Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

1986

Chulalongkorn University Dental Journal

Articles 1 - 20 of 20

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

การรักษาแผลไลเคน พลานัสกับการตั้งครรภ์ รายงานผู้ป่วย 1 ราย, กอบกาญจน์ ทองประสม, มัณฑารพ ไชยมุสิก Sep 1986

การรักษาแผลไลเคน พลานัสกับการตั้งครรภ์ รายงานผู้ป่วย 1 ราย, กอบกาญจน์ ทองประสม, มัณฑารพ ไชยมุสิก

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการศึกษาผู้ป่วย 1 รายที่เป็นไลเคน พลานัส ที่ริมฝีปากล่างเป็นระยะเวลา 3 ปี 8 เดือน การ รักษาผู้ป่วยด้วยสเตียรอยด์และยาอีกหลายชนิดช่วยบำบัดอาการได้แต่ไม่หายขาด ในระหว่างการรักษาพบว่ารอยโรค ที่ริมฝีปาก มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ของผู้ป่วย กล่าวคือเมื่อผู้ป่วยตั้งครรภ์แรกประมาณระยะ 6 เดือน รอยโรคเริ่มหายไปและปราศจากอาการโดยที่ไม่ได้รักษาด้วยชนิดใดเลย หลังจากผู้ป่วยคลอดบุตรแล้วรอยโรค กลับเป็นขึ้นมาใหม่และรุนแรงกว่าเดิม จนกระทั่งเมื่อผู้ป่วยตั้งครรภ์ที่สอง ได้หยุดรักษาด้วยยาทุกชนิดในช่วงเวลา เดียวกันกับครรภ์แรก รอยโรคหายไปหมด ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของรอยโรคทำให้เข้าใจว่าอาจมีความสัมพันธ์กับ ระดับฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์ในผู้ป่วยรายนี้


โรคติดเชื้อรา : สภาวะแทรกซ้อนในการใช้สเตียรอยด์เฉพาะที่ (รายงานผู้ป่วย 2 ราย), ลัคนา เหลืองจามีกร, ธนสิทธิ์ เสรีรัตน์ Sep 1986

โรคติดเชื้อรา : สภาวะแทรกซ้อนในการใช้สเตียรอยด์เฉพาะที่ (รายงานผู้ป่วย 2 ราย), ลัคนา เหลืองจามีกร, ธนสิทธิ์ เสรีรัตน์

Chulalongkorn University Dental Journal

การติดเชื้อราอย่างเฉียบพลัน เป็นสภาวะแทรกซ้อนอย่างหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างที่ผู้ป่วยใช้ยาสเตียรอยด์ บทความฉบับนี้เสนอรายงานการเกิดโรคติดเชื้อราเฉียบพลัน ในผู้ป่วย 2 รายที่กำลังใช้สเตียรอยด์เฉพาะที่รักษา รอยโรคไลเคน พลานัสในช่องปาก โดยที่ผู้ป่วยรายแรกใช้สารละลายฟลูโอซิโนโลน อะเซทโตไนด์ 0.1 เปอร์เซ็นต์ ส่วนผู้ป่วยรายที่ 2 ใช้ไตรแอมซิโนโลน อะเซทโตไนด์ ในออราเบส นอกจากนั้นได้มีการกล่าวถึงการเลือกใช้ วิธีการทางห้องปฏิบัติการเพื่อช่วยยืนยันการวินิจฉัยรอยโรคทางคลินิก ลักษณะอาการและอาการแสดงของรอยโรค ตลอดจนวิธีจัดการดูแลรักษาสภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นด้วย


The Mandibular Nerve Block By Closed Mouth Method : A Clinical Evaluation, Lawan Meksupa Sep 1986

The Mandibular Nerve Block By Closed Mouth Method : A Clinical Evaluation, Lawan Meksupa

Chulalongkorn University Dental Journal

One hundred patients were injected by "Akinosi mandibular block" technic, using an intra-oral landmark and closed mouth approached to the inferior dental, lingual and long buccal nerve at the same time. Only one penetration into the oral mucosa is made in this injection so it reduces patient anxiety, and is also useful when the mouth opening is limited.


