Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chemical Engineering

PDF

Chulalongkorn University

Articles 31 - 60 of 421

Full-Text Articles in Entire DC Network

Glycerol Carbonate Production From Glycerol And Diethyl Carbonate: A Comparative Study Between A Separated Reaction/Distillation (Srd) Process And A Reactive Distillation (Rd) Process, Chayanin Sriharuethai Jan 2022

Glycerol Carbonate Production From Glycerol And Diethyl Carbonate: A Comparative Study Between A Separated Reaction/Distillation (Srd) Process And A Reactive Distillation (Rd) Process, Chayanin Sriharuethai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Glycerol carbonate is one of the valuable products that can be converted from glycerol produced in the biodiesel industry. In this work, the continuous process of glycerol carbonate production via transesterification from crude glycerol and diethyl carbonate will be developed using Aspen Plus simulation. There are two processes to be considered. First, the separated reaction/distillation (SRD) process consists of a continuously stirred tank reactor for the reaction section and a distillation column for the purification section. Second, the reactive distillation (RD) process consists of a reactive distillation column that can accommodate both the reaction and purification in a single column, …


Parameters Optimization In Chlor-Alkali Ion-Exchange Membrane Electrolysis Process With Artificial Neural Network, Kittapas Sukantowong Jan 2022

Parameters Optimization In Chlor-Alkali Ion-Exchange Membrane Electrolysis Process With Artificial Neural Network, Kittapas Sukantowong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Since ion-exchange membrane electrolysis cell has developed for producing Chlor-Alkali products. New higher efficiency and lower consumption technology are released from licensors yearly, which made the process correlation deviate from the original design. The machine learning is used with “Neural Network Fitting Tool (nftool)” in MATLAB. To find a correlation between 5 inputs consisting of current density (CD, KA/m2), operation day (DOL, day), feed brine flow rate (QFB, m3/h), feed caustic flow rate (QHD, m3/h), cell temperature (T, degC) and one output which is cell voltage (CV, V). Datasets were collected from the plant information management system “exaquantum” historian database. …


Ethylene Polymerization With Zirconocene Catalyston Zeolite A Support Derived From Fly Ash, Natthapat Warintha Jan 2022

Ethylene Polymerization With Zirconocene Catalyston Zeolite A Support Derived From Fly Ash, Natthapat Warintha

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Zeolite A (LTA) synthesis from fly ash has many applications, in which metallocene catalytic support is uncommon. This research study has three parts. Firstly, investigation of the effects of immobilized MAO cocatalyst and zirconocene catalyst techniques on silica support. Immobilized MAO, followed by metallocene catalyst method had the highest catalytic activity, which was used in the next parts. The second part examined the optimal temperature and [Al]MAO/[Zr]cat ratio with ethylene polymerization in a semi-batch autoclave reactor utilizing LTA-supported metallocene catalysts. The optimal conditions were found at 80°C and [Al]MAO/[Zr]cat ratios equal to 2000 that were used in the next section. …


Comparison Of Techno-Economic Analysis Of 1,3-Propanediol Production From Crude Glycerol Via Chemical And Biological Methods, Sivatchaya Boriboon Jan 2022

Comparison Of Techno-Economic Analysis Of 1,3-Propanediol Production From Crude Glycerol Via Chemical And Biological Methods, Sivatchaya Boriboon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

At present, the biodiesel industry is expanding rapidly which could lead to an oversupply of the by-product, crude glycerol. To manage this, crude glycerol should be converted into value-added chemicals such as 1,3-propanediol (1,3-PDO). In this study, the production of 1,3-PDO via catalytic reaction is simulated using a process simulator to evaluate its techno-economic performance as well as its environmental impact. The obtained results will be compared with the conventional production of 1,3-PDO to point out the advantages that the catalytic reaction can offer in terms of economic, energy utilization, raw material utilization, and environmental impacts.


Scale Up Of Benzoxazinone Derivative Synthesis In Batch Reactor, Sumate Boonkird Jan 2022

Scale Up Of Benzoxazinone Derivative Synthesis In Batch Reactor, Sumate Boonkird

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Benzoxazinone derivative is one of starting materials in the synthesis of Deferasirox (a Chelating iron for thalassemia patient). The parameters of Benzoxazinone derivative synthesis were investigated from the condensation of salicylic acid, salicylamide, cyanuric chloride, and triethylamine using toluene as solvent. The mole equivalent ratio of salicylic acid: salicylamide:cyanuric chloride:triethylamine at 1:1:0.67:1 provided the 46.77% yield of Benzoxazinone derivative in laboratory scale. Surprisingly, 4-chloro-2-(2-hydroxyphenyl)-4H-benzo[e][1,3]oxazine-4-ol was observed in the synthesis of Benzoxazinone derivative. In addition, the reaction scheme of Benzoxazinone derivative synthesis was proposed as a model for the study of the chemical kinetic constant. Furthermore, the scale up of Benzoxaxinone …


Effects Of Zinc Oxide On Thermal, Mechanical, Morphological, And Gas Barrier Properties Of Polybutylene Succinate/ Poly(3-Hydroxybutyrate-Co-4-Hydroxybutyrate) Films, Sunisa Suwatthi Jan 2022

Effects Of Zinc Oxide On Thermal, Mechanical, Morphological, And Gas Barrier Properties Of Polybutylene Succinate/ Poly(3-Hydroxybutyrate-Co-4-Hydroxybutyrate) Films, Sunisa Suwatthi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Currently, conventional polymers from petrochemical processes have low biodegradability and remain in the environment for several hundred years. This has negative effects on the environment. This research aims to improve the properties of biopolymers such as poly(butylene succinate) (PBS) and poly(3-hydroxybutyrate-co-4-hydroxybutyrate) (P3HB4HB). P3HB4HB was selected to blend with PBS in with weight ratios of PBS:P3HB4HB was 90/10 and ZnO nanoparticles (0.5, 1 and 2%) was selected as a nucleating agent. The melt blending process using an internal mixer and molded into a film using a compression molding process. The chemical structures, morphological properties, thermal properties, dynamic mechanical properties, mechanical properties …


Control Of A Polybutylene Succinate (Pbs) Polymerization In A Semi-Batch Reactor By Neural Network Model Based Predictive Controller, Takorn Plengsangsri Jan 2022

