Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 32

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Short Communication: Definitively Diagnosed Cases Of Paratuberculosis In Imported And Locally Produced Brahman Cows In Thailanf, Monoya Ekgatat, Masaharu Kanameda, Surapong Wongkashemjit, Banchon Apiwatanakorn, Tipa Tanticharoenyos, Pipol Sooksaithaichana, Wassana Seangsuwan Dec 1997

Short Communication: Definitively Diagnosed Cases Of Paratuberculosis In Imported And Locally Produced Brahman Cows In Thailanf, Monoya Ekgatat, Masaharu Kanameda, Surapong Wongkashemjit, Banchon Apiwatanakorn, Tipa Tanticharoenyos, Pipol Sooksaithaichana, Wassana Seangsuwan

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


การศึกษาผลการใช้โภชนบำบัดรักษานิ่วชนิดแมกนีเซียมแอมโมเนียม ฟอสเฟส 100% ชนิดปลอดเชื้อในสุนัขเพศเมีย, รสมา ภู่สุนทรธรรม, ไพวิภา กมลรัตน์, เดชฤทธิ์ นิลอุบล, ธนศักดิ์ บุญเสริม, ดุสิต จรุงวงศ์เสถียร Dec 1997

การศึกษาผลการใช้โภชนบำบัดรักษานิ่วชนิดแมกนีเซียมแอมโมเนียม ฟอสเฟส 100% ชนิดปลอดเชื้อในสุนัขเพศเมีย, รสมา ภู่สุนทรธรรม, ไพวิภา กมลรัตน์, เดชฤทธิ์ นิลอุบล, ธนศักดิ์ บุญเสริม, ดุสิต จรุงวงศ์เสถียร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาผลการใช้โภชนบำบัดรักษานิ่วชนิดแมกนีเซียม แอมโมเนียม ฟอสเฟต (Struvite) 100% ชนิดปลอดเชื้อในสุนัขพันธุ์ไทยผสม เพศเมีย จำนวน 8 ตัว เป็นระยะเวลา 50 วัน แบ่งสุนัขทดลองเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 4 ตัว ในกลุ่มควบคุมซึ่งได้รับอาหารควบคุม พบ นิ่วในกระเพาะปัสสาวะของสุนัขจำนวน 3 ตัว อีก 1 ตัวไม่พบก้อนนิ่วหลังสิ้นสุดการทดลอง 1 ในกลุ่มทดลองซึ่งได้รับโภชนบำบัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 50 วันไม่พบก้อนนิ่วในกระเพาะ ปัสสาวะของสุนัข 3 ตัวหลังสิ้นสุดการทดลอง สุนัขอีก 1 ตัวมีก้อนนิ่วที่มีขนาดและน้ำหนักลดลง ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการใช้โภชนบำบัดอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 50 วัน สามารถสลายหรือลดขนาดของนิ่ว แมกนีเซียม แอมโมเนียม ฟอสเฟต (Struvite) 100% ชนิดปลอดเชื้อได้ในสุนัข


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Dec 1997

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


ผลของการใช้ซีโอไลท์และยากำจัดกลิ่นต่อคุณลักษณะของการใช้ผลผลิตการลดก๊าชแอมโมเนียและการเปลี่ยนแปลค่าทางโลหิตวิทยาในไก่กระทง, จักรกริศน์ เนื่องจำนงค์, กฤษ อังคนาพร, สมชาย ผลดีนานา Dec 1997

ผลของการใช้ซีโอไลท์และยากำจัดกลิ่นต่อคุณลักษณะของการใช้ผลผลิตการลดก๊าชแอมโมเนียและการเปลี่ยนแปลค่าทางโลหิตวิทยาในไก่กระทง, จักรกริศน์ เนื่องจำนงค์, กฤษ อังคนาพร, สมชาย ผลดีนานา

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ไก่กระทงคละเพศอายุ 1 วัน จำนวน 84 ตัว แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 28 ตัว แต่ละกลุ่มมี 4 กลุ่ม ไก่กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มควบคุม ไก่กลุ่มที่ 2 ได้รับซีโอไลท์ 1% ในอาหาร ตั้งแต่อายุ 1-42 วัน และไก่กลุ่มที่ 3 ได้รับการพ่นยากำจัดกลิ่น (deodorizer) ในอัตราส่วน 1:100 บนกองมูลไก่เมื่อไก่อายุได้ 21, 28, 35 และ 38 วัน ในทุกกลุ่ม ทําการวัดระดับความ เข้มข้นของก๊าซแอมโมเนียที่บริเวณเหนือกองมูลไก่ โดยใช้เครื่องมือเครเกอร์ (Drager) ที่อายุ 14, 21, 28, 35 และ 42 วัน และทำการเก็บตัวอย่างเลือดที่อายุ 14 และ 42 วัน เพื่อประเมิน ค่าทางโลหิตวิทยา เมื่อสิ้นสุดการทดลองทำการเปรียบเทียบน้ำหนักไก่ที่เพิ่มขึ้น อัตราตาย อัตราแลกเนื้อ ปริมาณการกินอาหารและค่าเฉลี่ยของการเจริญเติบโตต่อวัน จากผลการทดลอง พบว่า ระดับความเข้มข้นของก๊าซแอมโมเนียในไก่กลุ่มที่ 3 มีค่าต่ำกว่ากลุ่มที่ 1 และ 2 นอกจาก นี้น้ำหนักตัวไก่ที่เพิ่มขึ้น อัตราแลกเนื้อ และค่าเฉลี่ยของการเจริญเติบโตต่อวันในกลุ่มที่ 3 ดีกว่ากลุ่มที่ 2 อย่างมีนัยสำคัญ แต่มีค่าใกล้เคียงกับกลุ่มที่ 1 ส่วนอัตราตายไม่มีความแตกต่าง กันในทุกกลุ่ม เมื่อเปรียบเทียบอัตราส่วนของเม็ดเลือดขาวเฮทเทอโรฟิลต่อลิมโฟซัยท์ (H/L ratio) พบว่าไก่กลุ่มที่ 1 มีค่า H/L ratio สูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงก่อนการทดลองอย่างมีนัย สำคัญ แต่ไก่กลุ่มที่ 2 และ 3 ไม่พบความแตกต่างในช่วงก่อนและหลังการทดลอง ซึ่งแสดงให้ เห็นว่าไก่กลุ่มที่ …


