Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Physical Sciences and Mathematics Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chemistry

Chulalongkorn University

2020

Articles 1 - 30 of 74

Full-Text Articles in Physical Sciences and Mathematics

Fluorescence Sensors From Pyreno[4,5-D]Imidazole Derivatives, Nichapa Chanawungmuang Jan 2020

Fluorescence Sensors From Pyreno[4,5-D]Imidazole Derivatives, Nichapa Chanawungmuang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Herein, The five fluorescent probes (P1, P2, P3, P4 and P5) based on pyreno[4,5-d]imidazole were successfully prepared in two steps from pyrene in 26 – 40% overall yields. After that, all of the compounds were studied the photophysical properties and selectivity for sensing metal ions. The results showed compound P5 was not selective to metal ions while the others (P1, P2, P3 and P4) were selective to detection of trivalent metal ions such as Bi3+, Al3+, Cr3+ and Fe3+ in CH3CN. However, only compound P2 with 2-hydroxyl phenyl substituent on imidazole ring formed complexation reaction selectively towards bismuth (III) ions …


Synthesis Of Sulfonamide Chalcones As Α-Glucosidase Inhibitors, I Putu Sukanadi Jan 2020

Synthesis Of Sulfonamide Chalcones As Α-Glucosidase Inhibitors, I Putu Sukanadi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Diabetes mellitus occurs from deficiencies in insulin secretion or insulin resistance which leads over time to high risk for long-term macro-and microvascular complications. Diabetes mellitus type 2 contributes to more than 90% of all cases worldwide. One approach of treatment for this disorder is utilizing α-glucosidase inhibitors. Certain sulfonamides and chalcones are considered as viable candidates that are effective in reducing hyperglycemia. Forty-seven sulfonamide chalcones were synthesized by the Claisen-Schmidt reaction with various substituents on the A, B, and C-rings furnishing the desired products with 50-95 %yield. All compounds were-tested for α-glucosidase inhibitory activity. Twenty-nine compounds exhibited a very strong …


กระบวนการพัฒนาโปรแกรมตัวส่งระหว่างโมเดลเชิงวัตถุและเชิงสัมพันธ์ด้วยเทคนิคโลวโค้ดบนโอดู, โสภณวิชญ์ พิชิตเธียรธรรม Jan 2020

กระบวนการพัฒนาโปรแกรมตัวส่งระหว่างโมเดลเชิงวัตถุและเชิงสัมพันธ์ด้วยเทคนิคโลวโค้ดบนโอดู, โสภณวิชญ์ พิชิตเธียรธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้นำเสนอมอดูลเจนเนอเรเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับการเขียนโปรแกรมตัวส่งระหว่างโมเดลเชิงวัตถุและเชิงสัมพันธ์บนโอดู โอดูเป็นซอฟต์แวร์อีอาร์พีแบบเปิดเผยรหัสต้นฉบับที่รวบรวมมอดูลที่จำเป็นสำหรับการจัดการธุรกิจต่าง ๆ และผู้พัฒนาสามารถพัฒนามอดูลเพื่อขยายขีดความสามารถของโอดูได้ โดยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาการพัฒนาซอฟต์แวร์บนโอดู มักต้องใช้เวลาในการเรียนรู้เพราะมีความซับซ้อนของเฟรมเวิร์ก จึงมีการนำแนวทางการพัฒนาซอฟต์แวร์แบบโลวโค้ด (การเขียนโค้ดที่น้อยกว่าปกติ) มาใช้ในการพัฒนามอดูลเจนเนอเรเตอร์ขึ้น เพื่อให้เป็นเครื่องมือสำหรับออกแบบและสร้างรหัสต้นฉบับสำหรับมอดูล ทำให้ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์บนโอดูไม่ต้องกังวลเรื่องข้อผิดพลาดอันเนื่องมาจากความซับซ้อนของเฟรมเวิร์ก และให้ความสำคัญกับการเขียนโปรแกรมในด้านอื่น ๆ ได้มากขึ้น โดยเครื่องมือนี้ถูกพัฒนาด้วยภาษา ไพธอนให้เป็นเว็บแอปพลิเคชันทำงานบนเว็บเบราว์เซอร์ และได้มีการทดสอบการใช้งานกับทั้งผู้พัฒนามอดูลบนโอดู ผู้ใช้งานโอดูที่มีทักษะการเขียนโปรแกรม ผู้ที่ไม่เคยมีประสบการณ์กับโอดู และอาสาสมัครภายนอกบริษัท ซึ่งได้ผลลัพธ์ว่า ผู้ทดสอบทั้งหมดสามารถพัฒนามอดูลโดยใช้มอดูลเจนเนอเรเตอร์ได้สำเร็จ เครื่องมือนี้จึงสามารถช่วยให้ผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ในการพัฒนามอดูลบนโอดูสามารถพัฒนามอดูลขึ้นมาได้โดยใช้เวลาไม่นาน และเมื่อเปรียบเทียบเวลาที่ใช้ในการพัฒนามอดูลของกลุ่มผู้พัฒนามอดูลบนโอดู ระหว่างแบบปกติที่เขียนโค้ดด้วยตนเองกับการใช้ มอดูลเจนเนอเรเตอร์ พบว่าการใช้เครื่องมือนี้สามารถลดเวลาการพัฒนามอดูลโดยเฉลี่ยได้ถึง 20% อีกทั้งมอดูลเจนเนอเรเตอร์ยังนำไปใช้ได้จริงในโครงการการพัฒนาซอฟต์แวร์ของบริษัท


