Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2020

Chulalongkorn University

Orthodontics and Orthodontology

Articles 1 - 10 of 10

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การรับรู้ความสวยงามของการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างใบหน้าด้านข้างแบบที่สองโดยบุคคลอายุต่าง ๆ, วิวรรณ ทิพยางกูร Jan 2020

การรับรู้ความสวยงามของการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างใบหน้าด้านข้างแบบที่สองโดยบุคคลอายุต่าง ๆ, วิวรรณ ทิพยางกูร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากในปัจจุบันผู้ป่วยจำนวนมากได้รับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันตั้งแต่อายุยังน้อย การเลือกแผนการรักษาจึงทำโดยผู้ปกครองเป็นส่วนใหญ่ โดยอาจไม่ได้คำนึงถึงความเห็นของผู้ป่วย ซึ่งการรักษาทางทันตกรรมจัดฟันในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของโครงสร้างใบหน้าด้านข้างแบบที่สองสามารถทำได้โดยการจัดฟันร่วมกับการดัดแปลงการเจริญเติบโตหรือการผ่าตัดขากรรไกร หรือการจัดฟันเพียงอย่างเดียวเพื่ออำพรางความผิดปกติของโครงสร้างกระดูก โดยทั้งสองวิธี้นี้ให้ผลการรักษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งลักษณะใบหน้าที่แตกต่างกัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ความสวยงามของการเปลี่ยนแปลงลักษณะโครงสร้างใบหน้าด้านข้างแบบที่สองโดยบุคคลอายุต่าง ๆ การศึกษาทำโดยการใช้วิชวลอนาล็อกสเกลและการเรียงลำดับความสวยงาม โดยให้บุคคลอายุต่าง ๆ 3 กลุ่มอายุ คือ 12-15 ปี 22-32 ปี และ 44-54 ปี จำนวนกลุ่มละ 60 คน (เพศชาย 30 คนและเพศหญิง 30 คน) ประเมินความสวยงามของภาพใบหน้าด้านข้างทั้งหมด 7 ภาพของหญิงไทยที่มีลักษณะโครงสร้างใบหน้าแบบที่สอง โดยมีค่ามุมจมูก-ริมฝีปากและค่ามุมเฟเชียลคอนทัวร์ต่าง ๆ กัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว สถิติทดสอบครัสคาล-วัลลิส สถิติทดสอบแมน-วิทนีย์ สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ สถิติทดสอบฟรีดแมน และสถิติทดสอบวิลค็อกซันชนิดอันดับที่มีเครื่องหมาย ใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมนในการหาความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนวิชวลอนาล็อกสเกลและคะแนนลำดับความสวยงาม รวมไปถึงใช้สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณทางเดียว ในการวิเคราะห์ปัจจัยอื่น ๆ คือ เพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และประวัติการรับการรักษาทางทันตกรรมจัดฟัน ที่อาจส่งผลต่อการให้คะแนนความสวยงาม ผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มอายุต่าง ๆ กัน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของคะแนนวิชวลอนาล็อกสเกลและคะแนนลำดับความสวยงามเพียงบางภาพ โดยมีแนวโน้มของการให้คะแนนในกลุ่มอายุ 12-15 ปีและ 44-54 ปีที่มีความคล้ายคลึงกัน ส่วนการเปรียบเทียบระหว่างบุคคลในกลุ่มอายุเดียวกัน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญเพียงบางภาพ นอกจากนี้พบความความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนวิชวลอนาล็อกสเกลกับคะแนนลำดับความสวยงามอย่างมีนัยสำคัญเพียงบางภาพ ส่วนความสัมพันธ์ของปัจจัยอื่น ๆ ต่อการให้คะแนนความสวยงามพบเพียงบางปัจจัยในบางภาพเช่นเดียวกัน สรุปผลการศึกษา กลุ่มอายุ 12-15 ปีและ 44-54 ปี มีความพึงพอใจในลักษณะใบหน้าที่ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน คือใบหน้าด้านข้างที่อูมเล็กน้อยและมีค่ามุมจมูก-ริมฝีปากปกติ (ค่ามุมเฟเชียลคอนทัวร์ 11 องศาและค่ามุมจมูก-ริมฝีปาก 91 องศา) เป็นภาพที่สวยที่สุด และใบหน้าด้านข้างที่อูมมากและมีค่ามุมจมูก-ริมฝีปากมากที่สุด (ค่ามุมเฟเชียลคอนทัวร์ 17 องศาและค่ามุมจมูก-ริมฝีปาก 115 องศา) เป็นภาพที่มีความสวยงามน้อยที่สุด ส่วนกลุ่มอายุ 22-32 ปี พึงพอใจมากในใบหน้าด้านข้างที่อูมกว่าค่าปกติและมีค่ามุมจมูก-ริมฝีปากปกติ (ค่ามุมเฟเชียล-คอนทัวร์ 11 องศาและ 13 องศา และค่ามุมจมูก-ริมฝีปาก 91 องศา) …