The Sensitivity Of Fluorescent Rabies Antibody Testing On Samples Taken From Brain Stem, Cerebellum, Cerebrum And Hippocampus, Veera Tepsumethanon, Boonlert Lumlertdacha, Channarong Mitmoonpitak Dec 1997

The Sensitivity Of Fluorescent Rabies Antibody Testing On Samples Taken From Brain Stem, Cerebellum, Cerebrum And Hippocampus, Veera Tepsumethanon, Boonlert Lumlertdacha, Channarong Mitmoonpitak

The Thai Journal of Veterinary Medicine

A review was carried out on 2,689 brains from animals that were found to be positive for rabies virus by a fluorescent antibody test (FAT) and mouse inoculation test (MIT). Samples were taken from the brain stem, cerebellum, cerebrum and hippocampus of each animal. FAT sensitivity was found to be 99.59, 99.29, 98.88 and 98.74 percent for each of the different sampling sites. It was concluded that the brain stem is the best site for routine rabies FAT diagnosis.


ระดับของซีรั่มโปรตีนในสุนัขที่มีการติดเชื้อพยาธิหัวใจ หรือ เออร์ริเซีย เคนีส เมื่อตรวจด้วยวิธีอิเล็คโตรโฟรีซีส, สุพจน์ วัฒนะพันธ์ศักดิ์, มีนา สาริกะภูติ, บุญเลิศ ปรีชาตั้งกิจ, อธิภู นันทประเสริฐ Dec 1997

ระดับของซีรั่มโปรตีนในสุนัขที่มีการติดเชื้อพยาธิหัวใจ หรือ เออร์ริเซีย เคนีส เมื่อตรวจด้วยวิธีอิเล็คโตรโฟรีซีส, สุพจน์ วัฒนะพันธ์ศักดิ์, มีนา สาริกะภูติ, บุญเลิศ ปรีชาตั้งกิจ, อธิภู นันทประเสริฐ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของซีรั่มโปรตีนในสุนัขกลุ่มควบคุม 26 ตัว สุนัขที่มีพยาธิ หัวใจ 51 ตัว และสุนัขที่ติดเชื้อ เออร์ริเชีย เคนีส (Ehrlichia canis) 8 ตัว โดยวิธี Biuret และ Cellulose acetate electrophoresis สามารถแยกส่วนประกอบของซีรั่มโปรตีน ออกเป็น อัลบูมิน อัลฟ่า-1-กลอบูลิน อัลฟ่า-2-กลอบูลิน เบต้า-กลอบูลิน และ แกมม่า- กลอบูลิน ในสุนัขกลุ่มควบคุม เพศต่างกัน ไม่พบความแตกต่างของซีรั่มโปรตีน สุนัข อายุน้อยมีค่า อัลบูมิน อัลฟ่า-2-กลอบูลิน และอัตราส่วน อัลบูมิน:กลอบูลิน สูงกว่าสุนัขอายุมาก (p < 0.05) สุนัขที่มีพยาธิหัวใจปริมาณ อัลบูมิน อัลฟ่า-2- กลอบูลิน และอัตราส่วน อัลบูมิน:กลอบูลิน ต่ำกว่าสุนัขกลุ่มควบคุม แต่มีแกมม่า-กลอบูลิน สูงกว่าสุนัขกลุ่ม ควบคุม (p < 0.05) และพบว่า 40% ของสุนัขที่มีพยาธิหัวใจปริมาณ เบต้า-กลอบูลิน สูงกว่า สุนัขกลุ่มควบคุมมาก สุนัขที่ติดเชื้อ เออร์ริเชีย เคนีส ระดับของ อัลบูมิน และอัตราส่วน อัลบูมิน:กลอบูลิน ต่ำกว่าสุนัขกลุ่มควบคุม แต่มี อัลฟ่า-1-กลอบูลิน สูงกว่า (p < 0.05) และ มีเพียง 2 ตัวที่มีค่า แกมม่า-กลอบูลิน สูงกว่า สุนัขกลุ่มควบคุมมาก การศึกษาครั้งนี้ชี้ให้ เห็นว่ามีการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของซีรั่มโปรตีนในสุนัขที่มีพยาธิหัวใจหรือมี เออร์ริเชีย เคนีส และไม่พบซีรั่มโปรตีนที่มีความจำเพาะต่อสภาพการมีปรสิตทั้งสองชนิด แต่ในสุนัขที่มี พยาธิหัวใจ มีแนวโน้มที่มีเบต้า-กลอบูลิน สูงกว่าปกติ


Growth Promoters In Rabbits, Suwanna Kijparkorn, Supattra Srichairat, Somporn Wangsoongnoen Dec 1997

Growth Promoters In Rabbits, Suwanna Kijparkorn, Supattra Srichairat, Somporn Wangsoongnoen

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Fifty-six weanling crossbred rabbits (NZW x Native), aged 28 days, were randomly allotted to 7 groups with 8 animals per treatment and 2 animals per cage. Their diet was calculated to contain 16% crude protein with 3,300 kcal of digestible energy / kg feed. Para grass was fed ad libitum. Oxytetracycline and virginiamycin were added to the feed at levels of 5, 10 and 20 and 10, 20 and 40 mg/kg respectively and the seventh group was used as a control. Weight gain and feed intakes were recorded weekly for 10 weeks. Four rabbits from each group were slaughtered for …


