Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Nursing Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

2014

ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง;พฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง;โปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคม

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Nursing

ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมเสี่ยง โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง, ปานใจ กันยะมี, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์ May 2014

ผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมเสี่ยง โรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง, ปานใจ กันยะมี, ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมเสี่ยง ต่อโรคหลอดเลือดสมองในผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป อาศัยอยู่ใน ชุมชนเขตเทศบาลเมืองน่าน จังหวัดน่าน เลือกกลุ่มตัวอย่างตามสะดวก จํานวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่ม ทดลอง 20 คน และกลุ่มควบคุม 20 คน โดยจับคู่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกัน ในด้าน เพศ อายุ และระยะเวลาการเจ็บป่วย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับ โปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคม เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมเสี่ยง ต่อโรคหลอดเลือดสมอง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาของเครื่องมือโดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน และทดสอบ ความเที่ยงของแบบวัดพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองด้วย Cronbach's alpha coefficient ได้ ค่าเท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบด้วยสถิติที\n \nผลการวิจัย: 1) คะแนนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่ม ทดลองภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.01) นั่นคือ หลังได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองน้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ และ 2) คะแนนพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงกลุ่มที่เข้าร่วม โปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคม สูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<.01) นั่นคือ ผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูงที่ได้รับโปรแกรมการให้ความรู้และการ สนับสนุนทางสังคม การมีพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n\n สรุป: โปรแกรมการให้ความรู้และการสนับสนุนทางสังคมมีประสิทธิผลในการลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งมีประโยชน์ในการป้องกันภาวะเสียงของผู้สูงอายุโรคความดันโลหิตสูง\n\n\n