Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Digital Commons Network

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Arts and Humanities

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 30 of 133

Full-Text Articles in Entire DC Network

Preference In Hiring Interpreters- An Insight Into Recruiters' Persective A Case Study On Recruiters In A German Internatinal Organisation In Thailand, Nalina Hiranprueck Jan 2017

Preference In Hiring Interpreters- An Insight Into Recruiters' Persective A Case Study On Recruiters In A German Internatinal Organisation In Thailand, Nalina Hiranprueck

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research seeks to build upon the issue of recruiter's expectation toward interpreters, which is the realm less explored. As evident in previous research, criteria and expectations towards interpreters deviate among different stakeholders and user groups with different backgrounds. Though the major findings remained quite similar when it comes to the main criteria, the level of expectations is largely less among users of interpreting services, when compared to the interpreters. Thus, one can expect that recruiters are likely to anticipate differently than other stakeholders. This study is designed to understand the underlying rationality of interpreter recruiters in their choice of …


การถ่ายทอดความหมายของอวัจนภาษาโดยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์หลากรูปแบบ (Multimodal Analysis) เพื่อสร้างทางเลือกในการแปลหนังสือการ์ตูน เรื่องอะเวนเจอร์ส : สการ์เลต วิช, เอกเทศ อินทกาญจน์ Jan 2017

การถ่ายทอดความหมายของอวัจนภาษาโดยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์หลากรูปแบบ (Multimodal Analysis) เพื่อสร้างทางเลือกในการแปลหนังสือการ์ตูน เรื่องอะเวนเจอร์ส : สการ์เลต วิช, เอกเทศ อินทกาญจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแปลตัวบทที่คัดสรรจากหนังสือการ์ตูนเรื่อง อะเวนเจอร์ส : สการ์ เลต วิช (Avengers: Scarlet Witch) โดยเน้นที่การถอดความหมายของอวัจนภาษาโดยใช้การ วิเคราะห์หลากรูปแบบ (multimodal analysis) ร่วมกับกลวิธีการแปลตัวบทชนิดหนังสือการ์ตูนที่ เสนอโดยมิฮาล โบโรโด (Michał Borodo) 3 แบบ กล่าวคือ กลวิธีการแปลแบบลด (condensation) กลวิธีแบบเพิ่ม (addition) และกลวิธีแบบแปลง (transformation) ทั้งนี้เพื่อสร้างทางเลือกในการแปล สำหรับแก้ปัญหาด้านเทคนิคและการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ผลการวิจัยพบว่าแนวคิดของการ วิเคราะห์หลากรูปแบบและกลวิธีการแปลดังกล่าวช่วยให้แปลตัวบทที่คัดสรรได้สำเร็จ มีกรอบ ข้อความที่ใช้กลวิธีการแปลแบบลด 92 กรอบ แบบเพิ่ม 49 กรอบ แบบแปลง 104 กรอบ และที่ใช้ กลวิธีแบบตรงตัวหรือตีความ (ไม่ใช่กลวิธีแบบลด เพิ่ม หรือ แปลง) 339 กรอบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ในบรรดา 3 กลวิธีการแปลที่เสนอไปนั้น มีการใช้แบบแปลงมากที่สุด เพราะเป็นการผสมผสานกัน ระหว่างกลวิธีแบบลดและแบบเพิ่ม ไม่เน้นไปในทิศทางใดเพียงทิศทางเดียว มีความยืดหยุ่น เอื้อให้ ผู้แปลลดหรือเพิ่มบทแปลได้ตามความประสงค์ แม้ว่าการแปลตัวบทที่คัดสรรนี้จะสำเร็จและ ได้ผลดีเป็นส่วนใหญ่ ทว่ายังมีเนื้อหาในต้นฉบับบางส่วนที่แนวคิดและกลวิธีดังกล่าวยังไม่สามารถ แก้ปัญหาที่พบได้ทั้งหมด เช่นปัญหาทางเทคนิค เพราะยังได้บทแปลที่มีความยาวมาก ยังไม่สามารถ บรรจุลงในกรอบข้อความได้ อีกทั้งการแปลโดยใช้การวิเคราะห์หลากรูปแบบนั้นมีความเป็นอัต วิสัยทำให้การถอดความหมายจากต้นฉบับเดียวกันนั้นมีความเป็นไปได้หลากหลาย


การศึกษาแนวทางการทำบทบรรยายใต้ภาพสองภาษาเพื่อการสอนภาษาอังกฤษผ่านทางเว็บไซต์ Youtube กรณีศึกษา : รายการ Sacross Peachii รายการ Loukgolf's English Room และรายการ Hello English, ณัฐกุล อินทร์มีสุข Jan 2017

การศึกษาแนวทางการทำบทบรรยายใต้ภาพสองภาษาเพื่อการสอนภาษาอังกฤษผ่านทางเว็บไซต์ Youtube กรณีศึกษา : รายการ Sacross Peachii รายการ Loukgolf's English Room และรายการ Hello English, ณัฐกุล อินทร์มีสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการทำบทบรรยายใต้ภาพสองภาษาเพื่อการสอนภาษาอังกฤษผ่านทางเว็บไซต์ Youtube และเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อการจัดทำบทบรรยายใต้ภาพในรายการต่าง ๆ ต้นฉบับที่นำมาศึกษาคือรายการ ภายใต้ช่องรายการ Sacross Peachii รายการ Loukgolf’s English Room (ผ่านทางช่อง GMM25) และรายการ Hello English (ผ่านทางช่อง NJ Digital) จำนวน 30 ตอนซึ่งออกอากาศในพ.ศ. 2560 การวิจัยฉบับนี้ได้นำบทบรรยายใต้ภาพของทั้งสามรายการมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์รูปแบบบทบรรยายใต้ภาพซึ่งทำโดยมือสมัครเล่น การใช้บทบรรยายใต้ภาพในการช่วยสอนภาษา และการทำหน้าที่สื่อพลเมืองของรายการ นอกจากนี้ ยังมีการศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่อาจมีผลต่อการจัดทำบทบรรยายใต้ภาพ อันได้แก่ ทัศนคติของผู้ผลิต กลุ่มผู้ชม แนวโน้มและกระแสของสังคม และ ผลตอบรับและข้อเสนอแนะของผู้รับชมรายการ ผลการวิจัยพบว่า ทั้งสามรายการนั้นมีการจัดทำบทบรรยายใต้ภาพในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ โดยทั้งสามรายการมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของบทบรรยายใต้ภาพ สี ขนาด การเพิ่มข้อมูลและการใช้เครื่องหมายต่าง ๆ ภายในบทบรรยายใต้ภาพ โดยมีเป้าหมายหลักในการเพิ่มบทบาทและหน้าที่ของบทบรรยายใต้ภาพให้เป็นเครื่องมือในการสอนภาษาเพิ่มเติมโดยไม่ยึดตามหลักเกณฑ์มาตรฐาน สำหรับปัจจัยอื่นที่มีผลต่ออการจัดทำบทบรรยายใต้ภาพนั้น จากการศึกษาพบว่า ทั้งสามรายการต่างมีเป้าหมายเพื่อเปลี่ยนทัศนคติของคนทั่วไปในเรื่องการเรียนภาษา รวมทั้งทำให้ภาษาอังกฤษนั้นเข้าถึงได้ง่ายขึ้น โดยมีกลุ่มผู้ชมเป้าหมายเหมือนกัน คือการเข้าถึงคนหมู่มากให้ได้มากที่สุดและหยิบยกประแสสังคมในขณะนั้นขึ้นมาใช้ อีกทั้งยังมีการเปิดรับผลตอบรับและความคิดเห็นของผู้ชมผ่านทางช่องทางต่าง ๆ การศึกษายังค้นพบอีกว่า ทั้งสามรายการมีรายละเอียดของรูปแบบรายการที่แตกต่างกันออกไปตามเงื่อนไขและเจ้าของลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย


การแปลหนังสือสำหรับเด็กแระเภทหนังสือภาพเปิด-ปิด เรื่อง Stephen Biesty's Giant Vehicles ของ Rod Green และ Stephen Biesty, ช่อแก้ว ดะห์ลัน เช็ค Jan 2017