Evaluation Of The Efficacy Of Dl-Methionine And Methoonine Hydroxy Analogue In Broiler Diets, S. Kijparkorn, A. Suriyasomboon, C. Nuengjamnong Dec 1997

Evaluation Of The Efficacy Of Dl-Methionine And Methoonine Hydroxy Analogue In Broiler Diets, S. Kijparkorn, A. Suriyasomboon, C. Nuengjamnong

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Nine hundred and sixty day-old chicks of both sexes were divided into 24 groups of 40 birds each and fed for 42 days. Diets were prepared and fed over two phases (1-21 and 22-42 days of age). They were calculated to be deficient either in methionine and sulfur amino acids (negative control diet) or supplemented with 0.24% DL-Methionine (DL-M) or 0.37% Methionine Hydroxy Analogue (MHA). Weight gain and feed intake were calculated so that an evaluation of the efficacy of the 2 sources of methionine could be made. A significant response (P<0.05) in the average weight gain over negative controls (0.55+0.01 kg/bird) was found for DL-M supplemented diets (0.59± 0.01 kg/bird) in phase I, whereas MHA (0.57±0.01kg/bird) did not show any improvement. The feed conversion ratio of DL-M (1.80±0.03) and MHA (1.82±0.04) was significantly different to the negative control (1.93±0.03). There were no significant differences in all performances during phase II. The overall results showed that broilers fed with 0.24% DL-Methionine or 0.37% Methionine Hydroxy Analogue fortified rations showed the same growth rates. It may be concluded that MHA was 65% as efficient as DL-methionine in broiler chicks during the 1-21 day old period of their lives.


การวิเคราะห์ปัญหา การจัดการควบคุมและการป้องกัน การสูญสียจากโรค พี อาร์ อาร์ เอส, คณิศักดิ์ อรวีระกุล Sep 1997

การวิเคราะห์ปัญหา การจัดการควบคุมและการป้องกัน การสูญสียจากโรค พี อาร์ อาร์ เอส, คณิศักดิ์ อรวีระกุล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การปรากฏของปัญหาโรค พี อาร์ อาร์ เอส ของสุกร ต้องอาศัยการวิเคราะห์และพิสูจน์ สาเหตุ ทําการประเมินสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างถูกต้อง โดยที่ปัจจัยหรือสาเหตุการสูญเสีย อาจไม่ได้เกิดจากไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส หรืออาจเกิดร่วมกันกับสาเหตุอื่นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นแบบเรื้อรัง แนวทางการวิเคราะห์ปัญหาประกอบด้วย การสำรวจการ สูญเสียภายในฝูง การสำรวจสถานภาพการติดเชื้อไวรัส พี อาร์ อาร์ เอส ภายในฝูง การแปลผล การตรวจทางซีรั่มวิทยา ข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการกำหนดแนวทางแก้ไขและป้องกัน การสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงการพิจารณาวัคซีนที่มีอยู่ในการควบคุมโรคดังกล่าวในประเทศไทย


สถานภาพภูมิคุ้มโรคไวรัส Bvd, Ibr, Pi3 และ Brs ของฟาร์มโคนมในประเทศไทย, ปราจีน วีรกุล, ศิริวัฒน์ ทรวดทรง, จันทร์เพ็ญ สุวิมลธีระบุตร, จินดา สิงห์ลอ Sep 1997

สถานภาพภูมิคุ้มโรคไวรัส Bvd, Ibr, Pi3 และ Brs ของฟาร์มโคนมในประเทศไทย, ปราจีน วีรกุล, ศิริวัฒน์ ทรวดทรง, จันทร์เพ็ญ สุวิมลธีระบุตร, จินดา สิงห์ลอ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ทำการศึกษาสถานภาพการติดเชื้อโรคไวรัส Bovine viral diarrhea (BVD), Infectious Bovine Rhinotracheitis (IBR), Parainfluenza-3 (PI3) และ Bovine Respiratory Syncytial (BRS) ซึ่งเป็นสาเหตุเบื้องต้นที่ก่อให้เกิดโรคทางระบบหายใจและ เป็นสาเหตุของความไม่สมบูรณ์พันธุ์ในโคนม สุ่มตัวอย่างน้ำนมดิบรวมถัง จำนวน 2,070 ฟาร์ม จากศูนย์รับน้ำนมดิบ 53 แห่งใน 31 จังหวัดที่มีการเลี้ยงโคนมในปี พ.ศ. 2538 และ ทดสอบภูมิคุ้มต่อโรคไวรัสดังกล่าวด้วยชุดทดสอบเฉพาะต่อไวรัสแต่ละชนิด ด้วยวิธี ELISA ผลการสำรวจ พบการแพร่โรคไวรัส BVD, IBR, PI3 และ BRS กระจายทั่วประเทศ ฟาร์มโคนมเพียง 7.3% ที่ไม่พบภูมิคุ้มโรคไวรัส 4 ชนิดที่ศึกษา อัตราฟาร์มที่มีภูมิคุ้มกัน ต่อไวรัส BVD, IBR, PI3 และ BRS เท่ากับ 37.3, 23.3, 86.3 และ 71.6% ตามลำดับ นอกจากนี้พบว่า 73% ของฟาร์มที่สำรวจพบภูมิคุ้มโรคต่อไวรัสพร้อมกันมากกว่า 2 ชนิด ขึ้นไป ปัจจุบันประเทศไทยไม่มี นโยบายการควบคุมโรคไวรัสดังกล่าวเนื่องจากขาดข้อมูลทาง ระบาดวิทยาของโรค BVD, IBR, PI3 และ BRS จึงควรทําการศึกษาหาความคุ้มค่าทาง เศรษฐกิจ โดยนำวิธีป้องกันโรคไวรัสดังกล่าวไม่ให้มีการแพร่กระจาย และลดความสูญเสียจาก ไวรัสดังกล่าวด้วยการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มต่อไวรัสแก่โคนม และจะเป็นต้นแบบในการสร้างโปรแกรมการจัดการสุขภาพของโคทั้งประเทศ