Control Of A Polybutylene Succinate (Pbs) Polymerization In A Semi-Batch Reactor By Neural Network Model Based Predictive Controller, Takorn Plengsangsri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Polybutylene succinate (PBS) is a biodegradable plastic known for its strength and versatility in various applications. This research presents a data-driven approach to simulate temperature control in a semi-batch reactor during polymerization, the performance of the proposed approaches was compared against conventional controllers, including PID control and first-principles model MPC control. The study developed neural network model-based predictive control (NNMPC) and multiple neural network model-based predictive control (Multi-NNMPC), using Python and Tensorflow. Neural network models were trained by using a wide range of dynamic data with varying numbers of neurons in hidden layers to investigate the process dynamics under different …


Whitening Of Calcium Carbonate Tailings Using Attrition Process: A Case Study Of Khar Toum Deposit, Lopburi Province, Thailand, Bancha Wongkaewphothong Jan 2022

Whitening Of Calcium Carbonate Tailings Using Attrition Process: A Case Study Of Khar Toum Deposit, Lopburi Province, Thailand, Bancha Wongkaewphothong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Calcium carbonate (CaCO3) is one of the industrial minerals that usually use in various applications in many industries (e.g., plastic, rubber, paint, paper). However, salable CaCO3 products need to meet the requirement for each application. Whiteness is one of property that really important especially the application that concern about the color like paint and paper industries. In this study, to recover and utilize out of spec ores, the effects of attrition scrubbing process (i.e., retention time and solid in pulp) on the whiteness of the CaCO3 tailings were investigated. The CaCO3 samples were screened to obtain –300, +300–600, +600–1000, +1000–2360, …


Physical Property Measurement Of Surfactant Coupled With Nanoparticles For Enhanced Oil Recovery, Phoo Pwint Nandar Jan 2022

Physical Property Measurement Of Surfactant Coupled With Nanoparticles For Enhanced Oil Recovery, Phoo Pwint Nandar

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The residual oil remained in the reservoir after the primary recovery and water flooding can either be produced by increasing the mobility of the oil or by altering the reservoir rock wetting behavior and diminishing the oil water interfacial tension. The surfactant flooding is one of the chemical enhanced oil recovery methods. At the optimal concentration, the surfactant flooding can provide the low interfacial tension favoring to the enhanced oil recovery. In contrast, the loss of the surfactant at the solid-liquid interface due to an adsorption lessens the amount of the surfactant required for oil displacement during the flooding. Therefore, …


Effect Of Salinity Contrast Between Formation Water And Injected Low Salinity Water On Low Salinity Waterflooding In Shaly-Sandstone Formation, Sarun Phuenghansaporn Jan 2022

Effect Of Salinity Contrast Between Formation Water And Injected Low Salinity Water On Low Salinity Waterflooding In Shaly-Sandstone Formation, Sarun Phuenghansaporn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Low salinity waterflooding is an improving oil recovery technique that is highly mentioned nowadays as it is cost-efficient and environmentally friendly. The technique involves injecting water with lower salinity compared to formation salinity to shift the surface equilibrium toward the liberation of oil from the rock surface. Nevertheless, successful of this technique depends on many parameters especially the presence of clays. Several types of clays can be found in oil reservoirs, and they may react to different cations in inject low salinity in different ways, resulting in different magnitudes of oil recovery. Moreover, the contrast of salinity between formation water …


Pore Pressure Prediction Using Combination Drilling Efficiency And Hydro-Mechanical Specific Energy Methods, Munawir Arge Pratama Otolomo Jan 2022

Pore Pressure Prediction Using Combination Drilling Efficiency And Hydro-Mechanical Specific Energy Methods, Munawir Arge Pratama Otolomo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Several methods of pore pressure prediction using drilling parameters were introduced and improved to meet the challenges of accurate prediction at a relatively low cost. Knowledge of pore pressure is essential for safe well planning, cost-effective drilling, and operational decision-making. Conventional methods in pore pressure prediction using drilling parameters have limitations on its application of making the normal compaction trendline that is only applicable in clean shale intervals. In this work, the concept of drilling efficiency (DE) and hydro-mechanical specific energy (HMSE) for predicting formation pore pressure is proposed. This method, termed DE-HMSE, is based on the theory that the …


The Study Of Oxygenated Compounds For Oil Fingerprinting Application, Khairunisa Betariani Jan 2022

The Study Of Oxygenated Compounds For Oil Fingerprinting Application, Khairunisa Betariani

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Oil spills have a large impact on the marine and coastal environments. The characterization of petroleum or its products spilled in the environment to its source rocks is an important tool to assist in the resolution of issues of environmental impact and legal responsibility. The composition and physical properties of spilled oils have changed during the weathering process. Petroleum biomarkers is a tool for defining the origin of each oil, which is unique for each type of oil. In general, petroleum biomarkers (i.e., hopane group) are widely used for oil fingerprinting by following the NORDTEST methodology. Besides the hopane group, …


ผลกระทบของแอนไอออนที่ปนเปื้อนในน้ำต่อการสังเคราะห์กรดเปอร์ฟอร์มิก, วนิดา มลาภูมิ Jan 2022

ผลกระทบของแอนไอออนที่ปนเปื้อนในน้ำต่อการสังเคราะห์กรดเปอร์ฟอร์มิก, วนิดา มลาภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลของแอนไอออนที่มีต่อการเตรียมกรดเปอร์ฟอร์มิก แอนไอออนที่ทำการศึกษาได้แก่ คลอไรด์, ซัลเฟต, ไบคาร์บอเนต, คาร์บอเนต และไนไตรท์ (ในรูปของเกลือโซเดียม) การเตรียมกรดเปอร์ฟอร์มิกทำโดยการผสม น้ำกลั่น, กรดเปอร์ฟอร์มิก, ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และสารละลายของแอนไอออน ในขวดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงที่อุณหภูมิห้อง ติดตามการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของกรดเปอร์ฟอร์มิก, กรดฟอร์มิก และไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ด้วยการไทเทรตกับสารละลายมาตรฐานโซเดียมไฮดรอกไซด์และโพแตสเซียมเปอร์แมงการเนตตามลำดับ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ไฮดรอกไซด์, คาร์บอเนต และไบคาร์บอเนต เร่งการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์และกรดเปอร์ฟอร์มิกอย่างรุนแรงตั้งแต่ชั่วโมงแรกหลังการผสม คลอไรด์และไนไทรต์ทำให้ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์สลายตัวภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ในขณะที่ซัลเฟตสามารถเพิ่มการเกิดกรดเปอร์ฟอร์มิก นอกจากนี้ยังพบว่าสารละลายกรดเปอร์ฟอร์มิกที่เตรียมขึ้นควรใช้ภายใน ๑๒ ชั่วโมงหลังผสม


