายของนักศึกษาครูในยุคดิจิทัล และ 4) พัฒนาแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานที่หลากหลายของนักศึกษาครูให้สอดคล้องกับลักษณะงานครูในยุคดิจิทัล การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ลักษณะงานที่หลากหลายและทักษะการทำงานที่หลากหลายของครูในยุคดิจิทัลด้วยการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับการสนทนากลุ่มกับครูในโรงเรียน จำนวน 4 คน การประเมินความต้องการจำเป็นด้านทักษะการทำงานที่หลากหลาย เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการประเมินความต้องการจำเป็นด้านทักษะการทำงานที่หลากหลาย ตัวอย่างวิจัย คือ นักศึกษาครู จำนวน 103 คน และการวิเคราะห์กระบวนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรผลิตครู เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์นักศึกษาครู จำนวน 8 คน สนทนากลุ่มกับนักศึกษาครู จำนวน 5 คน และสนทนากลุ่มกับครูบรรจุใหม่ จำนวน 6 คน ซึ่งข้อมูลในระยะที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา สถิติบรรยาย และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI) และระยะที่ 2 การพัฒนาแนวทางในการเตรียมความพร้อมเพื่อส่งเสริมทักษะการทำงานที่หลากหลายของนักศึกษาครูในยุคดิจิทัล โดยอิงจากข้อมูลในระยะที่ 1 และเก็บรวมรวมข้อมูลจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 3 คน โดยใช้แบบประเมินความเหมาะสม แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติบรรยาย ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ลักษณะงานของครูในโรงเรียนแบ่งเป็นงานด้านการจัดการเรียนการสอนและงานนอกเหนือการจัดการเรียนการสอน และครูที่มีทักษะความสามารถที่หลากหลาย ต้องมีทักษะย่อย 3 ด้าน คือ 1) ทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 2) ทักษะการบริหารจัดการเวลา และ 3) ทักษะทางสังคม 2. นักศึกษาครูมีความต้องการจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาในด้านทักษะการบริหารจัดการเวลามากที่สุด รองลงมาคือทักษะความเข้าใจและใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และทักษะทางสังคมมีความจำเป็นที่ต้องได้รับการพัฒนาน้อยที่สุด 3. สถาบันผลิตครูเตรียมความพร้อมให้นักศึกษาครูเข้าสู่การปฏิบัติงานครูในสภาพจริงด้วย 2 กระบวนการหลัก คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรผลิตครู และกระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู แต่อย่างไรก็ตาม ครูบรรจุใหม่ที่ผ่านการเตรียมความพร้อมมาแล้ว ยังพบปัญหาการทำงานที่หลากหลาย ซึ่งมี 7 ทักษะที่จำเป็นสำหรับการรับมือกับปัญหาเหล่านี้ ได้แก่ 1) ทักษะการปรับตัวทางสังคม 2) ทักษะการแก้ปัญหา 3) ทักษะการปฏิเสธ 4) ทักษะการบริหารจัดการ …


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนประถมศึกษา, ทิพาพร อินทร์ตลาดชุม Jan 2020

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนประถมศึกษา, ทิพาพร อินทร์ตลาดชุม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย ได้แก่ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่พัฒนาขึ้นส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 ห้องเรียน รวมจำนวนเป็น 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ และแผนการจัดการเรียนการสอนหุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาหุ่นยนต์ แบบวัดทักษะทางสังคม ใบกิจกรรมรายวิชาหุ่นยนต์ศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคม ที่พัฒนาขึ้น มี 6 องค์ประกอบ คือ 1) สื่อการเรียนการสอนสำหรับการสร้างทักษะทางสังคม 2) หุ่นยนต์ Lego 3) ใบงาน-ใบความรู้ 4) กิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่ม 5) สภาพแวดล้อมสำหรับการเรียนหุ่นยนต์ และ 6) การสื่อสาร แลกเปลี่ยน และนำเสนอ โดนมีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 9 ขั้นตอน คือ 1) เกริ่นนำโดยการดึงดูดความสนใจ 2) ทบทวนความรู้เดิม 3) ชี้ให้เห็นข้อความสำคัญ 4) นำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบของอุปกรณ์ 5) แสดงให้เห็นถึงวิธีการจัดหมวดข้อมูล6) สร้างความเข้าใจในแต่ละหมวดหมู่ 7) แสดงให้เห็นถึงวิธีการใช้รหัสเพื่อจดจำรายการ 8) จัดเตรียมเรียนรู้ซ้ำและ 9) สร้างความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานและทักษะเบื้องต้น ผลการทดลองการใช้รูปแบบการเรียนรู้หุ่นยนต์ศึกษาตามกระบวนการสารสนเทศทางสังคมที่ส่งผลต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาพบว่า คะแนนเฉลี่ยทักษะทางสังคมหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .00


