Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Business

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 30 of 44

Full-Text Articles in Entire DC Network

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจัดทำระบบจัดการฐานข้อมูลท่าเรือเดินทะเลของประเทศไทย, จุฬาลักษณ์ อ่อนศิระ Jan 2017

การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อจัดทำระบบจัดการฐานข้อมูลท่าเรือเดินทะเลของประเทศไทย, จุฬาลักษณ์ อ่อนศิระ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลการใช้ท่าเรือเดินทะเลในประเทศไทยด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และพัฒนาระบบจัดการฐานข้อมูลการใช้ท่าเรือเดินทะเลในประเทศไทยให้มีความถูกต้องทันสมัยและสามารถค้นคืนได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้โปรแกรม Quantum GIS (QGIS version 2.18.12) ทำการศึกษาในช่วงตั้งแต่ พ.ศ. 2552 จนถึง พ.ศ. 2559 โดยจำแนกตามชายฝั่งทะเลเป็น 2 ชายฝั่ง 6 กลุ่มจังหวัด ได้แก่ อ่าวไทยตะวันออก อ่าวไทยตอนบน อ่าวไทยตอนกลาง อ่าวไทยตอนล่าง อันดามันตอนบน และอันดามันตอนล่าง และแบ่งประเภทท่าเรือออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ท่าเรือประมง ท่าเรือโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว ท่าเรือสินค้าทั่วไป ท่าเรือสินค้าเหลว ท่าเรือสินค้าเทกอง และท่าเรืออื่นๆ การจัดทำฐานข้อมูลในงานวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยการรวบรวมข้อมูลและการนำข้อมูลที่ได้มาจัดทำแผนที่ด้วยโปรมแกรม QGIS รายละเอียดในการศึกษาได้แบ่งข้อมูลดังนี้ พื้นที่ในการศึกษาวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลปริภูมิ และข้อมูลทุติยภูมิ ซึ่งจัดเก็บด้วยซอฟต์แวร์ MS Excel และข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial data) เพื่อช่วยตัดสินใจสำหรับข้อมูลตามลักษณะหรือลักษณะประจำ (Attribute data) นั้นถูกจัดเก็บในลักษณะของฐานข้อมูลภายนอก (External database) เมื่อจัดเก็บไว้ในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์แล้วสามารถค้นคืน (Retrieve) ข้อมูลได้ในรูปแบบ (Format) ของข้อมูลภาพ (Image) แผนที่ (Map) และตาราง (Table) เพื่อทำการวิเคราะห์ท่าเรือเดินทะเลของประเทศไทย จากผลการศึกษา มีท่าเรือเดินทะเลของประเทศไทยจำนวน 612 แห่ง นอกจากนี้ยังมีข้อมูลสิ่งอำนวยความสะดวกขีดความสามารถของท่าเรือและความยาวหน้าท่าโดยแบ่งช่วงความยาวหน้าท่าให้ชัดเจนเพื่อนำข้อมูลมาพิจารณาปริมาณการเพิ่มขึ้นของท่าเรือเดินทะเลส่วนระบบฐานข้อมูลประกอบด้วยข้อมูลแผนที่และข้อมูลตามลักษณะที่สามารถเชื่อมโยงกันได้และนำเสนอข้อมูลตามลักษณะและข้อมูลกราฟิกที่แสดงที่ตั้ง รูปภาพ ผ่านทางโปรมแกรม QGIS ที่ให้ความสะดวกแก่ผู้ใช้งาน ผลของงานวิจัยที่ได้ ปริมาณท่าเรือแต่ละประเภทของประเทศไทยซึ่งนำเสนอข้อมูลผ่านการประยุกต์ใช้โปรมแกรมที่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนใช้ประกอบการวางแผนการพัฒนาเศรษฐกิจหรือกำหนดกิจกรรมให้เหมาะสมกับศักยภาพการพัฒนาของท่าเรือเดินทะเลในประเทศไทย ดังนั้นระบบจัดการฐานข้อมูลโดยใช้โปรแกรม (QGIS) มีความสำคัญกับผู้ประกอบกิจการท่าเรือทั้งภาครัฐและภาคเอกชนมีความจำเป็นในการเปิดเผยข้อมูลให้หน่วยงานที่รวบรวมอย่างครบถ้วนเพื่อให้การพัฒนาศักยภาพท่าเรือเดินทะเลของประเทศไทยให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและสามารถนำมาวิเคราะห์แนวโน้มการเติบโตในอนาคตต่อไป


The Joint Effects Of Management Incentives And Perceived Locus Of Causality On Management Earnings Forecast Disclosures, Kanjana Phonsumlissakul Jan 2017

The Joint Effects Of Management Incentives And Perceived Locus Of Causality On Management Earnings Forecast Disclosures, Kanjana Phonsumlissakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates the effect of management incentives (directive and transparency) and locus of causality (internal and external) on the willingness of managers to disclose management earnings forecast reports and the accuracy of management's earnings forecast information. The experimental findings show that managers with directive incentives are less likely to disclose the earnings forecast and provide less accurate information to market participants than managers with transparency incentives, for both point and range forecast forms. In addition, locus of causality contributes to the accuracy of management earnings forecast information when the forecasts suggest underperformance, but the findings reveal no significant differences …


Effect Of Exchange Rate Volatility On Currency Carry Trade And Risk Factor Compensation Of Currency Carry Trade In G10 And Emerging Market, Jirapaiboon Rattanapanurak Jan 2017

Effect Of Exchange Rate Volatility On Currency Carry Trade And Risk Factor Compensation Of Currency Carry Trade In G10 And Emerging Market, Jirapaiboon Rattanapanurak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Currency carry trade is one of famous currency speculation strategies through latest decade. Return of this strategy comes from the difference of interest rate between countries. In theoretical world, FAMA uncovered interest rate parity (UIP) assumes change in spot exchange rate is going to offset the difference of interest rate. Therefore, the first objective of this paper is to test violation of UIP which implies possibility to do currency carry trade. Secondly, moving on to determine the relationship between currency carry trade return and exchange rate volatility in some difference aspects because there are evidences about negative relationship between currency …


Factors Affecting Debt Decisions: Syndicated Loans Vs. Corporate Bonds, Theerut Winaikosol Jan 2017

Factors Affecting Debt Decisions: Syndicated Loans Vs. Corporate Bonds, Theerut Winaikosol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Following the recent developments and expansions in syndicated loans market, syndicate loans are currently accounted for around one-third of borrowers' total public debt and equity financing. It is one of the main alternative debt instruments for corporations. Syndicated loans are bank loans by their settings but also have many of the corporate bonds' characteristics. These characteristics have made syndicated loans hybrid debt instruments which combining features of both bank loans and bonds. This study investigates the financial factors behind syndicated loans issuance for a comprehensive sample from 2000 to 2016 of United States non-financial companies which are listed in New …


Gender And Financial Access Of Smes In Southeast Asia, Wannaporn Phongapai Jan 2017

Gender And Financial Access Of Smes In Southeast Asia, Wannaporn Phongapai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study examines gender and cultural differences in financial access of small and medium-sized enterprises (SMEs) in six countries within Southeast Asia (SEA): Thailand, Laos, Cambodia, Myanmar, Indonesia, and Malaysia. This study uses World Bank Enterprise Surveys dataset which covers 2015 and 2016 to investigate the gender gap in financial access of SMEs in SEA and compare the business performance of enterprises that are owned by males and females. The result shows that there is no significant difference between the financial access of female- and male-owned SMEs in SEA which means that there is no gender gap in financial access …


A Three-Echelon Multi-Commodity Location-Routing Problem, Patanapong Sanghatawatana Jan 2017

A Three-Echelon Multi-Commodity Location-Routing Problem, Patanapong Sanghatawatana

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research studies the problem of distribution network design. The purposes of this study are 1) to develop the mathematical model for redesign of current distribution network by focusing on reducing total distribution cost and 2) to develop new solution approach for large-scale complicated problem. This research formulates mixed integer linear programming for the three-echelon two-commodity Location Routing Problem (LRP). The objective function is to minimize facility operating and closure cost and distance cost. Due to large-scale of LRP, which is NP-hardness, this research proposes new sequential solution approach as following steps; 1) decomposing the LRP into two subproblems based …


A Study Of Criteria For Air Cargo Terminal Classification Model, Treephis Rodbundith Jan 2017

A Study Of Criteria For Air Cargo Terminal Classification Model, Treephis Rodbundith

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Global air cargo transportation has performed a significant role to the trade industry over the past decades for goods delivery. Airlines transport approximately 51.3 million metric tons of goods, or more than one third of worldwide trade or USD 6.8 trillion by value annually. Air cargo terminal is a key success of airlines in the supply chain network at airports. This study is aimed to explore and analyze important criteria of air cargo terminals on the integration of 63 criteria from previous researches of practical operations and International Air Transport Association regulated standard services. To examine reviewed criteria, this paper …


การค้านอกระบบของจีนในอำเภอเชียงแสนและอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย, ชะไมพร ชำนาญเวช Jan 2017