Synthesis Of Molybdenum-Based Catalysts On Carbon Support For Partial Hydrogenation Reaction Of Biodiesel, Dolrudee Jaruwat Jan 2021

Synthesis Of Molybdenum-Based Catalysts On Carbon Support For Partial Hydrogenation Reaction Of Biodiesel, Dolrudee Jaruwat

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, biodiesel is a renewable energy, which can decrease fossil fuel. It helped reducing air pollution. Partial Hydrogenation is one process which improves the biodiesel quality. In this research, activated carbon was produced from cattail leave via hydrothermal carbonization and chemical activation. The activated carbon was treated with 4 M of potassium hydroxide at 900oC, which exhibits 1323.38 m2g-1 of SBET. Several type of catalysts (Mo, Ni, Ci, Fe, MoNi, MoCu, and MoFe) were studied in this research, which were prepared using a rotary evaporation technique. The experiments reveal that MoNi/C catalyst indicate the highest dispersion of metal particle. The …


Use Of Polyacrylonitrile As Anodic Artificial Solid Electrolyte Interphase For Aqueous-Based Zinc-Ion Batteries, Nutchaya Muangplod Jan 2021

Use Of Polyacrylonitrile As Anodic Artificial Solid Electrolyte Interphase For Aqueous-Based Zinc-Ion Batteries, Nutchaya Muangplod

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Rechargeable aqueous zinc-ion batteries (ZIBs) have attracted attention for energy storage systems because of their high specific capacity, low cost, and safety. However, practical application of the zinc anode in mild acidic electrolytes is limited by several issues such as dendrite formation, corrosion, hydrogen evolution reaction, passivation and relatively low cycling performance. Coating the zinc anode with graphite (GP) (GP@Zn) can partially solve these issues and improves the cycling performance of ZIB. However, after long-term charge/discharge cycles, zinc tends to migrate and redeposit over the surface of GP owing to the electronic conductivity of GP particles. Thus, after long-term cycling, …


Tetracycline Sorption By Magnetic Biochar Derived From Watermelon Rind: Performance And Influential Factors, Phisit Thairattananon Jan 2021

Tetracycline Sorption By Magnetic Biochar Derived From Watermelon Rind: Performance And Influential Factors, Phisit Thairattananon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Tetracycline (TC) antibiotic is one of emerging contaminants in water reservoirs that causes undesirable effects on environment and human health. Magnetic biochar (MBC) is considered a promising sorbent in adsorption process for removal of contaminants with highly efficient and facile operation. In this work, MBC was synthesized by pyrolysis of watermelon rind impregnated with FeCl3 at different pyrolysis temperatures in a range of 600-900 °C prior to applying for TC adsorption. Characteristics of MBC were analyzed by scanning electron microscopy, elemental analyzer, N2 adsorption/desorption, Fourier-transform infrared spectroscopy, Raman spectroscopy, vibrating sample magnetometry, and X-ray diffractometry. The adsorption kinetics, isotherm, effect …


Effect Of Bismuth (Bi) Concentration On Bi/Sn Electrodes Prepared By Electrodeposition In Electrochemical Reduction Of Co2 To Toward Solid Carbon Products, Sarita Phupaichitkun Jan 2021

Effect Of Bismuth (Bi) Concentration On Bi/Sn Electrodes Prepared By Electrodeposition In Electrochemical Reduction Of Co2 To Toward Solid Carbon Products, Sarita Phupaichitkun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Carbon dioxide (CO2) is the main greenhouse gas that contributes to climate change. The electrochemical carbon dioxide reduction (CO2RR) is an interesting and low-cost CO2 conversion technology using renewable electricity as an energy source. Herein, CO2RR to solid carbon products was studied on bismuth/tin (Bi/Sn) electrodes synthesized by electrodeposition method. Different Bi concentration (0.01 M,0.03 M, 0.05 M,0.07 M and 0.1 M) were used to prepare the electrodes by electrodeposition method. The SEM-EDX and EIS results which reveal that the Bi/Sn electrode prepared in 0.05 M Bi 3+ had the lowest charge transfer resistance and was indicated as a CO2RR …


Development Of Nonaqueous Zinc-Ion Battery Based On Manganese Dioxide Cathode, Wathanyu Kao-Ian Jan 2021

Development Of Nonaqueous Zinc-Ion Battery Based On Manganese Dioxide Cathode, Wathanyu Kao-Ian

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Zinc-ion batteries (ZIBs) are considered promising candidates for large-scale applications replacing lithium-ion batteries (LIBs). ZIBs having aqueous electrolytes have many advantages being low-cost, safe, and eco-friendly. However, a number of shortcomings hinder their application e.g. self-corrosion, hydrogen evolution, and Zn dendrite-formation. To mitigate these issues, nonaqueous electrolytes i.e. organic-based and room temperature ionic liquid electrolytes have been proposed. Nevertheless, nonaqueous electrolytes are yet to be elucidated. Herein, this work identifies nonaqueous electrolytes' state of the art and develops a new nonaqueous electrolyte system for ZIBs based on a manganese dioxide (MnO2) cathode. For this purpose, Zn chemistry in nonaqueous electrolytes …


Quality Control Of Chemical Grade Calcium Carbonate From Lopburi Limestone Deposit In Thailand, Pimpichcha Teawpanich Jan 2021

Quality Control Of Chemical Grade Calcium Carbonate From Lopburi Limestone Deposit In Thailand, Pimpichcha Teawpanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Calcium carbonate (CaCO3) is naturally produced from calcite, limestone, chalk, and marble. It is being used as raw material in various industries (e.g., cement, plastic, paint, paper, and pharmaceutical industries). The low-grade CaCO3 samples obtained from a calcite plant at Khoktum Sub-district, Muang Lopburi District, Lopburi Province, Thailand were used in this study. These samples contain more than 98% of CaCO3 while Fe2O3 contents are higher than 0.1% and increased after finished the process. Because of this problem, the products could not be sold since lower Fe2O3 contents are required (e.g., ≤0.05% for filler grade and ≤ 0.1% for animal …