การวิเคราะห์การเกิดตำหนิในการผลิตกระจกโฟลต, คณุตม์ ไพบูลย์ Jan 2020

การวิเคราะห์การเกิดตำหนิในการผลิตกระจกโฟลต, คณุตม์ ไพบูลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดตำหนิและหาแนวทางปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณตำหนิชนิดฟองอากาศและรีม ด้วยการนำตัวแปรจากกระบวนการผลิตได้แก่ การชั่งน้ำหนักส่วนผสม อุณหภูมิในการหลอม อุณหภูมิในการขึ้นรูปและองค์ประกอบทางเคมีของกระจก มาหาความสัมพันธ์กับปริมาณตำหนิที่เกิดขึ้นด้วยการวิเคราะห์การถดถอย จากผลการวิเคราะห์ตำหนิฟองอากาศด้วยเทคนิคแมสสเปกโทรเมตรีและเทคนิครามานสเปคโทรสโคปีพบว่าฟองอากาศส่วนใหญ่พบแก๊ส CO2 เป็นองค์ประกอบอยู่ที่ 30 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งเกิดจากการสลายตัวทางความร้อนของวัตถุดิบและการไล่ฟองอากาศที่ไม่สมบูรณ์ และจากความสัมพันธ์ของปริมาณฟองอากาศและตัวแปรจากกระบวนการผลิตพบว่า อุณหภูมิการหลอมที่สูงขึ้น ปริมาณ fining agent ที่น้อยลง และกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ตำหนิชนิดฟองอากาศเพิ่มขึ้น จากการศึกษาตำหนิชนิดรีมโดยใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดร่วมกับการวัดการกระจายพลังงานของรังสีเอกซ์ในการวิเคราะห์องค์ประกอบธาตุของตำหนิชนิดรีมเทียบกับบริเวณโดยรอบโดยพบว่ารีมมีปริมาณธาตุ Si และ Na สูงกว่าบริเวณโดยรอบ ซึ่งเกิดจากการชั่งวัตถุดิบที่คลาดเคลื่อนไปจากสูตรการผลิต โดยเกิดจากวัตถุดิบติดค้างบริเวณกรวยรับวัตถุดิบ ส่งผลให้องค์ประกอบทางเคมีของส่วนผสมไม่สม่ำเสมอ ยิ่งความแตกต่างของน้ำหนักส่วนผสมจากสูตรการผลิตยิ่งมาก จะทำให้ปริมาณรีมเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งสามารถความผิดพลาดจากการชั่งนี้สามารถแก้ไขได้โดยติดตั้งค้อนลมเพื่อเคาะวัตถุดิบให้ลงไปในโม่ผสมวัตถุดิบครบถ้วนตามสูตรการผลิต


ผลของลำดับการผสมวัตถุดิบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการหลอมแก้ว, ปรีณาพรรณ ปิ่นหอม Jan 2020

ผลของลำดับการผสมวัตถุดิบต่อประสิทธิภาพการใช้พลังงานในการหลอมแก้ว, ปรีณาพรรณ ปิ่นหอม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โดยทั่วไปกระบวนการหลอมแก้วระดับอุตสาหกรรมต้องการพลังงานสูงสำหรับการเปลี่ยนแปลงจากวัตถุดิบเป็นน้ำแก้ว วัตถุประสงค์ในงานวิจัยนี้จะกล่าวถึงการพัฒนากระบวนการหลอมแก้วโซดาไลม์โดยวิธีปรับลำดับการผสมในระดับห้องปฏิบัติการ ซึ่งอาศัยกลไกของปฏิกิริยาสถานะของแข็งระหว่างทรายแก้วและโซเดียมคาร์บอเนตในช่วงแรกของการหลอม การเตรียมส่วนผสมแบบดั้งเดิมเป็นการผสมวัตถุดิบทั้งหมดภายในครั้งเดียว ในงานวิจัยนี้ต้องการปรับเปลี่ยนวิธีการเตรียมส่วนผสมให้เหมาะสมที่สุดต่อการหลอมโดยการปรับลำดับของการผสม ประกอบด้วยสองขั้นตอนการผสม ขั้นตอนแรกคือการผสมทรายแก้วและโซเดียมคาร์บอเนต จากนั้นจึงผสมวัตถุดิบที่เหลือเป็นขั้นตอนที่สอง เพื่อเปรียบเทียบและศึกษาผลของการเตรียมส่วนผสมทั้งสองวิธี ได้ทำการศึกษาสภาพและการเปลี่ยนแปลงระหว่างกระบวนการหลอมที่อุณหภูมิตั้งแต่ 600 ถึง 1000 องศาเซลเซียส นอกจากนี้มีผลของปริมาณวัตถุดิบที่หลอมไม่หมดบนพื้นผิวซึ่งยังคงลงเหลือในสภาพผลึก ณ สภาวะที่กำหนด เพื่อเปรียบเทียบแนวโน้มประสิทธิผลในการหลอมของส่วนผสมจากการผสมสองวิธี โดยภาพถ่ายผิวหน้าและโดยเทคนิคการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ ผลการวิจัยพบว่าการจัดลำดับการผสมเป็นวิธีการผสมที่เหมาะสมกว่า ส่งผลต่ออัตราการหลอม พื้นผิวสัมผัสที่เพิ่มขึ้นระหว่างทรายแก้วและโซเดียมคาร์บอเนตจากการผสมขั้นตอนแรกนำไปสู่การเพิ่มอัตราการหลอมของทั้งระบบ ต่างจากวิธีการเดิมที่อาจมีวัตถุดิบอื่นเป็นตัวขัดขวางการเกิดปฏิกิริยาสถานะของแข็งดังกล่าว


Electrochemical Paper-Based Immunosensor For Biomarkers Detection, Suchanat Boonkaew Jan 2020

Electrochemical Paper-Based Immunosensor For Biomarkers Detection, Suchanat Boonkaew

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This dissertation focused on the development of electrochemical paper-based immunosensor for determining essential biomarkers by using a label-free immunoassay. This dissertation can be divided into four main parts. In the first part, an origami paper-based analytical device (oPAD) was developed for c-reactive protein (CRP) detection. oPAD was designed to combine the preparation of immunosensor and detection step into a single device. A gold nanoparticle modified graphene screen-printed carbon electrode (AuNPs/G/SPCE) was utilized to enhance the sensitivity of the electrode. The developed sensor was successfully applied to determine CRP in a certified serum sample. For the second part, an electrochemical paper-based …


Sustainability Assessment Of Power Production By Chemical Looping Combustion, Watchara Uraisakul Jan 2020

