Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Medicine and Health Sciences Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

1988

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Articles 1 - 30 of 31

Full-Text Articles in Medicine and Health Sciences

อัตราการตายและการติดโรคในเป็ดจากการทดลองฉีดเชื้อไวรัสกาฬโรคเป็ดสายพันธุ์ท้องถิ่น, เกรียงศักดิ์ สายธนู, โสมทัต วงศ์สว่าง, สันติ ถุงสุวรรณ Dec 1988

อัตราการตายและการติดโรคในเป็ดจากการทดลองฉีดเชื้อไวรัสกาฬโรคเป็ดสายพันธุ์ท้องถิ่น, เกรียงศักดิ์ สายธนู, โสมทัต วงศ์สว่าง, สันติ ถุงสุวรรณ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการศึกษาอัตราการตายและการติดโรคในเป็ดที่ได้รับการฉีดด้วยไวรัสกาฬโรคเป็ดสายพันธุ์ท้องถิ่นเข้าทางกล้ามเนื้อที่อก พบว่าระยะฟักตัวของโรคจะนาน 4 - 6 วัน อัตรา การตายและการติดโรค 100%


Short Communication The Use Of Oesophageal - Pharyngeal Samples In The Diagnosis Of Food And Mouth Disease, H.A. Westbury, W.J. Doughty, Pornchai Chamnanpood, Suchinta Tangchaitrong, A.J. Forman Dec 1988

Short Communication The Use Of Oesophageal - Pharyngeal Samples In The Diagnosis Of Food And Mouth Disease, H.A. Westbury, W.J. Doughty, Pornchai Chamnanpood, Suchinta Tangchaitrong, A.J. Forman

The Thai Journal of Veterinary Medicine

We examined the use of oesphageal-pharyngeal (0/P) samples for the isolation of Foot and Mouth Disease (FMD) virus in animals from which it was difficult to obtain a conventional epithelial tissue specimen. The virus was detected in 42 (28%) of 150 samples, and only 5 (12%) of the 42 cases had positive results when the samples were tested directly with ELISA. The preferred technique for examination of 0/P samples was thus by culturing representative cell samples. The 150 samples came from 22 cases of the disease, with the virus being detected in 16 cases. In 4 of these 16 cases …


ปรากฎการณ์การดื้อยาของเชื้อ Escherichia Coli ที่แยกจากไก่เนื้อ, พิณทิพย์ น้อมไสว, มาลิน จุลศิริ, อรษา สุตเธียรกุล Dec 1988

ปรากฎการณ์การดื้อยาของเชื้อ Escherichia Coli ที่แยกจากไก่เนื้อ, พิณทิพย์ น้อมไสว, มาลิน จุลศิริ, อรษา สุตเธียรกุล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษากระทำในเชื้อ Escherichia coli ที่แยกจากไก่ฟาร์ม 5 แห่ง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียง ภายหลังวิเคราะห์ดูการดื้อยาของเชื้อเหล่านี้ ต่อยา ampicillin, chloramphenicol, colistin, cotrimoxazole, neomycin และ tetracycline พบว่ามีเชื้อ E. coli ที่แยกจากลูกไก่และไก่กระทงดื้อยาสูงถึง 91.2% (343/376 isolates) และ 97.3% (322/331 isolates) ตามลำดับ ซึ่งส่วนใหญ่จะดื้อยา tetracycline เพื่อเปรียบเทียบผลการศึกษา จึงได้ทำการทดสอบดูปรากฏการณ์ การดื้อของเชื้อ E. coli ที่แยกจากคนทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ผลที่ได้เปิดเผยว่า 43.2% (19/44 isolates) และ 82.1% (55/67 isolates) ของเชื้อดังกล่าวที่แยกจากเด็กและผู้ใหญ่ ตามลำดับดื้อยา และการดื้อต่อ tetracycline ก็พบมากที่สุดเช่นกัน เมื่อนำเชื้อดื้อยาบางตัวอย่างที่สุ่มมาเพื่อตรวจสอบทางน้ำเหลืองวิทยาหาเชื้อที่ อาจก่อให้เกิดโรคทางเดินอาหารของคน ผลปรากฏว่าเชื้อ 200 ตัวอย่างที่เลือกมา ได้พบ 2 ตัวอย่าง (1%) ที่มี serotype 020a 20b:K84 ของกลุ่ม enteropathogenic E. coli (EPEC)


Short Communication The Immunohistochemical Demonstration On Bovine Ocular Squamous Cell Carcinoma, Achariya Sailasuta, Susuma Tateyama, Yoshimasa Okazaki, Dai Nozaka, Ryoji Yamaguchi Dec 1988

Short Communication The Immunohistochemical Demonstration On Bovine Ocular Squamous Cell Carcinoma, Achariya Sailasuta, Susuma Tateyama, Yoshimasa Okazaki, Dai Nozaka, Ryoji Yamaguchi

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


Sarcocystis ในประเทศไทย I. อุบัติการของ Sarcoystis ในโคและกระบือ, มานพ ม่วงใหญ่, ธงชัย เฉลิมชัยกิจ Dec 1988

Sarcocystis ในประเทศไทย I. อุบัติการของ Sarcoystis ในโคและกระบือ, มานพ ม่วงใหญ่, ธงชัย เฉลิมชัยกิจ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การสารวจพยาธิ Sarcocystis ในหลอดอาหารของโคและกระบือจากโรงฆ่าสัตว์ ขององค์การอาหารสำเร็จรูป และโรงฆ่าสัตว์ของบริษัทสหสามัคคีค้าสัตว์ จำกัด เขตพระโขนง รวมทั้ง 2 แห่งเป็นโค 328 ตัว กระบือ 211 ตัว ซึ่งในการตรวจใช้วิธีดูด้วยตาเปล่า ตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอและโดยการย่อย ในโคพบ Sarcocyst เมื่อ ดูด้วยตาเปล่า 2 ตัวอย่าง (0.61%) โดยการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอ 57 ตัวอย่าง (17.38%) จากการย่อย 326 ตัวอย่าง ตัวอย่าง (99.39%) และจากการศึกษาทางจุลพยาธิวิทยาพบ S. cruzi มากกว่า S. hirsuta และ S. hominis ในกระบือพบซีสต์ขนาดใหญ่ (macrocyst) ซึ่งเป็นซีสต์ของ S. fustiformis เมื่อดูด้วยตาเปล่า 81 ตัวอย่าง (38.39%) โดยการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์สเตอริโอพบซีสต์ขนาดเล็ก (microcyst) ซึ่งเป็นซีสต์ของ S. Levinet 77 ตัวอย่าง (36.49%) และตรวจพบโดยการย่อยในทุกตัวอย่าง (100%) จะเห็นได้ว่าการติดพยาธิ Sarcocyst ในประเทศไทยมีอัตราสูงที่สุดทั้งในโคและกระบือ