การแปลหนังสือสำหรับเด็กแระเภทหนังสือภาพเปิด-ปิด เรื่อง Stephen Biesty's Giant Vehicles ของ Rod Green และ Stephen Biesty, ช่อแก้ว ดะห์ลัน เช็ค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการแปลตัวบทที่เป็นหนังสือสำหรับเด็ก ประเภทหนังสือภาพที่มีแผ่นเปิด-ปิด เรื่อง Stephen Biesty's Giant Vehicle เพื่อวิเคราะห์ปัญหาและค้นหาแนวทางการแปลที่เหมาะสม และให้เข้าใจวัตถุประสงค์ของผู้ส่งสาร อันเป็นการทำให้ตัวบทแปลมีอรรถรสที่สามารถเทียบเคียงกับตัวบทต้นฉบับได้ ความรู้และทฤษฎีที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วย ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมเด็กที่ใช้รูปภาพ ความรู้เกี่ยวกับหนังสือภาพที่มีแผ่นเปิด-ปิด ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาไทย การวิเคราะห์ตัวบทของคริสติอาเน นอร์ด และทฤษฎีหลากรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับการแปลสื่อที่เป็นหนังสือภาพ ผลการศึกษาพบว่า ความรู้และทฤษฎีต่าง ๆ ที่นำมาใช้ข้างต้นได้ช่วยให้ผู้วิจัยมีความเข้าใจในตัวบทต้นฉบับ รวมทั้งมองเห็นปัญหาที่จะต้องแก้ไข ทำให้ผู้วิจัยสามารถแปลหนังสือเล่มนี้ออกมาโดยใช้ภาษาที่เหมาะสม จัดเรียงเนื้อหาบนหน้ากระดาษโดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างรูปภาพและตัวหนังสือ เพื่อให้เป็นไปตามจุดมุ่งหมายที่ผู้จัดทำตั้งเอาไว้


การแปลนวนิยายเรื่อง Beloved : ปัญหาและแนวทางการแก้ไข, ประภาศรี เจตทรงกุล Jan 2017

การแปลนวนิยายเรื่อง Beloved : ปัญหาและแนวทางการแก้ไข, ประภาศรี เจตทรงกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาการแปลนวนิยายซึ่งใช้รูปแบบการนำเสนอเป็นเครื่องมือสำคัญในการถ่ายทอดสารในต้นฉบับ โดยนำนวนิยายเรื่อง Beloved มาเป็นกรณีศึกษา เพื่อแสวงหาแนวทางการแปลและวิธีการแก้ปัญหาในการแปลที่เหมาะสมกับตัวบทลักษณะดังกล่าว กรอบทฤษฎีหลักซึ่งนำมาใช้ในการศึกษาตัวบทต้นฉบับ ได้แก่ การแปลวรรณกรรมตามแนวคิดของฟอร์ตูนาโต อิสราแอล และทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคม นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังได้นำเอาทฤษฎีการแปลพื้นฐานอื่นๆ มาประกอบการศึกษาตัวบทต้นฉบับด้วย ซึ่งได้แก่ ทฤษฎีวาทกรรมวิเคราะห์ ทฤษฎีการแปลแบบยึดความหมาย การแปลวรรณกรรมตามแนวคิดของวัลยา วิวัฒน์ศร และทฤษฎีวัจนกรรม หลังจากที่ได้นำทฤษฎีข้างต้นมาประยุกต์ใช้แล้ว พบว่า แนวทางการแปลวรรณกรรมของฟอร์ตูนาโต อิสราแอลและทฤษฎีภาษาศาสตร์สังคมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ร่วมกันในการแปลและแก้ปัญหาที่พบในตัวบทประเภทนี้ได้เป็นอย่างดี


Assessing The Quality Of English-To-Thai Machine Interpreting : Translating Google Translate, Pira Pewnim Jan 2017

Assessing The Quality Of English-To-Thai Machine Interpreting : Translating Google Translate, Pira Pewnim

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to assess the quality and potential of Google Translate when used as an English-to-Thai Machine Interpreting (MI) tool. The paper explores MI’s distinct definitions and terminology as well as its relationship to other relevant technologies, i.e. Machine Translation (MT), Automatic Speech Recognition (ASR), and Text-to-Speech (TTS). Four five-minute English-language recordings from the European Commission's Directorate General for Interpretation Speech Repository were selected as samples for the MI to interpret. Human evaluation was used to evaluate the Comprehensibility, Accuracy, and Usability of MI with five final-year interpreting students and six professional interpreters performing as judges. Results show that …


The Influence Of The Eu's Collective Identity On Smart Sanctions Imposed On Russia And Their Effect On Russian Financial Institutions, Sunil Kumar Dash Jan 2017

The Influence Of The Eu's Collective Identity On Smart Sanctions Imposed On Russia And Their Effect On Russian Financial Institutions, Sunil Kumar Dash

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Beginning in early 2014, the EU introduced and extended a range of smart sanctions against Russia in protest at Russian involvement in destabilizing Ukraine and violation of Ukraine's territorial integrity. By utilizing theoretical elements of constructivism with process tracing method, this thesis examines the influence of the EU's collective identity on smart sanctions imposed on Russia. The analysis finds that the EU's "collective identity" stipulated the "objective interests" and "subjective interests" to its actors and influenced the "actions" of smart sanctions by extending extra restrictive measures for Russian financial institutions to increase the cost of smart sanctions imposed on Russia. …


Enhancing Learner Autonomy Amongst Young Efl Learners In A Rural Area: An Ethnographic Study And Praxis Interventions, Pantipa Pichailuck Jan 2017

Enhancing Learner Autonomy Amongst Young Efl Learners In A Rural Area: An Ethnographic Study And Praxis Interventions, Pantipa Pichailuck

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Learner Autonomy (LA) is acknowledged as being beneficial to EFL education, particularly in rural areas where resources are scarce. However, LA enhancement should be implemented with careful consideration to the context. This study consisted of two parts. The first part, the ethnographic study, aimed to (1) explore the awareness of LA among the stakeholders including the administrators, English teachers, guardians and local community, and (2) to explore the meanings and patterns of LA among young EFL learners in a rural school in Northeastern Thailand. This part is a qualitative study combining the data collection methods of non-intrusive and participation observations, …


The Acquisition Order Of L2 English Infinitive And Gerund Complements By L1 Thai Learners: A Usage-Based Approach, Raksina Keawchaum Jan 2017

The Acquisition Order Of L2 English Infinitive And Gerund Complements By L1 Thai Learners: A Usage-Based Approach, Raksina Keawchaum

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The current study aimed to investigate the frequency effects on the acquisition of L2 English infinitive and gerund complements among L1 Thai learners. The participants were first-year undergraduate students from They were categorized into the low and the high proficiency groups based on their CU-TEP scores. Each group consisted of 30 participants. The participants were required to complete the Word Selection Task (WST) and the Grammaticality Judgement Test (GJT). Two research hypotheses were formulated based on the usage-based theory. First, it was hypothesized that Thai learners would acquire the infinitive complements before the gerund complements and the findings conformed to …


The Effects Of English Accented Speeches, Specific Content Knowledge, And Test-Taking Strategies On Listening Comprehension Of High And Low Efl Achievers, Pornchanok Sukpan Jan 2017

The Effects Of English Accented Speeches, Specific Content Knowledge, And Test-Taking Strategies On Listening Comprehension Of High And Low Efl Achievers, Pornchanok Sukpan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to examine (1) the effects of three main variables: English-accented speeches, specific content knowledge, and test-taking strategies on listening comprehension of high and low EFL learners. It also investigated (2) the relationship among these three variables on listening comprehension of high and low EFL achievers, and (3) the attitudes of both high and low EFL achievers towards English-accented speech. Eighty third-year university students from the Faculty of Communication Arts were purposively selected and classified into two different English proficiency groups: high and low regarding the z score of ±1 on the average grades of two prerequisite English …


Doctoral Music Composition: "The Lost Tales" Film Music For Symphony Orchestra, Sit Kesjamras Jan 2017

Doctoral Music Composition: "The Lost Tales" Film Music For Symphony Orchestra, Sit Kesjamras

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Doctoral Music Composition: "The Lost Tales" Film Music for Symphony Orchestra is a series of music composition created as a film music. Techniques used in the piece include classical music, contemporary, and popular music techniques. "The Lost Tales" Film Music for Symphony Orchestra comprises 9 episodic movements of music. Each movement represents different events, places, times, and characters. Themes are used in more than one piece with different orchestrations, arrangements, tempos, or keys depending on the moods of each scene in the film. The duration of Doctoral Music Composition: "The Lost Tales" Film Music for Symphony Orchestra is approximately 50 …


ลัทธิพิธีบูชาพระพรหมในสังคมไทยร่วมสมัย : พลวัตของตำนาน ความเชื่อ และพิธีกรรม, อภิวัฒน์ สุธรรมดี Jan 2017