Sustainable Two-Step Minlp Heat Exchanger Network Synthesis With Practical Detailed Design, Thanawat Boonvaerojkul Jan 2021

Sustainable Two-Step Minlp Heat Exchanger Network Synthesis With Practical Detailed Design, Thanawat Boonvaerojkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Due to sustainable development that focuses on energy conservation, decreasing emissions and environmental effect, the research of heat exchanger network synthesis (HENS) is still necessary and challenging. Most academic studies in the subject of HENS aim on reducing total annual cost (TAC) through optimal topology design without the detailed design costs of each heat exchanger in the network, resulting in conceptual HEN designs. Hence, the detailed design of shell and tube heat exchangers is recalculated for TAC and corrected area costs, including the pumping costs from overall pressure drop of heat exchangers. For a shell and tube heat exchanger, its …


แบบจำลองเทียบเท่าวงจรไฟฟ้าของแบตเตอรี่ไอออนสังกะสี, พนิดา พูลพิพัฒน์ Jan 2021

แบบจำลองเทียบเท่าวงจรไฟฟ้าของแบตเตอรี่ไอออนสังกะสี, พนิดา พูลพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาแบตเตอรี่ไอออนสังกะสีต้องการระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (Battery management system; BMS) เพื่อควบคุมการดำเนินงานของแบตเตอรี่ให้มีสมรรถนะสูงและมีความปลอดภัยในการทำงาน ในปัจจุบันนี้การศึกษาเกี่ยวกับแบบจำลองของแบตเตอรี่ไอออนสังกะสียังไม่แพร่หลายมากนัก ซึ่งระบบการจัดการแบตเตอรี่ต้องอาศัยแบบจำลองที่มีประสิทธิภาพเข้ามาช่วยในการทำนายตัวแปรสภาวะ เช่น แรงดันไฟฟ้า (Voltage), กระแส (Current) และสถานะประจุ (State of charge) เป็นต้น ซึ่งตัวแปรสภาวะเหล่านี้เป็นตัวที่บ่งบอกถึงสภาวะการทำงานของแบตเตอรี่และยืดอายุการใช้งานของแบตเตอรี่ให้ยาวนานขึ้นได้ ในงานวิจัยนี้เราได้ศึกษาการทำแบบจำลองโดยอาศัยแบบจำลองบนพื้นฐานของแบบจำลองเทียบเท่าวงจรไฟฟ้า (Equivalent Circuit Models; ECMs) สำหรับการระบุค่าพารามิเตอร์จะใช้วิธี Recursive least squares (RLS) และใช้ข้อมูลผลตอบสนองพฤติกรรมทางไดนามิคของแบตเตอรี่จากการทดสอบ HPPC (Hybrid pulse power characterization) โดยการจำลองแบตเตอรี่ไอออนสังกะสีมาใช้เป็นอินพุตท์ของการทำแบบจำลอง ได้แก่ แบบจำลอง Thevenin, แบบจำลอง RC และแบบจำลอง PNGV ผลการทำแบบจำลองพบว่าแบบจำลอง Thevenin มีความแม่นยำที่สุดในการทำนายความต่างศักย์ของระบบโดยมีการใช้ค่าพารามิเตอร์แบบออนไลน์มากที่สุดเมื่อเทียบกับอีก 2 แบบจำลองที่ทำการศึกษา นอกจากนี้วิธีระบุค่าพารามิเตอร์แบบ RLS ยังสามารถช่วยลดค่าความผิดพลาดและมีความแม่นยำในการทำนายแรงดันไฟฟ้าของแบตเตอรี่แบบออนไลน์ได้


การเพิ่มประสิทธิภาพของผงเปลือกมะละกอด้วยสาร Pdtc เพื่อดูดซับตะกั่วออกจากน้ำเสียสังเคราะห์ และการทำนายค่าสภาวะการดูดซับที่เหมาะสมโดยใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนอง, วิลาวรรณ ใจหาญ Jan 2021

การเพิ่มประสิทธิภาพของผงเปลือกมะละกอด้วยสาร Pdtc เพื่อดูดซับตะกั่วออกจากน้ำเสียสังเคราะห์ และการทำนายค่าสภาวะการดูดซับที่เหมาะสมโดยใช้วิธีการพื้นผิวตอบสนอง, วิลาวรรณ ใจหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการกำจัดตะกั่วในน้ำสังเคราะห์ที่ปนเปื้อนโดยใช้ตัวดูดซับชีวภาพจากเปลือกมะละกอ (PP) โดยใช้วิธีการพื้นผิวการตอบสนองแบบบ็อกซ์-เบห์นเคน ผลการทดลองพบว่า สภาวะที่เหมาะสมในการดูดซับตะกั่วคือ ความเข้มข้นของตะกั่วเริ่มต้นในสารละลาย 96.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ค่าความเป็นกรด-ด่างเท่ากับ 4 ปริมาณตัวดูดซับ 0.73 กรัมต่อ 50 มิลลิลิตร และเวลาสัมผัสเท่ากับ 3 ชั่วโมง นอกจากนี้ได้ทำการปรับปรุงพื้นผิวตัวดูดซับ PP ด้วย PDTC (PP-PDTC) เพื่อเพิ่มความสามารถในการดูดซับ พบว่าผลการดูดซับตะกั่วสำหรับ PP และ PP-PDTC ภายใต้สภาวะที่เหมาะสมมีค่าเท่ากับร้อยละ 97.51 และ 99.12 ตามลำดับ ผลการศึกษาไอโซเทอมของ PP และ PP-PDTC สอดคล้องกับแบบจำลองของฟรุนดลิชและดูบินิน-ราดัชเควิช ตามลำดับ การศึกษาจลนพลศาสตร์ของทั้งสองตัวดูดซับสอดคล้องกับแบบจำลองอันดับสองเทียม การศึกษาอุณหพลศาตร์ของ PP และ PP-PDTC พบว่า เป็นกระบวนการดูดความร้อนและสามารถเกิดขึ้นได้เอง การวิเคราะห์ SEM/EDX พบว่าพื้นผิวเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญหลังจากถูกปรับปรุงด้วย PDTC และหลังจากการดูดซับด้วยตะกั่ว การวิเคราะห์ FTIR พบว่ามีหมู่ฟังก์ชันที่สามารถทำปฏิกิริยากับตะกั่วบนตัวดูดซับ PP และ PP-PDTC และการวิเคราะห์ BET พบว่าปริมาตรรูพรุนและพื้นที่ผิวของตัวดูดซับ PP-PDTC มีขนาดมากกว่า PP การศึกษาค่าร้อยละของการคายซับโดยใช้กรดไนตริกบนตัวดูดซับ PP และ PP-PDTC มีค่าเท่ากับร้อยละ 75.16 และ 92.79 ตามลำดับ


