Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2021

Chulalongkorn University

Nursing

Articles 1 - 26 of 26

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะหลังเฉียบพลัน ต่อความพึงพอใจในบริการพยาบาล คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และความพึงพอใจในงานของพยาบาล, เพ็ญนภา สมสุขจีระวัฒน์ Jan 2021

ผลของการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะหลังเฉียบพลัน ต่อความพึงพอใจในบริการพยาบาล คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และความพึงพอใจในงานของพยาบาล, เพ็ญนภา สมสุขจีระวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะหลังเฉียบพลัน ต่อความพึงพอใจในบริการพยาบาล คุณภาพชีวิตของผู้ป่วย และความพึงพอใจในงานของพยาบาล กลุ่มตัวอย่างมี 2 กลุ่มคือ 1) ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะหลังเฉียบพลันที่รักษาในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 30 คน วัดผลหลังการทดลอง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มควบคุม 15 คน และกลุ่มทดลอง 15 คน กลุ่มทดลองได้รับการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่อง ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการวางแผนจำหน่ายตามปกติ 2) พยาบาลเวชศาสตร์ฟื้นฟูโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 9 คน ศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมการวางแผนจำหน่าย 2) โครงการอบรมเรื่องการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องเพื่อการพยาบาลที่มีคุณภาพ 3) แผนการสอนสำหรับพยาบาล 4) คู่มือการปฏิบัติตัวสำหรับผู้ป่วยและผู้ดูแล 5) แบบสรุปการวางแผนจำหน่ายเพื่อการดูแลต่อเนื่อง 6) แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาล 7) แบบสอบถามคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง 8) แบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาล เครื่องมือการวิจัยทั้งหมดได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาล แบบสอบถามคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองและแบบสอบถามความพึงพอใจในงานของพยาบาล มีค่าความเที่ยง เท่ากับ .98, .94 และ .95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ Nonparametric Test ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะหลังเฉียบพลันที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องมีความพึงพอใจในบริการพยาบาลสูงกว่าการใช้การวางแผนจำหน่ายแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระยะหลังเฉียบพลันที่ได้รับการวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าการใช้การวางแผนจำหน่ายแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจในงานของพยาบาลหลังใช้การวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่องสูงกว่าก่อนใช้การวางแผนจำหน่ายและดูแลต่อเนื่อง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการจัดการความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดต่อภาวะกระวนกระวายหลังฟื้นจากการดมยาสลบของเด็กวัยก่อนเรียน, ฐิติมา วีระบุรุษ Jan 2021

ผลของโปรแกรมการจัดการความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดต่อภาวะกระวนกระวายหลังฟื้นจากการดมยาสลบของเด็กวัยก่อนเรียน, ฐิติมา วีระบุรุษ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงทดลองเพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดต่อภาวะกระวนกระวายหลังฟื้นจากการดมยาสลบของเด็กวัยก่อนเรียนหลังการผ่าตัด กลุ่มตัวอย่างคือเด็ก อายุ 2 ปี ถึง 6 ปี ที่เข้ารับการผ่าตัดต่อมอะดีนอยด์และ/หรือต่อมทอนซิล ภายใต้ยาดมสลบซีโวฟลูเรน ที่รับไว้ในแผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลตติยภูมิจำนวน 44 คน สุ่มแบบง่ายเพื่อแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัด กลุ่มละ 22 ราย เครื่องมือวิจัยคือ โปรแกรมการจัดการความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัด โดยใช้แนวคิดของ child life services แนวคิดการเบี่ยงเบนความสนใจ ร่วมกับวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสังเกตภาวะกระวนกระวายหลังฟื้นจากการดมยาสลบ และแบบตรวจสอบรายการของกิจกรรมการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วย สถิติบรรยาย สถิติทดสอบที (t-test) สถิติทดสอบไคสแควร์และไคสแควร์ของเยตส์ (Chi-square with Yates correction) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การเกิดภาวะกระวนกระวายหลังฟื้นจากการดมยาสลบของเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. การเกิดภาวะกระวนกระวายที่มีความรุนแรงหลังฟื้นจากการดมยาสลบของเด็กวัยก่อนเรียน กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการจัดการความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยให้นวัตกรรมการพยาบาลเพื่อการเตรียมความพร้อมทางด้านจิตใจสำหรับเด็กวัยก่อนเรียนก่อนเข้ารับการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพในการลดภาวะกระวนกระวายหลังฟื้นจากการดมยาสลบ


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดในผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม, ปวีณา ทักษิณาเจนกิจ Jan 2021

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความเครียดในผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม, ปวีณา ทักษิณาเจนกิจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ระดับความเครียดของผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพศ ความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลกับผู้สูงอายุ ชั่วโมงในการดูแล คุณภาพการนอนหลับ ความสอดคล้องในการมองโลก อารมณ์ขัน กับความเครียดในผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม กลุ่มตัวอย่างคือ คือผู้ดูแลหลักที่มีอายุ 20 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปเพศชายและเพศหญิงที่ดูแลผู้ป่วยสมองเสื่อม ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะสมองเสื่อมระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง และมารับการตรวจติดตามผลการรักษา ณ คลินิกผู้สูงอายุ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 2 แห่ง จำนวน 120 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่าง แบบหลายขั้นตอน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดภาระในการดูแลของผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม แบบประเมินการนอนหลับของผู้ดูแล แบบวัดอารมณ์ขันหลายมิติ แบบสอบถามความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลระหว่างผู้สูงอายุและญาติผู้ดูแล และแบบประเมินทดสอบความสอดคล้องในการมองโลก ผ่านการตรวจสอบจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ได้ค่าความตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามเท่ากับ 1 , 0.96 , 1 , 0.99 และ 0.98 ตามลำดับและมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.89, 0.97, 0.95, 0.91 และ 0.83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ระดับความเครียดของผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อมโดยรวมคือ ไม่มีภาวะเครียด คิดเป็นร้อยละ 51.7 2. เพศ ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม โดยในเพศชายและเพศหญิงมีความเครียดโดยรวมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ปัจจัยความสัมพันธ์ต่างเกื้อกูลกับผู้มีภาวะสมองเสื่อม และ ความสอดคล้องในการมองโลก มีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียดของผู้ดูแล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001 (r= - 0.598, p<0.001) และ (r= - 0.246, p=0.001) ตามลำดับ 4. ชั่วโมงในการดูแล และ คุณภาพการนอนหลับ ไม่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้ดูแลผู้มีภาวะสมองเสื่อม (p= 0.132 และ 0.790 ตามลำดับ) 5. อารมณ์ขัน มีความสัมพันธ์กับภาวะความเครียดของผู้ดูแลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.001