ลัทธิพิธีบูชาพระพรหมในสังคมไทยร่วมสมัย : พลวัตของตำนาน ความเชื่อ และพิธีกรรม, อภิวัฒน์ สุธรรมดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลัทธิพิธีบูชาพระพรหมและการประดิษฐ์สร้างลัทธิพิธีบูชาพระพรหมในสังคมไทยร่วมสมัย ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามในช่วง พ.ศ.2556-2560 ในพื้นที่ที่ปรากฏลัทธิพิธีบูชาพระพรหม ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ปทุมธานี สิงห์บุรี ร้อยเอ็ด และประจวบคีรีขันธ์ ผลการศึกษาพบว่า ความเชื่อพระพรหมดำรงอยู่ในวัฒนธรรมไทยมายาวนาน ตำนานเรื่องเล่าพระพรหมในสังคมไทยส่วนใหญ่อิงอยู่กับศาสนาพุทธ มีลักษณะที่ปรากฏอยู่แต่ไม่โดดเด่น คือ เป็นเทวดาชั้นสูงแต่มีบทบาทเป็นรองพระพุทธเจ้าและเกี่ยวข้องกับเรื่องทางธรรม เมื่อ พ.ศ.2499 กลุ่มนักการเมืองได้นำรากความเชื่อพระพรหมมาปรุงแต่ง แล้วสร้างเป็นพระพรหมเอราวัณ เรื่องราวความศักดิ์สิทธิ์ของพระพรหมเอราวัณเล่ากันอย่างแพร่หลายในสื่อสมัยใหม่ เกิดเป็นความนิยมบูชาพระพรหมขึ้นในสังคมเมืองแล้วกลายเป็นลัทธิพิธีบูชาพระพรหมทำให้ "พระพรหม" ซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นสูงที่มีบทบาทอยู่แต่ในศาสนาลงมาเกี่ยวข้องกับมนุษย์ในเรื่องทางโลกมากขึ้น ลัทธิพิธีนี้ได้แพร่กระจายไปยังภูมิภาค แต่ละที่ได้ประดิษฐ์สร้างพิธีบูชาพระพรหมขึ้น พิธีบูชาพระพรหมที่จัดขึ้นมีองค์ประกอบแตกต่างกันเพราะมี 'ที่มา' ต่างกัน สัญลักษณ์ในพิธีกรรมปรากฏอย่างหลากหลาย ทำให้ลัทธิพิธีบูชาพระพรหมเกิดความสมจริง และสร้างความศรัทธาจากผู้เคารพบูชา นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์ชุดอื่น ๆ อันแสดงถึงการผนวกรวมความเชื่อต่าง ๆ ในวัฒนธรรมไทย ซึ่งสัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ของผู้จัดงาน สัญลักษณ์ในลัทธิพิธีบูชา พระพรหมสื่อว่าพระพรหมเป็นตัวแทนความดีงามและเป็นตัวแทนคนในวัฒนธรรมเมือง อีกทั้งยังสะท้อนการผสมผสานลัทธิความเชื่อต่าง ๆ ในวัฒนธรรมไทยเพื่อให้คนเมืองมี "จุดร่วม" ทางความเชื่อ ลัทธิพิธีบูชาพระพรหมมีพลวัตทั้งด้านตำนานเรื่องเล่า ความเชื่อ และพิธีกรรม คุณสมบัติที่หลากหลาย ภาพลักษณ์ที่สื่อด้านดี ทำให้คนร่วมสมัยนำความเชื่อพระพรหมมาปรุงแต่งเพื่อรับใช้สังคมปัจจุบัน ลัทธิพิธีบูชาพระพรหมเป็น'ลัทธิคนในวัฒนธรรมเมือง' เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองคนเมืองซึ่งมีวิถีชีวิตและความปรารถนาอันซับซ้อน ลัทธิพิธีนี้เป็นทุนวัฒนธรรมที่นำมาสร้างจุดขายและส่งออกไปสู่สากลได้


นิทานเรื่องศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัย, อัญมาศ ภู่เพชร Jan 2017

นิทานเรื่องศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัย, อัญมาศ ภู่เพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ศึกษาการนำนิทานเรื่องศรีธนญชัยมาใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัยประเภทนิทานภาพและหนังสือการ์ตูนที่พบทั้งหมดในปัจจุบันจำนวน 8 เรื่อง และศึกษาพลวัตและบทบาทของนิทานเรื่องศรีธนญชัยที่ปรากฏในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัยดังกล่าว ผลการศึกษาพบว่า นิทานเรื่องศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัยจำแนกได้เป็น 3 กลุ่ม คือ 1) ศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัยที่ยังคงเค้าโครงเรื่องเดิม 2) ศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัยที่มีการดัดแปลงและสร้างสรรค์บางส่วน 3) ศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัยที่มีการสร้างสรรค์ใหม่ โดยมีลักษณะการนำองค์ประกอบนิทานเรื่องศรีธนญชัยมาใช้ในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัย 3 แนวทาง คือ 1) การคงองค์ประกอบเดิม เช่น อนุภาคเหตุการณ์สำคัญ อนุภาคตัวละครสำคัญ ความเป็นนิทานเจ้าปัญญา 2) การดัดแปลงองค์ประกอบ เช่น อนุภาคเหตุการณ์สำคัญ อนุภาคตัวละครสำคัญ แนวคิดสำคัญ 3) การเพิ่มเติมองค์ประกอบ เช่น อนุภาคตัวละครสำคัญ แนวคิดสำคัญ องค์ประกอบที่สร้างอารมณ์ขัน พลวัตในนิทานกลุ่มที่คงเค้าเรื่องเดิมมี 2 ประการ คือ 1) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากเรื่องศรีธนญชัยมาเป็นนิทานภาพและหนังสือการ์ตูน 2) การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาเพื่อให้สอดคล้องกับสื่อรูปแบบใหม่ ในนิทานกลุ่มที่มีการดัดแปลงและสร้างสรรค์บางส่วน และในนิทานกลุ่มที่มีการสร้างสรรค์ใหม่ พบพลวัต 3 ประการ คือ 1) การเปลี่ยนแปลงรูปแบบเป็นหนังสือการ์ตูนและนิทานภาพ 2) การเปลี่ยนแปลงจุดประสงค์เพื่อเป็นสื่อความรู้ทางวิชาการและการสอนศีลธรรม 3) การเปลี่ยนแปลงเนื้อหาเพื่อให้สอดคล้องกับสื่อรูปแบบใหม่และบริบทร่วมสมัย ได้แก่ การเพิ่มอนุภาคเหตุการณ์ใหม่เพื่อให้ความรู้ทางวิชาการและสั่งสอนคุณธรรม การเพิ่มอนุภาคตัวละครประกอบที่มีลักษณะแปลกใหม่ น่าสนใจ การเปลี่ยนรายละเอียดอนุภาคตัวละครเอกให้มีลักษณะที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อเรื่องที่สร้างสรรค์ใหม่ การเปลี่ยนรายละเอียดอนุภาคเหตุการณ์เพื่อนำเสนอเรื่องในแง่มุมใหม่ การยืมอนุภาคตัวละครจากวรรณคดีเรื่องอื่นมาใช้ และการยืมอนุภาคเหตุการณ์จากวรรณคดีเรื่องอื่นมาใช้ การปรับเปลี่ยนดังกล่าวสัมพันธ์กับการอนุรักษ์และเผยแพร่นิทานไทย และการสร้างจุดขายของสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคในสังคม การปรับเปลี่ยนนี้ส่งผลให้นิทานเรื่องศรีธนญชัยในสื่อสิ่งพิมพ์ไทยร่วมสมัยมีบทบาทหน้าที่ในการให้ความเพลิดเพลิน บทบาทในการอบรมระเบียบสังคม และบทบาทในการเป็นสื่อการเรียนรู้สมัยใหม่


เดอะ มอร์ทอล อินสตรูเมนตส์ ในฐานะบทวิจารณ์พระคัมภีร์ไบเบิล: การกีดกัน ความรุนแรง และการเยียวยา, แพรพลอย ณ เชียงใหม่ Jan 2017

เดอะ มอร์ทอล อินสตรูเมนตส์ ในฐานะบทวิจารณ์พระคัมภีร์ไบเบิล: การกีดกัน ความรุนแรง และการเยียวยา, แพรพลอย ณ เชียงใหม่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วรรณกรรมแนวฮีโรอิกแฟนตาซีชุด เดอะ มอร์ทอล อินสตรูเมนตส์ ของคาสซานดรา แคลร์ ซึ่งเป็นวรรณกรรมนำเสนอการวิจารณ์แนวคิดที่ปรากฏในพระคัมภีร์ไบเบิล คือการกีดกันด้านเผ่าพันธุ์ ชนชั้น และเพศ อันเป็นแนวคิดที่นำมาสู่การสร้างความรุนแรงในสังคม โดยการใช้ลักษณะของแฟนตาซีสะท้อนให้เห็นถึงการวิจารณ์แนวคิดดังกล่าวได้ชัดเจนขึ้น ผลการศึกษาพบว่า วรรณกรรมชุด เดอะ มอร์ทอล อินสตรูเมนตส์ สร้างโลกสมมติเพื่อแสดงให้เห็นถึงการกีดกันและการใช้ความรุนแรงด้านเผ่าพันธุ์ ชนชั้น และเพศ ผ่านตัวละครหลากหลายเผ่าพันธุ์ที่มีสถานะเป็นตัวแทนของคนในสังคม ซึ่งความรุนแรงจากการกีดกันดังกล่าวสร้างบาดแผลทั้งทางกายและจิตใจให้แก่คนในสังคม ซึ่งเป็นบาดแผลจากการสูญเสียคนในครอบครัวและการสูญเสียตัวตน ขณะเดียวกัน วรรณกรรมชุดดังกล่าวยังแสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการเยียวยาบาดแผล อาทิ การเรียนรู้ที่จะยอมรับตัวตนของตนเอง การมอบความรัก ความอบอุ่นแก่คนในคนครอบครัว การสร้างความเข้าใจถึงความแตกต่างในสังคมเพื่อสนับสนุนการอยู่ร่วมกันอย่างเท่าเทียมและยอมรับความแตกต่าง


