Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Social and Behavioral Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

PDF

Discipline
Institution
Keyword
Publication Year
Publication

Articles 1 - 30 of 108708

Full-Text Articles in Social and Behavioral Sciences

วิธีวิทยาในการประมาณการและการแจงนับจำนวนคนไร้บ้านของประเทศไทย, ธนานนท์ บัวทอง, อนรรฆ พิทักษ์ธานิน, มนทกานต์ ฉิมมามี Dec 2565

วิธีวิทยาในการประมาณการและการแจงนับจำนวนคนไร้บ้านของประเทศไทย, ธนานนท์ บัวทอง, อนรรฆ พิทักษ์ธานิน, มนทกานต์ ฉิมมามี

Journal of Demography

แม้ว่าจำนวนคนไร้บ้านในเมืองจะสะท้อนปัญหาความยากจนและการถูกกีดกันทางสังคม แต่ในปัจจุบันยังไม่มีข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับนิยามของคนไร้บ้าน ส่วนการเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรที่เข้าถึงยากกลุ่มนี้ต้องใช้งบประมาณสูง และต้องได้รับความร่วมมืออย่างเข้มแข็งจากหลายภาคส่วนอีกด้วย สำหรับบทความนี้มุ่งเน้นค้นหาวิธีวิทยาทางเลือกในการประมาณการจำนวนคนไร้ บ้านในพื้นที่ย่อยของประเทศไทย ผลการศึกษา พบว่า การประมาณการจำนวนด้วยวิธีทางอ้อม และวิธี Capture-recapture มีจุดเด่นตรงที่ประหยัดงบประมาณและเวลา สำหรับข้อเสนอแนะคือ ควรขยายนิยามในการสำรวจคนไร้ บ้านให้ครอบคลุมกลุ่มผู้ที่อาศัยอยู่กับครอบครัว เพื่อนและญาติเป็นการชั่วคราวโดยไม่ทราบว่าพรุ่งนี้จะไปอาศัยกินอยู่หลับนอนที่ใด ในระยะยาวควรพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลคนไร้บ้าน ให้แต่ละหน่วยงานมีมาตรฐานแบบเดียวกันในการบันทึกข้อมูลคนไร้บ้าน และสามารถเชื่อมโยงระบบฐานข้อมูลระหว่างหน่วยงานได้ เพื่อใช้ประโยชน์ในการประมาณการจำนวนคนไร้บ้านด้วยวิธีประมาณการทางอ้อมและ/หรือวิธี Capturerecapture ตามความเหมาะสมของบริบทในแต่ละพื้นที่ย่อยต่อไป


พฤติกรรมการป้องกันปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของสามเณรวัยใสในภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย, สายชล ปัญญชิต Dec 2565

พฤติกรรมการป้องกันปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของสามเณรวัยใสในภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย, สายชล ปัญญชิต

Journal of Demography

สถานการณ์ความรอบรู้ด้านปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพและรูปแบบการสร้างสุขภาวะโดยเฉพาะในประชากรวัยใสถือเป็นประเด็นสำคัญที่จะต้องทำความเข้าใจและส่งเสริมให้ประชากรวัยใสห่างไกลจากปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพทุกรูปแบบงานวิจัยนี้ได้มุ่งไปยังประชากรวัยใสที่บวชเป็นสามเณรโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความรอบรู้ ด้านปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพและรูปแบบการสร้างสุขภาวะวิถีพุทธของสามเณรในสังคมไทย 2) วิเคราะห์ปัจจัยทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสร้างสุขภาวะวิถีพุทธของสามเณรในสังคมไทย และ 3) พัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อรูปแบบการสร้างสุขภาวะวิถีพุทธเพื่อลดโอกาสและความเสี่ยงต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพของสามเณรในสังคมไทย อาศัยการวิจัยแบบผสานวิธีด้วยการเก็บข้อมูลแบบผสมผสานจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสามเณรจำนวน 477 รูป ในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือของประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถาม และมีการสัมภาษณ์เชิงลึกในกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติและการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า สามเณรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการป้องกันปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพอยู่ในระดับมาก และมีรูปแบบการสร้างสุขภาวะวิถีพุทธที่สามเณรที่เป็นกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับที่เข้มแข็ง สำหรับปัจจัยทางสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการสร้างสุขภาวะวิถีพุทธของสามเณรในสังคมไทยมี 4 ปัจจัย ประกอบด้วย ความเข้าใจต่อปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพเกี่ยวกับบุหรี่ พฤติกรรมการป้องกัน ปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพทั้งจากการสูบบุหรี่การดื่มแอลกอฮอล์ และการเล่นการพนัน ในส่วนของข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อรูปแบบการสร้างสุขภาวะวิถีพุทธควรมีการยกระดับด้วยแนวคิดข่ายใยสุขภาวะใน 4 ระดับคือ ข่ายใยสุขภาวะระดับบุคคล ข่ายใยสุขภาวะระดับวัด ข่ายใยสุขภาวะระดับชุมชน และข่ายใยสุขภาวะระดับนโยบาย


The Determinants Of Thai Household Debt: A Macro-Level Study, Pakarat Jumpanoi, Wanakiti Wanasilp Dec 2565

The Determinants Of Thai Household Debt: A Macro-Level Study, Pakarat Jumpanoi, Wanakiti Wanasilp

Journal of Demography

During 2020-2021, COVID-19 precipitated a significant decline in Thai household income, causing the average household debt service ratio to rise above 30 per cent and household consumption to fall, followed by a slow economic recovery. Although the determinants of household debt in Thailand have already been studied, most research has focused on the micro-level.Therefore, this study aimed to evaluate the longterm link between Thai household debt and gross domestic product, unemployment rates, interest rates, and working-age population from Q1/2007 to Q1/2022. An Augmented Dickey-Fuller unit root test, an Autoregressive Distributed Lag Model bound test, and an Error Correction Model were …


ปัจจัยเชิงเหตุของพฤติกรรมการใช้เงินในกลุ่มนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีด้วยการวิเคราะห์ เส้นทางอิทธิพล, แวววรรณ ก้องไตรภพ, นักสิทธ์ ศักดาพัฒน์ Dec 2565

ปัจจัยเชิงเหตุของพฤติกรรมการใช้เงินในกลุ่มนักศึกษาไทยระดับปริญญาตรีด้วยการวิเคราะห์ เส้นทางอิทธิพล, แวววรรณ ก้องไตรภพ, นักสิทธ์ ศักดาพัฒน์