อนาคตภาพการบริหารจัดการองค์การพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ช่วงพุทธศักราช 2565-2569, นครินทร์ กมณีย์ Jan 2021

อนาคตภาพการบริหารจัดการองค์การพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ช่วงพุทธศักราช 2565-2569, นครินทร์ กมณีย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาอนาคตภาพการบริหารจัดการองค์การพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ช่วงพุทธศักราช 2565-2569 โดยใช้เทคนิคการวิจัยแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 20 คน ประกอบด้วย กลุ่มที่ทำงานระดับนโยบายและการวางแผน หรือสถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล จำนวน 2 คน กลุ่มผู้บริหารทางการพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ จำนวน 8 คน กลุ่มผู้บริหารในองค์กรวิชาชีพ จำนวน 4 คนและกลุ่มอาจารย์พยาบาล สาขาการบริหารการพยาบาล จำนวน 6 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอนาคตภาพการบริหารจัดการองค์การพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ช่วงพุทธศักราช 2565-2569 รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของอนาคตภาพการบริหารจัดการองค์การพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ช่วงพุทธศักราช 2565-2569 และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า อนาคตภาพการบริหารจัดการองค์การพยาบาล โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ช่วงพุทธศักราช 2565-2569 ประกอบด้วย 8 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านกลยุทธ์ขององค์การ ได้แก่ การพัฒนาสู่การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ สร้างเครือข่ายระดับนานาชาติ และ การสร้างอัตลักษณ์ของพยาบาล 2) ด้านโครงสร้างองค์การ ได้แก่ การกระจายอำนาจให้มากขึ้นเพื่อให้สามารถดำเนินการได้รวดเร็วขึ้น 3) ด้านระบบปฏิบัติงาน ได้แก่ การสร้างศูนย์นวัตกรรมและความเป็นเลิศทางการพยาบาล เป็นแหล่งวิชาการให้กับบุคลากรและประชาชนทั่วไป 4) ด้านการจัดการทรัพยากรทางการพยาบาล ได้แก่ การคัดเลือกบุคลากร การพัฒนาบุคลากรระดับปฏิบัติงาน ระดับผู้บริหารและการธำรงรักษาบุคลากร 5) ด้านรูปแบบการบริหารจัดการ ได้แก่ การออกแบบการบริหารงานในรูปแบบโครงการ เพื่อให้การดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 6) ด้านรูปแบบการบริการ ได้แก่ การพัฒนาศูนย์ความเชี่ยวชาญทางการพยาบาลที่สอดคล้องกับศูนย์ความเชี่ยวชาญของโรงพยาบาล 7) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ …


การศึกษาความฉลาดทางวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, ปิยรัตน์ ธีระเวชชวงศ์ Jan 2021

การศึกษาความฉลาดทางวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข, ปิยรัตน์ ธีระเวชชวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความฉลาดทางวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และเพื่อเปรียบเทียบ ความฉลาดทางวัฒนธรรม จำแนกตาม อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน จำนวนผู้ป่วยต่างชาติ การได้รับการนิเทศ การฝึกอบรมการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 382 คน ที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความฉลาดทางวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพใช้แนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรมของ Dyne et al (2012) และปรับให้เข้ากับบริบทพยาบาลวิชาชีพไทย ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้ค่า CVI= .89 และทดสอบความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามความฉลาดทางวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพ .97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พบว่าความฉลาดทางวัฒนธรรมของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลทั่วไป สังกัดกระทรวงสาธารณสุข มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับสูง (ค่าเฉลี่ย 5.27) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านพฤติกรรม (ค่าเฉลี่ย 5.45) รองลงมาคือ ด้านกระบวนการคิด (ค่าเฉลี่ย 5.42) และด้านแรงจูงใจ (ค่าเฉลี่ย 5.18) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านความรู้ (ค่าเฉลี่ย 5.02) 2. พยาบาลวิชาชีพที่ดูแลจำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่มีจำนวนต่างกัน ได้รับการนิเทศ และการฝึกอบรมการพยาบาลข้ามวัฒนธรรม ที่ต่างกัน มีความฉลาดทางวัฒนธรรมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนพยาบาลวิชาชีพที่มีอายุ ประสบการณ์การทำงาน ระดับการศึกษาที่แตกต่างกัน มีความฉลาดทางวัฒนธรรมไม่แตกต่างกัน


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยากันชักของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง, วิภาดา มงคลเพ็ชร์ Jan 2021

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยากันชักของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง, วิภาดา มงคลเพ็ชร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความร่วมมือในการใช้ยากันชักของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทสมองระบบประสาทและสมอง และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ การรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย การจัดการตนเอง ภาวะซึมเศร้า อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา การสนับสนุนทางสังคม กับความร่วมมือในการใช้ยากันชักของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยเพศชายและหญิง อายุ 18-59 ปี ที่ได้รับการรักษาจากแพทย์โดยการผ่าตัดทางระบบประสาทและสมอง และได้รับการรักษาด้วยการใช้ยากันชัก ที่มารับการตรวจในแผนกผู้ป่วยนอกศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง โรงพยาบาลรามาธิบดี และสถาบันประสาทวิทยาจำนวน 110 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยการจับฉลากแบบไม่แทนที่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย แบบประเมินการจัดการตนเอง แบบประเมินภาวะซึมเศร้า แบบประเมินอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินความร่วมมือในการใช้ยากันชัก ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์หาความเที่ยงโดยการใช้สัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบาคได้เท่ากับ 0.73, 0.70, 0.75, 0.90, 0.94 และ 0.78 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด และ Spearman rank correlation ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ร้อยละ 77.3 ของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทและสมอง มีความร่วมมือในการใช้ยากันชักอยู่ในระดับดี 2. การรับรู้เกี่ยวกับการเจ็บป่วย (r = -.340) และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (r = -.242) มีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมมือในการใช้ยากันชักของผู้ป่วยภายหลังได้รับการผ่าตัดศัลยกรรมระบบประสาทและสมองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การจัดการตนเอง ภาวะซึมเศร้า และการสนับสนุนทางสังคม ไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยากันชักอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์ความปลอดภัยของผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลตติยภูมิ, รัฐพล ยอดบุดดี Jan 2021

การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์ความปลอดภัยของผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลตติยภูมิ, รัฐพล ยอดบุดดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาโดยใช้วิธีวิจัยแบบเดลฟายเพื่อศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์ความปลอดภัยของผู้ป่วยและพยาบาลวิชาชีพ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลตติยภูมิ ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านระบบการรักษาพยาบาลฉุกเฉิน การดูแลผู้ป่วยแผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลตติยภูมิ จำนวน 20 คน คัดเลือกแบบเจาะจงและแบบวิธีบอกต่อ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ มัธยฐานและพิสัยระหว่าง ควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า ตัวชี้วัดผลลัพธ์ความปลอดภัยของผู้ป่วย แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลตติยภูมิ ประกอบด้วย 7 ด้าน ได้แก่ 1) ความปลอดภัยจากการได้รับการดูแลในภาวะฉุกเฉิน 2) ความปลอดภัยจากการได้รับการดูแลส่งต่อภายนอกโรงพยาบาล 3) ความปลอดภัยจากการได้รับการดูแลส่งต่อภายในโรงพยาบาลและการดูแลรักษาต่อเนื่อง 4) ความปลอดภัยด้านการสื่อสารและสัมพันธภาพกับทีมสุขภาพ 5) ความปลอดภัยด้านการติดเชื้อ 6) ความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม 7) ความปลอดภัยด้านการได้รับยาและเลือด โดยมีตัวชี้วัดทั้งหมด 59 ตัวชี้วัด มีค่ามัธยฐานอยู่ในช่วง 3.75 – 4.75 และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์อยู่ในช่วง .25 – 2.02 ส่วนตัวชี้วัดผลลัพธ์ความปลอดภัยของพยาบาลวิชาชีพ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลตติยภูมิ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) ความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อมในการปฏิบัติงานและการป้องกันความรุนแรง 2) ความปลอดภัยจากการได้รับการดูแลป้องกันการติดเชื้อ 3) ความปลอดภัยจากการได้รับการดูแลในระบบส่งต่อและกฎหมาย 4) ความปลอดภัยจากการได้รับการดูแลด้านสภาพจิตใจ 5) ความปลอดภัยด้านข้อมูลสารสนเทศ รวม 62 ตัวชี้วัด มีค่ามัธยฐานอยู่ในช่วง 4.12 – 4.75 และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์อยู่ในช่วง .25 – 1.16 ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถใช้กำหนดเป็นแนวทางการประเมินผลลัพธ์เพื่อปรับปรุงกระบวนการดูแลผู้ป่วยให้มีความเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ และเป็นแนวทางในการพัฒนาให้เกิดพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ


ผลของการสนับสนุนของครอบครัวต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาในผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง, อรุณกมล ทราบรัมย์ Jan 2021

ผลของการสนับสนุนของครอบครัวต่อพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาในผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรง, อรุณกมล ทราบรัมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้เป็นการศึกษาแบบสองกลุ่มวัดผลสองครั้งก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาในผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรงก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการสนับสนุนของครอบครัว และ 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนของครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรงที่มารับบริการที่แผนกผู้ป่วยใน โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวน 40 คน และผู้ดูแลครอบครัวละ 1 คน ซึ่งได้รับการจับคู่ อายุและเพศแล้วสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม จำนวนกลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสนับสนุนของครอบครัวซึ่งผู้วิจัยพัฒนาโปรแกรมฯ จากแนวคิดการสนับสนุนทางสังคม ของ House (1981) ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมการสนับสนุนของครอบครัว 2) แบบสอบถามข้อมูล ส่วนบุคคล 3) แบบประเมินอาการทางจิต (Brief Psychiatric Rating Scale: BPRS) 4) แบบวัดพฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษา 5) แบบวัดการสนับสนุนทางสังคม ซึ่งได้ผ่านการทดสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาครอนบราคเท่ากับ .85 และ .89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาในผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรงดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการสนับสนุนของครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) พฤติกรรมการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาในผู้ป่วยจิตเภทที่มีพฤติกรรมรุนแรงกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการสนับสนุนของครอบครัวดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศความปลอดภัย การสนับสนุนทางสังคม การให้ข้อมูลย้อนกลับ กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ, อัจฉริยาพร พรมมาลุน Jan 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศความปลอดภัย การสนับสนุนทางสังคม การให้ข้อมูลย้อนกลับ กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ, อัจฉริยาพร พรมมาลุน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล บรรยากาศความปลอดภัย การสนับสนุนทางสังคม การให้ข้อมูลย้อนกลับ กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ กลุ่มตัวอย่างคือพยาบาลวิชาชีพจำนวน 115 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมี 5 ส่วน คือ ข้อมูลส่วนบุคคล พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงาน บรรยากาศความปลอดภัยในการทำงาน การสนับสนุนทางสังคม และการให้ข้อมูลย้อนกลับ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามได้ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาและวิเคราะห์ความเที่ยงของแบบสอบถาม โดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค มีค่าเท่ากับ เท่ากับ .83, .96, .96, และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิอยู่ในระดับดี ( x = 4.47, SD= 0.35) 2. ปัจจัยส่วนบุคคล คือ สถานที่ปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ (χ2=20.39, p< .05) และประสบการณ์การทำงาน มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.255) 3. บรรยากาศความปลอดภัยในการทำงานมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.737) 4. การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.660) 5. การให้ข้อมูลย้อนกลับมีความสัมพันธ์ทางบวก กับพฤติกรรมความปลอดภัยในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลระดับตติยภูมิ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.926)