Sustainability Assessment Of Power Production By Chemical Looping Combustion, Watchara Uraisakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study investigated the chemical looping combustion (CLC) process improvement for power production from energy management, system hydrodynamics, and sustainability perspectives. In the first part, the 3k factorial design was used for systematically investigating the operating variables that affect the thermal efficiency of the CLC combined with the humid air gas turbine (HAT) cycle. A set of operating variables, A) pressure of the air reactor, B) air compressor stages number, C) air compression methods, and D) air flow rate, were explored. The result showed that the highest thermal efficiency was at 55.87 % when operated at (A) 15 atm, (B) …


Catalytic Cracking Of Fusel Oil To Light Olefins Over Zeolite Catalysts, Rachatawan Yaisamlee Jan 2020

Catalytic Cracking Of Fusel Oil To Light Olefins Over Zeolite Catalysts, Rachatawan Yaisamlee

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Fusel oil is a by-product of bioethanol production. It is considered a renewable feedstock as well as an environmentally friendly material. However, due to the limitation of its application, the market is not able to absorb the demand for fuel oil, which results in a relatively low price. As a consequence, fusel oil is an interesting new renewable source to convert into value-added products via a high-efficiency bioenergy conversion process. In the present work, the catalytic cracking of fusel oil to light olefins (ethylene, propylene, and butylene) was investigated in a fixed bed reactor using zeolites as catalysts. The physicochemical …


Preparation Of Activated Clay From Ratchaburi Bentonite For Pyrolysis Oil Decolorization, Woranan Koedsang Jan 2020

Preparation Of Activated Clay From Ratchaburi Bentonite For Pyrolysis Oil Decolorization, Woranan Koedsang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bentonite is a clay mineral which widely used in considerable applications, such as bleaching agent in the oil refining process, lubricant in drilling for civil works, filler and additive as well as used to absorb odors from the waste. It can be achieved that bentonite is very tremendously advantageous and employ in many industries. The aims of this research were carried out to study the preparation of activated clay from bentonite Ratchaburi for pyrolysis oil decolorization. The bentonite was processed by activation with sulfuric acid (H2SO4), hydrochloric acid (HCl). sodium hydroxide (NaOH) and potassium hydroxide (KOH), various the ratio of …


การจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณของไรเซอร์สำหรับดักจับคาร์บอนไดออกไซด์แบบอุณหภูมิไม่คงที่, อมลวรรณ ศรวิชัย Jan 2020

การจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณของไรเซอร์สำหรับดักจับคาร์บอนไดออกไซด์แบบอุณหภูมิไม่คงที่, อมลวรรณ ศรวิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาวะโลกร้อนเป็นปรากฏการณ์ที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้น สาเหตุมาจากการเพิ่มขึ้นของแก๊สเรือนกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากกระบวนการเผาไหม้ที่ถูกปลดปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศ ดังนั้นจึงต้องมีการควบคุมปริมาณแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ก่อนออกสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้ในการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์จากการเผาไหม้ที่ได้รับความสนใจทั้งระดับการทดลองและระดับอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย คือ การดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์หลังการเผาไหม้ด้วยเครื่องปฏิกรณ์ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนและใช้ตัวดูดซับชนิดของแข็ง ซึ่งเครื่องปฏิกรณ์ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ หอไรเซอร์ที่ใช้ในการดูดซับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และหอดาวเนอร์ที่ใช้ในการฟื้นฟูหรือคืนสภาพตัวดูดซับ ในการศึกษาจึงมุ่งเน้นในส่วนของหอไรเซอร์ พบว่า ความสามารถในการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้ยังไม่ดีพอ เนื่องจากอุณหภูมิถึงสมดุลปฎิกิริยาเคมี งานวิจัยนี้จึงมีแนวคิดพัฒนาแบบจำลองพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวนของหอไรเซอร์ฟลูอิไดซ์เบดแบบหมุนเวียนแบบอุณหภูมิไม่คงที่ จากผลการศึกษาพบจำนวณเซลล์ที่ใช้ในการคำนวณและเวลาจำลองที่เหมาะสม คือ จำนวนเซลล์การคำนวณ 400,000 เซลล์และเวลาในการคำนวณ 100 วินาทีตามลำดับ นอกจากนี้ยังศึกษาผลกระทบของตัวแปรกระบวนการต่าง ๆ ต่อการดักจับคาร์บอนไดออกไซด์ในหอไรเซอร์ ประกอบด้วย อุณหภูมิของน้ำหล่อเย็น อัตราการไหลของน้ำหล่อเย็น ระยะห่างระหว่างชุดท่อน้ำหล่อเย็น ขนาดท่อน้ำหล่อเย็น และลักษณะการจัดเรียงท่อน้ำหล่อเย็นภายในหอไรเซอร์ ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าอุณหภูมิมีผลต่อการดักจับแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เนื่องจากอุณหภูมิจะส่งผลให้สมดุลการดูดซับเปลี่ยนไป


การเตรียมและสมบัติของพอลิอิเล็กโทรไลต์ไฮโดรเจลที่มีเส้นใยคาร์บอนเคลือบด้วยพอลิแอนิลีน, จุฑาภัค เกษรทอง Jan 2020