การประยุกต์พลศาสตร์การไหลเชิงคำนวณสำหรับการทำนายอุณหภูมิและความดันลดของก๊าซร้อนเพื่อป้องกันการควบแน่นของไอกรดในระบบเครื่องผลิตไอน้ำแบบกู้คืนความร้อน, เวธน์พล เจนวัฒนานนท์ Jan 2021

การประยุกต์พลศาสตร์การไหลเชิงคำนวณสำหรับการทำนายอุณหภูมิและความดันลดของก๊าซร้อนเพื่อป้องกันการควบแน่นของไอกรดในระบบเครื่องผลิตไอน้ำแบบกู้คืนความร้อน, เวธน์พล เจนวัฒนานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เครื่องผลิตไอน้ำแบบกู้คืนความร้อน (HRSG) เป็นหนึ่งในอุปกรณ์หลักที่ใช้ในการกู้คืนพลังงานที่สะสมอยู่ในก๊าซร้อนหลังการเผาไหม้ก่อนปล่อยออกสู่บรรยากาศ การป้องกันการกัดกร่อนจากไอกรดเป็นสิ่งสำคัญเพื่อความปลอดภัยและอายุชองHRSG โดยการกัดกร่อนพบที่บริเวณชุดท่อแถวสุดท้ายของHRSG เนื่องจากอุณหภูมิของก๊าซร้อนที่ต่ำลงและเกิดการควบแน่นของไอกรดที่บริเวณผิวท่อ ดังนั้นจุดประสงค์ของงานวิจัยจึงสร้างแบบจำลองพลศาสตร์การไหลเชิงคำนวณ (CFD) เพื่อศึกษาผลกระทบของการจัดวางท่อและอุณหภูมิผิวท่อด้านใน ที่มีต่ออุณหภูมิและความดันลดของก๊าซร้อนบริเวณผิวของครีบของท่อชุดสุดท้าย โดยใช้แบบจำลองความปั่นป่วน k-ω SST และทำการสอบเทียบค่านัสเซิลส์นัมเบอร์ (Nu) และความดันลดคร่อมชุดท่อกับสหสัมพันธ์ของ ESCOA Nir Næss และ Hofmann ทั้งนี้ ผลการสอบเทียบแบบจำลอง พบว่าผลลัพธ์มีแนวโน้มสอดคล้องกัน มีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 20% สำหรับค่า Nu และมีความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 5 mbar สำหรับความดันลด นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิผิวท่อด้านในไม่ผลส่งต่อค่า Nu และความดันลดตกคร่อมชุดท่อ แต่เมื่อเพิ่มอุณหภูมิผิวท่อด้านในส่งผลให้อุณหภูมิเฉลี่ยผิวเพิ่มขึ้นและมีโอกาสเกิดการควบแน่นของกรดน้อยลงโดยเฉพาะด้านหลังของท่อที่มีการถ่ายเทความร้อนต่ำ การเพิ่มระยะห่างของท่อในแนวขวาง พบว่า ค่า Nu และค่าความดันลดของก๊าซร้อนลดลงเนื่องจากมีความเร็วการไหลและการปั่นป่วนลดลง โดยอุณหภูมิผิวครีบมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มระยะห่างในแนวขวาง การเพิ่มระยะห่างของท่อในแนวยาวพบว่า ค่า Nu และค่าความดันลดของก๊าซร้อนลดลง เนื่องจากเป็นการลดความเร็วและการปั่นปวนในการไหล โดยอุณหภูมิผิวท่อมีแนวโน้มลดลงเมื่อเพิ่มระยะในแนวยาว ในขณะที่การเปลี่ยนแปลงระยะตัดครีบส่งผลให้ค่า Nu และค่าความดันลดของก๊าซคร่อมชุดท่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อมีการตัดครีบเต็มอัตราส่วน เนื่องจากเป็นการเพิ่มความปั่นป่วนในการไหล โดยอุณหภูมิผิวท่อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มอัตราส่วน อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาอุณหภูมิต่ำที่สุดของครีบในแต่ละชุดการทดลอง พบว่าอุณหภูมิต่ำที่สุดมีค่าเท่ากับอุณหภูมิผิวท่อด้านในโดยเฉพาะด้านหลังท่อเนื่องจากมีความปั่นป่วนน้อย


การหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมฟิล์มบางนาโนคอมโพสิตที่มีการเติมสารละลายคอลลอยด์ของไทเทเนียมออกไซด์ด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง, ปรมินทร์ อาจหาญ Jan 2021

การหาสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียมฟิล์มบางนาโนคอมโพสิตที่มีการเติมสารละลายคอลลอยด์ของไทเทเนียมออกไซด์ด้วยวิธีการพื้นผิวตอบสนอง, ปรมินทร์ อาจหาญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เทคโนโลยีการแยกด้วยเยื่อเลือกผ่านเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมสำหรับกระบวนการทำน้ำบริสุทธิ์ด้วยการแยกเกลือออกจากน้ำทะเล และระบบบำบัดน้ำ ปัญหาทั่วไปของการใช้งานเยื่อเลือกผ่านคือฟาวลิ่งที่ยึดเกาะบนพื้นผิวเยื่อเลือกผ่าน โดยพบว่าแนวโน้มของการเกิดคราบบนผิวเยื่อเลือกผ่านมีความสัมพันธ์กับสัณฐานวิทยาของพื้นผิว และความสามารถในการชอบน้ำหรือไม่ชอบน้ำของเยื่อเลือกผ่าน แนวทางในการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้คือการแต่งเติมอนุภาคนาโนที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของพื้นผิวของเยื่อเลือกผ่านทั้งทางเคมี และทางกายภาพ หนึ่งในอนุภาคที่ได้รับการศึกษาคือไทเทเนียมออกไซด์ (TiO2) เนื่องจากมีคุณสมบัติที่โดดเด่น ทั้งด้านการทำความสะอาดตัวเอง การฆ่าเชื้อด้วยตนเอง และความสามารถในการสร้างพื้นผิวเยื่อเลือกผ่านที่ชอบน้ำมาก ในงานนี้จะเตรียมเยื่อเลือกผ่านนาโนคอมโพสิตฟิล์มบางโพลีเอไมด์ที่มีการเติมคอลลอยด์ของ TiO2 โดยปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันระหว่างวัฏภาค เพื่อหาสภาวะการเตรียมที่เหมาะสมที่สุด ที่จะทำให้ได้เยื่อเลือกผ่านที่มีการซึมผ่านสูง การกักกันเกลือ และความทนทานต่อเกิดฟาวลิ่งสูง โดยได้ประยุกต์ใช้วิธีการพื้นผิวการตอบสนอง ประกอบกับการออกแบบการทดลองแบบ Box-Behnken ทำการศึกษาตัวแปรประกอบด้วยสารเติมแต่ง 3 ชนิดในสารละลาย m-phenylenediamine (MPD) ได้แก่ TiO2 คอลลอยด์ โซเดียมโดเดซิลซัลเฟต (SDS) และไตรเอทิลเอมีน (TEA) และทดสอบความต้านทานการเกิดฟาวลิ่งบนพื้นผิวเยื่อเลือกผ่าน โดยโซเดียมแอลจิเนต (SA) เป็นตัวแทนสิ่งสกปรก จากการวิเคราะห์ RSM พบว่าปริมาณที่เหมาะสมของคอลลอยด์ TiO2, SDS และ TEA คือ 18.48 wt%, 0.15 wt% และ 1.9 wt.% ตามลำดับ ซึ่งได้จุดที่เหมาะสมที่สุดที่คาดการณ์ คือ การซึมผ่านของน้ำที่ 2.48 Lm-2h-1bar-1, การกักกันเกลือ 78.83 % และ 92.51%


The Prediction Of Pm2.5 Dispersion In Bangkok (Pathumwan District)Using Cfd Modeling, Punyisa Chaisri Jan 2021

The Prediction Of Pm2.5 Dispersion In Bangkok (Pathumwan District)Using Cfd Modeling, Punyisa Chaisri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

City configuration, meteorological conditions and emission source are the important factors affecting the concentration and dispersion of pollutants within urban street canyon. The dispersion of PM2.5 in Pathumwan district, Bangkok which has a characteristics of street canyon was predicted using a Computational Fluid Dynamics (CFD) model. Flow and dispersion of PM2.5 were analyzed using standard k-ε turbulence model. The concentrations of PM2.5 were investigated under different conditions to demonstrate the effect of city configuration in study area, meteorological characteristics, and lockdown due to COVID-19 on PM2.5 concentration. The numerical model was validated with the measured data from the air quality …


การเก็บเกี่ยวชีวมวลไดอะตอม Nitzschia Sp. ด้วยการตกตะกอนและการกรอง, ณัฐฐาทิพย์ ศรีพรหม Jan 2021

การเก็บเกี่ยวชีวมวลไดอะตอม Nitzschia Sp. ด้วยการตกตะกอนและการกรอง, ณัฐฐาทิพย์ ศรีพรหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาความเป็นไปได้ของการใช้งานการตกตะกอนและการกรองเพื่อเก็บเกี่ยวชีวมวลไดอะตอม Nitzschia sp. และปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการดำเนินงาน ในส่วนของวิธีการตกตะกอน พบว่าการเพิ่มปริมาณชีวมวลไดอะตอมในของเหลวจาก 0.06 – 0.30 กรัม/ลิตร ช่วยให้เซลล์ตกตะกอนได้ง่ายขึ้นโดยมีประสิทธิภาพการตกตะกอนอยู่ที่ 50% – 60% เมื่อความเข้มข้นของไดอะตอมอยู่ที่ประมาณ 0.30 กรัม/ลิตร ประสิทธิภาพการตกตะกอนของชีวมวลไดอะตอมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญที่ประมาณ 90% เมื่อปรับพีเอชของของเหลวให้อยู่ในช่วง 9.5 – 10.0 และพบว่าค่าพีเอชมากกว่า 10.0 ทำให้เซลล์เสียสภาพและมีลักษณะทางกายภาพแตกต่างจากเซลล์ที่เพาะเลี้ยงในถังปฏิกรณ์ชีวภาพเชิงแสง นอกจากนี้พบว่าการปรับอุณหภูมิในช่วง 2 – 25 องศาเซลเซียส มีผลต่อประสิทธิภาพการตกตะกอนเพียงเล็กน้อย ในส่วนของวิธีการกรอง พบว่าวัสดุกรองและขนาดรูกรองที่ควรเลือกใช้คือตะแกรงสแตนเลสที่มีขนาดรูกรอง 30 ไมโครเมตร โดยวัสดุดังกล่าวมีประสิทธิภาพในการกรองประมาณ 94% เมื่อใช้กรองชีวมวลไดอะตอมที่มีความเข้มข้นเริ่มต้น 0.32 กรัม/ลิตร จากนั้นจึงศึกษารูปแบบการกรอง 2 แบบ คือ การกรองแบบถุงกรองทรงกรวยและการกรองแบบลาดเอียง ซึ่งพบว่าการกรองแบบถุงกรองทรงกรวยโดยใช้ตะแกรงสแตนเลสที่มีขนาดรูกรอง 30 ไมโครเมตร มีประสิทธิภาพการกรองที่ประมาณ 87% ซึ่งสูงกว่าประสิทธิภาพการกรองแบบลาดเอียง สามารถกรองของเหลวได้มากกว่า ให้ฟลักซ์การกรองที่ค่อนข้างคงที่ สามารถสร้างและนำไปติดตั้งเข้ากับถังปฏิกรณ์ชีวภาพเชิงแสงได้ง่าย


การเตรียมพิกเคอริงอิมัลชันโดยใช้ควอเทอร์ไนซ์ไซโคลเดกซ์ทรินเชื่อมไคโตซานและไตรโพลีฟอสเฟต, ศุภกร ลักษณะกุลบุตร Jan 2021