การวิเคราะห์องค์ประกอบและโปรไฟล์แฝงของความยึดมั่นผูกพัน ของผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร, วรพิชชา เวชวิริยกุล Jan 2020

การวิเคราะห์องค์ประกอบและโปรไฟล์แฝงของความยึดมั่นผูกพัน ของผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร, วรพิชชา เวชวิริยกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน ในบริบทผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร และตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนที่สร้างขึ้นภายหลังจากการศึกษาองค์ประกอบ 2) เพื่อวิเคราะห์กลุ่มโปรไฟล์ของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเกรดเฉลี่ยของผู้เรียนกับคะแนนความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน เก็บข้อมูลกับผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกรุงเทพมหานคร ผ่านแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ลักษณะเป็นแบบประเมินตนเองแบบมาตรประมาณค่า 4 ระดับ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 1) วิเคราะห์คุณภาพของแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน โดยวิเคราะห์ค่าดัชนี IOC วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ วิเคราะห์องค์ประกอบยืนยัน ตรวจสอบค่าความเที่ยง ค่าดัชนีอำนาจจำแนกรายข้อ และตรวจสอบโดยใช้ทฤษฎีการตอบสนองของข้อสอบ 2) วิเคราะห์โปรไฟล์แฝง และ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับครอบครัว ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อน ด้านกฎระเบียบของโรงเรียน และด้านพฤติกรรมการเรียน โมเดลการวัดที่สร้างขึ้นภายหลังวิเคราะห์องค์ประกอบ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 42.29; df = 29; p-value = .053; RMSEA = 0.017) ผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดพบว่า ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบคุณภาพทั้งความตรง ความเที่ยง และอำนาจจำแนก 2) โมเดลที่แบ่งกลุ่มโปรไฟล์ผู้เรียนเป็นจำนวน 5 กลุ่ม มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ที่สุด (LL = -6360.634, BIC = -12927.260) และ 3) เกรดเฉลี่ยของผู้เรียนมีความสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในระดับสูง กับคะแนนความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียนในภาพรวม (r = .804) และทุกองค์ประกอบของความยึดมั่นผูกพันของผู้เรียน (r = .707 - .771)


การพัฒนาและตรวจสอบแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ และ การวิเคราะห์กลุ่มแฝง, วันชนก วงศ์เขียว Jan 2020

การพัฒนาและตรวจสอบแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย : การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ และ การวิเคราะห์กลุ่มแฝง, วันชนก วงศ์เขียว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) วิเคราะห์กลุ่มแฝงของการกลั่นแกล้งรังแกในนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับกำหนดจุดตัดของคุณลักษณะพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก โดยทดสอบกับตัวอย่างจำนวน 834 คนซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบสองขั้นตอน (two-stage random sampling) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก 1.1 แบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกในนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย แบ่งเป็น 4 ตอน ทั้งหมด 113 ข้อ ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้น และทัศนคติเกี่ยวกับการกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 23 ข้อ ตอนที่ 2 พฤติกรรมการถูกกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้ถูกกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 30 ข้อ ตอนที่ 3 พฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแกที่พบเห็น ในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้พบเห็นการกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 30 ข้อ และ ตอนที่ 4 พฤติกรรมที่กระทำการกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะที่นักเรียนเป็นผู้กระทำการกลั่นแกล้งรังแก จำนวน 30 ข้อ 1.2 แบบวัดฉบับนี้ มีค่าความยาก (p) ระหว่าง .080 ถึง .977, (b) ระหว่าง -10.500 ถึง 6.068 มีค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง.017 ถึง .700, (a) ระหว่าง 1.036 ถึง 8.811 มีความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่าดัชนีความสอดคล้องความเห็นของผู้เชี่ยวชาญระหว่าง .4 ถึง 1 ผลการพิจารณา ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ระหว่างแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะผู้กลั่นแกล้งรังแก กับ แบบประเมินพฤติกรรมความก้าวร้าว และ แบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะผู้ถูกกลั่นแกล้งรังแก มีค่าเท่ากับ .353 และ .561 ตามลำดับ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และ .01 แสดงว่าแบบวัดพฤติกรรมการกลั่นแกล้งรังแก ในฐานะผู้กลั่นแกล้งรังแก มีความตรงเชิงเกณฑ์สัมพันธ์สำหรับค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายในมีค่าระหว่าง …


