Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Communication

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 30 of 41

Full-Text Articles in Entire DC Network

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีน, ธวัลรัตน์ ยศกรวราเกียรติ Jan 2017

ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีน, ธวัลรัตน์ ยศกรวราเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อการศึกษา 1.) เพื่อศึกษาการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค 2.) เพื่อศึกษาถึงความแตกต่างของลักษณะทางประชากรกับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค 3.) เพื่อศึกษาถึงความสัมพันธ์ของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค 4.) เพื่อศึกษาถึงอิทธิพลของการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน ทัศนคติต่อส่วนประสมทางด้านการตลาดของสำนักพิมพ์ ที่มีต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค โดยให้กลุ่มตัวอย่างที่เคยอ่านนวนิยายจีนตอบแบบสอบถามออนไลน์ จำนวน 400 คน จากผลวิจัยเชิงปริมาณพบว่า 1.) ผู้บริโภคมีการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีนผ่านสื่อออนไลน์มากที่สุด 2.) ผู้บริโภคเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์ในด้านผลิตภัณฑ์ 3.) เนื้อเรื่องของนวนิยายจีนมีผลต่อพฤติกรรมของผู้บริโภคในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนเป็นประจำ 4.) ผู้บริโภคที่มีเพศแตกต่างกันมีผลต่อการเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีนแตกต่างกัน 5.) ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีทัศนคติต่อส่วนประสมทางการตลาดแตกต่างกัน 6.) ผู้บริโภคที่มีเพศ อายุ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือนแตกต่างกันมีพฤติกรรมในการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนแตกต่างกัน 7.) การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีนกับทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์ และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีน มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวก และมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ 8.) ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์และพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง 9.) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อนวนิยายจีนของผู้บริโภค คือ การเปิดรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับนวนิยายจีน (ฺBeta = 0.323) และทัศนคติที่มีต่อส่วนประสมทางการตลาดของสำนักพิมพ์ (Beta = 0.220)


กลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์และการสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ, ภัสสร ปราชญากูล Jan 2017

กลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์และการสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ, ภัสสร ปราชญากูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์ตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ 2) เพื่อศึกษากลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ ศึกษาด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative method) โดยประกอบไปด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) ผู้มีบทบาทในการกำหนดเอกลักษณ์และสื่อสารตราสินค้าบุคคลของแต่ละเพจ จำนวน 5 เพจ ได้แก่เพจ Lowcostcosplay, บันทึกของตุ๊ด, นัดเป็ด, คาราโอเกะชั้นใต้ดิน, Drama-addict และทำการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรเกี่ยวกับการสื่อสารตราสินค้าและสื่อดิจิทัลจำนวน 10 ท่าน และ ทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) โดยศึกษาบนเฟซบุ๊กแฟนเพจทั้ง 5 เพจย้อนหลังเป็นเวลา 2 เดือน ได้แก่ เดือนมีนาคม และ เมษายน 2561 ผลการศึกษาของทั้ง 5 ตราสินค้าพบว่ากลยุทธ์การกำหนดเอกลักษณ์ตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ ประกอบด้วย 8 มิติ คือ การกำหนดคุณสมบัติ, ขอบเขต, คุณภาพ, คุณประโยชน์ด้านอารมณ์, บุคลิกภาพตราสินค้า, สัญลักษณ์, ความสัมพันธ์ระหว่างผู้บริโภค และ การกำหนดการวางจุดยืนตราสินค้า ในส่วนของกลยุทธ์การสื่อสารตราสินค้าบุคคลผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจจะประกอบไปด้วย 5 ประการหลัก ได้แก่ รูปแบบในการโพสต์, การกำหนดเวลาและจำนวนในการโพสต์, แกนเนื้อหาในการโพสต์, การปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ติดตามเพจ, การใช้งบประมาณในการสื่อสาร ส่วนปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการสร้างตราสินค้าบุคคลของผู้มีอิทธิพลออนไลน์ไทยผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจนั้นประกอบไปด้วย 3 ประการ ได้แก่ การสร้างเอกลักษณ์ตราสินค้า, การผลิตและพัฒนาคุณภาพของเนื้อหา และ ความเชี่ยวชาญบนแพลตฟอร์มเฟซบุ๊กแฟนเพจ


การประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2560, อวิรุทธ์ ศิริโสภณา Jan 2017

การประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงที่ถ่ายทอดผ่านตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 - 2560, อวิรุทธ์ ศิริโสภณา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะและพัฒนาการของตัวละครหญิง ตลอดจนศึกษาการประกอบสร้างความหมายของผู้หญิงในสังคมไทย ผ่านละครโทรทัศน์ไทยยอดนิยมที่ถูกผลิตซ้ำ ระหว่างปี พ.ศ. 2530 – 2560 โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยกระบวนการวิเคราะห์เนื้อหา และการวิเคราะห์ตัวบท ผ่านละครโทรทัศน์ 5 เรื่อง ได้แก่ น้ำเซาะทราย เพลิงพระนาง เพลิงบุญ มายา และเมียหลวง ประกอบกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์ และนักวิชาการด้านสื่อสารมวลชน ผลการวิจัยพบว่า ตัวละครหญิงในละครโทรทัศน์ทั้ง 5 เรื่อง ปรากฏคุณลักษณะทางประชากรศาสตร์ ในระดับการเปลี่ยนแปลงที่ค่อนข้างสูง อันสอดรับกับบริบทของสังคม เช่น ลักษณะทางกายภาพ การศึกษา อาชีพ พื้นที่ เป็นต้น แต่คุณลักษณะทางจิตวิทยา มีระดับการเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับต่ำ ได้แก่ ภูมิหลัง ความต้องการ ความขัดแย้ง เป้าหมาย และการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้โครงเรื่องหลักไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลง ส่งผลให้เกิดชุดความคิดเกี่ยวกับเรื่องผู้หญิงในลักษณะการตกเป็นรองผู้ชายเช่นเดิมในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา ได้แก่ 1) อุดมคติหญิงไทย 2) บทบาทและหน้าที่ 3) ค่านิยมด้านคู่ครอง ซึ่งมีเพียงบางประเด็นของชุดความคิดที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของตัวละครหญิงในละครเวอร์ชันหลัง เช่น การศึกษา อาชีพ พื้นที่ เป็นต้น การวิจัยครั้งนี้ได้ข้อสรุปว่า พฤติกรรมการชมละครโทรทัศน์แบบเอา "รส" แต่ไม่เอา "เรื่อง" ของผู้ชม ส่งผลให้เกิด "การผลิตซ้ำย้ำความหมายเดิม" โดยมีผู้สร้างสรรค์ละครโทรทัศน์เป็นผู้ประกอบสร้างความหมายเหล่านั้นให้กลายเป็น "ความเป็นจริง" ของสังคมเรื่อยมาตามความต้องการของผู้ชม สิ่งเหล่านี้แสดงถึงการตกอยู่ภายใต้ "อุดมการณ์ปิตาธิปไตย" ในการขับเคลื่อนสังคมต่อไป


เทคนิคการนำเสนอรายการ "ชัวร์ก่อนแชร์" และการรับรู้ของผู้ชม, ประวีณา พลเขตต์ Jan 2017

เทคนิคการนำเสนอรายการ "ชัวร์ก่อนแชร์" และการรับรู้ของผู้ชม, ประวีณา พลเขตต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เทคนิคการนำเสนอรายการชัวร์ก่อนแชร์ 2) ศึกษาการรับรู้ของผู้ชมรายการชัวร์ก่อนแชร์ โดยใช้แนวคิดการสื่อสารสุขภาพ แนวคิดการสื่อสารเพื่อการโน้มน้าวใจ แนวคิดการวิเคราะห์เนื้อหา และแนวคิดการสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ เป็นกรอบในการวิเคราะห์เทคนิคการนำเสนอรายการชัวร์ก่อนแชร์ ที่ผู้วิจัยศึกษาผ่านการวิเคราะห์เนื้อหารายการชัวร์ก่อนแชร์ตอนที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสุขภาพจำนวน 60 ตอน ระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 ด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและตารางลงรหัส (Coding Sheet) และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key-Information Interview) อันได้แก่ ผู้ผลิตรายการชัวร์ก่อนแชร์ ผู้บริหารสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 MCOT HD และผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ จำนวน 3 คนด้วยชุดคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้าง และใช้ทฤษฎีประโยชน์และความพึงพอใจของผู้รับสาร ทฤษฎีการเปิดรับข่าวสาร แนวคิดการรับรู้และแนวคิดการรู้เท่าทันสื่อ เป็นกรอบในการวิเคราะห์การรับรู้ของผู้ชมผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ชมตัวอย่างที่มีการรับชมรายการชัวร์ก่อนแชร์อยู่เป็นประจำ และมีปฏิสัมพันธ์กับรายการอย่างสม่ำเสมอ จำนวน 10 คน ด้วยชุดคำถามปลายเปิดแบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า 1) รายการชัวร์ก่อนแชร์มีเทคนิคการนำเสนอแบ่งออกเป็น 4 เทคนิค คือ เทคนิคด้านกลยุทธ์การนำเสนอ ที่แบ่งออกเป็น กลยุทธ์ด้านรูปแบบรายการ กลยุทธ์สาร และกลยุทธ์การสื่อสารสุขภาพ เทคนิคด้านกระบวนการผลิต ที่แบ่งออกเป็น ขั้นตอนก่อนการผลิต ขั้นตอนระหว่างการผลิต และขั้นตอนหลังการผลิต เทคนิคด้านช่องทางการสื่อสาร และทคนิคด้านนโยบายและการสนับสนุน ที่แบ่งออกเป็นด้านนโยบายและการสนับสนุนจากทางสถานี และด้านการสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ โดย 2) กลุ่มตัวอย่างผู้ชมรายการชัวร์ก่อนแชร์มีการรับรู้ด้านเนื้อหารายการ และการรับรู้ด้านวิธีการนำเสนอของรายการชัวร์ก่อนแชร์ที่ไม่แตกต่างกัน แต่ในแง่ของการรับรู้แบบรู้เท่าทันสื่อ และการนำไปใช้ประโยชน์แตกต่างกัน เช่นเดียวกับระดับการเปิดรับที่พบว่า รายการชัวร์ก่อนแชร์สามารถเปลี่ยนแปลงทัศนคติการเชื่อและการแชร์ข่าวในกลุ่มผู้ชมตัวอย่างได้ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการเชื่อและการแชร์ข่าวในกลุ่มผู้ชมตัวอย่างได้ เนื่องมาจากปัจจัยด้านภูมิหลังการศึกษาและสังคม พฤติกรรมการใช้สื่อ ประสบการณ์และทัศนคติต่อข่าวแชร์ อุปนิสัย และความชอบส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มตัวอย่างผู้ชมได้มีการนำรายการชัวร์ก่อนแชร์ไปใช้ประโยชน์ใน 8 บทบาท คือ 1) บทบาทในการเป็นแหล่งความรู้ 2) บทบาทในการเป็นแหล่งข่าวสาร 3) บทบาทในการสร้างความตระหนักและวิจารณญาณ 4) บทบาทด้านการตรวจสอบข้อมูล 5) บทบาทด้านการเป็นแหล่งอ้างอิงที่เชื่อถือได้ของสังคม 6) บทบาทด้านสื่อการสอน 7) บทบาทในแง่เป็นตัวกลางสานสัมพันธ์เพื่อนและครอบครัว และ 8) บทบาทให้สาระฆ่าเวลา