ผลของการผสมพันุ์ต่อการผลิตกระต่าย Ii. ลักษณะการสืบพันธุ์และการให้ผลผลิตของแม่กระต่าย, จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ, สุวรรณา กิจภากรณ์ Dec 1988

ผลของการผสมพันุ์ต่อการผลิตกระต่าย Ii. ลักษณะการสืบพันธุ์และการให้ผลผลิตของแม่กระต่าย, จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ, สุวรรณา กิจภากรณ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาลักษณะด้านการสืบพันธุ์ และการให้ผลผลิตของแม่กระต่าย 4 กลุ่มพันธุ์คือ นิวซีแลนด์ไวท์ (NZW) กระต่ายพื้นเมืองไทย (N) และกระต่ายลูกผสมระหว่าง พันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์กับพื้นเมืองทั้ง 2 แบบ จำนวนกลุ่มพันธุ์ละ 10 แม่ พบว่าแม่กระต่าย NZW ให้จำนวนลูกเกิดครอกแรกน้อยกว่าแม่พันธุ์ NZWXN และ N แม่พันธุ์ NZW อุ้มท้องนานกว่าแม่พันธุ์ N.80 วัน (P < .05) ให้จำนวนลูกต่อครอก ในครอกแรกน้อยกว่า 2.20 ตัว และน้ำหนักลูกทั้งครอก เมื่อเกิดน้อยกว่าแม่พันธุ์ N 81 กรัม (P < .05) และจากการศึกษาต่อไปถึงการให้ผลผลิตทั้งหมด เมื่อแม่กระต่ายมีอายุ 1 ปี ปรากฏว่า แม่กระต่ายพันธุ์ NZW รับการผสมมาก ครั้งแต่มีอัตราการผสมติดต่ำกว่า (P < .05) แม่กระต่ายอีก 3 กลุ่มพันธุ์ กลุ่มพันธุ์ โดยให้จำนวน ครอกที่ให้ลูกได้เท่ากัน ซึ่งบ่งชี้ถึงปัญหาการผสมติดยากของแม่พันธุ์ NZW เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกระต่ายพันธุ์แท้ด้วยกัน แม่พันธุ์ NZW ต้องรับการผสมมากกว่าแม่พันธุ์ N 1.20 ครั้ง (P < .05) จึงจะให้ลูกได้จำนวนครอกเท่ากัน และมีอัตราการผสมติดน้อยกว่าแม่พันธุ์ N 30.50% (P < .05) ไม่พบความแตกต่างใด ๆ ระหว่างการให้ผลผลิตของแม่กระต่ายลูกผสม 2 แบบ จากการเปรียบเทียบระหว่างแม่กระต่ายพันธุ์แท้กับลูกผสม พบว่ากระต่ายลูกผสมมีประสิทธิภาพด้านการสืบพันธุ์ซึ่งวัดจากจำนวนครั้งที่รับการผสมและอัตราการผสมติดเหนือกว่ากระต่ายพันธุ์แท้ (P < .05) และมีค่า heterosis ของลักษณะทั้งสองเป็น -26.69 และ 33.02% ตามลำดับ


การศึกษาระดับของทองแดง สังกะสี และซีลีเนียม ในเซรุ่มของโคนม พืชอาหาร อาหารข้น และดินที่มวกเหล็ก, อายุส พิชัยชาญณรงค์, ประภา ลอยเพ็ชร, ณรงศ์ศักดิ์ ชัยบุตร, พิภพ จาริกภากร, ธเนศร ทิพยรักษ์, นพคุณ สวนประเสริฐ, สุทัศน์ เจริญขวัญ, สมชาย ผลดีนานา, ศิริเพ็ญ โกมลวานิช, ภานุมาศ เจริญเนติศาสตร์ Dec 1988

การศึกษาระดับของทองแดง สังกะสี และซีลีเนียม ในเซรุ่มของโคนม พืชอาหาร อาหารข้น และดินที่มวกเหล็ก, อายุส พิชัยชาญณรงค์, ประภา ลอยเพ็ชร, ณรงศ์ศักดิ์ ชัยบุตร, พิภพ จาริกภากร, ธเนศร ทิพยรักษ์, นพคุณ สวนประเสริฐ, สุทัศน์ เจริญขวัญ, สมชาย ผลดีนานา, ศิริเพ็ญ โกมลวานิช, ภานุมาศ เจริญเนติศาสตร์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ค่าเฉลี่ยและเบี่ยงเบนของทองแดงในเซรุ่มโคนมลูกผสม 40 ตัว เท่ากับ 0.70 ± 0.15 ppm ระดับของธาตุนี้แตกต่างกันตามอายุ เพศ การให้นม และฤดูกาล สำหรับสังกะสี มีอยู่ 1.38 ± 0.39 ppm และเปลี่ยนแปลงตามภาวะต่าง ๆ เช่น ทองแดง ส่วนซีลีเนียม อยู่ในระดับ 0.13 ± 0.03 ppm ระดับของธาตุชนิดหลังนี้ค่อนข้างคงที่


Effect Of Marigold Petal Concentrate And Capsicom Annum Fruit Concentrate On Egg Yolk Pigmentation, Suwanna Kijparkorn, Vanni Muangecharen Dec 1988

