Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2022

PDF

Chulalongkorn University

Sports Medicine

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง, อาทิตย์ งามชื่น Jan 2022

ผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในต่อการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง, อาทิตย์ งามชื่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการศึกษาที่ผ่านมา ไม่ได้มีเพียงแค่การฝึกเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและร่างกายเท่านั้นที่ส่งผลต่อการเพิ่มความสามารถในการทรงตัว แต่ยังพบว่าการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในส่งผลต่อความสามารถในการทรงตัวที่เพิ่มขึ้นได้เช่นกัน เพื่อให้ครอบคลุมถึงกลไกการควบคุมการทรงตัว ผู้วิจัยจึงสนใจการฝึกกระตุ้นการทำงานของระบบประสาทสั่งการ vestibulo-ocular reflex pathway โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน (YOGA+VSE) และ การฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว (YOGA) ต่อความสามารถในการทรงตัวในผู้สูงอายุเพศหญิง ผู้เข้าร่วมวิจัยจะถูกสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่ม YOGA+VSE (n=19) และ กลุ่ม YOGA (n=15) ทั้งสองกลุ่มจะได้รับการฝึกออกกำลังกาย 3 วัน/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ ซึ่งผู้เข้าร่วมวิจัยจะได้รับการทดสอบ Berg Balance Score, Time Up and Go, การควบคุมจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกาย (center of pressure) ขณะยืน และการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกาย (center of gravity) ขณะเดิน ก่อนเข้าร่วมการฝึก หลังเข้าร่วมการฝึก 4 สัปดาห์ และ 8 สัปดาห์ ผลจากการศึกษา ภายหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายขณะยืนกลุ่มที่ฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นใน (YOGA+VSE) มีค่าความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว (YOGA) และภายหลังการฝึกออกกำลังกาย 8 สัปดาห์ พบว่าการควบคุมจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกายขณะเดิน 1 gait cycle และขณะเดินในช่วง single limb stance phase ของทั้งสองกลุ่มมีค่าระยะทางการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงร่างกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และผลจากการฝึกออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบช่วยเพิ่มความสามารถในการทรงตัวขณะทำกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายได้จากค่าคะแนน Berg Balance Score ที่เพิ่มขึ้น และระยะเวลาการทดสอบ Time Up and Go ที่ลดลง สรุปผลการวิจัย กลุ่มที่ฝึกโยคะร่วมกับการฝึกกระตุ้นระบบรับรู้การทรงตัวในหูชั้นในมีค่าความเร็วที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของจุดศูนย์กลางแรงดันร่างกายขณะยืนลืมตาบนพื้นเรียบดีกว่ากลุ่มที่ฝึกโยคะเพียงอย่างเดียว อย่างไรก็ตาม การฝึกออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบให้ผลไม่แตกต่างกันในการฝึกเพื่อเพิ่มความมั่นคงของร่างกายจากการควบคุมการทรงตัวขณะยืนและขณะเคลื่อนไหวร่างกาย ช่วยส่งเสริมความสามารถในการทรงตัวขณะทำกิจกรรมต่างๆ อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาและป้องกันความเสี่ยงจากการหกล้มในผู้สูงอายุเพศหญิงได้


การศึกษาเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงสลับเบาและความหนักระดับปานกลางต่อการตอบสนองของระบบหายใจในผู้ที่มีภาวะอ้วน, อรนรี เชาว์นะรัง Jan 2022

การศึกษาเปรียบเทียบผลของการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงสลับเบาและความหนักระดับปานกลางต่อการตอบสนองของระบบหายใจในผู้ที่มีภาวะอ้วน, อรนรี เชาว์นะรัง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เพื่อศึกษาการตอบสนองของระบบหายใจต่อการออกกำลังกายที่ความหนักระดับสูงสลับเบา (HIIE) และความหนักระดับปานกลาง (MICE) ในผู้ที่มีภาวะอ้วน โดยอาสาสมัครจะได้รับการทดสอบออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบข้างต้น คือปั่นจักรยานที่ความหนักสูง 90% peak power output (PPO) 1 นาทีสลับกับความหนักเบา 15% PPO 1 นาที เป็นระยะเวลา 20 นาที (HIIE) และปั่นจักรยานที่ความหนักปานกลาง 50% PPO เป็นระยะเวลา 20 นาที (MICE) วัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจก่อนและหลังออกกำลังกายและวัดการตอบสนองของระบบหายใจขณะออกกำลังกาย ผลการศึกษาในอาสาสมัคร 27 ราย พบว่าค่าความแข็งแรงกล้ามเนื้อหายใจเข้า (MIP) และออก (MEP) มีค่าลดลงหลังออกกำลังกาย (p < 0.05) แต่ไม่พบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ค่า VO2 ของ HIIE ช่วง high intensity มีค่ามากกว่า MICE (p<0.01) ค่า VCO2 ของ HIIE ตลอดการออกกำลังกาย 20 นาทีมีค่ามากกว่า MICE อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) ค่า VE มีแนวโน้มสูงขึ้นขณะออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบ โดยใน HIIE มีค่ามากกว่า MICE (p<0.001) และมีความแตกต่างกันหลังเสร็จสิ้นการ cool down (p<0.05) ไม่พบความแตกต่างกันของค่า IC ขณะพักและหลังเสร็จสิ้นการ cool down ในการออกกำลังกายทั้งสองรูปแบบ แต่เมื่อเทียบภายในกลุ่มพบว่าค่า IC หลังเสร็จสิ้นการ cool down มีค่าสูงกว่าค่าขณะพักอย่างมีนัยสำคัญ สรุปได้ว่าการออกกำลังกายทั้งสองแบบส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ ทำให้ความแข็งแรงกล้ามเนื้อหายใจลดลงหลังออกกำลังกาย และการออกกำลังกายแบบ HIIE มี respiratory demand มากกว่าการออกกำลังกายแบบ MICE


เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทของกล้ามเนื้อ (Emg) และความรู้สึกล้าขณะออกกำลังกายในท่าดันพื้น ในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในการออกกำลังกายกับกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ในการออกกำลังกาย, เกริก บุตรวงศ์โสภา Jan 2022

เปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทของกล้ามเนื้อ (Emg) และความรู้สึกล้าขณะออกกำลังกายในท่าดันพื้น ในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ในการออกกำลังกายกับกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ในการออกกำลังกาย, เกริก บุตรวงศ์โสภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกกำลังกายท่าดันพื้นเป็นท่ามาตรฐานในการออกกำลังกายแบบ compound movement ของกล้ามเนื้อช่วงบน การประเมินความล้าของผู้ปฏิบัติให้รวดเร็วและแม่นยำจะช่วยป้องกันการบาดเจ็บได้ จุดประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อเปรียบเทียบว่าความสัมพันธ์ระหว่างสัญญาณกระแสประสาทและการรับรู้ขณะเกิดภาวะกล้ามเนื้อล้าขณะออกกำลังกายท่าดันพื้นในกลุ่มคนที่มีประสบการณ์ออกกำลังกายในท่าดันพื้น (Well-trained) และกลุ่มคนที่ขาดประสบการณ์ออกกำลังกายในท่าดันพื้น (Un-trained) เพศชายอายุ 20-35 ปี โดยแบ่งกลุ่มละ 30 คน ทำการดันพื้นจนเกิดอาการล้าไม่สามารถดันพื้นต่อได้ ผลการศึกษาพบว่า กลุ่ม Well-trained มีจำนวนครั้งที่ดันพื้นมากกว่ากลุ่ม Un-trained อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่าเฉลี่ย 27.3±6.3 ครั้ง และ 18.2±4.3 ครั้ง (p=0.001) ตามลำดับ โดยในกลุ่ม Well-trained ความล้าที่วัดได้จากการลดลงของค่าความถี่มัธยฐาน (Delta median frequency, ∆MDF) ในกล้ามเนื้อ Pectoralis Major มีความสัมพันธ์กับ Visual numeric scale of fatigue (VNS-F) ในระดับสูง (r=-0.98, p<0.05) ส่วนกลุ่ม Un-trained การลดลงของ ∆MDF ในกล้ามเนื้อ Triceps Brachialis และกล้ามเนื้อ Upper Trapezius มีความสัมพันธ์กับ VNS-F ในระดับสูง r = -0.93, p<0.05 และ r = -0.86, p<0.05 ตามลำดับ โดยทั้ง 2 กลุ่มพบว่า ∆MDF ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อค่า VNS-F มากกว่า 6 สรุปว่า ในการออกกำลังกายท่าดันพื้น ความสัมพันธ์ของภาวะกล้ามเนื้อล้าที่วัดได้จากกระแสประสาทกล้ามเนื้อกับความรู้สึกล้ามีความสัมพันธ์ในระดับสูงทั้งสองกลุ่ม แต่จะแตกต่างกันที่กลุ่มกล้ามเนื้อ โดยกลุ่ม Well-trained วัดได้ที่กล้ามเนื้อหลักมัดใหญ่ที่ใช้ในท่าดันพื้น ส่วนกลุ่ม Un-trained วัดได้ที่กล้ามเนื้อหลักมัดเล็กและกล้ามเนื้อมัดรองในท่าดันพื้น ดังนั้นในกลุ่ม Un-trained ควรเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ Triceps Brachialis และ Pectoralis Major ให้แข็งแรงก่อนเพื่อป้องกันการบาดเจ็บจากการใช้กล้ามเนื้อผิดมัดในการออกกำลังกายท่าดันพื้น


ผลของการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติต่อมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลังและความสามารถการทรงตัวขณะเดิน ในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม, ปัญญภรณ์ หมายดี Jan 2022

ผลของการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติต่อมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลังและความสามารถการทรงตัวขณะเดิน ในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม, ปัญญภรณ์ หมายดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การพัฒนาการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมแบบหลายมิติ (MHCE) เพื่อแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมถึงการเปลี่ยนแปลงของความยาวกล้ามเนื้อข้อสะโพกที่ต่อเนื่องมาจากการเกิดภาวะกระดูกสันหลังค่อม ส่งผลให้การส่งต่อข้อมูลประสาทรับรู้ความรู้สึกในข้อสะโพกเพื่อควบคุมการทรงตัวบกพร่อง จึงทำให้ผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมสูญเสียการทรงตัวได้ง่าย วัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาความแตกต่างของผล MHCE และการออกกำลังกายเพื่อลดภาวะกระดูกสันหลังค่อมรูปแบบที่แนะนำในปัจจุบัน (CHCE) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ต่อการเปลี่ยนแปลงของมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอก (TKA) ความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง ความยาวของกล้ามเนื้องอสะโพก (Hip flexor) และกล้ามเนื้อเหยียดข้อสะโพกร่วมกับงอเข่า (Hamstrings) การรับรู้ตำแหน่งของข้อสะโพก (JPS) และการทรงตัวขณะเดินในผู้หญิงที่มีภาวะกระดูกสันหลังค่อมจากท่าทางที่ไม่เหมาะสม ผู้เข้าร่วมวิจัยถูกสุ่มแบ่งเป็นกลุ่ม MHCE และกลุ่ม CHCE กลุ่มละ 18 คน ได้รับการตรวจประเมินก่อนและหลังออกกำลังกาย ผลการศึกษาพบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม มีค่า TKA ความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง ความยาวของกล้ามเนื้อ Hamstrings และความสามารถการทรงตัวขณะเดินแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติก่อนและหลังออกกำลังกาย ส่วนค่า JPS มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉพาะกลุ่ม MHCE (P<.05) และกลุ่ม MHCE มีค่า TKA ลดลงมากกว่ากลุ่ม CHCE อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<.05) สรุปว่า MHCE สามารถลดมุมส่วนโค้งของกระดูกสันหลังระดับอกและพัฒนาการรับรู้ตำแหน่งของข้อสะโพกได้ดีกว่า CHCE ส่วนการเพิ่มความยืดหยุ่นของกระดูกสันหลังระดับอก เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแอ่นหลัง เพิ่มความยาวกล้ามเนื้อ Hamstrings และการพัฒนาความสามารถการทรงตัวขณะเดิน การออกกำลังกายทั้ง 2 แบบทำได้ไม่แตกต่างกัน