การเปิดโปงหน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปดอทคอม, ปองรัก เกษมสันต์ Jan 2017

การเปิดโปงหน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปดอทคอม, ปองรัก เกษมสันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปรากฏการณ์กระทู้หน้าม้า หรือกระทู้รับจ้างรีวิวสินค้าในเว็บไซต์พันทิปดอทคอม โดยเลือกศึกษาเฉพาะลักษณะเด่นของกระทู้หน้าม้า กระบวนการตรวจสอบและเปิดโปงหน้าม้า รวมทั้งกระบวนการสร้างและส่งเสริมการกำกับดูแลกันเองทั้งโดยผู้ใช้พันทิปและทีมงานพันทิป การศึกษาใช้การวิเคราะห์เนื้อหาจากกรณีตัวอย่าง 5 กรณีระหว่าง พ.ศ. 2556 – 2559 การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ใช้พันทิป และการสนทนากลุ่มผู้นิยมอ่านรีวิวในอินเทอร์เน็ต ผลการศึกษาพบว่า กระทู้หน้าม้าในเว็บไซต์พันทิปดอทคอมปรากฏอยู่ในสามรูปแบบหลัก ๆ ตามลักษณะการนำเสนอเนื้อหา ได้แก่ กระทู้รีวิวแบบพื้นฐานทั่วไป กระทู้สาธิตวิธีการสร้างสิ่งใหม่โดยมีสินค้าหรือบริการหนึ่ง ๆ เป็นส่วนประกอบ และกระทู้เปิดประเด็นให้เกิดบทสนทนา โดยกระทู้หน้าม้าทั้งสามรูปแบบนี้จะมีองค์ประกอบสำคัญสองประเภทคือ การสร้างความดึงดูดใจ และการสร้างความแนบเนียนให้เนื้อหาดูไม่ออกว่ามาจากหน้าม้า ในส่วนของการตรวจสอบและเปิดโปงกระทู้ที่ต้องสงสัยว่าจะเป็นกระทู้หน้าม้านั้น จากการศึกษาพบว่า มีกระบวนการที่เป็นขั้นตอนดังนี้คือ 1) การวิเคราะห์ความสมจริงและความสอดคล้องของคำบรรยายกับภาพประกอบ 2) การค้นคว้าข้อมูลอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ปรากฏในกระทู้ ทั้งที่อยู่ในเว็บไซต์พันทิปเองและเว็บไซต์อื่น และ 3) การสืบหาข้อมูลที่ไม่เคยมีการเผยแพร่มาก่อน เพื่อให้การเปิดโปงมีน้ำหนักมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบว่า การกำกับดูแลกระทู้หน้าม้าในชุมชนออนไลน์พันทิปนั้น จะมีที่มาจากสองส่วน ได้แก่ การออกแบบเว็บไซต์ของพันทิป กับ การการลงโทษโดยสมาชิกพันทิปด้วยกัน โดยทั้งสองส่วนนี้ต่างประกอบด้วยสองแนวทางคือ กระบวนการรับมือกับปัญหาหน้าม้า และกระบวนการสื่อสารหลังเกิดปัญหาหน้าม้า


การลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะด้วยการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ, อิสระ อุทัยพัฒนะศักดิ์ Jan 2017

การลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะด้วยการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ, อิสระ อุทัยพัฒนะศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเรื่อง การลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะด้วยการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิผลของการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการในการลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะ และ 2) ศึกษากระบวนการในการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการในการลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะ โดยใช้โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบสหวิธีการ ซึ่งเป็นการผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ และการสังเกต โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 10 คน รวมเป็น 20 คน ซึ่งเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบรายงานตนเองเกี่ยวกับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะและแบบรายงานตนเองเกี่ยวกับความมั่นใจในฐานะผู้พูด เพื่อใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูลความกังวล โดยกลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการควบคู่ไปกับการพูดต่อหน้าสาธารณะ เป็นเวลา 7 วันติดต่อกัน พร้อมไปกับการฝึกพูดต่อหน้าสาธารณะร่วมกับกลุ่มควบคุมทันทีหลังจากเสร็จการฝึกโยคะในทุกๆวัน ผลการศึกษาพบว่า การฝึกท่าชุดสุริยนมัสการมีประสิทธิผลในการลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะแต่ต้องใช้ควบคู่ไปกับการฝึกพูดด้วย เนื่องจากการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการช่วยในการเพิ่มสมาธิและฝึกจดจ่อ สร้างเสริมสมรรถภาพร่างกาย รวมไปถึงลดความกังวลในเรื่องทั่วไปในชีวิตประจำวัน แต่ความกังวลพูดในที่สาธารณะมีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น การเตรียมตัวของผู้พูด ความคุ้นชินระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง รวมไปถึงความถนัดของผู้พูดแต่ละคน ดังนั้นการฝึกท่าชุดสุริยนมัสการควบคู่กับการเตรียมเนื้อหาให้พร้อมก่อนการพูด รวมถึงการลดความตึงเครียดและมีสมาธิกับการพูดต่อหน้ากลุ่มผู้ฟังด้วยความมั่นใจในตนเอง ก็จะสามารถลดระดับความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะได้ คำสำคัญ: ความกังวลในการพูดต่อหน้าสาธารณะ การฝึกท่าชุดสุริยนมัสการ


ภาพตัวแทนของพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในภาพยนตร์ไทย, วิริยาภรณ์ จุนหะวิทยะ Jan 2017

ภาพตัวแทนของพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในภาพยนตร์ไทย, วิริยาภรณ์ จุนหะวิทยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างภาพตัวแทนของพื้นที่ และความสัมพันธ์ระหว่างภาพตัวแทนของพื้นที่กับปรากฏการณ์ทางสังคมเกี่ยวกับพื้นที่ "สามจังหวัดชายแดนภาคใต้" ในภาพยนตร์ไทย โดยมุ่งเน้นการวิเคราะห์เนื้อหา (Textual Analysis) และวิเคราะห์บริบท (Contextual Analysis) ผ่านภาพยนตร์ไทยขนาดยาวที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผลิตและออกฉายในช่วงปี พ.ศ. 2546-2559 จำนวน 6 เรื่อง ประกอบการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ผลิตภาพยนตร์และนักวิชาการ จำนวน 7 ท่าน ผลการวิจัยพบว่า ภาพยนตร์ไทยสร้างภาพตัวแทนของพื้นที่ "สามจังหวัดชายแดนภาคใต้" ด้วยกลวิธีที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับลักษณะของระบบการสร้าง ตระกูลภาพยนตร์ และองค์ประกอบของเรื่องเล่าแต่ละประเภท โดยภาพยนตร์ที่สร้างในระบบสตูดิโอมักหลีกเลี่ยงการพูดถึงประเด็นความรุนแรงในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้โดยตรง ส่วนภาพยนตร์นอกระบบนั้นมักใช้วิธีการนำเสนอเชิงศิลปะและมุมมองเชิงปัจเจกในการวิพากษ์เหตุการณ์ ซึ่งภาพยนตร์ส่วนใหญ่ใช้องค์ประกอบการเล่าเรื่องตามตระกูลภาพยนตร์ที่สามารถเล่าเรื่องให้เข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ ภาพยนตร์แนวบันเทิงคดีนั้นมีวิธีการเล่าเรื่องพื้นที่อย่างหลากหลาย ไม่ยึดติดกับข้อมูลความจริง แตกต่างจากภาพยนตร์สารคดีที่เน้นการบันทึกภาพจากเหตุการณ์จริงมากกว่า ด้านความสัมพันธ์ระหว่างภาพตัวแทนของพื้นที่ "สามจังหวัดชายแดนภาคใต้" ในภาพยนตร์ไทยกับปรากฏการณ์ทางสังคมนั้น มีบทบาทในการสะท้อน การแสดงเจตจำนง และการประกอบสร้างความหมายของพื้นที่ตั้งแต่ระดับปัจเจกไปจนถึงระดับโครงสร้าง โดยผู้ผลิตภาพยนตร์เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตความหมายของพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ผ่านสายตาของคนนอกพื้นที่ที่พยายามจะเข้าใกล้และทำความเข้าใจกับพื้นที่ดังกล่าวในเชิงบวกมากขึ้น


วาทกรรม อำนาจ และการสื่อสารวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทของไทย, พงษ์พันธุ์ กีรติวศิน Jan 2017

วาทกรรม อำนาจ และการสื่อสารวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทของไทย, พงษ์พันธุ์ กีรติวศิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มุ่งวิเคราะห์และอธิบายวาทกรรมและการสื่อสารวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทของไทยและวิพากษ์เชิงอำนาจผ่านชุดวาทกรรมภิกษุณีเถรวาทของไทยภายใต้กรอบแนวคิดวาทกรรมของ Foucault โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์วาทกรรมเชิงวิพากษ์ (Critical discourse analysis) โดยใช้แหล่งข้อมูลจากเอกสารจากหอจดหมายเหตุช่วงปีพ.ศ. 2471 ถึง พ.ศ. 2472 หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์ รวมทั้งสื่ออื่น ๆ เช่นสื่อออนไลน์ และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกภิกษุณีสำนักต่าง ๆ ทั่วประเทศ รวม 7 รูป ผลการวิจัยพบว่ามีความพยายามอย่างน้อยสองครั้งในการที่จะรื้อฟื้นภิกษุณีบริษัทขึ้นในประเทศไทย ครั้งแรกถูกบันทึกไว้ในปีพ.ศ. 2472 โดยการริเริ่มของนายนรินทร์ กลึง ภาษิต ความพยายามครั้งนั้นไม่ประสบความสำเร็จแต่ได้ทำให้เกิดการปะทะกันของวาทกรรมเกี่ยวกับความถูกต้องชอบธรรมในการรื้อฟื้นภิกษุณีบริษัท การปะทะกันของวาทกรรมเกิดขึ้นอีกครั้งในปีพ.ศ. 2544 เมื่อฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ได้เข้ารับการบรรพชาที่ประเทศศรีลังกา และประกาศตนเป็นสามเณรีเถรวาทรูปแรกของไทย การปะทะกันของวาทกรรมทั้งสองครั้งเกิดขึ้นภายใต้กรอบความรู้ พระพุทธศาสนา อำนาจรัฐ และจารีตประเพณี โดยพบว่ามีการใช้กลยุทธ์การสื่อสารวาทกรรมในลักษณะ การอธิบาย การโต้แย้งและประณาม การใช้อำนาจบังคับ การใช้องค์กรสถาบัน การใช้ความรุนแรง การใช้การดื้อดึง และการปฏิบัติ ผ่านการใช้สื่อต่าง ๆ ได้ สื่อมวลชน สื่อสังคมออนไลน์ การบังคับใช้กฎหมาย วัตรปฏิบัติและการทำประโยชน์แก่สังคมของภิกษุณี