การค้านอกระบบของจีนในอำเภอเชียงแสนและอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย, ชะไมพร ชำนาญเวช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากผลของการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ สังคม อุตสาหกรรม และนวัตกรรม ภายในประเทศจีน ทำให้เกิดผลทั้งด้านภาวะสินค้าล้นกำลังตลาดภายใน การคอร์รัปชั่น ภาวะแรงงานขาดดุลของภูมิภาคทั้งตะวันออกและตะวันตก ทำให้รัฐบาลจีนสร้างนโยบายเพื่อการพัฒนาคนโดยคาดหวังถึง ความมั่นคงของพลเมืองจีนที่จะนำไปสู่ความมั่นคงของจีน ฉะนั้นรัฐบาลกลางและรัฐบาลระดับมณฑลจึงได้พัฒนานโยบายเพื่อปูทางรองรับการพัฒนาเหล่านี้ เพื่อคนจีนและประเทศจีน โดยใช้กลยุทธ์ทางการพัฒนาระหว่างประเทศต่างๆเพื่อผลประโยชน์และมีผลเชิงรูปธรรมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยที่ประเทศไทยเองเป็นดินแดนที่จีนคาดหวังในด้านการค้า การลงทุน สามารถพบเจอธุรกิจ การค้าจีนทุกหนทุกแห่งทั้งเมืองหลัก เมืองรอง และเมืองชายแดน โดยเฉพาะเมืองบริเวณชายแดนอำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ที่มีพื้นที่เชื่อมโยงกับประเทศจีนพบว่ามีคนจีนธุรกิจจีนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ปรากฏการณ์ดังกล่าวนำมาสู่ประเด็นการศึกษาเรื่อง การค้านอกระบบของจีนในอำเภอเชียงแสนและอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ (1) เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการการค้านอกระบบของจีนในอำเภอเชียงแสนและอำเภอเชียงของในจังหวัดเชียงราย (2) เพื่อศึกษาปัจจัยของการขยายตัวทางการค้าในอำเภอเชียงแสนและอำเภอเชียงของในจังหวัดเชียงราย (3) เพื่อเสนอแนะ เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่ใช้เครื่องมือ เช่น การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ พร้อมทั้งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการเก็บข้อมูลและตรวจสอบข้อมูล จนนำมาสู่ผลการศึกษา คือ พัฒนาการการค้าจีนที่พัฒนามาจากปัจจัยส่งเสริม เช่น นโยบายจากทางรัฐบาล ความร่วมมือในภูมิภาค และปัจจัยสนับสนุนให้เกิดพัฒนาการของการค้าจีน เช่นแสวงหาแหล่งทรัพยากรในการผลิต การเดินทางเพื่อเปลี่ยนวิถีชีวิต ความต้องการอิสระและหนีระบบสังคมเดิม ประเด็นต่อมาคือ วิถีการค้าจีนค้นพบทั้งวิถีการค้าจีนในระบบเช่น วิถีการค้าแบบหุ้นส่วน วิถีการค้าจีนกับบทบาทสตรีในพื้นที่ และวิถีการค้าจีนนอกระบบ เช่น วิถีการค้าจีนที่สัมพันธ์กับผู้หญิงไทใหญ่ วิถีการค้าโดยการหารายได้พิเศษแบบอำพราง ตัวแทนอำพรางทางธุรกิจ และสุดท้ายคือผลกระทบทางสังคมทั้งทางบวกและทางลบ


นวัตกรรมการประเมินความพร้อมทางการตลาดของผู้ประกอบการยุคดิจิทัลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย, พงศกร พิชยดนย์ Jan 2017

นวัตกรรมการประเมินความพร้อมทางการตลาดของผู้ประกอบการยุคดิจิทัลสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย, พงศกร พิชยดนย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่ยุคของเศรษฐกิจดิจิทัล ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ระบบเศรษฐกิจโลกกำลังถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้ระบบธุรกิจต้องปรับตัวในหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แต่เมื่อพิจารณาถึงความพร้อมของวิสาหกิจเหล่านี้ให้การเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลนั้นก็ยังพบว่ามีข้ออุปสรรคเมื่อต้องเผชิญกับประสิทธิภาพทางการตลาดเมื่อต้องเข้าสู่ตลาดสากล ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญปัจจัยหนึ่งซึ่งส่งผลต่อความสำเร็จของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งจากผลการศึกษาในอดีต พบว่าจากความล้มเหลวทางธุรกิจนั้น มีสาเหตุหลักมาจากความไม่พร้อมทางการตลาดและการดำเนินงานทางการตลาดที่ผิดพลาดของผู้ประกอบการ จึงนำไปสู่การศึกษาและพัฒนานวัตกรรมนี้การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์และระยะของการศึกษา 5 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาและพัฒนาตัวชี้วัดและแบบจำลองการประเมินความพร้อมทางการตลาดผู้ประกอบการโดยทำการทบทวนวรรณกรรมและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 ผู้วิจัยทำการทดสอบความเที่ยงของตัวชี้วัดและทดสอบแบบจำลองจากการเก็บข้อมูลจากวิสาหกิจจำนวนทั้งสิ้น 500 ราย ผลการศึกษาพบว่า มีองค์ประกอบซึ่งเป็นปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1. ความเป็นผู้ประกอบการ 2. ด้านการจัดการกลยุทธ์เพื่อรองรับความพร้อมทางดิจิทัล ความมีนวัตกรรมและการใช้เทคโนโลยีในธุรกิจ และ 3. ด้านการดำเนินงานทางการตลาดและการจัดการแบรนด์ ซึ่งองค์ประกอบทั้ง 3 องค์ประกอบซึ่งมีตัวชี้วัดย่อย 23 ตัวชี้วัดนี้ส่งผลถึงระดับความพร้อมทางการตลาดของวิสาหกิจ ในส่วนของระยะที่ 3 นั้น ผู้วิจัยนำแบบจำลองที่ผ่านการทดสอบความเที่ยงแล้วมาทำการพัฒนานวัตกรรมการประเมินความพร้อมทางการตลาดผู้ประกอบการโดยการนำตัวชี้วัดที่ได้มาพัฒนาให้สามารถประเมินศักยภาพทางการตลาดของผู้ประกอบการในด้านต่างๆ ด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดของการเรียนรู้แบบมีผู้สอน (Supervised Learning) ในระยะที่ 4 นั้น ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบการยอมรับนวัตกรรมจากกลุ่มเป้าหมาย แบ่งเป็นหน่วยงานของรัฐและภาคธนาคารจำนวน 5 ราย และวิสาหกิจจำนวน 25 ราย ผลการศึกษาพบว่ามีการยอมรับ เห็นถึงประโยชน์และมีความสนใจนำระบบนวัตกรรมนี้ไปใช้งาน ดังนั้นในการศึกษาระยะที่ 5 จึงทำการศึกษาการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยศึกษาในมิติของการวิเคราะห์อุตสาหกรรม ความคุ้มค่าในการลงทุน กลุ่มลูกค้าเป้าหมาย รวมไปถึงแผนการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้ นวัตกรรมการประเมินความพร้อมทางการตลาดของผู้ประกอบการในรูปแบบซอฟท์แวร์นี้ มีประสิทธิภาพในการประเมินระดับความพร้อมทางการตลาดของผู้ประกอบการในแง่มุมต่างๆ พร้อมทั้งสามารถแสดงรายงานในภาพรวมของความพร้อมทางการตลาดยุคดิจิทัลของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศไทย ซึ่งวิสาหกิจสามารถนำซอฟท์แวร์นี้ไปใช้ในการประเมินความพร้อมทางการตลาดผู้ประกอบการของตนเอง หน่วยงานของรัฐซึ่งดูแล สนับสนุนกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม สามารถนำไปใช้ในการประกอบการให้คำปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยงในการส่งเสริมและสนับสนุนวิสาหกิจเหล่านี้ได้ อันจะเป็นประโยชน์ต่อภาพรวมของเศรษฐกิจระดับประเทศ เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขันของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมของไทยในระดับโลกเพื่อรองรับระบบเศรษฐกิจดิจิทัลต่อไป


นวัตกรรมการวิเคราะห์ข้อความในโพสต์บนเฟซบุ๊กเพจด้วยการทำเหมืองข้อความ, พรพิมล กะชามาศ Jan 2017

นวัตกรรมการวิเคราะห์ข้อความในโพสต์บนเฟซบุ๊กเพจด้วยการทำเหมืองข้อความ, พรพิมล กะชามาศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เฟซบุ๊ค (Facebook) เป็นสื่อสังคมออนไลน์อันดับหนึ่งของโลกและประเทศไทย ในทุกๆวันจะมี "ข้อความในโพสต์บนเฟซบุ๊กเพจ" ใหม่ๆจากหลากหลายตราสินค้า ผู้ผลิต ผู้ขาย ขึ้นใหม่ตลอดเวลา เพื่อโฆษณาสินค้าและบริการ โดยในแต่ละข้อความล้วนมีวัตถุประสงค์มุ่งหวังจากผู้อ่านต่างกันไป แต่ผลที่เกิดขึ้นจริงมีทั้งสมหวังหรือกลายเป็นตรงกันข้ามก็พบได้เช่นกัน จะดีเพียงใดหากนักการตลาดออนไลน์มีเครื่องมือที่สามารถคาดเดาโอกาสของพฤติกรรมที่จะเกิดขึ้นได้เมื่อผู้อ่านได้อ่านข้อความนั้นๆ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาข้อความในโพสต์บนเฟซบุ๊กที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ตามทฤษฎีของเดนท์สุ AISAS โมเดล 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบนวัตกรรมการวิเคราะห์ข้อความในโพสต์บนเฟซบุ๊กที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ตามทฤษฎีของเดนท์สุ AISAS โมเดล โดยใช้วิธีการของการเรียนรู้ของเครื่อง (Machine Learning) 3) เพื่อทดสอบการใช้งานและการยอมรับต้นแบบนวัตกรรม และ 4) เพื่อศึกษาแนวทางในเชิงพาณิชย์ของการวิเคราะห์ข้อความในโพสต์บนเฟซบุ๊กที่ส่งผลต่อพฤติกรรมผู้บริโภค ตามทฤษฎีของเดนท์สุ AISAS โมเดล ในการศึกษานี้จะใช้ข้อความจากเพจที่มีผู้ติดตามสูงและมีจุดมุ่งหมายและการใช้ข้อความในการโพสต์แตกต่างกันมาทำการวิเคราะห์ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาไทยจำนวน 75 คนเพื่อประเมินโอกาสของ พฤติกรรมที่ผู้อ่านน่าจะกระทำหลังจากการอ่านแต่ละข้อความว่ามีแนวโน้มเป็นไปในทางใดของ AISAS โมเดล ผลที่รวบรวมมาได้จะถูกใช้เป็นข้อมูลให้เครื่องจักรได้เรียนรู้ และวิเคราะห์หาค่าความน่าจะเป็นของแต่ละคำด้วยตามหลักทฤษฏีนาอีฟเบย์ (Naïve Bayes) ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดสำหรับการศึกษาด้านพฤติกรรม จากผลการศึกษาข้อความในโพสต์บนเฟซบุ๊กเพจพบว่าค่าความถูกต้องของการแยกเพจวิเคราะห์ตามกลุ่มอุตสาหกรรมจะให้ผลที่ดีกว่าการนำผลการวิเคราะห์มาประมวลผลรวมกัน และเมื่อทดลองนำโมเดลที่ได้มาพัฒนาระบบทำนายพฤติกรรมจากการโพสต์ข้อความเพื่อตรวจสอบการยอมรับนวัตกรรมโดยผู้ใช้จำนวน 30 คนซึ่งเป็นเจ้าของเพจและทำธุรกิจออนไลน์พบว่าการประเมินนวัตกรรมด้าน ประสิทธิภาพ และความพึงพอใจโดยรวมของระบบอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ส่วนความง่ายในการใช้งานและโอกาสในเชิงธุรกิจของนวัตกรรมดังกล่าวอยู่ในเกณฑ์ดี