Journal of Demography

การวิจัยความสัมพันธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของจิตลักษณะเดิมสถานการณ์ และจิตลักษณะตามสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมการใช้เงิน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 807 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ใช้เครื่องมือวัดแบบมาตรประเมินรวมค่าตัวแปร จำนวน 13 ชุด แบบวัดทุกชุดผ่านการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิเคราะห์เส้นทางอิทธิพลด้ วยแบบจำลองความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้น พบว่า สถานการณ์มีอิทธิพลทางตรงไปยังพฤติกรรมการใช้เงิน (R2 = 0.609) และจิตลักษณะเดิมกับสถานการณ์มีอิทธิพลทางอ้อมไปยังพฤติกรรมการใช้ เงิน โดยผ่านจิตลักษณะตามสถานการณ์ (R2 = 0.819) จึงกล่าวได้ว่า จิตลักษณะตามสถานการณ์เป็นตัวแปรเชื่อมที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการใช้เงินของนักศึกษา ผลการวิจัยนี้ได้ชี้แนวทางการวิจัยที่สำคัญและแนวทางในการเสริมสร้างพฤติกรรมการใช้เงินของนักศึกษา


หนี้สินครัวเรือนเกษตรของประเทศไทย: ความท้าทายต่อเนื่อง, พลากร ดวงเกตุ May 2565

หนี้สินครัวเรือนเกษตรของประเทศไทย: ความท้าทายต่อเนื่อง, พลากร ดวงเกตุ

Journal of Demography

หนี้สินครัวเรือนเกษตรของประเทศไทยเป็นความท้าทายมาอย่างยาวนาน แต่ ณ ปัจจุบัน สัดส่วนของครัวเรือนภาคเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงซึ่งอาจทำให้บริบทเปลี่ยนแปลงไป บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อหนี้สินครัวเรือนเกษตรของประเทศไทยโดยการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิจากการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2564ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ผลการศึกษาพบว่า ครัวเรือนเกษตรมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงกว่าครัวเรือนทั้งสิ้น 1.01 เท่า เมื่อพิจารณาในส่วนของครัวเรือนเกษตรที่มีหนี้สินพบว่าครัวเรือนส่วนใหญ่อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและครัวเรือนมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนสูงกว่าครัวเรือนทั่วประเทศโดยเฉลี่ยมากถึง 1.54เท่า โดยมีหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนเท่ากับ 316,166.12 บาท ซึ่งเป็นหนี้สินในระบบเท่ากับ 309,071.78 บาท และหนี้สินนอกระบบเท่ากับ 7,094.33 บาท การวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกเชิงพหุขั้นตอนแบบทวิภาค (Stepwise multiple binary logistic regression analysis) พบว่าตัวแปรอิสระทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายการแปรผันของหนี้สินของครัวเรือนเกษตรประเทศไทยได้ร้อยละ 21.50โดยตัวแปรภาคที่อยู่อาศัยเป็นตัวแปรแรกที่เข้าสู่สมการการวิเคราะห์ ซึ่งสามารถอธิบายการแปรผันของหนี้สินของครัวเรือนเกษตรประเทศไทยได้ประมาณร้อยละ 7.40 โดยครัวเรือนเกษตรที่อาศัยอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีโอกาสเป็นหนี้สูงกว่าครัวเรือนเกษตรในภาคกลาง สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นว่าความแตกต่างของภาคที่อยู่อาศัย นอกจากจะสามารถบอกถึงลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ความเชื่อ ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม และยังสามารถแสดงถึงสถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคมที่มีอิทธิพลต่อลักษณะการเกิดหนี้สินที่แตกต่างกันด้วย เนื่องจากภาคที่อยู่อาศัยมีปัจจัยสนับสนุนหลักสำหรับทำการเกษตรที่แตกต่างกัน เช่น แหล่งน้ำ คุณภาพของผลผลิตทางการเกษตร เป็นต้น ดังนั้นภาครัฐควรวางโครงสร้างพื้นฐานให้ครัวเรือนเกษตรสามารถเข้าถึงแหล่งทรัพยากรน้ำ การปรับปรุงคุณภาพพื้นดินแหล่งเงินทุน หรือแหล่งความรู้ต่าง ๆ อย่างทั่วถึงทุกครัวเรือน


แนวทางส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยม และหลักคุณธรรม สำหรับนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, ฐิตินันทน์ ผิวนิล May 2565

แนวทางส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยม และหลักคุณธรรม สำหรับนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, ฐิตินันทน์ ผิวนิล

Journal of Demography

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางส่งเสริมคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยม และหลักคุณธรรมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (mixed method)โดยเริ่มจากการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการเก็บข้อมูลแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างนักเรียน 1,052 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติเชิงพรรณนา จากนั้นจึงใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกนักเรียน 27 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ สำหรับประชากรและกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คือนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 9โรงเรียน ดำเนินการวิจัยช่วงเดือนกุมภาพันธ์ - กันยายน 2563 ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนให้ความสำคัญกับคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ค่านิยม 12 ประการและหลักคุณธรรม 5 ประการ ในระดับสูง แต่ยังพบว่านักเรียนยังให้ความสำคัญกับชุดคุณลักษณะ ค่านิยามและหลักคุณธรรมอื่น ๆ ด้วย พร้อมกับการมีข้อวิพากษ์ต่อหลักสูตรการเรียนการสอนคุณธรรมในโรงเรียนที่มีอยู่ ทั้งนี้แนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ค่านิยม และหลักคุณธรรมให้นักเรียนได้ประการคือ 1) การปรับปรุงหลักสูตรการเรียนรู้คุณธรรม 2) การสร้างมาตรฐานการปฏิบัติคุณธรรมในโรงเรียน 3) การสร้างอัตลักษณ์คุณลักษณะเฉพาะ 4) การส่งเสริมกิจกรรมการเรียนรู้ 5) การส่งเสริมบทบาทของครูอาจารย์ผู้สอน 6) การส่งเสริมบทบาทของนักเรียน 7) การเพิ่มบทบาทของผู้ปกครองและครอบครัว และ 8) การใช้ประโยชน์จากสื่อสังคมออนไลน์ผลการวิจัยนี้เสนอแนะให้หลักสูตรการเรียน ผู้เรียน ผู้สอน ผู้ปกครอง สถานศึกษา และสื่อสังคมออนไลน์ร่วมกันพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน โดยให้ความสำคัญกับหลักคุณธรรมสากลที่นักเรียนให้ความสนใจมากขึ้น