การเตรียมและสมบัติของพอลิอิเล็กโทรไลต์ไฮโดรเจลที่มีเส้นใยคาร์บอนเคลือบด้วยพอลิแอนิลีน, จุฑาภัค เกษรทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในการศึกษานี้ ได้ทำการเคลือบพอลิแอนีลีน (PANi) ลงบนพื้นผิวเส้นใยคาร์บอน (CF) ผ่านการสังเคราะห์ทางเคมี ประการแรกทำการปรับพื้นผิวของเส้นใยคาร์บอน ด้วยปฏิกิริยาไนเตรชันโดยใช้กรดซัลฟิวริก/กรดไนตริก คาดว่าได้เส้นใยคาร์บอนที่ประกอบไปด้วยหมู่ไนโตร ตามด้วยปฏิกิริยารีดักชันโดยใช้โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์/แอมโมเนีย คาดว่าได้เส้นใยคาร์บอนที่ประกอบไปด้วยหมู่เอมีน จากนั้นทำการวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยเทคนิคฟูเรียร์ทรานส์ฟอร์มอินฟาเรดสเปกโทรสโคปี (FTIR) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) กลับพบว่าไม่มีหมู่ฟังก์ชันตามที่คาด โดยคาดว่าน่าจะมีสาเหตุจากพื้นที่ผิวของ CF ที่น้อยเกินไป จึงทำการบดเส้นใยคาร์บอนด้วยเครื่องบดแบบลูกบอล และนำมาปรับพื้นผิวด้วยปฏิกิริยาไนเตรชันและรีดักชัน จากนั้นทำการเคลือบพอลิแอนิลีนที่อัตราส่วน 1 , 2 และ 3 เท่าของน้ำหนักผงเส้นใยคาร์บอนบนหมู่อะมิโนโดยใช้ปฏิกิริยาออกซิเดชันพอลิเมอไรเซชันของแอนิลีน โดยมีแอมโมเนียมเพอร์ซัลเฟต เป็นตัวริเริ่ม ซึ่งหมู่ฟังชันก์ (CF, CF-NO2, CF-NH2 และ CF-PANi) ได้รับการยืนยันโดยการวิเคราะห์ FTIR และ SEM นอกจากนี้เมื่อตรวจสอบด้วยเครื่องเทอร์โมกราวิเมทริกอนาไลเซอร์ (TGA) หลังจากการเคลือบพอลิแอนิลีนบนผงเส้นใยคาร์บอนพบว่ามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นถึง 40% จากนั้นนำเส้นใยคาร์บอนเคลือบพอลิแอนิลีนมาทำการศึกษาประสิทธิภาพทางไฟฟ้า โดยเทคนิคไซคลิกโวลแทม (CV) และกัลวาโนสแตติกชาร์จ/ดิสชาร์จ (GCD) พบว่าค่าการเก็บประจุ ที่อัตราส่วน 1: 1 ของเส้นใยคาร์บอนต่อพอลิแอนิลีนมีค่า 15.50 และ 63.92 ฟารัดต่อกรัม ซึ่งมีค่าสูงกว่าเส้นใยคาร์บอน (0.51 และ 5.0 ฟารัด/กรัม) โดยจากผลของการทดสอบดังกล่าวยืนยันว่าการสังเคราะห์โดยการเคลือบ PANi ลงบนพื้นผิวของผงเส้นใยคาร์บอนประสบความสำเร็จ นอกจากนี้การเตรียมไฮโดรเจลจากพอลิอิเล็กโทรไลต์เชิงซ้อนเตรียมได้จากพอลิสไตรีนซัลโฟเนต/ พอลิไดอัลลิลไดเมทิลแอมโมเนียมคลอไรด์ (PSS/PDADMAC) สามารถนำไปใช้เป็นแผ่นกั้นกลางระหว่างขั้วไฟฟ้าได้อย่างดี


ผลของสารเพอร์ออกไซด์อินทรีย์ต่อการออกซิเดชันสถานะของแข็งของพอลิเอทิลีนแวกซ์, ธนัญชฎา ทิพยไกรศร Jan 2020

ผลของสารเพอร์ออกไซด์อินทรีย์ต่อการออกซิเดชันสถานะของแข็งของพอลิเอทิลีนแวกซ์, ธนัญชฎา ทิพยไกรศร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลของสารเพอร์ออกไซด์อินทรีย์และภาวะที่เหมาะสมในการผลิตออกซิไดซ์พอลิเอทิลีนแวกซ์โดยใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบแบตซ์ เพื่อให้ได้ค่าความเป็นกรดที่มากกว่า 13 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อกรัม เนื่องจากเป็นค่าที่เหมาะสมในการนำมาใช้เป็นสารหล่อลื่นในภาคอุตสาหกรรม ทำให้สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดต้นทุนการผลิตได้ โดยใช้สารเพอร์ออกไซด์อินทรีย์คือ หนึ่ง,หนึ่ง-บิส-(เติร์ท-เอมิลเพอร์ออกซี)ไซโคลเฮกเซน และ ได-เติร์ท-บิวทิลเพอร์ออกไซด์ เป็นสารริเริ่มปฏิกิริยา (Initiator) ที่ความเข้มข้นร้อยละ 80 โดยน้ำหนัก และใช้แก๊สอากาศ (Air zero) ในการทำปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยใช้เวลาในการทำปฏิกิริยาในช่วง 60 ถึง 180 นาที อุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยาในช่วง 90 ถึง 130 องศาเซลเซียส และปริมาณของสารเพอร์ออกไซด์อินทรีย์ในช่วงร้อยละ 2 ถึง 8 โดยน้ำหนัก จากการทดลองพบว่าภาวะที่เหมาะสมในการผลิตออกซิไดซ์พอลิเอทิลีนแวกซ์จากปริมาณพอลิเอทิลีนแวกซ์ 100 กรัม ได้แก่ เวลาในการทำปฏิกิริยา 180 นาที อุณหภูมิที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา 123 องศาเซลเซียส และปริมาณของสารเพอร์ออกไซด์อินทรีย์ หนึ่ง,หนึ่ง-บิส-(เติร์ท-เอมิลเพอร์ออกซี)ไซโคลเฮกเซน ร้อยละ 6 โดยน้ำหนัก จะได้ค่าความเป็นกรด 15.23 มิลลิกรัมโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ต่อกรัม นอกจากนี้จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค FTIR และ NMR ยังยืนยันว่าพอลิเอทิลีนแวกซ์ถูกออกซิไดซ์ในเครื่องปฏิกรณ์แบบแบตซ์


การพัฒนาแผ่นกั้นในแบตเตอรี่ซิงก์ไอออนจากแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันพอลิอะคริโลไนไตรล์กับพอลิยูรีเทนเชิงชีวภาพ, สุชาวดี สายแสงธรรม Jan 2020