แนวคิดนิเวศสำนึกในวรรณกรรมของนิรันศักดิ์ บุญจันทร์, ศุภิสรา เทียนสว่างชัย Jan 2017

แนวคิดนิเวศสำนึกในวรรณกรรมของนิรันศักดิ์ บุญจันทร์, ศุภิสรา เทียนสว่างชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์งานเขียนของนิรันศักดิ์ บุญจันทร์ ภายใต้กรอบแนวคิดนิเวศสำนึก โดยมุ่งศึกษาบทบาทและภาพแทนของธรรมชาติและมนุษย์ที่ผู้เขียนใช้นำเสนอ เพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ที่ดำเนินไปภายใต้บริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปในด้านต่างๆ จากการศึกษาพบว่า วรรณกรรมของนิรันศักดิ์ บุญจันทร์นำเสนอแนวคิดนิเวศสำนึกที่แสดงให้เห็นปัญหาทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการนำเสนอความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ที่ตั้งอยู่บนความเหลื่อมล้ำภายใต้โลกที่ยึดมนุษย์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งภาพแทนของธรรมชาติมักจะถูกนำเสนอให้มีลักษณะเป็นคู่ตรงข้ามกับแนวคิดหรือวิวัฒนาการทางด้านต่างๆ ของมนุษย์ และมีการปฏิสัมพันธ์ในเชิงอำนาจอยู่ตลอดเวลา ภาพแทนของธรรมชาติมักถูกทำให้อ่อนแอและยอมจำนนเพื่อแสดงให้เห็นบทบาทของมนุษย์ในฐานะผู้ควบคุม เปลี่ยนแปลง กำหนดคุณค่าและความหมายให้กับธรรมชาติ จนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและวิกฤตสิ่งแวดล้อม ซึ่งปัญหาเหล่านี้ล้วนเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ที่ไม่สมดุลและความเพิกเฉยของมนุษย์ที่ยึดเอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้ งานเขียนของนิรันศักดิ์ยังนำเสนอแนวคิดเชิงอนุรักษ์ที่อยู่ภายใต้กระบวนทัศน์แบบองค์รวม นำเสนอให้เห็นถึงบทบาทและความสำคัญของธรรมชาติผ่านผลกระทบจากวิกฤตสิ่งแวดล้อม โดยการใช้ฉากโลกที่ล่มสลายและหายนะที่ตกสู่มนุษย์ แสดงให้เห็นสถานะของธรรมชาติที่อยู่ในบทบาทของผู้ควบคุมการดำรงอยู่ของมนุษย์ ในขณะเดียวกัน พื้นที่ธรรมชาติยังเป็นพื้นที่แห่งการเยียวยาฟื้นฟูชีวิตและสภาพจิตใจของมนุษย์และสังคมให้หลุดพ้นจากการครอบงำของความเจริญ รวมไปถึงการตระหนักถึงตัวตนแห่งธรรมชาติที่ธรรมชาติมีบทบาทสำคัญในการประกอบสร้างตัวตนและจิตวิญญาณของมนุษย์ แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของมนุษย์และธรรมชาติที่เชื่อมโยงกันทั้งทางกายภาพและทางจิตวิญญาณ เป็นการแสดงแนวคิดการมองธรรมชาติแบบองค์รวมเพื่อกระตุ้นให้ตระหนักถึงความสำคัญของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอันนำไปสู่การปลูกฝังแนวคิดเชิงอนุรักษ์และการอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสันติ


บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ประสานดุริยะสำเนียง สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม, กานต์ สุริยาศศิน Jan 2017

บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์ประสานดุริยะสำเนียง สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม, กานต์ สุริยาศศิน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์ดุษฎีนิพนธ์ประสานดุริยะสำเนียง สำหรับวงดุริยางค์เครื่องลม เป็นบทประพันธ์เพลงที่มีวัตถุประสงค์ในการเสนอแนวคิดและกลวิธีการประพันธ์บทเพลงร่วมสมัยที่ผสมผสานอัตลักษณ์ของดนตรีไทยเข้ากับกลวิธีการประพันธ์เพลงตามแบบแผนตะวันตก บทประพันธ์แบ่งเป็น 4 กระบวน ได้แก่ ขลุ่ยปี่เคล้าเล่าดนตรี พาทย์ตีระนาดฆ้อง เรียงประดับหน้าทับกลอง และร้อยทำนองเสียงประพรม ใช้เวลาในการบรรเลงประมาณ 30 นาที ผู้ประพันธ์ศึกษาและวิเคราะห์องค์ประกอบทางดนตรีของดนตรีไทย โดยศึกษาทั้งในระดับโครงสร้างและอัตลักษณ์เฉพาะทางบรรเลงเครื่องมือประเภท เครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี เครื่องเป่า และนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาดนตรีไทยมาใช้เป็นวัตถุดิบในการประพันธ์เพลง นอกจากนี้ผู้ประพันธ์ยังนำความรู้ด้านดนตรีแจ๊สมาเป็นแรงบันดาลใจร่วมในการประพันธ์อีกด้วย กลวิธีประพันธ์ทำนองและเรียบเรียงเสียงประสานบทเพลง "ประสานดุริยะสำเนียง" ได้รับแรงบันดาลใจจากลีลาสอดประสานแนวทำนองแบบแนวนอนตามอย่างดนตรีไทยร่วมกับกลวิธีประพันธ์เพลงร่วมสมัย ทำให้เกิดบทเพลงที่สะท้อนอัตลักษณ์ของดนตรีไทยโดยไม่ใช้เครื่องดนตรีไทยร่วมบรรเลงประกอบ ผู้ประพันธ์ทดลองใช้หลากหลายระเบียบวิธีในการประพันธ์ทำให้แต่ละกระบวนมีกลวิธีเฉพาะที่โดดเด่น เกิดกลวิธีการประพันธ์วรรณกรรมเพลงคลาสสิกร่วมสมัยที่เป็นของไทยสำหรับวงดุริยางค์เครื่องลมเพิ่มเติมจากแนวคิดที่มีการนำเสนออยู่ก่อน บทประพันธ์เพลง "ประสานดุริยะสำเนียง" เป็นเสมือนตัวอย่างซึ่งสร้างสรรค์โดยอาศัยแนวคิดและกลวิธีใหม่ที่ได้พัฒนาขึ้น กลวิธีที่นำเสนอนี้สามารถต่อยอดไปสู่การพัฒนาผลงานสร้างสรรค์ชิ้นอื่น ๆ ต่อไป