The Effects Of Proboctic Preparation On The Performance Of Layers During A Period Of Declining Egg Production, Vanni Muangcharoen, Boonrit Thongsong, Pensuda Hoongpoo Sep 1997

The Effects Of Proboctic Preparation On The Performance Of Layers During A Period Of Declining Egg Production, Vanni Muangcharoen, Boonrit Thongsong, Pensuda Hoongpoo

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Three hundreds and thirty six ISA Brown layers, 51 weeks of ages, were used to study the effect of adding probiotics (Lactobacillus acidophilus, Streptococcus faecium, electrolytes, acidifier and enzymes), to the feed, on egg production performance. Birds were randomly divided into three groups and received 3 levels, 0, 0.1 and 0.3% of probiotic additive over a period of 12 weeks. Layers fed 0.3% probiotic showed significantly (P<0.05) better FCR per kg of eggs, compared with the other two groups. Adding probiotics did not improve other production traits such as egg quality.


Short Communication: The Isolation Of Mycobacterium Avium From A Chinese Goose (Cygnopis Cygnoides) Associated With And Epidemic Of Duck Plague In Thailand, Masaharu Kanameda, Monaya Ekgatat, Ladda Trongwongsa, Chira Kongkrong, Chaisiri Mahatachaisakul Sep 1997

Short Communication: The Isolation Of Mycobacterium Avium From A Chinese Goose (Cygnopis Cygnoides) Associated With And Epidemic Of Duck Plague In Thailand, Masaharu Kanameda, Monaya Ekgatat, Ladda Trongwongsa, Chira Kongkrong, Chaisiri Mahatachaisakul

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


ผลของการคงอยู่ของเส้นเลือด Left Cranial Vena Cava ต่อการทำงานของหัวใจสุนัข, ประสาน ตังควัฒนา, สิริขจร ตังควัฒนา, สราวุธ ศรีงาม, พิพัฒน์พงษ์ แคนลา Sep 1997

ผลของการคงอยู่ของเส้นเลือด Left Cranial Vena Cava ต่อการทำงานของหัวใจสุนัข, ประสาน ตังควัฒนา, สิริขจร ตังควัฒนา, สราวุธ ศรีงาม, พิพัฒน์พงษ์ แคนลา

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการศึกษาสุนัขสองตัวที่เตรียมไว้เพื่อการเรียนการสอนวิชากายวิภาคศาสตร์และ การทดลองทางสรีรวิทยาของหัวใจ ได้พบลักษณะของ double cranial vena cava ประกอบด้วย right และ left cranial vena cava โดยไม่มี left brachiocephalic vein มาเชื่อมต่อระหว่างเส้นเลือดทั้งสอง ซึ่งเป็นการพบเป็นครั้งแรกในประเทศไทย จากลักษณะ และตำแหน่งทางกายวิภาคศาสตร์ของหลอดเลือดทั้งสอง รวมทั้งการที่ตรวจไม่พบความผิดปกติ ที่เกี่ยวกับ cardiac output, right atrial pressure อัตราการเต้นของหัวใจและไม่พบ arrhythmia และ murmur จึงน่าจะเป็นไปได้ว่าเส้นเลือดทั้งสองสามารถทำหน้าที่นำเลือด ดำกลับเข้าสู่หัวใจห้องบนขวาได้ตามปกติ


หลักฐานการติดเชื้อพาร์โวไวรัสตามธรรมชาติในลูกสุนัข ช่วงอายุ 4-8 สัปดาห์, นิภัทรา เทพวัลย์, ธงชัย จันทร์ลอยเมฆ, คณิศักดิ์ อรวีระกุล, สุวิทย์ กัมทรทิพย์ Sep 1997

หลักฐานการติดเชื้อพาร์โวไวรัสตามธรรมชาติในลูกสุนัข ช่วงอายุ 4-8 สัปดาห์, นิภัทรา เทพวัลย์, ธงชัย จันทร์ลอยเมฆ, คณิศักดิ์ อรวีระกุล, สุวิทย์ กัมทรทิพย์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาหาหลักฐานการติดเชื้อพาร์โวไวรัสตามธรรมชาติในลูกสุนัขช่วงอายุ 4-8 สัปดาห์ จากแม่สุนัขซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อพาร์โวไวรัสที่ศูนย์การสุนัขทหาร โดยตรวจหาแอนติเจน ในอุจจาระด้วยวิธี Hemagglutination Test และระดับแอนติบอดี้ต่อเชื้อพาร์โวไวรัสในซีรั่ม ด้วยวิธี Hemagglutination Inhibition Test จากตัวอย่างอุจจาระและซีรั่มจากลูกสุนัขจำนวน 19 ตัวที่อายุ 4, 6 และ 8 สัปดาห์ รวม 57 ตัวอย่าง ผลการศึกษาพบหลักฐานแอนติเจนที่ ตกตะกอนเม็ดเลือดแดงสุกรในอุจจาระลูกสุนัขได้อย่างน้อยตั้งแต่ที่ 4 สัปดาห์ขึ้นไปในลูกสุนัขทั้งสิ้น 89.47% (17/19) และพบการเพิ่มขึ้นของระดับแอนติบอดี้ต่อพาร์โวไวรัส ทั้งที่อายุ 6 และ 8 สัปดาห์เมื่อเทียบกับที่ 4 และ/หรือ 6 สัปดาห์เป็น 26.32% (5/19) และ 47.37% (9/19) ตามลำดับ ตลอดการศึกษาไม่พบอาการใด ๆ ที่เป็นผลจากการติดเชื้อ พาร์โวไวรัส ผลดังกล่าวแสดงถึงหลักฐานการติดเชื้อพาร์โวไวรัสตามธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นในลูกสุนัขที่แม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรคพาร์โวไวรัส