Work Values Across A Multigenerational Workforce In Thailand's Hospitality Industry, Jatupathra Krancharoen May 2565

Work Values Across A Multigenerational Workforce In Thailand's Hospitality Industry, Jatupathra Krancharoen

Journal of Demography

A wide range of age diversity in the workplace has been witnessed, yet the association between the various generational cohorts in a multigenerational workforce and their work values is little understood. As a result, many firms report that workplace conflicts are most likely due to the lack of generational understanding and appropriate HR policies. This study therefore aimed to: (1) examine the differences in work values across the generations of employees; (2) explore whether demographic factors and parenthood status are associated with employee work values; and (3) provide policy suggestions for human resource interventions that align with the work values …


Association Between Health Literacy And Oral Health Behaviour Among Informal Sector Workers: A Case Study From North- Eastern Thailand, Aungsumalee Pholpark, Charay Vichatha, Orawan Prasitsiriphon, Napaporn Wanitkun, Thirampha Luphomma May 2565

Association Between Health Literacy And Oral Health Behaviour Among Informal Sector Workers: A Case Study From North- Eastern Thailand, Aungsumalee Pholpark, Charay Vichatha, Orawan Prasitsiriphon, Napaporn Wanitkun, Thirampha Luphomma

Journal of Demography

Health literacy (HL) has been reported to be associated with health behaviour. However, evidence on HL and oral health behaviour is scarce. This cross-sectional pilot study aimed to compare HL across informal occupation groups and to examine the association between HL and oral health behaviour among informal sector workers in a district in Northeastern Thailand. The result of the study suggests that among 110 participants, general labourers had the lowest HL score compared with agricultural labourers and retailers. A regular dental visit was found to be associated with all eight HL domains: knowledge about service entitlements, resources that support health …


ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อประชากรต่างรุ่นในครอบครัวโดยมุมมองของประชากรชาวดิจิทัลไทย, ภัทรพรรณ ทำดี Dec 2564

ผลกระทบของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีต่อประชากรต่างรุ่นในครอบครัวโดยมุมมองของประชากรชาวดิจิทัลไทย, ภัทรพรรณ ทำดี

Journal of Demography

พัฒนาการทางเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสารในปัจจุบัน โดยเฉพาะสื่อสังคมออนไลน์ ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชากรต่างรุ่นในครอบครัวในรูปแบบที่แตกต่างกัน การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อฉายภาพจากมุมมองของประชากรชาวดิจิทัลที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของประชากรต่างรุ่นในครอบครัว โดยศึกษาจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกในกลุ่มประชากรดิจิทัล อายุระหว่าง 13-38 ปี จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงประชากรดิจิทัลในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นเมืองหลวงศูนย์กลางหรือเมืองมหานครจังหวัดเชียงใหม่ในฐานะเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค และจังหวัดนครพนมซึ่งเป็นเมืองรองของภูมิภาค ทั้งนี้ ประชากรชาวดิจิทัลมองว่า เมื่อพ่อแม่ได้มีประสบการณ์ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ถือเป็นโอกาสที่พ่อแม่จะได้เข้าใจพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีของตนเองมากขึ้น เมื่อจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ไปกับการทำงาน การสื่อสาร และความบันเทิง ในทางกลับกัน ประชำกรดิจิทัลเองได้มีความเข้าใจพ่อแม่มากขึ้นเมื่อต้องอยู่ในฐานะผู้เฝ้าดู หรือผู้ถูกละทิ้ง ในขณะที่พ่อแม่มีปฏิสัมพันธ์อยู่กับเทคโนโลยีด้วยเช่นกัน นอกจากนั้น ยังเป็นโอกาสให้ประชากรดิจิทัลได้เรียนรู้ตัวตนแบบใหม่ของพ่อแม่ในโลกออนไลน์ซึ่งมีการแสดงออกแตกต่างจากชีวิตจริง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงบทบาทของสื่อออนไลน์ในการสร้างความเป็นปึกแผ่นของประชากรต่างรุ่นในครอบครัว อย่างไรก็ตาม ประชากรดิจิทัลต่างมีความวิตกกังวลต่อพฤติกรรมการรับรู้ข่าวสารและความรู้เท่าทันการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของพ่อแม่เนื่องจากการแพร่กระจายข้อมูลข่าวปลอม และการล่อลวงโดยเฉพาะสิ่งที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพ ทั้งนี้ การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการรู้เท่าทันสื่อดิจิทัลจึงไม่ควรมุ่งเป้าที่ประชำกรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะต่างส่งผลต่อพฤติกรรมของประชากรต่างรุ่นในครอบครัวในรูปแบบที่แตกต่างกัน


การออกแบบและการรับรู้ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ ที่มีต่อฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงที่จำหน่ายในประเทศไทย, เหมือนฝัน คงสมแสวง, บวรสรรค์ เจี่ยดำรง Dec 2564

การออกแบบและการรับรู้ของสตรีวัยเจริญพันธุ์ ที่มีต่อฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงที่จำหน่ายในประเทศไทย, เหมือนฝัน คงสมแสวง, บวรสรรค์ เจี่ยดำรง