นวัตกรรมน้ำมันเตากำมะถันต่ำจากการผสมน้ำมันไพโรไลซิสสาหร่ายขนาดเล็กและน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว, ศุภฤกษ์ อร่ามกิจโพธา Jan 2017

นวัตกรรมน้ำมันเตากำมะถันต่ำจากการผสมน้ำมันไพโรไลซิสสาหร่ายขนาดเล็กและน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว, ศุภฤกษ์ อร่ามกิจโพธา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

น้ำมันไพโรไลซิสจากสาหร่ายขนาดเล็กเป็นทางเลือกของเชื้อเพลิงหมุนเวียนที่สามารถนำไปใช้ทดแทนเชื้อเพลิงฟอสซิลได้ เนื่องจากมีค่าความร้อนที่ดีและมีปริมาณกำมะถันต่ำ ส่วนน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเชื้อเพลิงทดแทนที่มีราคาต่ำและเป็นขยะอันตรายที่มีการสนับสนุนให้ถูกนำกลับมาใช้ใหม่ จากที่องค์กรทางทะเลระหว่างประเทศประกาศให้มีการใช้น้ำมันเตากำมะถันต่ำ (กำมะถันน้อยกว่า 0.5% โดยน้ำหนัก) ในการขนส่งทางเรือ มีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563 และการผลิตน้ำมันเตากำมะถันต่ำจากเชื้อเพลิงปิโตรเลียมยังมีข้อจำกัดด้านต้นทุนและกระบวนการในการผลิต ผู้วิจัยพบว่าการผสมน้ำมันระหว่างน้ำมันไพโรไลซิสจากสาหร่ายขนาดเล็กและน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว มีความเป็นไปได้ในการนำมาผลิตน้ำมันเตากำมะถันต่ำเพื่อตอบสนองความต้องการในอนาคต ในงานวิจัยนี้เลือกน้ำมันไพโรไลซิสที่ผลิตจากสาหร่ายสไปรูลิน่าเนื่องจากการเก็บเกี่ยวที่ง่ายและได้ผลผลิตน้ำมันสูง โดยนำสาหร่ายแห้งมาผ่านกระบวนการไพโรไลซิสด้วยเครื่องปฏิกรณ์ไพโรไลซิสแบบต่อเนื่องขนาด 3 ลิตร และน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วได้จากโรงงานปรับปรุงคุณภาพน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วด้วยกระบวนการตกตะกอนและกรองเพื่อแยกน้ำและสิ่งปนเปื้อนออก น้ำมันทั้ง 2 ชนิดถูกผสมด้วยอัตราส่วน 100:0, 80:20, 50:50, 20:80 และ 0:100 เพื่อทำการทดสอบคุณสมบัติตามมาตรฐาน ISO 8217 ซึ่งเป็นมาตรฐานของน้ำมันเตาที่ใช้ในเรือขนส่ง
ผลการศึกษาที่ได้ พบว่าการผสมน้ำมันไพโรไลซิสจากสาหร่ายขนาดเล็กในอัตราส่วน 20% และน้ำมันหล่อลื่นใช้แล้วในอัตราส่วน 80% ซึ่งเรียกในงานวิจัยนี้ว่า MLB20 มีความเป็นไปได้ในการใช้ผลิตน้ำมันเตากำมะถันต่ำในเชิงพาณิชย์มากที่สุด โดยมีคุณสมบัติที่สำคัญดังนี้ ความหนาแน่นที่ 15 องศาเซลเซียส 910.9 kg/m3 ความหนืดที่ 50 องศาเซลเซียส 87.26 mm2/s ปริมาณกำมะถัน 0.461% โดยน้ำหนัก ปริมาณขี้เถ้า 0.515% โดยน้ำหนัก ปริมาณน้ำ 4.1% โดยน้ำหนัก และค่าความเป็นกรด 5.4 mg KOH/g โดยพบว่า MLB20 มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์ของ ISO 8217 ทั้งหมด ยกเว้นเพียงปริมาณขี้เถ้า ปริมาณน้ำและค่าความเป็นกรด ซึ่งสามารถนำไปใช้พัฒนาในงานวิจัยในเชิงพาณิชย์ต่อไป


พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย, ณัชชารีย์ ชัยศิริจิรสิน Jan 2017

พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย, ณัชชารีย์ ชัยศิริจิรสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ในเขตพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศไทย โดยการศึกษาปัจจัยด้านทัศนคติและความตระหนักทางการอนุรักษ์ที่มีผลต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล ศึกษาโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างนักศึกษา 800 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาแสดงผลในรูปแบบอัตราร้อยละ ใช้สถิติการอนุมานในการทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ปัจจัย (Factor analysis) และหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยอนุรักษ์ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลโดยใช้การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า (1) นักศึกษาต่างเพศ ต่างชั้นปี และต่างสาขาวิชามีพฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลไม่แตกต่างกัน และ (2) พฤติกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับปัจจัยอนุรักษ์ เช่น ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเล การรับข่าวสารจากสื่อมวลชนและสื่อเฉพาะกิจ การเห็นแบบอย่าง รวมทั้งทัศนคติและความตระหนักในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งทะเลของนักศึกษา


ตัวแบบการกำหนดราคาของการประกันภัยโรคร้ายแรงโดยใช้อัตราความชุกในประเทศไทย, รติกร แย้มสรวล Jan 2017

ตัวแบบการกำหนดราคาของการประกันภัยโรคร้ายแรงโดยใช้อัตราความชุกในประเทศไทย, รติกร แย้มสรวล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมาณค่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงและคำนวณหาอัตราเบี้ยประกันภัยสุทธิสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงที่คุ้มครอง 6 โรค ได้แก่ โรคมะเร็งระยะลุกลาม โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด โรคหลอดเลือดในสมองแตกหรืออุดตัน โรคไตวายเรื้อรัง โรคตับวายและโรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง โดยใช้อัตราความชุกในการประมาณค่าอัตราอุบัติการณ์ของโรคร้ายแรงที่ไม่ทราบค่า ซึ่งใช้ตัวแบบหลายสถานะ(multiple state model) และฟังก์ชันคงตัวเป็นช่วง (piecewise constant function) ในการประมาณค่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะจากสถานะสุขภาพดีไปยังสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงและสมมติให้ความรุนแรงของเสียชีวิตของทั้งคนสุขภาพดีและผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรงเป็นไปตามตัวแบบ Gompertz-Makeham (GM) ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยคือ 1) จำนวนประชากรกลางปี 2) จำนวนการตายของประชากรไทย จำแนกตามกลุ่มอายุและเพศ 3) จำนวนการตาย และ 4) จำนวนการป่วย จำแนกตามกลุ่มอายุ เพศและสาเหตุการตายและการป่วยตามบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับแก้ไขครั้งที่ 10 (ICD-10) ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554-2558 จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข ผลการศึกษาพบว่าความรุนแรงของการเปลี่ยนสถานะจากสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงไปยังสถานะเสียชีวิตเนื่องจากโรคร้ายแรงประมาณได้ด้วยตัวแบบ GM(4,0) ทั้งเพศชายและเพศหญิง และจากสถานะเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงไปยังสถานะเสียชีวิตเนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ นอกเหนือจากโรคร้ายแรง สามารถประมาณได้ด้วยตัวแบบ GM(1,2) และ GM(2,2) สำหรับเพศชายและหญิงตามลำดับ เบี้ยประกันภัยสุทธิจ่ายครั้งเดียวสำหรับการประกันภัยโรคร้ายแรงแผนกำหนดผลประโยชน์ไม่ครอบคลุมการเสียชีวิต (Stand-alone benefit) และแผนกำหนดผลประโยชน์ครอบคลุมการเสียชีวิต (Acceleration benefit) มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นและเบี้ยประกันภัยสำหรับเพศชายมีค่าสูงกว่าเพศหญิงทุกกลุ่มอายุ


การคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงโดยใช้ตัวแบบหลายสถานะ, วิริยะ เก้าเอี้ยน Jan 2017

การคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงโดยใช้ตัวแบบหลายสถานะ, วิริยะ เก้าเอี้ยน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณหาเบี้ยประกันภัยสุทธิสำหรับสัญญาแนบท้ายการประกันภัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่จ่ายผลประโยชน์ตามระยะของโรค 4 ระยะหลัก โดยใช้ข้อมูลจากอัตราอุบัติการณ์การวินิจฉัยพบมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงจากสถาบันวิจัยมะเร็งแห่งประเทศไทยและงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงที่เป็นประชากรไทย ซึ่งได้มีการระบุอัตราการรอดชีวิตที่ 5 ปีและอัตราส่วนของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงในแต่ละระยะ สำหรับอัตราการเสียชีวิตรวมทุกสาเหตุจะใช้อัตรามรณะตามตารางมรณะไทยประจำปีพ.ศ. 2560 ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) วิธีการหาความน่าจะเป็นที่เกี่ยวข้องจะใช้ตัวแบบหลายสถานะและกระบวนการลูกโซ่มาร์คอฟ เพื่อให้สอดคล้องกับการแบ่งระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรง การคำนวณเบี้ยประกันภัยสุทธิใช้หลักการของการเท่ากันของมูลค่าปัจจุบันทางประกันภัย โดยผลประโยชน์ของสัญญาแนบท้ายการประกันภัยตัวอย่างกำหนดไว้แบ่งเป็น 2 กรณีคือกรณีที่ 1 ให้ผลประโยชน์ 1,000,000 บาทจ่ายเมื่อวินิจฉัยพบว่าเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงสำหรับทุกระยะของโรคหรือเสียชีวิตด้วยโรคดังกล่าว และกรณีที่ 2 ที่กำหนดให้ผลประโยชน์สำหรับแต่ะละระยะของมะเร็งไม่เท่ากัน โดยผลประโยชน์จ่ายเมื่อวินิจฉัยพบหรือเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และลำไส้ตรงระยะที่ 1 เท่ากับ 1,000,000 บาท ส่วนระยะที่ 2,3, และ 4 จะมีค่าเป็น 2,3 และ 4 เท่าของระยะที่ 1 ในขณะที่ระยะเวลาคุ้มครองและจ่ายเบี้ยประกันภัยของสัญญาแนบท้าย 5 ปี และ กำหนดให้อัตราดอกเบี้ยคงที่ตลอดการคุ้มครองเท่ากับร้อยละ 4 ต่อปี ผลการศึกษาพบว่าเบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้เอาประกันภัย เมื่อกำหนดผลประโยชน์ในกรณีที่ 1 เบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าอยู่ระหว่าง 56.28 บาทถึง 1451.45 บาทสำหรับเพศชายและมีค่าระหว่าง 33.11 บาทถึง 1027.95 บาทสำหรับเพศหญิง และเมื่อกำหนดผลประโยชน์ในกรณีที่ 2 เบี้ยประกันภัยสุทธิมีค่าอยู่ระหว่าง 173.02 บาทถึง 4487.95 บาทสำหรับเพศชายและมีค่าระหว่าง 101.85 บาทถึง 3175.32 บาทสำหรับเพศหญิง เบี้ยประกันภัยสุทธิของเพศชายมีค่าสูงกว่าของเพศหญิง โดยมีความแตกต่างไม่สม่ำเสมอในแต่ละอายุทั้งสองกรณี ในขณะที่เบี้ยประกันภัยสุทธิเมื่อกำหนดผลประโยชน์แบบกรณีที่ 2 มีค่าสูงกว่าแบบกรณีที่ 1 ทุกอายุและเพศ เมื่อเปรียบเทียบกับเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตที่มีระยะเวลาการคุ้มครองและจ่ายเบี้ยประกันภัย 5 ปีที่ใช้อัตราดอกเบี้ยเท่ากับร้อยละ 4 ต่อปี โดยให้ผลประโยชน์คุ้มครองการเสียชีวิตทุกสาเหตุเท่ากับ 1,000,000 บาทพบว่าเบี้ยประกันภัยสุทธิของกรณีที่ 1 คิดเป็นประมาณร้อยละ 3.48-7.37 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 ปีสำหรับเพศชายและประมาณร้อยละ 4.09-12.83 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 ปีสำหรับเพศหญิง ส่วนในกรณีที่ 2 คิดเป็นประมาณร้อยละ 10.71-22.70 ของเบี้ยประกันภัยสุทธิของการประกันชีวิตชั่วระยะเวลา 5 …


ระบบนวัตกรรมสำหรับการถอดองค์ความรู้ประเภทฝังลึกในองค์กร, มินทร์รตา ศุภานิชไชยศิริ Jan 2017

ระบบนวัตกรรมสำหรับการถอดองค์ความรู้ประเภทฝังลึกในองค์กร, มินทร์รตา ศุภานิชไชยศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัญหาอุปสรรคในการจัดการความรู้และการถอดความรู้ฝังลึกในองค์กร 2) เพื่อพัฒนาต้นแบบแอพพลิเคชั่นของระบบนวัตกรรมสำหรับการถอดองค์ความรู้ประเภทฝังลึกในองค์กร และ 3) เพื่อศึกษาการนำต้นแบบแอพพลิเคชั่นของระบบนวัตกรรมสำหรับการถอดองค์ความรู้ประเภทฝังลึกในองค์กรออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมคือเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการสนทนากลุ่มย่อยกับผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการความรู้จำนวน 24 ท่าน จาก 5 หน่วยงาน ผู้วิจัยใช้เครื่องมือการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ATLAS ti ในการวิเคราะห์ข้อมูลจากการสนทนากลุ่ม ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการสำรวจข้อมูลจากการบูรณาการคำถามเพื่อถอดองค์ความรู้โดยผู้บริหารและผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดการความรู้จำนวน 26 ท่านที่เข้าร่วมการสัมมนาการจัดการความรู้ ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย (ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ต้นแบบที่พัฒนาขึ้นได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และ 18 ท่าน ผ่านการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพหลังทดลองใช้แอพพลิเคชั่น ขั้นตอนสุดท้ายคือการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ข้อมูลค่าเฉลี่ยเลขคณิตและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานจากการสำรวจการยอมรับเทคโนโลยีกับผู้ใช้งานแอพพลิเคชั่นจำนวน 60 ท่านจากองค์กรภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน จำนวน 6 หน่วยงาน ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาอุปสรรคในการจัดการความรู้และการถอดความรู้ฝังลึกในองค์กรคือ การเปลี่ยนแปลงนโยบายองค์กร การขาดแรงจูงใจ การขาดความต่อเนื่องในการดำเนินกิจกรรมการจัดการความรู้ ขาดระบบสนับสนุนสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ การไม่ให้ความร่วมมือจากคนในองค์กร พฤติกรรมของคนและวัฒนธรรมในองค์กร ขาดการเตรียมคำถามในการสัมภาษณ์เชิงคุณภาพที่ดี ความไม่ต่อเนื่องในการสัมภาษณ์ การแปลความของผู้ถูกสัมภาษณ์ที่ไม่ถูกต้อง และผู้สัมภาษณ์ขาดประสบการณ์ แอพพลิเคชั่นการถอดองค์ความรู้ประเภทฝังลึกในองค์กรนี้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ (product innovation) ในการพัฒนาต้นแบบแอพพลิเคชั่นพบว่าคำถามหลักและคำถามรองเป็นส่วนประกอบหลักในกระบวนการถ่ายทอดองค์ความรู้ ผลจากการสำรวจการยอมรับเทคโนโลยีต้นแบบพบว่าผู้ใช้งานให้คะแนนในระดับสูง การนำต้นแบบแอพพลิเคชั่นออกสู่ตลาดในเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วยการเลือกใช้สัญญาอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายการค้าโดยไม่เด็ดขาด (non-exclusive licensing agreement) กลยุทธ์การกำหนดราคาเป็นแบบการใช้คุณค่าเป็นฐาน และรูปแบบธุรกิจเป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ด้านการจัดการความรู้


นวัตกรรมเครื่องมือประเมินความยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคม, กัญจณ์ชญา ชัยวิรัตน์นุกูล Jan 2017

นวัตกรรมเครื่องมือประเมินความยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคม, กัญจณ์ชญา ชัยวิรัตน์นุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันระบบเศรษฐกิจไทยเป็นระบบทุนนิยม ซึ่งมีผลดีต่อการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชน รวมไปถึงการยกระดับฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม แต่อีกนัยหนึ่งระบบเศรษฐกิจแบบนี้ได้สร้างปัญหาให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมมากมาย เนื่องจากเศรษฐกิจแบบระบบทุนนิยม เน้นการสร้างผลกำไรและสร้างรายได้สูงสุด โดยไม่ได้คำนึงถึงสังคมและสภาพแวดล้อมในระยะยาว ดังนั้นจึงเกิดแนวคิดใหม่ทางเศรษฐกิจ คือ ระบบเศรษฐกิจที่เน้นให้ความสำคัญกับสังคม และสิ่งแวดล้อมควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่เป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนกว่าระบบเศรษฐกิจเดิม โดยการดำเนินธุรกิจในลักษณะนี้เรียกว่ากิจการเพื่อสังคม โดยเน้นความสมดุลระหว่าง เศรษฐกิจ สังคม การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์และระยะของการศึกษา 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ผู้วิจัยศึกษาปัจจัยและพัฒนาตัวชี้วัดที่ส่งผลต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคมโดยทำการทบทวนวรรณกรรมและสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ หลังจากนั้นผู้วิจัยได้ทำการทดสอบความเที่ยงตรงของตัวชี้วัดและเก็บข้อมูลจากกิจการเพื่อสังคมจำนวนทั้งสิ้น 401 กิจการ ผลการศึกษาพบว่า มีองค์ประกอบที่เป็นปัจจัยหลัก 7 ปัจจัย ได้แก่ 1. ความเป็นผู้นำ 2. การสร้างข้อผูกพันร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3. การสร้างคุณค่า 4. การจัดการนวัตกรรม 5. การจัดการทางการเงิน 6. การจัดการความรู้ 7. หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งทั้ง 7 ปัจจัยมีตัวชี้วัดย่อย 17 ตัวชี้วัด ที่ส่งผลถึงระดับศักยภาพและความยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคม ในระยะที่ 2 ผู้วิจัยนำผลที่ได้มาสร้างแบบจำลองและพัฒนาเป็นเครื่องมือการประเมินศักยภาพและความยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคม และได้นำเครื่องมือประเมินไปทำการทดสอบการยอมรับนวัตกรรมจากกลุ่มเป้าหมายจำนวน 30 ราย ผลการศึกษาพบว่ามีการยอมรับ การเห็นถึงประโยชน์และมีความสนใจนำระบบนวัตกรรมนี้ไปใช้งาน ในระยะที่ 3 ผู้วิจัยทำการศึกษาการใช้ประโยชน์ของเครื่องมือการประเมินในเชิงพาณิชย์ โดยศึกษาในมิติของการวิเคราะห์อุตสาหกรรม ความคุ้มค่าในการลงทุน และกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย และสิ่งแวดล้อม แต่อย่างก็ดีการดำเนินงานของกิจการเพื่อสังคมยังประสบปัญหาหลักๆ คือ ปัญหาการบริหารจัดการธุรกิจให้มีประสิทธิและขยายตัวอย่างยั่งยืนได้ จึงนำไปสู่การศึกษาและพัฒนานวัตกรรมนวัตกรรมเครื่องมือประเมินความยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคมในรูปแบบซอฟท์แวร์นี้ กิจการเพื่อสังคมสามารถนำไปใช้ในการประเมินศักยภาพในการดำเนินงานของตน หน่วยงานรัฐที่ดูแลสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมสามารถนำซอฟท์แวร์นี้ไปใช้ในการประกอบการให้คำปรึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนกิจการเพื่อสังคมเหล่านี้ได้ และเสริมสร้างขีดความสามารถของกิจการเพื่อสังคม อันจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของประเทศ


The Joint Effects Of Management Incentives And Perceived Locus Of Causality On Management Earnings Forecast Disclosures, Kanjana Phonsumlissakul Jan 2017

The Joint Effects Of Management Incentives And Perceived Locus Of Causality On Management Earnings Forecast Disclosures, Kanjana Phonsumlissakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigates the effect of management incentives (directive and transparency) and locus of causality (internal and external) on the willingness of managers to disclose management earnings forecast reports and the accuracy of management's earnings forecast information. The experimental findings show that managers with directive incentives are less likely to disclose the earnings forecast and provide less accurate information to market participants than managers with transparency incentives, for both point and range forecast forms. In addition, locus of causality contributes to the accuracy of management earnings forecast information when the forecasts suggest underperformance, but the findings reveal no significant differences …


ความเป็นไปได้ของการขนส่งสินค้าภายในประเทศไทยด้วยตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต :กรณีศึกษาผู้ให้บริการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคทางถนน, ธีรชัย เรืองพรวิสุทธิ์ Jan 2017

ความเป็นไปได้ของการขนส่งสินค้าภายในประเทศไทยด้วยตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต :กรณีศึกษาผู้ให้บริการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคทางถนน, ธีรชัย เรืองพรวิสุทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการขนส่งสินค้าด้วยตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต ในประเทศไทย ซึ่งจะทำการศึกษาการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภค (อาหารแห้ง ซอสปรุงรส ของใช้ส่วนตัวและสินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไป) ภายในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการดำเนินงานและลดระยะเวลาในกระบวนการทำงาน ซึ่งจะสามารถช่วยเพิ่มประสิทธิการทำงานและโอกาสทางการแข่งขันทางธุรกิจของของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าภายในประเทศได้
วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วยขั้นตอน 1. ทบทวนวรรณกรรมเพื่อศึกษาคุณสมบัติของตู้คอนเทนเนอร์และการนำมาประยุกต์ใช้ในการขนส่งสินค้า 2. การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ทราบถึงเหตุผล ความคิดเห็นในการนำตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต มาใช้ ทั้งในประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น 3. สำรวจข้อมูลของผู้ให้บริการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคทางถนนที่เป็นกรณีศึกษา โดยได้รวบรวมข้อมูลข้อมูลเวลาการปฏิบัติงานจริงในกิจกรรม การคัดแยก การจัดเรียง การจัดเส้นทางขนส่งและการขนถ่ายสินค้า รวมถึงการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนคงที่ ต้นทุนแปรผันและต้นทุนดำเนินงานทั้งหมด ต่อจากนั้นนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาคาดคะเนต้นทุนที่เกิดขึ้นหากนำตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุตมาใช้ เทียบกับต้นทุนที่เกิดขึ้นในกรณีที่ไม่ใช้ตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต ด้วยการจำลองการดำเนินงานภายใต้ปริมาณและสถานการณ์ขนส่งสินค้าที่เกิดขึ้นจริงในช่วงวันที่ 1ตุลาคม 2560 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560
ผลการเปรียบเทียบต้นทุนแสดงให้เห็นว่า การใช้ตู้คอนเทนเนอร์ 12 ฟุตจะช่วยลดระยะเวลาในการขนถ่ายสินค้า เพราะไม่ต้องเสียเวลานำสินค้าออกมาจากรถขนส่งขนาดใหญ่มาถ่ายลงรถขนส่งขนาดเล็กที่ศูนย์กระจายสินค้าปลายทาง ทำให้รถขนส่งสามารถทำรอบการขนส่งได้มากขึ้น อย่างไรก็ดี เนื่องจากความจำเป็นที่จะต้องลงทุนในตู้คอนเทนเนอร์ 12 ฟุต ความคุ้มคา่ในการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ประเภทนี้จึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการใช้ประโยชน์จากความจุของตู้คอนเทนเนอร์ (Utilization) ซึ่งต้องอาศัยการจัดเส้นทางขนส่งที่ดีและปริมาณสินค้าที่มากพอในระดับหนึ่ง อนึ่ง ความคุ้มค่าในการใช้ตู้คอนเทนเนอร์ 12 ฟุตจะมากขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของค่าแรง


การเตรียมการของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมระบบป้องกันเพรียงที่เป็นอันตรายในเรือ ค.ศ.2001, ฉัตรชัย เวชสาร Jan 2017

การเตรียมการของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมระบบป้องกันเพรียงที่เป็นอันตรายในเรือ ค.ศ.2001, ฉัตรชัย เวชสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงการเตรียมความพร้อมของประเทศไทยในการเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยการควบคุมระบบป้องกันเพรียงที่เป็นอันตรายในเรือ ค.ศ. 2001 ขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศซึ่งอนุสัญญาที่องค์การทางทะเลระหว่างประเทศบัญญัติขึ้นเพื่อกำหนดมาตรฐานและแนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในการเดินเรือ การรักษาความปลอดภัยในการขนส่งระหว่างประเทศและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่เกิดจากเรือรวมทั้งเพื่อเป็นกลไกในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก จากการศึกษาพบว่า หากประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ย่อมก่อให้เกิดผลดีมากกว่าผลเสียทั้งในฐานะรัฐเจ้าของธง รัฐเจ้าของเมืองท่า และเป็นประโยชน์ต่อเจ้าของเรือหรือบริษัทผู้บริหารเรือทั้งด้านการประหยัดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตัวเรือ ค่าใช้จ่ายในด้านความสิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง การที่ประเทศไทยเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาจะทำให้ประเทศไทยต้องมีพันธกรณีในการอนุวัติการกฎหมาย ซึ่งต้องมีการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายภายในให้มีความสอดคล้องกับอนุสัญญาฯ หากแม้ประเทศไทยยังมิได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาฉบับนี้ แต่ประเทศไทยก็สามารถที่จะมีการหยิบและเลือก (Pick and Choose) โดยการนำเอาหลักการหรือข้อบัญญัติของอนุสัญญามาบัญญัติเอาไว้ในกฎหมายภายในของประเทศไทยในอนาคตได้ หากเห็นว่าหลักการหรือข้อบัญญัติอื่นใดเป็นประโยชน์ในการยกระดับมาตรฐานเรือไทยในด้านที่เกี่ยวกับการรักษาสภาพแวดล้อมทางทะเล


การศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรผู้นำการดำน้ำ (Dive Leader) ที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย, ปรัชณาพร ประมวลสุข Jan 2017

การศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรผู้นำการดำน้ำ (Dive Leader) ที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย, ปรัชณาพร ประมวลสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาหลักสูตรผู้นำการดำน้ำที่เหมาะสมกับการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของประเทศไทย เพื่อเป็นการเสริมสร้างขีดความสามารถของบุคลากรที่ประกอบอาชีพในอุตสาหกรรมดำน้ำประเทศไทยและมีส่วนร่วมในการจัดระเบียบอุตสาหกรรมดำน้ำประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมดำน้ำ ประกอบด้วย นักวิชาการ และผู้ปฏิบัติงานในอาชีพ รวมจำนวน 24 คน โดยใช้รูปแบบการวิจัยด้วยเทคนิคเดลฟาย เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถามปลายเปิด และแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ และสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกันทุกประการ สามารถสรุปได้ ดังนี้ ประเด็นที่หนึ่ง มาตรฐานหลักสูตรผู้นำการดำน้ำควรเน้นทักษะด้านความปลอดภัยในการดำน้ำและการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉิน ประเด็นที่สอง หน่วยงานที่ทำหน้าที่กำกับ ดูแลประสานงานเกี่ยวกับหลักสูตร ควรเป็นองค์กรในรูปแบบสมาคมหรือสมาพันธ์และควรเป็นหน่วยงานที่สามารถให้ความรู้และสามารถดำเนินการที่เกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนได้ ประเด็นที่สาม หัวข้อหลักสูตรที่เหมาะสม ควรมีหัวข้อเกี่ยวกับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมทางทะเลที่เกิดจากกิจกรรมดำน้ำ ประเด็นที่สี่ รายได้ส่วนหนึ่งจากธุรกิจดำน้ำควรนำมาเป็นเงินที่ใช้ในการส่งเสริมอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล


กระบวนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม กรณีศึกษา การปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย, วนิช สนพิพัฒน์ Jan 2017

กระบวนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม กรณีศึกษา การปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย, วนิช สนพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบและวิเคราะห์ ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมกับมาตราฐาน ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมตลอดจนเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมต่อการรื้อถอนและการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม โดยศึกษาจากกรณีศึกษาการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย โดยงานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญด้านการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมจำนวน 20 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการใช้สถิติเชิงพรรณนาแสดงผลในรูปแบบอัตราร้อยละเพื่อทดสอบขั้้นตอนและวิเคราะห์โดยการเปรียบเทียบระหว่างความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญกับมาตราฐาน ระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมเห็นด้วยกับรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมและ (2) รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม กรณีศึกษาการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียม ลีเวค อรุโณทัย เป็นแนวทางการปลดระวางเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมที่เหมาะสมและสอดคล้องตามกฎหมายภายในประเทศและต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการรื้อถอนสิ่งติดตั้ง ทั้งนี้ผลการศึกษาสามารถนำมาจัดทำแนวทางปฏิบัติในการรื้อถอนเรือกักเก็บและผลิตปิโตรเลียมที่เหมาะสมในอนาคตอันจะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องสืบไป


การคำนวณเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวภายใต้อัตรามรณะไทย, ปฏิญญา มากระจัน Jan 2017

การคำนวณเบี้ยประกันชีวิตของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวภายใต้อัตรามรณะไทย, ปฏิญญา มากระจัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อคำนวณเบี้ยประกันภัยของกรมธรรม์ประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งระยะยาวที่มีเวลาครบกำหนดกรมธรรม์ 10 ปี ถึง 30 ปี ของผู้เอาประกันภัยอายุ 50 ปี 55 ปี และ 60 ปี ส่วนแรกเป็นการประมาณค่าอัตรามรณะของผู้สูงอายุไทยด้วยตัวแบบอินเวอร์สเมคแฮมร่วมกับวิธีโคล-กิสเกอร์ และพยากรณ์อัตรามรณะด้วยตัวแบบลี-คาร์เตอร์ ส่วนที่สองเป็นการประมาณโครงสร้างอัตราดอกเบี้ยจากตัวแบบ Cox-Ingersoll-Ross (CIR) และในส่วนสุดท้ายเป็นการประมาณค่าคอลออปชั่นแบบยูโรเปี่ยนออปชั่น โดยตัวแบบแบล็คโชลส์ ข้อมูลที่ใช้ในงานวิจัยประกอบด้วยข้อมูลจำนวนประชากรปลายปี และจำนวนประชากรตายระหว่างปี พ.ศ.2545 - 2559 แยกตามเพศและอายุ จากกระทรวงมหาดไทย และกระทรวงสาธารณสุข ตามลำดับ ข้อมูลพันธบัตรรัฐบาลไทยระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2541 ถึง วันที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จากสมาคมตราสารหนี้ไทย และข้อมูลราคาปิดของหุ้น SET50 จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตั้งแต่ มกราคม พ.ศ. 2541 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2559 ผลการศึกษาพบว่าเบี้ยประกันภัยมีค่าลดลงอย่างต่อเนื่องเมื่อวันครบกำหนดสัญญามีค่าเพิ่มขึ้น โดยเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัยที่มีอายุมากมีค่าน้อยกว่าเบี้ยประกันภัยของผู้เอาประกันภัยอายุน้อย เนื่องจากกรมธรรม์นี้ให้ผลประโยชน์เมื่อครบกำหนดสัญญา เบี้ยประกันภัยของเพศหญิงมีค่ามากกว่าของเพศชายเมื่อเปรียบเทียบในช่วงอายุเดียวกันและวันครบกำหนดสัญญาเดียวกัน ดังนั้นการประกันชีวิตแบบอิควิตี้ลิ้งจึงเหมาะสำหรับผู้สูงอายุ และเหมาะกับสัญญาประกันภัยแบบระยะยาว ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป


ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือของการสื่อสารแบบปากต่อปากของร้านอาหารบนเฟซบุ๊ก, ชาญฤทธิ์ คงธนารัตน์ Jan 2017

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือของการสื่อสารแบบปากต่อปากของร้านอาหารบนเฟซบุ๊ก, ชาญฤทธิ์ คงธนารัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันความนิยมการใช้งานเว็บไซต์สังคมออนไลน์สูงขึ้น (เช่น เฟซบุ๊ก) ส่งผลให้รูปแบบการสื่อสารแบบปากต่อปาก (WOM) เกิดความเปลี่ยนแปลง เกิดการสื่อสารแบบปากต่อปากบนอินเทอร์เน็ตรูปแบบใหม่ (eWOM) ที่เพิ่มมิติด้านความสัมพันธ์ของผู้รับสารและผู้ส่งสาร จุดประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อที่จะศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือของ eWOM บนเว็บไซต์สังคมออนไลน์และการนำข้อมูลจาก eWOM ไปใช้ แบบจำลองการชักจูงสองทางถูกใช้ในการวิเคราะห์ความโน้มน้าวของสาร การศึกษานี้เลือกเฟซบุ๊กเป็นตัวแทนเว็บไซต์สังคมออนไลน์ การเก็บข้อมูลทำโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์และออฟไลน์ตามสัดส่วนสถิติประชากรศาสตร์ของผู้ใช้เฟซบุ๊กในประเทศไทย จากนั้นจึงใช้การวิเคราะห์เส้นทางโดยใช้โปรแกรม SPSS และ SMARTPLS 3.0 ตามลำดับ ผลการศึกษาพบว่าตัวแปรที่ส่งผลต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือสูงสุดคือความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ถัดมาคือคะแนนของบทวิจารณ์ ความแข็งแรงของข้อมูล และความสอดคล้องของบทวิจารณ์ ตามลำดับ ผลการศึกษายังช่วยยืนยันการศึกษาในอดีตว่า หากผู้บริโภครับรู้ว่าบทวิจารณ์มีความน่าเชื่อถือก็มีแนวโน้มที่จะนำข้อมูลไปใช้ สุดท้าย Post Hoc Analysis พบว่าระดับความเกี่ยวพันมีส่วนในการควบคุมผลของความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรบางตัว (ทั้งสองประเภท) ต่อการรับรู้ความน่าเชื่อถือของการสื่อสารแบบปากต่อปากบนอินเทอร์เน็ต


การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นฐาน : กรณีศึกษา บ้านร่องฟอง ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่, ชุติกาญจน์ กันทะอู Jan 2017

การท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นฐาน : กรณีศึกษา บ้านร่องฟอง ตำบลร่องฟอง อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่, ชุติกาญจน์ กันทะอู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา 1) เพื่อศึกษาศักยภาพของบ้านร่องฟองในการพัฒนาเป็นหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นฐาน 2) เพื่อเสนอแนวทางในการเสริมศักยภาพบ้านร่องฟองเป็นหมู่บ้านเพื่อการท่องเที่ยวโดยชุมชนเป็นฐาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่มจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ เช่น ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ภาครัฐ หน่วยงานท้องถิ่น และประชาชนที่เกี่ยวข้อง และการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม ผลการศึกษาวิจัยพบว่า บ้านร่องฟองมีศักยภาพเบื้องต้นใน 5 ด้านได้แก่ 1.ด้านทรัพยากรท่องเที่ยว มีทรัพยากรท่องเที่ยวประเภทภูมิปัญญาพื้นบ้าน วิถีชีวิตและการประกอบอาชีพ เช่น แหล่งตีเหล็กทำเครื่องมือ อุปกรณ์การเกษตร แหล่งผลิตตัดเย็บเสื้อผ้า มัดย้อมผ้า 2.ด้านการเข้าถึงทรัพยากรท่องเที่ยว มีเส้นทางคมนาคมที่เข้าถึงสะดวกและปลอดภัยเดินทางเข้าถึงชุมชนได้ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคลและรถโดยสารสาธารณะ ตลอดจนมีเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่ใกล้เคียงแหล่งท่องเที่ยวชุมชนอื่นๆ 3.ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก มีสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐาน มาตรฐานครบถ้วนและเพียงพอ เช่น ไฟฟ้า น้ำประปา เครือข่ายอินเทอร์เน็ต สถานพยาบาลชุมชน ร้านค้า 4.ด้านความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยว สามารถรองรับนักท่องเที่ยวทั้งไปและกลับ หรือพักค้างคืน 5.การจัดการการท่องเที่ยว มีการวางแผนและดำเนินการโดยผู้นำท้องถิ่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการมีส่วนร่วมจากประชาชน ศักยภาพบ้านร่องฟองมีความพร้อมรองรับการท่องเที่ยว แต่ไม่สามารถดำเนินการจัดการท่องเที่ยวได้ตามการคัดเลือกจากสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดให้เป็นหมู่บ้านเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งนี้บ้านร่องฟองต้องเพิ่มศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวโดยเฉพาะการมีส่วนร่วมจากประชาชนโดยเร่งประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายระหว่างชุมชน หน่วยงานในท้องถิ่นเพื่อขับเคลื่อนการท่องเที่ยวให้ยั่งยืนต่อไป


ความสัมพันธ์ทางสังคมในระบบการค้าข้าวภายใต้บริบทนโยบายที่เปลี่ยนแปลง : ศึกษากรณีระบบค้าข้าว อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร, ปริญญ์ วินิจมงคลสิน Jan 2017

