Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

Caregiver stroke patients

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Nursing

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแล ผู้ป่วยของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน (The Effects Of A Self-Efficacy Promoting Program For Care Of Stroke Patients On Caregivers During The Transition Phase From Hospital To Home), อมรวรรณ กวีภัทรนนท์, ธีรนุช ห้านิรัติศัย, ปรีย์กมล รัชนกุล Jan 2013

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนในการดูแล ผู้ป่วยของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน (The Effects Of A Self-Efficacy Promoting Program For Care Of Stroke Patients On Caregivers During The Transition Phase From Hospital To Home), อมรวรรณ กวีภัทรนนท์, ธีรนุช ห้านิรัติศัย, ปรีย์กมล รัชนกุล

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือด สมองในระยะเปลี่ยนผ่านจากโรงพยาบาลสู่บ้าน \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยกึ่งทดลอง \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตามคุณสมบัติที่กำหนดจำนวน 23 คน โปรแกรมที่ใช้ในการศึกษาประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้สมรรถนะแห่งตนร่วมกับการดูแลผู้ป่วยอย่าง ต่อเนื่อง แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ขณะอยู่โรงพยาบาล และหลังจำหน่าย 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้สมรรถนะแห่งตนในการดูแลผู้ป่วย แบบสอบถาม ความสามารถในการปรับตัว และแบบวัดความผาสุกของผู้ดูแล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ํา และสถิติทดสอบแบบแมคนีมาร์ \nผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีค่าเฉลี่ยการรับรู้สมรรถนะแห่งตนภายหลังจำหน่ายจาก โรงพยาบาลในสัปดาห์ที่ 2 และ 6 มากกว่าก่อนเริ่มโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) และ จำนวนผู้ดูแลที่มีความผาสุกในสัปดาห์ที่ 6 หลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล มากกว่าก่อนเริ่มโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ค่าเฉลี่ยการปรับตัวหลังจำหน่ายจากโรงพยาบาลในสัปดาห์ที่ 2, 6 และก่อนเริ่มโปรแกรมไม่แตกต่างกัน (p > .05) \nสรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลสามารถนำโปรแกรมสำหรับผู้ดูแลนี้มาประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มความผาสุกได้