Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2013

คุณภาพชีวิต

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Nursing

อิทธิพลของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ความแตกฉานด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว (The Influence Of Uncertainty In Illness, Health Literacy, And Social Support On Quality Of Life Of Patients With Heart Failure), วนิดา หาจักร, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ Jan 2013

อิทธิพลของความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ความแตกฉานด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคมต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว (The Influence Of Uncertainty In Illness, Health Literacy, And Social Support On Quality Of Life Of Patients With Heart Failure), วนิดา หาจักร, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว และทำนายความรู้สึกไม่แน่นอนใน ความเจ็บป่วย ความแตกฉานด้านสุขภาพ และการสนับสนุนทางสังคมที่มีต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ภาวะหัวใจล้มเหลว \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงความสัมพันธ์พยากรณ์ \nวิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี ที่มา ติดตามรับการรักษา ณ คลินิกโรคหัวใจ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 85 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความ รู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยฉบับชุมชน แบบประเมินความแตกฉานด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานสำหรับ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว แบบวัดการช่วยเหลือทางสังคมแบบพหุมิติ และแบบสอบถามวิถีชีวิตของ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์ความเที่ยงแล้ว มีค่า ความเที่ยงมากกว่า 0.80 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน \nและการวิเคราะห์ถดถอยแบบเข้าพร้อมกัน \nผลการวิจัย: \n1. ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับปานกลางร้อยละ 54.1 \n2. ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีความแตกฉานด้านสุขภาพอยู่ในระดับไม่เพียงพอร้อยละ 47.1\n3. ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยเพียงตัวแปรเดียวที่สามารถทํานายคุณภาพชีวิตของ ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (B = 651, p < .001) \n4. ความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วย ความแตกฉานด้านสุขภาพ การสนับสนุนทางสังคม สามารถร่วมกันทำนายคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวได้ร้อยละ 46.8 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ AWANG (R2 = .468, p < .001) \nสรุปและข้อเสนอแนะ: \nการศึกษาครั้งนี้พบว่าความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยสามารถทำนายคุณภาพ ชีวิตได้สูง จึงควรนำผลการวิจัยที่ได้มาพัฒนาโปรแกรมการดูแลผู้ป่วย และมีการทดสอบประสิทธิผลของ โปรแกรม เพื่อลดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยที่จะส่งผลให้ผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีคุณภาพชีวิต ที่ดีต่อไป