ความสัมพันธ์ทางสังคมในระบบการค้าข้าวภายใต้บริบทนโยบายที่เปลี่ยนแปลง : ศึกษากรณีระบบค้าข้าว อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร, ปริญญ์ วินิจมงคลสิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้มีคำถามวิจัยที่สำคัญคือ ภายใต้นโยบายการอุดหนุนชาวนาที่แตกต่างกัน ระบบค้าข้าวและความสัมพันธ์ภายในระบบค้าข้าวในอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนครมีความเปลี่ยนแปลงอย่างไร และในการวิจัยมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่อศึกษาพัฒนาการของลักษณะความสัมพันธ์ในระบบการค้าข้าวในอำเภอสว่างแดนดิน จังหวัดสกลนคร และการปรับตัวของระบบค้าข้าวในบริบทความเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบาย ที่เกิดขึ้นในระหว่างปี 2548-2558 (ประกันราคาข้าว-จำนำข้าว-นโยบายปัจจุบัน) รวมถึงศึกษาเครือข่ายทางสังคม และบทบาทของทุนทางสังคมในการอาศัยเป็นทุนสำหรับการปรับตัว ใช้ระเบียบวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกตัวแสดงที่สำคัญในระบบการค้าข้าว ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะความสัมพันธ์ทางสังคมในระบบการค้าข้าวในอดีต มีรูปแบบที่พ่อค้าคนกลางมีบทบาทสำคัญอย่างมากทั้งการอุปถัมภ์ในเรื่องของต้นทุนการทำนากับชาวนา รวมถึงชาวนาจะต้องพึ่งการขายข้าวเปลือกผ่านพ่อค้าคนกลางก่อนที่ข้าวเปลือกจะไปถึงโรงสี และความสัมพันธ์ทางสังคมดังกล่าวเปลี่ยนไปจากเดิม โดยมีปัจจัยจากการที่ทั้งรัฐบาลเข้ามาให้ชาวนากู้เงินผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ผลักดันให้ชนบทมีกองทุนหมู่บ้าน รวมถึงปัจจัยแวดล้อมทั่วไป ทั้งการเข้ามาของความเจริญ การคมนาคมและการสื่อสารสะดวกขึ้น นโยบายจำนำข้าวส่งผลให้ข้าวราคาสูงและชาวนาเป็นอิสระจากความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์และมีอำนาจต่อรองกับพ่อค้าคนกลางและโรงสีมากขึ้น อย่างไรก็ดี ภาวะที่ราคาข้าวตกต่ำหลังนโยบายจำนำข้าว พบว่า ชาวนา พ่อค้าคนกลาง โรงสี ได้มีการนำทุนทางสังคมในรูปแบบของความไว้วางใจและเครือข่าย เพื่อมาใช้เป็นทุนสำหรับการปรับตัว ทุนทางสังคมดังกล่าวจึงมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ชาวนาและพ่อค้าคนกลางบางกลุ่ม สามารถลดผลกระทบ หรือสร้างช่องทางในการปรับตัวตัวที่หลากหลายขึ้นได้มากกว่าชาวนาและพ่อค้าคนกลางที่ใช้แต่ความสัมพันธ์ในกลไกตลาดเท่านั้น คำสำคัญ : ความสัมพันธ์ทางสังคม ทุนทางสังคม ระบบการค้าข้าว


บทบาทของชุมชนในการฟื้นฟูตลาดเก้าห้องเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี, วชิรภรณ์ สกุลดิษฐ Jan 2017

บทบาทของชุมชนในการฟื้นฟูตลาดเก้าห้องเพื่อการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนในจังหวัดสุพรรณบุรี, วชิรภรณ์ สกุลดิษฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาถึงพัฒนาการของชุมชนตลาดเก้าห้อง 2) เพื่อศึกษาบทบาทของชุมชนในการฟื้นฟูชุมชนตลาดเก้าห้อง 3) เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเสนอแนะแนวทางการฟื้นฟูและการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนตลาดเก้าห้อง อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนที่ยั่งยืน การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 5 กลุ่มได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มเจ้าหน้าที่ของรัฐ กลุ่มผู้ถือครองที่ดิน กลุ่มผู้อาศัยอยู่ในชุมชน และ กลุ่มนักท่องเที่ยว ผลการศึกษาการวิจัยพบว่า 1) บริบทชุมชนจากพัฒนาการของชุมชนตลาดเก้าห้อง แบ่งออกเป็น 6 ยุค ได้แก่ ยุคการตั้งถิ่นฐาน ยุคขยายตัวสู่ยุครุ่งเรือง ยุคเศรษฐกิจซบเซาช่วงที่ 1 ยุคเริ่มต้นการฟื้นฟูชุมชน ยุคเศรษฐกิจซบเซาช่วงที่ 2 และยุคการฟื้นฟูด้วยการหนุนเสริมการท่องเที่ยว พัฒนาการของชุมชนแสดงให้เห็นว่า ชุมชนมีเอกลักษณ์เป็นตลาดเก่าที่ตั้งที่อยู่บริเวณริมน้ำ มีความโดดเด่นในด้านการค้าและเศรษฐกิจมาตั้งแต่อดีตและมีความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่สะท้อนผ่านประเพณี วัฒนธรรม ความเชื่อและรูปแบบสถาปัตยกรรมบ้านเรือนที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในปัจจุบัน 2) บทบาทของชุมชนมีความเด่นชัดในช่วงยุคแห่งการฟื้นฟูชุมชนเมื่อเกิดโครงการฟื้นฟูด้านต่างๆ และชุมชนเริ่มมีบทบาทในการทำงานร่วมกัน 3) การทำงานของชุมชนในรูปแบบเครือข่ายและขั้นตอนการมีส่วนร่วมเป็นบทบาทสำคัญของชุมชนในการฟื้นฟู ชุมชนตลาดเก้าห้องมีการเข้าถึงข่าวสาร การปรึกษาหารือ และมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้อย ทำให้โครงการไม่มีประสิทธิภาพ 4) แนวทางการฟื้นฟูชุมชนจะต้องมุ่งเน้นการสร้างบทบาทของคนในชุมชนให้เกิดความเข้มแข็ง และมีบทบาทในการขับเคลื่อนอย่างชัดเจนในทุกกระบวนการ และทุกขั้นตอน โดยต้องอยู่บนพื้นฐานของความสมัครใจในการทำงานร่วมกันทั้งกับคนภายในชุมชน และหน่วยงานภายนอก ดังนั้นในการฟื้นฟูชุมชนตลาดเก้าห้องต้องสร้างคนรุ่นใหม่ และส่งเสริมให้มีบทบาทในชุมชนมากขึ้น เพื่อเป็นหลักในการขับเคลื่อนการฟื้นฟูชุมชนในอนาคต เพื่อให้เกิดการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน


นวัตกรรมเครื่องสำอางไวท์เทนนิ่งครีมที่มีโกลด์นาโนและสารสกัดธรรมชาติโคจิกแอซิด, เกษม พยุหเดชาพิพัฒน์ Jan 2017

นวัตกรรมเครื่องสำอางไวท์เทนนิ่งครีมที่มีโกลด์นาโนและสารสกัดธรรมชาติโคจิกแอซิด, เกษม พยุหเดชาพิพัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาพัฒนานวัตกรรมเครื่องสำอางไวท์เทนนิ่งครีมที่มีโกลด์นาโนและสารสกัดธรรมชาติโคจิกแอซิด เพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติในการลดเมลานิน และทำให้ผิวหน้าขาว เป็นสารที่มาจากธรรมชาติ จากการสำรวจความต้องการของผู้บริโภค พบว่ากลุ่มผู้ใช้ในประเทศไทยมักเลือกใช้เครื่องสำอางที่มีสารเคมี ที่ช่วยให้ผิวหน้าขาวอย่างรวดเร็ว จึงทำให้มีผลข้างเคียงตามมา เช่น เกิดผดผื่น ผิวแพ้ แดงอักเสบ และดำหมองคล้ำในที่สุด จากนั้นคณะวิจัยพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางไวท์เทนนิ่งครีมที่มีโกลด์นาโนและสารสกัดธรรมชาติ โคจิกแอซิด เนื่องจากสารสกัดโคจิกแอซิด เป็นสารสกัดจากธรรมชาติมีความสามารถในการลดเมลานินบนผิวหนัง แต่มักสูญเสียประสิทธิภาพเมื่อสัมผัสอากาศและความร้อนในกระบวนการผลิต ดังนั้นผู้ผลิตจึงใช้สารสกัด โคจิกแอซิด ในปริมาณ 3-5% บางครั้งสูงเกินกว่าค่าที่กำหนด ทำให้เกิดอาการระคายเคืองกับผู้ที่มีผิวบอบบางแพ้ง่าย ในการนี้ผู้วิจัยได้นำโกลด์นาโนพาร์ติเคิลมาช่วยในการนำสารสกัดโคจิกแอซิดซึมผ่านชั้นผิวหนัง จากการวิจัยพบว่าใช้สารสกัดโคจิกแอซิดในปริมาณที่น้อยลง เมื่อจากทดสอบที่ปริมาณ 1% 2% และ 3 % และพบว่าที่ปริมาณสารสกัดโคจิกแอซิด 2% ให้ผลเป็นที่น่าพอใจและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในการลดค่าเมลานินบนผิวหนัง จากอาสาสมัครจำนวน 5 ท่าน ที่ใช้ครีมที่มีโกลด์นาโนพาร์ติเคิลและสารสกัดโคจิก 2% บริเวณแขนซ้ายและขวา ในระยะเวลา 2 สัปดาห์ งานวิจัยเครื่องสำอางไวท์เทนนิ่งครีมที่มีโกลด์นาโนและสารสกัดธรรมชาติโคจิกแอซิดนี้ สามารถนำผลิตภัณฑ์ออกสู่เชิงพาณิชย์ได้ จึงควรนำออกสู่เชิงพาณิชย์ในรูปแบบการขายเทคโนโลยีด้วยการให้อนุญาตใช้สิทธิ์ หรือ ด้วยการขายโกลด์นาโนพาร์ติเคิล (Raw material) ทั้งนี้ยังสามารถนำไปใช้ร่วมกับสารสกัดจากธรรมชาติชนิดอื่นๆได้ ทำให้โอกาสที่จะเกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆในตลาดเครื่องสำอางและตลาดยารักษาโรค ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีโกลด์นาโนพาร์ติเคิลนั้นยังสามารถเกิดขึ้นได้ในอนาคต ตามความต้องการของตลาดโลก


นวัตกรรมตัวแบบระบบการจัดการความรู้โดยใช้ฐานเว็บเชิงจินตทัศน์สำหรับการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีของไทย, กิตติชัย ราชมหา Jan 2017