การจัดการวิกฤตบนสื่อออนไลน์ของรายการ Club Friday The Series และ Let Me In Thailand, กวินธิดา จงถาวรสถิตย์ Jan 2017

การจัดการวิกฤตบนสื่อออนไลน์ของรายการ Club Friday The Series และ Let Me In Thailand, กวินธิดา จงถาวรสถิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาวิธีการจัดการวิกฤตในภาวะวิกฤตบนสื่อออนไลน์ และ 2.) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อการจัดการวิกฤตของรายการ Club Friday The Series กรณี "ป้าซุ่มทุ่มไม่อั้น" และกรณีรายการ Let Me In Thailand - ศัลยกรรมพลิกชีวิต ซีซั่น 3 เรื่องการโกหกเรื่องประวัติของผู้เข้าร่วมรายการ โดยศึกษาจาก 1.) การเฝ้าสังเกตปรากฏการณ์ผ่านโพสต์ คอมเม้นต์ และแชร์ของผู้เข้าชมบนเฟซบุ๊กแฟนเพจ Club Friday The Series และรายการ Let Me In Thailand – ศัลยกรรมพลิกชีวิต ทวิตเตอร์ (Twitter) เว็บไซต์พันทิป (Pantip.com) และเว็บไซต์ข่าวออนไลน์ ในช่วงเกิดภาวะวิกฤตจนกระทั่งภาวะวิกฤตสิ้นสุดลง เพื่อศึกษาการรับมือภาวะวิกฤตของทางรายการและความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นผู้ชมรายการ และ 2.) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการภาวะวิกฤตบนสื่อออนไลน์และสื่อมวลชน จำนวนรวมทั้งสิ้น 4 ท่าน ผลการศึกษาพบว่า ถึงแม้ภาวะวิกฤตบนสื่อออนไลน์จะส่งผลให้ผู้ชมเกิดทัศนคติในแง่ลบต่อรายการ แต่ก็เป็นการทำให้ยอดการรับชมรายการตอนที่เกิดภาวะวิกฤตเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้รายการ Club Friday The Series ได้เลือกใช้วิธีนิ่งเฉยก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็นการให้สัมภาษณ์เพื่อชี้แจงถึงภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นในภายหลัง แต่เนื่องจากทางรายการใช้เวลาดำเนินการนานเกินไป ทัศนคติในแง่ลบที่มีต่อรายการและแบรนด์บุคคลของคุณสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา (ดีเจพี่ฉอด) ผู้เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท จีเอ็มเอ็ม มีเดีย จึงยังไม่ถูกแก้ไข แต่เนื่องจากคุณสายทิพย์ได้ทำกิจกรรมเพื่อสังคมมาโดยตลอด จึงมีผู้ชมส่วนหนึ่งยังคงให้การสนับสนุนคุณสายทิพย์และรายการต่อไป ส่วนทางด้านรายการ Let Me In – Thailand เลือกใช้วิธีนิ่งเฉย และถึงแม้ว่ากลยุทธ์นี้จะทำให้ผู้ชมจะลืมภาวะวิกฤตที่เกิดขึ้นได้ แต่ภาพลักษณ์ของรายการและทัศนคติของผู้บริโภคก็ไม่ได้ถูกฟื้นฟูให้ดีขึ้นแต่อย่างใด


การตระหนักรู้ของดิจิทัลเนทีฟไทยต่อการละเมิดลิขสิทธิ์การ์ตูนและแอนิเมชันญี่ปุ่นออนไลน์, ดารารัตน์ ภูธร Jan 2017

การตระหนักรู้ของดิจิทัลเนทีฟไทยต่อการละเมิดลิขสิทธิ์การ์ตูนและแอนิเมชันญี่ปุ่นออนไลน์, ดารารัตน์ ภูธร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง ปฏิภาณทางภาษาเชิง "สองแง่สองง่าม" ในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายในการศึกษา 3 ประการ ประการแรกเพื่อศึกษาการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย ประการต่อมาเพื่อเปรียบเทียบการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทยที่ต่างสมัยกัน และประการสุดท้ายวิเคราะห์วัฒนธรรมทางเพศวิถีที่สะท้อนผ่านภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย ซึ่งแบ่งยุคเพลงได้เป็น 3 ยุค คือ ยุคแรก (ราวพ.ศ. 2500 - 2519) ยุคกลาง (ราวพ.ศ. 2520 - 2549) และยุคปัจจุบัน (ราวพ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน) โดยใช้เครื่องมือวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์ตัวบท (Textual analysis) จากกลุ่มตัวอย่างเพลงลูกทุ่งไทยที่ศึกษาจำนวน 33 เพลง ประการแรก พบการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่าม 8 ประเภท ได้แก่ 1) สัญลักษณ์ 2) คำผวน 3) การเปลี่ยนเสียงสระ/พยัญชนะแต่เห็นเค้าคำสังวาส 4) คำพ้องเสียง 5) คำคุณศัพท์ที่สื่อนัยทางเพศ 6) หักข้อรอจังหวะ 7) การเล่าเรื่อง และ 8) การเลียนเสียงธรรมชาติ โดยพบการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามประเภทสัญลักษณ์มากที่สุด ประการที่สอง การใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทยแต่ละยุคมีความแตกต่างกัน โดยเพลงยุคแรกอยู่ในยุคที่มีการจัดระเบียบสังคมที่ส่งผลต่อความเคร่งครัดในการใช้ภาษาสุภาพ เพลงส่วนใหญ่จึงมีการเซ็นเซอร์ตัวเองสูง เพลงยุคปัจจุบันพบการใช้คำร้องภาษาเชิงสองแง่สองง่ามที่ตรงไปตรงมามากขึ้นเช่นเพลง "ปูหนีบอีปิ๊", "Yes แน่นอน" เพราะความคลี่คลายของยุคสมัยเนื่องจากอิทธิพลโลกาภิวัตน์และโดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เช่น Youtube ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแสดงศิลปะของตนอย่างเสรีมากขึ้นและปราศจากการควบคุมจากภาครัฐ ประการสุดท้าย วัฒนธรรมทางเพศวิถีพบว่า ภาพลักษณ์และพฤติกรรมทางเพศ สถานที่ และความเชื่อเรื่องเพศ สะท้อนอำนาจของฝ่ายชายหรือสังคมปิตาธิปไตย (Patriarchy) ที่สังคมอนุญาตให้เป็นผู้เริ่มปฏิบัติการทางเพศตั้งแต่ฝากรักไปจนถึงการร่วมเพศ อย่างไรก็ตาม ในหลาย ๆ บทเพลงโดยเฉพาะยุคกลางและยุคปัจจุบัน เช่นเพลง "ผู้ชายในฝัน", "ปล่อยน้ำใส่นาน้อง" ก็พบว่าฝ่ายหญิงท้าทายสังคมปิตาธิปไตยซึ่งฝ่ายหญิงเป็นผู้เริ่มปฏิบัติการทางเพศก่อน ดังนั้น ในบางแง่ของเพลงลูกทุ่งไทยกำลังยกระดับความเท่าเทียมกันทางเพศวิถีหญิงชายไทย


การแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะกับวาทกรรมความเป็นชาติไทย, ธันย์ชนก รื่นถวิล Jan 2017

การแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะกับวาทกรรมความเป็นชาติไทย, ธันย์ชนก รื่นถวิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทและวิธีการที่รัฐเข้าแทรกแซงการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะของประชาชน เพื่อศึกษาปัจจัยตัวกำหนดการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะ และเพื่อศึกษาการสร้างวาทกรรมของความเป็นชาติไทย ผ่านการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะในช่วงถวายความอาลัยแด่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามมินทราธิราช บรมนาถบพิตร นับตั้งแต่วันที่ 13 ตุลาคม 2559 ถึงวันที่ 20 มกราคม 2560 จากผลการวิจัยพบว่าช่วงเวลาหลังเหตุการณ์สวรรคตมีความสำคัญและมีความเปราะบางอย่างยิ่งทั้งในด้านการเมืองคือช่วงเวลาของการผลัดแผ่นดิน และด้านอารมณ์ความรู้สึกของปัจเจกชนที่ต้องเผชิญหน้ากับความสูญเสียองค์พระมหากษัตริย์อย่างกระทันหัน รัฐจึงจำเป็นต้องเข้ามาเป็นผู้จัดการแทรกแซงในการแสดงออกความโศกเศร้าของปัจเจกเพื่อให้ปัจเจกชนมองเห็นความสัมพันธ์ระหว่ารัฐกับปัจเจกชน ตลอดจนแสดงออกถึงความพวกพ้องในชาติเดียวกัน ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของอำนาจที่จำผูกโยงปัจเจกชนเข้ากับรัฐชาติในฐานะ "พลเมืองไทย" ผ่านการจัดการของรัฐที่จัดการควบคุมเทศะหรือพื้นที่สาธารณะ รวมทั้งจัดการร่างกายในฐานะตัวแทนหรือสื่อแทนความหมาย (carrier of signification) และการจัดการตรวจตรา (surveillance) การสังเกต (observe) หรือการเพ่งมอง (gaze) โดยกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อปฏิบัติตนต่างๆ ที่ได้กลายมาเป็นเกณฑ์มาตรฐาน นอกจากนี้ยังพบว่าปัจจัยตัวกำหนดการแสดงความโศกเศร้าสาธารณะ อันได้แก่ ปัจจัยที่หนึ่งพิธีกรรมเป็นตัวกระตุ้นสำนึกความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างความคิดของปัจเจกกับสังคม ปัจจัยที่สองสถานภาพที่แสดงให้เห็นถึงสถานภาพของสถาบันกษัตริย์ที่เป็นศูนย์กลางแห่งความดีงามที่ถูกแสดงผ่านพิธีกรรม ปัจจัยที่สามบทบาทของปัจเจกชนที่จำเป็นจะต้องสวมบทบาทให้สอดคล้องกับสถานภาพของตน ดังนั้นทั้งการแทรกแซงของรัฐและปัจจัยตัวกำหนดการแสดงออกความโศกเศร้าสาธารณะได้สะท้อนวาทกรรมของความเป็นชาติไทย อันได้แก่ วาทกรรมกษัตริย์นิยม (Royalism) และ วาทกรรมชาตินิยม (Nationalism) ที่ถูกนำมาใช้ร่วมกันอย่างแยกไม่ออกจนกลายเป็นอัตลักษณ์ร่วม (collective identity) อย่างหนึ่งของความเป็นไทย


ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่มีการโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบ, ปรมินทร์ ศิรินุกุลวัฒนา Jan 2017

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่มีการโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบ, ปรมินทร์ ศิรินุกุลวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับ การจดจำ ทัศนคติและความตั้งใจซื้อของผู้ชมต่อตราสินค้าที่มีการโฆษณาแฝงและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อของผู้ชมจากการทำโฆษณาแฝงในรายการเกี่ยวกับอาหารบนยูทูบ ได้แก่ รายการ GGcooking และล้างตู้เย็นและอิ่ม TIPS โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ด้วยการสำรวจโดยใช้แบบสอบถามกับผู้ชมที่เคยรับชมรายการ จำนวนรายการละ 200 คน รวม 400 คน ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างโดยรวมมีพฤติกรรมเปิดรับชมรายการอาหารบนยูทูบค่อนข้างมาก โดยมีลักษณะการรับชมค่อนข้างบ่อยครั้งและใช้ระยะเวลาค่อนข้างนานในการรับชมต่อครั้ง มีความสามารถจดจำตราสินค้าที่ทำการโฆษณาแฝงในรายการอาหารยูทูบในระดับปานกลาง มีทัศนคติต่อตราสินค้าที่ทำโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบในระดับดี มีความชื่นชอบต่อโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบในระดับปานกลาง โดยชื่นชอบโฆษณาแฝงแบบการเชื่อมโยงสินค้ากับเนื้อหา (Tie-In) มากที่สุด และมีความตั้งใจซื้อสินค้าที่ทำการโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบในระดับปานกลาง สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าที่ทำโฆษณาแฝงในรายการอาหารบนยูทูบของผู้ชมนั้น ได้แก่ ทัศนคติต่อรูปแบบโฆษณาแฝง (Beta = 0.469) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และทัศนคติต่อตราสินค้า (Beta = 0.336) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01


การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของผู้ฟังรายการพ็อดคาสท์, ปวรรัตน์ ระเวง Jan 2017

การรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของผู้ฟังรายการพ็อดคาสท์, ปวรรัตน์ ระเวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. อธิบายความเหมาะสมของเนื้อหารายการพ็อดคาสท์ และ 2. อธิบายการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลในรายการพ็อดคาสท์ของผู้ฟังรายการ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยด้วยการวิเคราะห์เนื้อหารายการพ็อดคาสท์ประเภทไฟล์เสียงภาษาไทย สุ่มเลือกจากกลุ่มรายการพ็อดคาสท์ในช่วงเดือนธันวาคม 2560 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2561 รวมจำนวนรายการที่นำมาวิเคราะห์ 104 ตอน หลังจากนั้นดำเนินการสนทนากลุ่มผู้ฟังรายการพ็อดคาสท์ จำนวน 4 กลุ่ม ได้แก่ วัยทำงานชายและหญิง และนักเรียนมัธยมชายและหญิง กลุ่มละ 6-7 คน ผลการวิจัย ด้านการใช้ภาษา พบว่า มีเนื้อหารายการที่อาจทำให้เกิดการเรียนรู้ที่ไม่เหมาะสมในเรื่องการใช้ภาษาในรายการสนทนา ด้านพฤติกรรมและความรุนแรง พบว่า มีเนื้อหารายการที่อาจนำไปสู่ความรุนแรงและอันตรายโดยแทรกเป็นส่วนประกอบของรายการ และเรื่องทางเพศ พบในบทสนทนาหรือคำพูดที่สร้างค่านิยมเรื่องเพศที่ไม่เหมาะสมปรากฏอยู่ รวมถึงเนื้อหาทางเพศที่ล่อแหลม สำหรับการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลของผู้ฟังรายการพ็อดคาสท์ พบว่า กลุ่มวัยทำงานและกลุ่มนักเรียนมัธยม มีความสามารถในการเข้าถึงพ็อดคาสท์สูง สามารถควบคุมการใช้งานได้ด้วยตนเอง มีความสามารถในการทำความเข้าใจและใช้ความคิดในเชิงวิพากษ์ถึงคุณภาพ ความน่าเชื่อถือ และมุมมองการผลิตเนื้อหาของผู้ผลิตได้ดี สามารถวิเคราะห์และประเมินข้อดีข้อเสีย คุณค่าและประโยชน์ รวมถึงโทษภัยอันตรายของเนื้อหารายการที่แฝงเรื่องธุรกิจการค้า และเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมในเรื่องพฤติกรรมและความรุนแรง เรื่องทางเพศ และการใช้ภาษา อย่างไรก็ตาม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีลักษณะของการคล้อยไปตามที่สื่อกำหนด โดยมีการให้เหตุผลประกอบการกระทำที่คล้อยตามเนื้อหานั้น


การกระจายเนื้อหารายการและการจัดวางตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในรายการโทรทัศน์ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ผ่านมัลติแพลตฟอร์มที่มีผลต่อความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ชม, ปิยะรัตน์ ชูเรือง Jan 2017

การกระจายเนื้อหารายการและการจัดวางตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในรายการโทรทัศน์ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ผ่านมัลติแพลตฟอร์มที่มีผลต่อความสัมพันธ์กับกลุ่มผู้ชม, ปิยะรัตน์ ชูเรือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการกระจายเนื้อหารายการและการจัดวางตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในรายการโทรทัศน์ The Mask Singer หน้ากากนักร้อง ผ่านมัลติแพลตฟอร์ม เพื่อศึกษาพฤติกรรมกลุ่มผู้ชมในการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมัลติแพลตฟอร์ม ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดวางตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในรายการโทรทัศน์ที่มีต่อการรับรู้ตราสินค้าของกลุ่มผู้ชม รวมถึงประสิทธิผลของความสัมพันธ์ด้านความดึงดูดใจ ความพึงพอใจ และภาพลักษณ์ตราสินค้าในรายการโทรทัศน์ที่มีต่อกลุ่มผู้ชม โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการศึกษาเอกสาร กอปรกับการสนทนากลุ่มตัวอย่างที่รับชมรายการโทรทัศน์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องและเพียงบางช่วงบางตอน ผลการวิจัยพบว่า การกระจายเนื้อหารายการแบ่งออกเป็น 2 กลวิธี คือ 1) กลวิธีการออกอากาศเนื้อหารายการแบบจำกัดผ่านสื่อโทรทัศน์ และ 2) กลวิธีการออกอากาศเนื้อหารายการแบบไม่จำกัดผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์และแอปพลิเคชั่น ที่มีการปรับเปลี่ยนเนื้อหารายการหลักมาเล่าเรื่องใหม่ด้วยสาระสำคัญเดิม สำหรับการจัดวางตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่พบในรายการจะประกอบด้วยรูปแบบภาพอย่างเดียว และรูปแบบทั้งภาพและเสียง ด้านพฤติกรรมของกลุ่มตัวอย่างพบว่า แม้กลุ่มตัวอย่างจะมิได้ตั้งใจรับชมเนื้อหา หากแต่มีทัศนคติในเชิงบวกต่อทางเลือกในการเข้าถึงรายการ สำหรับรูปแบบการจัดวางตราสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏนั้นจะมีผลต่อการตระหนักรู้ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดมีความเข้าใจว่าเป็นการสนับสนุนรายการแบบจ่ายค่าตอบแทนกัน ในขณะที่ประสิทธิผลด้านความสัมพันธ์ที่มีต่อกลุ่มตัวอย่างนั้นจะมิได้มีผลต่อความดึงดูดใจ ทั้งยังมีผลต่อการส่งเสริมภาพลักษณ์ตราสินค้าในสัดส่วนไม่แตกต่างกับไม่มีผลมากนัก กอปรกับกลุ่มตัวอย่างจะมีความพึงพอใจหากมิได้เป็นการนำเสนอในลักษณะทั้งภาพและเสียง


การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเพื่อการสร้างความผูกพันของพนักงาน, พิชญ์ณัฐ เนื่องจำนงค์ Jan 2017

การสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรเพื่อการสร้างความผูกพันของพนักงาน, พิชญ์ณัฐ เนื่องจำนงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะวัฒนธรรมขององค์กร และศึกษารูปแบบการสนับสนุนการเป็นอาสาสมัครองค์กรเพื่อสร้างความผูกพันของพนักงาน 2) ศึกษาแนวทางการสื่อสารเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร 3) ศึกษาการสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัครเพื่อสร้างความผูกพันของพนักงาน 4) ศึกษาอิทธิพลของการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะวัฒนธรรมขององค์กร การเป็นอาสาสมัครองค์กร และแรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัคร ที่มีต่อความผูกพันของพนักงาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานในการศึกษาองค์กรต่างชาติและองค์กรไทย ที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ (Dow Jones Sustainability indices) ประจำปี 2559 โดยเทคนิคการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและใช้แบบสำรวจความคิดเห็น และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์แก่นสาระ (Thematic analysis) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสมการเชิงโครงสร้าง (Structural Equation Modeling: SEM) ผลจากการวิจัยพบว่า วัฒนธรรมองค์กรด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นรากฐานหลักของการเป็นพลเมืองธุรกิจที่ดีและการสนับสนุนให้พนักงานเป็นอาสาสมัคร โดยรูปแบบการสนับสนุนนั้นมีทั้งแนวการสนับสนุนเชิงตอบสนองและเชิงกลยุทธ์ และยังพบว่าการสื่อสารมีบทบาทสำคัญในทุกขั้นตอนของการดำเนินโครงการอาสาสมัคร ทั้งในส่วนของการสื่อสารวัฒนธรรม การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม และการสื่อสารเพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัคร ซึ่งแนวทางการสื่อสารทั้งหมดที่องค์กรนำมาใช้มีส่วนช่วยสร้างความผูกพันของพนักงานได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นผลการวิเคราะห์สมการเชิงโครงสร้าง (SEM) ยังแสดงให้เห็นว่าการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมในฐานะวัฒนธรรมขององค์กร แรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัคร และการเป็นอาสาสมัครองค์กร มีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันของพนักงาน และในขณะเดียวกันวัฒนธรรมองค์กรก็ยังส่งผลทางอ้อมต่อความผูกพันของพนักงาน โดยมีแรงจูงใจในการทำงานด้านอาสาสมัคร และการเป็นอาสาสมัครองค์กร เป็นตัวแปรกลาง ดังนั้นผลการวิจัยชิ้นนี้จึงแสดงให้เห็นถึงรูปแบบการสื่อสารความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรที่ส่งผลดีกับทั้งองค์กร พนักงาน และสังคมส่วนร่วม ทั้งยังได้นำเสนอวิธีการที่องค์กรต่าง ๆ สามารถนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม


ปฏิภาณทางภาษาเชิง "สองแง่สองง่าม" ในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย, ภรัณยู ขำน้ำคู้ Jan 2017

ปฏิภาณทางภาษาเชิง "สองแง่สองง่าม" ในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย, ภรัณยู ขำน้ำคู้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่อง ปฏิภาณทางภาษาเชิง "สองแง่สองง่าม" ในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ผู้วิจัยมีจุดมุ่งหมายในการศึกษา 3 ประการ ประการแรกเพื่อศึกษาการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย ประการต่อมาเพื่อเปรียบเทียบการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทยที่ต่างสมัยกัน และประการสุดท้ายวิเคราะห์วัฒนธรรมทางเพศวิถีที่สะท้อนผ่านภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทย ซึ่งแบ่งยุคเพลงได้เป็น 3 ยุค คือ ยุคแรก (ราวพ.ศ. 2500 - 2519) ยุคกลาง (ราวพ.ศ. 2520 - 2549) และยุคปัจจุบัน (ราวพ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน) โดยใช้เครื่องมือวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และการวิเคราะห์ตัวบท (Textual analysis) จากกลุ่มตัวอย่างเพลงลูกทุ่งไทยที่ศึกษาจำนวน 33 เพลง ประการแรก พบการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่าม 8 ประเภท ได้แก่ 1) สัญลักษณ์ 2) คำผวน 3) การเปลี่ยนเสียงสระ/พยัญชนะแต่เห็นเค้าคำสังวาส 4) คำพ้องเสียง 5) คำคุณศัพท์ที่สื่อนัยทางเพศ 6) หักข้อรอจังหวะ 7) การเล่าเรื่อง และ 8) การเลียนเสียงธรรมชาติ โดยพบการใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามประเภทสัญลักษณ์มากที่สุด ประการที่สอง การใช้ปฏิภาณทางภาษาเชิงสองแง่สองง่ามในคำร้องเพลงลูกทุ่งไทยแต่ละยุคมีความแตกต่างกัน โดยเพลงยุคแรกอยู่ในยุคที่มีการจัดระเบียบสังคมที่ส่งผลต่อความเคร่งครัดในการใช้ภาษาสุภาพ เพลงส่วนใหญ่จึงมีการเซ็นเซอร์ตัวเองสูง เพลงยุคปัจจุบันพบการใช้คำร้องภาษาเชิงสองแง่สองง่ามที่ตรงไปตรงมามากขึ้นเช่นเพลง "ปูหนีบอีปิ๊", "Yes แน่นอน" เพราะความคลี่คลายของยุคสมัยเนื่องจากอิทธิพลโลกาภิวัตน์และโดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เช่น Youtube ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถแสดงศิลปะของตนอย่างเสรีมากขึ้นและปราศจากการควบคุมจากภาครัฐ ประการสุดท้าย วัฒนธรรมทางเพศวิถีพบว่า ภาพลักษณ์และพฤติกรรมทางเพศ สถานที่ และความเชื่อเรื่องเพศ สะท้อนอำนาจของฝ่ายชายหรือสังคมปิตาธิปไตย (Patriarchy) ที่สังคมอนุญาตให้เป็นผู้เริ่มปฏิบัติการทางเพศตั้งแต่ฝากรักไปจนถึงการร่วมเพศ อย่างไรก็ตาม ในหลาย ๆ บทเพลงโดยเฉพาะยุคกลางและยุคปัจจุบัน เช่นเพลง "ผู้ชายในฝัน", "ปล่อยน้ำใส่นาน้อง" ก็พบว่าฝ่ายหญิงท้าทายสังคมปิตาธิปไตยซึ่งฝ่ายหญิงเป็นผู้เริ่มปฏิบัติการทางเพศก่อน ดังนั้น ในบางแง่ของเพลงลูกทุ่งไทยกำลังยกระดับความเท่าเทียมกันทางเพศวิถีหญิงชายไทย


การเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียกับการสร้างความผูกพันร่วมในการสื่อสารประเด็นทางสังคม, มรรยาท อัครจันทโชติ Jan 2017

การเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียกับการสร้างความผูกพันร่วมในการสื่อสารประเด็นทางสังคม, มรรยาท อัครจันทโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) มุมมองของคนทำงานด้านสังคมที่มีต่อการสร้างความผูกพันร่วมของคนไทยในการสื่อสารประเด็นทางสังคม (2) คุณลักษณะของการเล่าเรื่องที่ใช้ในการสื่อสารประเด็นทางสังคม (3) แนวทางการนำแนวคิดการเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียไปใช้สร้างความผูกพันร่วมของคนไทยในการสื่อสารประเด็นทางสังคม โดยใช้วิธีวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก และการวิเคราะห์ตัวบทของโครงการขับเคลื่อนสังคมรวม 6 กรณีศึกษา (2555-2559) ทั้งของไทยและต่างประเทศ
ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลทำให้คนไทยเกิดความผูกพันร่วมในการสื่อสารประเด็นทางสังคม คือ พื้นฐานของตัวบุคคลและกลุ่มอาสาสมัคร กลยุทธ์ที่ใช้ในการสื่อสาร องค์กรด้านสังคม และบริบททางสังคมและการเมือง (2) การเล่าเรื่องที่ใช้สื่อสารประเด็นทางสังคมที่ผ่านมาทั้งของไทยและต่างประเทศยังมีจุดอ่อนในการสร้างความผูกพันร่วม โดยเฉพาะกรณีศึกษาของไทยที่ยังไม่ค่อยมีการออกแบบการเล่าเรื่องอย่างเป็นระบบ ไม่ได้ใช้แพลตฟอร์มสื่ออย่างเต็มศักยภาพ ขาดการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมาย มองข้ามการสื่อสารเชิงอารมณ์ ขาดความต่อเนื่องในการสื่อสาร และไม่กระตุ้นให้ผู้ใช้สื่อมีส่วนร่วมในการเล่าเรื่อง (3) การนำแนวคิดการเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียไปใช้สร้างพลังความผูกพันร่วมของคนไทยในประเด็นทางสังคม ต้องคำนึงถึง 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) ความน่าเชื่อถือของแกนนำในการขับเคลื่อน (2) ประเด็นปัญหาทางสังคมที่ต้องการขับเคลื่อนมีความเกี่ยวพันกับกลุ่มเป้าหมายและมีทางแก้ไขปัญหาได้ (3) การวางแผนการใช้สื่อแบบทรานส์มีเดียที่ดี และ (4) การเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียที่ดีทั้งจากผู้ผลิตสื่อและผู้ใช้สื่อที่เข้ามามีส่วนร่วมในการเล่าเรื่อง
ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเล่าเรื่องแบบทรานส์มีเดียสามารถพัฒนาขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่ในประเทศไทยได้ คนทำงานด้านสังคมจึงควรทดลองการสื่อสารแบบใหม่ ๆ เพื่อสร้างพลังของพลเมืองในการร่วมกันเปลี่ยนแปลงสังคมให้ดีขึ้น


กลยุทธ์การสื่อสารของเว็บไซต์การพนันฟุตบอลออนไลน์, วิษชญะ ศิลาน้อย Jan 2017

กลยุทธ์การสื่อสารของเว็บไซต์การพนันฟุตบอลออนไลน์, วิษชญะ ศิลาน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ ศึกษากลยุทธ์การสื่อสารเพื่อการชักจูงผู้เล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์ ของเว็บไซต์การพนันฟุตบอล และศึกษาการสื่อสาร และการเปิดรับข้อมูลข่าวสารของผู้เรียนในสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์บนเว็บไซต์การพนันฟุตบอล งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive sampling) ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสังเกตการณ์ (Obsevation) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ นักวิชาการ 3 คน ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเว็บไซต์การพนันฟุตบอล 2 คน และผู้เรียนในสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ทั้งหมด 8 คน ผลการวิจัยพบว่าแนวทางการสื่อสารของเว็บไซต์การพนันฟุตบอล คือ การจัดการระบบของเว็บไซต์ให้เข้าถึงง่าย รูปแบบของเว็บไซต์ไม่ซับซ้อน และสร้างความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ ซึ่งมีเทคนิคเฉพาะในการดึงดูดผู้เล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์ คือ การสร้างรูปแบบการเล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์ที่หลากหลาย เพิ่มทางเลือกการพนันชนิดอื่น ๆ คำนึงถึงความปลอดภัยด้วยการลบประวัติการวางเดิมพันการพนัน การสร้างเว็บไซต์บันเทิง อื่น ๆ ในการเป็นช่องทางประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสาร และวิธีการค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ต้องการสื่อสารด้วยวิธีต่าง ๆ อีกหนึ่งกลยุทธ์สำคัญ การสื่อสารของเว็บไซต์การพนันฟุตบอลในปัจจุบัน คือ การใช้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดในการชักจูงผู้เล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์ กลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิดเหล่านี้จะใช้ความใกล้ชิดกับผู้ติดตาม และความน่าเชื่อถือของตนเองเป็นเครื่องมือสำคัญ ซึ่งกลยุทธ์นี้มีข้อดีคือสามารถวัดผลจากสื่อสังคมออนไลน์ของผู้ที่มีอิทธิพลทางความคิดได้ การศึกษาผู้เรียนในสังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่ามีการสื่อสารกับเว็บไซต์การพนันฟุตบอลในช่องทางต่าง ๆ ดังนี้ ช่องสนทนาหน้าเว็บไซต์ เบอร์โทรศัพท์ และแอพพลิเคชั่นไลน์ โดยการสื่อสารระหว่างผู้เล่นการพนันฟุตบอลด้วยกันในสื่อสังคมออนไลน์เป็นที่นิยมอย่างมาก และการสื่อสารระหว่างผู้เล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์ในกลุ่มสังคมที่ใกล้ชิดโดยเฉพาะเพื่อน มีเหตุผลหลัก คือการแลกเปลี่ยนการวิเคราะห์ผลฟุตบอลร่วมกัน ซึ่งสื่อออนไลน์เป็นสื่อที่ได้รับความนิยมมากกว่าสื่ออื่น ๆ อย่างสื่อโทรทัศน์ สื่อวิทยุ และสื่อสิ่งพิมพ์ นอกจากนี้ผู้มีอิทธิพลทางความคิดยังมีผลต่อการตัดสินใจ และเป็นข้อมูลสำคัญในการตัดสินใจเล่นการพนันฟุตบอลออนไลน์อีกด้วย


ผลของโฆษณาที่ใช้จินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, ศรันยา หงษ์ทอง Jan 2017

ผลของโฆษณาที่ใช้จินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศต่อพฤติกรรมผู้บริโภค, ศรันยา หงษ์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง แบบ 2x2 แฟคทอเรียล เพื่อศึกษาผลกระทบหลักและผลกระทบร่วมกันของ 2 ปัจจัย ได้แก่ (1) เพศผู้แสดงแบบในงานโฆษณาที่ใช้จินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศ (เพศหญิงและเพศชาย) และ (2) ระดับจินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศในโฆษณา (จินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศโดยนัยและจินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศโดยแจ้ง) ที่มีต่อพฤติกรรมผู้บริโภค อันได้แก่ อารมณ์ที่มีต่อโฆษณา การรับรู้ของผู้บริโภคด้านการเชื่อมโยงกับสังคม การรับรู้ของผู้บริโภคด้านการเห็นใจหรือเข้าใจความรู้สึกผู้อื่น ทัศนคติต่อโฆษณา ทัศนคติต่อตราสินค้า ทัศนคติต่อความหลากหลายทางเพศ และความตั้งใจซื้อ โดยเก็บข้อมูลกับนิสิตและนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีอายุระหว่าง 18 - 25 ปี จำนวน 141 คน ในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2561 ผลการวิจัยพบว่า เพศผู้แสดงแบบในงานโฆษณาที่ใช้จินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศและระดับจินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศในโฆษณาที่แตกต่างกัน ส่งผลกระทบหลักต่อพฤติกรรมผู้บริโภคแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนั้น เพศผู้แสดงแบบในงานโฆษณาที่ใช้จินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศและระดับจินตภาพด้านความหลากหลายทางเพศในโฆษณา ยังส่งผลกระทบร่วมกันต่อพฤติกรรมผู้บริโภคแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติเช่นเดียวกัน


การสร้างสรรค์หนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศ, สุทธิอาภา คุ้มครอง Jan 2017

การสร้างสรรค์หนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศ, สุทธิอาภา คุ้มครอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะสำคัญของหนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศ, เพื่อศึกษากระบวนการสร้างสรรค์หนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศในบริบทสังคมไทย และเพื่อศึกษาความเข้าใจในประเด็นความหลากหลายทางเพศของผู้รับสารที่ได้รับจากหนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อความหลากหลายทางเพศในบริบทสังคมไทย จากผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะสำคัญของหนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศ คือ การสอดแทรกประเด็นความหลากหลายทางเพศลงไปในรูปแบบการเล่าเรื่องด้วยคุณลักษณะพื้นฐานที่เรียบง่ายและคุ้นเคยดีของหนังสือภาพสำหรับเด็กโดยทั่วไป ด้วยกลวิธีการใช้สัญญะ และ/หรือการลดทอนความสมจริง โดยมีจุดประสงค์เพื่อสะท้อนการเห็นคุณค่าของบุคคล, เพื่อการให้อิสระในการเลือกและแสดงตัวตน และเพื่อการสร้างการยอมรับ คุณลักษณะสำคัญในข้างต้น ถูกนำมาเป็นฐานคิดเพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการสร้างสรรค์หนังสือภาพสำหรับเด็กเพื่อสื่อสารประเด็นความหลากหลายทางเพศในบริบทสังคมไทย เรื่อง ชุดใหม่ของลูกหมี ซึ่งมีกระบวนการทั้งสิ้น 5 ขั้นตอน โดยในแต่ละขั้นตอนได้ทำการออกแบบและสอดแทรกแนวคิดความหลากหลายทางเพศในรูปแบบของสัญญะลงไปในองค์ประกอบของหนังสือภาพ อาทิ ตัวละคร เสื้อผ้าของตัวละคร และเนื้อหาคำบรรยาย เพื่อการสื่อสารในประเด็นการให้อิสระในการเลือกและการแสดงตัวตน และการเห็นคุณค่าและยอมรับบุคคลจากภายใน ผลการประเมินพบว่า ผู้รับสารสามารถเข้าใจประเด็นการให้อิสระในการเลือกและการแสดงตัวตนจากหนังสือภาพเรื่อง ชุดใหม่ของลูกหมี ได้ แต่ต้องอาศัยการทำความเข้าใจร่วมกับคำอธิบายเพิ่มเติมในท้ายเล่มเพื่อให้สามารถเข้าใจสารได้ชัดเจนขึ้น ผู้รับสารสามารถเข้าใจสัญญะของ "กระโปรง" และ "กางเกง" ได้ชัดเจนที่สุด โดยประเด็นการเห็นคุณค่าและยอมรับบุคคลจากภายในเกิดจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดให้การยอมรับความหลากหลายทางเพศโดยภูมิหลังอยู่แล้ว แต่ยังมีบางส่วนที่ปฏิเสธการเลือกหนังสือภาพเรื่อง ชุดใหม่ของลูกหมี ให้บุตร-หลานอ่าน เนื่องจากมองว่ายังไม่จำเป็นสำหรับครอบครัวตน


การกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลาย, อิทธิพล วรานุศุภากุล Jan 2017

การกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลาย, อิทธิพล วรานุศุภากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลายในประเทศที่มีแบบแผนปฏิบัติที่ดี (2) เพื่อสร้างกรอบการกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลาย และ (3) เพื่อศึกษาถึงความหลากหลายของรูปแบบรายการโทรทัศน์ ก่อนและหลังการประมูลโทรทัศน์ในระบบดิจิตอล ประเภทบริการทางธุรกิจ ระดับชาติ ผลการศึกษา พบว่า การกำกับดูแลกิจการโทรทัศน์เพื่อความหลากหลายจำเป็นต้องใช้การกำกับดูแลในหลายมิติ ทั้งการกำกับดูแลโครงสร้าง ได้แก่ การกำหนดประเภทใบอนุญาตประกอบกิจการ การกำหนดลักษณะความเป็นเจ้าของ การกำหนดแหล่งรายได้ของกิจการโทรทัศน์ การกำหนดพื้นที่การออกอากาศ และการกำหนดสัดส่วนการผลิตรายการของผู้ผลิตรายการอิสระ และการกำกับดูแลเนื้อหา ได้แก่ การกำหนดสัดส่วนเนื้อหารายการ นอกจากนั้น องค์กรกำกับดูแลควรมีมาตรการการเฝ้าระวัง ติดตาม และประเมินความหลากหลายในเนื้อหารายการโทรทัศน์ในหลายมิติ รวมถึงการส่งเสริมความรู้ และสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของความหลากหลายในเนื้อหารายการโทรทัศน์ให้แก่ผู้ประกอบกิจการโทรทัศน์และเครือข่ายภาคประชาสังคม สถานะความหลากหลายของรูปแบบรายการโทรทัศน์ในกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในระบบอนาล็อก จำนวน 6 ช่องรายการ ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2554 และกิจการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในระบบดิจิตอล จำนวน 26 ช่องรายการ ในช่วงเดือนมกราคม พ.ศ.2559 ค่อนข้างใกล้เคียงกัน กล่าวคือ การมีช่องรายการเพิ่มขึ้นไม่ได้เป็นหลักประกันว่าจะทำให้ความหลากหลากหลายของรูปแบบรายการเพิ่มขึ้น แต่หากพิจารณาเฉพาะช่วงเวลาที่มีจำนวนผู้ชมสูง (Prime time) พบว่ามีความหลากหลายของรูปแบบรายการเพิ่มขึ้น


ภาพลักษณ์โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำและความภักดีของผู้ใช้บริการ, กิตาวี ศุภผลศิริ Jan 2017

ภาพลักษณ์โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำและความภักดีของผู้ใช้บริการ, กิตาวี ศุภผลศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ (2) เพื่อศึกษาความภักดีของผู้ใช้บริการที่มีต่อโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำและความภักดีของผู้ใช้บริการ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) ในรูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ซึ่งจะมุ่งศึกษาภาพลักษณ์โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำ คือ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และ โรงพยาบาลกรุงเทพ โดยกลุ่มตัวอย่างอายุ 25-60 ปี เป็นกลุ่มคนระดับกลางถึงระดับบน (รายได้ต่อเดือน 25,000-100,000บาทขึ้นไป) ที่เคยใช้บริการโรงพยาบาล ใช้แบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaires) เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คน แบ่งเป็น ผู้ใช้บริการโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ 200 คน และผู้ใช้บริการโรงพยาบาลกรุงเทพ 200 คน วิเคราะห์ด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิงสำหรับการทดสอบสมมติฐานด้วยการเปรียบเทียบสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นโดยเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อภาพลักษณ์ของโรงพยาบาลเอกชนชั้นนำโดยภาพรวมอยู่ในระดับที่ดี มีภาพลักษณ์ด้านเครื่องมือ/อุปกรณ์ทางการแพทย์ดีกว่าภาพลักษณ์ด้านอื่น ๆ และภาพลักษณ์ดังกล่าวอยู่ในระดับที่ดีมาก 2. สำหรับความภักดีของกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมในการกลับมาใช้บริการอีกในระดับมาก รองลงมา คือ จะแนะนำให้ผู้อื่นมาใช้บริการโรงพยาบาลที่ตนเองใช้บริการอยู่ 3. จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า ภาพลักษณ์โรงพยาบาลเอกชนชั้นนำมีความสัมพันธ์กับความภักดีของผู้ใช้บริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เป็นความสัมพันธ์ในระดับสูงและมีทิศทางบวก


การสื่อสารรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.Org, แก้วเกล้า บรรจง Jan 2017