Journal of Demography

งานวิจัยชิ้นนี้ใช้การวิจัยแบบผสานวิธี สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์บรรจุภัณฑ์นมผง ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการสำรวจข้อมูลจำกกลุ่มตัวอย่าง 550ชุด ทั่วประเทศไทย ใช้สถิติพรรณนา ในการวิเคราะห์ความถี่ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติไคสแควร์ทดสอบสมมติฐานทางสถิติ ผลการวิเคราะห์พบว่าการออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงเป็นจุดเริ่มต้นที่จะนำไปสู่การโฆษณานมผงสำหรับ ทารกทางอ้อมผ่านการโฆษณานมผงสำหรับเด็กเล็ก โดยมี 3 ประเด็นสำคัญ คือ การออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงที่ สัมพันธ์กับการแบ่งส่วนตลาด การออกแบบฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงที่แตกต่างกันเพียงเล็กน้อยและไม่ชัดเจน รวมทั้งการ นำเสนอสารอาหารชวนเชื่อ เพื่อการสร้างมูลค่านมผงบนฉลากบรรจุภัณฑ์ มากไปกว่านั้น ผลการสำรวจยังสำทับว่า สตรีวัยเจริญพันธุ์เห็นว่า ฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กเล็กกับนมผงสำหรับทารกมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อย และไม่ชัดเจน จึงเข้าข่ายละเมิดมาตรา 15 ที่กำหนดให้ฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับทารกกับนมผงสำหรับเด็กเล็กต้อง แตกต่างอย่างชัดเจนและแยกแยะได้โดยง่าย ผลสำรวจการเปิดรับสื่อโฆษณานมผงทางโทรทัศน์ สตรีวัยเจริญพันธุ์เกือบครึ่งเข้าใจว่านมผงที่เคยพบเห็นใน สื่อโฆษณาทางโทรทัศน์มีทั้งนมผงสำหรับเด็กเล็ก (สูตร 3) และนมผงสำหรับทำรก (สูตร 1) สะท้อนให้เห็นว่า สตรี วัยเจริญพันธุ์ไม่สามารถแยกแยะฉลากบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กเล็กออกจากนมผงสำหรับทารกได้โดยง่าย โดยนัยนี้ การโฆษณานมผงสำหรับเด็กเล็กทางโทรทัศน์มีแนวโน้มที่จะเป็นการโฆษณานมผงสำหรับทารกทางอ้อม นอกจากนี้ การเปิดรับสื่อโฆษณาและกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดนมผงมีความสัมพันธ์กับการจำตราสินค้า สัญลักษณ์พิเศษ และสารอาหารที่เป็นจุดขาย รวมไปถึงแนวโน้มที่จะใช้นมผงเลี้ยงบุตรอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้น แม้จะมีกฎหมายบังคับใช้ แต่ยังพบการละเมิดอย่างชัดเจน จึงควรมีการพัฒนาการเกณฑ์สำหรับประเมิน ความแตกต่างของบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับทำรกและบรรจุภัณฑ์นมผงสำหรับเด็กเล็กอย่างชัดเจน


ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นต่อบรรยากาศการทำงานจากแนวปฏิบัติการเว้นระยะห่างทางกายภาพในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9, ณัฏฐ์พัชร์ กาญจนรัตน์, ชฎาธาร โอษธีศ Dec 2564

ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นต่อบรรยากาศการทำงานจากแนวปฏิบัติการเว้นระยะห่างทางกายภาพในช่วงโควิด-19: กรณีศึกษาสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9, ณัฏฐ์พัชร์ กาญจนรัตน์, ชฎาธาร โอษธีศ

Journal of Demography

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษำระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้ปฏิบัติงานต่อบรรยากาศในการทำงานจากแนวปฎิบัติการเว้นระยะห่างทางกายภาพในช่วงโควิด-19 และศึกษาปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นในช่วงเวลาดังกล่าว แนวปฎิบัติการเว้นระยะห่างทางกายภาพประกอบด้วยมาตรการที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม กล่าวคือ การปรับปรุงพื้นที่ทางกายภาพ มำตรการด้านอาชีวอนามัย การเผยแพร่ความรู้ การฝึกอบรม และการสนับสนุนจากหัวหน้างาน ซึ่งผู้วิจัยศึกษากลุ่มประชากรที่เป็นผู้ปฏิบัติงานของสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่ 9 จำนวน 98 คน และ 85 คน ในช่วงเวลาก่อนและหลังการปรับพื้นที่ จากจำนวนทั้งหมด 133 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถามและการลงพื้นที่สัมภาษณ์เบื้องต้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลจากการวิจัยพบว่าการใช้แนวปฎิบัติฯ โดยการปรับพื้นที่ทำงานและการใช้มาตรการด้านอาชีวอนามัยส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานมีระดับความพึงพอใจและความเชื่อมั่นต่อบรรยากาศในการทำงานที่เพิ่มสูงขึ้น การวิเคราะห์ปัจจัยด้านประชำกรศำสตร์ 5 ตัวแปร คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนผู้อยู่อาศัยในครัวเรือน และตำแหน่งงาน พบว่าตัวแปรตำแหน่งงานส่งผลต่อระดับความพึงพอใจอย่างมีนัยยะสำคัญทางสถิติ โดยผู้ปฏิบัติงานซึ่งต้องพบปะและให้บริการกับประชาชนพึงพอใจสูงขึ้นในส่วนของการได้รับความรู้ที่ถูกต้อง ในอีกทางหนึ่ง ตัวแปรอายุและตำแหน่งงานส่งผลต่อระดับความเชื่อมั่น โดยผู้ปฏิบัติงานที่สูงอายุกว่าจะมีระดับความเชื่อมั่นที่ต่ำกว่า เนื่องด้วยรู้สึกเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 มากกว่าในขณะที่ต้องให้บริการต่อประชำชน อีกทั้งยังระบุความต้องการที่จะได้รับการอบรม ฝึกทักษะเพิ่มเติมเพื่อสามารถนำแนวทางไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง


ความ(ไม่)มั่นคงในงานของลูกจ้างชั่วคราวในภาคราชการไทย, ฐิตินันทน์ ผิวนิล, ชลธิชา อัศวนิรันดร May 2564

ความ(ไม่)มั่นคงในงานของลูกจ้างชั่วคราวในภาคราชการไทย, ฐิตินันทน์ ผิวนิล, ชลธิชา อัศวนิรันดร

