Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2014

โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์;พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย;พนักงานหญิงบริการ

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Nursing

ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะต่อพฤติกรรม การใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการ, นิติยา ฤทธิไกร, รัตน์ศิริ ทาโต Jan 2014

ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจและการพัฒนาทักษะต่อพฤติกรรม การใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการ, นิติยา ฤทธิไกร, รัตน์ศิริ ทาโต

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการ ป้องกันโรคเอดส์ต่อพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการ\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานหญิงบริการที่ปฏิบัติงานในสถานบริการคาราโอเกะ 2 แห่ง ที่มีลักษณะการให้บริการใกล้เคียงกัน คัดเลือกสถานบริการโดยการเลือกตามสะดวก แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน (1 สถานบริการ) และกลุ่มควบคุม 25 คน (1 สถานบริการ) กลุ่มควบคุมได้รับความรู้ตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการให้ข้อมูลฯ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัย เครื่องมือวิจัยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยมีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 สัมประสิทธิ์แอลฟ่า ของครอนบาคเท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการทดสอบค่าที่\n \nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการหลังได้รับ โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์สูงกว่าก่อนได้รับ โปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01)\n2) ค่าเฉลี่ยของผลต่างคะแนนพฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการกลุ่มที่ ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์สูงกว่ากลุ่ม ที่ได้รับความรู้ตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .01)\n \nสรุป: โปรแกรมการให้ข้อมูล การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์สามารถ เพิ่มอัตราการใช้ถุงยางอนามัยในพนักงานหญิงบริการ จึงควรมีการส่งเสริมให้มีการให้ข้อมูล สร้างแรงจูงใจ และพัฒนาทักษะในการป้องกันโรคเอดส์ในกลุ่มเสี่ยงนี้อย่างกว้างขวางเพื่อลดอัตราการติดเอดส์ต่อไป\n