The Scale Development Of Nursing Repositioning Practice For Bedridden Patients, Saudi Arabia, Abdul Kareem Suhel Hamadeh Iblasi Jan 2021

The Scale Development Of Nursing Repositioning Practice For Bedridden Patients, Saudi Arabia, Abdul Kareem Suhel Hamadeh Iblasi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study aimed to explore, develop and test the psychometric properties of repositioning practice measures among nurses in Saudi hospitals and explores its components' psychometric properties. The study adopted the DeVellis scale development framework. Initially, the study clarifies the concept by literature review and interviewing six experts. Then a pool of 103 items was generated as the first draft. Over two rounds of expert revisions, the experts accept 61 items with content validity index means ( I-CVIs) equal to 0.91 and scale content validity = 0.81. later, the reliability with alpha Cronbach was 0.98. Next, this survey was passed for …


The Effects Of A Recurrent Stroke Prevention Program On Blood Pressure, Low Density Lipoprotein Cholesterol, And Blood Glucose Among Patients With First Ischemic Stroke, Orapin Jullmusi Jan 2021

The Effects Of A Recurrent Stroke Prevention Program On Blood Pressure, Low Density Lipoprotein Cholesterol, And Blood Glucose Among Patients With First Ischemic Stroke, Orapin Jullmusi

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This cluster randomized control trial research with control group and repeated measure. The objectives of this study were to explore the effect of a recurrent stroke prevention program on blood pressure, low density lipoprotein cholesterol, and blood glucose among patients with first ischemic stroke. The participants were the patients who have been diagnosed with first ischemic stroke. They were recruited from two stroke units from two tertiary hospitals in public health region 2, Thailand. Sixty participants were randomly recruited and divided into experimental group (n=30) and control group (n=30). The participants in the experimental group received the recurrent stroke prevention …


การศึกษาสมรรถนะของพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น, ณณัญปภัสร์ แสนประเสริฐ Jan 2021

การศึกษาสมรรถนะของพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น, ณณัญปภัสร์ แสนประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะของพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น โดยใช้เทคนิค EDFR กลุ่มตัวอย่าง คือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ประกอบด้วย พยาบาลผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่นจำนวน 7 คน คณะทำงานโครงการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่นจำนวน 5 คน นักวิชาการด้านสุขภาพจำนวน 4 คน และนักกฎหมายวิชาชีพการพยาบาลและการบริการสุขภาพ จำนวน 3 คน วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์เกี่ยวกับสมรรถนะของพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญสมรรถนะของพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น และรอบที่ 3 นำข้อมูลมาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และจัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็นเพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น ประกอบด้วย 7 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านบริการพยาบาล ประกอบด้วย การรักษา การส่งเสริมและป้องกันสุขภาพ การฟื้นฟูสุขภาพและการเข้าถึงชุมชน 2) ด้านการบริหารจัดการธุรกิจ ประกอบด้วย การพัฒนากลยุทธ์การดำเนินธุรกิจ การตลาดและการเงิน-การบัญชี 3) ด้านการจัดการความปลอดภัยและความเสี่ยงของคลินิก ประกอบด้วย ความเสี่ยงในการดูแลรักษา สิ่งแวดล้อม การร้องเรียนและสิทธิผู้ป่วย และเทคโนโลยี 4) ด้านการพัฒนาคุณภาพบริการ ประกอบด้วย พัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการอย่างรวดเร็วและทันท่วงที และนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาสนับสนุนการให้บริการ5) ด้านการจัดทำระบบจัดเก็บอุปกรณ์ทางการแพทย์ ประกอบด้วย การจัดทำระบบบัญชียาและวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างเป็นระบบ 6) ด้านกฎหมายและจริยธรรม ประกอบด้วย การตัดสินใจเชิงจริยธรรมการบริหารจัดการคลินิกและปฏิบัติตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ 7) ด้านการสื่อสาร ประกอบด้วย การสร้างสัมพันธภาพ และการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ


ประสบการณ์การปฎิบัติงานของพยาบาลในหอผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19, พิมพ์วิมล ยงใจยุทธ Jan 2021

ประสบการณ์การปฎิบัติงานของพยาบาลในหอผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19, พิมพ์วิมล ยงใจยุทธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เชื้อโควิด 19 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 และมีความยินดีเข้าร่วมการวิจัย โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง จำนวน 15 คนเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการบันทึกเทป ร่วมกับการบันทึกภาคสนาม และนำมาข้อมูลที่ได้มาถอดเทปแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการของ van Manen ผลการศึกษา ประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลในหอผู้ป่วยติดเชื้อโควิด 19 แบ่งเป็น 6 ประเด็นหลักและประเด็นย่อย ดังนี้ 1. ปฏิบัติตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยโควิด ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย1.1) สวมอุปกรณ์ป้องกันก่อนเข้าห้องผู้ป่วย 1.2) วางแผนให้การพยาบาลแบบเบ็ดเสร็จตามรอบเวลา1.3) เสร็จสิ้นการทำงาน ถอดชุดป้องกันอย่างถูกวิธี และ 1.4) ทำความสะอาดร่างกาย เปลี่ยนชุดใหม่ก่อนลงเวรหรือกลับบ้าน 2. ดูแลด้วยใจ เอาใจใส่ให้ความช่วยเหลือทุกเรื่อง ประกอบด้วย 7 ประเด็นย่อย2.1) ดูแลด้านร่างกายให้สุขสบาย 2.2) ติดตามอาการที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา 2.3) ให้กำลังใจในการรักษา 2.4) สิ่งใดที่ปรารถนา เต็มใจจัดหามาให้ 2.5) ใส่ใจตรวจสอบและประสานสิทธิ์การรักษา 2.6) เมื่อผู้ป่วยมีปัญหา ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ 2.7) จัดการช่วยเหลือผู้ป่วยจนถึงวาระสุดท้าย 3. มีปัญหาต้องแก้ไข เพื่อให้ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย 3.1) บริหารจัดการเตียงให้เพียงพอกับผู้ป่วยโควิดแต่ละประเภท 3.2) อัตรากำลังพยาบาลไม่เพียงพอ ขออัตรากำลังเสริมเข้าช่วย 3.3) ต่างชาติต่างภาษา เจรจาวุ่นวาย หาตัวช่วยคลี่คลาย สื่อสารจนเข้าใจ และ 3.4) อึดอัดใจ ทีมไม่เข้าดูคนไข้ เจรจาให้เข้าใจทำงานกันได้ราบรื่น 4. ขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 4.1 ผู้บริหารเห็นความสำคัญ สร้างขวัญและกำลังใจผู้ปฏิบัติงาน 4.2 เพื่อนร่วมงานให้กำลังใจ ช่วยเหลือกันเป็นอย่างดี 4.3 ผู้ป่วยและญาติ ให้กำลังใจและให้การสนับสนุนอุปกรณ์การแพทย์ 4.4 บุคคลภายนอกให้กำลังใจในรูปแบบที่แตกต่างจากเดิม และ 4.5 การได้บรรจุเป็นข้าราชการและเงินค่าเสี่ยงภัย เป็นขวัญกำลังใจที่สำคัญ …