A Servey Of Dental Calculi And Dietary Factors In Dogs, Cholawat Pacharinsak, Damri Darawiroj, Jiranunt Jirasangthong Sep 1997

A Servey Of Dental Calculi And Dietary Factors In Dogs, Cholawat Pacharinsak, Damri Darawiroj, Jiranunt Jirasangthong

The Thai Journal of Veterinary Medicine

119 mongrel dogs, brought to Chulalongkorn Veterinary Teaching Hospital, were investigated over a 150-day period. Divided into 4 groups (less than 0.5 yrs, 0.5 to 1.49 yrs, 1.5 to 4.99 yrs, and more than 4.99 yrs) the age of the animals was related to the severity of the accumulated calculi (P<0.05), particularly in the area of the buccal surface. The group, fed on a soft diet, had more calculi deposits than those fed a hard one.


ผลของวิธีการทำความสะอาดเต้านมก่อนรีดนมต่อจำนวนแบคทีเรียในน้ำนมดิบของโค, นวเพ็ญ ภูติกนิษฐ์, เกรียงศักดิ์ อุบลนุช, สุพจน์ เมธิยะพันธ์, ชัยเดช อินทร์ชัยศรี Sep 1997

ผลของวิธีการทำความสะอาดเต้านมก่อนรีดนมต่อจำนวนแบคทีเรียในน้ำนมดิบของโค, นวเพ็ญ ภูติกนิษฐ์, เกรียงศักดิ์ อุบลนุช, สุพจน์ เมธิยะพันธ์, ชัยเดช อินทร์ชัยศรี

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาผลของการใช้น้ำเปล่า สารละลายคลอรีน สารละลายคลอรีนร่วมกับผ้าแห้ง และ สารละลายคลอรีนร่วมกับการใช้น้ำยาจุ่มเต้านมที่มีส่วนประกอบของไอโอดีนและผ้าแห้งในฟาร์ม โคนมขนาดเล็ก มีแม่โครีดนมจำนวน 10-15 ตัว จำนวน 8 ฟาร์มในเขตอำเภอเมืองและ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม โดยแบ่งเป็นฟาร์มที่รีดนมด้วยมือจำนวน 4 ฟาร์ม และ ฟาร์มที่รีดนมด้วยเครื่องรีดนมจำนวน 4 ฟาร์ม เก็บตัวอย่างน้ำนมดิบจากถังรวมน้ำนมดิบ 7 วัน ติดต่อกันในแต่ละวิธีการ ตรวจนับจำนวนแบคทีเรียด้วยวิธี Total plate count และเพาะเชื้อ ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ MacConkey เพื่อศึกษาชนิดและจำนวนของแบคทีเรียชนิดโคไลฟอร์ม พบว่าค่าเฉลี่ยของจำนวนแบคทีเรียในแต่ละวิธีการในฟาร์มที่รีดนมด้วยมือมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ฟาร์มที่รีดนมด้วยเครื่องรีดนมจำนวนแบคทีเรียเฉลี่ยในแต่ละวิธีการไม่มีการเปลี่ยน แปลงที่ชัดเจน และพบว่าการใช้สารละลายคลอรีนร่วมกับน้ำยาจุ่มเต้านมและผ้าแห้งช่วยลดจำนวนแบคทีเรียในน้ำนมดิบได้มากที่สุด จากผลการทดลองสรุปว่าการทำความสะอาดเต้านมด้วยสารละลายคลอรีนร่วมกับน้ำยาจุ่มเต้านมและผ้าแห้งก่อนรีดนมมีความเหมาะสม ในการช่วยลดจำนวนแบคทีเรียในน้ำนมดิบได้มากที่สุด


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Sep 1997

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


รายงานสัตว์ป่วย : ผลของการใช้ยาซัลฟาไดเมธิลไพริมิดีน-ไตรเมโธพริมต่อการเกิดโรคกระจกตาแห้งในสุนัข, ปราณี ตันติวนิช, นลินี ตันติวนิช, กัมปนาท สุนทรวิภาต, ทัศริน ศิวเวชช Sep 1997

รายงานสัตว์ป่วย : ผลของการใช้ยาซัลฟาไดเมธิลไพริมิดีน-ไตรเมโธพริมต่อการเกิดโรคกระจกตาแห้งในสุนัข, ปราณี ตันติวนิช, นลินี ตันติวนิช, กัมปนาท สุนทรวิภาต, ทัศริน ศิวเวชช

The Thai Journal of Veterinary Medicine

สุนัขพันธุ์พูเดิ้ล อายุ 2 ปี ได้รับการรักษาอาการท้องเสียด้วยยาซัลฟาไดเมธิลไพริมิดีน ไตรเมโธพริม โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ สุนัขแสดงอาการกลัวแสง เยื่อตาขาวอักเสบ กระจกตาอักเสบ และมีแผลหลุมลึกที่กระจกตาทั้งสองข้าง วัดปริมาณการหลั่งของน้ำตาได้ เท่ากับศูนย์ ให้การรักษาโดยหยุดให้ยาดังกล่าว ป้ายตาด้วยคลอแรมเฟนิคอลชนิดน้ำมัน หยอดตาด้วยไซโคลสโปริน เอ พิโลคาร์ปืนและน้ำตาเทียม ให้กินคลอแรมเฟนิคอล แอสไพริน และวิตามินเอ อาการต่าง ๆ หายไปภายใน 4 สัปดาห์ และสามารถมองเห็นได้ตามปกติ


การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิไนโตรสะคาเนตมีเบนดาโซล และยาที่มีส่วนผสมของไพแรนเทล ฟีแบนเทล และ พราซิควอนเทล ต่อพยาธิไส้เดือนในลูกสุนัข, ชาญณรงค์ รอดคำ, ณรงค์ศักดิ์ รุ่งเลิศเกรียงไกร, ปิยนันท์ ทวีถาวรสวัสดดิ์, สุวรรณี นิธิอุทัย, บุญเลิศ ปรีชาตั้งกิจ, ถิรายุทธ์ โฆสิตะมงคล, สุตจิตต์ จุ่งพิวัฒน์ Jun 1997

การศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิไนโตรสะคาเนตมีเบนดาโซล และยาที่มีส่วนผสมของไพแรนเทล ฟีแบนเทล และ พราซิควอนเทล ต่อพยาธิไส้เดือนในลูกสุนัข, ชาญณรงค์ รอดคำ, ณรงค์ศักดิ์ รุ่งเลิศเกรียงไกร, ปิยนันท์ ทวีถาวรสวัสดดิ์, สุวรรณี นิธิอุทัย, บุญเลิศ ปรีชาตั้งกิจ, ถิรายุทธ์ โฆสิตะมงคล, สุตจิตต์ จุ่งพิวัฒน์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ลูกสุนัขที่มีการติดโรคพยาธิปากขอและพยาธิไส้เดือนตามธรรมชาติไม่จำกัดเพศ พันธุ์ อายุ ไม่เกิน 3 เดือน จากฝ่ายควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า กรุงเทพมหานคร จำนวน 60 ตัว นำมาศึกษา เปรียบเทียบประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิไนโตรสะคาเนต มีเบนดาโซล และยาถ่ายพยาธิที่มีส่วน ผสมของไพแรนเทลฟีแบนเทล พราซิควอนเทล แบ่งสุนัขทดลองออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 15 ตัว กลุ่มที่หนึ่งเป็นกลุ่มที่ไม่ได้รับยาถ่ายพยาธิ กลุ่มที่สองให้กินยาไนโตรสะคาเนต ชนิดเม็ด ขนาด 50 มก.ต่อน้ําหนักตัว 1 กก. ครั้งเดียว กลุ่มที่สามให้กินยามีเบนดาโซล ชนิดเม็ดขนาด 22 มก. ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ติดต่อกันนาน 5 วัน กลุ่มที่สี่ให้กินยาที่มีส่วนผสมของไพแรนเทล 144 มก. ฟีแบนเทล 150 มก. และ พราซิควอนเทล 50 มก. ขนาด 1 เม็ดต่อน้ำหนักตัว 10 กก. ครั้งเดียว ก่อนและหลังการให้ยาถ่ายพยาธิ เก็บอุจจาระและตรวจนับไข่พยาธิต่ออุจจาระ 1 กรัม (EPG) ด้วยวิธีแมคมาสเตอร์ และตรวจหาตัวพยาธิที่ถูกขับปนออกมากับอุจจาระสุนัขทุกตัว ติดต่อกันทุก วันนาน 7 วัน ภายหลังจากสิ้นสุดการทดลองทําการผ่าซากสุนัขทดลองเพื่อตรวจหาตัวพยาธิในระบบทางเดินอาหาร นับจำนวน จำแนกชนิด และประเมินประสิทธิภาพของยาด้วยวิธี critical test และ controlled test ผลการศึกษาพบว่าประสิทธิภาพของยาถ่ายพยาธิไนโตรสะคาเนต มีเบนดาโซล และ ยาที่มีส่วนผสมของไพแรนเทล ฟีแบนเทล และพราซิควอนเทล ต่อพยาธิปากขอและพยาธิไส้เดือน ให้ผลเป็นที่น่าพอใจคล้ายคลึงกัน โดยที่มีเบนดาโซลและ PFP มีประสิทธิภาพสูง 97.45 -100% ต่อ พยาธิปากขอ (Ancylostoma spp.) และพยาธิไส้เดือน (Toxocara canis) ไนโตรสะคาเนตมี ประสิทธิภาพสูง …


ผลเปรียบเทียบแอนติบอดี้เฉพาะต่อไกลโคโปรตีน วันในสุกรหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเทียมชนิดเชื้อเป็นแบบฉีดพ่นเข้าจมูกและแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, อธิภู นันทประเสริฐ, สุพล เลื่องยศลือชากุล, อรรณพ สุริยสมบูรณ์, บุญฤทธิ์ ทองสม, ประเทียบ ตีทอง Jun 1997

ผลเปรียบเทียบแอนติบอดี้เฉพาะต่อไกลโคโปรตีน วันในสุกรหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเทียมชนิดเชื้อเป็นแบบฉีดพ่นเข้าจมูกและแบบฉีดเข้ากล้ามเนื้อ, อธิภู นันทประเสริฐ, สุพล เลื่องยศลือชากุล, อรรณพ สุริยสมบูรณ์, บุญฤทธิ์ ทองสม, ประเทียบ ตีทอง