ผลของสารผสมระหว่างสารต้านอนุมูลอิสระและกรดซิตริกต่อความแข็งแรงยึดเฉือนของสารยึดติดกับฟันมนุษย์ที่ถูกฟอกสีฟัน, พิชนี แซ่อาวเอี้ยง Jan 2020

ผลของสารผสมระหว่างสารต้านอนุมูลอิสระและกรดซิตริกต่อความแข็งแรงยึดเฉือนของสารยึดติดกับฟันมนุษย์ที่ถูกฟอกสีฟัน, พิชนี แซ่อาวเอี้ยง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลของกรดเอทิลแอสคอร์บิกความเข้มข้นร้อยละ 35 ที่ถูกนำมารวมกับกรดซิตริกความเข้มข้นร้อยละ 50 ต่อความแข็งแรงพันธะยึดเฉือนของแบร็กเกตที่ยึดติดกับเรซินคอมโพสิตและฟันมนุษย์หลังจากการฟอกสี วัสดุและวิธีการ: งานวิจัยในครั้งนี้ใช้ฟันกรามน้อยบนจำนวน 40 ซี่แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม (10 ซี่ต่อกลุ่ม) โดยกลุ่มควบคุมใช้กรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37 กัดบนผิวเคลือบฟันที่ไม่ได้ฟอกสีฟันเป็นระยะเวลา 15 วินาที สําหรับกลุ่มทดลองที่ 1 ใช้กรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37% กัดบนผิวฟันที่ถูกฟอกสีฟันเป็นระยะเวลา 15 วินาที กลุ่มทดลองที่ 2 ใช้โซเดียมแอสคอร์เบตความเข้มข้นร้อยละ 35 เตรียมผิวเคลือบฟันก่อนเป็นระยะเวลา 5 นาที แล้วจึงตามด้วยการใช้กรดฟอสฟอริกความเข้มข้นร้อยละ 37 กัดบนผิวเคลือบฟันที่ฟอกสีฟันเป็นระยะเวลา 15 วินาที ส่วนกลุ่มทดลองที่ 3 นั้น ได้ใช้กรดที่ผสมด้วยกรดเอทิลแอสคอร์บิกความเข้มข้นร้อยละ 35 รวมกับกรดซิตริกที่ความเข้มข้นร้อยละ 50 กัดบนผิวฟันที่ถูกฟอกสีฟันเป็นระยะเวลา 5 นาที จากนั้นได้ทำการยึดแบร็กเกตโลหะบนผิวเคลือบฟันของฟันทุกกลุ่มและนำฟันไปฝังในท่อพีวีซีโดยใช้อุปกรณ์ชี้นำเพื่อให้ผิวเคลือบฟันด้านแก้มขนานกับแรงที่ใช้ในระหว่างการทดสอบความแข็งแรงของพันธะเฉือน และนำชิ้นงานไปทดสอบความแข็งแรงของพันธะเฉือนโดยเครื่องทดสอบอเนกประสงค์ ความเร็วของหัวตัด 1 มิลลิเมตรต่อนาที จนกว่าแบร็กเกตหลุดจากผิวเคลือบฟัน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และศึกษาดัชนีการเหลืออยู่ของสารยึดติด โดยดูจากภาพถ่ายที่ได้จากกล้องจุลทรรศน์แบบสเตอริโอภายใต้กำลังขยาย 20 เท่า ด้วยสถิติการทดสอบไคสแควร์ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการศึกษา: ความแข็งแรงของพันธะเฉือนมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สําหรับกลุ่มควบคุม กลุ่มทดลองที่ 1 กลุ่มทดลองที่ 2 และกลุ่มทดลองที่ 3 เท่ากับ 23.30±3.02 14.03±3.13 20.09±2.48 และ 18.24±4.25 เมกะปาสคาลตามลำดับ โดยพบว่าค่าความแข็งแรงของพันธะเฉือนของกลุ่มที่มีการใช้กรดเอทิลแอสคอร์บิกผสมกับกรดซิตริกเป็นสารกัด (กลุ่มทดลองที่ 3) และกลุ่มที่ใช้โซเดียมแอสคอร์เบตปรับสภาพผิวเคลือบฟันก่อนการกัดด้วยกรดฟอสฟอริก (กลุ่มทดลองที่ 2) มีค่าความแข็งแรงของพันธะเฉือนที่มากกว่ากลุ่มที่ใช้กรดฟอสฟอริกอย่างเดียว (กลุ่มทดลองที่ 1) อย่างมีนัยสําคัญ (p=0.03) และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม ค่าความแข็งแรงของพันธะเฉือนของกลุ่มที่มีการใช้กรดเอทิลแอสคอร์บิกผสมกับกรดซิตริก (กลุ่มทดลองที่ 3) มีค่าต่ำกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p=0.008) เช่นกัน และพบว่าค่าการกระจายของดัชนีการเหลืออยู่ของสารยึดติดทั้ง 4 กลุ่มมีความแตกต่างกัน สรุป: การใช้กรดเอทิลแอสคอร์บิกความเข้มข้นร้อยละ …


