Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Dentistry Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

2014

Keyword

Articles 1 - 30 of 32

Full-Text Articles in Dentistry

ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์เพื่อการหยุดยั้งฟันผุในฟันน้ำนม, ประสิทธิ์ วงศ์สุภา, สุกัญญา เธียรวิวัฒน์, จันทร์พิมพ์ หินเทาว์ Sep 2014

ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์เพื่อการหยุดยั้งฟันผุในฟันน้ำนม, ประสิทธิ์ วงศ์สุภา, สุกัญญา เธียรวิวัฒน์, จันทร์พิมพ์ หินเทาว์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ของบทความนี้เพื่อทบทวนความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ที่ใช้ในทาง ทันตกรรมเพื่อหยุดยั้งฟันผุในฟันน้ํานม โดยข้อดีของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์คือ การใช้งานที่ง่าย ปลอดภัย ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ที่ใช้ในประเทศไทย เพื่อหวังผลในการหยุดยั้งฟันผุในฟันน้ํานมในเด็กวัยก่อนเรียน ความเข้มข้นร้อยละ 38 และมีฟลูออไรด์เป็นส่วนประกอบ 44,800 ส่วนในล้านส่วน จากการศึกษาพบว่า ประสิทธิผลของซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์ในการหยุดยั้งโรคฟันผุในฟันน้ํานมสูงถึงร้อยละ 70- 90 ความถี่ในการ ทาอยู่ที่ 1-2 ครั้งต่อปี และพบว่าความถี่ 2 ครั้งมีประสิทธิผลในการหยุดยั้งฟันผุดีกว่าความถี่ 1 ครั้ง ข้อที่ต้อง ระมัดระวังในการใช้ คือทาเฉพาะบริเวณที่เป็นรอยผุ ที่ไม่ทะลุโพรงประสาท หรือไม่ทาในพื้นที่ไม่มีชีวิต สําหรับ ข้อด้อยคือทําให้รอยผู้นั้นเปลี่ยนเป็นสีดํา และกรณีที่ทาไปติดผิวหนังหรือเนื้อเยื่อจะทําให้เนื้อเยื่อเปลี่ยนเป็นสีดําเช่นกัน อย่างไรก็ดีเนื่องจากมีความเข้มข้นของฟลูออไรด์ในปริมาณที่สูงจึงควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ซึ่งจาก ประสิทธิผลในการหยุดยั้งฟันผุ รวมทั้งข้อดีต่าง ๆ การใช้ซิลเวอร์ไดเอมีนฟลูออไรด์น่าจะเป็นทางเลือกหนึ่งในการ หยุดยั้งฟันผุโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฟันน้ํานม แต่ควรจะมีการศึกษาวิจัยในเรื่องด้านประสิทธิผลด้านความคุ้มทุน รวมทั้งความถี่ที่มีความเหมาะสมในการทา รวมถึงการศึกษาการนํามาใช้ในฟันแท้ต่อไป (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:371-80)


สมรรถนะในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของบัณฑิตจากโรงเรียนทันตแพทย์ที่ใช้ระบบปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้: ทรรศนะของบัณฑิตและนายจ้าง, ณัฏฐิรา สุขสุเดช, วรนุช เชษฐภักดีจิต Sep 2014

สมรรถนะในการประกอบวิชาชีพทันตกรรมของบัณฑิตจากโรงเรียนทันตแพทย์ที่ใช้ระบบปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้: ทรรศนะของบัณฑิตและนายจ้าง, ณัฏฐิรา สุขสุเดช, วรนุช เชษฐภักดีจิต

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะที่บัณฑิตจากโรงเรียนทันตแพทย์ที่ใช้ ระบบปัญหาเป็นฐานในการเรียนรู้ประเมินตนเอง และนายจ้างเป็นผู้ประเมิน และอธิบายปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับ ระดับสมรรถนะที่บัณฑิตประเมินตนเอง วัสดุและวิธีการ แบบสอบถามตอบด้วยตนเองถูกส่ง (ทางไปรษณีย์และบริการแบบสอบถามออนไลน์) ไปยัง บัณฑิตทันตแพทย์ที่จบการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2543-2553 จํานวน 289 คน และนายจ้างจํานวน 90 คน แบบสอบถามประกอบด้วยการประเมินสมรรถนะด้านทักษะทางปัญญา ทักษะความเป็นวิชาชีพ ทักษะทันตกรรม ชุมชน และทักษะด้านคลินิก จํานวน 53 ข้อ แต่ละข้อมี 6 ตัวเลือก จากดีมาก (5) ถึงแย่มาก (1) และไม่สามารถ ประเมินได้ (0) ระดับสมรรถนะของบัณฑิตจะพิจารณาจากสัดส่วนของผู้ที่ประเมินตนเองอยู่ในระดับดีและดีมากแล้วนํามาจัดเกณฑ์พิจารณาสมรรถนะตามสัดส่วนของผู้ที่ประเมินตนเองอยู่ในระดับดีและดีมาก ได้แก่ สมรรถนะ ดีเยี่ยม (ตั้งแต่ร้อยละ 70 ขึ้นไป) ปานกลาง (ร้อยละ 60-69) และต้องปรับปรุง (น้อยกว่าร้อยละ 60) ผลการศึกษา อัตราการตอบแบบสอบถามกลับของบัณฑิต ร้อยละ 73 บัณฑิตส่วนใหญ่มีประสบการณ์ทํางาน มากกว่า 5 ปี และส่วนน้อยที่สําเร็จการศึกษาหลังปริญญา ผลการศึกษาพบว่านายจ้างและบัณฑิตเห็นสอดคล้อง กันว่าบัณฑิตมีสมรรถนะอยู่ในเกณฑ์ดีเยี่ยมเรื่องการระบุอาการหลักของผู้ป่วย และสมรรถนะที่ควรปรับปรุง เช่น การจัดการผู้ป่วยกลุ่มเด็กแรกเกิด และผู้ป่วยที่ถูกทารุณกรรม ทั้งนี้ยังมีบางสมรรถนะที่นายจ้างเห็นว่าควรได้รับ การปรับปรุงเพิ่มเติม เช่น ทักษะการทําวิจัย ทักษะการประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์ และการวางแผนโครงการ สร้างเสริมสุขภาพ นอกจากนี้พบว่าค่าเฉลี่ยสมรรถนะของบัณฑิตที่ศึกษาต่อหลังปริญญาสูงกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ศึกษา ต่อหรือกลุ่มที่อยู่ระหว่างการศึกษาต่อเนื่อง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p<0.05) สรุป บัณฑิตทันตแพทย์ที่ตอบแบบสอบถามเห็นว่าตนเองมีสมรรถนะในการดูแลผู้ป่วยโดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ ดีเยี่ยมและสมรรถนะที่บัณฑิตประเมินตนเองมีความสอดคล้องกับความเห็นของนายจ้างในบางประเด็น สําหรับสมรรถนะที่ถูกประเมินว่าต้องปรับปรุงนั้น ควรนํามาพิจารณาในการพัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรีและหลังปริญญาต่อไป (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:341-50)


ประสิทธิภาพการปิดผนึกคลองรากฟันของเทคนิคการอุดคลองรากฟัน 3 เทคนิค ในฟันกรามล่างที่มีส่วนคอดคลองรากฟัน, ธนวรรณ แม่นวิวัฒนกุล, ปิยาณี พาณิชย์วิสัย Sep 2014

ประสิทธิภาพการปิดผนึกคลองรากฟันของเทคนิคการอุดคลองรากฟัน 3 เทคนิค ในฟันกรามล่างที่มีส่วนคอดคลองรากฟัน, ธนวรรณ แม่นวิวัฒนกุล, ปิยาณี พาณิชย์วิสัย

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการปิดผนึกคลองรากฟันในฟันกรามล่างที่มีส่วนคอดคลอง รากฟันของเทคนิคการอุดคลองรากฟัน 3 เทคนิคโดยใช้แบบจําลองการรั่วซึมของกลูโคส วัสดุและวิธีการ นําฟันกรามล่างมนุษย์จํานวน 70 ที่ได้รับการระบุและจําแนกประเภทของส่วนคอดคลอง รากฟันด้วยเครื่องไมโครที่มาขยายคลองรากฟันด้านใกล้กลางโดยใช้ไฟล์นิกเกิลไทเทเนียมชนิดหมุนด้วยเครื่อง แบ่งฟันโดยการสุ่มออกเป็น 3 กลุ่มทดลอง (กลุ่มละ 20 ) กลุ่มควบคุมบวกและกลุ่มควบคุมลบ (กลุ่มละ 5 ปี) อุดคลองรากฟันในกลุ่มทดลองโดยใช้เทคนิคแลทเทอรัล คอนเดนเซชั่น แมทซ์เทปเปอร์ซิงเกิลโคน และคอนตินิวอาส เวฟคอมแพคชันด้วยกัตทาเพอร์ชาและเอเอสพลัสซีลเลอร์ หลังการอุดคลองรากฟันตัดรากฟันด้านไกลกลางออก ประเมินการรั่วซึมโดยใช้แบบจําลองการรั่วซึมผ่านของกลูโคสในระยะเวลา 28 วัน ผลการศึกษา ไม่พบการรั่วซึมของกลูโคสในทั้ง 3 กลุ่มทดลอง จากผลดังกล่าวจึงไม่มีการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ สรุป เทคนิคการอุดคลองรากฟันที่แตกต่างกันไม่มีผลต่อประสิทธิภาพการปิดผนึกของวัสดุอุดคลองรากฟันในฟันกรามล่างที่มีรูปร่างไม่สม่ําเสมอและมีส่วนคอดคลองรากฟัน การเลือกใช้เทคนิคที่ง่ายกว่าร่วมกับซีลเลอร์ที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมอาจถูกนํามาใช้เป็นทางเลือกในการขุดคลองรากฟันที่มีส่วนคอดคลองรากฟันได้ (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:267-78)