ประสบการณ์ของผู้บริหารทางการพยาบาลในการบริหารจัดการพยาบาลผู้ป่วยโควิด 19, มณฑนรรห์ ดิษฐสุวรรณ Jan 2021

ประสบการณ์ของผู้บริหารทางการพยาบาลในการบริหารจัดการพยาบาลผู้ป่วยโควิด 19, มณฑนรรห์ ดิษฐสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ของผู้บริหารทางการพยาบาลในการบริหารจัดการพยาบาลผู้ป่วยโควิด 19 โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารทางการพยาบาลที่มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการพยาบาลผู้ป่วยโควิด 19 ทั้งหมด 25 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การบันทึกเทป การสังเกต และการบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ Colaizzi ผลการศึกษาประสบการณ์ของผู้บริหารทางการพยาบาลในการบริหารจัดการการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ประกอบด้วยประเด็นใหญ่และย่อยดังนี้ 1. การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผู้ป่วยโควิด 19 ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) จัดหาพื้นที่และปรับโครงสร้างหน่วยงานสำหรับรองรับผู้ป่วยโควิด 19 1.2) จัดหาบุคลากรพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโควิด 19 และ 1.3) เตรียมความพร้อมของพยาบาลและจัดหาอุปกรณ์การป้องกัน 2. บริหารจัดการขับเคลื่อนงานดูแลผู้ป่วยโควิด 19 ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) กำหนดนโยบาย สร้างแนวปฏิบัติ ควบคุมกำกับ ติดตามทีม 2.2) เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของทุกคน 2.3) สื่อสารเรื่องราว บอกเล่าความจริง ให้บุคลากรรับทราบ และ 2.4) จัดพี่เลี้ยงสอนงานให้กับพยาบาลที่มาช่วยงานในหอผู้ป่วยโควิด 19 3. จัดการกับปัญหานานาประการเพื่อให้งานดำเนินต่อไป ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย ได้แก่ 3.1) จัดการกับอารมณ์และความรู้สึกทางลบของพยาบาล 3.2) จัดการกับความเครียดจากการปฏิบัติงานของตนเอง 3.3) เพิ่มทักษะการดูแลผู้ป่วยโควิด 19ในภาวะวิกฤต 3.4) อุปกรณ์ป้องกันขาดแคลน ต้องมีแผนการแก้ไข และ 3.5) อัตรากำลังพยาบาลไม่พอ ต้องขอกำลังเสริมจากทุกหน่วยงาน 4. สร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานช่วงสถานการณ์โควิด ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 4.1) ผู้บริหารลงหน้างาน ให้คำปรึกษา และร่วมแก้ไขปัญหา และ 4.2) ผลักดันการเพิ่มค่าตอบแทนและสวัสดิการอื่นๆให้ผู้ปฏิบัติงาน 5. ผลลัพธ์การบริหารจัดการในสถานการณ์โควิด 19 ประกอบก้วย 2 ประเด็นย่อย 5.1) เกิดความร่วมแรงร่วมใจ จึงควบคุมสถานการณ์โควิด 19 …


ผลของโปรแกรมการดูแลวิถีพุทธต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลาม, ปวีณา พงษ์พันนา Jan 2021

ผลของโปรแกรมการดูแลวิถีพุทธต่อคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลาม, ปวีณา พงษ์พันนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิจัยนี้เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพในผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลาม ก่อนได้รับโปรแกรมและภายหลังได้รับโปรแกรมในสัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ที่ 6 กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลาม ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดจำนวน 24 คน ได้รับโปรแกรมเป็นเวลา 2 สัปดาห์ เครื่องมือในการวิจัย คือ โปรแกรมการดูแลวิถีพุทธ และ แบบประเมิน Functional Assessment of Chronic Illness Therapy–Palliative Care (FACIT-Pal) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมิน FACIT-Pal ได้ 0.89 และค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบาคได้ 0.94 วิเคราะห์ผลด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-way repeated ANOVA) ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลามหลังได้รับโปรแกรมสัปดาห์ที่ 1 และสัปดาห์ที่ 2 มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 เมื่อจำแนกรายมิติพบว่ามิติความผาสุกด้านจิตอารมณ์หลังได้รับโปรแกรม สัปดาห์ที่1 สัปดาห์ที่ 2 และ สัปดาห์ที่ 6 มากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่.05 สรุปได้ว่า โปรแกรมการดูแลวิถีพุทธสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลามได้ แม้ว่าในสัปดาห์ที่ 6 คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพมีแนวโน้มลดลง แต่ผลลัพธ์ของโปรแกรมยังคงสามารถส่งเสริมความผาสุกด้านจิตอารมณ์ของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีระยะลุกลามได้ต่อเนื่อง


ผลของโปรแกรมสนับสนุนข้อมูลผ่านไลน์แอพพลิเคชั่นร่วมกับการบริหารแบบชี่กงวิถีไทยต่อความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, วันทนีย์ งามวงศ์ Jan 2021