Effect Of Endothelin-1 On Cyclooxygenase-2 Gene Expression And Prostaglandin E2 Synthesis In Human Periodontal Fibroblasts, Supachai Unmanatakoon Jan 2020

Effect Of Endothelin-1 On Cyclooxygenase-2 Gene Expression And Prostaglandin E2 Synthesis In Human Periodontal Fibroblasts, Supachai Unmanatakoon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study is to clarify the effect of endothelin-1 on COX-2 mRNA expression and PGE2 production from human periodontal ligament fibroblasts. Effect of various concentration of ET-1 on cell viability of primary human periodontal ligament fibroblasts was determined by an MTT assay. Then, primary human periodontal ligament fibroblasts were treated with 10 pM ET-1 for 0.5, 1, 2, 4 hours to investigate the time-course effect. Furthermore, to investigate the dose-response effect, periodontal ligament fibroblasts were treated with 1, 10, 100 pM ET-1 for 1 hour. The untreated cells were set as control. RNA extraction followed by cDNA …


Cephalometric Study Of Treated Orthodontic Patients With Acceptable Esthetic Profiles Compared To Adult Thai Normative Values, Visessan Pornsirianand Jan 2020

Cephalometric Study Of Treated Orthodontic Patients With Acceptable Esthetic Profiles Compared To Adult Thai Normative Values, Visessan Pornsirianand

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective: This study aimed to compare cephalometric variables between esthetically acceptable normal, concave, and convex profile groups as well as between each group and adult Thai normative values. Materials and Methods: Three-hundred and three profile silhouettes from post-treatment lateral cephalometric radiographs of 18–37 year-old orthodontic patients were scored by 5 Thai orthodontists and 15 orthodontic patients. The Likert 5-point scale was used to judge the attractiveness. Two-hundred and seven radiographs passing the minimum score of 3 were divided into acceptable normal, concave, and convex profile (AN, ACC, ACV) groups. Thirty-five skeletal, 17 dental, and 34 soft tissue cephalometric variables were …


Effects Of Pilot Hole Size On Miniscrew Insertion Torque And Synthetic Bone Transparency, Chutimont Teekavanich Jan 2020

Effects Of Pilot Hole Size On Miniscrew Insertion Torque And Synthetic Bone Transparency, Chutimont Teekavanich