การพัฒนาแผ่นกั้นในแบตเตอรี่ซิงก์ไอออนจากแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันพอลิอะคริโลไนไตรล์กับพอลิยูรีเทนเชิงชีวภาพ, สุชาวดี สายแสงธรรม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันของพอลิอะคริโลไนไตรล์กับพอลิยูรีเทนเชิงชีวภาพสำหรับใช้เป็นแผ่นกั้นในแบตเตอรี่ซิงก์ไอออน โดยเตรียมพอลิยูริเทนชีวภาพจากไดไอโซไซยาเนตเชิงชีวภาพ พอลิคาโพรแล็กโทนไดออล และเอทิลีนไกลคอลพบว่าที่อัตราส่วน 2.1:1:1 พอลิยูรีเทนเชิงชีวภาพที่ได้มีน้ำหนักโมเลกุลเฉลี่ยสูงสุด 28,000 กรัมต่อโมล จากนั้นขึ้นรูปเป็นแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันของพอลิอะคริโลไนไตรล์กับพอลิยูรีเทนเชิงชีวภาพที่อัตราส่วน 75:25 ด้วยเทคนิคอิเล็กโทรสปินนิง ร่วมกับการใช้วิธีการออกแบบการทดลองโดยวิธีการทากูชิ ซึ่งประกอบด้วย 3 ปัจจัย 4 ระดับ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสัณฐานวิทยาและสมบัติของเส้นใยพอลิเมอร์ จากนั้นใช้วิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์แบบเกรย์เพื่อศึกษาภาวะที่เหมาะสมในการเป็นแผ่นกั้นของแผ่นเส้นใยอิเล็กโทรสปันพอลิอะคริโลไนไตรล์กับพอลิยูรีเทนเชิงชีวภาพ โดยสมบัติที่ใช้ในการพิจารณา ได้แก่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใย ขนาดรูพรุน ความเป็นรูพรุน ค่าการดูดซับอิเล็กโทรไลต์ ความทนแรงดึง ค่าการนำไอออน ค่ามุมสัมผัสของอิเล็กโทรไลต์และการหดตัวของแผ่นเส้นใย พบว่าการใช้ความเข้มข้นของพอลิอะคริโลไนไตรล์กับพอลิยูรีเทนเชิงชีวภาพร้อยละ 14 โดยน้ำหนัก ความต่างศักย์ไฟฟ้า 25 กิโลโวลต์และระยะห่างระหว่างปลายเข็มฉีดยากับแผ่นเก็บตัวอย่าง 16 เซนติเมตร เป็นภาวะที่เหมาะสมในการขึ้นรูปแผ่นเส้นใยพอลิอะคริโลไนไตร์ลกับพอลิยูรีเทนชีวภาพ โดยมีค่าการนำไอออนสูงถึง 3.11 มิลลิซีเมนต์ต่อเซนติเมตร มีความทนแรงดึง 44.2 เมกะปาสคาล และมีการดูดซับอิเล็กโทรไลต์ร้อยละ 1,971 ของแผ่นเส้นใย นอกจากนี้ยังพบว่าแผ่นเส้นใยที่พัฒนาได้สามารถทนต่อการหดตัวทางความร้อนได้ที่อุณหภูมิสูงถึง 150 องศาเซลเซียส ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแผ่นเส้นใยที่เตรียมได้มีศักยภาพในการประยุกต์เป็นแผ่นกั้นสำหรับซิงก์ไอออนแบตเตอรี่


ผลของเอทิลีน-ออกทีนโคพอลิเมอร์และโวลลาสโทไนต์ต่อสมบัติของไนลอน 6, บุษยา วิลาวรรณ Jan 2020

ผลของเอทิลีน-ออกทีนโคพอลิเมอร์และโวลลาสโทไนต์ต่อสมบัติของไนลอน 6, บุษยา วิลาวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ พอลิเมอร์ผสมของไนลอน 6 กับเอทิลีน-ออกทีนโคพอลิเมอร์และเอทิลีน-ออกทีนโค พอลิเมอร์กราฟต์มาเลอิกแอนไฮไดรด์ ได้ถูกเตรียมด้วยกระบวนการผสมแบบหลอมเหลวโดยใช้เครื่องอัดรีดแบบสกรูคู่และขึ้นรูปชิ้นทดสอบด้วยเครื่องฉีดแบบ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพ สมบัติเชิงกล สมบัติทางความร้อน และสัณฐานวิทยา พบว่าความทนแรงกระแทกของพอลิเมอร์ผสมไนลอน 6/เอทิลีน-ออกทีน โคพอลิเมอร์ทุกอัตราส่วนมีค่าต่ำกว่าไนลอน 6 ล้วน ทั้งที่อุณหภูมิ 23 องศาเซลเซียส และ -30 องศาเซลเซียส และมีค่าลดลงเมื่อปริมาณเอทิลีน-ออกทีนโคพอลิเมอร์เพิ่มขึ้น เนื่องจากความไม่เข้ากันของพอลิเมอร์ผสม ในขณะที่พอลิเมอร์ผสมไนลอน 6/เอทิลีน-ออกทีนโคพอลิเมอร์กราฟต์มาเลอิกแอนไฮไดรด์ทุกอัตราส่วนมีค่าความทนแรงกระแทกสูงกว่าไนลอน 6 และเพิ่มขึ้นตามปริมาณของเอทิลีน-ออกทีนโคพอลิเมอร์กราฟต์มาเลอิกแอนไฮไดรด์ เนื่องจากการเกิดอันตรกิริยาที่ดีของพันธะไฮโดรเจนระหว่างหมู่อะมิโนกับหมู่แอนไฮไดรด์ในเมทริกซ์ของไนลอน 6 สอดคล้องกับภาพที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด นอกจากนี้ยังพบว่าพอลิเมอร์ผสมทุกอัตราส่วนแสดงอัตราการหลอมไหล, ความถ่วงจำเพาะ, สมบัติความทนแรงดึง, สมบัติความทนแรงดัดโค้ง, ความแข็งแบบร็อคเวลล์, อุณหภูมิอ่อนตัวด้วยความร้อน, ร้อยละความเป็นผลึก, มอดุลัสสะสม และความต้านทานการหดตัวในแม่พิมพ์มีค่าลดลง เนื่องจากพฤติกรรมของความเป็นอิลาสโตเมอร์ของเอทิลีน-ออกทีนโค พอลิเมอร์ในพอลิเมอร์ผสม และจากสมบัติเชิงกลที่เหมาะสมจึงเลือกอัตราส่วน 85/15 (ร้อยละโดยน้ำหนัก) ของไนลอน 6/เอทิลีน-ออกทีนโคพอลิเมอร์กราฟต์มาเลอิกแอนไฮไดรด์สำหรับเตรียมคอมพอสิตกับโวลลาสโทไนต์ ที่ 10, 20 และ 30 ส่วนต่อเรซิน 100 ส่วน ผลการวิจัยพบว่าความถ่วงจำเพาะ, ยังส์มอดุลัส, มอดุลัสดัดโค้ง, อุณหภูมิอ่อนตัวด้วยความร้อน, มอดุลัสสะสม, ความต้านทานการหดตัวในแม่พิมพ์และความต้านทานการหลอมหยดเพิ่มขึ้น ในขณะที่ความทนแรงกระแทกที่ 23 องศาเซลเซียส และ -30 องศาเซลเซียส, ความทนแรงดึงและการยืดตัว ณ จุดขาด มีค่าลดลงเนื่องจากการเกิดอันตรกิริยาระหว่างโวลลาสโทไนต์และเมทริกซ์ต่ำ