ผลของโปรแกรมสนับสนุนข้อมูลผ่านไลน์แอพพลิเคชั่นร่วมกับการบริหารแบบชี่กงวิถีไทยต่อความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม, วันทนีย์ งามวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสนับสนุนข้อมูลผ่านไลน์แอพพลิเคชั่นร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชี่กงวิถีไทยต่อความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยมะเร็งเต้านม กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการนัดหมายเพื่อผ่าตัด Mastectomy และ Breast Conserving Surgery ในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงคุณสมบัติตามที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน ได้รับการจับคู่ด้วย อายุ วิธีการผ่าตัดและการได้รับยาเคมีบำบัดก่อนผ่าตัด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติและกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมสนับสนุนข้อมูลผ่านไลน์แอพพลิเคชั่นร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชี่กงวิถีไทยเป็นเวลา 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชุด คือ 1) เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญ STAI Form Y-I 2) เครื่องมือทดลอง ได้แก่ โปรแกรมสนับสนุนข้อมูลผ่านไลน์แอพพลิเคชั่นร่วมกับการบริหารกาย-จิตแบบชี่กงวิถีไทย 3) เครื่องมือกำกับการทดลอง ได้แก่ แบบสอบถามความรู้เรื่องโรคมะเร็งเต้านมและการผ่าตัด, แบบสอบถามความรู้เรื่องการเตรียมสุขภาพก่อนการผ่าตัดและประโยชน์ของชี่กง และแบบบันทึกการทำชี่กง ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ทดสอบค่าความเที่ยงของแบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาคอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมต่ำกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดภายหลังการทดลองของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมในกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการพยาบาลอย่างต่อเนื่องต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันของผู้ดูแล, พัชรพร คำภูมี Jan 2021

ผลของการพยาบาลอย่างต่อเนื่องต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันของผู้ดูแล, พัชรพร คำภูมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่มวัดซ้ำ เพื่อศึกษาผลของการพยาบาลอย่างต่อเนื่องต่อพฤติกรรมการดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันของผู้ดูแลภายหลังจำหน่ายเด็กจากโรงพยาบาล 1 สัปดาห์และ 2 สัปดาห์ การพยาบาลอย่างต่อเนื่องนี้พัฒนามาจากโมเด็ลความต่อเนื่องในการดูแลของ Haggerty (Haggerty, et al., 2003) กลุ่มตัวอย่างคือผู้ดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช จังหวัดลพบุรี จำนวน 56 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยการสุ่มเข้ากลุ่มอย่างเป็นระบบ ร่วมกับการจับคู่ด้วยระดับการศึกษาและประสบการณ์การดูแลเด็กโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันของผู้ดูแล ข้อมูลพฤติกรรมการดูแลถูกเก็บรวบรวมโดยแบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการดูแลเด็กของผู้ดูแลของ มลวิภา เสียงสุวรรณ (มลวิภา เสียงสุวรรณ, 2547) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาและการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลอย่างต่อเนื่องมีพฤติกรรมการดูแลเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติหลังจำหน่ายเด็กจากโรงพยาบาล 1 สัปดาห์และ 2 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคองต่ออาการซึมเศร้าในพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคจิตเภท, สุภัสสรา สิมมา Jan 2021

ผลของโปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคองต่ออาการซึมเศร้าในพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคจิตเภท, สุภัสสรา สิมมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียว วัดแบบอนุกรมเวลา มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการซึมเศร้าของพระสงฆ์ที่อาพาธด้วยโรคจิตเภทก่อนและหลังได้รับโปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคอง กลุ่มตัวอย่างคือ พระสงฆ์อาพาธที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคจิตเภทตามคู่มือการวินิจฉัยตามเกณฑ์การวินิจฉัยโรคทางจิตเวช (ICD-10) ที่เข้ารับการบริการรักษาที่กลุ่มงานพยาบาลจิตเวชผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลสงฆ์ ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์จำนวน 15 รูป ได้รับการดูแลตามโปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคองที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) โปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคอง 2) แบบประเมินอาการซึมเศร้าในผู้ป่วยจิตเภท และ 3) แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เครื่องมือทุกฉบับได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 0.84 และ 0.90 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.92 และ 0.94 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (Repeated Measures ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของอาการซึมเศร้าของพระสงฆ์อาพาธด้วยโรคจิตเภทหลังเสร็จสิ้นโปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคองลดลงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมกลุ่มจิตบำบัดแบบประคับประคองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยอาการซึมเศร้าในก่อนเข้าร่วมโปรแกรม หลังสิ้นสุดโปรแกรมทันที 2 สัปดาห์หลังสิ้นสุดโปรแกรม และ 4 สัปดาห์หลังสิ้นสุดโปรแกรมฯ ลดลงอย่างต่อเนื่อง


ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, ยศพันธุ์ นามสงค์ Jan 2021

ปัจจัยคัดสรรที่สัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน, ยศพันธุ์ นามสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงหาความสัมพันธ์ เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ ความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอก ภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล สถานะการสูบบุหรี่ อาการเหนื่อยล้า กับคุณภาพการนอนหลับ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลันอายุ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 152 คน ซึ่งคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงจากโรงพยาบาลสองแห่งในกรุงเทพมหานคร ตามเกณฑ์การคัดเข้า เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบประเมินความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอก แบบสอบถามภาวะซึมเศร้า แบบประเมินความวิตกกังวล แบบประเมินอาการเหนื่อยล้า และแบบวัดคุณภาพการนอนหลับ ซึ่งแบบสอบถามมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แอลฟาครอนบาค มากกว่าเท่ากับ 0.70 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยายและทดสอบความสัมพันธ์ด้วยสถิติสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84.9) มีคุณภาพการนอนหลับดี ความวิตกกังวล สถานะการสูบบุหรี่ อาการเหนื่อยล้า และ ภาวะซึมเศร้ามีความสัมพันธ์ทางลบกับคุณภาพการนอนหลับ (r= -.197, -.175, -.440, -.528; p< .05) ส่วนความรุนแรงของอาการเจ็บหน้าอกไม่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพการนอนหลับ


ผลของการให้ข้อมูลและการใช้น้ำมันหอมระเหยต่อความวิตกกังวล ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง, จารุณี ลาบานา Jan 2021