ประติมากรรมสื่อใหม่ : รูปแบบลีลาและรสนิยมในศิลปะยกล้อ, ธีรพล หอสง่า Jan 2017

ประติมากรรมสื่อใหม่ : รูปแบบลีลาและรสนิยมในศิลปะยกล้อ, ธีรพล หอสง่า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง ประติมากรรมสื่อใหม่ รูปแบบลีลาและรสนิยมในศิลปะยกล้อ มีวัตถุประสงค์สามข้อดังนี้ 1.ศึกษาแนวคิดและกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ผ่านรสนิยมและรูปแบบที่ปรากฏบนรถมอเตอร์ไซค์ช้อปเปอร์ 2. สำรวจรูปแบบของการสร้างสรรค์ที่ปรากฏบนยานพาหนะในวัฒนธรรมช้อปเปอร์ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างอัตลักษณ์เชิงปัจเจกและอัตลักษณ์เชิงกลุ่ม 3. สร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมที่ผู้ชมสามารถรับรู้สุนทรียะแบบวัฒนธรรมช้อปเปอร์ ได้ด้วยรูปแบบการตกแต่งบนมอเตอร์ไซค์ช้อปเปอร์ มานำเสนอด้วยภาษาทางประติมากรรม วิทยานิพนธ์เรื่องนี้ได้รับแรงบัลดาลใจจากความสนใจมอเตอร์ไซค์แบบช้อปเปอร์ของผู้วิจัยเอง ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะที่ชัดเจนจนกลายเป็นรูปแบบทางวัฒนธรรมย่อย จากแรงบัลดาลใจข้างต้นทำให้ผู้วิจัยตั้งคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ดังกล่าวว่า การใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นเครื่องมือในการสร้างอัตลักษณ์ของผู้เป็นเจ้าของมีกลไกอย่างไร และมีกรอบทางความคิดใดอยู่เบื้องหลังบ้าง และจะสร้างกระบวนการสร้างอัตลักษณ์ผ่านผลงานศิลปะได้อย่างไรให้ผู้ชมสามารถรับรู้สุนทรียะภาพแบบวัฒนธรรมช้อปเปอร์ ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลมาจากแนวคิดทฤษฎีทางสังคมศาสตร์ แนวคิดทางศิลปะที่เกี่ยวข้อง ศิลปินกรณีศึกษา ข้อมูลภาคสนาม และข้อมูลจากสื่อออนไลน์ จากการรวบรวมข้อมูลพบว่าสามารถบ่งชี้ลักษณะและแนวคิดการใช้มอเตอร์ไซค์สร้างอัตลักษณ์ให้กับผู้เป็นเจ้าของในวัฒนธรรมช้อปเปอร์ โดยการหยิบยืมรูปแบบจากหลายแหล่งที่มา กลายเป็นวัฒนธรรมช้อปเปอร์แบบไทยๆ ผู้วิจัยเชื่อมโยงข้อมูลที่ได้กับแนวคิดทางศิลปะมาพัฒนาเป็นกรอบแนวคิดในการสร้างสรรค์เกี่ยวกับการมีส่วนรวมของผู้ชมกับผลงาน ในรูปแบบประติมากรรมสื่อใหม่ทั้งหมดสี่ชิ้น ได้แก่ คิงคะนองนา เร็วแรงเกิ้น นักสู้ตลาดสด และทองเนื้อเก้า ผลงานประติมากรรมทั้งสี่ชิ้นใช้หลักการการหยิบยืมรูปแบบจากหลายแหล่งมาผสมกันแบบพันธุ์ทาง จนกลายเป็นรูปแบบที่สร้างอัตลักษณ์เฉพาะ และสะท้อนกลับไปยังที่มาของแหล่งรสนิยมต้นทางได้ในเวลาเดียวกัน วิทยานิพนธ์ชิ้นนี้ คือกระบวนการสร้างการรับรู้สุนทรียะแบบวัฒนธรรมช้อปเปอร์ให้กับผู้ชมผ่านการมีปฏิสัมพันธ์กับผลงานประติมากรรม และขยายฐานคิดเกี่ยวกับประสบการณ์ทางสุนทรียะผ่านการรับรู้ เปิดทางให้ขยายฐานคิดเกี่ยวกับการสร้างงานประติมากรรมร่วมสมัย ที่ไม่ได้หยุดอยู่แค่เพียงการชื่นชมสุนทรียภาพจากความงามของรูป ทรงสามมิติของประติมากรรมเท่านั้น โดยผู้วิจัยเรียกกระบวนการนี้ว่า ประติมากรรมปฏิสัมพันธ์


การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ชุด เดอะวิทรูเวียนแมน, ธนกร สรรย์วราภิภู Jan 2017

การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ชุด เดอะวิทรูเวียนแมน, ธนกร สรรย์วราภิภู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์เรื่อง "การสร้างสรรค์นาฏยศิลป์ ชุด เดอะวิทรูเวียนแมน" มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหารูปแบบและแนวคิดในการดำเนินการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพเดอะวิทรูเวียนแมนโดย เลโอนาร์โด ดาวินชี (Leonardo Da Vinci) ในประเด็นด้านสัดส่วนและรูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิตที่เกิดจากสรีระร่างกายของมนุษย์มาใช้เป็นแนวคิดหลักในการดำเนินงาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ การสำรวจข้อมูลเชิงเอกสาร สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ สื่อสารสนเทศ ข้อมูลภาคสนาม การสังเกตการณ์งานสร้างสรรค์ทางด้านนาฏยศิลป์ การสัมมนา และประสบการณ์ส่วนตัวของผู้วิจัย โดยนำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ และสรุปผล ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า ในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์สามารถจำแนกตามองค์ประกอบของการแสดงได้ 8 ประการ ได้แก่ 1) บทการแสดง สร้างสรรค์ขึ้นใหม่จากประเด็นด้านสัดส่วนและรูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิตของภาพเดอะวิทรูเวียนแมน 2) นักแสดงมีคุณสมบัติด้านสัดส่วนของสรีระร่างกายในรูปแบบที่เหมือนและต่างกันมีความสามารถทางด้านนาฏยศิลป์ 3) ลีลา นำเสนอผ่านรูปแบบนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) เครื่องแต่งกายแสดงถึงสรีระร่างกายของนักแสดงอย่างชัดเจน 5) ดนตรีและเสียงประกอบการแสดง ใช้เสียงจากนักแสดง สิ่งแวดล้อม และดนตรีสังเคราะห์ในการสร้างบรรยากาศการแสดง 6) อุปกรณ์ประกอบการแสดง ใช้เทปกระดาษกาวสองหน้าในการสื่อสารด้านการเปรียบเทียบสรีระ สร้างสรรค์รูปเรขาคณิต และใช้เครื่องฉายภาพขนาดเล็กเข้ามาส่งเสริมการแสดง 7) พื้นที่การแสดง จัดวางตำแหน่งผู้ชมเหนือพื้นที่การแสดง โดยจัดแสดงในพื้นที่ลักษณะอื่นที่ไม่ใช่โรงละคร 8) แสง ออกแบบให้เกิดความชัดเจนในการสื่อความหมายของการแสดง นอกจากนี้ในด้านแนวคิดการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ได้ให้ความสำคัญใน 8 ประเด็น ได้แก่ 1) ภาพเดอะวิทรูเวียนแมน 2) สัดส่วนและรูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิต 3) ความเรียบง่ายตามแนวคิดนาฏยศิลป์หลังสมัยใหม่ 4) องค์ประกอบทางทัศนศิลป์ 5) ออกแบบพื้นที่การแสดงโดยวางตำแหน่งผู้ชมอยู่ในระดับที่สูงกว่านักแสดง 6) ทฤษฎีนาฏยศิลป์ร่วมสมัย 7) อุปกรณ์ประกอบการแสดง และ 8) การแสดงที่เป็นศิลปะเพื่อศิลปะ ดังนั้นผลการวิจัยทั้งหมดนี้จึงมีความสอดคล้องและตรงตามวัตถุประสงค์ทุกประการ ผู้วิจัยได้จัดการแสดงผลงานสร้างสรรค์เพื่อเผยแพร่ มีผู้เข้าชมผลงานทั้งสิ้น 158 คน เป็นนักศึกษาทางด้านนาฏยศิลป์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนาฏยศิลป์ อาจารย์สอนนาฏยศิลป์ ศิลปะการแสดงทั้งในระดับโรงเรียนมัธยม และมหาวิทยาลัย รวมถึงผู้สนใจทั่วไป ผลจากการทำประชาพิจารณ์และแบบสอบถามสรุปได้ว่า การนำแนวคิดด้านสัดส่วนและรูปร่างหรือรูปทรงเรขาคณิตในภาพเดอะวิทรูเวียนแมนมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์เป็นสิ่งที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ท่าทางในชีวิตประจำวันเข้ามาใช้ในการแสดง มีการเน้นย้ำ ที่ส่งผลให้ผู้ชมสามารถรับรู้เรื่องราวการแสดงได้อย่างชัดเจน และผู้เข้าร่วมชมการแสดงยอมรับถึงรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานนาฏยศิลป์ชิ้นนี้ อันก่อให้เกิดองค์ความรู้ที่ควรเผยแพร่และคุณค่าต่อการสร้างสรรค์ผลงานทางด้านนาฏยศิลป์


การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ชุด ตาลเมืองเพชร, ปราชญา สายสุข Jan 2017

การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ชุด ตาลเมืองเพชร, ปราชญา สายสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการผลิตน้ำตาลโตนด อันเป็นแนวคิดเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ชุด ตาลเมืองเพชร ผู้วิจัยได้ทำการศึกษากระบวนการผลิตน้ำตาลโตนดจากสวนตาลลุงถนอม ภู่เงิน ซึ่งนับว่าเป็นแหล่งเรียนรู้ภูมิปัญญาตาลโตนดแหล่งสำคัญของจังหวัดเพชรบุรี ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงสร้างสรรค์ในการสร้างสรรค์ผลงานในครั้งนี้ การสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ชุด ตาลเมืองเพชร ได้แนวคิดจากกระบวนการผลิตน้ำตาลโตนด 5 ขั้นตอนหลัก คือ 1) การพาดตาล 2) การนวดตาล 3) การปาดตาล 4) การรองตาล 5) การเคี่ยวตาล การสร้างสรรค์ผลงานนี้ เป็นการประพันธ์เพลงในรูปแบบของเพลงชุด ประกอบด้วยเพลงหลัก 5 เพลง คือ 1) เพลงพาดตาล 2) เพลงนวดตาล 3) เพลงปาดตาล 4) เพลงรองตาล 5) เพลงเคี่ยวตาล และเพลงเชื่อมตาลสำหรับบรรเลงเชื่อมเพลงหลัก 1 เพลง โดยรูปแบบของการจัดแสดงผลงานสร้างสรรค์ทางด้านดุริยางคศิลป์ เป็นการบรรเลงดนตรีไทยด้วยวงปี่พาทย์ไม้แข็ง (พิเศษ) ประกอบการฉายสไลด์ โดยใช้โทนชาตรีและกลองชาตรีกำกับจังหวะหน้าทับ ทั้งนี้ได้กำหนดจังหวะหน้าทับและอัตราจังหวะฉิ่งขึ้นใหม่ ประกอบด้วย หน้าทับโทนชาตรี 6 รูปแบบ วิธีการบรรเลงกลองชาตรี 4 รูปแบบ อัตราจังหวะฉิ่ง 5 รูปแบบ ในส่วนของบทเพลงนั้นเป็นการประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยมิได้อาศัยเค้าโครงจากเพลงอื่นใดที่มีในขนบประเพณีของดนตรีไทยในการประพันธ์ งานวิจัยนี้เป็นการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ผนวกกับองค์ความรู้ในศาสตร์แขนงต่าง ๆ เพื่อพัฒนาต่อยอดและเป็นแนวทางสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานทางดุริยางคศิลป์ ตลอดจนสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมและสะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวเพชรบุรีสืบต่อไป


ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : หลวิชัย คาวี เดอะ มิวสิคัล, พงศ์พูน พิบูลย์เกษตรกิจ Jan 2017

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง : หลวิชัย คาวี เดอะ มิวสิคัล, พงศ์พูน พิบูลย์เกษตรกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทประพันธ์หลวิชัย คาวี เดอะ มิวสิคัล เป็นบทประพันธ์ที่ถูกสร้างสรรค์ขึ้นจากการศึกษาและตีความนิทานพื้นบ้านเรื่องหลวิชัย คาวี โดยนำเสนอในรูปแบบของละครเพลงซึ่งใช้อารมณ์และความรู้สึกของตัวละครรวมถึงบรรยากาศของฉากแต่ละฉากในการกำหนดกรอบและแนวทางในการประพันธ์และเรียบเรียงดนตรี ความรักหลากหลายรูปแบบ เช่น พี่กับน้อง ชายกับหญิง สัตว์กับสัตว์ รวมถึงความขัดแย้ง ของตัวละครต่างๆ ที่ปรากฏอยู่ในนิทานพื้นบ้านเรื่องนี้เป็นองค์ประกอบสำคัญที่ทำให้บทเพลงมีความหลากหลายทางอารมณ์ ตัวละครหลักในบทประพันธ์นี้จะมีทำนองหลักเป็นของตนเองเพื่อแสดงความเป็นเอกลักษณ์และช่วยให้ผู้ฟังสามารถติดตามเรื่องราวและการนำเสนอของตัวละครแต่ละตัวได้อย่างต่อเนื่อง โดยทำนองหลักแต่ละทำนองจะถูกพัฒนาด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น การขยายส่วนจังหวะ การย่อส่วนจังหวะ เพื่อให้เหมาะสมกับเหตุการณ์ต่าง ๆ บทประพันธ์นี้ประกอบด้วยบทเพลงบรรเลงและบทเพลงร้องรวมทั้งสิ้น 14 บทเพลง ความยาวประมาณ 50 นาที ผู้วิจัยมีความตั้งใจที่จะนำเสนอนิทานพื้นบ้านของไทยเรื่องนี้โดยใช้ดนตรีตะวันตกซึ่งเปรียบดั่งภาษาสากลเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดเรื่องราวให้กับผู้ฟังทุกชนชาติและเพื่อส่งเสริมวรรณคดีของไทยให้เข้าสู่การยอมรับในระดับนานาชาติ


The Effects Of Debate Instruction Through A Flipped Learning Environment On Speaking Ability And Critical Thinking Skills Of Thai High School Students, I Wei Liu Jan 2017

The Effects Of Debate Instruction Through A Flipped Learning Environment On Speaking Ability And Critical Thinking Skills Of Thai High School Students, I Wei Liu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The study aim (1) to develop debate instruction in a flipped learning environment, (2) to investigate the effects of students' English speaking ability after implementing the debate instruction in a flipped learning environment, (3) to investigate the effects of students' critical thinking skills after implementing debate instruction in a flipped learning environment, (4) and to investigate the students' opinion towards using debate instruction in a flipped learning environment. Twenty-four high school students in English programs in Bangkok were chosen as the sample group. The findings revealed that 1) there was a significant improvement of the participants' English speaking ability after …


The Impact Of Language Assessment Literacy Training On Efl University Lecturers’ Language Assessment Literacy, Efficacy And Practice Of Student Self-Assessment, Nattharmma Thong-Iam Jan 2017

The Impact Of Language Assessment Literacy Training On Efl University Lecturers’ Language Assessment Literacy, Efficacy And Practice Of Student Self-Assessment, Nattharmma Thong-Iam

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The literature suggested that limited assessment literacy in the use of SSA has led to insufficient use of SSA in Thai tertiary EFL classrooms. This study examined the current assessment practice, assessment literacy, and assessment efficacy in the use of SSA of the EFL lecturers who were serving at the nine Rajamangala Universities (RMUTs) and the effect of assessment literacy training on the assessment literacy, assessment efficacy, and assessment practice in the use of SSA among four EFL lecturers from one particular Rajamangala University. In this study, the researcher utilised mixed-methods research, a paradigm in which she drew on data …


Establishing Buying Decision Model Based On Color Attributes For Durio Zibethinus L., Supawadee Theerathammakorn Jan 2017

Establishing Buying Decision Model Based On Color Attributes For Durio Zibethinus L., Supawadee Theerathammakorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Printed images of food products appearing on packaging usually include vivid colors in order to draw the customers' attention and influence their product buying decision. Durian packaging is a vital tool in marketing mix in contributing to buying decision, especially the color that are consistent with customers' expectation. Packaging designers and marketers need to understand how color stimuli impact the customer's buying decision process. This study aims to establish buying decision model based on color attributes for Durio zibethinus cv.Monthong and to evaluate the relationships between "Deliciousness", "Naturalness", and "Attractiveness" and buying decision.The color attributes of durian images, such as …


การศึกษาเปรียบเทียบตัวบทที่มีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธุรกิจกับบทแปล : กรณีศึกษาเรื่องIt's Not About You (ยิ่งให้ยิ่งชนะ), ดิษยา สิริกิตติกร Jan 2017

การศึกษาเปรียบเทียบตัวบทที่มีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธุรกิจกับบทแปล : กรณีศึกษาเรื่องIt's Not About You (ยิ่งให้ยิ่งชนะ), ดิษยา สิริกิตติกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธุรกิจที่พบในหนังสือเรื่อง It’s Not About You ของ บ๊อบ เบิร์ก และ จอห์น เดวิด มานน์ โดยรวบรวมรูปคำแสดงอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธุรกิจในต้นฉบับเพื่อทำการศึกษา 50 ตำแหน่งแล้วเปรียบเทียบต้นฉบับภาษาอังกฤษกับบทแปลภาษาไทยในหนังสือ ยิ่งให้ยิ่งชนะ ซึ่งแปลโดย อมรรัตน์ ศรีสุรินทร์ เพื่อพิจารณาว่าในบทแปลยังพบอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์หรือไม่ อย่างไร ผลการวิเคราะห์อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธุรกิจที่พบในตัวบทต้นฉบับ พบว่าสะท้อนอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ 4 ประเภทได้แก่ 1) A BUSINESS IS A HUMAN 2) A BUSINESS IS AN OBJECT 3) A BUSINESS IS A JOURNEY และ 4) BUSINESS IS WAR เมื่อเปรียบเทียบต้นฉบับที่มีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธุรกิจกับบทแปล พบว่าบทแปลสะท้อนอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ 47 ตำแหน่ง แบ่งเป็นบทแปลซึ่งรักษากรอบมโนทัศน์ของอุปลักษณ์เดียวกันกับต้นฉบับ 46 ตำแหน่ง และบทแปลซึ่งเปลี่ยนกรอบมโนทัศน์ของอุปลักษณ์ไปจากต้นฉบับ 1 ตำแหน่ง ส่วนอีก 3 ตำแหน่งไม่พบอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ใน บทแปล การที่อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ซึ่งพบในบทแปลส่วนใหญ่ยังคงเป็นประเภทเดียวกันกับต้นฉบับสะท้อนให้เห็นว่าอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับธุรกิจค่อนข้างเป็นสากล นอกจากนี้ การที่บทแปลยังคงรักษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เดียวกันกับต้นฉบับ 46 ตำแหน่งจาก 50 ตำแหน่งอาจเป็นเพราะผู้แปลใช้วิธีการแปลเชิงอรรถศาสตร์ (Semantic Translation) ตามทฤษฎีการแปลของ Newmark (1988) ทำให้ถ่ายทอดความหมายและอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ได้อย่างครบถ้วน ส่วนการที่บทแปลอีก 4 ตำแหน่งจาก 50 ตำแหน่งสะท้อนอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ที่ต่างไปจากต้นฉบับ หรือไม่สะท้อนอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์อาจเป็นเพราะผู้แปลใช้วิธีการแปลเชิงสื่อสาร (Communicative Translation) ตามทฤษฎีการแปลของ Newmark (1988) จากผลการศึกษาประกอบกับสมมติฐานการแปลเชิงปริชาน (Cognitive Translation Hypothesis, CTH) ของ Mandelblit (1995) ผู้วิจัยเสนอแนวทางการแปลตัวบทที่มีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์สองแบบ ได้แก่ ใช้วิธีการแปลเชิงอรรถศาสตร์ตามทฤษฎีการแปล ของ Newmark (1988) …