การปรับปรุงสมบัติของพอลิโพรพิลีนสปันบอนด์ด้วยกระบวนการทางรังสี สำหรับการประยุกต์ด้านสิ่งทอป้องกัน, คอลิด ถิ่นเกาะแก้ว Jan 2020

การปรับปรุงสมบัติของพอลิโพรพิลีนสปันบอนด์ด้วยกระบวนการทางรังสี สำหรับการประยุกต์ด้านสิ่งทอป้องกัน, คอลิด ถิ่นเกาะแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ปรับปรุงสมบัติพอลิโพรพิลีนสปันบอนด์สำหรับประยุกต์ด้านสิ่งทอป้องกัน ด้วยการนำไตรฟลูออโรเอทิลเมทาคริเลตและอนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์มากราฟต์ลงบนพอลิโพรพิลีนสปันบอนด์ด้วยการฉายรังสีแกมมาแทนการใช้กระบวนการทางเคมีแบบดั้งเดิม เพื่อให้ผ้ามีสมบัติสะท้อนน้ำ ต่อต้านรังสียูวี และยับยั้งแบคทีเรีย การวิจัยขั้นแรกเป็นการศึกษาผลของความเข้มข้นของมอนอเมอร์ ชนิดของตัวทำละลาย บรรยากาศที่ใช้ และปริมาณรังสีต่อระดับขั้นของการกราฟต์ไตรฟลูออโรเอทิลเมทาคริเลต จากการวิเคราะห์คุณลักษณะเบื้องต้นพบว่าสัณฐานวิทยาและโครงสร้างทางเคมีของพอลิโพรพิลีนสปันบอนด์เปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากปฏิกิริยาการกราฟต์ ส่วนการทดสอบความสามารถในการป้องกันน้ำพบว่ามุมสัมผัสของน้ำ มีค่าเพิ่มสูงขึ้นเป็น 125 องศา ในขั้นต่อมาเป็นการกราฟต์อนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ร่วมกับไตรฟลูออโรเอทิลเมทาคริเลต โดยเริ่มจากการดัดแปรพื้นผิวของอนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์ด้วยมาเลอิกแอนไฮไดรด์ก่อนนำไปกราฟต์ลงบนพอลิโพรพิลีนสปันบอนด์ จากการศึกษาพบว่า สามารถดัดแปรอนุภาคนาโนไทเทเนียมไดออกไซด์เพื่อให้พื้นผิวสามารถเกิดอันตรกิริยาได้ดีขึ้น พอลิโพรพิลีนสปันบอนด์ที่ผ่านการกราฟต์แสดงสมบัติในการสะท้อนน้ำด้วยมุมสัมผัสของน้ำประมาณ 120 องศา สามารถต่อต้านรังสียูวีได้ดีโดยมีค่า UPF เท่ากับ 122-124 อีกทั้งยังสามารถยับยั้งแบคทีเรียได้ดี สังเกตจากบริเวณโซนใส (inhibition zone) ที่ชัดเจน จากผลการศึกษาดังกล่าวสามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบของเทคโนโลยีการพัฒนาสมบัติของผ้าเพื่อใช้ในงานด้านสิ่งทอป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ


Analysis Of Mass Transfer Coefficient Of Co2 Absorbed By Two-Component Amine Mixture In A Packed Bed Column, Thanakornkan Limlertchareonwanit Jan 2020

Analysis Of Mass Transfer Coefficient Of Co2 Absorbed By Two-Component Amine Mixture In A Packed Bed Column, Thanakornkan Limlertchareonwanit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, coal fired plant has an important role in generating energy all over the world. It affects to greenhouse gases effect (GHGs) and global warming. Carbon dioxide (CO2) is a product of coal combustion that is the amount of number one in the world. However, most of the CO2 usually remove from post-combustion process by chemical absorption which is Monoethanolamine (MEA). Anyway, MEA has a disadvantage such as low CO2 loading and corrosion. Therefore, this study needs to investigate the effect of the mass transfer for a new solvents, 2-(Methylamino)ethanol (2-MAE) and Dimethylaminoethanol (DMAE), compensate for the drawbacks of MEA …


Effect Of Cocatalyst Combination In Titanium-Based Ziegler-Natta Catalyst On Olefin Polymerization, Thanyaporn Pongchan Jan 2020

Effect Of Cocatalyst Combination In Titanium-Based Ziegler-Natta Catalyst On Olefin Polymerization, Thanyaporn Pongchan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research focused on effect of cocatalyst types (TEA, TnOA, and TEA+TnOA) on titanium-based Ziegler-Natta catalyst in olefin polymerization both in slurry and gas-phase systems. This study has been divided into four sections. The commercial titanium-based catalyst was selected to investigate effect of reaction temperature and oxidation state of titanium from ESR measurement on slurry ethylene and propylene polymerization in the first and the second parts, respectively. The commercial catalyst with TEA exhibited the highest activity in ethylene polymerization. However, divalent, and trivalent of titanium (Ti2+ and Ti3+) was active in ethylene polymerization to produce more polymer. Stability of Ti3+ …