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Orthodontic miniscrews have gained popularity; however, they have some drawbacks, including screw loosening due to bone resorption caused by excess microdamage during screw insertion. Pilot hole preparation through the cortical bone is considered beneficial to avoid such microdamage, while an overly large pilot hole impairs primary stability. Hence, we used a human bone analogue to evaluate the microdamage and primary stability to estimate the optimal pilot hole size that would minimize the screw loosening risk. Ti6Al4V miniscrews and 1.0-mm-thick synthetic cortical bone pieces were prepared. Various compressive loads were applied in indentation tests to bone surfaces, and the microdamaged areas …


Intermittent Hypoxia Induces Mandibular Growth Arrest And Invokes A Different Response In Condylar And Tibial Cartilage In Infant Rats, Kochakorn Lekvijittada Jan 2020

Intermittent Hypoxia Induces Mandibular Growth Arrest And Invokes A Different Response In Condylar And Tibial Cartilage In Infant Rats, Kochakorn Lekvijittada

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Intermittent hypoxia (IH) has been associated with skeletal growth. However, the influence of IH on cartilage growth and metabolism is unknown. We compared the effects of IH on chondrocyte proliferation and maturation in the mandibular condyle fibrocartilage and tibial hyaline cartilage of 1-week-old male Sprague-Dawley rats. The rats were exposed to normoxic air (n = 9) or IH at 20 cycles/h (nadir, 4% O2; peak, 21% O2; 0% CO2) (n = 9) for 8 h each day. IH impeded body weight gain, but not tibial elongation. IH also increased cancellous bone mineral and volumetric bone mineral densities in the mandibular …


Masticatory Performance And Self-Assessed Masticatory Ability In Orthodontic Patients Using Removable Posterior Biteplate And Orthodontic Banding Cement For Bite-Raising: A Randomized Clinical Trial, Pokchat Bunpu Jan 2020

Masticatory Performance And Self-Assessed Masticatory Ability In Orthodontic Patients Using Removable Posterior Biteplate And Orthodontic Banding Cement For Bite-Raising: A Randomized Clinical Trial, Pokchat Bunpu

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective: To evaluate the masticatory performance and the masticatory ability before and after bite-raising with removable posterior biteplate and with orthodontic banding cement and compare the long-term effects between the two different bite-raising methods. Materials and Methods: The 12 healthy, orthodontic, patients who have natural permanent dentition with healthy periodontium and required the bite-raising in the comprehensive fixed orthodontic appliances from the Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University were collected (mean age 22.58±8.45 years). A group of patients was randomly divided into two groups of equal size. The first group used removable posterior biteplate and the other group used orthodontic banding …


The Effectiveness Of Led Toothbrush In Reducing Dental Plaque And Gingivitis In Fixed Orthodontic Patients: A Randomized Clinical Trials, Chavirakarn Manphibool Jan 2020

The Effectiveness Of Led Toothbrush In Reducing Dental Plaque And Gingivitis In Fixed Orthodontic Patients: A Randomized Clinical Trials, Chavirakarn Manphibool

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective: To compare the effectiveness of LED toothbrush to manual toothbrush in reducing dental plaque and gingival inflammation in fixed orthodontic patients, and to investigate the effect of duration of LED toothbrush exposed to the S.mutans biofilm in vitro. Materials and methods: Fifteen fixed orthodontic patients were recruited to this parallel-group analysis. The patients were randomly divided into 2 groups relying on brushing methods: manual toothbrush and LED toothbrush. Plaque index and gingival index were examined by a calibrated-blinded examiner at baseline and 28 days after brushing period. In vitro part, the S. mutans biofilms were assigned to 5 groups …


Assessing Treatment Outcomes From The Postgraduate Orthodontic Program, Chulalongkorn University, Tanyapak Kongboonvijit Jan 2020

