Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 378

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

Population Pharmacokinetics And Pharmacodynamics Of Piperacillin In Critically Ill Patients During The Early Phaseof Sepsis, Waroonrat Sukarnjanaset Jan 2018

Population Pharmacokinetics And Pharmacodynamics Of Piperacillin In Critically Ill Patients During The Early Phaseof Sepsis, Waroonrat Sukarnjanaset

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Background: Piperacillin/Tazobactam is frequently used for empirical treatment in patients with sepsis. Pathophysiological changes during the early phase of sepsis have significant effects on pharmacokinetic/pharmacodynamic (PK/PD) behaviors. This study aimed to characterize the population PKs of piperacillin and investigate probability of target attainment (PTA) and cumulative fraction of response (CFR) of various dosage regimens in critically ill patients during the early phase of sepsis. Methods: Forty-eight patients treated with piperacillin/tazobactam were recruited. Five blood samples were drawn before and during 0-0.5, 0.5-2, 2-4 and 4-6 or 8 hours after administration. Free piperacillin concentrations were determined using HPLC. Population PKs was …


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร, ดวงพร กุลภควา Jan 2018

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร, ดวงพร กุลภควา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและทดสอบคุณภาพของแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมินซึ่งมี 2 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์รายการสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัดจากการทบทวนวรรณกรรมและสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญพยาบาลห้องผ่าตัด จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 สร้างข้อรายการสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โดยการกำหนดข้อรายการสมรรถนะและวิเคราะห์หาคุณภาพของข้อรายการสมรรถนะด้วยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.94 และทดสอบความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของ ครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.96 นำผลที่ได้ไปสร้างเป็นแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน ข้อรายการสมรรถนะย่อย 36 ข้อ ระยะที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน ผู้วิจัยนำแบบประเมินที่สร้างขึ้นไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 คน ประกอบด้วยพยาบาลห้องผ่าตัด 44 คนและพยาบาลผู้จัดการแผนกและพยาบาลหัวหน้าหน่วยแผนกห้องผ่าตัด 6 คน โดยใช้รูปแบบการประเมิน 360 องศา วิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเที่ยงโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคและความสอดคล้องของการประเมินระหว่างพยาบาลห้องผ่าตัดประเมินตนเอง ประเมินโดยเพื่อนร่วมงานและประเมินโดยพยาบาลผู้จัดการแผนกและพยาบาลหัวหน้าหน่วยแผนกห้องผ่าตัดด้วยสถิติ Intraclass Correlation Coefficient ได้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้น (r) เท่ากับ 0.98 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลห้องผ่าตัด โรงพยาบาลเอกชนเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยรายด้านสมรรถนะหลัก 6 รายด้าน ข้อรายการสมรรถนะย่อย 36 ข้อ ดังนี้ 1) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลผ่าตัด มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 12 ข้อ 2) การป้องกันและควบคุมการติดเชื้อ มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 8 ข้อ 3) การใช้และการจัดการเครื่องมือ อุปกรณ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 4 ข้อ 4) การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูงและการแก้ปัญหาฉุกเฉิน มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 4 ข้อ 5) การสื่อสาร ติดต่อประสานงาน มีข้อรายการสมรรถนะย่อย 4 …


การศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ, พัชรินทร์ โชคสวัสดิ์ Jan 2018

การศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ, พัชรินทร์ โชคสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ โดยใช้เทคนิคเดลฟายในการรวบรวมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 21 คน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่มีผลงานวิจัยหรือผลงานที่เกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ 6 คน ผู้บริหารทางการพยาบาล โรงพยาบาลตติยภูมิ 6 คน อาจารย์พยาบาล 4 คน และหัวหน้าหน่วยงานเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลตติยภูมิ 4 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ในรอบที่ 1 มาวิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่สาระในลักษณะเดียวกัน สร้างเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาระดับความสำคัญของรายการในแต่ละด้าน ในการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ขั้นตอนที่ 3 นำความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยัน ความคิดเห็นอีกครั้ง แล้วนำข้อมูลมาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และสรุปองค์ประกอบในการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ผลการวิจัยพบว่า การศึกษาการสร้างวัฒนธรรมการปฏิบัติงานของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลตติยภูมิ ประกอบด้วย 6 ด้าน และมีรายการจำนวน 47 ข้อ ดังนี้ 1) การกำหนดค่านิยมในการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ข้อ 2) การขอรับการสนับสนุนด้านการสร้างเสริมสุขภาพจากสหวิชาชีพ จำนวน 4 ข้อ 3) การสื่อสารค่านิยมในการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 10 ข้อ 4) การกำหนดพฤติกรรรมการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 12 ข้อ 5) การเสริมแรงพฤติกรรมการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ข้อ 6) การสร้างความต่อเนื่องของการปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 ข้อ


การเปรียบเทียบตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ระหว่างการสวิงกอล์ฟบนพื้นที่ลาดเอียงที่ต่างกันในนักกีฬากอล์ฟสมัครเล่น, ชัชชานนท์ พูลสวัสดิ์ Jan 2018

การเปรียบเทียบตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ระหว่างการสวิงกอล์ฟบนพื้นที่ลาดเอียงที่ต่างกันในนักกีฬากอล์ฟสมัครเล่น, ชัชชานนท์ พูลสวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบตัวแปรทางชีวกลศาสตร์ ระหว่างการสวิงบนพื้นราบและบนพื้นลาดเอียงแบบขึ้นเนินและลงเนิน ในนักกีฬากอล์ฟสมัครเล่น วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างงานวิจัยนี้คือ นักกีฬากอล์ฟสมัครเล่น เพศชาย วงสวิงขวา จำนวน 16 คน กลุ่มตัวอย่างทำการสวิงด้วยเหล็ก 7 บนพื้น 3 รูปแบบ ได้แก่ พื้นราบ พื้นเอียงแบบขึ้นเนินและลงเนิน ซึ่งทำมุม ±10 องศากับแนวราบ เพื่อบันทึกการเคลื่อนไหวของร่างกาย แรงปฏิกิริยาจากพื้นและความเร็วหัวไม้ แล้วจึงเลือกข้อมูลใน 4 เหตุการณ์ ได้แก่ ตำแหน่งจรดลูก ตำแหน่งขึ้นไม้สูงสุด ตำแหน่งกลางของการลงไม้และตำแหน่งไม้กระทบลูก เพื่อหาความแตกต่างด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัย พบว่า การสวิงแบบขึ้นเนินและลงเนินมีระยะระหว่างเท้าเพิ่มจากสวิงบนพื้นราบ การสวิงแบบขึ้นเนินมีความแตกต่างของการเคลื่อนไหวและประสิทธิภาพที่ลดลงจากการสวิงบนพื้นราบและการสวิงแบบลงเนินอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่การสวิงแบบลงเนินมีประสิทธิภาพและการเคลื่อนไหวบางช่วงไม่แตกต่างจากการสวิงบนพื้นราบอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย การสวิงแบบขึ้นเนินและลงเนินควรเพิ่มระยะระหว่างเท้าให้กว้างมากขึ้นเพื่อรักษาการทรงตัว การสวิงบนพื้นที่ลาดเอียงควรรักษาลักษณะการยื่นและการเคลื่อนไหวให้ใกล้เคียงกับการสวิงบนพื้นราบให้มากที่สุด เพื่อคงไว้ซึ่งความเร็วเชิงมุมในการหมุนลำตัวและสะโพกที่สำคัญต่อการสร้างความเร็วหัวไม้


ผลของการใช้โฟมโรลลิ่งและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหวที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตซอล, ประทักษ์ สระสม Jan 2018