Development Of Graphite-Based Conductive Patterns By Copper Electroless Plating And Electroplating Techniques, Vipada Aupama Jan 2020

Development Of Graphite-Based Conductive Patterns By Copper Electroless Plating And Electroplating Techniques, Vipada Aupama

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The screen-printing technique has been widely applied in electronic manufacturing field. In this work, graphite is used for fabricating conductive patterns by screen-printing technique. Moreover, enhance the performance of electrical conductivity by electroless plating and electroplating techniques. The study was separated into two parts. Firstly, optimize the mass ratio between graphite and polyvinylidene fluoride (PVDF). In prepared ink from varied mass ratio; 2.0:0.1, 2:0.2, and 2:0.3 respectively. Volume resistivity analysis of conductive patterns, it was found that the mass ratio between graphite and PVDF of 2: 0.2 provided the lowest volume resistivity of 0.0122 Ω-m. In other cases, the mass …


Study Of Interactions Between Magnesium Silicate Particle And Diamond-Like Carbon Using Atomic Force Microscopy, Vipada Dokmai Jan 2020

Study Of Interactions Between Magnesium Silicate Particle And Diamond-Like Carbon Using Atomic Force Microscopy, Vipada Dokmai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Interaction between particles and different surfaces under ambient condition is studied using AFM-based force spectroscopy. This work focuses on the adhesion mechanism and factors affecting particle-surface adhesion. The particles of interest consist of magnesium silicate (talcum powder) and zinc oxide (ZnO) particles, which have very attractive properties and are widely used in several applications. The adhesion force measurements were first carried out using silicon/silicon coated with DLC probes pressed on talc particles modified with hydrochloric acid or different organosilanes. These modifications change hydrophobicity and hydrophilicity of the particles. The results show that the adhesion forces are distributed in a bimodal …


Influence Of Mixed Anionic-Nonionic Surfactants On Methane Hydrate Formation : Suppression Of Foam Formation, Chakorn Viriyakul Jan 2020

Influence Of Mixed Anionic-Nonionic Surfactants On Methane Hydrate Formation : Suppression Of Foam Formation, Chakorn Viriyakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Solidified natural gas (SNG) via clathrate hydrate is a new technology for natural gas storage with high energy content per unit volume, extremely safe, and ease to recover. Although SNG has several advantages, its limitation is low rate of hydrate formation. Sodium dodecyl sulfate (SDS) is well known as a kinetic promoter used to increase the hydrate formation rate. However, using SDS resulted in a large amount of foam during gas recovery. In order to alleviate this problem, mixtures of SDS with nonionic surfactants were investigated. Polyoxyethylene (n) lauryl ether (EO₃ and EO₅) and alkyl poly glycol (APG) were mixed …


Layer-By-Layer Surface Modification Of Polymer Filament For Catalytic 3d Printed Parts, Pornnutcha Thadasri Jan 2020

Layer-By-Layer Surface Modification Of Polymer Filament For Catalytic 3d Printed Parts, Pornnutcha Thadasri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Catalyst was constructed in form of microreactor by fused deposition modeling (FDM) or 3D printing method that allow micro scale customization in order to achieve high detail construction. Poly (lactic acid) (PLA) and Poly (acrylonitrile-butadiene-styrene) (ABS) filaments were used as a built-up material. The surface modification was introduced to improve filaments surface adhesion by using alkaline treatment and Polyethyleneimine with variation of time and concentration and then deposited with polyelectrolyte multilayers by layer-bylayer technique before catalyst loading. Catalyst were synthesized by reduction reaction of Silver nitrate (AgNO₃) and sodium borohydride (NaBH4) with using poly (4-styrenesulfonic acid-co-maleic acid) as a capping …


Solid-Liquid-Polymer Mixed Matrix Membranes For Gas Separation: Silicone Rubber Membranes Filled With Nax And Ky Zeolites Adsorbed Peg, Sitthikiat Boonchoo Jan 2020

Solid-Liquid-Polymer Mixed Matrix Membranes For Gas Separation: Silicone Rubber Membranes Filled With Nax And Ky Zeolites Adsorbed Peg, Sitthikiat Boonchoo

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Carbon dioxide (CO₂) is one of the major constituents of natural gas and biogas. The presence of high CO₂ content causes some serious problems including reduction of heating value and corrosion of equipment's surface. Additionally, CO₂ emission is the main issue of the greenhouse effect. In consequence of these problems, membrane technologies have drawn much attention as potential techniques for gas separation. mixed matrix membranes (MMMs) have been studied and developed to provide the synergistic effect of inorganic and organic materials on membranes. In this study, PEG/NaX:KY/SR mixed matrix membranes (PZS MMMs) were prepared by the solution casting method using …


Identification Of Crude Palm Oils By The Analyses Of Fatty Acids, Volatile Organic Compounds, And Carotenoids, Somluk Sanorkham Jan 2020

Identification Of Crude Palm Oils By The Analyses Of Fatty Acids, Volatile Organic Compounds, And Carotenoids, Somluk Sanorkham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

An in-depth analysis of crude palm oil is important to differentiate crude palm oil (CPO) from different geographic provenance for administrative control purposes to prevent and solve the problem of smuggling CPO from abroad to Thailand. In this study, eleven CPO samples from five provinces in Thailand were studied for their composition. The compositions of fatty acids, volatile organic compounds (VOCs), and carotenoids were characterized by GC-FID, GC-MS, and HPLC-DAD techniques, respectively. The chromatograms of fatty acids distribution were similar for all samples. The main components of fatty acids are palmitic acid, oleic acid, linoleic acid, and stearic acid. In …


Production Of Bio-Jet Fuel From Palm Fatty Acid Distillate Over Teos-Modified Nipd/Zsm-5 Catalysts, Umbon Boonsard Jan 2020