การรักษาเนื้อเยื่อในแบบคงความมีชีวิตในฟันกรามแท้ที่มีเนื้อเยื่อในอักเสบแบบไม่ผันกลับ: รายงานผู้ป่วย, ศุภกร สุขสมัย Sep 2014

การรักษาเนื้อเยื่อในแบบคงความมีชีวิตในฟันกรามแท้ที่มีเนื้อเยื่อในอักเสบแบบไม่ผันกลับ: รายงานผู้ป่วย, ศุภกร สุขสมัย

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วย หญิงไทยอายุ 13 ปี ได้รับการรักษาเนื้อเยื่อในแบบคงความมีชีวิตในฟันกรามแท้ล่างซ้าย ซี่ที่ 1 ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเนื้อเยื่อในอักเสบแบบไม่ผันกลับ ด้วยการตัดเนื้อเยื่อในส่วนตัวฟันออกบางส่วน ปิดทับด้วยเอ็มทีเอ และบูรณะฟันด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ และเรซินคอมโพสิต จากการติดผลการรักษา 18 เดือน พบว่าประสบความสําเร็จดี ไม่มีอาการ จากทั้งทางคลินิก และภาพถ่ายรังสี โดยฟันยังคงความมีชีวิต และใช้งานได้ตามปกติ (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:351-60)


สะพานฟันชนิดคานยื่น, ศิริพร อรุณประดิษฐ์กุล, จิสภาวรรณ ริยะตานนท์ Sep 2014

สะพานฟันชนิดคานยื่น, ศิริพร อรุณประดิษฐ์กุล, จิสภาวรรณ ริยะตานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

ทางเลือกของการรักษาโดยการใส่ฟันเทียมเพื่อทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไปสามารถใส่ได้ทั้งรากเทียมฟันเทียมบางส่วนแบบติดแน่นและฟันเทียมบางส่วนแบบถอดได้ ปัจจุบันแม้รากเทียมจะได้รับความนิยมมากขึ้น แต่รากเทียมยังมีราคาแพง ทําให้ผู้ป่วยไทยส่วนใหญ่ยังไม่สามารถเข้าถึงบริการได้ ส่วนการใส่ฟันเทียมบางส่วน ถอดได้สร้างความรําคาญ ไม่สะดวกสบายให้กับผู้ป่วย ในขณะที่การใส่ฟันเทียมบางส่วนแบบติดแน่นหรือสะพานฟันต้องกรอเตรียมฟันหลักสองข้างของช่องว่าง สะพานฟันชนิดคานยื่น เป็นทางเลือกหนึ่งในการรักษาเพื่อ ทดแทนฟันที่สูญเสียไปและลดการสูญเสียเนื้อฟันที่ดีของฟันหลักข้างเคียง บทความนี้จึงนําเสนอข้อดีและข้อเสีย ปัจจัยที่มีผลต่อความสําเร็จ การจัดแบ่งประเภท ข้อบ่งใช้ และข้อห้ามใช้ของสะพานฟันชนิดนี้ (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:361-70)


การดัดแปลงข้ามวัฒนธรรมของแบบประเมินCpq11-14 เพื่อวัดคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนประถมศึกษา, ธิดารัตน์ นวนศรี, ทรงชัย ฐิตโสมกุล Sep 2014

การดัดแปลงข้ามวัฒนธรรมของแบบประเมินCpq11-14 เพื่อวัดคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากของเด็กนักเรียนประถมศึกษา, ธิดารัตน์ นวนศรี, ทรงชัย ฐิตโสมกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินความตรงและความเที่ยงของการดัดแปลงข้ามวัฒนธรรมของแบบประเมิน CPQ11-14 และเพื่อหาความสัมพันธ์ของคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากกับสภาวะสุขภาพช่องปากในเด็กประถมศึกษา วัสดุและวิธีการ นําแบบสอบถาม CPQ11-14 มาดัดแปลงข้ามวัฒนธรรมจนได้ฉบับภาษาไทย แล้วทดสอบ ความตรงเฉพาะหน้า วิเคราะห์ความตรงตามโครงสร้าง จัดกลุ่มใหม่เป็น 4 องค์ประกอบคือ ด้านจิตใจและสังคมความเจ็บปวดและไม่สะดวกสบาย การสนทนาสื่อสารกับผู้อื่น และการเรียน ร่วมกับการทดสอบความเที่ยงภายใน ความเที่ยงภายนอก และความตรงตามสภาวะ นําไปใช้กับกลุ่มตัวอย่าง 481 คน แสดงคะแนน CPQ11-14 รวมแล้วหาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพช่องปากกับฟันผุและเหงือกอักเสบ ผลการศึกษา เด็กร้อยละ 96.85 รับรู้ผลของสภาวะช่องปากต่อคุณภาพชีวิตโดยมี คะแนน CPQ11-14 รวมเฉลี่ย 10.11 +8.33 คะแนน (คะแนนเต็ม 120) ร้อยละ 98.70 มีฟันแท้ผุ ประสบการณ์ฟันแท้ 12.44 ด้าน/คน ฟันผุ ระดับเริ่มต้น 10.48 ด้าน/คน และฟันผุระดับรุนแรง 1.53 ด้าน/คน คุณภาพชีวิตของนักเรียนมีความสัมพันธ์กับ ความชุกและความรุนแรงของฟันผุในทุกองค์ประกอบ ด้านที่ได้รับผลมากสุดคือการสนทนาสื่อสารกับผู้อื่น ส่วน ด้านความเจ็บปวดและไม่สะดวกสบายได้รับผลเมื่อมีฟันผุระดับรุนแรงซึ่งจะส่งผลต่อการเรียนในที่สุด เด็กร้อยละ 99.54 มีเหงือกอักเสบแต่ไม่พบความสัมพันธ์กับคะแนน CPQ11-14 ใด ๆ เลย สรุป แบบประเมิน CPQ11-14 ที่ได้จากการดัดแปลงข้ามวัฒนธรรมสามารถประเมินคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพ ช่องปากของนักเรียนนักเรียนชั้นประถมศึกษาได้ ระดับการรับรู้ถึงผลต่อคุณภาพชีวิตแปรผันตามระดับความรุนแรงของฟันผุ (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:327-340)


In Vitro Study On The Efficacy In Assisting Gutta-Percha Removal And Cytotoxicity Of Essential Oil From Citrus Maxima (Pomelo Oil), Peraya Surapipongpuntr, Niratcha Chaisomboon, Thosapol Piyapattamin Sep 2014

In Vitro Study On The Efficacy In Assisting Gutta-Percha Removal And Cytotoxicity Of Essential Oil From Citrus Maxima (Pomelo Oil), Peraya Surapipongpuntr, Niratcha Chaisomboon, Thosapol Piyapattamin

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To evaluate the efficacy in assisting gutta-percha removal of an essential oil from Citrus maxima (pomelo oil) and its cytotoxicity on human gingival fibroblasts when compared to orange oil and xylene. Materials and methods Forty human single-rooted teeth were instrumented and filled with gutta-percha at their apical one third. The gutta-percha filled in root canal was softened with each solvent, pomelo oil, orange oil, xylene or distilled water (n=10 for each group). Gutta-percha was firstly removed with #25 K-file to reach a working length and then completely removed with Hedström files. The complete removal was verified by a microscope …


การเปรียบเทียบกําลังแรงยึดแบบเฉือนของ แบร๊กเกตโลหะเมื่อฉายแสงบ่มด้วยเครื่องฉายแสงแอลอีดีทีมีความเข้มแสงแตกต่างกัน, ปรีญา สุวรรณวิฑิต, จินตนา ศิริชุมพันธ์ Sep 2014

การเปรียบเทียบกําลังแรงยึดแบบเฉือนของ แบร๊กเกตโลหะเมื่อฉายแสงบ่มด้วยเครื่องฉายแสงแอลอีดีทีมีความเข้มแสงแตกต่างกัน, ปรีญา สุวรรณวิฑิต, จินตนา ศิริชุมพันธ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบกําลังแรงยึดแบบเฉือนของแบร์กเกตโลหะ และดัชนีส่วนเหลือสารยึดติดเมื่อฉายแสงบ่มด้วยเครื่องฉายแสงแอลอีดีที่มีความเข้มแสงแตกต่างกัน 2 ชนิด วัสดุและวิธีการ ฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่ง 60 ซี่ที่ถอนจากผู้ป่วยจัดฟันจํานวน 30 คน (ด้านซ้าย 1 และด้านขวา 1 ปี ต่อผู้ป่วย 1 คน) สุ่มฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่ง 1 จากผู้ป่วยแต่ละคนเป็นกลุ่มที่ 1 และฟันกรามน้อยซี่ที่หนึ่งที่ เหลือเป็นกลุ่มที่ 2 ยึดแบร็กเกตโลหะบนผิวเคลือบฟันที่ถูกฝังในท่อพีวีซี ด้วยวัสดุเรซินยึดติดที่บ่มตัวด้วยแสง ยี่ห้อทรานสบอนด์เอ็กซ์ที โดยฉายแสงตั้งฉากกับฐานแบร์กเกตโลหะด้วยเครื่องฉายแสงแอลอีดีรุ่นวัดเล็กเก้อ ที่มีความเข้มแสง 850 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร ในกลุ่มที่ 1 และเครื่องฉายแสงแอลอีดีรุ่นมินิแอลอีดีทรี ที่มี ความเข้มแสง 2,200 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร ในกลุ่มที่ 2 เป็นเวลา 10 และ 3 วินาที ตามลําดับ จากนั้น แช่ฟันในน้ํากลั่นอุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง แล้วทดสอบกําลังแรงยึดแบบเฉือนด้วยเครื่อง ทดสอบอเนกประสงค์ ความเร็วหัวตัด 0.5 มิลลิเมตร/นาที จนกระทั่งแบร์กเกตหลุด และศึกษาดัชนีส่วนเหลือสาร ยึดติดด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอที่กําลังขยาย 10 เท่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที่แบบอิสระและสถิติการ ทดสอบไคสแควร์ตามลําดับ ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา ค่ากําลังแรงยึดแบบเฉือนมีค่า 21.34 + 2.45 และ 19.32 + 1.89 เมกะปาสคาล ในกลุ่มที่ 1 และ 2 ตามลําดับ ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ ค่าดัชนีส่วนเหลือสารยึดติดระหว่าง 2 กลุ่ม มีการกระจายที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ สรุป เครื่องฉายแสงแอลอีดีที่มีความเข้มแสงแตกต่างกัน มีผลอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติต่อกําลังแรงยึดแบบเฉือนของแบร๊กเกตโลหะและดัชนีส่วนเหลือสารยึดติด (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:259-66)


ผลของสื่อโสตทัศน์ต่อความรู้เรื่องฟันและความสามารถในการตรวจฟันด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, ณฐพร หาตรงจิตต์, พรพรรณ อัศวาณิชย์, บุษยรัตน์ สันติวงศ์ Sep 2014

ผลของสื่อโสตทัศน์ต่อความรู้เรื่องฟันและความสามารถในการตรวจฟันด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, ณฐพร หาตรงจิตต์, พรพรรณ อัศวาณิชย์, บุษยรัตน์ สันติวงศ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความรู้เรื่องฟันและความสามารถในการตรวจฟันด้วยตนเองของนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 กลุ่มหนึ่งภายหลังดูสื่อโสตทัศน์ วัสดุและวิธีการ การศึกษานี้ทําในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหมากแข้ง จังหวัดอุดรธานี อายุ 10-13 ปี ที่มีฟันแท้ครบ 24 ที่จํานวน 75 คน ใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม ควบคุม และกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มทดลองจะได้ดูสื่อโสตทัศน์เรื่องฟันผุ ส่วนกลุ่มควบคุมไม่ได้ดูสื่อโสตทัศน์ วัดความรู้เรื่องฟันโดยใช้แบบวัดผลซึ่งเป็นภาพฟันผุและฟันไม่ผุจํานวน 10 รูป (10 คะแนน) และวัดความ สามารถในการตรวจฟันแต่ละซี่ด้วยตนเองโดยใช้กระจก (24 ซี่ 24 คะแนน) วัดความรู้เรื่องฟันและความสามารถ ในการตรวจฟัน 2 ครั้งคือ ก่อนการทดลอง 2 สัปดาห์ และหลังการดูสื่อโสตทัศน์ทันที เปรียบเทียบค่าเฉลี่ย คะแนนที่เพิ่มขึ้นของคะแนนความรู้ และความสามารถในการตรวจฟันด้วยตนเองระหว่าง 2 กลุ่มด้วยสถิติ แมนวิดนีย์ ยู เทสต์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา กลุ่มควบคุมได้คะแนนความรู้เฉลี่ยก่อนและหลังการทดลอง 4.4+1.7 คะแนน และ 4.9 +1.7 คะแนน ตามลําดับ ส่วนกลุ่มทดลองได้คะแนนความรู้ก่อนและหลังการทดลองเฉลี่ย 4.3 + 1.8 คะแนน และ 7.6 +1.4 คะแนน ตามลําดับ พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ที่เพิ่มขึ้นของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.001) ส่วนคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการตรวจฟันด้วยตนเองของกลุ่มควบคุมก่อนและหลังการทดลองมี ค่า 20.0 + 4.8 คะแนน และ 21.6 + 3.3 คะแนนตามลําดับ ส่วนกลุ่มทดลองได้คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการ ตรวจฟันก่อนและหลังการทดลอง 18.9 + 5.1 คะแนน และ 19.2 + 5.0 คะแนนตามลําดับ พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนน ความสามารถในการตรวจฟันที่เพิ่มขึ้นหลังการดูสื่อโสตทัศน์ของกลุ่มทดลองไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (p=0.076) สรุป สื่อโสตทัศน์เรื่องฟันผุทําให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีความรู้เรื่องฟันเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ แต่การดูสื่อโสตทัศน์เพียงครั้งเดียวไม่เพียงพอที่จะทําให้นักเรียนมีความสามารถในการตรวจฟันในช่องปากด้วยตนเองได้ถูกต้องมากขึ้น (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:317-26)


กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนมุสลิมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 0-3 ปี: กรณีศึกษาในอําเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี, นาริศา ทีมสุหรี, จรัญญา หุ่นศรีสกุล, อัจฉรา วัฒนาภา Sep 2014

กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชนมุสลิมในการดูแลสุขภาพช่องปากเด็ก 0-3 ปี: กรณีศึกษาในอําเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี, นาริศา ทีมสุหรี, จรัญญา หุ่นศรีสกุล, อัจฉรา วัฒนาภา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและพัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมที่ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ช่องปากเด็กอายุ 0-3 ปีของผู้ปกครองในชุมชนมุสลิม วัสดุและวิธีการ ศึกษาและ พัฒนากระบวนการมีส่วนร่วมภายใต้แนวคิดงานวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บ ข้อมูลโดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตแบบมีส่วนร่วม วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงคุณภาพตามแนวทางการวิเคราะห์เนื้อหา และวิธีการเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ในรูปร้อยละ ผลการศึกษา ทีมวิจัยส่งเสริมศักยภาพแกนนําชุมชนภายใต้แนวคิดการมีส่วนร่วม โดยเน้นการปฏิบัติจริงควบคู่กับการสะท้อนการเรียนรู้และการชื่นชมเป็นระยะ ซึ่งแกนนําชุมชนเกิดการเรียนรู้และเพิ่มศักยภาพในการดูแลสุขภาพช่องปากทั้งของเด็กและตนเองตลอดถึงสามารถทํางานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน โดยแกนนําชุมชนสามารถจัดกิจกรรมให้กับผู้ปกครองและชุมชนโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของชุมชนและการเข้าถึงชุมชนในรูปแบบที่ง่ายเป็นกันเองและเน้นการปฏิบัติจริงที่สัมพันธ์กับแนวทางการดําเนินชีวิตของมุสลิม ได้แก่ การให้ความรู้และเสริมทักษะ แก่ผู้ปกครอง ตามความต้องการเป็นระยะ ๆ อย่างต่อเนื่อง พบว่า ผู้ปกครองสามารถดูแลสุขภาพช่องปากของเด็ก และตนเองได้ดีขึ้น โดยผู้ปกครองมีพฤติกรรมการแปรงฟันให้ลูกทุกวัน โดยเฉพาะช่วงเช้าเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 75 เป็น ร้อยละ 90 และก่อนนอนเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 45 เป็นร้อยละ 60 ในขณะที่ผู้ปกครองเองแปรงฟันก่อนละหมาด ทุกครั้งเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 15 เป็นร้อยละ 40 และผู้ปกครองแปรงฟันทันทีหลังจากรับประทานอาหารที่มีรสหวาน เพิ่มขึ้น จากร้อยละ 35 เป็นร้อยละ 70 สรุป กระบวนการมีส่วนร่วมทําให้แกนนําชุมชนมีศักยภาพเพิ่มขึ้นในการดูแลสุขภาพช่องปากของตนเองและแกนนําชุมชนสามารถส่งเสริมให้ผู้ปกครองเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากเด็กอายุ 0-3 ปีได้ โดยผ่านกระบวนการพัฒนาหลักคือ การสร้างการมีส่วนร่วมของแกนนําชุมชนโดยทีมวิจัยและการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ ปกครองและชุมชนโดยแกนนําชุมชน ผ่านการเสริมศักยภาพที่เน้นการปฏิบัติจริงที่สอดคล้องกับความต้องการ ควบคู่กับสะท้อนผลการปฏิบัติงาน เพื่อให้มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณภายใต้การเสริมแรงเชิงบวก (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:299-316)


ความสัมพันธ์ระหว่างฐานกระดูกรองรับฟันกับลักษณะการเอียงตัวของฟันหน้าในผู้ป่วยลักษณะโครงสร้างกะโหลกศีรษะแบบที่สาม, พฤทธ์ เกียรติวงศ์, ศิริมา เพ็ชรดาชัย, วิจิตรศักดิ์ โชลิตกุล Sep 2014

ความสัมพันธ์ระหว่างฐานกระดูกรองรับฟันกับลักษณะการเอียงตัวของฟันหน้าในผู้ป่วยลักษณะโครงสร้างกะโหลกศีรษะแบบที่สาม, พฤทธ์ เกียรติวงศ์, ศิริมา เพ็ชรดาชัย, วิจิตรศักดิ์ โชลิตกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะโครงสร้างและรูปร่างของฐานกระดูกรองรับฟันกับการ เอียงตัวของฟันหน้า ในผู้ป่วยที่มีโครงสร้างกะโหลกศีรษะแบบที่สาม วัสดุและวิธีการ เลือกกลุ่มตัวอย่างจากภาพรังสีกะโหลกศีรษะด้านข้างของผู้ป่วยที่มารับการรักษาทางทันตกรรม จัดฟันที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จํานวน 73 ราย อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป มีค่ามุมเอเอ็นบี น้อยกว่า 1 องศา มีค่าสบเหลื่อมแนวราบน้อยกว่า 0 มิลลิเมตร นําภาพรังสีมาลอกลายหาความสัมพันธ์ระหว่าง โครงสร้างฐานกระดูกรองรับฟันกับการเอียงตัวของฟันหน้า แยกเป็นขากรรไกรบน 3 ตัวแปร ขากรรไกรล่าง 3 ตัวแปรโดยใช้ค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05 ผลการศึกษา ผู้ป่วยไทยที่มีลักษณะโครงสร้างกะโหลกศีรษะแบบที่สาม การเอียงตัวของฟันหน้าบนไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับความสูงของฐานกระดูกขากรรไกรบนและความกว้างของฐานกระดูกขากรรไกรบนบริเวณปลาย รากฟันหน้าบน และการเอียงตัวของฟันหน้าล่างไม่มีความสัมพันธ์กับความสูงของฐานกระดูกขากรรไกรล่างและความกว้างของฐานกระดูกขากรรไกรล่างบริเวณปลายรากฟันหน้าล่าง (ที่ระดับนัยสําคัญ 0.05) สรุป ในผู้ป่วยที่มีโครงสร้างกะโหลกศีรษะแบบที่สามพบว่าลักษณะโครงสร้างและรูปร่างของฐานกระดูกรองรับฟันไม่มีความสัมพันธ์ทางสถิติกับการเอียงตัวของฟันหน้าทั้งในขากรรไกรบนและขากรรไกรล่าง (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:279-88)


ความชอบของทันตแพทย์ไทยต่อสัดส่วนความกว้างและอัตราส่วนความกว้างต่อความสูงของฟันหน้าบน, ชยพร ศุภชาติวงศ์, เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์ May 2014

ความชอบของทันตแพทย์ไทยต่อสัดส่วนความกว้างและอัตราส่วนความกว้างต่อความสูงของฟันหน้าบน, ชยพร ศุภชาติวงศ์, เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อจัดหาข้อมูลมาตรฐานของสัดส่วนและอัตราส่วนของฟันหน้าที่ทันตแพทย์ไทยสามารถนํามาใช้ในการออกแบบฟันหน้า วัสดุและวิธีการ รูปรอยยิ้มซึ่งถูกนํามาตกแต่งด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพโดยปรับภาพอัตราส่วนความกว้างต่อ ความยาวของฟันหน้า ให้มีลักษณะ 3 รูปแบบ ได้แก่ ฟันปกติ (ร้อยละ 78) ฟันยาว (ร้อยละ 71) และฟันสั้น (ร้อยละ 87) ซึ่งในแต่ละอัตราส่วนความกว้างต่อความยาวนั้น สัดส่วนฟันหน้าต่อฟันข้างต่อฟันเขี้ยวจะถูกปรับแต่ง เป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ สัดส่วนทองคํา สัดส่วน 70 อาร์อีดี และสัดส่วนเพรสตัน รูปรอยยิ้มที่แตกต่างกันถูกนํามา ทําเป็นแบบสํารวจเป็นคู่ 18 คู่และจัดให้ทันตแพทย์ไทย 242 คน ทําแบบสอบถามเลือกรูปที่ชอบระหว่างคู่นั้น ๆนําผลการสารวจที่ได้มาวิเคราะห์ผลการทดสอบแบบทวินามและการทดสอบฟิชเชอร์ ผลการศึกษา ไม่พบความแตกต่างของความชอบของทันตแพทย์ไทยต่อสัดส่วนฟันหน้าบนทั้งสามลักษณะอย่างมีนัยสําคัญในกลุ่มอัตราส่วนความกว้างต่อความยาวฟันแบบปกติและแบบยาว เมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มสัดส่วนฟันหน้าบนลักษณะเดียวกัน พบว่าฟันที่มีอัตราส่วนความกว้างต่อความยาวแบบฟันปกติได้รับความชอบสูงที่สุด และเมื่อนําปัจจัยอื่นได้แก่ สาขาวิชาที่ศึกษาต่อ เพศของทันตแพทย์ และอายุการทํางาน มาวิเคราะห์ร่วมพบว่า มีผลต่อความชอบลักษณะอัตราส่วนและสัดส่วนของฟันในบางคู่ สรุป ในกลุ่มทดลองทันตแพทย์ไทย อัตราส่วนความกว้างต่อความยาวฟันหน้า (โดยเฉพาะในกลุ่มฟันสั้น) มี อิทธิพลต่อความชอบในรอยยิ้มมากกว่าสัดส่วนฟันหน้าต่อฟันข้างต่อฟันเขี้ยว นอกจากนี้สาขาวิชาที่ศึกษาต่อ เพศ และอายุการทํางาน ก็อาจมีผลต่อความชอบในรอยยิ้มเช่นกัน (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:183-96)


โลหะผสมที่ใช้ในการสร้างตะขอสําหรับฟันเทียมบางส่วนถอดได้ในปัจจุบัน, ใจแจ่ม สุวรรณเวลา, มุทิตา พัวพิพัฒน์พงษ์ May 2014

โลหะผสมที่ใช้ในการสร้างตะขอสําหรับฟันเทียมบางส่วนถอดได้ในปัจจุบัน, ใจแจ่ม สุวรรณเวลา, มุทิตา พัวพิพัฒน์พงษ์

Chulalongkorn University Dental Journal

ตะขอสําหรับฟันเทียมบางส่วนถอดได้ ควรมีคุณสมบัติทางชีวกลศาสตร์ กายภาพสมบัติ และกลสมบัติที่ เหมาะสม ปัจจุบันมีวัสดุสําหรับสร้างตะขอหลายชนิด ได้แก่ โลหะ วัสดุสีเหมือนฟัน และวัสดุสีเหมือนเหงือก บทความปริทัศน์นี้ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโลหะชนิดต่าง ๆ ที่ใช้ในการทําตะขอในงานฟันเทียมบางส่วนถอดได้ในแง่ ขององค์ประกอบและคุณสมบัติของโลหะ รวมถึงข้อบ่งใช้ ข้อดี และข้อด้อย เพื่อเป็นข้อมูลให้ทันตแพทย์สามารถ เลือกใช้งานในทางคลินิกได้อย่างเหมาะสม (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:251-58)


ผลของเครื่องฉายแสง 3 ชนิด ที่มีความเข้มแสงต่างกันต่อความแข็งแรงของพันธะเฉือนในช่วงแรกของวัสดุยึดติดทางทันตกรรมจัดฟัน, พรรณทิพย์ ดงไพบูลย์, ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล, นําโชค พรมโสภา, สาริกซ์ คณานุรักษ์ May 2014

ผลของเครื่องฉายแสง 3 ชนิด ที่มีความเข้มแสงต่างกันต่อความแข็งแรงของพันธะเฉือนในช่วงแรกของวัสดุยึดติดทางทันตกรรมจัดฟัน, พรรณทิพย์ ดงไพบูลย์, ไพบูลย์ เตชะเลิศไพศาล, นําโชค พรมโสภา, สาริกซ์ คณานุรักษ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของเครื่องฉายแสง 3 ชนิด ที่มีความเข้มแสงต่างกันต่อความแข็งแรงของพันธะเฉือนในช่วงแรกของวัสดุยึดติดทางทันตกรรมจัดฟันชนิดหนึ่ง วัสดุและวิธีการ เตรียมฟันกรามน้อยบนจํานวน 60 ปี แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ๆ ละ 15 ซี เตรียมผิวฟันด้วยผงพัมมิซ และกรดฟอสฟอริก 30 วินาที ล้างน้ําและเป่าให้แห้งนําแบร็กเกตติดลงบนผิวฟันด้วยวัสดุยึดติดชนิดบ่มด้วยแสง โดย กลุ่ม 1 เครื่องฉายแสงฮาโลเจน (เดเมตรอน แอลซี) 410 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร 20 วินาที (กลุ่มควบคุม) กลุ่มที่ 2 เครื่องฉายแสงแอลอีดี (เดเมตรอน เอทู) 1,140 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร 20 วินาที กลุ่มที่ 3 เครื่อง ฉายแสงแอลอีดีชนิดเดียวกับกลุ่มที่ 2 1,140 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร 6 วินาที และกลุ่มที่ 4 เครื่องฉายแสง แอลอีดี (วาโล) 2,230 มิลลิวัตต์/ตารางเซนติเมตร 6 วินาที นําตัวอย่างทั้งหมดไปวัดค่าความแข็งแรงของพันธะ เฉือนหลังการฉายแสง 4 นาที ด้วยเครื่องทดสอบสากลเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงพันธะเฉือนใน แต่ละกลุ่ม โดยใช้การวิเคราะห์ทางสถิติค่าความแปรปรวนแบบทางเดียววัดค่าดัชนีการเหลืออยู่ของวัสดุติดยึดและ ทดสอบด้วยค่าทางสถิติไคสแควร์ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตราฐานของความแข็งแรงของพันธะเฉือนกลุ่มที่ 1 2 3 และ 4 เท่ากับ 4.76 ± 0.99 5.35 ± 1.47 3.98 + 1.07 และ 5.69 + 1.11 เมกะปาสคาลตามลําาดับ โดยค่าเฉลี่ย ความแข็งแรงของ พันธะเฉือน กลุ่มที่ 2 และ 4 มีค่ามากกว่ากลุ่มที่ 3 อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ …


Effect Of Resin Cement Thickness And Ceramic Thickness On Fracture Resistance Of Enamel-Bonded Ceramic, Pirat Karntiang, Chalermpol Leevailoj May 2014

Effect Of Resin Cement Thickness And Ceramic Thickness On Fracture Resistance Of Enamel-Bonded Ceramic, Pirat Karntiang, Chalermpol Leevailoj

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective This study aimed to evaluate the fracture resistance of enamel-boned ceramic with variations in cement and ceramic thickness. Materials and methods Leucite-reinforced and lithium-disilicate porcelain laminates (0.5 and 1 mm thick) were fabricated and cemented to human enamel using bonding agent and resin cement with the thicknesses of 30 and 100 μm. Non-cemented porcelain laminate was used as control. Fracture load (Newton) was obtained by pressing a 2 mm-diameter indenter rod against ceramic until the laminates fractured. Independent t-tests were used to compare mean fracture loads (MFL). Results The results obtained from both type of ceramic were in the …


Comparison Of Chewing Ability Of Mandibular Implant-Retained Overdenture Patients Using The Subjective And The Objective Assessments, Neerush Kunon, Orapin Kaewplung May 2014

Comparison Of Chewing Ability Of Mandibular Implant-Retained Overdenture Patients Using The Subjective And The Objective Assessments, Neerush Kunon, Orapin Kaewplung

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To compare the chewing ability of mandibular implant-retained overdenture in Thai elderly patients using the subjective and objective assessments. Materials and methods Thirty-three participants were recruited. Their chewing ability were evaluated twice: 1 month after implant placement and 3 months after the insertion of a mandibular implantretained overdenture. The subjective chewing ability was evaluated using a developed questionnaire consisting of 14 common food types. For the objective chewing ability, it was assessed by a wax cube analysis method. The relationship between the changes of chewing ability assessed by the subjective and the objective method was analyzed using Pearsonûs correlation …


Intrusion Phenomenon And Rebound Of A Natural Tooth Located Between Two Implant Supported Crowns: Case Report, Ketkarn Sakultap, Pravej Serichetaphongse May 2014

Intrusion Phenomenon And Rebound Of A Natural Tooth Located Between Two Implant Supported Crowns: Case Report, Ketkarn Sakultap, Pravej Serichetaphongse

Chulalongkorn University Dental Journal

This case report describes the intrusion of a natural tooth located between two implantsupported crowns after 7 months in function. The intruded first molar was 2.5-3 mm infraoccluded and tilted lingually. After 4 months of serial proximal contact adjustment, the intruded tooth was gradually rebounded to its normal position in complete occlusion with the opposing tooth. A new crown was fabricated for the molar to obtain the optimal proximal contact with the adjacent crowns. At the six-month follow up the tooth was still in its normal position. The potential mechanisms of tooth intrusion are described and discussed.


The Use Of Ceramic Veneers To Mask Moderately Tetracycline-Stained Teeth: A Case Report, Thida Chaipattanapruk, Chalermpol Leevailoj, Sirivimol Srisawasdi May 2014

The Use Of Ceramic Veneers To Mask Moderately Tetracycline-Stained Teeth: A Case Report, Thida Chaipattanapruk, Chalermpol Leevailoj, Sirivimol Srisawasdi

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To present an alternative treatment method using a minimally invasive approach employing ceramic veneers to mask staining of moderately tetracycline-stained teeth. Materials and methods A 39-year-old Thai female patient had a moderate type tetracycline-staining of both upper and lower anterior teeth, and 11 and 21 were fractured. A resin composite veneer had been placed on 14. The patient presented with a high smile line and an unsymmetrical gingival balance. Her oral hygiene was good and the gingival tissue was healthy. The treatment plan to create a harmonious gingival balance for 11, 12, and 13 was an esthetic crown lengthening. …


Effect Of Desensitizing Toothpaste On Microtensile Bond Strength Between Resin Composite And Dentin, Kochanipa Saisopa, Sirivimol Srisawasdi May 2014

Effect Of Desensitizing Toothpaste On Microtensile Bond Strength Between Resin Composite And Dentin, Kochanipa Saisopa, Sirivimol Srisawasdi

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To evaluate and compare the effects of two desensitizing toothpastes and a regular fluoride toothpaste on microtensile bond strength of two adhesive agents to dentin. Materials and methods The labial surfaces of forty bovine incisor crowns were ground flat, exposing dentin. The teeth were then randomly divided into four groups corresponding to the toothpaste used: 1) Sensodyne® Rapid Relief (GlaxoSmithKline, UK), 2) Colgate Sensitive Pro-ReliefTM (Colgate- Palmolive, Thailand), 3) Colgate® Regular Flavor (Colgate-Palmolive, Thailand), and 4) immersed in artificial saliva (control). Each tooth in groups 1-3 was brushed with its respective dentifrice under constant loading (200 g) at 250 …


การตอบสนองของเด็กต่อการเห็นเข็มขณะฉีดยาชาเฉพาะที่, วลีรัตน์ ศุกรวรรณ, อิศยา บุญอดุลยรัตน, รุจิรา เผื่อนอัยกา May 2014

การตอบสนองของเด็กต่อการเห็นเข็มขณะฉีดยาชาเฉพาะที่, วลีรัตน์ ศุกรวรรณ, อิศยา บุญอดุลยรัตน, รุจิรา เผื่อนอัยกา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการตอบสนองของเด็กขณะฉีดยาชาเฉพาะที่ระหว่างการเห็นและไม่เห็นเข็ม โดยประเมินจากระดับพฤติกรรมและการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจ วัสดุและวิธีการ เด็กก่อนวัยเรียน 60 คน แบ่งออกเป็นสองกลุ่มเท่ากัน กลุ่มไม่เห็นเข็มและกลุ่มเห็นเข็มขณะฉีดยา ประเมินระดับพฤติกรรมจากวิดีทัศน์โดยใช้เกณฑ์การประเมินที่ปรับปรุงจากเกณฑ์ของแฟรงค์และเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจของแต่ละบุคคล วิเคราะห์ความแตกต่างของระดับพฤติกรรมระหว่างกลุ่มด้วยสถิติของฟิชเชอร์ เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจระหว่างกลุ่มด้วยสถิติแมนวิทนีย์ ข้อมูลพื้น ฐานของกลุ่มตัวอย่างจะถูกวิเคราะห์ด้วยสถิติไคสแควร์หรือสถิติฟิชเชอร์ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา ระดับพฤติกรรมของกลุ่มไม่เห็นเข็มและกลุ่มเห็นเข็มขณะฉีดยาชาไม่แตกต่างกัน (ฟิชเชอร์ p = .000) และการเปลี่ยนแปลงอัตราการเต้นของหัวใจไม่แตกต่างกัน ระหว่างกลุ่มที่ไม่เห็นเข็มและเห็นเข็มเช่นกัน (แมนวิทนีย์p = 0.609) สรุป ในเด็กอายุ 4-5 ปี สามารถให้เด็กเห็นหรือไม่เห็นเข็มขณะฉีดยาชาได้ทั้งสองวิธี โดยต้องมีการเตรียมตัวเด็ก ที่ดีและการจัดการพฤติกรรมที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสําคัญเพื่อให้ประสบความสําเร็จในการฉีดยาชา (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:137-48)


ข้อควรพิจารณา และการจัดการทางทันตกรรมในผู้ป่วยโรคตับแข็ง, ธิติพงษ์ พฤกษศรีสกุล May 2014

ข้อควรพิจารณา และการจัดการทางทันตกรรมในผู้ป่วยโรคตับแข็ง, ธิติพงษ์ พฤกษศรีสกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

ผู้ป่วยโรคตับแข็งควรได้รับการดูแลรักษาทางทันตกรรมอย่างระมัดระวัง เนื่องจากผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลง ทางพยาธิสรีรวิทยา และมีภาวะแทรกซ้อนจํานวนมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการทํางานของตับที่เสื่อมลง ทันตแพทย์จึงจําเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคตับแข็งเพื่อใช้ในการประเมินสภาวะร่างกายของผู้ป่วยโรคตับแข็งแต่ละรายก่อนการรักษาทางทันตกรรม เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา บทความนี้ได้ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับโรคตับแข็งในประเด็นที่สําคัญ ได้แก่ สาเหตุ อาการและอาการแสดง อาการแสดงในช่องปาก ภาวะแทรกซ้อน การประเมินความรุนแรงของโรค ตลอดจนข้อควรระวังและข้อพิจารณาในการรักษาทาง ทันตกรรมในผู้ป่วยโรคตับแข็ง ได้แก่ การประเมินผู้ป่วยก่อนการรักษา การใช้ยาทางทันตกรรม ภาวะเลือดออก ผิดปกติและความเสี่ยงในการเกิดภาวะติดเชื้อจากการรักษาทางทันตกรรม เพื่อช่วยให้ทันตแพทย์สามารถปรับ เปลี่ยนแผนการรักษาทางทันตกรรมให้เหมาะสมกับผู้ป่วยโรคตับแข็งแต่ละรายได้ (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:241-50)


การรั่วซึมระดับจุลภาคของสารยึดติดหลังกําจัด การปนเปื้อนด้วยสารไพรเมอร์ที่มีฤทธิ์เป็นกรด, ญาณี ตันติเลิศอนันต์, ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์ Jan 2014

การรั่วซึมระดับจุลภาคของสารยึดติดหลังกําจัด การปนเปื้อนด้วยสารไพรเมอร์ที่มีฤทธิ์เป็นกรด, ญาณี ตันติเลิศอนันต์, ศิริวิมล ศรีสวัสดิ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลการรั่วซึมระดับจุลภาคของสารยึดติดระหว่างผิวฟันที่ไม่มีการปนเปื้อนน้ําลายกับผิวฟันที่มีการกําจัดการปนเปื้อนนั้นด้วยสารไพรเมอร์ของระบบสารยึดติดที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน วัสดุและวิธีการ เตรียมโพรงฟันคลาสไฟว์บนผิวฟันกรามน้อยด้านใกล้แก้มจํานวน 108 ซี่ แบ่งเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ไม่มีการปนเปื้อนของออปติบอนด์ เอฟแอล ออปติบอนด์ เอ็กซ์ทีอาร์ ออปติบอนด์ ออลอินวัน (กลุ่ม FC XC AC ตามลําดับ) กลุ่มที่มีการปนเปื้อนของน้ําลายและกําจัดด้วยสารไพรเมอร์ก่อนการฉายแสงของสาร ยึดติดทั้ง 3 ชนิด (กลุ่ม FB XB AB ตามลําดับ) และกลุ่มที่มีการปนเปื้อนของน้ําลายและกําจัดหลังการฉายแสง ของสารยึดติดทั้ง 3 ชนิด (กลุ่ม FA XA AA ตามลําดับ) บูรณะด้วยเรซินคอมโพสิต (พรีมิส สีเอ 3 บอดี้) ขัดด้วยแผ่นซอฟเฟลกซ์ จําลองการใช้งานด้วยการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ แล้วแช่ในสารละลายเมทิลีนบลู ตัดฟัน ตามแนวแกนฟัน และประเมินการรั่วซึมโดยใช้กล้องจุลทรรศน์ด้วยคะแนน 5 ช่วง วิเคราะห์ผลด้วยสถิติคริสคัลวาลิส และแมนวิทนี่ ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา การรั่วซึมระดับจุลภาคบริเวณเคลือบฟันและเนื้อฟันของกลุ่ม FB และ FA มีค่ามัธยฐานมากกว่า ของกลุ่ม FC อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนค่ามัธยฐานการรั่วซึมระดับจุลภาคของกลุ่ม XB และ XA นั้นพบว่าเฉพาะบริเวณเคลือบฟันเท่านั้นที่มีค่ามากกว่ากลุ่ม XC อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ในขณะที่ ไม่พบความแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบค่ามัธยฐานการรั่วซึมของกลุ่ม AC AB AA ทั้งส่วนเคลือบฟันและเนื้อฟัน สรุป ในการศึกษาครั้งนี้ การปนเปื้อนน้ําลายในขั้นตอนการเตรียมผิวฟันด้วยออปติบอนด์ เอฟแอลไม่สามารถ แก้ไขได้ด้วยสารไพรเมอร์ของสารยึดติดนี้ ส่วนออปติบอนด์ เอ็กซ์ทีอาร์สามารถแก้ไขการปนเปื้อนน้ําลายได้ในส่วนของเนื้อฟันเท่านั้น สําหรับออปติบอนด์ ออลอินวันนั้นพบว่าไม่ว่าการปนเปื้อนน้ําลายจะเกิดขึ้นที่เคลือบฟัน หรือเนื้อฟัน เมื่อแก้ไขแล้วการรั่วซึมระดับจุลภาคนั้นไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุม (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:1-14)


การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็ก, พลินี เดชสมบูรณ์รัตน์, ผกาภรณ์ พันธุวดี พิศาลธุรกิจ Jan 2014

การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุในเด็ก, พลินี เดชสมบูรณ์รัตน์, ผกาภรณ์ พันธุวดี พิศาลธุรกิจ

Chulalongkorn University Dental Journal

การประเมินการเกิดฟันผุก่อนปรากฏลักษณะทางคลินิก หรือก่อนฟันผุเดิมเปลี่ยนแปลงขนาดและความรุนแรงนั้นเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยให้บุคลากรทางทันตสาธารณสุขสามารถจําแนกผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุที่แตกต่างกันซึ่งต้องการการเฝ้าระวัง และการวางแผนติดตามการเกิดโรคที่แตกต่างกัน และสามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจํากัดได้อย่างเหมาะสม วัตถุประสงค์ของการทบทวนวรรณกรรมนี้เพื่อชี้ให้เห็นความสําคัญและประโยชน์ของการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุและการพิจารณาเลือกปัจจัยด้านต่าง ๆ เพื่อทํานายการเกิดฟันผุในอนาคตของเด็กได้ โรคฟันผุเกิดจากหลายปัจจัย ประกอบด้วย ปัจจัยทั่วไป ได้แก่ สถานภาพทางเศรษฐกิจและสังคม โรคประจําตัวและยาที่มีผลต่อสุขภาพช่องปาก และปัจจัยเฉพาะ ได้แก่ ตัวฟัน สิ่งแวดล้อมในช่องปาก พฤติกรรม และเชื้อแบคทีเรีย การพิจารณาเลือกรูปแบบหรือแบบจําลองในการทํานายความเสี่ยงต่อการเกิดโรคฟันผุควร พิจารณาถึง กลุ่มอายุ ความชุกของการเกิดโรค ลักษณะของการผุ และงบประมาณที่มี ซึ่งปัจจัยฟันผุในอดีต ปัจจัยอนามัยช่องปาก และพฤติกรรมการแปรงฟันจะเป็นตัวทํานายความเสี่ยงของการเกิดฟันผุในอนาคตได้ดีที่สุดส่วนการใช้ชุดทดสอบเชื้อจะเหมาะในการทํานายฟันที่ผุเริ่มแรกในเด็ก แต่จะไม่เหมาะในการทํานายฟันผุที่ลุกลาม ไปแล้วซึ่งควรใช้ประกอบการพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:97-112)


การตอบสนองของเนื้อเยื่อในของฟันสุนัขเมื่อปิดทับด้วยพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวทีปรับปรุงคุณภาพเปรียบเทียบกับโปรรูทเอ็มทีเอ, กุลนันทน์ ดํารงวุฒิ, อัญชนา พานิชอัตรา, ชนินทร์ กัลล์ประวิทธ์ Jan 2014

การตอบสนองของเนื้อเยื่อในของฟันสุนัขเมื่อปิดทับด้วยพอร์ตแลนด์ซีเมนต์สีขาวทีปรับปรุงคุณภาพเปรียบเทียบกับโปรรูทเอ็มทีเอ, กุลนันทน์ ดํารงวุฒิ, อัญชนา พานิชอัตรา, ชนินทร์ กัลล์ประวิทธ์

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการตอบสนองของเนื้อเยื่อในของฟันสุนัขต่อการตัดเนื้อเยื่อในบางส่วนแล้วปิดทับด้วยพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่ปรับปรุงคุณภาพกับโปรรูปเอ็มทีเอ วัสดุและวิธีการ ทําการตัดเนื้อเยื่อในบางส่วนในฟันกรามน้อยของสุนัข 4 ตัว จํานวน 35 ปี และแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่ม 1 ปิดด้วยโปรรูทเอ็มทีเอที่ผสมกับน้ํากลั่น (จํานวน 10 ที่) กลุ่ม 2 ปิดด้วยพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ที่มีบิสมัต ออกไซด์ ผสมกับแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้นร้อยละ 5 และเมททิลเซลลูโลสความเข้มข้นร้อยละ 1 (จํานวน 20 ) รองพื้นด้วยกลาสไอโอโนเมอร์ซีเมนต์ และบูรณะด้วยเรซิน คอมโพสิต โดยทั้งสองกลุ่มจะทดลองที่ 7 และ 70 วัน กลุ่ม 3 เป็นกลุ่มควบคุมบวก เนื้อเยื่อในที่ตัดถูกเปิดไว้เป็นเวลา 7 วัน (จํานวน 5 ปี) ทําการถอนฟัน ภายใต้การดมยาสลบ แล้วนําฟันที่ได้ไปผ่านกระบวนการตรวจลักษณะทางจุลพยาธิวิทยา เพื่อประเมินการอักเสบ และการสร้างเนื้อเยื่อแข็งของเนื้อเยื่อใน นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างทางสถิติระหว่างกลุ่มด้วยการ ทดสอบครัสตัล-วอลลิส และไคสแควร์ ที่ระดับนัยสําคัญน้อยกว่า 0.05 ผลการศึกษา ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติด้านการตอบสนองต่อการอักเสบและการหาย ระหว่างโปรรูทเอ็มทีเอและพอร์ตแลนด์ซีเมนต์ทั้งในระยะเวลา 7 วัน และ 70 วัน โดยกลุ่มทดลองทั้งสองไม่พบ การอักเสบของเนื้อเยื่อใน นอกจากนี้พบว่ามีการสร้างเนื้อเยื่อแข็งที่ต่อเนื่อง ด้วยลักษณะรูปร่างและความหนาที่ ไม่แตกต่างกันระหว่างกลุ่มทดลองทั้งสองอย่างไรก็ตามพบความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญระหว่างกลุ่มทดลอง ทั้งสองกับกลุ่มควบคุมบวก ซึ่งพบการอักเสบในระดับปานกลางถึงรุนแรง สรุป พอร์ตแลนด์ซีเมนต์ของประเทศไทยที่มีบิสมัดออกไซด์ผสมกับแคลเซียมคลอไรด์และเมททิลเซลลูโลส เมื่อนํามาใช้เป็นวัสดุปิดทับเนื้อเยื่อในสามารถคงความมีชีวิตของเนื้อเยื่อในของฟันได้โดยปราศจากการอักเสบส่งเสริมให้เกิดการหายและกระบวนการซ่อมแซม นอกจากนี้ยังสามารถกระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อแข็งที่มี ลักษณะไม่แตกต่างจากโปรรูปเอ็มทีเอ (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:47-58)


ผลของเรซินโคตทิ้งต่อกําลังแรงยึดดึงระหว่างเรซินซีเมนต์และเนื้อฟัน, กฤษณะ บัญญัติศรีสกุล, นิยม ธํารงค์อนันต์สกุล Jan 2014

ผลของเรซินโคตทิ้งต่อกําลังแรงยึดดึงระหว่างเรซินซีเมนต์และเนื้อฟัน, กฤษณะ บัญญัติศรีสกุล, นิยม ธํารงค์อนันต์สกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของเรซินโคดทิ้งต่อกําลังแรงยึดถึงระหว่างเรซินซีเมนต์และเนื้อฟัน วัสดุและวิธีการ ฟันกรามมนุษย์จํานวน 40 ซี่ ถูกตัดด้านบดเคี้ยวในแนวระนาบเพื่อเผยให้เห็นเนื้อฟันด้วย เครื่องตัดฟันความเร็วต่ํา จากนั้นขัดผิวเนื้อฟันด้วยกระดาษซิลิกอนคาร์ไบด์ความละเอียด 600 กริท แบ่งฟันเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) เนื้อฟันที่ไม่เคลือบด้วยเรซินโคดทิ้งแล้วยึดด้วยพานาเวียเอฟทู 2) เนื้อฟันที่เคลือบด้วยเรซินโคดทิ้ง แล้วยึดด้วยพานาเวียเอฟทู 3) เนื้อฟันที่ไม่เคลือบด้วยเรซินโคดทิ้งแล้วยึดด้วยซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี และ 4) เนื้อฟันที่เคลือบด้วยเรซินโคดทิ้งแล้วยึดด้วยซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี เก็บชิ้นงานทั้งหมดไว้ภายใต้ความชื้น สัมพัทธ์ร้อยละ 100 ที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 24 ชั่วโมง นําชิ้นงานมาเตรียมเป็นรูปมินิดัมเบลล์ (10 ชิ้นตัวอย่างต่อกลุ่มการทดสอบ) และทดสอบค่ากําลังแรงยึดดึงด้วยเครื่องทดสอบแรงแบบสากล ด้วยความเร็ว หัวจับ 0.5 มิลลิเมตรต่อนาที นําข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษา ค่ากําลังแรงยึดดึงของกลุ่มที่ 1 และ 2 มีค่าเท่ากับ 9.59 + 3.65 และ 5.54 + 2.07 เมกะปาสคาล ตามลําดับส่วนกลุ่ม 3 และ 4 มีค่าเท่ากับ 17.03 + 2.93 และ 8.81 + 3.85 เมกะปาสคาล ตามลําดับ วิเคราะห์ ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวพบว่าค่ากําลังแรงยึดดึงของกลุ่มที่ 3 มีค่าสูงที่สุดและแตกต่างจากกลุ่มที่เหลืออีก 3 กลุ่มอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) และค่ากําลังแรงยึดดึง ของกลุ่มที่ 1 และ 2 แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < 0.05) ส่วนค่ากําลังแรงยึดถึงระหว่างกลุ่มที่ 1 กับ กลุ่มที่ 4 และค่ากําลังแรงยึดถึงระหว่างกลุ่มที่ 2 กับกลุ่มที่ 4 แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ (p > 0.05) ความล้มเหลวของชิ้นทดสอบ พบว่าร้อยละ 70 ของกลุ่มที่ 1 และ กลุ่มที่ 3 เกิดระหว่างชั้นยึดโดยมีเรซินซีเมนต์ หลงเหลือบนเนื้อฟัน ขณะที่ร้อยละ 60 ของกลุ่มที่ 2 และร้อยละ 70 ของกลุ่มที่ 4 เกิดระหว่างชั้นเรซินโคดทิ้งกับ เรซินซีเมนต์โดยมีเรซินซีเมนต์เหลือบนชั้นเรซินโคดทิง สรุป ค่ากําลังแรงยึดดึงของเนื้อฟันกับเรซินซีเมนต์ซุปเปอร์บอนด์ซีแอนด์บี …


Comparison In Amount Of Sodium Hypochlorite Extrusion During Irrigation With Needle-Syringe And Endoactivator: In Vitro Study, Nattaya Rungcharoenporn, Somsinee Pimkhaokham Jan 2014

Comparison In Amount Of Sodium Hypochlorite Extrusion During Irrigation With Needle-Syringe And Endoactivator: In Vitro Study, Nattaya Rungcharoenporn, Somsinee Pimkhaokham

Chulalongkorn University Dental Journal

Objective To assess the volume of sodium hypochlorite (NaOCl) that was apically extruded from teeth prepared to different apical sizes during irrigation using an EndoActivator compared with using a needle and a syringe. Materials and methods One hundred single root canals were instrumented and randomly divided into three experimental groups (n = 30) with final apical sizes of #35, #50, or #80. Each tooth was fixed in an agarose gel model and irrigated with 2.5% NaOCl using a needle and a syringe irrigating technique. The tooth was removed, cleaned, dried and re-fixed in a new agarose gel model prior to …


Restoration Of Dental Erosion In Silent Gastroesophageal Reflux Patients: A Case Report, Kanlapat Pongcharoensuk, Chalermpol Leevailoj Jan 2014

Restoration Of Dental Erosion In Silent Gastroesophageal Reflux Patients: A Case Report, Kanlapat Pongcharoensuk, Chalermpol Leevailoj

Chulalongkorn University Dental Journal

Teeth are the important elements of a personûs face. Thus, enamel loss in the anterior teeth can affect a personûs overall appearance and confidence. Enamel loss can be caused due to physiological factors (abrasion, attrition and abfraction) or by chemical dissolution (erosion), as occurs in a gastroesophageal reflux disease (GERD) patient. GERD is the retrograde flow of gastric contents into the oral cavity. Most GERD patients present classical symptoms (a heartburn sensation or regurgitation). In the case of a silent refluxer, dental erosion might be the first condition that can be observed. Among the responsibilities of the dentist is to …


Laser Doppler Flowmetry: Basic Principle, Current Clinical And Research Applications In Dentistry, Chalida Limjeerajarus Jan 2014

Laser Doppler Flowmetry: Basic Principle, Current Clinical And Research Applications In Dentistry, Chalida Limjeerajarus

Chulalongkorn University Dental Journal

Laser Doppler Flowmetry (LDF) is an accurate and reliable method for assessing microcirculatory function. Several studies have shown that, in comparison with other methods, the measurement of blood flow, especially of blood flow in bones, teeth and surrounding tissues, is reproducible and correlates with clinical features. LDF is typically used in dentistry to evaluate the vitality of a tooth after receiving an injury, such as luxation or avulsion, or the pathological condition of the dental pulp. LDF can be applied to monitor tooth vitality during orthodontic treatment, following maxillofacial surgery that might have possibly damaged the tooth, or in teeth …


กลุ่มอาการแมคคูนอัลไบรท์, สุภารัตน์ ธรรมรัตน์, พรรณนิภา ธรรมสมบัติ, สมรรจน์ อาภรณ์เอี่ยม, วิจิตรศักดิ์ โซลิตกุล Jan 2014

กลุ่มอาการแมคคูนอัลไบรท์, สุภารัตน์ ธรรมรัตน์, พรรณนิภา ธรรมสมบัติ, สมรรจน์ อาภรณ์เอี่ยม, วิจิตรศักดิ์ โซลิตกุล

Chulalongkorn University Dental Journal

บทความปริทัศน์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอเกี่ยวกับรอยโรคในกลุ่มอาการแมคคูนอัลไบรท์ที่พบน้อยมาก ซึ่งกลุ่มอาการดังกล่าวมีสาเหตุจากการกลายพันธุ์ของเซลล์ร่างกายบนตําแหน่งของยีนจีเอนเอเอส 1 ทําให้ไม่สามารถยับยั้งการกระตุ้นของหน่วยย่อยแอลฟาของสายจีโปรตีนในการสร้างไซคลิก อะดีโนซีน โมโนฟอสเฟต ผลทําให้ปริมาณไซคลิก อะดีโนซีน โมโนฟอสเฟต ในเซลล์เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกิดความผิดปกติของร่างกาย หลายระบบ ที่พบบ่อยและเป็นอาการแสดงสําคัญ ได้แก่ ไฟบรัสดิสเพลเซีย ปานสีน้ําตาล และการทําหน้าที่เกิน ต่อมไร้ท่อ ซึ่งไฟบรัสดิสเพลเซียสามารถส่งผลต่อกระดูกใบหน้า กะโหลกศรีษะและเนื้อเยื่อฟัน ทําให้เกิดใบหน้า ผิดรูป ความผิดปกติโครงสร้างเนื้อฟัน และพัฒนาการของฟัน ทันตแพทย์จึงสามารถตรวจพบอาการแสดงที่ ผิดปกติของรอยโรคไฟบรัสดิสเพลเซียและนําไปสู่การวินิจฉัยกลุ่มอาการนี้ได้ ทั้งนี้ต้องอาศัยประวัติ ลักษณะ ทางคลินิกทั้งภายนอกและภายในช่องปาก เช่น ใบหน้าไม่สมมาตร รวมทั้งภาพรังสีของรอยโรคบริเวณกระดูกที่ พบลักษณะเฉพาะเป็นกระจกฝ้า โดยหากสงสัยว่าผู้ป่วยลักษณะที่เข้าเกณฑ์การวินิจฉัยอาจต้องส่งปรึกษาแพทย์ และร่วมกันให้การรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม การรักษาไม่มีเฉพาะเจาะจง ส่วนมากเป็นการรักษาตามอาการที่ตรวจพบในผู้ป่วยแต่ละราย (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:113-22)


การประเมินการรั่วซึมระดับจุลภาคของคอมโพสิต ชนิดไหลแผ่ได้ที่ยึดได้ด้วยตัวเองในโพรงฟันคลาสไฟว์ : ผลของเทอร์โมไซคลิงและสารบอนด์ดึง, กอบกฤษณ์ หทัยอารีย์รักษ์, สุชิต พูลทอง, เอกมน มหาโภคา Jan 2014

การประเมินการรั่วซึมระดับจุลภาคของคอมโพสิต ชนิดไหลแผ่ได้ที่ยึดได้ด้วยตัวเองในโพรงฟันคลาสไฟว์ : ผลของเทอร์โมไซคลิงและสารบอนด์ดึง, กอบกฤษณ์ หทัยอารีย์รักษ์, สุชิต พูลทอง, เอกมน มหาโภคา

Chulalongkorn University Dental Journal

วัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบการรั่วซึมระดับจุลภาคที่ขอบเคลือบฟันและเนื้อฟันก่อนและหลังทําเทอร์โมไซคลิงของคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้ที่ยึดได้ด้วยตัวเองกับการใช้เรซินคอมโพสิตร่วมกับสารบอนด์ดึง วัสดุและวิธีการ ฟันกรามน้อยที่ถูกถอนจํานวน 96 ที่ผ่านการเตรียมโพรงฟันคลาสไฟว์ด้านใกล้แก้ม (1 - 96) ถูกแบ่งเป็น 4 กลุ่ม (n = 24) : 1. เวอร์ทิสโฟลว์ 2. เวอร์ทิสโฟลว์ + ออปติบอนด์ออลอินวัน 3. พรีมิสโฟลว์ + ออปติบอนด์ออลอินวัน 4. พรีมิส + ออปติบอนด์ออลอินวัน โดยฟันที่ผ่านการบูรณะแล้วจะแบ่งเป็น 2 กลุ่มย่อย (n = 12) คือกลุ่มที่ไม่ทําเทอร์โมไซคลิงและกลุ่มที่ทําเทอร์โมไซคลิง (1,000 รอบ) จากนั้นนําไปแช่ในเมทิลลีนบลู เพื่อประเมินระดับการรั่วซึมของสี แล้วทําการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยครัสคาลวัลลิสและแมนวิทนียู (p<0.05) ผลการศึกษา ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสําคัญของการรั่วซึมที่ขอบเคลือบฟันของวัสดุทั้ง 4 กลุ่มทั้งก่อนและ หลังการทําเทอร์โมไซคลิง (p-0.067 และ p-0.397 ตามลําดับ) ขณะที่เวอร์ทิสโฟลว์มีการรั่วซึมที่ชอบเนื้อฟันสูง กว่าวัสดุกลุ่มอื่นอย่างมีนัยสําคัญทั้งก่อนและหลังเทอร์โมไซคลิง (p < 0.000 และ p = 0.001 ตามลําดับ) โดยการ ทําเทอร์โมไซคลึงไม่มีผลต่อการรั่วซึมระดับจุลภาคอย่างมีนัยสําคัญ สรุป คอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้ที่ยึดได้ด้วยตัวเองมีการรั่วซึมระดับจุลภาคที่ขอบเคลือบฟันไม่แตกต่างจากการใช้เรซินคอมโพสิตร่วมกับสารบอนด์ติง แต่มีการรั่วซึมระดับจุลภาคที่ขอบเนื้อฟันสูงกว่าอย่างมีนัยสําคัญซึ่งการใช้สารบอนด์ดึงร่วมกับคอมโพสิตชนิดไหลแผ่ได้ที่ยึดได้ด้วยตัวเองอาจเป็นทางเลือกเพื่อช่วยลดการรั่วซึมระดับ จุลภาคที่เนื้อฟันได้ โดยการทําเทอร์โมไซคลิงไม่มีผลต่อการการรั่วซึมระดับจุลภาค (ว ทันต จุฬาฯ 2557;37:15-24)