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ลูกสุกรหลังหย่านมจำนวน 60 ตัว แบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 20 ตัว ได้ทําการฉีด วัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าเทียมชนิดเชื้อเป็นสเตรนเอ็นไอเอ 3-783 ที่อายุ 6 และ 8 สัปดาห์ กลุ่มที่ 1 ไม่ฉีดวัคซีน กลุ่มที่ 2 ฉีดพ่นวัคซีนเชื้อเป็นเข้าทางจมูก และกลุ่มที่ 3 ฉีดวัคซีน เชื้อเป็นเข้ากล้ามเนื้อ ตรวจแอนติบอดี้เฉพาะต่อไกลโคโปรตีนวัน ที่อายุ 4, 8, 16 และ 28 สัปดาห์ พบว่าร้อยละผลบวกต่อการตรวจแอนติบอดี้เฉพาะต่อไกลโคโปรตีนวันของทั้งกลุ่ม ที่ฉีดพ่นเข้าทางจมูกและฉีดเข้ากล้ามเนื้อ มีแนวโน้มลดต่ําลงเป็น 0% และ 10% ตามลำดับ เมื่ออายุ 16 สัปดาห์ ต่อมามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเป็น 70% และ 30% ตามลำดับ เมื่ออายุ 28 สัปดาห์ จากการศึกษาแสดงว่า วิธีฉีดพ่นวัคซีนชนิดเชื้อเป็นเข้าทางจมูกหรือฉีดเข้า กล้ามเนื้อ จำนวนสองครั้ง ที่อายุ 6 และ 8 สัปดาห์ ในฝูงที่มีการติดเชื้อสูง ไม่สามารถลดอัตรา ความชุกของการติดเชื้อเมื่อสุกรถึงช่วงอายุ 28 สัปดาห์ได้


Effects Of Sperm Preparation On In Vitro Fertilization In Pig, Mongkol Techakumphu, Wichai Tantasuparak Jun 1997

Effects Of Sperm Preparation On In Vitro Fertilization In Pig, Mongkol Techakumphu, Wichai Tantasuparak

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The aim of these experiments was to investigate the effects of sperm preparation on the success rate of in vitro fertilization in the pig. Three factors, the time period for capacitation, the type of sperm and the sperm motility-stimulating factors were studied by investigating their effect on the cleavage of pig follicular oocytes, after IVM-IVF-IVC. A total of 1,235 immature oocytes, collected from 3 to 6 mm follicles of gilt ovaries gathered at slaughterhouse were allocated to 3 experiments. Immature oocytes were cultivated in TCM199 NaHCO3 supplemented with 10 μg/ml of FSH/LH and 1 μg/ml of Estradiol-17ẞ for 44 hrs. …


เทคนิคการตัดท่ออสุจิของสุนัขด้วยเครื่องมือหมันเจาะของคน, ชัยณรงค์ โลหชิต, เกวลี ฉัตดรงค์ Jun 1997

เทคนิคการตัดท่ออสุจิของสุนัขด้วยเครื่องมือหมันเจาะของคน, ชัยณรงค์ โลหชิต, เกวลี ฉัตดรงค์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


ผลของยาคลอแรมฟินิคอลและยาซัลฟาไดเมธิลพัยริมิดีน-ไทรเมโธพริมต่อปริญมาณการหลั่งของน้ำตาในสุนัข, ปราณี ตันติวนิช, ทัศริน ศิวเวชช, กัมปนาท สุนทรวิภาต, นลินี ตันติวนิช Jun 1997

ผลของยาคลอแรมฟินิคอลและยาซัลฟาไดเมธิลพัยริมิดีน-ไทรเมโธพริมต่อปริญมาณการหลั่งของน้ำตาในสุนัข, ปราณี ตันติวนิช, ทัศริน ศิวเวชช, กัมปนาท สุนทรวิภาต, นลินี ตันติวนิช

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาผลของการใช้ยาปฏิชีวนะชนิดคลอแรมฟินิคอลและยาต้านจุลชีพซัลฟาไดเมธิลพัยริมิดีน-ไทรเมโธพริมต่อปริมาณการหลั่งของน้ำตาในสุนัข แบ่งสุนัขทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 5 ตัว กลุ่มที่ 1 ฉีดคลอแรมฟินิคอล เข้าใต้ผิวหนัง กลุ่มที่ 2 ฉีดซัลฟาไดเมธิล- พัยริมิดีน-ไทรเมโธพริม เข้าหลอดเลือดดำ ติดต่อกันเป็นเวลานาน 2 สัปดาห์ ทําการวัด ปริมาณการหลั่งของน้ำตาในแต่ละวัน โดยถือว่าปริมาณน้ำตาที่วัดในวันแรกก่อนให้ยาเป็นปริมาณน้ำตาปกติ ผลของการศึกษาพบว่าปริมาณการหลั่งของน้ำตาจะลดลงจากค่าปกติ ในวันที่ 3-7 และจะกลับสู่ค่าปกติหลังให้ยา 14 วัน


การเปรียบเทียบสีของสมองสุนัขตัดตามขวางที่แช่แข็งด้วยน้ำยาเฉพาะที่หล่อใสด้วยเรซินและพี 15, เกรียงยศ สัจจเจนิญพงษ์, วิมล โพธิวงศ์, ก้องเกียรติ ศรีสุวัฒนาสกุล, อดิศร อดิเรกถาวร Jun 1997

การเปรียบเทียบสีของสมองสุนัขตัดตามขวางที่แช่แข็งด้วยน้ำยาเฉพาะที่หล่อใสด้วยเรซินและพี 15, เกรียงยศ สัจจเจนิญพงษ์, วิมล โพธิวงศ์, ก้องเกียรติ ศรีสุวัฒนาสกุล, อดิศร อดิเรกถาวร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