ผลของการใช้โฟมโรลลิ่งและการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหวที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตซอล, ประทักษ์ สระสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการอบอุ่นร่างกายด้วยโฟมโรลลิ่งและการอบอุ่นร่างกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหวที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาในนักกีฬาฟุตซอล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักฟุตซอลของสโมสรมหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต เพศชาย มีอายุระหว่าง 18-25 ปี จำนวน 18 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยกลุ่มตัวอย่างทำการทดลองทั้ง 2 รูปแบบ ได้แก่ การอบอุ่นร่างกายด้วยโฟมโรลลิ่ง และการอบอุ่นร่างกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหว และทำการทดสอบสมรรถภาพของกล้ามเนื้อขาทันทีหลังจากการทดลองโดยการทดลองแต่ละรูปแบบมีระยะเวลาห่างกันอย่างน้อย 1 สัปดาห์ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ หาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที (Paired Samples t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของระยะการเคลื่อนไหวข้อเข่าขาขวาหลังการทดลองทันทีของการอบอุ่นร่างกายด้วยโฟมโรลลิ่ง และการอบอุ่นร่างกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหว แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของระยะการเคลื่อนไหวของข้อสะโพกขาซ้ายและขาขวา ระยะการเคลื่อนไหวของข้อเข่าขาซ้าย ความคล่องแคล่วว่องไว ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทาง และความเร็วหลังการทดลองทันทีของการอบอุ่นร่างกายด้วยโฟมโรลลิ่ง และการอบอุ่นร่างกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหว ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 การอบอุ่นร่างกายด้วยโฟมโรลลิ่ง และการอบอุ่นร่างกายด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหวช่วยเพิ่มระยะการเคลื่อนไหวของข้อสะโพก ระยะการเคลื่อนไหวของข้อเข่า ความคล่องแคล่วว่องไว ความสามารถในการเปลี่ยนทิศทาง ความเร็ว ในนักกีฬาฟุตซอลได้


ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการตลาดและความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึก กรณีของสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย, อนิวรรตน์ นุ่มลืมคิด Jan 2018

ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการตลาดและความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึก กรณีของสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย, อนิวรรตน์ นุ่มลืมคิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการตลาดและความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึกของสโมสรฟุตบอลอาชีพไทยในไทยลีก วิธีดำเนินการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือแฟนบอลของสโมสรต่างๆทั้ง 5 สโมสร ที่มีรายได้จากการขายสินค้าที่ระลึกมากที่สุด 5 อันดับแรกที่เข้าไปซื้อหรือดูสินค้าที่ระลึกที่จุดจำหน่ายของที่ระลึกของแต่ละสโมสรทั้ง 5 สโมสรในไทยลีก 1 จำนวน 400 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จากนั้นนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ค่าทางสถิติโดยหาจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้การทดสอบการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย การส่งเสริมการตลาด มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึกของสโมสรฟุตบอลอาชีพในไทยลีกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อยู่ในระดับปานกลาง (r = .436) ค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ 0.436 และกำลังสองของค่าสหสัมพันธ์พหุคูณ (R2) มีค่าเท่ากับ 0.190 แสดงว่าการส่งเสริมการตลาด สามารถพยากรณ์ความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึกของสโมสรฟุตบอลอาชีพในไทยลีก คิดเป็นร้อยละ 19 และค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์มีค่าเท่ากับ 0.559 สรุปผลการวิจัย ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมการตลาดและความตั้งใจซื้อสินค้าที่ระลึกของสโมสรฟุตบอลอาชีพในไทยลีก มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ความพึงพอใจในความสัมพันธ์แบบคู่รักและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จิรันธนิน เจริญธีระนันท์ Jan 2018

ความพึงพอใจในความสัมพันธ์แบบคู่รักและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, จิรันธนิน เจริญธีระนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย: การมีความสัมพันธ์แบบคู่รักเป็นขั้นตอนสำคัญอย่างหนึ่งในพัฒนาการของมนุษย์สำหรับวัยผู้ใหญ่ตอนต้นตามทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคมของ Erikson ความสำเร็จในพัฒนาการลำดับขั้นนี้ จะนำไปสู่ความสามารถที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีพันธะสัญญาต่อกัน แต่หากล้มเหลว ก็จะนำไปสู่ความรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างในใจ ซึ่งปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ส่งผลต่อการตัดสินใจรักษาหรือยุติความสัมพันธ์ก็คือความพึงพอใจในความสัมพันธ์ ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาในเรื่องนี้ โดยเลือกศึกษาในนิสิตที่มีอายุช่วง 21 – 22 ปี ซึ่งตรงกับช่วงเริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ตอนต้นตามทฤษฎีของ Erikson และมีการศึกษาว่ามักมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ โดยผลการศึกษาที่ได้ จะสะท้อนภาพรวมของนิสิตรวมถึงเป็นองค์ความรู้ใหม่แก่ผู้ที่สนใจศึกษาต่อยอดในอนาคตได้ วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจในความสัมพันธ์กับคู่รักและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับระดับความพึงพอใจในความสัมพันธ์กับคู่รัก ของนิสิตที่กำลังศึกษาอยู่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวอย่างและวิธีการศึกษา: ศึกษาเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยมีกลุ่มตัวอย่างคือ นิสิตระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 จาก 10 คณะของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีคู่รักและมีระยะเวลาคบหาไม่ต่ำกว่า 1 เดือน คำนวณจำนวนตัวอย่างแบ่งตามเพศและกลุ่มสาขาวิชาที่นิสิตศึกษาอยู่ตามสัดส่วนประชากร เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล มาตรวัดองค์ประกอบความรัก และมาตรวัดความพึงพอใจในความสัมพันธ์ แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 433 คน มีค่าเฉลี่ยคะแนนความพึงพอใจในความสัมพันธ์ที่ 4.00 ± 0.57 (Likert scale 1 – 5) ส่วนใหญ่พึงพอใจอยู่ในระดับมาก 55.7% ระดับมากที่สุด 23.3% และระดับปานกลาง 20.5% จากการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยและการวิเคราะห์ความแปรปรวน พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ สถานภาพการพักอาศัย ระดับความพึงพอใจในชีวิต ระยะเวลาของความสัมพันธ์กับคู่รัก การเปิดเผยความสัมพันธ์ต่อเพื่อน และการเปิดเผยความสัมพันธ์ต่อครอบครัว จากการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร พบว่าสัมพันธ์กับระดับความพึงพอใจในชีวิต คะแนนองค์ประกอบความรักด้านความใกล้ชิด ความหลงใหล และความผูกมัด จากการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุ พบตัวแปรทำนายคือ คะแนนองค์ประกอบความรักด้านความใกล้ชิด ความผูกมัด ระดับความพึงพอใจในชีวิต และระยะเวลาของความสัมพันธ์กับคู่รัก สรุปผลการศึกษา: การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มากกว่า 75% มีความพึงพอใจในความสัมพันธ์อยู่ในระดับมากถึงมากที่สุด และมากกว่า 99% อยู่ในระดับปานกลางขึ้นไป นอกจากนี้ ได้อธิบายถึงปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งข้อค้นพบนี้สามารถนำไปใช้อ้างอิง และศึกษาต่อเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและป้องกันปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ในวัยผู้ใหญ่ตอนต้นได้


ความชุกของปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วราวดี เหมรัตน Jan 2018

ความชุกของปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายในผู้ที่มีภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกโรคสมองเสื่อม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, วราวดี เหมรัตน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เหตุผลของการทำวิจัย: ปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายในผู้มีภาวะสมองเสื่อมเป็นปัญหา ที่ก่อให้เกิดผลเสียรุนแรง เช่น ทาให้เกิดการบาดเจ็บ สูญหายและอาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดความ ทุกข์ใจให้กับครอบครัวและผู้ดูแล โดยขณะนี้ขาดข้อมูลการศึกษาปัญหาพฤติกรรมนี้ในประเทศไทย วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายในผู้ที่มี ภาวะสมองเสื่อมที่คลินิกโรคสมองเสื่อมโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ วิธีการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 95 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะสมองเสื่อม ชนิดใดชนิดหนึ่งและมีอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานและข้อมูลด้านการเจ็บป่วย แบบ ประเมินพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมาย (RAWS-CV) แบบประเมินอาการทางประสาทจิตเวชศาสตร์ NPI-Q แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ดัชนีบาร์เธลเอดีแอล แบบประเมินความสามารถเชิง ปฏิบัติดัชนีจุฬาเอดีแอล แบบทดสอบ TMSE และแบบประเมินภาระของผู้ดูแล (ZBI) คำนวณสถิติโดยใช้ โปรแกรม SPSS version 22 เพื่อหาสถิติเชิงพรรณนา คำนวณสถิติเชิงอนุมานโดยใช้ Logistic และ Linear regression เพื่อหาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้งหมดที่ญาติให้ประวัติว่ามีพฤติกรรมเดินไปมาอย่าง ไร้จุดหมายหรือพลัดหลง คิดเป็นร้อยละ 23.2 และมีพฤติกรรมดังกล่าวด้วยแบบประเมิน RAWS-CV ที่มีค่า คะแนนเฉลี่ยมากกว่า 1 ถึงร้อยละ 82.1 โดยปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมาย อย่างมีนัยสาคัญ ได้แก่ ระยะเวลาที่ป่วยมากกว่า 4 ปีขึ้นไป มีอาการประสาทหลอน เฉยเมยไม่สนใจสิ่งรอบตัว/ไร้ อารมณ์ ความไม่ยับยั้งชั่งใจ ส่วนปัจจัยที่พยากรณ์ค่าคะแนน RAWS-CV ได้แก่ ค่าคะแนนความรุนแรงของอาการ ทางจิตประสาทและพฤติกรรม ระดับความทุกข์ใจของผู้ดูแล มีอาการประสาทหลอน มีโรคประจำตัวอื่น ๆ มี ความอยากอาหารและการกินที่ผิดปกติ และการได้รับยา memantine สรุป: ประมาณ 1 ใน 4 ของกลุ่มตัวอย่างเคยมีประวัติปัญหาพฤติกรรมเดินไปมาอย่างไร้จุดหมายจาก การรายงานของผู้ดูแล ในขณะที่มากกว่า 4 ใน 5 ของกลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมดังกล่าวจากแบบประเมินและ สร้างความทุกข์ใจให้กับผู้ดูแล การประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมนี้จะช่วยป้องกันให้ไม่เกิดการพลัดหลง หรือหายออกจากบ้านหรือเกิดอันตรายร้ายแรงกับผู้ป่วยได้ในภายหลัง


ความชุกของเชื้อลิชมาเนีย และทริพพาโนโซมในริ้นฝอยทราย ที่เก็บได้จากแหล่งระบาดของโรคลิชมาเนียในประเทศไทย, พิมพ์พิลาส ศรีสุธน Jan 2018

ความชุกของเชื้อลิชมาเนีย และทริพพาโนโซมในริ้นฝอยทราย ที่เก็บได้จากแหล่งระบาดของโรคลิชมาเนียในประเทศไทย, พิมพ์พิลาส ศรีสุธน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ริ้นฝอยทราย จัดเป็นแมลงดูดเลือดที่มีขนาดเล็ก อยู่ในวงศ์ Psychodidae อันดับ Diptera ซึ่งเป็นแมลงที่มีความสำคัญทางการแพทย์ เพราะเป็นพาหะนำโรคลิชมาเนีย ทั้งในมนุษย์และสัตว์ ในประเทศไทยมีรายงานการพบโรคลิชมาเนียและโรคทริพพาโนโซมในมนุษย์ แต่ข้อมูลของแมลงพาหะนำโรค ยังมีอยู่อย่างจำกัด งานวิจัยนี้ จึงได้ทำการศึกษาความชุกของเชื้อลิชมาเนียและเชื้อทริพพาโนโซม และความสัมพันธ์ของแมลงพาหะนำโรค ในพื้นที่ที่เป็นแหล่งระบาดของโรคลิชมาเนีย (จังหวัดสงขลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดเชียงราย) และพื้นที่ที่ไม่ใช่แหล่งระบาดของโรคลิชมาเนีย (จังหวัดชุมพร) จำนวนทั้งหมด 500 ตัวอย่าง แบ่งออกเป็นตัวเมีย 276 ตัวอย่าง และตัวผู้ 224 ตัวอย่าง ทำการตรวจหาเชื้อลิชมาเนีย และเชื้อทริพพาโนโซม โดยใช้ตำแหน่งของยีน ITS1 และ SSU rRNA ตามลำดับ และระบุชนิดของริ้นฝอยทรายที่ตรวจพบเชื้อ ด้วยเทคนิคทางอณูชีววิทยาโดยใช้ตำแหน่งของยีน COI และ CytB ผลตรวจหาเชื้อลิชมาเนีย และทริพพาโนโซมในริ้นฝอยทราย พบว่า ริ้นฝอยทรายจากจังหวัดสงขลาจำนวน 180 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อ L. martiniquensis 2 ตัวอย่าง (1.1%) และพบเชื้อ Trypanosoma sp. 4 ตัวอย่าง (2.8%) ในริ้นฝอยทราย Se. khawi ซึ่งในจำนวนนี้มีการตรวจพบ Co-infection ของเชื้อ L. martiniquensis และ Trypanosoma sp. ในริ้นฝอยทราย Se. khawi 1 ตัวอย่างด้วย ริ้นฝอยทรายจากจังหวัดพัทลุง จำนวน 136 ตัวอย่าง ตรวจพบ Trypanosoma sp. 2 ตัวอย่าง (1.5%) ในริ้นฝอยทราย Se. khawi และ Se. indica ริ้นฝอยทรายจากจังหวัดเชียงราย 61 ตัวอย่าง ตรวจพบเชื้อ Trypanosoma noyesi 1 …


ประสบการณ์การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยอาหรับ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง, ไอริณ กรองไชย Jan 2018

ประสบการณ์การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยอาหรับ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง, ไอริณ กรองไชย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ให้การดูแลผู้ป่วยอาหรับ โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฎการณ์วิทยาการตีความตาม ผู้ให้ข้อมูลคือ พยาบาลวิชาชีพที่มีประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยอาหรับตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป จำนวน 12 รายที่ยินดีเข้าร่วมการวิจัยครั้งนี้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและการบันทึกเทป ร่วมกับการบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ และวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen ผลการศึกษาแบ่งออกเป็น 7 ประเด็นหลักดังนี้ 1.เหตุผลการเลือกทำงานที่หอผู้ป่วยอาหรับ ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) รุ่นพี่แนะนำทำให้เกิดสนใจ 1.2) เป็นความท้าทายที่จะได้พัฒนาภาษา และ 1.3) สนใจดูแลผู้ป่วยอาหรับ เพราะเป็นมุสลิมเหมือนกัน 2. เริ่มทำงานใหม่ๆ ยังต้องปรับตัวปรับใจ ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) ตื่นเต้นตกใจยังไม่เคยดูแลผู้ป่วยอาหรับมาก่อน และ 2.2) กังวลกับการใช้ภาษาในการสื่อสารกับผู้ป่วย 3. พัฒนาตนเองให้มีความพร้อมในการสื่อสารภาษาอาหรับ ประกอบด้วย 2 ประเด็น ได้แก่ 3.1) เข้าอบรมภาษาอาหรับเบื้องต้นที่โรงพยาบาลจัดให้ และ 3.2) เรียนรู้ ฝึกฝนการใช้ภาษาด้วยตนเอง 4. ศึกษาวัฒนธรรมทำให้เข้าถึงผู้ป่วยด้วยความเข้าใจ ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ 4.1) ชาวอาหรับอารมณ์ร้อน พูดเสียงดัง 4.2) ผู้ชายมีอำนาจตัดสินใจยินยอมการรักษา 4.3) มีน้ำใจแบ่งปันอาหารให้พยาบาล 4.4) คาดหวังผลการรักษา แต่ไม่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตาม และ 4.5) นำความเชื่อด้านสุขภาพของตนมาใช้ร่วมกับการรักษาของโรงพยาบาล 5. ลักษณะเฉพาะในการดูแลผู้ป่วยอาหรับ ประกอบด้วย 5 ประเด็น ได้แก่ 5.1) ตรวจสอบหลักฐานสิทธิในการรักษาเพื่อเบิกจ่ายกับสถานทูต 5.2) งดกิจกรรมหลายอย่าง หากผู้ป่วยถือศีลอด 5.3) อธิบายแผนการรักษาต้องเน้นย้ำ พูดซ้ำๆ หลายครั้ง 5.4) เตรียมความพร้อมผู้ป่วยหญิงก่อนแพทย์เข้าเยี่ยม และ 5.5) การพยาบาลต้องปรับเปลี่ยนให้เข้ากับชีวิตประจำวันของผู้ป่วย 6. ความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ หากไม่ป้องกันหรือจัดการแก้ไข ประกอบด้วย 3 …


