Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์;ความมั่นคงทางอาหาร;สตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Nursing

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม, ภาวิณี แววดี, นพวรรณ เปียซื่อ, สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ Sep 2017

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารของสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม, ภาวิณี แววดี, นพวรรณ เปียซื่อ, สุจินดา จารุพัฒน์ มารุโอ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษา 1) ความมั่นคงทางอาหารของสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม 2) ความสัมพันธ์ของปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัว ปัจจัยระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อมภายนอก ปัจจัยด้านเวลาและการเปลี่ยนแปลงกับความมั่นคงทางอาหาร และ 3) ความสัมพันธ์ของความมั่นคงทางอาหารกับภาวะสุขภาพของสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านม\n\nรูปแบบการวิจัย : การวิจัยแบบบรรยายเชิงวิเคราะห์ความสัมพันธ์\n\nวิธีดําเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีที่เป็นมะเร็งเต้านมอายุระหว่าง 20 ถึง 59 ปี จํานวน 197 คน โดยเลือกแบบสะดวกตามเกณฑ์คัดเข้า เก็บรวบรวมข้อมูลโดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามเกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหารแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม แบบสอบถามภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิต และการประเมินภาวะโภชนาการและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ข้อมูลถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติบรรยาย สถิติสหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน สถิติไคสแควร์ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความมั่นคงทางอาหารไม่ดี โดยมีปัญหาด้านปริมาณอาหารมากที่สุดตามมาด้วยด้านคุณภาพอาหาร ด้านความวิตกกังวลเรื่องอาหาร ด้านความปลอดภัยของอาหารและด้านผลจากมะเร็งเต้านมทั้งในช่วง 1 เดือนและ 1 ปีที่ผ่านมาตามลําดับ ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลและครอบครัวได้แก่ รายได้มีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหาร (rs= .241, p = .001) ปัจจัยระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อมภายนอกได้แก่ แรงสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวมีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารด้านปริมาณอาหาร (rs = -.168, p = .018) ปัจจัยด้านเวลาและการเปลี่ยนแปลงได้แก่ ระยะเวลาการเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์กับความมั่นคงทางอาหารด้านความปลอดภัยของอาหาร (rs = .242, p = .001) นอกจากนี้ยังพบว่าความมั่นคงทางอาหารมีความสัมพันธ์กับทั้งการรับรู้ภาวะสุขภาพ (rs = .294, p < .001) และคุณภาพชีวิต (rs = .258, p < .001)\n\nสรุป : ผลการศึกษาครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชนและทีมสุขภาพควรประเมินการได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือ และติดตามเฝ้าระวังปัญหาความมั่นคงทางอาหารของสตรีที่เป็นมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีรายได้น้อย และได้รับผลกระทบจากปัญหาสุขภาพอย่างมาก รวมทั้งส่งเสริมแรงสนับสนุนทางสังคมโดยเฉพาะแรงสนับสนุนจากครอบครัว