การเตรียมพิกเคอริงอิมัลชันโดยใช้ควอเทอร์ไนซ์ไซโคลเดกซ์ทรินเชื่อมไคโตซานและไตรโพลีฟอสเฟต, ศุภกร ลักษณะกุลบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การกักเก็บสารสำคัญที่ไม่ชอบน้ำในรูปอิมัลชันแบบน้ำมันในน้ำ (Oil-in-water emulsion) โดยใช้อนุภาคของแข็งที่มาจากธรรมชาติ เป็นอิมัลซิฟายเออร์ ที่เรียกว่า พิกเคอริงอิมัลชัน (Pickering emulsion) ได้เข้ามาทดแทนการใช้สารลดแรงตึงผิวซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่ก่อให้เกิดการระคายเคือง ควอเทอร์ไนซ์ไซโคลเดกซ์ทรินเชื่อมไคโตซานซึ่งเป็นพอลิเมอร์ประจุบวกบนโมเลกุล ถูกนำมาใช้เป็นสารที่ให้ความคงตัวแก่พิกเคอริงอิมัลชัน ทำให้ต้องมีการสร้างอนุภาคโดยใช้สารที่มีประจุเป็นลบซึ่งก็คือไตรโพลีฟอสเฟต ด้วยเทคนิค Ionic gelation ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้จำลองพลวัตเชิงโมเลกุลเพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพลวัตในการสร้างอนุภาคที่จำนวนไตรโพลีฟอสเฟตแตกต่างกัน รวมทั้งเปรียบเทียบการเกิดพิกเคอริงอิมัลชันระหว่างอนุภาคที่มีและไม่มีไตรโพลีฟอสเฟต จากการศึกษาพบว่า กลไกการสร้างอนุภาคระหว่างโมเลกุลควอเทอร์ไนซ์ไซโคลเดกซ์ทรินเชื่อมไคโตซาน และโมเลกุลไตรโพลีฟอสเฟต เกิดขึ้นจาก 2 ส่วน ได้แก่ การเชื่อมโยง (Cross-linking) ระหว่างหน่วย Quaternized D-glucosamine กับโมเลกุลไตรโพลีฟอสเฟต และการรวมกลุ่มของวงเบตาไซโคลเดกซ์ทริน สำหรับการวิเคราะห์อนุภาค พบว่า ที่อัตราส่วนระหว่างหน่วย Quaternized D-glucosamine กับโมเลกุลไตรโพลีฟอสเฟต เป็น 1:1 ให้อนุภาคที่มีขนาดและพื้นที่ผิวที่น้ำเข้าถึงได้น้อยที่สุด ส่วนการจำลองพิกเคอริงอิมัลชันของอนุภาคที่มีและไม่มีไตรโพลีฟอสเฟต พบว่า ทั้งสองระบบสามารถเกิดพิกเคอริงอิมัลชันได้ในลักษณะเดียวกัน โดยมีการจัดเรียงตัวโมเลกุลควอเทอร์ไนซ์ไซโคลเดกซ์ทรินเชื่อมไคโตซานที่แตกต่างกัน โดยพบว่า อนุภาคในระบบพิกเคอริงอิมัลชันที่ไม่มีไตรโพลีฟอสเฟตมีการจัดเรียงตัวใหม่ของโมเลกุลควอเทอร์ไนซ์ไซโคลเดกซ์ทรินเชื่อมไคโตซานอยู่ตลอดเวลา ในขณะที่ระบบพิกเคอริงอิมัลชันที่มีไตรโพลีฟอสเฟต อนุภาคจะคงที่ ดังนั้นระบบพิกเคอริงอิมัลชันที่มีการเติมไตรโพลีฟอสเฟต สามารถทำให้พิกเคอริงอิมัลชันมีความเสถียรมากขึ้น


ผลของแอนไอออนในน้ำต่อการสังเคราะห์และการเจือจางกรดเปอร์อะซีติก, ชัญญานุช จันทเตมีย์ Jan 2021

ผลของแอนไอออนในน้ำต่อการสังเคราะห์และการเจือจางกรดเปอร์อะซีติก, ชัญญานุช จันทเตมีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาผลของแอนไอออนที่มีต่อเสถียรภาพของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์, การเตรียมกรดเปอร์อะซีติก และการเจือจางสารละลายกรดเปอร์อะซีติก แอนไอออนที่ทำการศึกษาได้แก่ คลอไรด์, ซัลเฟต, ไบคาร์บอเนต, คาร์บอเนต, ไฮดรอกไซด์ และไนไตรท์ (ใช้เกลือโซเดียมทั้งหมด) ใช้น้ำกลั่นเป็นตัวทำละลายเจือจางเปรียบเทียบ การผสมกรดอะซีติก, ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ และ น้ำกลั่น/น้ำที่มีแอนไอออนเจือปนอยู่ กระทำในขวดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง การทดลองกระทำที่อุณหภูมิห้อง ตรวจสอบการดำเนินไปของปฏิกิริยาด้วยเทคนิคการไทเทรต ระบุปริมาณกรดทั้งหมดและกรดเปอร์อะซีติกที่เกิดขึ้นด้วยการไทเทรตกับสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ด้วยเครื่อง Auto titrator ความเข้มข้นของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์วัดด้วยการไทเทรตกับสารละลายโพแทสเซียมเปอร์แมงกาเนต ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า ไบคาร์บอเนตและคาร์บอเนตสามารถเร่งการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง ในขณะที่ไฮดรอกไซด์ทำให้เกิดการสลายตัวทันทีและรุนแรงหลังการผสม ผลของแอนไอออนเหล่านี้ยังคงปรากฏอยู่ในระหว่างการเตรียม/การเจือจางสารละลายกรดเปอร์อะซีติก คลอไรด์และไนไตรท์สามารถเร่งการสลายตัวของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ได้เมื่อมีกรดร่วมอยู่ (กล่าวคือในระหว่างการเตรียม/การเจือจางกรดเปอร์อะซีติก) ในขณะที่ซัลเฟตไม่ส่งผลใด ๆ


การเพาะเลี้ยงไดอะตอม Thalassiosira Sp. เพื่อผลิตฟูโคแซนทินโดยใช้ถังปฏิกรณ์เชิงแสงชนิดแผ่นแบน, สุชานันท์ ขวัญเจริญ Jan 2021