Effect Of Marigold Petal Concentrate And Capsicom Annum Fruit Concentrate On Egg Yolk Pigmentation, Suwanna Kijparkorn, Vanni Muangecharen

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Experiments were conducted to study the effect of Marigold petal concentrate (MPC) and Capsicum annum fruit concentrate (CFC) on egg yolk pigmentation when added to broken rice and corn -ipil ipil basal diets. 120 Isa Brown layers were divided into 24 pens of five. Each pen received successively 3 replications of 8 treatments of 4 different levels of three pigmentors (MPC, CFC, MPC/CFC combined) in both types of basal diets. Production performances were not affected by the three pigmentors. However, there was marked difference in the levels of inclusion and the colors yielded by the three pigmentors. When applied separately, …


Distribution Of Antibodies To Bovine Leukemia In Japanese Black Cattle Raised In The Southern Region Of Japan, Takeo Sakai, Hideto Arai, Wattana Wattanavijarn Sep 1988

Distribution Of Antibodies To Bovine Leukemia In Japanese Black Cattle Raised In The Southern Region Of Japan, Takeo Sakai, Hideto Arai, Wattana Wattanavijarn

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Serum samples were collected from 624 Japanese black cat- tle in the southern region of Japan during a period time of from 1982 to 1984, and antigen titers were determined with bovine leukemia virus (BLV) antigen by the agar-gel immunodifiusion test. An over-all average positive rate against BLV was 23.9% during this period, however, a tendency to increase year by year. Generally, older individuals showed higher positive rates than younger ones. Antibody-positive rates varied according to the size of farm: a larger herd tended to have higher positive rates. Of 42 paired sera of dam and calf living together, the …


Campylobacter Jejuni/Coli In Diarrhoeic And Healthy Animals, Suvanee Supave, Viroj Kitikoon, Thaiyooth Chintana, Indhira Kramomtong Sep 1988

Campylobacter Jejuni/Coli In Diarrhoeic And Healthy Animals, Suvanee Supave, Viroj Kitikoon, Thaiyooth Chintana, Indhira Kramomtong

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Faecal materials from 132 diarrhoeic and 19 healthy household dogs were cultured for Campylobacter jejuni/coli and other enteric organisms. Twenty-four (18.2% C. jejuni/coli were isolated from diarrhoeic dogs and 3 15.8% from healthy dogs. Non-cholera Vibrio 14.6% and Salmonella spp. (1.5%) were also detected from diarrhoeic dogs but none from the healthy group. Shigella and V. cholerae-01 were not recovered from the two groups of animal. Three chickens and six swines with history of diarrhoea were also cultured for C. jejuni/coli but the number of the two animals studies was too small to draw any conclusion.


การใช้ตาข่ายไนล่อนในการแก้ไขไส้เลื่อนที่สะดือสุกร : ผลการรักษาทางคลีนิค, มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์, ไพวิภา สุทธิพงศ์, ชนินทร์ กัลล์ประวิทธ์, จุรี ประมัตต์วินัย, ทัศริน ศิวเชช Sep 1988

การใช้ตาข่ายไนล่อนในการแก้ไขไส้เลื่อนที่สะดือสุกร : ผลการรักษาทางคลีนิค, มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์, ไพวิภา สุทธิพงศ์, ชนินทร์ กัลล์ประวิทธ์, จุรี ประมัตต์วินัย, ทัศริน ศิวเชช

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การรักษาไส้เลื่อนที่สะดือทางศัลยกรรม โดยใช้ตาข่ายไนล่อนที่ทำจากโปลี่เอททิลีน (polyethylene) ปิดช่องปากถุงที่มีขนาดเส้นรอบวงยาว 3 - 14 นิ้วในสุกร 15 ตัว โดยเย็บตาข่ายให้อยู่นอกช่องท้องแต่อยู่ระหว่างด้านนอกของชั้นบุช่องท้อง (peritoneum) และ sheath ชั้นในของกล้ามเนื้อ rectus abdominis การติดตามผลการรักษา 5 ถึง 21 สัปดาห์ พบว่าตาข่ายโปลี เอททิลีนมีประสิทธิภาพดีในการแก้ไขไส้เลื่อน 14 ราย และพบไส้เลื่อนกลับเป็นขึ้นมาใหม่ในสุกร 1 รายที่มีการติดเชื้อที่แผลผ่าตัด


ประสิทธิภาพของยา Diazepam ในนก, สมพัฒน์ ลีลาพจนาพร, ธวัชศักดิ์ โปรตระนันทน์, เทียนชัย เติมวาณิช, มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์ Sep 1988

ประสิทธิภาพของยา Diazepam ในนก, สมพัฒน์ ลีลาพจนาพร, ธวัชศักดิ์ โปรตระนันทน์, เทียนชัย เติมวาณิช, มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาฤทธิ์ของ diazepam ในนกหงษ์หยก 6 กลุ่ม ๆ ละ 20 ตัว ภายหลังฉีด diazepam เข้ากล้ามเนื้ออกขนาด 0.10, 0.15, 0.20, 0.25, 0.30 และ 0.40 ม.ก. ต่อ น.น. ตัว 30 ก. พบว่านกในแต่ละกลุ่มจำนวน 90-100% (18-20 ตัว) แสดง อาการซึมยืนหลับตาและเสียการทรงตัวภายหลังได้รับยา 1 ถึง 4 นาที และซึมนาน 47-91 นาที ในจำนวนที่แสดงอาการซึมพบมีนกล้มตัวนอนหลับ 8, 6, 11, 11, 12 และ 17 ตัวจาก กลุ่มที่ได้รับยา 0.10, 0.15, 0.20, 0.25, 0.30 และ 0.40 ม.ค. ตอ น.น. ตัว 30 ก. ตามลำดับ การเพิ่มขนาดของยาจาก 0.10 ถึง 0.25 ม.ก. ต่อ น.น. ตัว 30 ก. จะ ทำให้ระยะเวลาหลับเพิ่มขึ้นจาก 28 ถึง 48 นาที และจะไม่เพิ่มมากขึ้นถึงแม้จะเพิ่มขนาด ของยาเป็น 0.30 และ 0.40 ม.ก. ต่อ น.น. ตัว 30 ก. ระยะเวลาหลับ 48 นาทีจึงเป็นประสิทธิภาพ (Efficacy) ของ diazepam ในนก ED50 ของ diazepam ในการ …