คอนโดรซาร์โคมาของกระดูกขากรรไกรบน, สิทธิชัย ทัดศรี, วัชรี จังสิริวัฒนธำรง Sep 1986

คอนโดรซาร์โคมาของกระดูกขากรรไกรบน, สิทธิชัย ทัดศรี, วัชรี จังสิริวัฒนธำรง

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานผู้ป่วย 1 ราย อายุ 29 ปี ที่มีลักษณะเป็นก้อนบริเวณขากรรไกรบน ได้ทำการผ่าตัดควัก ออกหมด และส่งตรวจทางพยาธิวิทยา พบว่าเป็นเนื้องอกชนิดร้ายแรงของกระดูกอ่อน ซึ่งเป็นเนื้องอกที่พบได้ น้อยมาก บริเวณกระดูกขากรรไกร


The Genetics In Periodontal Diseases, Jeerasak Nopakun Sep 1986

The Genetics In Periodontal Diseases, Jeerasak Nopakun

Chulalongkorn University Dental Journal

It was well known that the major etiological agent of periodontal diseases is microbial plaque. However, convincing evidence for hereditary nature of some forms of periodontal diseases, such as juvenile periodontitis, has been well accumulated. A familial pattern of alveolar bone loss has been shown to occur in several families with certain forms of periodontal diseases. It was suggested that heredity and genetic factors may play a role as one of the causes involved in the development of juvenile periodontitis. Different modes of inheritance have been postulated including an autosomal recessive trait and X-linked dominant trait. Moreover, it was suggested …


ปกิณกะ : หลักการใช้ฟลูออไรด์ป้องกันฟันยุ (Protocol For Fluoride Therapy) Sep 1986

ปกิณกะ : หลักการใช้ฟลูออไรด์ป้องกันฟันยุ (Protocol For Fluoride Therapy)

Chulalongkorn University Dental Journal

การป้องกันฟันผุที่ได้ผลดีที่สุดในปัจจุบันยังคงเป็นการ ให้ฟลูออไรด์ในระบบทั่วร่างกาย (Systemic fluoride) และ ฟลูออไรด์เฉพาะที่ (Topical fluoride) ในประเทศสหรัฐ อเมริกาการเติมฟลูออไรด์ในน้ำดื่มยังผลให้มีการลดอัตราฟันผุลง อย่างมากมาย วิธีนี้ได้ผล ปลอดภัย และประหยัดรวมทั้งไม่ ต้องอาศัยความร่วมมือเฉพาะบุคคล แต่ในบางชุมชนก็ยังไม่ มีการเติมฟลูออไรด์ลงในน้ำดื่ม อาจเนื่องจากไม่ใช้น้ำประปา หรือชุมชนนั้นไม่ส่งเสริมการป้องกันฟันผุด้วยวิธีนี้ เพราะ ฉะนั้น การใช้ฟลูออไรด์ป้องกันฟันผุ ควรใช้กับเด็กที่อาศัย ในบริเวณที่มีฟลูออไรด์ในสารอาหารน้อยหรือไม่เพียงพอ รวมทั้งใช้กับเด็กที่มีอัตราโรคฟันผุสูงด้วย


ข้อคิดในการใช้ปรอทในสำนักงานทันตแพทย์, วสันต์ ตันติวิภาวิน Sep 1986

ข้อคิดในการใช้ปรอทในสำนักงานทันตแพทย์, วสันต์ ตันติวิภาวิน

Chulalongkorn University Dental Journal

ปรอทที่ใช้ในสำนักงานทันตแพทย์ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในสภาพที่ปลอดภัย แต่ก็อาจเป็นอันตรายต่อทันตแพทย์ บุคลากรข้างเคียง และผู้ป่วยได้ ถ้านำมาใช้โดยไม่ระมัดระวัง บทความนี้ได้ประมวลเรื่องราวเกี่ยวกับสถานการณ์ ทั่วไปของการใช้อมัลกัมทางทันตกรรม ปัญหาต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น ลักษณะอาการของการเป็นพิษจากปรอท วิธีป้องกันหรือกำจัดมลพิษปรอท มาตรการและข้อแนะนําในการใช้ปรอททางทันตกรรมอย่างปลอดภัย โดยได้เน้นให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสนใจมากขึ้น และร่วมกันรับผิดชอบต่อปัญหาของวิชาชีพและสังคมในส่วนรวม อันอาจจะเกิดขึ้นจากการใช้ปรอทในทางทันตกรรมด้วย


การใช้น้ำยาฟอกขาวเป็นน้ำยาล้างคลองรากฟัน, รัตน์ เสรีนิราช, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร May 1986

การใช้น้ำยาฟอกขาวเป็นน้ำยาล้างคลองรากฟัน, รัตน์ เสรีนิราช, สุรสิทธิ์ เกียรติพงษ์สาร

Chulalongkorn University Dental Journal

น้ำยาฟอกขาวคลอรอกซ์ ซึ่งมีปริมาณ NaOCl 5.25% ที่มีอายุการซื้ออย่างน้อย 0, 6, 12 และ 18 เดือน สามารถระงับการเจริญของเชื้อ Staphylococcus aureus, Bacillus subtilis, Candida albicans และเชื้อในน้ำลาย ประสิทธิภาพในการระงับการเจริญของจุลินทรีย์ของน้ำยาคลอรอกซ์ที่ซื้อใหม่ ๆ ทัดเทียมกับ น้ำยาคลอรีเนทเตด โซดา ที่เตรียมใหม่ ๆ น้ำยาฟอกขาวเพรสิเดนท์ ซึ่งมีปริมาณ NaCl 5.25% เช่นกัน มีอำนาจในการฆ่าเชื้อด้อยกว่าน้ำยาคลอรอกซ์มาก


การละลายภายในรากฟันของผู้ป่วยโปรเกรสซีพ ซีสเต็มมิค สเคอร์โรซิส : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, กอบกาญจน์ ทองประสม May 1986

การละลายภายในรากฟันของผู้ป่วยโปรเกรสซีพ ซีสเต็มมิค สเคอร์โรซิส : รายงานผู้ป่วย 1 ราย, กอบกาญจน์ ทองประสม

Chulalongkorn University Dental Journal

โปรเกรสซีพ ซีสเต็มมิค สเคอร์โรซิส เป็นโรคที่พบได้น้อยมากซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุแน่นอน และมีอัตรา การเสียชีวิตสูง มักจะมีการละลายตัวของกระดูกบางส่วนในร่างกาย ในช่องปากมีรายงานว่า พบการละลายตัวที่ กระดูกขากรรไกรล่างส่วนมุมขากรรไกร, เรนัส, คอนดายล์, คอโรนอยด์ และกระดูกไซโกมา รายงานนี้ได้ กล่าวถึงการละลายตัวภายในรากฟัน 2 ซี่ ของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้ 1 ราย ซึ่งยังไม่พบว่ามีรายงานใดกล่าวถึง


การศึกษาโรคอะมีโลบลาสโตมาของกระดูกขากรรไกร จากภาพถ่ายรังสี, ชีระ ไพบูลย์ May 1986

การศึกษาโรคอะมีโลบลาสโตมาของกระดูกขากรรไกร จากภาพถ่ายรังสี, ชีระ ไพบูลย์

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการศึกษาภาพถ่ายรังสีของผู้ป่วยที่เป็นโรคอะมีโลบลาสโตมา ซึ่งเกิดที่กระดูกขากรรไกรบนและล่าง ของผู้ป่วยจำนวน 76 ราย พบว่าผู้ที่เป็นโรคนี้มีอายุเฉลี่ย 29.7 ปี เป็นกันมากในชายมากกว่าหญิง ในอัตรา ส่วน 1.2 : 1.0 และพบว่าโรคนี้พบเป็นกันมากในกระดูกขากรรไกรล่างมากกว่าในกระดูกขากรรไกรบน ใน อัตราส่วน 8.5 : 1.0 จากภาพถ่ายรังสี พบมีการทำลายกระดูกเป็นแบบวงดำหลายวง และแบบวงดำเดี่ยว ในรายที่มีการทำลาย กระดูกเป็นแบบวงดำหลายวง พบว่าวงดำแต่ละวงอยู่ชิดติดกัน ไม่แยกห่างออกจากกัน นอกจากนั้นยังพบ ขอบ ของกระดูกคอร์ติคัลมีการทำลายกระดูกเป็นจัก ๆ กระดูกคอร์ติคัลขยายออก และมีการทำลายปลายรากฟันด้วย ส่วนในรายที่เป็นแบบวงดำเดี่ยว บางรายไม่พบมีลักษณะดังกล่าว ทำให้คิดว่าเป็นโรคถุงน้ำแบบธรรมดา การศึกษานี้ ได้แบ่งโรคออกเป็น 5 กลุ่ม ตามลักษณะที่พบในภาพถ่ายรังสี คือ ชนิดเป็นดิเจอรัส, ชนิดแลเทอรัล เปอริโอ คอนตัล, ชนิดแรดิคิวลา, ชนิดอีเด็นจูรัส และชนิดเรซิดวล ลักษณะที่พบจากภาพถ่ายรังสี จากการศึกษาครั้งนี้จะเป็นแนวทางเพื่อใช้ในการวินิจฉัยโรคและพิจารณา แยกโรคนี้ออกจากโรคอื่นได้ด้วย


The Effect Of Fluoride On Acid Production Of Streptococcus Mutans, Bht., Jeerasak Nopakun May 1986

The Effect Of Fluoride On Acid Production Of Streptococcus Mutans, Bht., Jeerasak Nopakun

Chulalongkorn University Dental Journal

The effect of sodium fluoride on acid production of Streptococcus mutans BHT. in the presence of glucose has been investigated. It was found that preincubation of cells in the buffer with fluoride (1, 5, or 10 mM) for 10 minutes before adding glucose (10 mM) resulted in the reduction of the initial rate of acidification. The end pH was also increased in correspond to fluoride concentration. It was noted that the addition of fluoride at pH 6.0 did not change the initial rate of pH reduction. However, the pH at which acid production stopped was about the same values.


ปกิณกะ : Hard Tissue Replacement In Bone Atrophy. May 1986

ปกิณกะ : Hard Tissue Replacement In Bone Atrophy.

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


ปกิณกะ : Diagnosis And Treatment Of Tmj Clicking May 1986

ปกิณกะ : Diagnosis And Treatment Of Tmj Clicking

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


ผลของยา มีดาโซแลม (Midazolam) เมื่อใช้ร่วมกับยาชาเฉพาะที่ รายงานจากการใช้ในผู้ป่วย 65 ราย, ประสาน ตั้งจาตุรนต์รัศมี May 1986

ผลของยา มีดาโซแลม (Midazolam) เมื่อใช้ร่วมกับยาชาเฉพาะที่ รายงานจากการใช้ในผู้ป่วย 65 ราย, ประสาน ตั้งจาตุรนต์รัศมี

Chulalongkorn University Dental Journal

ยาซึ่งใช้ร่วมกับยาชาเฉพาะที่ในด้านศัลยกรรมช่องปากและใบหน้ามีประโยชน์ เพื่อลดความกลัว ความ ตึงเครียด และทำให้คนไข้สงบ ยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือยาในกลุ่มเบนโซไดอะเซปิน ได้แก่ ไดอะซีแปม ปัจจุบันมีการสังเคราะห์และใช้ยาตัวใหม่ในกลุ่มนี้คือ มีดาโซแลม, ซึ่งละลายน้ำได้ดี ออกฤทธิ์เร็ว, หมดฤทธิ์เร็ว ผลข้างเคียงน้อยกว่าและใช้ได้ผลดีกว่าไดอะซีแปม รายงานนี้จะแสดงผลของ มีดาโซแลม เมื่อใช้ร่วมกับยาชา เฉพาะที่ในผู้ป่วย 66 ราย ซึ่งได้รับการผ่าตัดเล็กในโรงพยาบาลของคณะทันตแพทยศาสตร์, Federich-Alexander University, ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน


Ossifying Fibroma Of The Maxilla: A Case Report(ออสซิไฟอิ้งไฟโบรมา ในกระดูกขากรรไกรบน รายงานผู้ป่วย 1 ราย), Sittichai Tudsri Jan 1986

Ossifying Fibroma Of The Maxilla: A Case Report(ออสซิไฟอิ้งไฟโบรมา ในกระดูกขากรรไกรบน รายงานผู้ป่วย 1 ราย), Sittichai Tudsri

Chulalongkorn University Dental Journal

The ossifying fibroma of maxilla is not commonly found. This paper reports a patient with very large and aggressive ossifying fibroma that is invasive and destructive to the near by structure. Review of the literature shows the difficulty in definitive diagnosis. Total enucleation is preferable. The residual defects was corrected by maxillofacial prosthodontics(โรคออสซิไฟอิ้งไฟโบรมา ในกระดูกขากรรไกรขนาดใหญ่พบได้ไม่บ่อยนัก การวินิจฉัยค่อนข้างจะลําบากทั้งศัลยแพทย์และพยาธิแพทย์ การทําศัลยกรรม ควักออกหมด และใส่ฟันปลอมปิดจะช่วยลดความผิดปกติของใบหน้า และช่วยการบดเคี้ยวได้เป็นอย่างดี)


The Application Of Fluocinolone Acetonide Solution In The Treatment Of Lichen Planus(การใช้สารละลายฟลูโอซิโนโลน อะเซทโตไนด์ ในการรักษาไลเคน พลานัส), Lakana Luangjarmekorn, Kobkan Thongprasom Jan 1986

The Application Of Fluocinolone Acetonide Solution In The Treatment Of Lichen Planus(การใช้สารละลายฟลูโอซิโนโลน อะเซทโตไนด์ ในการรักษาไลเคน พลานัส), Lakana Luangjarmekorn, Kobkan Thongprasom

Chulalongkorn University Dental Journal

Topical coricosteroids, taken in the form of fluocinolone acetonide solution, have been effective in reducing pain and inflammation of chronic ulcerations associated with lichen planus. The reported group was comprised of 13 patients with oral lichen planus. During fluocinolone acetonide solution was applied, all of patients had complete disappeared of symptoms within 1-8 Weeks. The white striae still remained in 12 cases, only one case of atrophic lichen planus whose striae has gone in the third-month of drug application. There were no serious side effects, only epithelial desquamation, xerostomia and acute candidiasis were noticed and cured.(คอร์ติโคสเตียรอยด์ในรูปสารละลายฟลูโอซิโนโลน อะเซทโตไนท์ เป็นยาเฉพาะที่ซึ่งสามารถนํามาใช้บรรเทาอาการเจ็บปวด รอยอักเสบแดง และรอยแผลเรื้อรังที่เกิดจากโรคไลเคน …


Aids And Dentists (โรคเอดสกับทันตแพทย์), Somsri Rojanawatsirivej Jan 1986

Aids And Dentists (โรคเอดสกับทันตแพทย์), Somsri Rojanawatsirivej

Chulalongkorn University Dental Journal

The acquired immune deficiency syndrome (AIDS) is an extraordinary transmissible disease with high mortality rate. Its current epidemic is progressively increasing throughout the world. The disease has become a matter of great concern because of diagnostic and therapeutic problem. Researches about AIDS are widely carrying on to establish the real nature of the disease. Published articles concerning the information about AIDS are reviewed and summerized. This article also dicusses various oral lesions seen in AIDS patients and dentist's roles in the early detection and providing health education to the community for the better surveillance and epidemiologic control. in Thailand.(เอดสเป็นโรคติดต่อที่น่าสนใจเนื่องจากมีอัตราตายสูงและโรคยังคงเพิ่มอัตราการเกิดและการกระจายกว้างขวางขึ้น ในขณะที่นักวิจัยทั้งหลายก็พยายามสรุปหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับโรคนี้อยู่ตลอดเวลา …


ปะกิณกะ : ย่อเอกสาร Jan 1986

ปะกิณกะ : ย่อเอกสาร

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


The Effect Of Naf On The Intraoral Formation Of Lactic Acid(ผลของโซเดียมฟลูออไรด์ต่อการเกิดกรดแลคติกในช่องปาก), Teerasuk Tavornthon Jan 1986

The Effect Of Naf On The Intraoral Formation Of Lactic Acid(ผลของโซเดียมฟลูออไรด์ต่อการเกิดกรดแลคติกในช่องปาก), Teerasuk Tavornthon

Chulalongkorn University Dental Journal

The effect of NaF on the intraoral formation of lactic acid quantity of intraoral lactic acid production from 10 volunteers was measured within 30 minutes ofter consumption of sugar with non-rinsing and rinsing with NaF priorto consumption of sugar. NaF concentration were 0.5%, 0.25%, and 0.1% The results revealed that NaF can reduce intraoral lactic acid production. The reduction of lactic acid after consumption of sugar for 5 minutes was highest (59.6%) when rinsing with 0.5% NaF. The reduction of acid was also lower when the concentration of NaF was lower.(คณะผู้ทําการวิจัยได้ศึกษาเปรียบเทียบปริมาณกรดแลคติกที่เกิดขึ้นในช่องปาก ภายในช่วงเวลา 30 นาที หลังจากรับประทานน้ำตาลเมื่อบ้วนและไม่ได้บ้วนปากด้วยสารละลายโซเดียมฟลูออไรด์ก่อนรับประทานน้ำตาล ในนิสิตทันตแพทย์ 10 คน สารละลายโซเดียมฟลูออไรด์ที่ใช้มีความเข้มข้น 0.5%, …


Specimen Holder For Tooth Sectioning In Research Study (เครื่องมือจับฝันในการตัดเพื่อการวิจัย), Piyawat Phankosol Jan 1986

Specimen Holder For Tooth Sectioning In Research Study (เครื่องมือจับฝันในการตัดเพื่อการวิจัย), Piyawat Phankosol

Chulalongkorn University Dental Journal

This article demonstrates a technique in fabrication of a tooth specimen holder. This holder is able to hold tooth tightly and facilitate in sectioning a tooth in to many thin sections for research study. It composes of a hollow tube and a tube clamp. A molar tooth can be cut into more than 10 seventy micrometer sections. The holder can be adjusted for cutting in transverse and longitudinal section as well as in any required angulation. Furthermore, it can also be modified to be used with other geologic or biologic materials.(รายงานนี้แสดงถึงวิธีการประดิษฐ์เครื่องมือในการจับฟันสําหรับตัดเป็นแผ่นบาง ๆ เพื่อใช้ในการวิจัยเครื่องมือจับประกอบด้วย ท่อกลม และแป้นยึดท่อกลม ฟันที่จะใช้ตัดถูกยึดติดกับท่อเหล็กไร้สนิมด้วยขี้ผึ้งเหนียวแผ่นฟันที่ตัดได้จะมีขนาดความหนาได้ถึง 70 ไมโครมิเตอร์ ในฟันกรามใหญ่ 1 …