Production Of Bio-Jet Fuel From Palm Fatty Acid Distillate Over Teos-Modified Nipd/Zsm-5 Catalysts, Umbon Boonsard

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Jet fuels are mainly derived from the refining of petroleum feedstock which has a negative impact to the environment as it emits greenhouse gases (GHG). Therefore, the development of an alternative and renewable jet fuel is an imminent concern of the aviation industry. One of the alternative jet fuel feedstocks is palm fatty acid distillate (PFAD) due to its relatively low cost. Bio-jet fuel can be produced via three reactions including deoxygenation, isomerization, and cracking. In this study, the bimetallic NiPd supported on ZSM-5 with various Si/Al ratios (23, 50, and 280) and modified ZSM-5 by TEOS were characterized by …


Removal Of Arsenic From Wastewater Using Mixed Metal Hydroxides And Biopolymers, Angchuda Ratroj Jan 2020

Removal Of Arsenic From Wastewater Using Mixed Metal Hydroxides And Biopolymers, Angchuda Ratroj

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Arsenic is one of the contaminants in wastewater which becomes a worldwide environmental problem. Therefore, several simple and cost-effective techniques have been developed for arsenic removal. This study reports on the removal of arsenic by coprecipitation method with variable combinations of the well-known metal salts, such as FeCl3 or AlCl3 with the environmentally friendly inorganic metal salts, such as MgCl2 or CaCl2, which is called "mixed metal system". Moreover, for improving the low toxicity from sludge production, hence the coprecipitation techniques using mixed metal salts as coagulants combine with biopolymers (alginate or chitosan) as flocculants for arsenic removal were also …


Regenerated Amorphous Cellulose From Pineapple Leaf Fibers Via Sulfuric Acid Treatment, Gisma Coraima Asmarani Jan 2020

Regenerated Amorphous Cellulose From Pineapple Leaf Fibers Via Sulfuric Acid Treatment, Gisma Coraima Asmarani

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Pineapple leaf fiber (PALF) is an agricultural residue available abundantly in Thailand as a renewable resource with high cellulose content. In this research, a simple process using sulfuric acid (H2SO4) treatment has been developed to produce three types of cellulosic products from PALF, which are regenerated amorphous (RAC), microcrystalline (MCC), and nanocrystalline (NCC) cellulose. H2SO4 acid treatment has been done in 25% and 50% (v/v) H2SO4 under three different temperatures (-20, 30, and 50 ºC). In 25% (v/v) H2SO4, various MCC lengths (about 29.57 ± 9.99 to 106.40 ± 61.10 μm) were produced from different temperatures. Different temperatures in this …


Electrocoagulation In Two Phase Separation For Manipulation Of Volatile Compound Profiles In Perfumes, Isaya Thaveesangsakulthai Jan 2020

Electrocoagulation In Two Phase Separation For Manipulation Of Volatile Compound Profiles In Perfumes, Isaya Thaveesangsakulthai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Electrocoagulation (EC) approach employing two aluminium electrodes and a two phase medium of aqueous solution of NaCl and hexane (2-phase-EC) was developed. The approach enabled electrochemical treatment of odor active compounds in perfume extract. The samples before and after 2-phase-EC at cathode, anode and between the two electrodes left for equilibrium after the treatment were analyzed by using solid phase micro extraction (SPME) and gas chromatography hyphenated with mass spectrometry (GC-MS). This allowed identification of volatile compounds in each sample based on comparison with MS and retention index database. After the treatment, the perfume smells were fresher, sweeter and more …


Direct Synthesys Of Lpg From Co2 By Using Czza And Hy Zeolite Hybrid Catalyst, Jaru Natakaranakul Jan 2020

Direct Synthesys Of Lpg From Co2 By Using Czza And Hy Zeolite Hybrid Catalyst, Jaru Natakaranakul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

CO2 conversion to lower hydrocarbons (HCs) is a high-potential method that can significantly reduce and manage this greenhouse gas in the long term. Liquefied petroleum gas (LPG) is widely utilized in transportation. Furthermore, biomass appears to be more attractive for decreasing CO2 emissions through conversion to liquid transportation fuels, as it is a renewable and sustainable energy source. The objectives of this work were to examine the direct synthesis of LPG from CO2 hydrogenation using a mixed metal catalyst composed of copper, zinc oxide, zirconium, and alumina (CZZA), and an HY zeolite as a hybrid catalyst. The study tested four …


Tuning Of Metal Ion Selectivity By Varying Number Of Coordinating Atoms In Quinoline-Derived Fluorescent Sensors, Jutawat Hojitsiriyanont Jan 2020

Tuning Of Metal Ion Selectivity By Varying Number Of Coordinating Atoms In Quinoline-Derived Fluorescent Sensors, Jutawat Hojitsiriyanont

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Both Cd2+ and Zn2+ are metal ions in group 12 elements with very different toxicities but similar binding properties to most organic and biological ligands. In this work, a series of quinoline derivatives were synthesized and studied with an aim for Cd2+ selective turn-on fluorescent sensors. The structures of the compounds were designed to systematically evaluate the effects of amino protons, number of N-coordinating atoms, quinoline/picoline moieties and substituents on the sensing properties. The association constants of all synthesized ligands were studied by UV-vis absorption titration in aqueous solution. The results revealed that the ligands having 6- and 4- donor …


Catalytic Conversion Of Chitin To Lactic Acid In Hot-Compressed Water, Kodchakon Kun-Asa Jan 2020

Catalytic Conversion Of Chitin To Lactic Acid In Hot-Compressed Water, Kodchakon Kun-Asa

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Chitin is the second most available polysaccharide after cellulose. Chitin and N-acetyl-D-glucosamine polysaccharide, can be converted to valuable products by using homogeneous catalysis, most of the chitin generated by food processing is treated as industrial waste. For chitin conversion to useful chemicals has been investigated less than cellulose conversion. Therefore, in this research, chitin conversion was investigated. The result was divided into four part. The first part, the result showed that ball milled pretreatment could increase the conversion of chitin, which indicated that the crystallinity of the chitin had been reduced by the ball milled pretreatment. In the second part, …