สมการทำนายปริมาณและเปอร์เซนต์เนื้อแดงจากซากสุกร, จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ, วรรณี เมืองเจริญ, ยุทธนา เรืองสันติโยธิน, โอภาส แสงรังษี, กฤษฎา พงศ์พิชญศิริ Sep 1988

สมการทำนายปริมาณและเปอร์เซนต์เนื้อแดงจากซากสุกร, จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ, วรรณี เมืองเจริญ, ยุทธนา เรืองสันติโยธิน, โอภาส แสงรังษี, กฤษฎา พงศ์พิชญศิริ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาลักษณะคุณภาพซากจากซากซีกซ้ายของสุกรจำนวน 44 ตัว วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ ๆ ที่ใช้วัดคุณภาพซาก และความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรเหล่านั้นกับปริมาณและเปอร์เซนต์เนื้อแดงที่ได้จาก 4 ชิ้นส่วนของซากคือ สันใน สันนอก ชั้นไหล่แต่งและ ชิ้นสะโพกแต่ง พบว่าลักษณะที่ศึกษาทั้งหมดมีความสัมพันธ์กัน (P < .05) ยกเว้นความยาวซาก ที่มีความสัมพันธ์กับสันในเพียงอย่างเดียว ปริมาณเนื้อแดงมีความสัมพันธ์ทางบวก {P < .01} กับทุกลักษณะยกเว้นความยาวซาก และความหนาไขมันสันหลัง เปอร์เซนต์เนื้อแดงมีความสัมพันธ์ทางลบ (P < .05) กับน้ำหนักซากอุ่นและน้ำหนักซากเย็น และมีความสัมพันธ์ทางบวก (P < .01) กับความหนาไขมันสันหลัง, สันใน ชั้นไหล่แต่ง และชิ้นสะโพกแต่ง สมการทำนาย ปริมาณและเปอร์เซนต์เนื้อแดงที่เหมาะสมในทางปฏิบัติ


Serological Montitoring Of Cattle Immunised With Foot-And-Mouth Disease Virus Tppe O Vaccine, H.A. Westbury, Pornchai Chamnanpood Sep 1988

Serological Montitoring Of Cattle Immunised With Foot-And-Mouth Disease Virus Tppe O Vaccine, H.A. Westbury, Pornchai Chamnanpood

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Thirteen groups of cattle in five provinces of Thailand were tested serologically for their response to Foot-and-mouth disease virus type ◊ vaccine. The animals were tested before and after immunisation by the ELISA procedure. The proportion of animal with significant titers of antibody before immunisation was 64 percent (range 19 - 95 percent}, while proportion with antibody after immunisation was 86 percent (range 42 - 100 percent). Prevaccination antibody had an effect on the response of the animal to immunisation, while some cattle apparently fully susceptible animals failed to respond to the vaccine. Further study on ways to overcome the …


Superovulatory Treatment In Goats (Capra Hircus), J. Eiamvitayakorn, N.G. Natural, C. L. Apelo Sep 1988

Superovulatory Treatment In Goats (Capra Hircus), J. Eiamvitayakorn, N.G. Natural, C. L. Apelo

The Thai Journal of Veterinary Medicine

An experiment of 4 months {June to September, 1985) duration was conducted at UPLB using 13 nondescript does and one vasectomized buck to determine the effectiveness of FSH and PMSG in superovulation. With the equal dose of 2.5 mg. per doe, FSH was injected intramuscularly twice a day, morning and afternoon, starting on day 10-11 of the estrous cycle. PGF. was injected intramuscularly on the 4th day of FSH treatment with the dose of 10 mg. per doe. Likewise, PMSG was admistratered at a single dose of 1.000 I.U. intramuscularly on day 15-17 of the estrous cycle followed by PGF2α …


การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบในน้ำนมตามการเปลี่ยนแปลงของจำนวนโซมาติกเซลล์ในโคนมพันธุ์ผสม, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร, ประภา ลอยเพ็ชร, ชลลดา บูรณกาล, กฤษ อังคณาพร, อุษุมา กู้เกียรตินันท์, จิรภัทร์ จงสมนึก Jun 1988

การเปลี่ยนแปลงขององค์ประกอบในน้ำนมตามการเปลี่ยนแปลงของจำนวนโซมาติกเซลล์ในโคนมพันธุ์ผสม, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร, ประภา ลอยเพ็ชร, ชลลดา บูรณกาล, กฤษ อังคณาพร, อุษุมา กู้เกียรตินันท์, จิรภัทร์ จงสมนึก

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การศึกษาองค์ประกอบในน้ำนมกับการเปลี่ยนแปลงจำนวนโซมาติกเซลล์ (SCC) ในโคนมพันธุ์ผสม พบว่าเมื่อค่า SCC ในน้ำนมเพิ่มมากกว่า 50,000 เซลล์/ม เชลล์ /มล. จะพบมีการ เพิ่มขึ้นของความเข้มข้นของ Na+ ในน้ำนมอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนความเข้มข้นของ K+ ในน้ำนม จะลดลง อัตราส่วนของ K/Na จะลดลงอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ SCC มากกว่า 50,000 เซลล์ /มล. การเพิ่มขึ้นของค่า SCC ในน้ำนมในขณะเกิดโรคเต้านมอักเสบจะพบร่วมไปกับการ ลดลงของความเข้มข้นของแลคโตสในน้ำนม ซึ่งจะพบอย่างเด่นชัดที่ระดับ SCC มากกว่า 750,000 เซลล์/มล. ส่วนการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของไขมันนมและโปรตีนจะไม่คงที่ใน ระดับ SCC ต่าง ๆ กัน การเพิ่มขึ้นของความเข้มข้นของ Na+ ในน้ำนมมีความสัมพันธ์กับการลดลงของความเข้มข้นของแลคโตส และจะพบความสัมพันธ์เชิงบวกระหว่างความเข้มข้นของ K+ และแลคโตส พบความสัมพันธ์ในเชิงบวกระหว่างอัตราส่วนของ K/Na และความเข้มข้นของ แลคโตสซึ่งจะเด่นชัดในระดับ SCC มากกว่า 750,000 เซลล์/มล. แต่ไม่พบความสัมพันธ์ ระหว่างความเข้มข้นของแคลเซียมและอนินทรีย์ฟอสฟอรัสกับความเข้มข้นของแลคโตสในน้ำนมในระดับ SCC ต่าง ๆ กัน


การศึกษาวัคซินกาฬโรคเป็ดในห่าน, สุวรรณี ท้วมแสง, สุดารัตน์ ชินศักดิ์ชัย, ฉาย จอมเกาะ, สละ กองสมัคร Jun 1988

การศึกษาวัคซินกาฬโรคเป็ดในห่าน, สุวรรณี ท้วมแสง, สุดารัตน์ ชินศักดิ์ชัย, ฉาย จอมเกาะ, สละ กองสมัคร

The Thai Journal of Veterinary Medicine

จากการศึกษาเปรียบเทียบความรุนแรงของ Duck plaque Virus หรือ Duck viral enteritis (DVE) virus strain ที่ถูกแยกจากเบ็ดและท่าน พบว่า DVE virus ที่ถูกแยกมาจากท่านจะมีความรุนแรงมากกว่า DVE ที่แยกจากเป็ด และเป็ดที่ได้รับวัคซิน Attenuated duck plague virus มีอัตราการให้ความคุ้มโรค 100 เปอร์เซนต์ ต่อเชื้อพิษที่แยกได้ทั้ง 2 strain จากการทดลองพบว่าวัคซีนที่ใช้ฉีดในท่าน ต้องมีขนาด 10 TCID ต่อตัวขึ้นไป จึงจะทำให้ท่านมีอัตราการให้ความคุ้มโรคเป็น 100 เปอร์เซนต์ต่อเชื้อพิษ DVE ที่แยกได้ในท่าน


ผลของการผสมข้ามพันธุ์ต่อการผลิตกระต่าย I. การเจริญเติบโตของกระต่ายตั้งแต่หย่านมถึงพร้อมผสมพันธุ์, จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ, สุวรรณา กิจภาภรณ์ Jun 1988

ผลของการผสมข้ามพันธุ์ต่อการผลิตกระต่าย I. การเจริญเติบโตของกระต่ายตั้งแต่หย่านมถึงพร้อมผสมพันธุ์, จันทร์จรัส เรี่ยวเดชะ, สุวรรณา กิจภาภรณ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ศึกษาลักษณะการเจริญเติบโตหลังหย่านมถึงพร้อมผสมพันธุ์เป็นเวลา 12 สัปดาห์ในกระต่ายจำนวน 115 ตัว จำแนกออกได้เป็น 4 กลุ่มพันธุ์คือ กระต่ายพันธุ์พื้นเมือง กระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ ซึ่งมีที่มาของพันธุ์จากประเทศนิวซีแลนด์และกระต่ายลูกผสมที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างกระต่ายพื้นเมืองกับกระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ แบบสลับพ่อแม่ทั้ง 2 แบบ กระต่ายทั้งหมดได้รับการเลี้ยงดูอย่างเดียวกันในกรงขังเดี่ยว ณ ศูนย์ฝึกนิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ นครปฐม ให้อาหารขั้นที่มีโปรตีน 14% โดยให้กินเต็มที่พร้อมหญ้าขนสด บันทึกน้ำหนัก และปริมาณอาหารที่กินทุก 2 สัปดาห์ คำนวณน้ำหนักเพิ่ม ปริมาณอาหารที่ให้ทั้งหมด อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน ปริมาณอาหารที่กินเฉลี่ยต่อวัน และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ วิเคราะห์ว่าเหรียนซ์แบบลีสท์สแควร์ ผลการทดลองปรากฏว่า กลุ่มพันธุ์มีผล ต่อน้ำหนักหย่านม และน้ำหนักเมื่อสัปดาห์ที่ 10 และ 12 ของการทดลอง รวมทั้งต่อน้ำหนักเพิ่ม (P < .05) อัตราการเจริญเติบโตต่อวัน และประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหาร {P < 01] ส่วนเพศมีผลต่อน้ำหนักเมื่อสัปดาห์ที่ 12 ของการทดลอง (P < .01) ปริมาณ อาหารที่ใช้ทั้งหมดและเฉลี่ยต่อวัน น้ำหนักเพิ่ม และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (P < .05) และพบปฏิกิริยาร่วมระหว่างกลุ่มพันธุ์ และเพศในลักษณะ น้ำหนักเมื่อสัปดาห์ที่ 10 และ 12 ของการทดลอง น้ำหนักเพิ่ม และอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน (P < .05) ค่าเฉลี่ยสีสท์สแควร์ของแต่ละลักษณะจำแนกตามแหล่งความแปรปรวนที่มีนัยสำคัญในการเปรียบเทียบ Contrast ระหว่างกระต่ายพันธุ์แท้ทั้งสองพบว่ากระต่ายนิวซีแลนด์ไวท์มีขนาดเล็กกว่ากระต่ายพื้นเมืองเมื่อหย่านม และไม่มีความแตกต่างในระยะต่อมายกเว้นน้ำหนักเมื่อสัปดาห์ที่ 10 ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อของกระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ดีกว่ากระต่ายพันธุ์พื้นเมือง กระต่ายลูกผสมทั้ง 2 แบบไม่แตกต่างกันในทุกลักษณะของการเจริญเติบโต เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มกระต่ายพันธุ์แท้ทั้งสองกับกระต่ายลูกผสมทั้ง 2 แบบ ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างกันในทางน้ำหนักตัวทุกช่วงอายุแต่กระต่ายลูกผสมเจริญเติบโตเร็วกว่ากระต่ายพันธุ์แท้ และมีประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อดีกว่า (P < .05) ค่า heterosis ของการผสมข้ามระหว่างกระต่าย 2 พันธุ์นี้ค่อนข้างต่ำซึ่งเป็นปกติของลักษณะด้านการเจริญเติบโตซึ่งมีค่าอัตราพันธุกรรมปานกลางถึงสูง


การย้ายฝากตัวอ่อนสุกรระหว่างฟาร์ม, มงคล เตชะกำภุ, บุญญิตา รุจทิฆัมพร, นิภาภรณ์ รักอริยะธรรม, เจนวิชญ์ หมายเจริญ, อังสนา ฮ้อเจริญ, เกรียงมาศ พันธุ์ชัย, ปราณี อินทรอุทก Jun 1988

การย้ายฝากตัวอ่อนสุกรระหว่างฟาร์ม, มงคล เตชะกำภุ, บุญญิตา รุจทิฆัมพร, นิภาภรณ์ รักอริยะธรรม, เจนวิชญ์ หมายเจริญ, อังสนา ฮ้อเจริญ, เกรียงมาศ พันธุ์ชัย, ปราณี อินทรอุทก

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ทดลองย้ายฝากตัวอ่อนสุกรข้ามฟาร์มโดยวิธีการอย่างง่าย ๆ ระหว่างอําเภอพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา กับอําเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ 70 กม. โดยนำตัวอ่อนระยะ Late Morula และ Early Blastocyst จำนวน 43 ตัวอ่อน เก็บในกระติกน้ำอุ่นระหว่างการขนย้ายเป็นระยะเวลา 6 ชม. เพื่อฝากในสุกรตัวรับซึ่งมีการตกไข่หลังจากสุกรตัวให้ประมาณ 24 ชม. จำนวนทั้งหมด 4 ตัว ผลการทดลองพบว่า สุกร 2 ใน 4 ตัว (50%) แสดงอาการตั้งท้องและคลอดลูกที่มีลักษณะปกติจำนวนทั้งหมด 4 ตัว คิดเป็นอัตรารอดทั้งสิ้นเท่ากับ 9.3% (4/43) หรือ 20% (4/20) ของสุกรตั้งท้อง ผลการศึกษาดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ตัวอ่อนสุกรสามารถเจริญเติบโตอย่างสมบูรณ์ได้ภายหลัง จากการเก็บรักษา และขนย้ายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง การปรับปรุงในวิธี การเก็บรักษาขณะขนย้ายตัวอ่อนน่าจะสามารถเพิ่มอัตราการมีชีวิตรอดของตัวอ่อนได้


แบคทีเรียของเยื่อตาขาวปกติในกระบือปลักไทย, ปราณี ตันติวนิช, ไพวิภา สุทธิพงศ์, อรวรรณ นวีภาพ Jun 1988

แบคทีเรียของเยื่อตาขาวปกติในกระบือปลักไทย, ปราณี ตันติวนิช, ไพวิภา สุทธิพงศ์, อรวรรณ นวีภาพ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

สำลีป้ายเชื้อจำนวน 222 ตัวอย่างจากนัยน์ตาของกระบือปลักไทยที่ไม่แสดงอาการของโรคตา และไม่เคยหยอดตาด้วยยาปฏิชีวนะมาก่อน ที่เก็บระหว่าง มีนาคม 2527 - กุมภาพันธ์ 2528 ไม่พบมีแบคทีเรียชนิดใดเลย 183 ตัวอย่าง (82.4%), พบ Staphylococcus aureus (coagulase positive) 24 ตัวอย่าง (10.8%), Bacillus cereus 9 ตัวอย่าง (4.1%), Streptococcus spp. 4 ตัวอย่าง (1.8%) และ Corynebacterium spp. 2 ตัวอย่าง (0.9%) แบคทีเรียที่พบทั้งหมดคิดสี Gram positive พบแบคทีเรียได้มากระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกรกฎาคม และพบได้น้อยระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนมกราคม อัตราความไวของเชื้อแบคทีเรียที่แยกได้ต่อยาปฏิชีวนะ 12 ชนิด ให้ผล 100% {Ampicillin, Chloramphenicol, Erythromycin, Gentamycin, Kanamycin, Nitrofurantoin, Neomycin. Penicillin, Polymyxin-B- Streptomycin, Sulfamethoxazole-trimethoprim ua: Tetracycline}


Short Communication Evidence For Foot And Mouth Disease Virus Carrier Cattle In Thailand, Pornchai Chomnanpood, W.J. Doughty, H.A. Westbury, Suchinta Tangchaitrong Jun 1988

Short Communication Evidence For Foot And Mouth Disease Virus Carrier Cattle In Thailand, Pornchai Chomnanpood, W.J. Doughty, H.A. Westbury, Suchinta Tangchaitrong

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Foot and Mouth Disease (FMD) virus was isolated from three of five groups of animals four to five months after a clinical outbreak of the disease. FMD virus type A was isolated during the original outbreaks and was again isolated later. These results provide presumptive evidence of the persistance of FMD virus in affected animals, although we lack detail information comparing the strains isolated during the outbreak and subsequently. Persistent infection with FMD virus may be important in the epizootiology of the disease in Thailand and requires further study to assess its significance.


Incidence Of Boar Infertility Problem In The Farms Using Alternate Mating System, Annop Kunavongkrit, Peerasak Chantaraprateep, Peesak Chantaraprateep, Prasert Prateep Jun 1988

Incidence Of Boar Infertility Problem In The Farms Using Alternate Mating System, Annop Kunavongkrit, Peerasak Chantaraprateep, Peesak Chantaraprateep, Prasert Prateep

The Thai Journal of Veterinary Medicine

The objective of this investigation was to determine the incidence of infertile and/or subfertile boars in the breeding herd using alternate mating technique. The study was conducted in 3 com mercial farms which had alternate mating system with average boar power of 1:20. A total of one hundred boars were subjected to 137 semen collections and evaluation in conjuction with breeding history. The examination was carried out weekly, boar with any abnormality was subjected to re-examination for another one or two occasions. Problem animals were identified by semen picture as subfertile and infertile 12.0 and 11.0% respectively. For confirmation, they …


การใช้ตาข่ายไนล่อนในการแก้ไขไส้เลื่อนที่สะดือสุกร : ปฏิกิริยาของเนื้อเยื่อต่อสารโปลี่เอททิลีน (Polyethylene), มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์, ไพวิภา สุทธิพงศ์, ชนินทร์ กัลล์ประวิทธ์, จุรี ประมัตต์วินัย, ทัศริน ศิวเวชช, สุมลยา กาญจนะพังคะ Jun 1988

การใช้ตาข่ายไนล่อนในการแก้ไขไส้เลื่อนที่สะดือสุกร : ปฏิกิริยาของเนื้อเยื่อต่อสารโปลี่เอททิลีน (Polyethylene), มาริษศักร์ กัลล์ประวิทธ์, ไพวิภา สุทธิพงศ์, ชนินทร์ กัลล์ประวิทธ์, จุรี ประมัตต์วินัย, ทัศริน ศิวเวชช, สุมลยา กาญจนะพังคะ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

สุกร 20 ตัว ได้รับการแก้ไขไส้เลื่อนที่สะดือ โดยใช้ตาข่ายที่ทำด้วยโปลีเอททิลีน (polyethylene) เพื่อศึกษาปฏิกิริยาของเนื้อเยื่อต่อตาข่ายชนิดนี้ ตาข่ายถูกจัดให้อยู่ระหว่างชั้นบุช่องท้อง (peritoneum) และ sheath ชั้นในของกล้ามเนื้อ rectus abdominis ภายหลังผ่าตัด 2, 4, 6 และ 8 สัปดาห์ ตัดชิ้นเนื้อส่วนที่มีตาข่ายจากสุกรระยะเวลาละ 5 ตัว มาศึกษาทางพยาธิวิทยาฮีสโต พบปฏิกิริยาต่อต้านที่ไม่รุนแรงของเนื้อเยื่อรอบ ๆ เส้นตาข่ายสิ่งที่พบส่วนใหญ่เป็น fibrous connective tissue และ fibroblasts ส่วน foreign-body giant cells พบเพียงเล็กน้อย นอกจากการพบ fibrous connective tissue ในเนื้อเยื่อ 4, 6 และ 8 สัปดาห์หนาแน่นมากกว่าในเนื้อเยื่อ 2 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 แล้ว การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในเนื้อเยื่อที่นำมาศึกษาแต่ละระยะ ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ตาข่ายโปลีเอททิลีนเป็นวัสดุที่เหมาะสมสำหรับใช้ใน prosthetic implant ในสุกร


ภาวะไตวายอย่างเฉียบพลัน กับการทำ Peritoneal Dialysis ในสุนัข : รายงานสัตว์ป่วย, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร, ชลดา บูรณกาล, รัตนาภรณ์ พรหมาสา Mar 1988

ภาวะไตวายอย่างเฉียบพลัน กับการทำ Peritoneal Dialysis ในสุนัข : รายงานสัตว์ป่วย, ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร, ชลดา บูรณกาล, รัตนาภรณ์ พรหมาสา

The Thai Journal of Veterinary Medicine

No abstract provided.


การศึกษารูปร่างปกติและผิดปกติของตัวอสุจิในกระบือปลักด้วย Light และ Phase Contrast Microscope, พิสุทธิ์ มังกรกาญจน์, จำลอง ใจอิ่มศีล Mar 1988

การศึกษารูปร่างปกติและผิดปกติของตัวอสุจิในกระบือปลักด้วย Light และ Phase Contrast Microscope, พิสุทธิ์ มังกรกาญจน์, จำลอง ใจอิ่มศีล

The Thai Journal of Veterinary Medicine

สุนัขเพศผู้อายุ 5 ปี หนัก 14 กก. มาโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ด้วยอาการกล้ามเนื้อไม่มีแรง หายใจหอบ อุณหภูมิร่างกายต่ำกว่าปกติ อาเจียร ดื่มน้ำมาก และปัสสาวะมาก ผลทางห้องปฏิบัติการตรวจไตทำงานผิด ปกติโดยมีระดับยูเรียและสารประกอบไนโตรเจนในเลือดสูง การรักษาร่วมกับวิธีการทำ peritoneal dialysis ได้ผลดี จากอาการทางคลีนิกและผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการในสุนัขป่วยนี้บ่งชี้ถึงการเกิดไตวายเฉียบพลัน ซึ่งอยู่ใน diuretic stage


ระบาดวิทยาและแนวทางการควบคุมโรคพยาธิ์ใบไม้ในตับในภาคอีสาน, เลิศรัก ศรีกิจการ, มาณวิกา ผลภาค, K. Leidl, K. F. Loehr, F. Hoerchner Mar 1988

ระบาดวิทยาและแนวทางการควบคุมโรคพยาธิ์ใบไม้ในตับในภาคอีสาน, เลิศรัก ศรีกิจการ, มาณวิกา ผลภาค, K. Leidl, K. F. Loehr, F. Hoerchner

The Thai Journal of Veterinary Medicine

ในการเลี้ยงปศุสัตว์ เมื่อวัว-ควายอายุ 8 เดือนขึ้นไปโรคพยาธิใบไม้ในตับ (F. gigantica) เป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึง เพราะจะทำให้ป่วย ตาย หรือเกิดความเสียหายแก่ผลผลิตด้านอื่น ๆ เป็นอย่างมาก โรคนี้พบได้ในทุกจังหวัดของภาคอีสาน แต่ไม่ทุกพื้นที่ ขึ้นกับการมีอยู่ของหอย Lymmaea auricularia ซึ่งเป็นโฮสท์กึ่งกลางของพยาธิ์ ความชุกของโรค โดยเฉลี่ยคือ 15.7% ในวัวและ 25.4% ในควาย โดยผันแปรไปตามพื้นที่จาก 0-85% พื้นที่ที่ มีแอ่งน้ำใหญ่มักมีความชุกของโรคสูงและมีความเสียหายรุนแรง จากการศึกษาทางระบาดวิทยาของโรคนี้ในภาคอีสานพบว่าแบบลักษณะของโรคพยาธิใบไม้ในตับในประชากรสัตว์เป็นวัฏ จักรสัมพันธ์กับฤดูกาล ซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปสำหรับการให้ยาถ่ายพยาธิ์เพื่อควบคุมโรค