Journal of Demography

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความไม่มั่นคงในงานของลูกจ้างชั่วคราวในภาคราชการ การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนาข้อมูลทุติยภูมิจากการส ารวจลูกจ้างชั่วคราวในภาคราชการ ในปี พ.ศ. 2561 และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการวิจัยทางสังคมแบบดิจิทัล (Digital social research) ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ข้อความออนไลน์ (Online text analysis) ใน 30 กระทู้สนทนาช่วงปี พ.ศ. 2561-2564 จากเว็บไซต์พันทิป (www.Pantip.com)โดยการวิเคราะห์เนื้อหาสำคัญ ผลการวิจัยเชิงปริมาณพบว่า ลูกจ้างชั่วคราวในภาคราชการมีความไม่มั่นคงในงาน โดยกลุ่มตัวอย่างกว่าร้อยละ 70 มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือน ร้อยละ 55.6ระบุว่ารายได้ที่ตนเองได้รับนั้นไม่เพียงพอต่อการใช้ชีวิต ลูกจ้างชั่วคราวต่ำกว่าร้อยละ 20 เท่านั้นที่ได้รับสวัสดิการ เช่น ค่าเลี้ยงดูบุตร ค่าเลี้ยงดูบิดา มารดา การเบิกจ่ายรักษาพยาบาล รวมถึงการประกันกลุ่ม ส่วนผลการวิจัยเชิงคุณภาพสามารถสรุปภาพความไม่มั่นคงในงานได้ 5 ประเด็นคือ 1) ความเหลื่อมล้ำในโครงสร้างชนชั้นระบบราชการ 2) ความไม่มั่นคงในตำแหน่งและสัญญาจ้างงาน 3) ความไม่มั่นคงในค่าตอบแทนและสวัสดิการ 4) ความเสี่ยงถูกเลิกจ้างและไม่มีค่าชดเชย และ 5) ความไม่ก้าวหน้าของค่าตอบแทน ผลการวิจัยนี้สนับสนุนให้มีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของกลุ่มลูกจ้างชั่วคราวในภาคราชการให้เท่าเทียมกับการจ้างงานอื่น ๆ ในภาคราชการ ทั้งในด้านค่าตอบแทนและสวัสดิการ การสร้างความมั่นคงในการจ้างงานระยะยาว และการสร้างความก้าวหน้าในอาชีพอย่างเป็นระบบต่อไป


Thailand Institution Factors Influencing Middle-Income Earning Generation Y'S Fertility Intentions, Satayu Pattarakijkusol, Anchana Naranong May 2564

Thailand Institution Factors Influencing Middle-Income Earning Generation Y'S Fertility Intentions, Satayu Pattarakijkusol, Anchana Naranong

Journal of Demography

Thailand's fertility rate has been declining from 5.6 children per women in 1970 to 1.5 children per women in 2016. With such a decline in the nation' fertility, Thailand will become an aged society in less than a decade. The aim is to understand the factors influencing people's fertility intentions which will lead to an improved formation of the country's official fertility policy. Theaim is toinvestigate the relationships between institutional factors and fertility intentions within the group of middle-income earning women from Generation Y who plan to have a child or children. The theory of institution was adopted for the …


ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของครัวเรือนไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล, สุนัยญา แดงเหม, นริศรา เจริญพันธุ์ May 2564

ปัจจัยที่มีผลต่อการออมของครัวเรือนไทยในยุคเศรษฐกิจดิจิทัล, สุนัยญา แดงเหม, นริศรา เจริญพันธุ์

Journal of Demography

เงินออมเป็นสิ่งที่ สำคัญ สำหรับสังคมผู้สูงอายุ หากผู้สูงอายุและครัวเรือนมีเงินออมไม่เพียงพอย่อมส่งผลต่อคุณภาพชีวิต โดยเฉพาะเมื่อมีการเปลี่ยนผ่านเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัลควบคู่ไปกับสังคมผู้สูงอายุ การศึกษาด้านนี้ในบริบทประเทศไทยที่กำลังเปลี่ยนผ่านยังมีไม่มากนัก การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการออมและพฤติกรรมการออม ของครัวเรือนไทยโดยใช้ข้อมูลการ สำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2559 ของ สำนักงานสถิติแห่งชาติมาวิเคราะห์โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณประมาณการด้วยวิธีก าลังสองน้อยที่สุดร่วมกับการประมาณค่าคลาดเคลื่อนมาตรฐานที่มีความแกร่งของฮูเบอร์ไวท์ ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยภูมิภาคมีผลต่อการออมของครัวเรือน ซึ่งครัวเรือนในกรุงเทพมหานคร มีการออมสะสมของครัวเรือนมากที่สุดและครัวเรือนในภาคใต้มีการออมสะสมของครัวเรือนน้อยที่สุด ปัจจัยอายุของหัวหน้าครัวเรือน รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ค่าใช้จ่ายดิจิทัล การทำบัญชีรายรับรายจ่ายและการคิดวางแผนการออมไว้ สำหรับยามชรามีผลต่อการออมสะสมของครัวเรือนในทิศทางบวก แต่ปัจจัยการชำระหนี้เฉลี่ยต่อเดือนและจำนวนสมาชิกในครัวเรือนส่งผลต่อการออมสะสมของครัวเรือนในทิศทางลบ ครัวเรือนที่มีความคิดในการจัดสรรเงินออมโดยแบ่งส่วนของเงินออมไว้ก่อนที่จะนำไปจับจ่ายใช้สอยจะมีการออมสะสมของครัวเรือนมากกว่าครัวเรือนที่นำเงินที่ได้ไปจับจ่ายใช้สอยก่อนถ้ามีเงินเหลือจึงจะเก็บออมอย่างมีนัยสำคัญดังนั้นรัฐบาลควรส่งเสริมให้ประชาชนมีการตระหนักในการวางแผนทางการเงินโดยปรับการจัดสรรเงินด้วยการออมก่อนจ่ายควบคู่ไปกับการทำบัญชีรายรับรายจ่ายตลอดช่วงชีวิต โดยใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัลที่เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัย


ประเภทความพิการและการเข้าถึงข้อมูลด้านสวัสดิการและบริการจากรัฐของสตรีพิการไทย, ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว Dec 2563

ประเภทความพิการและการเข้าถึงข้อมูลด้านสวัสดิการและบริการจากรัฐของสตรีพิการไทย, ทอแสงรัศมี ถีถะแก้ว

Journal of Demography

The purpose of this study was to study factors that are related to informative assessment of the benefits provided to people with special needs. A mixed method research design was employed using both quantitative research and qualitative research with in-depth interviews in the conduct of the study. The sample group comprised 2,283 women with disabilities. The results were presented using descriptive statistics and logistic regression analysis. The study found that main variables in accessing information of government welfare and services includes types of disability, and household characteristics. Women whose disabilities were visual and hearing impairments were found to have fewer …


คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครรังสิต ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี, ศรีเมือง พลังฤทธิ์, นติมา ติเยาว์, วดี วงศ์ประดิษฐ์ Dec 2563

คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ในเขตเทศบาลนครรังสิต ตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี, ศรีเมือง พลังฤทธิ์, นติมา ติเยาว์, วดี วงศ์ประดิษฐ์