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ฐิติพร ถนอมบุญ Jan 2018

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, ฐิติพร ถนอมบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะ และกำหนดเกณฑ์ตัดสินผลการประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมิน มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์และวิเคราะห์ความสอดคล้องขององค์ประกอบและรายการสมรรถนะ โดยการสนทนากลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญด้านบริหารและการปฏิบัติการพยาบาลในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 10 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างแบบประเมิน โดยนำรายการพฤติกรรมมาสร้างเกณฑ์การประเมินระดับสมรรถนะด้วยเกณฑ์แบบรูบริค (Rubric) 5 ระดับ วิเคราะห์ความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน วิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมินด้านความคงที่โดยประเมินพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 5 คน ประเมินโดยพยาบาลหัวหน้าหอ 1 คน และ พยาบาลที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารและปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 5 คน และหาค่าความสอดคล้องภายใน โดยนำแบบประเมินไปใช้กับประชากร คือ พยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 63 คน ระยะที่ 2 การกำหนดเกณฑ์ตัดสินผลการประเมินสมรรถนะ โดยนำผลการประเมินที่ได้มากำหนดคะแนนจุดตัด โดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารและการปฏิบัติการพยาบาลด้านงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน จำนวน 10 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน ประกอบด้วย 7 สมรรถนะ ข้อรายการสมรรถนะ 57 ข้อ ดังนี้ ด้านการคัดแยกอาการ (จำนวน 9 ข้อ) ด้านการฟื้นคืนชีพขั้นสูง (จำนวน 4 ข้อ) ด้านการปฏิบัติการพยาบาล (จำนวน 20 ข้อ) ด้านนิติเวชในงานอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน (จำนวน 5 ข้อ) ด้านการติดต่อสื่อสาร (จำนวน 5 ข้อ) ด้านการพัฒนาคุณภาพและการจัดการความรู้เชิงประจักษ์ (จำนวน 8 ข้อ) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล (จำนวน 6 ข้อ) 2. การตรวจสอบคุณภาพของแบบประเมิน พบว่า แบบประเมินมีความตรงตามเนื้อหา …


การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน, ฐาปนีย์ ชัยกุหลาบ Jan 2018

การศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน, ฐาปนีย์ ชัยกุหลาบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยายแบบ Delphi technique เพื่อศึกษาตัวชี้วัดผลลัพธ์ การพยาบาลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน ที่เป็นฉันทามติ ของกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน จำนวน 21 คน แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มอาจารย์และนักวิชาการ 2) กลุ่มผู้บริหาร ทางการพยาบาล 3) กลุ่มพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและ 4) กลุ่มแพทย์ เฉพาะทางสาขาโรคหลอดเลือดสมอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเทคนิคเดลฟาย ประกอบด้วย แบบสอบถาม 3 ชุด โดยแบบสอบถามชุดที่ 1 เป็นแบบสัมภาษณ์เพื่อการศึกษาหาตัวชี้วัดผลลัพธ์ แบบสอบถามชุดที่ 2 เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามในชุดที่ 1 นำมาสร้างแบบสอบถามมาตราประมาณค่า ให้กับผู้เชี่ยวชาญได้ให้ลำดับความสำคัญของแต่ละตัวชี้วัด และแบบสอบถามชุดที่ 3 เป็นแบบสอบถามที่แสดงข้อมูลป้อนกลับ ได้แก่ ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ของแต่ละข้อรายการของตัวชี้วัดผลลัพธ์ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญได้ยืนยันคำตอบหรือเปลี่ยนแปลงคำตอบ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเห็นสอดคล้องกันว่า ตัวชี้วัดผลลัพธ์การพยาบาลผู้ป่วย โรคหลอดเลือดสมองตีบระยะเฉียบพลันในโรงพยาบาลชุมชน ประกอบด้วย 7 ด้าน 41 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) ด้านความปลอดภัยของระบบประสาทและสมอง 6 ตัวชี้วัด 2) ด้านการเข้าถึงและประสิทธิภาพ ของการได้รับยาละลายลิ่มเลือด 5 ตัวชี้วัด 3) ด้านการประสานงานดูแลส่งต่อ 7 ตัวชี้วัด 4) ด้านความพึงพอใจของผู้ป่วยและญาติในการเข้ารับบริการ 6 ตัวชี้วัด 5) ด้านการตอบสนอง ด้านจิตใจของผู้ป่วยและญาติ 3 ตัวชี้วัด 6) ด้านการวางแผนจำหน่าย 8 ตัวชี้วัด และ 7) ด้านการดูแลต่อเนื่อง 6 ตัวชี้วัด โดยตัวชี้วัดผลลัพธ์มีค่าระดับความสำคัญอยู่ในระดับมาก ถึงมากที่สุด(Med = 4.18 - 4.93, IR =0.59 - 1.29)


ประสบการณ์การดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มซ้ำของผู้สูงอายุ, กนกพร สมตระกูล Jan 2018

ประสบการณ์การดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มซ้ำของผู้สูงอายุ, กนกพร สมตระกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มซ้ำของผู้สูงอายุ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความของ Martin Heidegger (1962) ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้สูงอายุที่มีการหกล้มและไม่เกิดการหกล้มซ้ำภายใน 1 ปี นับจากวันที่หกล้มถึงวันที่พบกับผู้วิจัย คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูล โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและบันทึกเทป ข้อมูลอิ่มตัวจากผู้ให้ข้อมูล จำนวน 12 ราย นำข้อมูลที่ได้มาถอดความแบบคำต่อคำ วิเคราะห์ข้อมูลตามวิธีการของ Benner (1985) ผลการวิจัย พบว่า ประสบการณ์การดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มซ้ำของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 5 ประเด็นหลัก คือ 1) เหตุที่หกล้มเป็นเพราะประมาทหรือถึงคราวเคราะห์ คือประมาทที่ไม่ทันระวังตัวเองจึงหกล้ม แต่หากระวังตัวดีแล้วก็ถือว่าเป็นคราวเคราะห์ 2) หลากหลายความรู้สึก ทำให้เข็ดไม่อยากล้มซ้ำ คือ รู้สึกตกใจ สับสนมึนงง ชา เจ็บปวด กังวลและกลัวว่าจะทำอะไรเองไม่ได้อีก 3) ล้มแล้วเร่งจัดการ ประเมินอาการและดูแลรักษา เริ่มจากประเมินการบาดเจ็บและดูแลรักษาตัวเองก่อนตัดสินใจรักษา 4) ป้องกันไม่ให้หกล้มซ้ำ ต้องมีสติกำกับทุกย่างก้าว ต้องระวังพร้อมปรับตัว คือ ต้องใช้สติมากำกับการกระทำ โดยเฉพาะการเดินให้เอาใจไปอยู่ที่เท้า ต้องระมัดระวังตัวเองในทุกอิริยาบถและต้องปรับตัวด้วยการลดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการหกล้ม และ 5) ครอบครัวมีส่วนร่วมช่วยป้องกันล้ม ด้วยการแสดงออกถึงความห่วงใยใส่ใจ ติดตามดูแลและปรับสภาพแวดล้อมที่บ้านเพื่อลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม จากผลการวิจัยนี้ นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานให้บุคลากรทางสุขภาพส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สูงอายุและครอบครัวมีความตระหนักรู้และเข้าใจถึงวิธีดูแลตนเองในการป้องกันการหกล้มซ้ำ เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมการดูแลตนเองที่ยั่งยืนและไม่เกิดการหกล้มซ้ำ


ปัจจัยที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย, กาญจนา กลิ่นคล้ายกัน Jan 2018