การเพาะเลี้ยงไดอะตอม Thalassiosira Sp. เพื่อผลิตฟูโคแซนทินโดยใช้ถังปฏิกรณ์เชิงแสงชนิดแผ่นแบน, สุชานันท์ ขวัญเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาสภาวะการเพาะเลี้ยงไดอะตอม Thalassiosira sp. เพื่อผลิตฟูโคแซนทิน โดยใช้ถังปฎิกรณ์ชีวภาพเชิงแสงชนิดแผ่นแบน การปรับความเข้มข้นของปริมาณไนโตรเจนในอาหารเลี้ยงเชื้อพบว่าพบว่าความเข้มข้นของไนโตรเจน 75% ของปริมาณในอาหารสูตร F/2 สามารถให้ผลผลิตฟูโคแซนทินได้ไม่แตกต่างจากชุดการใช้อาหารสูตรปกติและได้รับปริมาณฟูโคแซนทินสูงสุดเท่ากับ 3.718 ± 0.4138 มิลลิกรัม/กรัม การทดลองปรับความเข้มแสงส่องผ่านที่ด้านหลังถังปฏิกรณ์ชีวภาพในระหว่างการเพาะเลี้ยงไดอะตอม พบว่าความเข้มแสงส่องผ่านที่ด้านหลังของถังปฏิกรณ์ชีวภาพเชิงแสงที่ 2000 ลักซ์ ให้ผลการเพาะเลี้ยงดีที่สุดโดยมีค่าน้ำหนักแห้ง อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะสูงสุด ผลผลิตชีวมวล และผลผลิตฟูโคแซนทินเท่ากับ 0.23 ± 0.001 กรัม/ลิตร 0.72 ± 0.008 วัน-1 21.01 ± 0.454 มิลลิกรัม/ลิตร·วัน และ 0.048 ± 0.003 มิลลิกรัม/ลิตร·วัน ตามลำดับ ในส่วนการทดลองปรับคุณภาพแสง พบว่าการเพาะเลี้ยงด้วยแสงสีน้ำเงินที่ความเข้มแสง 2000 ลักซ์ สามารถช่วยกระตุ้นการสะสมฟูโคแซนทินในเซลล์ไดอะตอมได้มากกว่าแสงสีขาวและแสงสีแดง และในการทดลองเพื่อศึกษาความจำเป็นในการให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ พบว่าการให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไม่ได้ช่วยเพิ่มผลผลิตชีวมวลและฟูโคแซนทิน และพบว่าการเติมธาตุอาหารเพิ่มเติมระหว่างการเพาะเลี้ยงสามารถลดข้อจำกัดในการเจริญเติบโตของไดอะตอมได้ ในการทดลองส่วนสุดท้ายได้เพาะเลี้ยงไดอะตอมโดยใช้สภาวะเหมาะสมจากผลการทดลองก่อนหน้านี้ ผลการทดลองพบว่าการเพาะเลี้ยงโดยใช้ไนโตรเจน 75% ของปริมาณในอาหารสูตร F/2 ควบคุมความเข้มแสงส่องผ่านที่ด้านหลังของถังปฎิกรณ์ชีวภาพที่ 2000 ลักซ์ ในวันที่ 0–4 ร่วมกับการให้แสงสีน้ำเงินในวันที่ 5-8 ของการทดลอง ควบคู่ไปกับการเติมธาตุอาหาร เป็นสภาวะที่ดีที่สุด โดยให้ผลผลิตชีวมวลและผลผลิตฟูโคแซนทินเท่ากับ 45.18 ± 5.870 มิลลิกรัม/ลิตร·วัน และ 0.127 ± 0.0040 มิลลิกรัม/ลิตร·วัน ซึ่งมากกว่าชุดควบคุมซึ่งเพาะเลี้ยงด้วยแสงสีขาว 5000 ลักซ์ 154% และ 28% ตามลำดับ


การเร่งสลายเมทิลีนบลูด้วยแสงโดยใช้อนุภาคนาโนคอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์ที่สังเคราะห์จากวิธีโซลเจลและวิธีไฮโดรเทอร์มอล, กิตติยา ทองอ่อน Jan 2021

การเร่งสลายเมทิลีนบลูด้วยแสงโดยใช้อนุภาคนาโนคอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์ที่สังเคราะห์จากวิธีโซลเจลและวิธีไฮโดรเทอร์มอล, กิตติยา ทองอ่อน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

น้ำเสียจากอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของปัญหาสิ่งแวดล้อม ในปัจจุบันกระบวนการเร่งสลายด้วยแสงโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาแสงดูดซับแสงอาทิตย์และสลายสารอินทรีย์ได้รับความสนใจสำหรับการสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย คอปเปอร์ซิงค์ทินซัลไฟด์ (CZTS) เป็นสารกึ่งตัวนำที่มีค่าสัมประสิทธิ์การดูดซับสูงและมีศักยภาพในการใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาแสง อนุภาคนาโน CZTS สามารถเตรียมได้จากหลายวิธี อย่างไรก็ตามวิธีโซล-เจลไม่เคยถูกใช้ในการสังเคราะห์อนุภาค CZTS เพื่อนำมาใช้เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาแสงสำหรับกระบวนการเร่งสลายด้วยแสง ในงานวิจัยนี้สังเคราะห์อนุภาคนาโน CZTS ด้วยวิธีโซล-เจลและวิธีไฮโดรเทอร์มอลเพื่อทำการวิเคราะห์เปรียบเทียบ CZTS ที่สังเคราะห์โดยวิธีไฮโดรเทอร์มอลมีความเป็นผลึกสูงและมีขนาดผลึกประมาณ 20 นาโนเมตร ในขณะที่ CZTS ที่สังเคราะห์โดยวิธีโซล-เจลมีขนาดผลึกประมาณ 5 นาโนเมตร กิจกรรมการเร่งสลายด้วยแสงของ CZTS วิเคราะห์ได้จากการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของเมทิลีนบลูภายใต้การฉายแสงในช่วงที่มองเห็น 94.62% และ 51.13% ของเมทิลีนบลูถูกย่อยสลายหลังจากเวลาผ่านไป 15 ชั่วโมงโดยใช้ CZTS ที่สังเคราะห์ด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอลและวิธีโซล-เจล ตามลำดับ เพื่อเพิ่มกิจกรรมการเร่งสลายด้วยแสง ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ถูกใช้ร่วมกับ CZTS ทำให้สามารถสลายเมทิลีนบลูได้ถึง 96.93% และ 42.87% โดยใช้ CZTS ที่สังเคราะห์ด้วยวิธีไฮโดรเทอร์มอลและวิธีโซล-เจล ตามลำดับ ภายในเวลา 3 ชั่วโมง ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์จะช่วยเพิ่มปริมาณอนุมูลไฮดรอกซิลสำหรับการสลายเมทิลีนบลู