นวัตกรรมตัวแบบระบบการจัดการความรู้โดยใช้ฐานเว็บเชิงจินตทัศน์สำหรับการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีของไทย, กิตติชัย ราชมหา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจากทุนการศึกษาหลักสูตรดุษฎีบัณฑิต "100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" (The 100th Anniversary Chulalongkorn University Fund for Doctoral Scholarship) วัตถุประสงค์การวิจัยนี้เพื่อศึกษาการแสวงหา การถ่ายโอน และการรับรู้การถ่ายโอนความรู้ของการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีขั้น Pre-Incubation และ Early-Incubation และเพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีการจัดการความรู้สำหรับนำ ไปใช้เชิงพาณิชย์ การทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยนี้มุ่งเน้นงานวิจัยและทฤษฏีที่เกี่ยวข้องคือ ทฤษฏีฐานทรัพยากร ทฤษฏีการจัดการความรู้ ทฤษฏีทุนสังคม และการทบทวนตัวแบบการบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยี ประเภทการวิจัยเชิงคุณภาพแบบกรณีศึกษา กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยหน่วยบ่มเพาะธุรกิจ 5 กรณีศึกษาได้แก่ หน่วยบ่มเพาะธุรกิจ ม.สงขลาฯ มทส. ม.ขอนแก่น ม.เชียงใหม่ และ สวทช. ครอบคลุมมิติด้านผู้จัดการ ทีมงานและผู้ประกอบการ วิธีกำหนดตัวอย่างเป้าหมายคือ วิธีเจาะจงกลุ่มตัวอย่าง วิธีความสะดวก และวิธีสโนว์บอล และวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้น การเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มย่อย การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธิวิเคราะห์เนื้อหาแบบทางตรงและแบบผลรวม ผลการศึกษาและข้อค้นพบใหม่ทางวิชาการ ขั้น Pre-incubation ด้านการแสวงหาความรู้ การถ่ายโอนความรู้ และการรับรู้การถ่ายโอนความรู้ ปรากฏข้อค้นพบใหม่ทั้งหมดคือ การแสวงหาความรู้มุ่งให้ความสำคัญความถี่เวลาและความรู้ประเภทธุรกิจ วิธีแสวงหาความรู้ผ่านการฝึกอบรมเป็นหลักประโยชน์การแสวงหาเพื่อแลกเปลี่ยนจากวิทยากรและเพื่อนผู้ประกอบการรุ่นเดียวกัน และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงแหล่งสนับสนุนทรัพยากรตามยุทธศาสตร์ของพื้นที่บ่มเพาะ การถ่ายโอนความรู้เน้นความรู้ด้านธุรกิจแต่ไม่ครอบคลุมความรู้ประเภททรัพย์สินทางปัญญาและเทคโนโลยี การถ่ายโอนความรู้ด้านเทคโนโลยีต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อพัฒนาแนวคิดธุรกิจ เพื่อการถ่ายโอนความรู้จากผู้จัดการ วิทยากร และผู้ประกอบการรุ่นเดียวกัน การรับรู้การถ่ายโอนความรู้ประเภท Pre-business plan แหล่งถ่ายโอนโดยผู้จัดการ วิธีการถ่ายโอนความรู้โดยใช้วิธีฝึกอบรมในพื้นที่ ผลการศึกษาและข้อค้นพบใหม่ทางวิชาการ ขั้น Early-incubation เพื่อการเข้าถึงความรู้ด้านธุรกิจ เพื่อเพิ่มโอกาสแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ประกอบการรุ่นเดียวกัน รุ่นพี่ หรือหน่วยงานพันธมิตร เพื่อเพิ่มโอกาสเข้าถึงผู้เชี่ยวชาญเฉพาะพื้นที่ แหล่งการถ่ายโอนความรู้จากผู้ประกอบการรุ่นเดียวกัน เพื่อเพิ่มโอกาสการถ่ายโอนความรู้ด้านเทคนิคจากผู้เชียวชาญในพื้นที่หน่วยบ่มเพาะ ผลการศึกษาเรื่องคุณลักษณะระบบเทคโนโลยีเพื่อจัดการความรู้เป็นข้อค้นพบใหม่ทั้งหมดในการนำไปสู่ภาคปฏิบัติ ข้อเสนอแนะทางวิชาการ ควรมีการขยายขอบเขตการวิจัยเชิงปริมาณหรือผสมและขยายกลุ่มตัวอย่างการบ่มเพาะลักษณะอื่นเพิ่มนอกจากนี้นักวิจัยเสนอแนะภาคปฏิบัติเพื่อการศึกษาและพัฒนาระบบเทคโนโลยีจัดการความรู้โดยขยายขอบเขตครอบคลุมขั้นบ่มเพาะธุรกิจทั้งหมด


นวัตกรรมการประเมินศักยภาพธุรกิจไทยด้านเกษตรกรรมอาหารและธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อการเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ, ธีรข์กรณ์ อุดมรัตนะมณี Jan 2017

นวัตกรรมการประเมินศักยภาพธุรกิจไทยด้านเกษตรกรรมอาหารและธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อการเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ, ธีรข์กรณ์ อุดมรัตนะมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ 2.ศึกษาความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ 3. พัฒนานวัตกรรมเครื่องมือประเมินศักยภาพในการเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศ 4. ศึกษาการยอมรับนวัตกรรมเครื่องมือประเมินศักยภาพฯที่พัฒนาขึ้นโดยความมุ่งหวังเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในการเข้าสู่ตลาดและสร้างเสริมศักยภาพที่เหมาะสม และ 5. ศึกษาแนวทางพัฒนาเชิงพาณิชย์ของนวัตกรรม โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสานกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นเจ้าของกิจการหรือผู้บริหารระดับสูงที่มีส่วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับการขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศขององค์กร ซึ่งการวิจัยประกอบด้วยเชิงคุณภาพได้แก่การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง จากนั้นนำผลที่ได้มาทำการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการพัฒนาแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ค่าทางสถิติเพื่อหาความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศโดยใช้เครื่องมือปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้เชิงลึกเพื่อวิเคราะห์ความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการเข้าสู่ตลาดและใช้เครื่องมือแผนผังต้นไม้ตัดสินใจเพื่อพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือประเมินศักยภาพในท้ายที่สุด
ผลการศึกษาวิจัยพบว่าปัจจัยในการศึกษาจำนวน 30 ปัจจัยส่งผลต่อการเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศในทัศนคติของผู้บริหารโดยมีความสำคัญแตกต่างกัน ซึ่งปัจจัยสำคัญที่ได้จากการศึกษาหกปัจจัยได้แก่ คุณภาพสินค้า นวัตกรรม ภาพลักษณ์องค์กร ความเสี่ยงประเทศเป้าหมาย การจัดซื้อและการบริหารห่วงโซ่อุปทานได้ถูกนำมาพัฒนาเป็นแบบจำลองช่วยตัดสินใจในต้นแบบนวัตกรรมเครื่องมือประเมินศักยภาพธุรกิจเพื่อการเข้าสู่ตลาดระหว่างประเทศที่ผ่านการศึกษาการยอมรับนวัตกรรมและพัฒนาแผนเชิงพาณิชย์เป็นผลสัมฤทธิ์ของงานวิจัยนี้


นวัตกรรมระบบปรับปัจจัยคันเซ ตามบริบทที่เปลี่ยนอัตโนมัติ, กิตติพงษ์ สาครเสถียร Jan 2017

นวัตกรรมระบบปรับปัจจัยคันเซ ตามบริบทที่เปลี่ยนอัตโนมัติ, กิตติพงษ์ สาครเสถียร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความก้าวหน้าในภาคอุตสาหกรรมซึ่งพัฒนามาสู่ยุคที่ 4 เกิดขึ้นได้ด้วยเทคโนโลยีและระบบการผลิตอันชาญฉลาด ความก้าวหน้าดังกล่าวดำเนินควบคู่มากับความเปลี่ยนแปลงด้านความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งต้องการผลิตภัณฑ์ที่มีความเฉพาะตัวการพัฒนาผลิตภัณฑ์หลากหลายเทคนิคถูกสร้างขึ้นมา หรือต่อยอดเพื่อรองรับความต้องการใหม่ๆโดยมีวัตถุประสงค์ในการให้ผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางของแนวความคิดและการออกแบบผลิตภัณฑ์ ศาสตร์ด้านคันเซเอนจิเนียริงคือหนึ่งในศาสตร์ที่มุ่งเน้นอารมณ์และความรู้สึกของผู้บริโภคเป็นสำคัญ ด้วยแนวคิดการหาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบของรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ และองค์ประกอบการออกแบบส่วนต่างๆ กับความสัมพันธ์ของอารมณ์ด้านต่างๆที่ผู้บริโภครู้สึกได้รับการยอมรับในแวดวงการออกแบบเพื่อสื่อสารอารมณ์ อย่างไรก็ดีศาสตร์ดังกล่าวยังมีจุดด้อยบางประการได้แก่ ความล้าสมัยของข้อมูลที่ถูกสำรวจ และการนำมาใช้ของของข้อมูล วัตถุประสงค์ในการพัฒนาระบบฯ ที่ผู้วิจัยต้องการ คือออกแบบระบบที่สามารถช่วยแนะนำรูปลักษณ์ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่แล้ว ไปจนถึงการออกแบบรูปลักษณ์ใหม่ที่เหมาะกับผู้ใช้ซึ่งมีความแตกต่างกัน และเป็นระบบที่สามารถสร้างชุดสมการและนำมาใช้ได้ง่ายและรวดเร็วผู้วิจัยจึงเลือกใช้ข้อดีจากเทคนิคด้านเหมืองข้อมูลและอาศัยการเรียนรู้ของเครื่องจักรเพื่อช่วยให้ระบบสามารถคัดแยะผู้ใช้ได้อย่างแม่นยำและเลือกใช้โมเดลวิศวกรรมคันเซที่ถูกสร้างขึ้นด้วยเทคนิคการจัดหมวดหมู่โดยวิธีการต้นไม้ตัดสินใจภายใต้แนวคิดหลักของวิศวกรรมคันเซ