Journal of Demography

Thailand has become an aging society. Therefore, it is necessary to acquire basic health information about senior citizens. The objective of this study was to analyze the quality of life and health needs of older persons. This study was conducted using a cross-sectional study design. As for the methods used, multi-stage random sampling was used to calculate the sample size and interviews. A total of 847 older persons were interviewed, most of whom (66.9%) were females at an average age of 69.3 years (standard deviation =7.1 years); almost half of them (46.4%) were married and 71 percent were unemployed, although …


ความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรม/ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร, จิราพร เกศพิชญวัฒนา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช, ชาตินัย หวานวาจา Dec 2563

ความรอบรู้ทางสุขภาพของผู้สูงอายุในชมรม/ศูนย์เรียนรู้ผู้สูงอายุ ในเขตกรุงเทพมหานคร, จิราพร เกศพิชญวัฒนา, สุวิณี วิวัฒน์วานิช, ชาตินัย หวานวาจา

Journal of Demography

A descriptive correlation design was employed in a cross-sectional study aimed at assessing the level of health literacy of older persons participating in senior clubs/ learning centers in Bangkok Metropolitan Region. The sample population comprised 400 elderly persons recruited by stratified random sampling from seven elderly clubs/learning centers. Data analysis was carried out by using descriptive statistics and multiple regression. The results showed that: (a) the health literacy level of the majority (69.3% ) of the older persons who participated in elderly clubs/learning centers was at a fair level but needed to be improved (17.8%) and only 13 percent were …


วิกฤตวัยกลางคนของวัยแรงงานก่อนเกษียณ: การปรับตัวของลูกจ้างภาคเอกชนอายุ 45 ปีขึ้นไป ที่ออกไปสู่การทำงานภาคนอกระบบ, มนทกานต์ ฉิมมามี, สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล, ธนานนท์ บัวทอง, อนรรฆ พิทักษ์ธานิน, ณัฐช์นิชา ตั้งวีรัตน์กร Dec 2563

วิกฤตวัยกลางคนของวัยแรงงานก่อนเกษียณ: การปรับตัวของลูกจ้างภาคเอกชนอายุ 45 ปีขึ้นไป ที่ออกไปสู่การทำงานภาคนอกระบบ, มนทกานต์ ฉิมมามี, สุรางค์รัตน์ จำเนียรพล, ธนานนท์ บัวทอง, อนรรฆ พิทักษ์ธานิน, ณัฐช์นิชา ตั้งวีรัตน์กร

Journal of Demography

This study attempted to fill a knowledge gap regarding experiences and perspectives of pre-elderly employees in a formal private- sector who underwent the work transition from a formal sector to an informal sector. A case study research method was conducted with 3 0 in- depth interviews of formal private-sector employees who have shifted to work in the informal sector after 45 years of age. The results can be divided into 3 main parts: Firstly, with regard to a change from a formal to an informal sector, home- based workers, domestic workers and agricultural workers are the most vulnerable groups that …


การพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดเลย, ภัทรธิรา ผลงาม, ฐานชน จันทร์เรือง, ชัยรันต์ สุทน May 2563

การพัฒนากิจกรรมการส่งเสริมสุขภาวะทางจิตผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดเลย, ภัทรธิรา ผลงาม, ฐานชน จันทร์เรือง, ชัยรันต์ สุทน

Journal of Demography

The objectives of this research were:(a)to study the current situation of mental health promotion for the aging population of Loei Province, (b)to develop activities to promote the mental health of that population using the public participation approach, and (c) to assess the mental health condition of the aging population in that province after the elderly peoples'participation in the proposed health promotion activities. The methodology of participatory action research (PAR) used in the study comprised focus group discussions, a group brainstorming meeting, in-depth interviews and participatory observation. The target group included aging persons in the community who were capable of good …


ขนาดประชากรที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย, ศุทธิดา ชวนวัน, ปราโมทย์ ประสาทกุล May 2563

ขนาดประชากรที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทย, ศุทธิดา ชวนวัน, ปราโมทย์ ประสาทกุล

Journal of Demography

No abstract provided.


เด็กเก่ง: ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนไทย, ณัฏฐ์ ภูริพัฒน์สิริ May 2563

เด็กเก่ง: ความสามารถด้านการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนไทย, ณัฏฐ์ ภูริพัฒน์สิริ

Journal of Demography

No abstract provided.


ความเหลื่อมล้ำทางด้านชีวิตดิจิทัลในประเทศไทย, ฐิติมา ปานศรี, เทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ Dec 2562

ความเหลื่อมล้ำทางด้านชีวิตดิจิทัลในประเทศไทย, ฐิติมา ปานศรี, เทอดศักดิ์ ชมโต๊ะสุวรรณ

Journal of Demography

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาดัชนีชีวิตดิจิทัลและความเหลื่อมล้าทางด้านชีวิตดิจิทัลของประชากรในประเทศไทย โดยใช้ข้อมูลการสารวจการมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในครัวเรือนช่วงปี พ.ศ. 2556 - 2560 ของสานักงานสถิติแห่งชาติ ซึ่งคานวณจากความแตกต่างของพฤติกรรมการดาเนินชีวิตดิจิทัลของแต่ละปัจเจกบุคคลใน 3 ด้านหลัก ประกอบด้วย รูปแบบพฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ต รูปแบบพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ และรูปแบบพฤติกรรมการสื่อสารแบบเวลาจริง จากนั้นมาคานวณหาค่าดัชนีจีนีแบบถ่วงน้าหนัก เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ความเหลื่อมล้าทางด้านชีวิตดิจิทัลในประเทศไทย ผลการวิจัยพบว่า ดัชนีชีวิตดิจิทัลของประชากรไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยดัชนีการใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ต และดัชนีการสื่อสารแบบเวลาจริงมีดัชนีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่ดัชนีคอมพิวเตอร์มีการใช้งานลดลงอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยมิติเมืองและชนบท คนในเมืองมีความเป็นชีวิตดิจิทัลมากกว่าคนชนบท ซึ่งในมิติภูมิภาคคนกรุงเทพมหานครมีความเป็นดิจิทัลสูงที่สุด ในขณะที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคเหนือมีชีวิตดิจิทัลใกล้เคียงกัน ทั้งนี้มิติจังหวัด คนกรุงเทพฯ ยังครองความเป็นชีวิตดิจิทัลอันดับ 1 ทั้ง 5 ปี ในขณะที่ปีล่าสุด พ.ศ. 2560 คนสกลนครมีชีวิตดิจิทัลน้อยที่สุดในประเทศ ด้านปัญหาความเหลื่อมล้าทางด้านชีวิตดิจิทัลของประชากรไทยยังคงมีกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ แต่แนวโน้มมีทิศทางที่ดีขึ้นโดยความเหลื่อมล้าลดลงทุกปีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 - 2560 ในทุกมิติ โดยมิติปัจเจกบุคคลปี พ.ศ. 2556 ค่าดัชนีจีนีลดลงจาก 50.63 เหลือ 42.46 ใน พ.ศ. 2560 ด้านมิติเมืองมีความเหลื่อมล้าน้อยกว่าชนบททุกปีเช่นกัน อย่างไรก็ตามมิติภูมิภาค กรุงเทพมหานครมีความเหลื่อมล้าน้อยกว่าภูมิภาคอื่น โดยที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่มีความเหลื่อมล้ามากที่สุด และมิติจังหวัด แม่ฮ่องสอนมีความเหลื่อมล้ามากที่สุดอย่างต่อเนื่องในรอบ 5 ปี ทั้งนี้กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดที่มีค่าความเหลื่อมล้าน้อยที่สุดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 - 2559 แต่ปีล่าสุด พ.ศ. 2560 จังหวัดภูเก็ตกลับเป็นจังหวัดที่มีค่าความเหลื่อมล้าน้อยที่สุดในประเทศ และกรุงเทพฯ ตกลงเป็นอันดับ ที่สองแทน