ปัจจัยที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย, กาญจนา กลิ่นคล้ายกัน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อย ได้แก่ เพศ ระดับการศึกษา อายุ ความปวด การรับรู้ความเจ็บป่วย ความวิตกกังวล และแรงสนับสนุนทางสังคม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยบาดเจ็บสมองระดับเล็กน้อยอายุ 18–59 ปีที่เกิดกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบ กระเทือน ทั้งเพศชายและเพศหญิง ที่มาติดตามการรักษา ณ หน่วยตรวจโรคประสาทศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และโรงพยาบาลตำรวจ จำนวน 143 ราย ที่ได้มาจากการคัดเลือกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามประวัติการบาดเจ็บสมอง แบบประเมินกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน แบบวัดความปวดชนิดที่เป็นตัวเลข แบบวัดการรับรู้ความเจ็บป่วย แบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ และแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน หาค่าความเที่ยงของแบบประเมินกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือน แบบวัดการรับรู้ความเจ็บป่วย แบบวัดความวิตกกังวลขณะเผชิญ และแบบสอบถามแรงสนับสนุนทางสังคม เท่ากับ .85, .92, .92 และ .91 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที สถิติสหสัมพันธ์พอยท์ไบซีเรียล สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ สเปียร์แมน และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1. กลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนในผู้ป่วยบาดเจ็บสมองพบมากที่สุด คือ 9-12 อาการ ร้อยละ 36.4 2. เพศมีความสัมพันธ์กับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rpb=.45) เพศชายและเพศหญิงมีกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. อายุ ความปวด การรับรู้ความเจ็บป่วย ความวิตกกังวล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r=.39, r=.39,r=.76, r=.73 ตามลำดับ) 4. ระดับการศึกษา แรงสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางลบกับกลุ่มอาการภายหลังสมองได้รับการกระทบกระเทือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (rs=-.21, r=-.29 ตามลำดับ)


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง, ณัฐกานต์ หงส์มาลัย Jan 2018

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง, ณัฐกานต์ หงส์มาลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ (Correlation research) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเหนื่อยล้า ความปวด อาการนอนไม่หลับ ภาวะเครียด และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับทุกระยะและรักษาด้วยเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง เข้ารับการรักษาแผนกผู้ป่วยใน ตึกศัลยกรรมและอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 120 คน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบอย่างง่าย ด้วยวิธีการจับฉลากแบบไม่แทนที่ เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยคือ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความเหนื่อยล้า แบบประเมินอาการปวด แบบประเมินการรับรู้ความเครียด แบบประเมินอาการนอนไม่หลับ แบบประเมินคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งตับ ผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน หาความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ .96, .78, .95 และ .87 ตามลำดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้สูงอายุโรคมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดงมีคุณภาพชีวิตโดยรวมอยู่ในระดับค่อนข้างสูง (Mean = 122.47, S.D. = 18.76) 2. ความเหนื่อยล้า ความปวด อาการนอนไม่หลับ ภาวะเครียด มีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุโรคมะเร็งตับที่ได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัดทางหลอดเลือดแดง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = - 0.444, - 0.540, - 0.579, - 0.466 ตามลำดับ)


การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, ปาณิสรา สะอาดไหว้ Jan 2018

การพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า, ปาณิสรา สะอาดไหว้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบประเมินสมรรถนะ และกำหนดเกณฑ์ตัดสินผลการประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การสร้างแบบประเมิน มี 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 สังเคราะห์องค์ประกอบและรายการสมรรถนะโดยการสนทนากลุ่มและการประชุมสัมมนาอิงผู้ทรงคุณวุฒิและการตรวจสอบยืนยันจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน ขั้นตอนที่ 2 การสร้างแบบประเมิน นำรายการพฤติกรรมมาสร้างเกณฑ์การประเมินแบบพฤติกรรมกำหนดระดับโดยใช้เกณฑ์ประเมินแบบรูบริค (Rubric) ซึ่งกำหนดเกณฑ์การประเมินไว้ 5 ระดับ วิเคราะห์ความตรงตามเนื้อหาของแบบประเมินโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 7 คน วิเคราะห์คุณภาพของแบบประเมินด้านความคงที่โดยวิสัญญีพยาบาลจำนวน 5 คน โดยให้มีผู้ประเมิน 2 คน ทำการประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าโดยเป็นคนๆเดียวกัน จำนวน 1 คน และผู้ที่ถูกประเมินในครั้งนี้ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง และหาค่าความสอดคล้องภายใน โดยนำแบบประเมินไปใช้กับประชากร คือ วิสัญญีพยาบาลโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า จำนวน 45 คน ประเมินโดยหัวหน้าสายงาน วิสัญญีพยาบาลเพื่อนร่วมงาน และวิสัญญีพยาบาลประเมินตนเอง ระยะที่ 2 การกำหนดเกณฑ์ตัดสินผลการประเมินสมรรถนะ โดยนำผลการประเมินที่ได้มากำหนดคะแนนจุดตัดโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการพยาบาลวิสัญญี จำนวน 7 คน ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. แบบประเมินสมรรถนะวิสัญญีพยาบาล ประกอบด้วยสมรรถนะ 6 ด้าน ข้อรายการสมรรถนะ 43 ข้อ ดังนี้ 1) การดูแลผู้ป่วยก่อนให้การระงับความรู้สึก จำนวน 7 ข้อ 2) การดูแลผู้ป่วยระหว่างให้การระงับความรู้สึกจำนวน 13 ข้อ 3) ด้านการดูแลผู้ป่วยหลังให้การระงับความรู้สึก จำนวน 8 ข้อ 4) ด้านการใช้/บำรุงรักษาอุปกรณ์ทางการแพทย์และเทคโนโลยี จำนวน 5 ข้อ 5) ด้านการสื่อสารประสานงาน จำนวน 5 ข้อ และ 6) ด้านการพัฒนาคุณภาพ จำนวน 5 ข้อ 2. …


การศึกษาบทบาทวิสัญญีพยาบาล, ทัตพิชา อุปศรี Jan 2018

การศึกษาบทบาทวิสัญญีพยาบาล, ทัตพิชา อุปศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาบทบาทวิสัญญีพยาบาล โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญจำนวน 20 คน ประกอบด้วย วิสัญญีแพทย์จากราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย จำนวน 4 คน คณะกรรมการชมรมวิสัญญีพยาบาลแห่งประเทศไทย จำนวน 4 คน คณะอนุกรรมการฝึกอบรมและสอบความรู้ความชำนาญเฉพาะทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์เพื่อรับวุฒิบัตรในสาขาการพยาบาลด้านการให้ยาระงับความรู้สึก จำนวน 3 คน หัวหน้าวิสัญญีพยาบาล จำนวน 4 คน และวิสัญญีพยาบาล จำนวน 5 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับบทบาทวิสัญญีพยาบาล ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าแนวโน้มความสำคัญของบทบาทวิสัญญีพยาบาล และขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณหาค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และส่งแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมยืนยันคำตอบ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์อีกครั้ง เพื่อสรุปเป็นบทบาทวิสัญญีพยาบาล ผลการวิจัย พบว่า บทบาทวิสัญญีพยาบาล ประกอบด้วย 4 บทบาท ดังนี้ 1) บทบาทด้านผู้ปฏิบัติการพยาบาลเฉพาะทางวิสัญญี จำนวน 19 ข้อ 2) บทบาทด้านผู้จัดการความปลอดภัย และบริหารความเสี่ยงทางวิสัญญี จำนวน 6 ข้อ 3) บทบาทด้านผู้ให้ความรู้และคำปรึกษา จำนวน 5 ข้อ และ 4) บทบาทด้านผู้พัฒนาและควบคุมคุณภาพบริการวิสัญญี จำนวน 7 ข้อ


ผลของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน, ธนิษฐา พิพิธวิทยา Jan 2018

ผลของการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน, ธนิษฐา พิพิธวิทยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ก่อนและหลังได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว และเพื่อเปรียบเทียบภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยจิตเภทที่มารับบริการแบบผู้ป่วยนอก แผนกจิตเวช โรงพยาบาลอ่างทอง และผู้ดูแลหลักที่ดูแลผู้ป่วยจิตเภท จำนวน 40 ครอบครัว แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 20 ครอบครัว และกลุ่มควบคุม 20 ครอบครัว โดยการจับคู่ด้วย ระยะเวลาการเจ็บป่วย และระดับคะแนนภาวะซึมเศร้าของเบค กลุ่มทดลองได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1)การบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัว 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินภาวะซึมเศร้า 4) แบบประเมินความคิดอัตโนมัติในด้านลบ และ 5) แบบวัดทักษะการดูแลผู้ป่วยจิตเภท เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงของเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือชุดที่ 3, 4 และ 5 มีค่าความเที่ยงอัลฟาของครอนบาค เท่ากับ.82, .95 และ .93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ภายหลังได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่ำกว่าก่อนได้รับการบำบัดฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยจิตเภทในชุมชน ที่ได้รับการบำบัดทางความคิดและพฤติกรรมร่วมกับการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ, พัชรี ราษีกฤษ Jan 2018

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ, พัชรี ราษีกฤษ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัวต่อกิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจที่ได้รับการขยายหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุโรคหลอดเลือดหัวใจอายุ 60 ปีขึ้นไป ได้รับการรักษาด้วยการขยายหลอดเลือดหัวใจเป็นครั้งแรก ที่มารับบริการที่หอผู้ป่วยวิกฤตโรคหัวใจ โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า และหอผู้ป่วยหลังทำหัตถการหัวใจ โรงพยาบาลรามาธิบดี จำนวน 44 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 22 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัว กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ โดยจัดให้ทั้งสองกลุ่มมีความเท่าเทียมกันในเรื่องเพศ อายุ ระดับการศึกษา และตำแหน่งที่ใส่สายสวนขยายหลอดเลือดหัวใจ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง คือ โปรแกรมการส่งเสริมสมรรถนะแห่งตนร่วมกับการสนับสนุนของครอบครัว เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ข้อมูลส่วนบุคคล และแบบสัมภาษณ์กิจกรรมทางกายในผู้สูงอายุ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยกิจกรรมทางกายของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย, ภรณ์ทิพย์ คุณพูล Jan 2018

การศึกษาภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย, ภรณ์ทิพย์ คุณพูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารทางการพยาบาล จำนวน 3 คน หัวหน้าหอผู้ป่วย จำนวน 5 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการวางแผนทรัพยากรมนุษย์ จำนวน 1 คน นักวิชาการ/อาจารย์บริหารพยาบาล จำนวน 4 คน และพยาบาลเจนวาย จำนวน 6 คน วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 ขั้นตอน โดยขั้นตอนที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย ขั้นตอนที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์สาระสำคัญแล้วนำมาสร้างแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญของรายด้านย่อยของภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวายและนำมาคำนวณค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ขั้นตอนที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 2 จัดทำเป็นแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันคำตอบและนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำของหัวหน้าหอผู้ป่วยในการบริหารการพยาบาลกลุ่มเจนวาย ประกอบด้วย 8 ด้าน และมีข้อรายการย่อย จำนวน 78 ข้อ ได้แก่ 1) ด้านคุณลักษณะของผู้นำ จำนวน 21 ข้อรายการ 2) ด้านวิสัยทัศน์ จำนวน 8 ข้อรายการ 3) ด้านการเสริมแรงบันดาลใจ จำนวน 12 ข้อรายการ 4) ด้านการบริการ จำนวน 6 ข้อรายการ 5) ด้านการพัฒนา จำนวน 11 ข้อรายการ 6) ด้านการบริหารความขัดแย้ง จำนวน 4 ข้อรายการ 7) ด้านการนิเทศ จำนวน 7 ข้อรายการ และ 8) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จำนวน 9 ข้อรายการ โดยองค์ประกอบทั้ง 8 ด้าน พบว่ามีข้อรายการย่อย จำนวน 76 ข้อรายการ ที่มีความสำคัญอยู่ในระดับมากที่สุด …


การศึกษาลักษณะการจัดบริการพยาบาลที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ, ปภาวรินท์ รัฐวิชญ์โสภณ Jan 2018

การศึกษาลักษณะการจัดบริการพยาบาลที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ, ปภาวรินท์ รัฐวิชญ์โสภณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการจัดบริการพยาบาลที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 19 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงพยาบาลที่รับผิดชอบกำหนดนโยบายการบริหารในโรงพยาบาล จำนวน 2 คน ผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล จำนวน 5 คน ผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นและระดับกลาง จำนวน 5 คน พยาบาลวิชาชีพระดับปฏิบัติการ จำนวน 5 คน และสถาปนิกที่ทำงานในบริษัทหรือองค์การที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ จำนวน 2 คน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับลักษณะการจัดบริการพยาบาลที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุรอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับความสำคัญแต่ละข้อรายการ และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และส่งแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญกลุ่มเดิมยืนยันคำตอบ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์อีกครั้ง เพื่อสรุปผลการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า ลักษณะการจัดบริการพยาบาลที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการจัดบริการผู้สูงอายุ จำนวน 24 ข้อ 2) ด้านการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุ จำนวน 22 ข้อ และ 3) ด้านพัฒนาคุณภาพการบริการผู้สูงอายุ จำนวน 17 ข้อ


ประสบการณ์การเป็นพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์, รุ่งนภา สุดใจ Jan 2018

ประสบการณ์การเป็นพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์, รุ่งนภา สุดใจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์การเป็นพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ของพยาบาลวิชาชีพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาของ Heidegger โดยผู้ให้ข้อมูลเป็นพยาบาลวิชาชีพที่เป็นผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ จำนวน 10 คน โดยการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต และเอกสารต่างๆข้อมูลทั้งหมดนำมาวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen ผลการศึกษาประสบการณ์การเป็นพยาบาลผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ สามารถแบ่งเป็น 5 ประเด็นหลักและประเด็นย่อยดังนี้ 1. เหตุผลที่เลือกเป็นผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) ต้องการรายได้เสริมเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในครอบครัว 1.2) เติมเต็มช่องว่างการให้บริการสุขภาพแก่ชุมชน1.3) อยากมีเวลาดูแลครอบครัว 1.4) มีอิสระในการทำงาน และ 1.5) เป็นงานที่รองรับให้มีรายได้หลังเกษียณจากงานราชการ 2. เตรียมพร้อมสู่การเป็นผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ประกอบด้วย 7 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) สอบถามข้อมูลการเปิดสถานพยาบาลจากแหล่งข้อมูล 2.2) เงินทุนเตรียมให้พร้อม 2.3) หาทำเลที่ตั้งสถานพยาบาลในแหล่งชุมชน 2.4) เตรียมอุปกรณ์ ยา และเวชภัณฑ์ ในสถานพยาบาล 2.5) เอกสารหลักฐานสำคัญ ต้องเตรียมให้พร้อม 2.6) เตรียมพร้อมรับการตรวจประเมินสถานพยาบาล และ 2.7) ประชาสัมพันธ์สถานพยาบาล 3. ให้บริการตามขอบเขตวิชาชีพ ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ 3.1) รักษาโรคเบื้องต้น 3.2) วางแผนครอบครัว 3.3) การตรวจและรับฝากครรภ์ และ 3.4) การให้ภูมิคุ้มกันโรค 4. สิ่งที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอด ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ 4.1) บริการดี เข้าถึงและเข้าใจความต้องการของผู้ป่วย 4.2) เรียนรู้จากข้อผิดพลาดเป็นโอกาสให้ปรับการบริการ 4.3) เปิดให้บริการตรงเวลา หากติดภารกิจอื่นติดป้ายแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร และ 4.4) พัฒนาองค์ความรู้ให้ทันสมัย 5. สิ่งที่ได้รับจากการเป็นผู้ประกอบการคลินิกการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ประกอบด้วย 2 ประเด็นย่อย ได้แก่ 5.1) ได้บุญ ได้ช่วยเหลือผู้อื่น และ …


ประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลรุ่นอายุแซด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง, ศตวรรษ วงษ์ไทย Jan 2018

ประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลรุ่นอายุแซด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง, ศตวรรษ วงษ์ไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อบรรยายประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลรุ่นอายุแซด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพแบบปรากฏการณ์วิทยาการตีความ ตามแนวคิดของ Heidegger ผู้ให้ข้อมูล คือ พยาบาลวิชาชีพที่มีอายุไม่เกิน 27 ปี และมีประสบการณ์การปฏิบัติงานพยาบาลเต็มเวลา อย่างน้อย 3 ปี จำนวน 12 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การบันทึกเทป การสังเกต และการบันทึกภาคสนาม นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen (1990) ผลการศึกษาประสบการณ์การปฏิบัติงานของพยาบาลรุ่นอายุแซด โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง สามารถแบ่งเป็นประเด็นหลัก และประเด็นย่อย ดังต่อไปนี้ 1. เริ่มทำงานใหม่ๆ เผชิญกับความเครียดหลายอย่างในที่ทำงาน ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) เครียดกับสถานที่และอุปกรณ์การแพทย์ที่มีมากมาย 1.2) เครียดกับระบบการทำงาน และ 1.3) เครียดกับการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน 2. เรียนรู้งานของพยาบาลจบใหม่รุ่นอายุแซด ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย ได้แก่ 2.1) เรียนรู้จากพยาบาลพี่เลี้ยงและพยาบาลรุ่นพี่ที่ทันสมัย และเปิดใจกว้างยอมรับ 2.2) ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากแหล่งที่น่าเชื่อถือ 2.3) สอบถามจากผู้รู้ที่เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง 2.4) หาเทคนิคช่วยจำ โดยนำ ไอทีมาใช้ และ 2.5) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในไลน์กลุ่ม 3. บริหารจัดการงาน ต้องเรียนรู้พื้นฐานของผู้ร่วมงานแต่ละวัย ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย ได้แก่3.1) ทำงานกับแพทย์ต้องเข้าใจว่าแพทย์แต่ละวัยเข้าถึงได้ต่างกัน 3.2) ทำงานกับหัวหน้าต้องปรับตัวเข้าหา เพื่อปรึกษาปัญหาการงาน 3.3) เรียนรู้และปรับตัวเข้าหาพยาบาลระดับปฏิบัติการหลากหลายรุ่น 3.4) ผู้ช่วยพยาบาลต่างวัย ต้องจัดการให้ทำงานตามที่มอบหมาย และ 3.5) แม่บ้านหอผู้ป่วยชอบโวยวาย ต้องใช้เทคนิคการเจรจา 4. พัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย ได้แก่ 4.1) เรียนรู้จากความผิดพลาด 4.2) อ่านหนังสือตำราและวารสาร 4.3) เข้ารับการอบรมในการประชุมวิชาการ และ 4.4) มีส่วนร่วมในการทำนวัตกรรม …


การพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง โรงพยาบาลตติยภูมิ, วรรนิษา มักมะยม Jan 2018

การพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง โรงพยาบาลตติยภูมิ, วรรนิษา มักมะยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูงโรงพยาบาลตติยภูมิ โดยใช้เทคนิค EDFR ผู้ให้ข้อมูลคือผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาบุคลากร จำนวน 19 คน วิธีการดำเนินการวิจัยประกอบด้วย 3 รอบ คือ รอบที่ 1 สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง รอบที่ 2 นำข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์มาวิเคราะห์เนื้อหาแล้วสร้างเป็นแบบสอบถามเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญประมาณค่าความน่าจะเป็นของการพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง และรอบที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากรอบที่ 2 มาคำนวณค่ามัธยฐาน ค่าพิสัยระหว่าง ควอไทล์ และจัดทำแบบสอบถามให้ผู้เชี่ยวชาญยืนยันความคิดเห็น เพื่อสรุปการพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง โรงพยาบาลตติยภูมิ ผลการวิจัย พบว่า การพัฒนาพยาบาลให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง โรงพยาบาลตติยภูมิ ประกอบด้วย 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการบริหารองค์กร จำนวน 8 ข้อ ได้แก่ กําหนดโครงสร้าง บทบาทหน้าที่และเส้นทางความก้าวหน้าของพยาบาลวิชาชีพที่มีศักยภาพสูงที่ชัดเจนและเป็นรูปธรรม กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพให้เป็นบุคลากรที่มีศักยภาพสูง เป็นต้น 2) ด้านการบริหารบุคลากร จำนวน 15 ข้อ ได้แก่ จัดทำแผนพัฒนาบุคลากรรายบุคคลให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของพยาบาลวิชาชีพที่ต้องการพัฒนาความเชี่ยวชาญในสาขาที่ปฏิบัติงาน การให้ข้อมูลย้อนกลับแก่พยาบาลวิชาชีพในเชิงสร้างสรรค์ เป็นต้น 3) ด้านการพัฒนาบุคลากร จำนวน 5 ข้อ ได้แก่ จัดทำหลักสูตรการฝึกอบรมหรือกิจกรรมที่ช่วยพัฒนาสมรรถนะสำหรับพยาบาลวิชาชีพที่มีศักยภาพสูง สร้างวัฒนธรรมการสอนงานการปฏิบัติการพยาบาลในคลินิก โดยการพัฒนาพยาบาลวิชาชีพทุกระดับให้มีทักษะการสอนงาน และการสื่อสารทางบวก เป็นต้น


ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดระยะท้ายในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว, รัตติยา เตยศรี Jan 2018

ผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดระยะท้ายในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว, รัตติยา เตยศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจต่อการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดระยะท้ายในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว จำนวน 46 คน ทั้งเพศชายและเพศหญิง อายุระหว่าง 30-59 ปี ที่พักรักษาตัวในหอผู้ป่วยศัลยกรรมประสาท สถาบันประสาทวิทยา โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 23 คน จับคู่กลุ่มตัวอย่างให้มีลักษณะคล้ายคลึงกันโดยอายุ ระดับความปวดหลังผ่าตัด และจำนวนปล้องกระดูกสันหลังที่ทำผ่าตัด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจตามแนวคิดการเสริมสร้างพลังอำนาจของ Gibson เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ โปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล สมุดบันทึกการปฏิบัติตน และแบบประเมินการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังระดับเอว มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ คะแนนเฉลี่ยการฟื้นสภาพหลังผ่าตัดระยะท้ายของกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมเสริมสร้างพลังอำนาจสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาล:ประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐแห่งหนึ่ง, สุรีพร แซ่หนึง Jan 2018

การบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาล:ประสบการณ์ของหัวหน้าหอผู้ป่วยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐแห่งหนึ่ง, สุรีพร แซ่หนึง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อบรรยายประสบการณ์ในการบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาลของหัวหน้าหอผู้ป่วยของรัฐแห่งหนึ่ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปรากฎการณ์วิทยาตีการความ ตามแนวคิดของ Martin Heidegger ผู้ให้ข้อมูลเป็นหัวหน้าหอผู้ป่วยที่มีประสบการณ์การบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซดในหอผู้ป่วยไม่ต่ำกว่า 3 ปี จำนวน 12 คน ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์เนื้อหาตามวิธีการของ van Manen (1990) ผลการศึกษา สามารถแบ่งเป็น 5 ประเด็นหลักและประเด็นย่อย ดังนี้ 1. ทำความเข้าใจเพื่อให้เข้าถึงพยาบาลรุ่นใหม่ในทีมการพยาบาล ประกอบด้วย 3 ประเด็นย่อย ได้แก่ 1.1) ยอมรับในความแตกต่างของแต่ละบุคคล 1.2) อธิบายข้อข้องใจ โดยไม่ใช้วิธีการบังคับ และ 1.3) ใช้คำพูดเชิงบวกในการบอกถึงความผิดพลาด 2. จัดการกับการสื่อสารให้เข้าถึงพยาบาลรุ่นใหม่ ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 2.1) ใช้หลากหลายช่องทางการสื่อสาร 2.2) สื่อสารให้กระชับ ชัดเจน มีเหตุผลและเป็นรูปธรรม 2.3) เปิดช่องทางให้ติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา 2.4) จัดลำดับความสำคัญของประเด็นที่ต้องการสื่อสาร และ 2.5) ตักเตือนหากใช้สื่อสังคมออนไลน์ไม่เหมาะสม 3. แก้ปัญหาการทำงานของพยาบาลรุ่นอายุแซด ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 3.1) สร้างข้อตกลงร่วมกันผ่านการประชุมหน่วยงาน 3.2) ควบคุมและกำกับดูแลให้ทำงานอย่างมืออาชีพ 3.3) แก้ปัญหาทำงานไว แต่ไม่รอบคอบ ไม่ตรงต่อเวลา 3.4) มอบหมายพยาบาลรุ่นพี่ตรวจสอบการทำงานพยาบาลรุ่นน้อง และ 3.5) ปลูกฝังให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว 4. พัฒนาการทำงานของพยาบาลรุ่นอายุแซดในทีมการพยาบาล ประกอบด้วย 5 ประเด็นย่อย 4.1) มอบหมายให้ฝึกงานกับพยาบาลพี่เลี้ยง 4.2) ทำงานเป็นตัวจริง แต่ยังทิ้งไม่ได้ ต้องให้รุ่นพี่ช่วยดูแล 4.3 ฝึกเป็นหัวหน้าเวร มีปัญหาอะไรปรึกษาหัวหน้าได้ตลอดเวลา 4.4) มอบหมายหน้าที่อื่นให้ เพื่อจะได้เพิ่มพูนทักษะในการทำงาน และ 4.5) เปิดโอกาสให้แสดงความสามารถ ทำโครงการนวัตกรรมใหม่ๆ 5. การลดช่องว่างระหว่างวัยเพื่อบริหารพยาบาลรุ่นอายุแซด ประกอบด้วย 4 ประเด็นย่อย 5.1) ปรับตัวให้เหมือนเป็นคนรุ่นเดียวกัน 5.2) …


ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม, มะลิวรรณ กระโพธิ์ Jan 2018

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม, มะลิวรรณ กระโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับความตายของผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลาม ได้แก่ ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย ความเชื่อทางศาสนาพุทธเกี่ยวกับความตาย ภาระที่ค้างคา การรับรู้ความสามารถของตนเอง และสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัว กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามวัยผู้ใหญ่ที่เข้ารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรคมะเร็งของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันมะเร็งแห่งชาติ จำนวน 212 ราย คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวกตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย แบบสอบถามความเชื่อทางศาสนาเกี่ยวกับความตาย แบบสอบถามภาระที่ค้างคา แบบสอบถามการรับรู้ในความสามารถของตนเอง แบบสอบถามสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัว และแบบสอบถามการยอมรับความตาย ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และตรวจสอบความเที่ยงได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ .86, .72, .74, .74, .89 และ .70 ตามลำดับ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงบรรยาย และค่าสัมประสิทธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ คือ 1. ผู้ป่วยมะเร็งระยะลุกลามมีการยอมรับความตายในระดับสูง ค่าเฉลี่ยเท่ากับ31.37 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 3.47 2. ความวิตกกังวลเกี่ยวกับความตาย ภาระที่ค้างคามีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลางกับการยอมรับความตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = -.61, r= -.39) ตามลำดับ 3. ความเชื่อทางศาสนาพุทธเกี่ยวกับความตายและการรับรู้ความสามารถของตนเองมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับการยอมรับความตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .41, r =.38) ตามลำดับ และสัมพันธภาพของบุคคลในครอบครัวมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับการยอมรับความตายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r =.20)


ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะ โดยการให้ข้อมูล และการสร้างแรงจูงใจต่ออาการหายใจลำบากของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, อุทัยชนินทร์ จันทร์แก้ว Jan 2018

ผลของโปรแกรมการพัฒนาทักษะ โดยการให้ข้อมูล และการสร้างแรงจูงใจต่ออาการหายใจลำบากของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, อุทัยชนินทร์ จันทร์แก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบอาการหายใจลำบากในผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการพัฒนาทักษะ โดยการให้ข้อมูล และการสร้างแรงจูงใจ ระหวางกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้สูงอายุชายและหญิง ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง อายุ 60 ปีขึ้นไป ที่เข้ารับการรักษาแผนกคลินิกพิเศษ โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 44 คน มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 22 คน และกลุ่มทดลอง 22 คน โดยกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ และกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพัฒนาทักษะ โดยการให้ข้อมูล และการสร้างแรงจูงใจ ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือตามแนวคิดของรูปแบบการให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างแรงจูงใจ และการพัฒนาทักษะ (Information Motivation Behavioral Skill: IMB Model) ของ Fisher & Harman (2003) เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินอาการหายใจลำบากของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง พัฒนาเครื่องมือโดยผู้วิจัย เครื่องมือได้ผ่านการตรวจสอบความเหมาะสมและความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน นำมาวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบง่าย(Correlation coefficient) มีค่า = 0.9 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบค่าที 1. อาการหายใจลำบากของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลังได้รับโปรแกรมฯ น้อยกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. อาการหายใจลำบากของผู้สูงอายุโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหลังได้รับโปรแกรมฯไม่แตกต่างจากกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ


ผลของโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ต่อการเสพแอมเฟตามีนของผู้ติดแอมเฟตามีน, วิสุดา มูลมี Jan 2018

ผลของโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ต่อการเสพแอมเฟตามีนของผู้ติดแอมเฟตามีน, วิสุดา มูลมี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ศึกษา 2 กลุ่มแบบวัดซ้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) การเสพแอมเฟตามีนในผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำที่ได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง 2 สัปดาห์ และหลังการทดลอง 4 สัปดาห์ 2) การเสพแอมเฟตามีนในผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์กับกลุ่มที่ได้รับการดูแลตามปกติ ในระยะก่อนการทดลอง หลังการทดลอง/การดูแลตามปกติ 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำจำนวน 40 คน ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนดและเข้ารับการบำบัดรักษาในแผนกผู้ป่วยในบำบัดผู้ติดสุราและสารเสพติด โรงพยาบาลพระศรีมหาโพธิ์ จังหวัดอุบลราชธานี ได้รับการจับคู่ด้วยเพศ และคะแนนความรุนแรงของการเสพติดแอมเฟตามีน แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการบำบัดฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินการเสพแอมเฟตามีน และ 4) แบบวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองต่อการควบคุมการเสพแอมเฟตามีน เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 3 ตรวจสอบความเที่ยงโดยวิธีทดสอบซ้ำพบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .89 และเครื่องมือชุดที่ 4 พบค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบราคเท่ากับ .82 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (Repeated ANOVA) และทดสอบค่าเฉลี่ยด้วยวิธี Planned Comparisons กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ มีการเสพแอมเฟตามีนในระยะหลังการทดลอง 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์ ลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้เสพแอมเฟตามีนซ้ำในกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกควบคุมพฤติกรรมตนเองและการติดตามทางโทรศัพท์ มีการเสพแอมเฟตามีนลดลงกว่ากลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามปกติ ทั้งในระยะหลังการทดลอง/การดูแลตามปกติ 2 สัปดาห์ และ 4 สัปดาห์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักของผู้ป่วยโรคอ้วน, ศิภาพันธ์ ลวสุต Jan 2018

ผลของโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักของผู้ป่วยโรคอ้วน, ศิภาพันธ์ ลวสุต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักของผู้ป่วยโรคอ้วนภายหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง และเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนักของผู้ป่วยโรคอ้วน ระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคอ้วนทั้งเพศชายและหญิง อายุ 18 – 59 ปี ภายหลังได้รับการผ่าตัดลดน้ำหนักที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน จับคู่ด้วยเพศ อายุ และชนิดการผ่าตัด กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแนวคิดทฤษฎีการดูแลตนเองของ Orem ประกอบด้วย 2 ระยะ คือ ระยะการให้ความรู้และการสนับสนุนภายหลังการผ่าตัดขณะอยู่โรงพยาบาล และระยะการให้การสนับสนุนเมื่อกลับบ้าน เก็บรวบรวมข้อมูล 8 สัปดาห์ ด้วยแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองภายหลังการผ่าตัดลดน้ำหนัก มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าครอนบาคเท่ากับ .81 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ป่วยโรคอ้วนภายหลังได้รับการผ่าตัดลดน้ำหนักกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเอง มีพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี (Mean = 4.13) 2. ผู้ป่วยโรคอ้วนภายหลังได้รับการผ่าตัดลดน้ำหนัก กลุ่มที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมการดูแลตนเองมีพฤติกรรมการดูแลตนเอง (Mean = 4.13 ± SD = 0.25) ดีกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ (Mean = 3.68 ± SD = 0.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05