การแปลคำซ้ำในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เล่ม 1, พรชัย เสรีมงคลผล Jan 2017

การแปลคำซ้ำในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เล่ม 1, พรชัย เสรีมงคลผล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาการแปลคำซ้ำ ที่พบในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง เมื่อคุณตาคุณยายยังเด็ก เล่ม 1 ประพันธ์โดย ทิพย์วาณี สนิทวงศ์ ณ อยุธยา จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ โดยใช้ต้นฉบับ 10 บทเป็นกรณีศึกษา ปัญหาการแปลคำซ้ำยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างจริงจังเมื่อเทียบกับปัญหาการแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษด้านอื่น ๆ ทั้ง ๆ ที่ไม้ยมกเป็นเครื่องหมายกำกับคำซ้ำที่มีการใช้อย่างแพร่หลายในภาษาไทยมาอย่างช้านาน นอกจากนี้กระบวนการซ้ำคำเพื่อสร้างคำใหม่ก็เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ภาษา และทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษก็มีการซ้ำคำเช่นกัน สารนิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนในการแปล วิเคราะห์ปัญหาในการแปล ตลอดจนนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหานั้นเพื่อให้ได้บทแปลที่มีความสละสลวยทางภาษาและได้อรรถรสทัดเทียมกับต้นฉบับ ผู้วิจัยศึกษาทฤษฎีการแปลและแนวคิดต่าง ๆ อันได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับคำซ้ำภาษาไทย แนวคิดเกี่ยวกับคำซ้ำภาษาอังกฤษ ประเภทของความหมายของคำซ้ำภาษาไทย ประเภทของความหมายของคำซ้ำภาษาอังกฤษ แนวคิดเกี่ยวกับการแปลคำซ้ำ ทฤษฎีการแปลแบบยึดความหมาย ทฤษฎีสโคพอส และการวิเคราะห์วาทกรรม เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ปัญหาที่พบในการแปล และค้นหาแนวการทางแก้ไขการแปลคำซำ หลังจากที่ได้ศึกษาทฤษฎีและแนวคิดข้างต้น ตลอดจนลงมือแปลบทที่เลือกมาศึกษาโดยยึดทฤษฎีการแปลแบบยึดความหมายเป็นสำคัญ ผู้วิจัยพบว่า แนวคิดเกี่ยวกับความหมายของคำซ้ำและแนวทางการแปลคำซ้ำของอาจารย์และผู้รู้หลาย ๆ ท่าน มีประโยชน์อย่างยิ่งในการพิจารณาคำซ้ำในแง่มุมทางโครงสร้างและการเปลี่ยนแปลงทางความหมายต่าง ๆ จนสามารถนำไปสู่การแปลคำซ้ำได้จริง


ข้อดีข้อด้อยจากนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการล่ามในที่ประชุมของประชาคมอาเซียนเมื่อเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรป, ณุพัฒน์ คู่ศรีบรรจง Jan 2017

ข้อดีข้อด้อยจากนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการล่ามในที่ประชุมของประชาคมอาเซียนเมื่อเปรียบเทียบกับสหภาพยุโรป, ณุพัฒน์ คู่ศรีบรรจง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประชุมในบริบทของประชาคมอาเซียนทวีจำนวนตามการพัฒนาและกรอบความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคนี้ แต่อุปสรรคในการสื่อสารภาษาอังกฤษยังคงเป็นประเด็นสำคัญที่ลดประสิทธิภาพการประชุม งานวิจัยนี้ได้เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องในการประชุมในบริบทอาเซียน พบว่าการกำหนดให้ใช้เฉพาะภาษาอังกฤษในที่ประชุม บ่อยครั้งกระทบต่อความเข้าใจเนื้อหาการประชุมและการมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมจากแต่ละประเทศ โดยเฉพาะการประชุมในระดับปฏิบัติการมักได้รับผลกระทบมากที่สุดเพราะต้องเผชิญปัจจัยที่ทำให้การสื่อสารภาษาอังกฤษเป็นอุปสรรค เช่น ปัจจัยด้านงบประมาณจ้างล่ามที่มีจำกัด ความสามารถใช้ภาษาอังกฤษของผู้เข้าร่วมประชุมที่หลากหลาย เป็นต้น ผลการวิเคราะห์บทสัมภาษณ์ยังชี้ว่าการจัดจ้างล่ามเพื่อลดอุปสรรคด้านการสื่อสารในที่ประชุมที่เหมาะสมที่สุดสำหรับประชาคมอาเซียนคือใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการล่ามสู่ภาษาอื่นๆ ถึงกระนั้นก็ยังติดประเด็นเรื่องนโยบายของประชาคมอาเซียนเองที่กำหนดให้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาทางการภาษาเดียว ไม่สนับสนุนให้มีการจ้างล่าม ซึ่งแตกต่างโดยสิ้นเชิงจากสหภาพยุโรปที่สนับสนุนหลักพหุภาษานิยมหรือนโยบายภาษาทางการและภาษาปฏิบัติการที่หลากหลาย ปัญหาดังกล่าวทำให้ผู้เกี่ยวข้องในการประชุมในบริบทอาเซียนต้องหาทางออกให้การสื่อสารในที่ประชุมเกิดขึ้นได้ด้วยวิธีต่างๆ ตามอัตภาพ นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้น้อยมากที่ประชาคมอาเซียนจะจัดตั้งหน่วยงานอำนวยการล่ามในที่ประชุมเหมือนที่สหภาพยุโรปมี


ข้อบกพร่องด้านภาษาที่พบในการแปลป้ายข้อมูลของพิพิธภัณฑ์และวิธีการแก้ไข : กรณีศึกษาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ), กุลธิดา บุญญวนิช Jan 2017

ข้อบกพร่องด้านภาษาที่พบในการแปลป้ายข้อมูลของพิพิธภัณฑ์และวิธีการแก้ไข : กรณีศึกษาศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ), กุลธิดา บุญญวนิช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สารนิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาข้อบกพร่องที่พบในการแปลป้ายข้อมูลของพิพิธภัณฑ์และวิธีการแก้ไข โดยคัดสรรบทแปลจากป้ายข้อมูลนิทรรศการของศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา (ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพ) เพื่อให้ได้บทแปลที่สามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ มีอรรถสาระและเนื้อหาเหมาะสมกับผู้รับสารปลายทาง ผู้ศึกษาได้ดำเนินการวิจัยโดยค้นคว้าแนวคิดเกี่ยวกับการแปลตัวบทพิพิธภัณฑ์ (Guillot, 2014; Neather, 2005; Sturge, 2007) แนวทางการวิเคราะห์ตัวบทประเภทสารคดีของคริสติอาเน นอร์ด (2005) แนวคิดการจำแนกหมวดหมู่ของข้อบกพร่องในการแปลโดยคริสติอาเน นอร์ด (1997) กลวิธีการแก้ไขงานแปลที่เกี่ยวข้อง (วัลยา วิวัฒน์ศร, 2547; มกุฏ อรฤดี, 2560; Mossop, 2007) ทฤษฎีสโคพอส (Skopostheorie) นำเสนอโดยฮันส์ แฟร์เมียร์ (1996) แนวคิดเรื่อง Scene-and-Frames Semantics นำเสนอโดยชาร์ลส ฟิลล์มอร์ (1977) แนวทางการแปลแบบตีความและยึดความหมาย (Interpretive Approach) นำเสนอโดยฌอง เดอลิลส์ (1988) และความรู้ว่าด้วยไวยากรณ์ที่เกี่ยวข้องกับข้อบกพร่องในการแปลที่พบ ผลการศึกษาพบว่าการนำทฤษฎีและแนวคิดต่างๆ ข้างต้นมาประยุกต์ใช้ร่วมกัน สามารถระบุข้อบกพร่องในบทแปลและแก้ไขข้อบกพร่องได้


ปริจเฉทการพูดของมัคนายกในวัดพระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม : องค์ประกอบการสื่อสารและกลวิธีทางภาษาในการโน้มน้าวใจ, แกมกาญจน์ พิทักษ์วงศ์ Jan 2017