สุขภาวะของคู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ในตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย, จันจิรา วิชัย, จีรนันต์ ไชยงาม นอกซ์ Dec 2562

สุขภาวะของคู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ในตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย, จันจิรา วิชัย, จีรนันต์ ไชยงาม นอกซ์

Journal of Demography

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการวิจัย เรื่อง "สุขภาวะของคู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ในตำบลนางแล อาเภอเมือง จังหวัดเชียงราย" ซึ่งเป็นการบูรณาการร่วมของการทำวิจัยกับการบริการวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาวะ คุณภาพชีวิตสมรส และความสัมพันธ์ระหว่างสุขภาวะกับคุณภาพชีวิตสมรส ของคู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์คู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ การศึกษาภาคสนาม และการค้นคว้าจากเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson ' s Correlation Coefficient) ผลการศึกษา พบว่า คู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ จานวน 95 คน เป็นเพศชาย 41 คน เพศหญิง 54 คน อายุระหว่าง 60 - 91 ปี เป็นชาวอาข่า 3 คน ลาหู่ 4 คน และไทยวน 88 คน มีสุขภาวะดังนี้ 1) สุขภาวะทางกาย พบว่า คู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์เกือบทุกคนสามารถพึ่งพาตนเองได้ 2) สุขภาวะทางจิต พบว่า คู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ไม่มีภาวะซึมเศร้า 3) สุขภาวะทางสังคม พบว่า คู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์มีสัมพันธภาพในครอบครัวอยู่ในระดับมาก จานวน 41 คน คิดเป็นร้อยละ 43 4) สุขภาวะทางจิตวิญญาณ พบว่า คู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีสุขภาพจิตวิญญาณระดับดี จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 12 ผลการศึกษาคุณภาพชีวิตสมรสของคู่สมรสสูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์ พบว่า ในภาพรวมผู้สูงอายุกลุ่มชาติพันธุ์มีคุณภาพชีวิตสมรสในระดับสูง จำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 16 เมื่อพิจารณาในแต่ละด้าน พบว่า ด้านการชื่นชมคุณค่าคู่สมรส ระดับสูง จำนวน 28 คน คิดเป็นร้อยละ 30 รองลงมาคือ การติดต่อสื่อสารระหว่างกัน การเต็มใจร่วมทุกข์ร่วมสุขกันในครอบครัว การมีเวลาอยู่ร่วมกัน การใช้สมรรถนะจัดการกับวิกฤตการณ์ในครอบครัว และการมีศรัทธาต่อศาสนา ตามลำดับ …


แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม: กรณีศึกษาผู้ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร, อิสรา สงวนพงศ์, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร Dec 2562

แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม: กรณีศึกษาผู้ขับรถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร, อิสรา สงวนพงศ์, อุบลวรรณ หงษ์วิทยากร

Journal of Demography

คุณภาพชีวิตของผู้ขับรถแท็กซี่มีผลต่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการและผู้ใช้รถใช้ถนน การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัจจัยทางสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ขับรถแท็กซี่ วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ทางสังคมในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้ขับรถแท็กซี่ และนาเสนอแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาปรากฏการณ์ทางสังคมตามมาตรฐานจริยธรรมด้วยวิธีวิจัยเอกสาร สัมภาษณ์กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ จานวน 12 คน สังเกตและสัมภาษณ์รายบุคคล จานวน 30 คน และสนทนากลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ จานวน 6 คน รวมทั้งสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จานวน 5 คน โดยการเลือกแบบเจาะจงและใช้เทคนิคการอ้างอิงต่อเนื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาบนฐานคิดทฤษฎีการก่อตัวของโครงสร้างความสัมพันธ์ทางสังคมของกิดเดนส์ (1984) และการเรียนรู้ทางสังคมของแบนดูรา (1971) พบว่า 1) สภาพและปัจจัยทางสังคมจากโครงสร้างทางสังคมเชิงนโยบายสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขทาให้ผู้ขับรถแท็กซี่ได้รับความคุ้มครองอย่างเป็นรูปธรรม สภาพเศรษฐกิจที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายทาให้ผู้ขับรถแท็กซี่ต้องเพิ่มชั่วโมงทางาน และการออกแบบเทคโนโลยีที่ใช้งานง่ายและมีค่าใช้จ่ายถูกลงทาให้ผู้ขับรถแท็กซี่ได้รับข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น 2) ผู้ขับรถแท็กซี่เรียนรู้ทางสังคมในการเข้าถึงสิทธิจากภาครัฐและการรับรู้ข้อมูลข่าวสารในกลุ่มอาชีพโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ และ 3) แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตโดยใช้กระบวนการเรียนรู้ทางสังคม ประกอบด้วย การส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในพื้นที่จริงและพื้นที่เสมือนพร้อมทั้งการสร้างเครือข่ายโดยใช้โซเชียลแอพพลิเคชั่นเป็นกลไกสาคัญ ผู้ขับรถแท็กซี่จึงมีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสังคมจากการพัฒนาตนเองและการแบ่งปันข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน


พลวัตประชากรของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2557-2559, มงคล ธงชัยธนาวุฒิ, กาญจนา ตั้งชลทิพย์ Dec 2562

พลวัตประชากรของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล พ.ศ. 2557-2559, มงคล ธงชัยธนาวุฒิ, กาญจนา ตั้งชลทิพย์

Journal of Demography

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแนวโน้มการเติบโตทางประชากรของกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (BMR) ในช่วง พ.ศ. 2557-2559 และผลกระทบจากการย้ายถิ่นต่อการเติบโตทางประชากร และ 2) ศึกษาผลของการเดินทางแบบไปกลับในช่วง พ.ศ. 2557-2559 ต่อจานวนประชากรภายใน BMR การศึกษานี้ใช้แนวคิดจากแบบจาลองพัฒนาการของเมือง และใช้ข้อมูลทุติยภูมิจาก 3 แหล่งข้อมูล ได้แก่ 1) การสารวจการย้ายถิ่นของประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2557-2559 2) ข้อมูลประเภท Raster ตารางกริดประชากร ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2553 และ 2558 และ 3) ข้อมูลประเภท Vector ขอบเขตการปกครองระดับอาเภอ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า BMR ยังคงอยู่ช่วงการกลายเป็นชานเมือง (Suburbanization) โดยปริมณฑลมีอัตราเพิ่มประชากรสูงกว่ากรุงเทพมหานคร จึงทาให้จานวนประชากรใน BMR ยังคงเพิ่มสูงอยู่ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากอัตราย้ายถิ่นสุทธิของปริมณฑลที่มากกว่ากรุงเทพมหานคร การขยายตัวของชานเมืองนี้เกิดขึ้นมากทางฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานครในจังหวัดนนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ ถึงแม้ประชากรของในปริมณฑลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากอัตราเพิ่มประชากรที่สูงกว่ากรุงเทพมหานคร แต่ประชากรในปริมณฑลยังคงเดินทางไปเรียนและทางานแบบไปเช้าเย็นกลับสู่กรุงเทพมหานคร จึงเป็นปัจจัยที่ทาให้ประชากรกรุงเทพมหานครเพิ่มสูงขึ้นในช่วงกลางวัน ในขณะที่เขตปริมณฑลมีจานวนประชากรลดลง อย่างไรก็ตามช่วงปีล่าสุดของการศึกษาแสดงให้เห็นว่าอัตราเพิ่มประชากรของพื้นที่ทั้งสองได้เริ่มลดต่าลงเล็กน้อย ซึ่งอาจเป็นสัญญาณของการเข้าสู่ช่วงต่อไป คือ ช่วงการถดถอยของการกลายเป็นเมือง


ทัศนคติของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน, ชเนตตี มิลินทางกูร May 2562

ทัศนคติของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน, ชเนตตี มิลินทางกูร

Journal of Demography

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อทัศนคติของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานในปัจจุบัน โดยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติด้วยสมการถดถอย (Regression Analysis) สองแบบจาลองคือ Linear Probability Model (LPM) และ Probit Model เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะทางประชากรกับทัศนคติการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน โดยการศึกษาปัจจัยทางประชากรด้านเพศ เขตที่พักอาศัย ภาค สถานภาพสมรส อายุ และการศึกษา ผลการศึกษา พบว่า ประชากรมากกว่าร้อยละ 80 ที่ไม่เห็นด้วยกับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงาน โดยปัจจัยทางประชากรที่มีส่วนสัมพันธ์กับทัศนคติของการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานที่พบคือ กลุ่มประชากรที่อยู่ในวัยแรงงาน และวัยรุ่นมีสัดส่วนที่เห็นด้วยต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานมากกว่ากลุ่มประชากรสูงอายุอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ เพศหญิงเห็นด้วยกับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานน้อยกว่าเพศชายร้อยละ 4 และคนโสดเห็นด้วยกับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการแต่งงานมากกว่าคนที่สมรสหรือเคยสมรสประมาณร้อยละ 8 ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนามาใช้เป็นแนวทางในการกาหนดนโยบายที่เหมาะสม โดยคานึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับด้านประชากรดังกล่าว


Migration, Remittances, And Child Growth: Evidence From Cambodia, Vatana Chea, Patcharawalai Wongboonsin May 2562

Migration, Remittances, And Child Growth: Evidence From Cambodia, Vatana Chea, Patcharawalai Wongboonsin

Journal of Demography

Remittances have become a main resource for development in low- and middle-income countries around the world. With impressive growth in remittances over the decades comes interest in their importance to development. Using data from the 2009 Cambodian Socio-Economic Survey with a sample of 2,767 children under 5 years of age, this study investigates the impact of migration and of remittances on children's quality of health, and tests whether or not the so-called permanent income hypothesis holds for remittances relative to other income. Also employed is two-stage least squares analysis to account for potential endogeneity problems. In short, it was found …


Membership In Saving Funds And Preparation For Healthy Retired Life: Evidence From Thailand, Supaporn Kumruangrit, Pataporn Sukontamarn May 2562

Membership In Saving Funds And Preparation For Healthy Retired Life: Evidence From Thailand, Supaporn Kumruangrit, Pataporn Sukontamarn

Journal of Demography

The focus of this study is the relationship between membership in savings funds and preparation for old age in the area of physical health among the Thai population aged 50-59 years. Data were taken from the 2011 Survey of Older Persons in Thailand. The sample size for the study was 18,866, and probit regression was employed for the analysis. In this study, it was discovered that the highest proportion of the sample (76%) did not have any savings. About 11 percent were members of mandatory savings funds alone, and another 11 percent were members of voluntary savings funds alone, while …


สุขภาพจิตของครูไทยจากการใช้เครือข่ายสังคมออน, ฐิตินันทน์ ผิวนิล May 2562

สุขภาพจิตของครูไทยจากการใช้เครือข่ายสังคมออน, ฐิตินันทน์ ผิวนิล

Journal of Demography

No abstract provided.


บทบาทครอบครัวและสื่อวิทยุต่อการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุ, สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์, อัจฉรา เอ๊นซ์, ปัทพร สุคนธมาน Dec 2561

บทบาทครอบครัวและสื่อวิทยุต่อการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารของผู้สูงอายุ, สุภาภรณ์ คำเรืองฤทธิ์, อัจฉรา เอ๊นซ์, ปัทพร สุคนธมาน

Journal of Demography

No abstract provided.