บทบาทของผู้ดูแลเด็กในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากสถานรับเลี้ยงเด็กสู่โรงเรียนอนุบาลในกรุงเทพมหานคร, เมธิกานต์ กลิ่นทุม Jan 2020

บทบาทของผู้ดูแลเด็กในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากสถานรับเลี้ยงเด็กสู่โรงเรียนอนุบาลในกรุงเทพมหานคร, เมธิกานต์ กลิ่นทุม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของผู้ดูแลเด็กในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากสถานรับเลี้ยงเด็กสู่โรงเรียนอนุบาลในกรุงเทพมหานคร ใน 2 ด้าน ได้แก่ 1) การส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน และ 2) การสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ดูแลเด็กที่ดูแลเด็กอายุ 2-3 ปี จำนวน 291 คน จากสถานรับเลี้ยงเด็กในกรุงเทพมหานคร 3 สังกัด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักพัฒนาสังคมกรุงเทพมหานคร และ กรมกิจการเด็กและเยาวชน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า บทบาทผู้ดูแลเด็กในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากสถานรับเลี้ยงเด็กโรงเรียนอนุบาล โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4.25 ด้านที่มีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน เท่ากับ 4.62)ส่วนด้านการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 3.89 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า 1) การส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน ผู้ดูแลเด็กมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติด้านอารมณ์และสังคมสูงที่สุด เท่ากับ 4.78 รองลงมาคือ ด้านสุขภาพและร่างกาย เท่ากับ 4.68 ด้านภาษาและการสื่อสาร เท่ากับ 4.58 และ ด้านสติปัญญา เท่ากับ 4.43 ตามลำดับ และ 2) การสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษา พบว่า ผู้ดูแลเด็กมีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติสูงที่สุด คือ การสื่อสารและสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง เท่ากับ 3.98 รองลงมาคือ การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง เท่ากับ 3.85 และ การสร้างความต่อเนื่องทางการศึกษาให้แก่เด็ก เท่ากับ 3.80 ตามลำดับ ปัญหาที่ผู้ดูแลเด็กพบมากที่สุด คือ การสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากสถานรับเลี้ยงเด็กสู่โรงเรียนอนุบาล เนื่องจากการขาดความร่วมมือจากผู้ปกครองในการเตรียมความพร้อมเด็กเพื่อปรับตัวเข้าสู่โรงเรียนอนุบาล โดยมีข้อเสนอแนะว่า ผู้ดูแลเด็กควรให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญในการเตรียมความพร้อมทางการเรียนให้แก่เด็กเพื่อใช้ในการปรับตัวเข้าสู่โรงเรียนอนุบาล ส่วนด้านการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน พบว่า ผู้ดูแลเด็กให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์และสังคม ด้านสุขภาพและร่างกาย และด้านภาษาและการสื่อสาร มากกว่า การส่งเสริมด้านสติปัญญา ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอแนะว่า ผู้ดูแลเด็กควรส่งเสริมพัฒนาการอย่างเหมาะสมกับวัยให้ครบทั้ง 4 ด้านอย่างเป็นองค์รวม