ผลของการให้ข้อมูลและการใช้น้ำมันหอมระเหยต่อความวิตกกังวล ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง, จารุณี ลาบานา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลและน้ำมันหอมระเหยต่อความวิตกกังวลในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องในระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดและก่อนกลับบ้านตามแนวคิดการให้ข้อมูลเพื่อให้ผู้ป่วยพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นโดยใช้ทฤษฏีการปรับตนเองของ Leventhal และแนวคิดน้ำมันหอมระเหย กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่มีอายุระหว่าง 18-59 ปี ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง ณ. โรงพยาบาลตำรวจ แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 22 คน โดยจับคู่ อายุ เพศ โรคทางระบบย่อยอาหาร กลุ่มทดลองได้รับการให้ข้อมูลและการใช้น้ำมันหอมระเหย โดยเนื้อหาของข้อมูลที่ให้เป็นข้อมูลในระยะก่อนผ่าตัด หลังผ่าตัดและก่อนกลับโดยใช้คู่มือการปฎิบัติตัวสำหรับผู้ที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ความวิตกกังวลใช้แบบประเมินความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ (The State Anxiety Inventory [STAI] Form Y) มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.71 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ One Way Repeated Measures Anova ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลและการใช้น้ำมันหอมระเหย ในระยะหลังผ่าตัด ต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลและการใช้น้ำมันหอมระเหย ในระยะก่อนผ่าตัดและระยะก่อนกลับบ้าน ไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ (P > .05) การให้ข้อมูลและการใช้น้ำมันหอมระเหย สามารถลดความวิตกกังวล ของผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้อง ในระยะหลังผ่าตัด ได้ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ ส่วนในระยะก่อนผ่าตัดและก่อนกลับบ้าน พบว่าไม่แตกต่างจากผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลปกติ


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม, พัชรินทร์ พรมโคตร Jan 2021

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม, พัชรินทร์ พรมโคตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมและศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา การสนับสนุนทางสังคม ความทุกข์ทรมานจากอาการ ความรอบรู้ทางสุขภาพ และความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำ กับความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม โดยใช้กรอบแนวคิดความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของ Mishel & Braden (1988) เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลรัฐระดับตติยภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบ คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม แบบสอบถามความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยฉบับชุมชนของมิเชล แบบประเมินความกลัวการกลับเป็นซ้ำของโรคมะเร็ง (ฉบับย่อ) แบบประเมินความรอบรู้ทางสุขภาพ แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคม และแบบประเมินความทุกข์ทรมานจากอาการ ที่ผ่านกระบวนการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิได้ค่าดัชนีความตรงตามเนื้อหาและหาความเที่ยงจากแบบประเมินได้เท่ากับ .88, .90, .94, .91 และ .86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พิสัย และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมมีความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (X=69.04, S.D.=11.78) 2. ระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ทางลบกับความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= -.400) 3. ความทุกข์ทรมานจากอาการ และความกลัวการกลับเป็นมะเร็งซ้ำมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้สึกไม่แน่นอนในความเจ็บป่วยของผู้รอดชีวิตจากมะเร็งเต้านมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r= .324 และ .380 ตามลำดับ)


Predictors Of Time To Hospital Among People With Colorectal Cancer, Saimai Tumwijit Jan 2021

Predictors Of Time To Hospital Among People With Colorectal Cancer, Saimai Tumwijit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This retrospective, cross-sectional study aims to describe time to hospital, relating factors, and determine predictors of time to hospital among people with colorectal cancer. Multistage random sampling was used to yield a probability of 240 people with colorectal cancer visiting medical and surgical outpatient departments, oncology units, radiology units, endoscopic units, and inpatient departments. Research instruments consisted of personal information sheet, time to colorectal cancer diagnosis questionnaire, knowledge about colorectal cancer questionnaire (KR-20 = .786), The modified illness perception questionnaire-revised (a = .674 - .836), health care seeking behavior questionnaire (a = .706), and perceived seriousness of warning signs and …


ผลของโปรแกรมการให้ความรู้สุขวิทยาการนอนร่วมกับการออกกำลังกายแบบชี่กงวิถีไทย ต่ออาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยสูงอายุหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, จุติรัตน์ ภูติรักษ์ Jan 2021

ผลของโปรแกรมการให้ความรู้สุขวิทยาการนอนร่วมกับการออกกำลังกายแบบชี่กงวิถีไทย ต่ออาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยสูงอายุหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียม, จุติรัตน์ ภูติรักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการให้ความรู้สุขวิทยาการนอนร่วมกับการออกกำลังกายแบบชี่กงวิถีไทยต่ออาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยสูงอายุหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียมก่อนและหลังการทดลอง และเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรม ฯ กับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ป่วยสูงอายุ 60 ปีขึ้นไปที่ได้รับการเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ตั้งแต่ 1 เดือนและไม่เกิน 3 เดือนหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ที่มารับการรักษา ณ ห้องตรวจกระดูกและข้อ หอผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลเลิดสิน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองกลุ่มละ 20 คน โดยจับคู่ให้ทั้งสองกลุ่มมีความคล้ายคลึงกันในเรื่อง อายุ เพศและระดับอาการนอนไม่หลับ โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ขณะที่กลุ่มทดลองเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้สุขวิทยาการนอนร่วมกับการออกกำลังกายแบบชี่กงวิถีไทยซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นจากแนวคิดการให้ความรู้สุขวิทยาการนอนของ Irish และคณะ (2015) และแนวคิดการออกกำลังกายแบบชี่กงวิถีไทยของ สุรีพร ธนศิลป์ (2557) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามอาการนอนไม่หลับของ Morin (1993) ฉบับที่แปลเป็นภาษาไทยโดย พัทรีญา แก้วแพง (2547) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ t-test ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. อาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยสูงอายุหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียมหลังเข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้สุขวิทยาการนอนร่วมกับการออกกำลังกายแบบชี่กงวิถีไทยน้อยกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการให้ความรู้สุขวิทยาการนอนร่วมกับการออกกำลังกายแบบชี่กงวิถีไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อาการนอนไม่หลับของผู้ป่วยสูงอายุหลังเปลี่ยนข้อเข่าเทียมในกลุ่มที่เข้าร่วมโปรแกรมการให้ความรู้สุขวิทยาการนอนร่วมกับการออกกำลังกายแบบชี่กงวิถีไทยน้อยกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการให้คำปรึกษาครอบครัวต่อพฤติกรรมการรับประทานยา ตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้แอลกอฮอล์, กุลยาณิชพงศ วงหนูพะเนาว์ Jan 2021