ปริจเฉทการพูดของมัคนายกในวัดพระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม : องค์ประกอบการสื่อสารและกลวิธีทางภาษาในการโน้มน้าวใจ, แกมกาญจน์ พิทักษ์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปริจเฉทการพูดของมัคนายกมีลักษณะเด่นเฉพาะตัวและมัคนายกใช้กลวิธีทางภาษา ที่หลากหลายเพื่อโน้มน้าวใจให้คนร่วมบริจาคเงินทำบุญ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ องค์ประกอบการสื่อสารและกลวิธีทางภาษาในการโน้มน้าวใจในปริจเฉทการพูดของมัคนายก วัดพระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม โดยใช้แนวคิดชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสารของไฮมส์ (Hymes, 1974) ข้อมูลมาจากการบันทึกเสียงการพูดสดของมัคนายกของวัดพระปฐมเจดีย์ ราชวรมหาวิหาร วัดพระงาม พระอารามหลวง และวัดไร่ขิง พระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม การสัมภาษณ์มัคนายก การสัมภาษณ์ผู้ทำบุญ และการสังเกตการณ์อย่างมีส่วนร่วม ได้ข้อมูลจำนวน ทั้งสิ้น 35 ปริจเฉท ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบการสื่อสารที่สำคัญในปริจเฉทการพูดของมัคนายก ในวัดพระอารามหลวง จังหวัดนครปฐม ได้แก่ ฉาก ผู้ร่วมเหตุการณ์ จุดมุ่งหมาย และบรรทัดฐานของ การปฏิสัมพันธ์และการตีความ ส่วนกลวิธีทางภาษาที่ใช้เพื่อการโน้มน้าวใจจำแนกได้เป็น 3 กลวิธีใหญ่ ได้แก่ กลุ่มกลวิธีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้ฟัง กลุ่มกลวิธีการบอกความสำคัญของกองบุญ และกลุ่มกลวิธีการกระตุ้นผู้ฟัง


การศึกษาเปรียบเทียบคำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยกับปัจจุบัน, เอกพล ดวงศรี Jan 2017

การศึกษาเปรียบเทียบคำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยกับปัจจุบัน, เอกพล ดวงศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

พระสงฆ์เป็นผู้ที่มีสถานภาพพิเศษในสังคมไทยมาตั้งแต่โบราณ จึงมีคำที่ใช้อ้างถึงเป็นพิเศษ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาชนิดของคำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัย และการเปลี่ยนแปลงด้านคำศัพท์และความหมายของคำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยเปรียบเทียบกับปัจจุบัน ศึกษาและเก็บข้อมูลจากจารึกภาษาไทยสมัยสุโขทัยซึ่งตีพิมพ์เผยแพร่เป็นหนังสือหรือเผยแพร่ทางเว็บไซต์แล้ว จำนวน 41 หลัก โดยใช้แนวคิดคำอ้างถึงในภาษาไทยและแนวคิดการเปลี่ยนแปลงของภาษา ผลการศึกษาพบว่า คำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยมีการปรากฏใช้ทั้งสิ้น 74 คำ ครอบคลุมถ้อยคำหรือรูปภาษาที่หลากหลาย อ้างถึงบุคคลคนเดียวกัน คือ พระสงฆ์ แบ่งเป็น 5 ชนิด ได้แก่ 1) คำนามสามัญ 2) คำบุรุษสรรพนาม 3) คำนำหน้าชื่อ/ราชทินนาม 4) คำบอกลำดับชั้น และ 5) คำบอกตำแหน่ง ด้านการเปลี่ยนแปลงด้านคำศัพท์และความหมายเมื่อเปรียบเทียบกับปัจจุบันพบว่า คำอ้างถึงพระสงฆ์เหล่านี้มีการเปลี่ยนแปลงด้านคำศัพท์ คือ การสูญศัพท์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1) สูญศัพท์โดยสิ้นเชิง และ 2) สูญศัพท์บางส่วน ได้แก่ สูญศัพท์ในบริบทพระสงฆ์ แต่ยังปรากฏใช้ในบริบททั่วไป, สูญศัพท์ในภาษาไทยกรุงเทพฯ แต่ยังปรากฏใช้ในภาษาถิ่น และสูญศัพท์ในบริบททั่วไป แต่ยังปรากฏใช้ในบริบทเฉพาะ ด้านการเปลี่ยนแปลงด้านความหมายพบว่า คำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยมีการเปลี่ยนแปลงความหมาย 5 ลักษณะ ได้แก่ 1) ความหมายแคบเข้า 2) ความหมายกว้างออก 3) ความหมายย้ายที่ 4) ความหมายดีขึ้น และ 5) ความหมายเลวลง การเปลี่ยนแปลงของคำอ้างถึงพระสงฆ์สะท้อนให้เห็นบริบทสังคมพระพุทธศาสนาสมัยสุโขทัยที่แตกต่างจากปัจจุบัน การใช้คำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยมีการเปลี่ยนแปลงไปตามบริบทสังคมวัฒนธรรมไทย และมีความสัมพันธ์กับลำดับชั้นของพระสงฆ์ พระสงฆ์ที่มีลำดับชั้นต่างกันจะมีการใช้คำอ้างถึงที่แตกต่างกัน บางลำดับชั้นมีคำอ้างถึงใช้เป็นพิเศษ นอกจากนี้ คำอ้างถึงพระสงฆ์ไทยสมัยสุโขทัยสะท้อนให้เห็นวัฒนธรรม ความเชื่อ และมโนทัศน์เกี่ยวกับพระสงฆ์เป็นหน่อพระพุทธเจ้า การยกย่องพระสงฆ์ในฐานะครู การยกย่องพระสงฆ์ในฐานะผู้เป็นใหญ่ และวัฒนธรรมการรับรูปแบบการตั้งสมณศักดิ์


หลักการแปลทำนองจะเข้เพลงจีนแสเรื่องเล็กของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน, ประเสริฐศรี ชื่นพลี Jan 2017

หลักการแปลทำนองจะเข้เพลงจีนแสเรื่องเล็กของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน, ประเสริฐศรี ชื่นพลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยเรื่องนี้มุ่งเน้นศึกษาหลักการประดิษฐ์ทำนองจะเข้เพลงจีนแสเรื่องเล็กของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน โดยวิธีการรวบรวมข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ และการปฏิบัติเพื่อวิเคราะห์หาหลักการประดิษฐ์ทำนองจะเข้ด้วยระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าหลักการประดิษฐ์ทำนองจะเข้ของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อนเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อนมีทั้งการแปล (Translation) และต่อยอดไปยังการแปร (Variation) เกิดทำนองที่หลากหลายในเพลงจีนแสเรื่องเล็ก มีหลักและวิธีการที่แตกต่างกันออกไปตามวัตถุประสงค์ของการบรรเลง แสดงความเป็นเอกภาพในศาสตร์แห่งตน อยู่ภายใต้หลักขนบธรรมเนียมและบทบาทหน้าที่ของจะเข้ตามแบบแผนของโบราณาจารย์ เพลงจีนแสเรื่องเล็กประกอบไปด้วย 7 บทเพลง คือ 1.เพลงจีนแส 2.เพลงแป๊ะ 3.เพลงอาเฮีย 4.เพลงชมสวนสวรรค์ 5.เพลงมาลีหวน 6.เพลงเร็วแม่วอนลูก และ7.เพลงลา หลักการประดิษฐ์ทำนองจะเข้เพลงจีนแสเรื่องเล็กของรองศาสตราจารย์ปกรณ์ รอดช้างเผื่อนที่ปรากฏในงานวิจัยเรื่องนี้มี 14 ลักษณะคือ 1.การยึดทำนองหลัก 2.ใช้การเปลี่ยนกระสวนทำนอง 3.การใช้กลวิธีการดีดทิงนอย 4.ใช้เสียงประสานและความปลั่งจำเพาะของจะเข้ 5.สร้างสำเนียงจีนด้วยการจัดจังหวะช่องไฟ 6.สร้างสำเนียงจีนด้วยการใช้เสียงเรียง 7.สร้างสำเนียงจีนด้วยการใช้ทำนองสลับฟันปลา 8.สร้างสำเนียงจีนด้วยการใช้เสียงชิดและข้ามในกลอนเพลง 9.ใช้การเปิดมือของกระจับปี่ 10.การใช้สัมผัสในและสัมผัสนอก 11.เปลี่ยนช่วงเสียงในการดำเนินทำนองภายใน 4 ห้อง 12.คงทำนองลูกล้อลูกขัด 13.ใช้กลวิธีพิเศษ 8 ลักษณะในการประดิษฐ์ทำนองในเพลงเร็วแม่วอนลูก 14.ใช้กลวิธีพิเศษ 7 ลักษณะในการประดิษฐ์ทำนองในเพลงประเภทปรบไก่สำเนียงจีน