Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal

2018

อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่;การท่องเที่ยวแบบยั่งยืน

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

แนวทางในการพัฒนาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน, ณัฏฐ์นันท์ คำทอง, เพชรรัตน์ โล้วิชากรติกุล Jan 2018

แนวทางในการพัฒนาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน, ณัฏฐ์นันท์ คำทอง, เพชรรัตน์ โล้วิชากรติกุล

Environmental Journal

จากการศึกษาแนวทางในการพัฒนาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน มีวัตถุประสงค์ (1) ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคเพื่อให้ทราบถึงแนวทางการพัฒนาอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบยั่งยืน (2) เพื่อศึกษาถึงทัศนคติเกี่ยวกับการให้คุณค่าในพื้นที่และการเห็นความสำคัญต่อการอนุรักษ์ (3) เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนต่อทรัพยากรการท่องเที่ยว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ เจ้าหน้าที่ผู้ดูแลอุทยานฯ ที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้อง และผู้ให้ข้อมูลรอง คือ สถานประกอบการ และนักท่องเที่ยว จำนวนทั้งสิ้น 28 คน รวมถึงการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสรุปผล เพื่อหาแนวทางในการแก้ไข จากการศึกษาพบว่า (1) อุทยานฯ มีปัญหาที่ยังไม่สามารถแก้ไขได้คือ ปัญหาลักลอบตัดไม้พะยูง ปัญหาสัตว์ป่าอันเนื่องมาจากพฤติกรรมของมนุษย์ และพฤติกรรมของผู้ที่มาเยือนอุทยานฯ เขาใหญ่ (2) ด้านทัศนคติพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักเล็งเห็นความสำคัญต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ เนื่องจากต้องดูแลผืนป่าสงวนที่มีผลต่อความมั่นคงระดับชาติ สำหรับผู้ให้ข้อมูลรองจะให้ความสำคัญกับการอนุรักษ์ทรัพยากรในพื้นที่เพราะเป็นแหล่งอาศัยและใช้ทำมาหากินจึงก่อให้เกิดความหวงแหน สำหรับนักท่องเที่ยวมากกว่าครึ่งที่ได้สัมภาษณ์จะเล็งเห็นความสำคัญและคุณค่าของพื้นที่ (3) ด้านการให้ความสำคัญต่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนพบว่า ผู้ให้ข้อมูลหลักจะให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีหน้าที่ในการอนุรักษ์และปกป้องอุทยานฯ ในฐานะที่เป็นมรดกโลก สำหรับสถานประกอบการที่อยู่รอบอุทยานฯ จะให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเพราะจำเป็นต้องพึ่งพาอุทยานฯ ในการประกอบอาชีพ และสำหรับนักท่องเที่ยว จะให้ความสำคัญต่อการท่องเที่ยวแบบยั่งยืนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง