Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 29 of 29

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

ปกิณกะ : ย่อความจารวารสารต่างประเทศ Sep 1982

ปกิณกะ : ย่อความจารวารสารต่างประเทศ

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


ปัญหาทันตสุขภาพและความต้องการทางทันตกรรมของชุมชนหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา : บทสัมภาษณ์, สมพล เล็กเฟื่องฟู, วีรศักดิ์ เหลืองจามีกร, สุนทร ระพิสุวรรณ Sep 1982

ปัญหาทันตสุขภาพและความต้องการทางทันตกรรมของชุมชนหนึ่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา : บทสัมภาษณ์, สมพล เล็กเฟื่องฟู, วีรศักดิ์ เหลืองจามีกร, สุนทร ระพิสุวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

ได้ทำการสัมภาษณ์หัวหน้าครัวเรือนทุกครัวเรือนในหมู่บ้านหินดาษ ตำบลดงน้อย อำเภอราชสาสน์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 54 คน เป็นชาย 21 คน (คิดเป็นร้อยละ 38.9) และหญิง 33 คน (คิดเป็นร้อยละ 61.1) ในส่วนที่เกี่ยว กับประวัติส่วนตัว การประเมินทันตสุขภาพของตนเอง ปัญหาทันตสุขภาพ การ ใช้บริการทางทันตกรรม บริการทันตกรรมของภาครัฐ และเรื่องเกี่ยวกับฟันปลอม ซึ่งให้ผลของการศึกษาดังนี้ ประชาชนคิดว่าตนเองมีปัญหาโรคฟัน และเชื่อว่า เกิดมาจากพื้นเป็นรู (คิดเป็นร้อยละ 74) สภาพของเหงือก ประชาชนเชื่อว่า อยู่ในสภาพแข็งแรงดี (คิดเป็นร้อยละ 81) ร้อยละ 65 ของผู้ตอบไม่ต้องการการ ใส่ฟันปลอมแทนฟันแท้ที่ถูกถอนไป เมื่อมีปัญหาโรคในช่องปาก เขานิยมไปรับบริ การการถอนฟันจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ แต่สําหรับพวกที่มีปัญหาแล้วไม่ไปรับบริ การเพราะเชื่อว่าโรคฟันเกิดขึ้นเองและหายเอง หรือเพียงแต่ซื้อยาแก้ปวดมากินก็พอ ประชาชนมีความต้องการ (Demand) คำแนะนำและการบริการทางการป้องกัน โรคเป็นอันดับหนึ่ง การตรวจฟันและการถอนฟันเป็นอันดับรองลงไปตามลำดับ


การศึกษาขนาด รูปร่าง ฟันหน้าของคนไทยกลุ่มหนึ่ง, สุดจิตต์ ทองธรรมชาติ Sep 1982

การศึกษาขนาด รูปร่าง ฟันหน้าของคนไทยกลุ่มหนึ่ง, สุดจิตต์ ทองธรรมชาติ

Chulalongkorn University Dental Journal

ในการศึกษาสถิติเกี่ยวกับขนาด และรูปร่างของฟันหน้าบนของชายหญิง อายุตั้งแต่ 20-42 ปี จำนวน 56 คน ทำให้ทราบว่าฟันหน้า central incisor ขนาดใหญ่ที่สุด ความยาวในแนว inciso cervical 12.2 ม.ม. ความกว้างที่สุด ในแนว mesio-distal 9.57 ม.ม. ฟัน lateral incisor ยาวที่สุด 11.4 ม.ม. กว้างที่สุด 6.4 ม.ม. พื้น cuspid ยาวที่สุด 12.3 ม.ม. กว้างที่สุด 8.5 ม.ม. และฟันซีน (cuspid) มีความแตกต่างกันมากในแต่ละคน จากการศึกษาเปรียบเทียบกับผลงานวิจัยของ Arne M. Bjorndal, D.D.S., M.S., William G. Henderson, M.P.H., Ph.D., Arthur Eddy Skidmore, D.D.S., M.S., และ Frank H. Kellner, D.D.S. (BKHS) พบว่าฟันของคนไทยและคน อเมริกันมีความกว้างในแนว mesio-distal ใกล้เคียงกันแต่ความยาวในแนว inciso cervical ในคนไทยสั้นกว่าของคนอเมริกัน จึงทําให้ฟันหน้าของคนไทย โดยเฉลี่ยดูจะป้อมกว่าของชาวอเมริกัน ซึ่งสอดคล้องกับรูปร่างใบหน้าของกะโหลก ในคนไทยส่วน Central incisor มักจะเป็นรูป Tapering


ความเป็นกรดด่างที่มีผลต่อการผลิตกรดแลคติค ของเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์, จินตกร คูวัฒนสุชาติ, รัตน์ เสรีนิราช Sep 1982

ความเป็นกรดด่างที่มีผลต่อการผลิตกรดแลคติค ของเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์, จินตกร คูวัฒนสุชาติ, รัตน์ เสรีนิราช

Chulalongkorn University Dental Journal

การเพาะเลี้ยงเชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์ ภายใต้ภาวะที่ไม่มีออกซิเจน ในสารละลายน้ำตาล 5 ชนิดที่มีความเข้มข้นไม่เท่ากันและระดับความเป็นกรดด่างต่างกัน ปรากฏว่าที่ระดับความเป็นกรดด่างเท่ากับ 6 และ 7 เชื้อสเตร็พโตคอคคัส มิวแทนส์สามารถผลิตกรดแลคติคออกมามากกว่าระดับอื่น


การประเมินผลโครงการทันตกรรมชุมชน, สีชมพู นรภูมิพิภัชน์ Sep 1982

การประเมินผลโครงการทันตกรรมชุมชน, สีชมพู นรภูมิพิภัชน์

Chulalongkorn University Dental Journal

รายงานนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะประมวลแนวความคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับการ ประเมินผลโครงการทันตกรรมชุมชนเพื่อวิเคราะห์ให้เห็นว่า แนวความคิดเหล่านี้ มักจะมุ่งที่จะให้ข้อมูลในทางวิชาการ โดยไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าที่ควรแก่การแยกแยะข้อมูลเพื่อประโยชน์แก่การตัดสินใจในงานบริหารระดับต่าง ๆ พร้อมกับเสนอ แนะแนวความคิดในการแยกแยะข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลโครงการ เพื่อที่จะ ช่วยให้ข้อมูลนี้สอดคล้องกับความต้องการในทางบริหาร แนวความคิดแก้ไขนี้พอจะสรุปได้ คือ ให้มีการจัดกลุ่มของมาตรการ ประเมินผลออกเป็น 4 กลุ่ม ตามช่วงเวลาของการดำเนินโครงการและความต้องการ ในการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร และให้กำกับชื่อสําหรับเรียกกลุ่ม ข้อมูลเหล่านี้ใหม่เป็น 1. ex-ante evaluation 2. input-output evaluation 3. on-going evaluation 4. ex-post evaluation


ไบออปซี่เทคนิคและปัญหาบางอย่างทางทันตพยาธิวิทยา, สมพร สวัสดิสรรพ์ Sep 1982

ไบออปซี่เทคนิคและปัญหาบางอย่างทางทันตพยาธิวิทยา, สมพร สวัสดิสรรพ์

Chulalongkorn University Dental Journal

ปัจจุบันมีการนำเอา "ไบออปซี่" (biopsy) มาใช้กันอย่างกว้างขวาง ในการวินิจฉัยโรค การวินิจฉัยได้อย่างถูกต้อง นอกจากจะขึ้นอยู่กับความรู้ความ สามารถของแพทย์ผู้ทำไบออปซี่และพยาธิแพทย์แล้ว ยังต้องอาศัยวิธีการจัดการกับ ชิ้นเนื้อตัวอย่างให้เหมาะสมด้วย จากประสบการณ์การทํางานในภาควิชาทันตพยาธิ วิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พบว่ามีข้อบกพร่องบาง ประการ เช่น ตัดชิ้นเนื้อตัวอย่างเล็กเกินไป ใส่น้ำยารักษาสภาพไม่ถูกต้อง ให้ ประวัติผู้ป่วยไม่ละเอียดพอ เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เป็นอุปสรรคต่อการวินิจฉัยโรคของพยาธิแพทย์ บทความนี้มุ่งหวังที่จะทบทวน อธิบาย วิธีการรวมทั้งเหตุผลและข้อเสนอแนะในการทำไบออปซี่


ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเอง, สุภาพร กัณห์วานิช Sep 1982

ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเอง, สุภาพร กัณห์วานิช

Chulalongkorn University Dental Journal

ความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเอง ของบุคคลมีมาตั้งแต่เกิดและมีการพัฒนามาเป็นลำดับสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเอง ได้แก่ประสบการณ์ในช่วงแรกของชีวิต และครอบครัว วัฒนธรรม ร่างกาย และสติปัญญา นอกจากนี้ โรงเรียน บทบาทของครู และบรรยากาศในชั้นเรียน จะมีส่วนสำคัญในการพัฒนาความคิดรวบยอดเกี่ยวกับตนเอง การเรียนรู้ความคิดรวบยอด ของบุคคลจะเกิดประโยชน์ในการเข้าใจบุคคลและพฤติกรรมของบุคคลมากขึ้น


ปกิณกะ : รายงานการประชุม ณ เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย, ประทีป พันธุมวนิช Sep 1982

ปกิณกะ : รายงานการประชุม ณ เมืองเวียนนา ประเทศออสเตรีย, ประทีป พันธุมวนิช

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


อุบัติการณ์ของการมีฟันผุในฟันกรามแท้ซี่แรกของเด็กวัยเรียน, ระวีวรรณ ปัญญางาม, ยุทธนา ปัญญางาม May 1982

อุบัติการณ์ของการมีฟันผุในฟันกรามแท้ซี่แรกของเด็กวัยเรียน, ระวีวรรณ ปัญญางาม, ยุทธนา ปัญญางาม

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการศึกษาอุบัติการณ์ของการมีฟันผุในฟันกรามแท้ซี่แรกของเด็กวัยเรียนที่มีระดับเศรษฐกิจต่ำในเขตกรุงเทพมหานครฯ พบว่า ด้านสบฟันของฟันกรามแท้ซี่ แรกจะมีอุบัติการณ์ของการมีฟันผุสูงที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านที่อยู่ชิดกับกระพุ้งแก้ม ด้านที่อยู่ชิดกับลิ้น ด้านใกล้และด้านไกลตามลําดับ และอัตราฟันผุ ถอน อุด ในฟันกรามล่างแท้ซี่แรกจะสูงกว่าฟันกรามบนแท้ซี่แรก โดยอัตราฟันผุ ถอน อุด นี้ จะเพิ่มขึ้นตามกลุ่มอายุที่เพิ่มขึ้นด้วย นอกจากนี้ ยังพบว่าในเด็กกลุ่มอายุ 8 ขวบ จะมีฟันกรามแท้ซี่แรกขึ้นเกือบครบสมบูรณ์ โดยฟันล่างจะขึ้นเร็วกว่าฟันบนเล็กน้อย


ความตึงเครียดในวิชาชีพทันตแพทย์, วันดี อภิณหสมิต May 1982

ความตึงเครียดในวิชาชีพทันตแพทย์, วันดี อภิณหสมิต

Chulalongkorn University Dental Journal

วิชาชีพทันตแพทย์เป็นงานหนัก แต่เป็นงานประณีตที่ต้องใช้กําลังกาย กําลังใจและกําลังความรู้อันละเอียดลึกซึ้ง ทันตแพทย์ต้องเผชิญกับปัญหารอบด้าน ทั้งจากตนเอง ครอบครัว การงาน สภาพเศรษฐกิจและสังคม สภาพการณ์เหล่านี้ ก่อให้เกิดความตึงเครียดได้มาก การลดหรือการกําจัดความตึงเครียดทําได้โดยการยอมรับปัญหา ค้นหาเหตุ ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิด และหาแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข การปรับปรุงหลักสูตรทันตแพทย์ การจัดสภาพแวดล้อม การจัดบุคลากร การจัดตารางเวลา การหาวิธีช่วยให้ทํางานได้ง่ายขึ้นและการช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ตลอดจนการสร้างดุลยภาพของชีวิต จะช่วยลดหรือแก้ไขและป้องกันความตึงเครียดได้ ส่วนการจัดตั้งกลุ่มเพื่อให้คําปรึกษาสําหรับทันตแพทย์ผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจ ก็น่าจะเป็นแนวทางที่ดีอีกวิธีหนึ่ง การลดหรือการกําจัดตลอดจนการป้องกันความตึงเครียดมีผลดีต่อสุขภาพทาง กายและทางจิตใจ ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน และเสริมสร้างชีวิตที่สุขสมบูรณ์แก่ทันตแพทย์


ปัญหาสุขภาพอนามัยในช่องปากและความต้องการ การบริการทางทันตกรรมของชุมชนหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย, สมพล เล็กเฟื่องฟู, วีรศักดิ์ เหลืองจามีกร, สุนทร ระพิสุวรรณ May 1982

ปัญหาสุขภาพอนามัยในช่องปากและความต้องการ การบริการทางทันตกรรมของชุมชนหนึ่งในภาคตะวันออกของประเทศไทย, สมพล เล็กเฟื่องฟู, วีรศักดิ์ เหลืองจามีกร, สุนทร ระพิสุวรรณ

Chulalongkorn University Dental Journal

ได้ทําการศึกษาเพื่อหาวิธีการของการสํารวจสุขภาพอนามัยในปากของชนบทไทย โดยทําการศึกษาในกลุ่มประชาชนหมู่บ้านหินดาษ ตําบลดงน้อย อําเภอราชสาสน์ จังหวัดฉะเชิงเทรา จํานวน 158 คน (คิดเป็นจํานวนประชากรร้อยละ 29.53) ในกลุ่มอายุตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไปถึงมากกว่า 70 ปี โดยใช้แบบฟอร์มการ สํารวจที่ได้ดัดแปลงมาจากแบบฟอร์มของหน่วยทันตสุขภาพ องค์การอนามัยโลก ใช้เครื่องมือตรวจฟันเบอร์ 5 กระจกส่องปากแบบไม่ขยาย และแสงจากธรรมชาติ พบว่าแบบฟอร์มที่ใช้นี้เหมาะสม และแนะนําให้ใช้ในการสํารวจหาข้อมูลเบื้องต้น ทางทันตสาธารณสุข เพราะผลจากข้อมูลสามารถบ่งชี้สภาพต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาใน ปากและความต้องการของการบริการทางทันตกรรมสําหรับชุมชนนั้น ๆ ด้วย


สภาพเหงือกและเนื้องอกในปากของหญิงตั้งครรภ์ ที่โรงพยาบาลราชวิถี, ยิ่งกมล อรุณินท์, นารี บุญภิรักษ์ May 1982

สภาพเหงือกและเนื้องอกในปากของหญิงตั้งครรภ์ ที่โรงพยาบาลราชวิถี, ยิ่งกมล อรุณินท์, นารี บุญภิรักษ์

Chulalongkorn University Dental Journal

ได้ทําการศึกษาสภาพของเหงือกและการเกิดเนื้องอกในปากของหญิงตั้งครรภ์ จํานวน 966 คน การตรวจสภาพเหงือกใช้วิธีการตรวจคนไข้ของทันตแพทย์ที่ใช้ ตรวจคนไข้อย่างละเอียดในห้องตรวจโรค โดยแบ่งการให้คะแนนเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ คะแนนเป็น 0, 1, 2 และ 3 พร้อมกับจดบันทึกจํานวนของเนื้องอกที่พบ ในจํานวน สตรีมีครรภ์ 966 คน พบเนื้องอก (pregnancy tumors) 26 ราย ซึ่งเท่ากับ 2.69% แบ่งออกเป็นพบในหญิงตั้งครรภ์ที่เคยมีประวัติได้รับการบําบัดทางทันตกรรม 17 ราย ซึ่งเท่ากับ 3.79% และพบในหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่เคยมีประวัติ การรักษาทางทันตกรรมเลย 9 ราย ซึ่งเท่ากับ 1.74 % จํานวนคนไข้ที่เคยรับการบําบัดทางทันตกรรมมีจํานวน 46.48% ส่วนผู้ที่ไม่เคยได้รับการบําบัดทางทันตกรรม เลยมี 53.52% จํานวนคนไข้ที่เคยได้รับการขูดหินน้ำลายมีเพียง 11.58 % คนไข้ที่ ได้รับการขูดหินน้ำลายอย่างสม่ำเสมอจะเป็นคนไข้ที่มีเศรษฐภาวะของครอบครัวดี คนไข้ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ในเรื่องประโยชน์ของการขูดหินน้ำลาย


ฟันปลอมชนิดพันท้ายหายไปทั้งแถบ, โสภี ชาติสุทธิพันธุ์ May 1982

ฟันปลอมชนิดพันท้ายหายไปทั้งแถบ, โสภี ชาติสุทธิพันธุ์

Chulalongkorn University Dental Journal

ในการใส่ฟันปลอมชนิดถอดได้ให้แก่คนไข้ อาจมีปัญหาหลายประการเกิดขึ้นตามมา เช่น ฟันปลอมไม่มีประสิทธิภาพ ใช้บดเคี้ยวอาหารไม่ได้ ขณะบดเคี้ยวอาหารกดสันเหงือกเจ็บ มีแผล คนไข้รําคาญฟันปลอมมาก ส่วนมากปัญหาจะเกิดในฟันปลอมชนิดรองรับแรงโดยสันเหงือก วิธีแก้ไขต้องทําฟันปลอมให้ดีตั้งแต่เริ่มแรก มีข้อสําคัญควรระวัง 2 ประการ ที่จะช่วยให้ฟันปลอมชนิดรองรับแรงโดยสันเหงือก มีประสิทธิภาพดี เพื่อขจัดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นดังกล่าวข้างต้น


การถอดรื้อเดือยฟัน, สมหมาย ชอบอิสระ May 1982

การถอดรื้อเดือยฟัน, สมหมาย ชอบอิสระ

Chulalongkorn University Dental Journal

ผู้ป่วยที่มีฟันเดือยแล้วภายหลังปรากฏมีหนองเกิดขึ้นที่ปลายรากฟันที่ใส่เดือยหรือทันตแพทย์ต้องการที่จะเปลี่ยนเดือยฟันใหม่ให้ผู้ป่วย เนื่องจากเดือยฟันเก่าเล็ก สั้น ไม่แข็งแรง ทําไว้ไม่ถูกต้อง กรณีเหล่านี้ทันตแพทย์อาจจะต้องทําการรื้อถอด เดือยฟันเก่าเพื่อทําการรักษาใหม่ให้ถูกต้อง ในบทความนี้ได้จําแนกชนิดของเดือยฟันและเสนอขั้นตอนในการรื้อถอดเดือยฟันด้วยเครื่องมือ และวิธีการอย่างง่าย ๆ พร้อมทั้งรายงานผลของการรื้อเดือยฟันในผู้ป่วย 16 คน


Abstract From Journals(ปกิณกะ : ย่อความจากวารสารต่างประเทศ) May 1982

Abstract From Journals(ปกิณกะ : ย่อความจากวารสารต่างประเทศ)

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


การใช้น้ำยาทําลายเชื้อในรอยพิมพ์ปาก, ประเวศ เสรีเชษฐพงษ์, ศรีวรพงษ์ พงษ์สถิตย์ Jan 1982

การใช้น้ำยาทําลายเชื้อในรอยพิมพ์ปาก, ประเวศ เสรีเชษฐพงษ์, ศรีวรพงษ์ พงษ์สถิตย์

Chulalongkorn University Dental Journal

เนื่องจากรอยพิมพ์เป็นสื่อที่อาจจะนําเชื้อโรคจากปากของผู้ป่วยมาสู่แบบจําลองได้ ดังนั้น ทุกรอยพิมพ์จึงควร ได้รับการทําลายเชื้อ รอยพิมพ์ชนิดโพลีซัลไฟด์ (polysulfide) ซิลิโคน (Silicone) โพลีอีเทอร์ (polyether) ซิงค์ออกไซด์ยูจินอล (zinc oxide eugenol) จะถูกทําลายเชื้อได้ดีโดยใช้น้ำยาสําหรับฆ่าเชื้อ และเมื่อได้ใช้น้ำยาฆ่าเชื้อแล้ว แบบจําลองยังคงมีขนาด รูปร่าง (dimensional stability) และรายละเอียด (surface detail sharpness) ที่ถูกต้องเหมือนเดิม ส่วนรอยพิมพ์ที่ใช้วัสดุชนิดไฮโดรคอลลอยด์ชนิดผันกลับได้และผันกลับไม่ได้ (reversible and irreversible hydrocolloid) คอมพาวด์ (impression compound) จะใช้น้ำยาฆ่าเชื้อไม่ได้ดีเพราะแบบจําลองที่ได้จะมีขนาดและรายละเอียดเปลี่ยนไป


การย้ายปลูกฟันในฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งมีปลายรากเจริญเต็มที่แล้ว : รายงานผู้ป่วย 2 ราย, แสงทิพย์ ญาณะจารี, แอนนา เทพวนังกูร Jan 1982

การย้ายปลูกฟันในฟันกรามล่างซี่สุดท้าย ซึ่งมีปลายรากเจริญเต็มที่แล้ว : รายงานผู้ป่วย 2 ราย, แสงทิพย์ ญาณะจารี, แอนนา เทพวนังกูร

Chulalongkorn University Dental Journal

การย้ายปลูกฟันกรามล่างซี่สุดท้ายซึ่งมีการเจริญของปลายรากฟันเต็มที่แล้ว ในผู้ป่วย 2 รายแสดง การรักษาคลองรากฟันเป็นสิ่งจําเป็นต้องกระทําในช่วงเวลาที่เหมาะสม ความล้มเหลวของการ บําบัด ประกอบด้วย ฟันยึดติดกับกระดูก (ankylosis) และการละลายของรากฟัน เป็นสิ่งที่ต้องคํานึงถึง โดยเฉพาะในรายที่ต้องรักษาคลองรากฟันทันทีก่อนการย้ายปลูกฟัน


การศึกษาวิธีวิเคราะห์หาฟลูออไรด์ไอออนในยาสีฟัน, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์, ศานตี เตชาภิประนัย, พิเชียร อังจันทร์เพ็ญ Jan 1982

การศึกษาวิธีวิเคราะห์หาฟลูออไรด์ไอออนในยาสีฟัน, ศิริพร โชติไพบูลย์พันธุ์, ศานตี เตชาภิประนัย, พิเชียร อังจันทร์เพ็ญ

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการทดลองเปรียบเทียบวิธีหาปริมาณฟลูออไรด์ไอออน ในยาสีฟันที่ผสมโซเดียมฟลูออไรด์ แสตนนิสฟลูออไรด์ และโซเดียมโมโนฟลูออไรฟอสเฟต ด้วยวิธีต่าง ๆ กัน 6 วิธี โดยอาศัยเครื่องวัดปริมาณไอออน (Ionalyzer) และ ฟลูออไรด์อิเล็คโตรด พบว่ายาสีฟันที่ผสมโซเดียมฟลูออไรด์ และแสตนนัสฟลูออไรด์ ได้ผลใกล้เคียงกันทุกวิธี แต่วิธี Modifired TIS AB ซึ่งได้คิดดัดแปลงขึ้น สามารถทําได้ผลดี สะดวก รวดเร็วและประหยัดกว่า ส่วนยาสีฟันที่ผสม โซเดียมโมโนฟลูออโรฟอสเฟต (MFP) เหมาะที่จะใช้วิธีของ Pearce ซึ่งผลที่ ได้จะมีค่าสูงกว่าเล็กน้อย


ความชุกของโรคฟันผุในเด็กนักเรียนอายุ 6-14 ปี หลังการปรับระดับฟลูออไรด์ในน้ำประปาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา, พิสมร ตินทุกะสิริ, สุนทร ระพิสุวรรณ, ศิริเพ็ญ อรุณประพันธ์, ธีระ คุณะวิภากร Jan 1982

ความชุกของโรคฟันผุในเด็กนักเรียนอายุ 6-14 ปี หลังการปรับระดับฟลูออไรด์ในน้ำประปาชุมชนจังหวัดฉะเชิงเทรา, พิสมร ตินทุกะสิริ, สุนทร ระพิสุวรรณ, ศิริเพ็ญ อรุณประพันธ์, ธีระ คุณะวิภากร

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการศึกษาการปรับระดับฟลูออไรด์ในน้ำประปาที่ความเข้มข้น 0.7 ส่วนในล้านส่วนในเขต ประปาท้องถิ่น อ.บางปะกง กับผลที่มีต่อการลดจํานวนฟันผุในเด็กนักเรียนอายุ 6-14 ปี พบว่า ค่าของฟันผุ อุด ถอน นับเป็นด้าน (DMFS) ในฟันแท้ของเด็กในท้องถิ่นที่ใช้น้ำประปาปรับระดับฟลูออไรด์เท่ากับ 2.05 ด้านต่อคน ซึ่งน้อยกว่าค่าฟันผุ อุด ถอน ของเด็กในกลุ่มเปรียบเทียบ ซึ่งอยู่นอกเขตประปา มีค่าเท่ากับ 2.25 ด้านต่อคน เด็กที่ได้รับฟลูออไรด์จะมีอัตราฟันผุลดลง 33.22% มีอัตราการปลอดจากโรคฟัน 54.34% ขณะที่ อัตราการปลอดจากโรคฟันผุในเด็กกลุ่มเปรียบเทียบมีค่าเท่ากับ 36.87% และอัตราการผุด้านประชิดในเด็ก กลุ่มทดลองน้อยกว่าเด็กในกลุ่มเปรียบเทียบอย่างเห็นได้ชัด


สุขภาพช่องปากของนิสิตทันตแพทย์ ปีที่ 1-2524 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เพ็ญศรี สิทธิสมวงศ์, ภรณี พีรานนท์ Jan 1982

สุขภาพช่องปากของนิสิตทันตแพทย์ ปีที่ 1-2524 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, เพ็ญศรี สิทธิสมวงศ์, ภรณี พีรานนท์

Chulalongkorn University Dental Journal

การสํารวจสุขภาพช่องปากของนิสิตทันตแพทย์ ปีที่ 1 ปีการศึกษา 2524 จํานวน 80 คน โดยใช้เกณฑ์และวิธีการขององค์การอนามัยโลก (1977) พบว่าดัชนีโรคฟันผุ (DMFT) ของนิสิตเฉลี่ย 10.03 ซี/คน นิสิตชาย 9.14 ซี/คน นิสิตหญิง 10.69 ซี่/คน สถานภาพของโรคฟันผุ และโรคปริทันต์ของกลุ่มนิสิตชายและหญิงไม่แตกต่างกันเมื่อทดสอบทางสถิติ โรคฟันผุส่วนใหญ่ได้รับการรักษาแล้ว ความต้องการการรักษาต่ำส่วนใหญ่ต้องการเพียงอุดฟัน 1 ด้าน สําหรับโรคปริทันต์พบว่ามีคราบฟันชนิดอ่อนถึง 100% ทั้งชายและหญิง และคราบหินปูน 90.24% ในชาย 89.74% ในหญิง อัตราความชุกชุมของโรคเหงือกอักเสบ 7.30% ในชาย และ 7.69% ในหญิง การรักษาต้องการเพียงการทําความสะอาดช่องปากและคําแนะนําวิธีการรักษาสุขภาพในช่องปากเท่านั้น มีการไปใช้บริการทันตกรรมในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาสูง ส่วนใหญ่ไปรับการอุดฟัน นิสิตร้อยละ 90 มารับบริการที่คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และให้บริการโดยนิสิตทันตแพทย์ ร้อยละ 99 ของนิสิตแสดงความต้องการคําแนะนําหรือรักษาทันตสุขภาพ ความต้องการส่วนใหญ่ได้แก่วิธีการป้องกันโรคและดูแลรักษาสุขภาพของช่องปาก


Median Lethal Dose Of Some Local Anaesthetic Preparations, Prasert Songkittiguna Jan 1982

Median Lethal Dose Of Some Local Anaesthetic Preparations, Prasert Songkittiguna

Chulalongkorn University Dental Journal

The median lethal dose (LD50) of local anaesthetics in mice was determined by the method of Reed & Muench. No statistical difference (P < 0.05) was found in comparing the (LD50) of the four commonly-used local anaesthetic preparations; they were lidocaine 2%, lidocaine 2% with adrenaline 1:80,000, lidocaine 2% with noradrenaline 1:50,000 and prilocaine 3% with felypressin 0.03 IU. It is suggested therefore that, in mice, the (LD50) of these local anaesthetics are comparable. However, lidocaine 2% with noradrenaline 1:50,000 had a wider therapeutic index, therefore it could be the safest local anaesthetic among the other three drugs.


การผุของฟันแท้ของนักเรียน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, โอบเอื้อ เจริญทรัพย์, ระวีวรรณ ปัญญางาม Jan 1982

การผุของฟันแท้ของนักเรียน โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร, โอบเอื้อ เจริญทรัพย์, ระวีวรรณ ปัญญางาม

Chulalongkorn University Dental Journal

จากการสํารวจทันตสุขภาพนักเรียนโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร อายุ 6-12 ปี จํานวน 728 คน ชายและหญิงเท่า ๆ กัน พบอัตราความชุกของโรคฟันผุในฟันแท้ของเด็กกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดคิดเป็นร้อยละ 73.9 รอยผุจะเริ่มปรากฏในกลุ่มฟันกราม ฟันกรามน้อยและฟันหน้าเมื่อเด็กอายุ 6, 7 และ 8 ปีตามลําดับ โดยอัตราความชุกของโรคฟันผุในกลุ่มฟันกรามเป็นร้อยละ 25.4, 35.31, 44.42, 55.04, 52.49, 50.41 และ 47.47 ในเด็กกลุ่มอายุ 6,7,8,9,10,11 และ 12 ปีตามลําดับ ซึ่งสูงกว่าอัตราดังกล่าวของกลุ่มฟันกรามน้อย และกลุ่มฟันหน้าของเด็กทุกกลุ่มอายุ จากการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างอายุของเด็กกับตัวแปรตามอื่น ๆ ได้แก่ จํานวนเฉลี่ยของฟันที่ขึ้นในช่องปาก ค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุดคิดเป็นซี่ต่อคนและด้านต่อคน โดยวิธีของเปียร์สัน พบว่าเป็นไปอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.001) โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายสูงถึง 0.99, 0.93 และ 0.94 ตามลําดับ เมื่อจําแนกค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุด คิดเป็นซี่ต่อคนของเด็ก อายุตั้งแต่ 6-12 ปีเฉพาะกลุ่มฟันกราม พบว่ามีค่าเท่ากับ 0.62, 1.31, 1.75, 2.24, 2.21, 2.46 และ 3.00 ตามลําดับ ในขณะที่ค่าเฉลี่ยดังกล่าวเฉพาะกลุ่มฟันกรามน้อยมีค่าเท่ากับ 0.00, 0.04, 0.06, 0.27, 0.25, 0.22 และ 0.26 และค่าเฉลี่ยดังกล่าวเฉพาะกลุ่มฟันหน้ามีค่าเท่ากับ 0.00, 0.00, 0.06, 0.10, 0.12, 0.17 0.14 ตามลําดับ และเมื่อทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยเหล่านี้เฉพาะในเด็กแต่ละกลุ่มอายุทีละคู่ด้วยวิธีทดสอบคู่-ที พบว่าค่าเฉลี่ยฟันผุ ถอน อุดของกลุ่มฟันกรามสูงกว่ากลุ่มฟันกรามน้อย และกลุ่มฟันหน้าของเด็กทุก ๆ กลุ่มอายุ อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (P < 0.01) ในขณะที่ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยดังกล่าว ระหว่างกลุ่มฟันกรามน้อยกับกลุ่มฟันหน้าของเด็กแต่ละกลุ่มอายุมีเพียงเล็กน้อย และไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ


การวิเคราะห์หาปริมาณฟลูออไรด์ทั้งหมดในยาสีฟัน โดยวิธี Acid Diffusion, ต่อถาวร จันทามงคล, บุญชัย พรหมยารัตน์, รังสรรค์ จิรังษีวัฒนา, จีรศักดิ์ นพคุณ Jan 1982

การวิเคราะห์หาปริมาณฟลูออไรด์ทั้งหมดในยาสีฟัน โดยวิธี Acid Diffusion, ต่อถาวร จันทามงคล, บุญชัย พรหมยารัตน์, รังสรรค์ จิรังษีวัฒนา, จีรศักดิ์ นพคุณ

Chulalongkorn University Dental Journal

การวิเคราะห์หาปริมาณฟลูออไรด์ทั้งหมดที่ผสมอยู่ในยาสีฟัน โดยวิธี acid diffusion ด้วยการใช้ กรดเพอร์คลอริก (4.6 M perchloric acid) เป็นตัวสกัดฟลูออไรด์ออกมาจากยาสีฟัน ที่อุณหภูมิปกติของห้องปฏิบัติการ โดยมี hexamethyldisiloxane เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา พบว่าวิธีการวิเคราะห์โดยวิธีนี้ สามารถสกัดฟลูออไรด์ ออกมาจากสารละลายที่ใช้ในการทดสอบได้ร้อยละ 95.1 ± 3.2 ของปริมาณฟลูออไรด์มาตรฐานที่เติมลงไปในสารละลาย ปริมาณยาสีฟันที่เหมาะสมที่จะนํามาใช้ในการวิเคราะห์โดยวิธีนี้เท่ากับ 0.5 กรัม จากการวิเคราะห์ หาปริมาณฟลูออไรด์ทั้งหมดในยาสีฟันจํานวน 11 ชนิด พบว่าปริมาณฟลูออไรด์ที่ผสมอยู่ในยาสีฟันที่ได้จากการวิเคราะห์โดยวิธี acid diffusion ส่วนใหญ่ไม่มีความแตกต่างกันในทางสถิติ (P > 05) กับปริมาณฟลูออไรด์ที่คํานวณได้ จากน้ำหนักร้อยละของฟลูออไรด์ที่ผสมอยู่ในยาสีฟัน


ลูดวิก แองไจนา (Ludwig's Angina) รายงานผู้ป่วย 2 ราย, ไพศาล กังวลกิจ Jan 1982

ลูดวิก แองไจนา (Ludwig's Angina) รายงานผู้ป่วย 2 ราย, ไพศาล กังวลกิจ

Chulalongkorn University Dental Journal

Ludwig's angina เป็นการอักเสบที่เกิดขึ้นอย่างเฉียบพลัน รุนแรง ที่บริเวณใต้ขากรรไกร (submandibular), ใต้คาง (submental) และใต้ลิ้น (sublingual) การอักเสบนี้มักกระจายหาขอบเขตไม่ได้ และเป็นทั้ง 2 ข้าง ปัจจุบันพบได้ไม่บ่อยนัก เนื่องจากมียาปฏิชีวนะที่ดี สาเหตุของการอักเสบนี้ส่วน ใหญ่เกิดจากฟัน ในรายงานฉบับนี้ได้กล่าวถึง ผู้ป่วย 2 รายที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลชลบุรี เนื่องจากมีอาการบวมที่บริเวณใต้ขากรรไกร คอและพื้นช่องปาก ได้ให้การวินิจฉัยว่าเป็น Ludwigs angina ซึ่งมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อของ ฟันกรามล่างขวา ซี่ที่ 1 (# 46) ได้ให้การรักษาโดยให้ยาปฏิชีวนะในขนาดสูง เจาะคอ และใส่ท่อหายใจเพื่อป้องกันการอุดตันของทางเดินหายใจ กรีดระบายหนอง (Incision and drainage) และถอนฟันที่เป็นสาเหตุออก


ครอบฟันหลักในฟันปลอมชนิดถอดได้, ตระกล เมฆญารัชชนานนท์, สดจิตต์ ทองธรรมชาติ Jan 1982

ครอบฟันหลักในฟันปลอมชนิดถอดได้, ตระกล เมฆญารัชชนานนท์, สดจิตต์ ทองธรรมชาติ

Chulalongkorn University Dental Journal

ในการทําฟันปลอมชนิดถอดได้ ซึ่งต้องใช้ฟันเป็นหลักสําคัญในการช่วยให้ฟันปลอมได้ยึดติดแน่น โดยปกติการกรอแต่งฟันเพียงอย่างเดียวก็เหมาะสมที่จะรองรับฟันปลอม แต่ในบางครั้งเนื่องจากฟันหลักไม่เหมาะสม เช่น ฟันหลักผุมาก รูปร่างไม่เหมาะสม ฟันยื่นเลยระดับการสบฟันในแนวปกติมาก จึงต้องปรับสภาพของฟันหลักให้มีรูปร่างสมบูรณ์ก่อน โดยการทําครอบฟัน การครอบฟันอาจรวมทั้งเมื่อต้องการยึดฟันให้ติดกัน ซึ่งการทําครอบให้ได้รับความสําเร็จนั้นจะขึ้นกับการวางแผนการรักษาที่ดี มีขั้นตอนการทํางานในคลินิกและในห้องปฏิบัติการที่ถูกต้อง บทความนี้ได้รวบรวมข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ประกอบการพิจารณา รวมทั้งขั้นตอน ในการทําครอบฟันหลักเพื่อใช้เป็นหลักยึดสําหรับฟันปลอมชนิดถอดได้


ยาชา, ธาราทิพย์ สูอำพัน, พวงเพ็ชร เดชะประทุมวัน Jan 1982

ยาชา, ธาราทิพย์ สูอำพัน, พวงเพ็ชร เดชะประทุมวัน

Chulalongkorn University Dental Journal

การทบทวนความรู้เรื่องยาชาที่ใช้ทั่วๆ ไป โดยกล่าวถึงการแบ่งพวก กลไกการออกฤทธิ์ และอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาชา รวมทั้งยาบีบหลอดเลือดที่มีอยู่ในยาเตรียมใช้ของยาชา


ผลของความเป็นกรดและด่าง ของยาอมบ้วนปากคลอเฮกซิดีน ต่อการเกิดคราบสีบนฟันอะคริลิก, พวงเพ็ชร เดชะประทุมวัน, วณี ทวีทรัพย์ Jan 1982

ผลของความเป็นกรดและด่าง ของยาอมบ้วนปากคลอเฮกซิดีน ต่อการเกิดคราบสีบนฟันอะคริลิก, พวงเพ็ชร เดชะประทุมวัน, วณี ทวีทรัพย์

Chulalongkorn University Dental Journal

มีรายงานการเกิดคราบสีบนฟันหลังจากการใช้ยาอมบ้วนปากคลอเฮกซิดีน โดยเฉพาะเมื่อมีสารอาหารบางอย่าง การทดลองนี้เพื่อต้องการศึกษาผลของการใช้ กาแฟ ชา แทนนิน โกโก้ และน้ำหวานสีแดง ร่วมกับ ยาอมบ้วนปากคลอเฮกซิดีน 0.2% ที่เป็นกรด เปรียบเทียบกับน้ำยาที่เป็นด่าง ในการเกิดคราบสี ผลปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างกันระหว่างยาอมบ้วนปากทั้งสองชนิด


วิวัฒนาการของการทำความสะอาดช่องปาก, คณะกรรมการจัดทำประวัติและวิวัฒนาการของวิธีการและอุปรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดฟันและช่องปาก Jan 1982

วิวัฒนาการของการทำความสะอาดช่องปาก, คณะกรรมการจัดทำประวัติและวิวัฒนาการของวิธีการและอุปรณ์ที่ใช้ในการทำความสะอาดฟันและช่องปาก

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.


Abstract From Journals(ปกิณกะ : ย่อความจากวารสารต่างประเทศ) Jan 1982

Abstract From Journals(ปกิณกะ : ย่อความจากวารสารต่างประเทศ)

Chulalongkorn University Dental Journal

No abstract provided.