Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2014

Nursing

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

สมรรถนะแห่งตน;การสนับสนุนจากครอบครัว;พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคสูงอายุต้อหิน, หทัยกาญจน์ เชาวกิจ, จิราพร เกศพิชญวัฒนา Sep 2014

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนจากครอบครัวต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคสูงอายุต้อหิน, หทัยกาญจน์ เชาวกิจ, จิราพร เกศพิชญวัฒนา

Journal of Nursing Science Chulalongkorn University (วารสารพยาบาลศาสตร์)

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนจากครอบครัว ต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน\n \nรูปแบบการวิจัย: การวิจัยแบบกึ่งทดลอง\n \nวิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคต้อหินทั้งชายและหญิง ที่เข้ารับการรักษาในคลินิก โรคต้อหิน แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ คัดเลือกตามเกณฑ์ที่กําหนด จํานวน 60 ราย แบ่ง เป็นกลุ่มทดลอง 30 ราย กลุ่มควบคุม 30 ราย โดยจับคู่ด้าน เพศ ระดับการศึกษา รายได้ และโรคประจําตัว กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตน และการสนับสนุนจากครอบครัว ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การประเมินทางสภาพสรีรวิทยาและ การกระตุ้นทางอารมณ์ 2) การให้คําแนะนําหรือการใช้คําพูดชักจูง 3) การเรียนรู้ผ่านตัวแบบหรือ ประสบการณ์ของผู้อื่น และ 4) ประสบการณ์ที่กระทําสําเร็จได้ด้วยตนเอง และการสนับสนุนจากครอบครัว ใน 4 ด้าน คือ ด้านอารมณ์ ด้านการประเมินค่า ด้านข้อมูลข่าวสาร ด้านทรัพยากร เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน มีค่าดัชนีความตรงเชิง เนื้อหา เท่ากับ .80 มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ .84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired-t test และสถิติ One-way ANOVA\n \nผลการวิจัย: 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหินหลังได้รับโปรแกรมฯ สูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหิน หลังได้รับโปรแกรมฯสูงกว่าผู้ป่วยสูงอายุโรคต้อหินที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05\n \nสรุป: โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนจากครอบครัวส่งผลให้ผู้สูงอายุโรคต้อหิน มีพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพดีขึ้นและดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ\n