Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2014

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

อาการ;การสนับสนุนทางสังคม;คุณภาพชีวิต;ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอ;รังสีรักษา

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Nursing

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการ การสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะ และคอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษา, สุชาดา ธราพร, สุรีพร ธนศิลป์ May 2014

ความสัมพันธ์ระหว่างอาการ การสนับสนุนทางสังคมและคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะ และคอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษา, สุชาดา ธราพร, สุรีพร ธนศิลป์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอาการ กลวิธีการจัดการกับอาการ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและ คอเพศชายขณะได้รับรังสีรักษา และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างอาการ การสนับสนุนทางสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอเพศชายขณะได้รับรังสี\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบบรรยายเชิงความสัมพันธ์\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอเพศชายขณะได้รับรังสีรักษา ณ ศูนย์มะเร็ง สุราษฎร์ธานี คัดเลือกตามสะดวก จํานวน 130 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถามข้อมูลส่วน บุคคล แบบสอบถามอาการแบบสอบถามกลวิธีการจัดการกับอาการ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอที่ได้รับรังสีรักษา มีค่าดัชนีความตรงเชิง เนื้อหาเท่ากับ .80, .87, .80, และ .81 ตามลําดับ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .80, .75, .80, และ .71 ตามลําดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน\n \nผลการวิจัย: 1) อาการน้ำลายเหนียว/คอแห้ง มีความถี่และความรุนแรงของอาการมากที่สุด โดยจัดการ กับอาการด้วยการใช้น้ำยาบ้วนปาก การใช้ยาแก้ปวด และการใส่สายให้อาหาร มากที่สุด 2) คุณภาพ\nชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษาอยู่ในระดับสูง (x̄ = 2.90, SD = 0.52) 3) ความถี่และความรุนแรงของอาการมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับต่ำและระดับปานกลางกับคุณภาพ ชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและคอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษา (r = -.28, = -.38, p<.05) และ 4) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและ คอเพศชายภาคใต้ขณะได้รับรังสีรักษา (r=.13, p<.05)\n \nสรุป: อาการต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในด้านร่างกายมากที่สุด ดังนั้นพยาบาล จึงควรมีการพัฒนากลวิธีการจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม โดยส่วนใหญ่เกิดในช่องปากที่มีทั้ง ความรุนแรงและความถี่ โดยให้สมาชิกในครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วม โดยเริ่มตั้งแต่ก่อน ขณะ และหลัง สิ้นสุดการรักษา เพื่อให้เป็นแนวทางในการดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง\n