สมองสุนัขจำนวน 3 ชิ้น ตัดตามขวางและย้อมสีด้วยเบอร์ลินบลู โดยสมองส่วนสีเทา ติดสีฟ้า และสมองส่วนสีขาวติดสีขาว สมองชิ้นที่ 1 แช่ในน้ำยาเฉพาะ ชิ้นที่ 2 หล่อใสด้วยเรซิน และชิ้นที่ 3 หล่อใสด้วยพี่ 15 การศึกษาเปรียบเทียบสีของสมองในช่วงระยะเวลา 3 เดือน พบว่าสีของสมองทั้ง 3 ชิ้นไม่มีการเปลี่ยนแปลง ส่วนสารหล่อใสทั้ง 2 ชนิดไม่แตกต่างกันใน ด้านความใสของตัวอย่างสมอง


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Jun 1997

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ดัดแปลงเทคนิคการตัดท่ออสุจิของสุนัขด้วยการใช้เครื่องมือทําหมันเจาะของคนความยาวของท่ออสุจิที่ตัดออกไปประมาณ 5-6 ซม. โดยผูกท่ออสุจิด้วยไหมละลาย หรือ จี้ตัดด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้า ผลการผ่าตัดโดยวิธีนี้พบว่าใช้เวลาน้อย สะดวก และใช้เครื่องมือน้อยชิ้น จึงน่าจะเป็นวิธีที่เหมาะสมในการนำไปทําหมันสุนัขในชุมชน


What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich Mar 1997

What Is Your Diagnosis, Pranee Tuntivanich

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


The Effect Of Oocyte Preparation On Embryo Cleavage Rate After In Vitro Fertilization In The Pig, Mongkol Techakumphu, Wanpen Srianan Mar 1997

The Effect Of Oocyte Preparation On Embryo Cleavage Rate After In Vitro Fertilization In The Pig, Mongkol Techakumphu, Wanpen Srianan

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The objective of this study was to determine the optimum condition for porcine oocyte preparation for in vitro fertilization. A total of 1,130 immature oocytes collected from superficial follicles, 3-6 mm in diameter were allocated to 3 experiments. In Experiment 1, the length of time for oocyte maturation were examined (n=469). Immature oocytes were cultivated in TCM199 NaHCO3 supplemented with 10 μg/ml of FSH/LH and 1 μg/ml of Estradiol-17ẞ for 24, 40 or 48 hrs. Approximately 20% of oocytes were fixed and stained with aceto orcein to observe the maturation rate and the remainder were fertilized in vitro by freshly …


Biochemical Changes In Sera From Equine Infectious Anaemia Infected Horses In Thailand, Panumas Ruantongdee, Achara Tawatsin, Prachak Poomvises Mar 1997

Biochemical Changes In Sera From Equine Infectious Anaemia Infected Horses In Thailand, Panumas Ruantongdee, Achara Tawatsin, Prachak Poomvises

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Biochemical changes in equine infectious anaemia (EIA) infected horse sera were analysed and compared with those in sera from normal horses. Serum concentrations of iron, phosphorus and magnesium from infected horses were found to be significantly lower whereas copper and globulin increased.


การแพร่เชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยในโคอมโรค, พินัย มุสิกุล, จันทร์เพ็ญ ชำนาญพูด, พรชัย ชำนาญพูด Mar 1997

การแพร่เชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยในโคอมโรค, พินัย มุสิกุล, จันทร์เพ็ญ ชำนาญพูด, พรชัย ชำนาญพูด

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ทําการทดสอบการแพร่เชื้อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยในโคอมโรค โดยเลี้ยงโคตัวรับ ซึ่งไม่มีแอนติบอดีต่อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยและต่อ Virus Infection Associated (VIA) แอนติเจน จำนวน 4 ตัว รวมฝูงกับโคตัวให้ซึ่งเป็นโคที่หายป่วยจากโรคปากและเท้าเปื่อย ชนิดเอเชียวัน มีแอนติบอดีต่อไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อยและต่อ VIA แอนติเจน และ/หรือ ให้ผลบวกต่อการแยกเชื้อไวรัส จากตัวอย่าง oesophageal pharyngeal (o/p) จำนวน 12 ตัว โดยแบ่งระยะเวลารวมฝูงเป็น 7, 6, 3 และ 2 เดือน ไม่มีสัตว์เลี้ยงอยู่โดยรอบในรัศมี 15 กม. ผลการทดลองพบว่า สามารถตรวจพบไวรัสโรคปากและเท้าเปื่อย ชนิดเอเชียวัน จากตัวอย่าง o/p ของโคตัวรับทั้ง 4 ตัว ในช่วงระยะเวลา 2-4 เดือนแรก หลังเริ่มการทดลอง และพบ แอนติบอดีต่อโรคปากและเท้าเปื่อยชนิดดังกล่าวในช่วงระยะเวลา 4-11 เดือนหลังการทดลอง ส่วนแอนติบอดีต่อ VIA แอนติเจน ให้ผลลบตลอดการทดลองและไม่พบอาการของโรค ปากและเท้าเปื่อย


The Efficacy Of A Porcine Plasma Protein Derived Colostrum Supplement On The Surviral And Growth Retes Of Piglets, Athipoo Nuntaprasert, Vivat Chavananikul, Prachak Poomvises Mar 1997

The Efficacy Of A Porcine Plasma Protein Derived Colostrum Supplement On The Surviral And Growth Retes Of Piglets, Athipoo Nuntaprasert, Vivat Chavananikul, Prachak Poomvises

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Five hundred seventy nine piglets from four standard breeder farms in four provinces of Thailand, weighing between below 1.0 kg and between 1.0-1.2 kg, were used in this trial. The animals were divided into two groups. The first group performed as control (n=239). In the second group (n=340), each piglet was given two 5 ml doses of porcine plasma protein derived colostrum supplement at the first and third day of the pig life. The results indicated that the survival and growth rates at 21 days of age in the treated group were significantly improved compared to the control group at …