ผลของการให้คำปรึกษาครอบครัวต่อพฤติกรรมการรับประทานยา ตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้แอลกอฮอล์, กุลยาณิชพงศ วงหนูพะเนาว์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบกึ่งทดลอง ศึกษาหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการรับประทานยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้แอลกอฮอล์ หลังวัดซ้ำที่ 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้แอลกอฮอล์ที่รับการรักษาแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลนางรอง ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ และครอบครัว จำนวน 20 ครอบครัว โดยจับคู่ให้มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันได้แก่เป็นผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้แอลกอฮอล์และครอบครัวซึ่งเป็นผู้ดูแลหลัก กลุ่มทดลองได้รับการให้คำปรึกษาครอบครัว เป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) การให้คำปรึกษาครอบครัว 2) แบบประเมินพฤติกรรมการรับประทานยาตามเกณฑ์การรักษา 3) แบบประเมินอาการทางจิต: BPRS 4) แบบวัดความอยากดื่มแอลกอฮอล์: OCDS เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน มีค่าความเที่ยงสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ.80, .86 และ.94 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ One-way Repeated Measure ANOVA. ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ พฤติกรรมการรับประทานยาตามเกณฑ์การรักษาของผู้ป่วยจิตเภทที่ใช้แอลกอฮอล์ หลังติดตามที่ 1 สัปดาห์ และ 1 เดือน มีพฤติกรรมการรับประทานยาตามเกณฑ์การรักษาสูงกว่าก่อนได้รับการให้คำปรึกษาครอบครัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาการจัดบริการพยาบาลคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น, วัลภา อรัญนะภูมิ Jan 2021

การศึกษาการจัดบริการพยาบาลคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น, วัลภา อรัญนะภูมิ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดบริการพยาบาลของคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น โดยใช้เทคนิค EDFR กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มคณะทำงานโครงการพัฒนารูปแบบคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์เป็นหน่วยบริการร่วมให้บริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 5 คน 2) กลุ่มผู้ประกอบการคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น 5 คน 3) กลุ่มนิติกรที่เชี่ยวชาญกฎหมายด้านสาธารณสุข 3 คน และ 4) กลุ่มอาจารย์พยาบาล/นักวิชาการที่มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดบริการพยาบาล 4 คน สัมภาษณ์เฉพาะรอบที่ 1 วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วยการเก็บข้อมูล 3 รอบ คือ รอบที่ 1 การสัมภาษณ์กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างเป็นแบบสอบถาม ส่งให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญ และรอบที่ 3 นำข้อมูลจากรอบที่ 2 มาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ จากนั้นนำแบบสอบถามส่งให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปผลการศึกษาการจัดบริการพยาบาลคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น ผลการวิจัยพบว่าการจัดบริการพยาบาลคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่น ประกอบด้วย 5 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการให้บริการในคลินิก ประกอบด้วย กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ ตามกลุ่มวัย ป้องกันโรค ตามความเสี่ยงกลุ่มวัย รักษาพยาบาลเบื้องต้น และบริการฟื้นฟูสภาพ 2) ด้านการให้บริการในชุมชน ประกอบด้วย กิจกรรมการเยี่ยมบ้านผู้รับบริการกลุ่มต่างๆ 3) ด้านบริการส่งต่อผู้ป่วย ประกอบด้วยการประสานงานกับหน่วยบริการเครือข่ายระดับต่างๆ เพื่อส่งต่อไปรับการบำบัด 4) ด้านการให้บริการผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ ประกอบด้วย การนำ application มาช่วยในกิจกรรมการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพและการติดตามเยี่ยมบ้าน การส่งข้อมูลความรู้ด้านสุขภาพแก่ผู้รับบริการ และ บันทึกข้อมูลการให้บริการด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ 5) ด้านการให้บริการป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อที่บ้านและชุมชนของผู้รับบริการ ประกอบด้วยการวางแผนป้องกันและควบคุมการติดเชื้อตามปัญหาของผู้รับบริการ ติดตามประเมินผลการปฏิบัติของผู้รับบริการ และรายงานสถานการณ์การระบาด ผลการวิจัยนี้ทำให้ทราบถึงการจัดบริการพยาบาลคลินิกพยาบาลชุมชนอบอุ่นที่มีความชัดเจน เพื่อเป็นพื้นฐานในการจัดบริการพยาบาลที่มีมาตรฐานและตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ


ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบแกว่งแขนต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา, ลินดา อ่องนก Jan 2021

ผลของโปรแกรมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบแกว่งแขนต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา, ลินดา อ่องนก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบแกว่งแขนต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซี ของผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตาที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกจักษุโรงพยาบาลเมตตาประชารักษ์ (วัดไร่ขิง) จังหวัดนครปฐม เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตามีอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 30 ปีขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตา เลือกตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 คนและกลุ่มควบคุม 22 คน จับคู่โดยคำนึงถึง ระยะเวลาการเป็นโรคเบาหวาน ชนิดของยาที่ใช้ และค่าดัชนีมวลกาย กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบแกว่งแขน และกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ระยะเวลา 12 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมการจัดการตนเองที่เน้นการออกกำลังกายแบบแกว่งแขน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และเครื่องตรวจระดับฮีโมโกลบินเอวันซี วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1..ค่าฮีโมโกลบินเอวันซีของผู้ป่วยโรคเบาหวานเข้าจอประสาทตาในกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรม ( x = 8.30 ± 1.55 ) มีค่าต่ำกว่าก่อนการทดลอง ( x = 9.14 ± 1.46) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 (t= 3.23, p <05) 2. ผลต่างของฮีโมโกลบินเอวันซีก่อนและหลังเข้าร่วมวิจัยของกลุ่มทดลอง ( d = 0.84 ± 1.21) มากกว่ากลุ่มควบคุม ( d = 0.13 ± 0.85) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t= 2.24 , p < .05 )