Assessing Treatment Outcomes From The Postgraduate Orthodontic Program, Chulalongkorn University, Tanyapak Kongboonvijit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Objective: To evaluate the quality of orthodontic treatment outcomes by using Peer Assessment Rating index (PAR), American Board of Orthodontics Objective Grading System (ABO-OGS) and lateral cephalometric analysis in the cases completed from the postgraduate orthodontic clinic, Chulalongkorn University. And to determine whether any contributing factors correlate with the orthodontic treatment outcomes. Materials and Methods: 100 patients who had completed treatment since 2017 were included in this study. Inclusion criteria included patients with full upper and lower edgewise appliances and completed treatment records. Exclusion criteria included patients with craniofacial syndromes or debond before treatment completion. One calibrated examiner assessed DI, …


สหสัมพันธ์ของมิติข้อต่อขากรรไกรและขากรรไกรล่างในผู้ป่วยสบฟันผิดปกติประเภทที่สามในภาพรังสีโคนบีมซีที, ยศพล สงพุ่ม Jan 2020

สหสัมพันธ์ของมิติข้อต่อขากรรไกรและขากรรไกรล่างในผู้ป่วยสบฟันผิดปกติประเภทที่สามในภาพรังสีโคนบีมซีที, ยศพล สงพุ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขนาดและมุมของข้อต่อขากรรไกรและขากรรไกรล่างในคนไทยที่มีการสบฟันผิดปกติประเภทที่สาม การศึกษาทำในภาพรังสีโคนบีมซีทีของข้อต่อขากรรไกรและขากรรไกรล่างชาวไทย อายุ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 42 ภาพ แบ่งเป็นเพศชาย 10 คน อายุ 20-37 ปี อายุเฉลี่ย 23.40 ± 5.10 ปี จำนวน 20 ภาพ เพศหญิง 11 คน อายุ 20-42 ปี อายุเฉลี่ย 28.18 ± 6.10 จำนวน 22 ภาพ ความแตกต่างระหว่างฝั่งซ้ายและฝั่งขวาวิเคราะห์โดยสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test และ paired t-test ความแตกต่างระหว่างเพศวิเคราะห์โดยใช้สถิติ Independent t-test และ Mann-Whitney U test สหสัมพันธ์ระหว่างขนาดและมุมของข้อต่อขากรรไกรและขากรรไกรล่างวิเคราะห์โดย Pearson correlation และ Spearman correlation ผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบระหว่างฝั่งซ้ายและขวา พบว่ามุมระหว่างส่วนยื่นคอนดายล์และระนาบแบ่งซ้ายขวาด้านซ้ายมีค่ามากกว่าด้านขวา (p= 0.024) เมื่อเปรียบเทียบระหว่างเพศ พบว่า ความลึกแอ่งข้อต่อขากรรไกร (p= 0.034) ความกว้างส่วนยื่นคอโรนอยด์ (p <0.001) ความสูงของขากรรไกรล่าง (p= 0.002) ความสูงของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม (p= 0.003) ความกว้างของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม (p= 0.020) ความยาวของขากรรไกรล่างในเพศชายมีค่ามากว่าเพศหญิง (p= 0.007) ส่วนมุมส่วนยื่นคอนดายล์ในระนาบแบ่งหน้า-หลัง (p= 0.021) และความชันผนังหลังแอ่งข้อต่อขากรรไกร (p= 0.026) ในเพศหญิงสูงกว่าเพศชาย สหสัมพันธ์ระหว่างข้อต่อขากรรไกรและขากรรไกรล่าง พบว่า ความกว้างของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความยาวของขากรรไกรล่าง (r= 0.754) ความกว้างของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความกว้างส่วนยื่นคอโรนอยด์ (r=0.733) ความกว้างของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความสูงของขากรรไกรล่าง (ρ=0.802) ความสูงของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความสูงของขากรรไกรล่าง (ρ=0.759) มีสหสัมพันธ์ในระดับสูง สรุปผลการศึกษา ในผู้ใหญ่ชาวไทยที่มีลักษณะสบฟันประเภทที่สามมีความสัมพันธ์ระหว่าง ความกว้างของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความยาวของขากรรไกรล่าง ความกว้างของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความกว้างส่วนยื่นคอโรนอยด์ ความกว้างของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความสูงของขากรรไกรล่าง รวมทั้ง ความสูงของขากรรไกรล่างส่วนท้ายฟันกราม และความสูงของขากรรไกรล่าง ในระดับสูง