การสื่อสารรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.Org, แก้วเกล้า บรรจง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเรื่องการสื่อสารรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.org มุ่งศึกษาใน 3 ประเด็น ได้แก่ 1) ลักษณะประเด็นสังคมที่ปรากฏบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org 2) กลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างการมีส่วนร่วมของสาธารณชนบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org 3) ความผูกพันของพลเมืองเน็ตต่อแบรนด์ Change.org โดยการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ด้วยเทคนิคการวิจัย ดังนี้ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis), การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) และวิธีการสำรวจจากแบบสอบถามออนไลน์ (Online Questionnaire) ผลการวิจัยในประเด็นแรกพบว่าลักษณะประเด็นสังคมที่ปรากฏบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ประเด็นสาธารณะ (Public Issues) และปัญหาระดับบุคคล (Private Troubles) โดยนักรณรงค์ใช้พื้นที่ออนไลน์ Change.org เพื่อสื่อสารใน 5 วัตถุประสงค์ ได้แก่ (1) ให้ข้อมูล (2) อัปเดตข่าวสาร (3) โน้มน้าวให้คล้อยตาม (4) ขอบคุณ และ (5) ประกาศชัยชนะ ซึ่งกลุ่มผู้มีอำนาจตัดสินใจแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ (1) หน่วยงานในการปกครองของรัฐ (2) องค์กรเอกชน และ (3) องค์กรเพื่อสังคม โดยผลการรณรงค์บนพื้นที่ออนไลน์ Change.org มี 2 รูปแบบ ได้แก่ แคมเปญที่ได้รับความสนใจจากสาธารณชน และแคมเปญที่ได้รับการเปลี่ยนแปลงในเชิงนโยบาย ผลการวิจัยในประเด็นที่สองพบว่ากลยุทธ์การสื่อสารในการสร้างการมีส่วนร่วมของสาธารณชนบนพื้นที่ออนไลน์ Change.org มีทั้งหมด 4 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) การทำให้เห็นภาพ หรือจินตทัศน์ (Visualization) (2) การสร้างความผูกพันกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Engagement) (3) การจัดการข้อมูล (Information Management) และ (4) ความเชื่อมโยงกับสถานการณ์ปัจจุบัน (Current issues …


การสร้างสรรค์และออกแบบสารใน Tedxbangkok, กนกอร เรืองศรี Jan 2017

การสร้างสรรค์และออกแบบสารใน Tedxbangkok, กนกอร เรืองศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากการสร้างสรรค์เวทีการพูด TEDxBangkok และศึกษาลักษณะเนื้อหาและการออกแบบเนื้อหาที่ปรากฏในการพูด TEDxBangkok ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยรวบรวมเอกสาร (Documentary Research) การสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากคุณพิริยะ กุลกาญจนาชีวิน Co-Organizer และคิวเรเตอร์ (Curator) ของ TEDxBangkok รวมถึงสัมภาษณ์ทีมงานผู้จัดทำ TEDxBangkok เพื่อให้ได้ข้อมูลครอบคลุมยิ่งขึ้น จากผลการวิจัยพบว่าการสร้างสรรค์ TEDxBangkok แบ่งเป็น 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การสร้างสรรค์ด้านโปรดักชัน (Production) ประกอบไปด้วยการคัดเลือกอาสาสมัครทีมงาน และการจัดการโปรดักชัน 2) การสร้างสรรค์เนื้อหา ประกอบไปด้วยการกำหนดแนวคิดหลัก (Theme) การค้นหาผู้พูด (Speaker) และการคิดค้นเนื้อหา ด้านลักษณะเนื้อหา และการออกแบบ พบว่าลักษณะเนื้อหาของ TEDxBangkok โดยส่วนใหญ่เป็นเรื่องการสร้างสรรค์ และส่งเสริมสังคม และการสอน หรือจูงใจ ซึ่งตรงกับแนวคิดหลักของ TEDxBangkok คือ การถ่ายทอดไอเดียเพื่อผลักดันสังคมให้ไปข้างหน้า และการออกแบบเนื้อหาจะใช้การวางแก่นเรื่องซึ่งเป็นไอเดียหลักให้ชัดเจน แล้วนำเหตุการณ์อื่น ๆ มาประกอบเพื่อสนับสนุนให้ไอเดียนั้นชัดมากขึ้น เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจไอเดียที่ผู้พูดต้องการจะสื่ออย่างถ่องแท้ ซึ่งอาจส่งผลดีในการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสังคมได้ในอนาคต การวิจัยครั้งนี้ทำให้เห็นว่าการสร้างสรรค์ TEDxBangkok มีการจัดทำอย่างเป็นระบบ สอดแทรกไปด้วยความคิดสร้างสรรค์ และความละเอียดพิถีพิถันทุกขั้นตอน และกว่าจะได้เนื้อหาที่พูดบนเวที 12-15 นาทีนั้น ต้องใช้เวลาการจัดทำกว่า 6 เดือน เพื่อขัดเกลาให้ได้ไอเดียที่ดีที่สุดเหมาะสมกับการเป็น "Ideas Worth Spreading" ตามสโลแกนของ TED


การเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมชาวเมียนมาในนครย่างกุ้ง, กมลรัตน์ กิจรุ่งไพศาล Jan 2017

การเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมชาวเมียนมาในนครย่างกุ้ง, กมลรัตน์ กิจรุ่งไพศาล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้อง การชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมละครโทรทัศน์ชาวเมียนมาในนครย่างกุ้ง รวมถึงเพื่ออธิบายการเปิดรับข่าวสาร พฤติกรรมการชม และความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยของผู้ชมที่มีเพศ อายุ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 คนที่เป็นผู้ชมละครโทรทัศน์ไทยชาวเมียนมาในนครย่างกุ้งที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และชมละครโทรทัศน์ไทยภายในระยะเวลา 6 เดือนที่ผ่านมา ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับละครโทรทัศน์ไทยผ่านสื่อมวลชนโดยเฉลี่ยในระดับบางครั้ง แต่เปิดรับข่าวสารผ่านสื่อบุคคลและสื่อออนไลน์บ่อยๆ กลุ่มตัวอย่างชมละครโทรทัศน์ไทยที่บ้านผ่านทางโทรทัศน์มากที่สุด โดยมักชมเพียงคนเดียวเฉลี่ย 1 – 2 ชั่วโมง/วัน และชมช่วงเช้าเวลา 09.01 - 12.00 น. มากที่สุดทั้งในวันทำงานและวันหยุด ทั้งนี้ เวลาดังกล่าวตรงกับช่วงทีเบรก (Tea Break) และออกอากาศซ้ำของละครโทรทัศน์ไทย (Re-Run) นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยแบบบรรยายภาษาเมียนมาและคงเสียงภาษาไทยมากกว่าแบบพากย์ ต้องการนักแสดงนำที่แสดงละครสมบทบาทและมีหน้าตารูปร่างสวยงาม ต้องการละครโทรทัศน์ไทยที่มีเนื้อหาเรื่องราวสัมพันธ์กับชาวเมียนมา องค์ประกอบละครที่มีเค้าโครงเรื่องสุข เศร้า ตลก แก่นเรื่องที่ทำให้ได้ขบคิด และต้องการชมละครโทรทัศน์ไทยแนวชีวิตรัก ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้ชมชาวเมียนมาที่มีอายุและระดับการศึกษาต่างกัน เปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับละครโทรทัศน์ไทยผ่านสื่อมวลชน สื่อออนไลน์ และสื่อบุคคลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้ชมชาวเมียนมาเพศชายเปิดรับข่าวสารผ่านสื่อมวลชนมากกว่าเพศหญิงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การรับชมละครโทรทัศน์ไทย สรุปได้ว่า ผู้ชมชาวเมียนมาที่มีเพศและอายุต่างกัน มีความถี่ในการชมละครโทรทัศน์ไทยแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้ชมเพศหญิงมีความถี่ในการชมสูงกว่าเพศชาย ส่วนผู้ชมอายุ 56 ปีขึ้นไปมีความถี่ในการชมสูงกว่าผู้ชมอายุ 18 – 55 ปี ความต้องการชมละครโทรทัศน์ไทย สรุปได้ว่า ผู้ชมชาวเมียนมาที่อายุต่างกันต้องการชมด้านองค์ประกอบละครและเนื้อหาเรื่องราวแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้ชมชาวเมียนมาที่มีระดับการศึกษาต่างกัน ต้องการชมด้านดารานักแสดงนำ เนื้อหาเรื่องราว องค์ประกอบละคร และแนวละคร แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การเล่าเรื่องขุนโจรจากเหตุการณ์จริง ในนวนิยายชุด "เสือใบ-เสือดำ" ของ ป.อินทรปาลิต, ฐิติพงศ์ อินทรปาลิต Jan 2017

การเล่าเรื่องขุนโจรจากเหตุการณ์จริง ในนวนิยายชุด "เสือใบ-เสือดำ" ของ ป.อินทรปาลิต, ฐิติพงศ์ อินทรปาลิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีการเล่าเรื่อง โครงสร้างตัวละครและการสร้างแนวเรื่องแบบขุนโจรที่อิงจากเหตุการณ์จริงและเพื่อวิเคราะห์สภาพการณ์ทางสังคมและแนวทางการเล่าเรื่องแบบบุกเบิกตะวันตกที่มีอิทธิพลต่องานเขียนนวนิยายชุด เสือใบ - เสือดำ ของ ป.อินทรปาลิต โดยใช้การวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากนวนิยายชุดเสือใบ เสือดำและดาวโจร จากสำนักพิมพ์ฉบับผดุงศึกษา (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์) จำนวนทั้งสิ้น 12 เล่ม และจากการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง ผลการวิเคราะห์พบว่า กลวิธีการเล่าเรื่องและโครงสร้างตัวละคร ด้านโครงสร้างการเล่าเรื่อง มีการสร้างแนวเรื่องแบบขุนโจรจากแนวเรื่องแบบบุกเบิกตะวันตก (Western Genre) เป็นหลัก อาทิ การท้าดวลปืนตามลักษณะตัวละครแบบวีรบุรุษนอกกฎหมาย ความขัดแย้งในความอยุติธรรมระหว่างอำนาจรัฐและชุมชน โดยผสมผสานเหตุการณ์จริงในบริบทของสังคมไทย เข้ากับจินตนาการและขนบของการเล่าเรื่อง การปฏิบัติภารกิจที่มาจากแนวเรื่องผจญภัย (Adventure Genre) การต่อสู้จากแนวเรื่องแบบบู๊ล้างผลาญ (Action Genre) การทำการรบการสงครามจากแนวเรื่องแบบสงคราม (War Genre) และความรักในสตรีเพศจากแนวเรื่องรักโศก ด้านการสร้างตัวละคร พบว่า การใช้ชื่อตัวละครในนวนิยายได้เค้าโครงมาจากตัวละครจากเหตุการณ์จริงบางส่วน จากสภาพการณ์ทางสังคมของไทยในช่วงที่ไทยประสบปัญหาจากสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดตัวละครโจรผู้ร้ายมากมาย ทำให้การกำหนดคุณลักษณะของตัวละคร แบบวีรบุรุษขุนโจร คือ ความกล้าหาญ ความเก่งกาจ ความมีคุณธรรม และการรักษาเกียรติและศักดิ์ศรี ที่สอดคล้องกับองค์ประกอบการสร้างตัวละครชายในวรรณคดีไทย


การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่นของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย, ณัฐพล วัฒนะวิรุณ Jan 2017

การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชั่นของกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย, ณัฐพล วัฒนะวิรุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสาร การรับรู้การสื่อสารการตลาด ทัศนคติ และความตั้งใจใช้บริการของผู้บริโภค โดยรูปแบบของการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยศึกษาความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อผู้ให้บริการเรียกรถโดยสารผ่านแอปพลิเคชัน โดยผู้วิจัยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากกลุ่มเจนเนอเรชั่นวาย จำนวน 400 ชุด โดยจำแนกตามข้อมูลพื้นฐานได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และ อาชีพ โดยสถิติที่ใช้ทดสอบคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตราฐาน, t-test, f-test และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่มีการเปิดรับสื่อจากทางเฟสบุ๊ก 2) การรับรู้การสื่อสารการตลาด มีการรับรู้บริการ GrabTaxi และ Uber X มากที่สุด 3) มีทัศนคติต่อการเห็นค่าโดยสารก่อนการเรียกรถมากที่สุด 4) มีความตั้งใจใช้บริการอยู่ในระดับสูง 5) ปัจจัยด้านประชากรมีการรับรู้การสื่อสารการตลาดไม่แตกต่างกัน 6) ปัจจัยด้านประชากรมีทัศนคติต่อผู้ให้บริการไม่แตกต่างกัน 7) ปัจจัยด้านประชากรมีความตั้งใจใช้บริการไม่แตกต่างกัน 8) การรับรู้การสื่อสารการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อทัศนคติ 9) ทัศนคติมีความสัมพันธ์กับความตั้งใจใช้บริการ


การเล่าเรื่องประเด็นสังคมผ่านคลิปวิดีโอบนสื่อออนไลน์, นิพัทธา อินทรักษา Jan 2017

การเล่าเรื่องประเด็นสังคมผ่านคลิปวิดีโอบนสื่อออนไลน์, นิพัทธา อินทรักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์และอธิบายการเล่าเรื่องประเด็นสังคม บริบทของการเผยแพร่ และความเชื่อมโยงของเนื้อหาในคลิปวิดีโอบนสื่อออนไลน์กับสาระหลักของประเด็นสังคมที่นำเสนอ ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์ตัวบท (Textual Analysis) โดยวิเคราะห์คลิปวิดีโอจำนวน 15 เรื่อง ที่มีจำนวนผู้เข้าชมมากกว่า 100,000 ครั้ง และมีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นสังคมที่เผยแพร่บนสื่อออนไลน์ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2558-2560 ผลการวิจัยพบว่า คลิปวิดีโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นสังคมบนสื่อออนไลน์ มีการเล่าเรื่องผ่านเรื่องจริงและเรื่องแต่ง โดยที่การเล่าเรื่องผ่านเรื่องแต่งมี 2 ประเภท ได้แก่ เรื่องแต่งที่ได้แรงบันดาลใจจากเรื่องจริง และเรื่องแต่งจากจินตนาการ เมื่อวิเคราะห์ประเภทของเรื่อง (Genre) พบว่าเป็นแนวชีวิต แนวสารคดี แนวตลก แนวเพลง และแนวแอนิเมชั่น สำหรับบริบทของการเผยแพร่คลิปวิดีโอพบว่า มีคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการได้รับการแชร์และมีผู้ชมจำนวนมาก ได้แก่ เนื้อหาของคลิป ช่วงเวลาการเผยแพร่ตามเทศกาลและวันสำคัญ ความยาวของคลิปวิดีโอ ตัวหนังสือที่เป็นบทพูดประกอบการเล่าเรื่อง และการใช้แฮชแท็ก ในด้านความเชื่อมโยงของเนื้อหาในคลิปวิดีโอบนสื่อออนไลน์ กับสาระหลักของประเด็นสังคมพบว่า เป็นประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างปัจเจกชนกับสังคม ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มต่อกลุ่ม ประเด็นสังคมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี และประเด็นสังคมที่เกิดมาจากพฤติกรรมเบี่ยงเบน นอกจากนี้เนื้อหาในคลิปวิดีโอมีความเชื่อมโยงกับสาระหลักของประเด็นสังคมที่เป็นเหตุการณ์จริงในช่วงปี พ.ศ. 2558-2560 ได้แก่ เรื่องคุณธรรมจริยธรรม ความสงบสุขของสังคม ระบบการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ความรุนแรงโหดร้ายในครอบครัว การหลอกลวงละเมิดและความเท่าเทียมทางเพศ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สื่อปลอดภัยสร้างสรรค์ จิตสำนึกสาธารณะ การเคารพกติกา กฎหมาย สุขภาวะและโภชนาการ


การสื่อสารอัตลักษณ์และบทบาททางสังคมของลิเกไทใหญ่, ปรีดาพร ศรีเมือง Jan 2017

การสื่อสารอัตลักษณ์และบทบาททางสังคมของลิเกไทใหญ่, ปรีดาพร ศรีเมือง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการแสดงลิเกไทใหญ่ อัตลักษณ์และบทบาททางสังคมของการแสดงลิเกไทใหญ่ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการแสดงลิเกไทใหญ่ จำนวน 20 คน กลุ่มผู้ชม จำนวน 50 คน นักวิชาการไทใหญ่ จำนวน 2 คน เก็บข้อมูลในช่วงเดือนตุลาคม 2558 - มีนาคม 2560 โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interviews) และการบันทึกข้อมูลการแสดงสดของลิเกไทใหญ่ (ทั้งในประเทศไทยและรัฐฉานประเทศพม่า) จำนวน 12 ครั้ง รวมทั้งจากเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบในการแสดงลิเกไทใหญ่มีทั้งหมด 12 องค์ประกอบ คือ 1) ขั้นตอนการแสดง 2) เครื่องดนตรีและเพลง 3) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการแสดงและการแสดง 4) สถานที่ฉากและเวที 5) ช่วงเวลา/โอกาสของการแสดง 6) เครื่องแต่งกาย 7) ความรู้เกี่ยวกับลิเกไทใหญ่ 8) ข้อห้ามและความเชื่อ 9) การร้องโดยใช้ภาษาถิ่นไทใหญ่ 10) การไหว้ครู 11) ความเชื่อเรื่องเทพสรัสวดี 12) ความสัมพันธ์ระหว่างชายหญิง 2. อัตลักษณ์ของการแสดงลิเกไทใหญ่ มีทั้งหมด 6 อัตลักษณ์ คือ1) อัตลักษณ์ด้านบทเพลง 2) ด้านภาษา 3) ด้านสุนทรีย์ 4) ด้านการแต่งกาย 5) ด้านวรรณกรรมพื้นบ้าน และ 6) ด้านความเป็นชนกลุ่มน้อยที่รักประเทศชาติ 3. บทบาททางสังคมของลิเกไทใหญ่ พบว่า มี 12 ประการบทบาท คือ 1) บทบาทในการพัฒนาตัวเอง 2) การยกระดับสถานภาพบุคคลในสังคม 3) การเป็นสื่อในการเห็นตนเองและผู้อื่น 4) การสร้างความทรงจำร่วมกัน 5) การสร้างความสามัคคี 6) การให้ความบันเทิง 7) …


การสื่อสารตราสินค้า ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของเจเนอเรชั่นวาย, ปุณชญา ใจภักดี Jan 2017

การสื่อสารตราสินค้า ความใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อมและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของเจเนอเรชั่นวาย, ปุณชญา ใจภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการสื่อสารตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ประเภทสินค้าที่เลือกใช้ในงานวิจัยเป็นสินค้าประเภทผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพผิว ได้แก่ ตราสินค้า The Body Shop และตราสินค้า L'Occitane ซึ่งเป็นตราสินค้าที่มีจำหน่ายในประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการศึกษาจากเอกสารจากสื่อต่าง ๆ ได้แก่ เว็บไซต์ เฟซบุ๊กแฟนเพจ ร้านค้า และ บทความโฆษณา ในช่วงระยะเวลา 1 ปี (2) วิเคราะห์ความแตกต่างของการรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภคกลุ่มเจนวายที่มีความใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคกลุ่มเจนวายต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้วิธีเชิงปริมาณ มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเพศชายและหญิง อายุ 18-38 ปี ที่รู้จักและทราบว่าทั้งสองตราสินค้ามีการดำเนินการเพื่อสิ่งแวดล้อมจำนวน 400 คน ผลการวิจัยตราสินค้า The Body Shop และ L'Occitane ในประเทศไทยโดยวิเคราะห์ช่องทางการสื่อสารทั้งหมด 6 ช่องทาง ได้แก่ (1) เอกลักษณ์ขององค์กร (2) แผนการรณรงค์เชิงการตลาดเหตุสัมพันธ์ (3) การโฆษณาองค์กร (4) การประชาสัมพันธ์องค์กร (5) การสื่อสารผ่านผู้แทนองค์กร และ (6) ผู้สนับสนุนกิจกรรม พบว่า ทั้งสองตราสินค้ามีการสื่อสารประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม โดยตราสินค้า The Body Shop เน้นประเด็นการสื่อสารเกี่ยวกับสัตว์ และตราสินค้า L'Occitane เน้นประเด็นเกี่ยวกับธรรมชาติของแคว้นโพวองซ์ ซึ่งตราสินค้า The Body Shop มีการสื่อสารประเด็นสิ่งแวดล้อมที่ชัดเจนกว่า สำหรับผลการศึกษาในส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า ผู้บริโภคที่มีความใส่ใจสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน มีการรับรู้ ทัศนคติ และการตัดสินใจซื้อตราสินค้าสิ่งแวดล้อมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่า การรับรู้ตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับทัศนคติต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม ทัศนคติต่อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจซื้อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อม และการรับรู้ตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจซื้อตราสินค้าเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