การใช้ Thiopental Sodium ร่วมกับ Glyceryl Guaiacolate ในการวางยาสลบม้า, ชนินทร์ กัลล์ประวิทธ์, อติชาติ พรหมาสา, มาริษศักดิ์ กัลล์ประวิทธ์ Mar 1988

การใช้ Thiopental Sodium ร่วมกับ Glyceryl Guaiacolate ในการวางยาสลบม้า, ชนินทร์ กัลล์ประวิทธ์, อติชาติ พรหมาสา, มาริษศักดิ์ กัลล์ประวิทธ์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

การใช้ 10% Thiopental sodium เพื่อควบคุมระดับความลึกของการสลบม้า แบบแยกให้เพียงชนิดเดียวฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ภายหลังควบคุมให้สงบโดยใช้สารละลาย 6% Glyceryl guaiacolate (GG) และ 5% dextrose ในม้า 7 ตัว ที่มารับการรักษาทาง ศัลยกรรมที่ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปรียบเทียบ กับการใช้ 0.2% Thiopental Sodium ซึ่งผสมในสารละลายที่ประกอบด้วย 6% GG และ 5% dextrose ในม้า 53 ตัว ม้าทั้ง 60 ตัว ได้รับการฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำด้วย Atro- pine sulphate ขนาด 1 ม.ก. ต่อ น.น. ตัว 100 ก.ก. ร่วมกับ Promazine HCl ขนาด 66 ม.ก. ต่อ น.น. ตัว 100 ก.ก. หรือ Acepromazine maleate ขนาด 8 ม.ก. ต่อ น.น. ตัว 100 ก.ก. หรือ Xylazine HCl ขนาด 20 ม.ก. ต่อ น.น. ตัว ก่อนได้รับยาสลบมา 7 ตัวทรุดตัวลงนอนด้วย 6% GG 5% dextrose ขนาด 1.1 ม.ล. ต่อ น.น. ตัว 1 ก.ก. และถูกควบคุมการสอบด้วย 10% Thiopental sodium …


การสำรวจหาปรสิตนอกร่างกายในกระต่ายเลี้ยง, สมภพ นวีภาพ Mar 1988

การสำรวจหาปรสิตนอกร่างกายในกระต่ายเลี้ยง, สมภพ นวีภาพ

The Thai Journal of Veterinary Medicine

กระต่ายเลี้ยงจำนวน 60 ตัว จากตลาดและผู้เลี้ยงในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง ทั้งหมดเป็นกระต่ายเลี้ยงขึ้นกรงพันธุ์ผสม สามารถตรวจพบปรสิตนอก ร่างกายจำนวน 4 ชนิด ได้แก่ Psoroptes cuniculi พบถึง 71.67% (43 ตัว) Sar- coptes scabiet พบร่วมอยู่กับ Chey letiella parasitovora พบ 1.67% (1 ตัว) และ Ctenocephalides felis พบ 46.67% (28 ตัว) สำหรับ C. parasitovoram นับเป็นรายงานแรกในประเทศไทยที่ตรวจพบในกระต่าย


Study Of Newcastle Disease Vaccination One To Four Times A Year In Native Chickens Raised In The Village, Cherdchai Ratanasethakul Mar 1988

Study Of Newcastle Disease Vaccination One To Four Times A Year In Native Chickens Raised In The Village, Cherdchai Ratanasethakul

The Thai Journal of Veterinary Medicine

Native chickens raised in the village from 24 families were divided into 4 groups. Group 1 were vaccinated with Newcastle disease vaccine {NDV} once a year by using F strain for the chickens under 2 months of age and M.P. {Mukteswar} strain for those over 2 months of age. Group 2 were vaccinated with the same vaccines and at the same age as Group 1 but twice a year. Group 3 and 4 were vaccinated with NDV F strain three and four times a year respectively. In addition, a group of chickens from 30 families were also used as unvaccinated …


กายวิภาคและจุลกายวิภาคของต่อมใต้สมองกระบือปลัก, พิสุทธิ์ มังกรกาญจน์, อุไรวัลย์ โพธิวิชยานนท์ Mar 1988

กายวิภาคและจุลกายวิภาคของต่อมใต้สมองกระบือปลัก, พิสุทธิ์ มังกรกาญจน์, อุไรวัลย์ โพธิวิชยานนท์

The Thai Journal of Veterinary Medicine

น้ำเชื้อกระบือปลักจำนวน 20 ตัว เก็บจากส่วน vas deferens นำมาตรวจดู ตัวอสุจิ ที่มีรูปร่างปกติและผิดปกติโดยใช้วิธี smear และย้อมดูด้วยสี papanicolaou และ nigrosin-eosin ga phase contrast microscope ตัวอสุจิกระบือมีรูปร่าง แบบรีคล้ายใบพายยาวประมาณ 60 ไมครอน บริเวณส่วนหัวปลายสุดจะบางและค่อนหนาขึ้นที่ฐานของหัว ขนาดตัวอสุจิที่ปกติวัดจาก light microscope มีส่วนหัวยาวประมาณ 7.1 ± 0.3 ไมครอน กว้างสุด 3.6 ± 0.1 ไมครอน ฐานกว้าง 1.8 ± 0.1 ไมครอน และขนาดที่วัดได้จาก phase contrast microscope ความยาวประมาณ 7.1 ไมครอน กว้างสุด 4.5 ไมครอน และฐานกว้าง 2.6 ไมครอน ที่หัวมีแอคโครโซม, equatorial segment และหางส่วน middle piece ชัดเจน หางจะยื่นออกจากตรงกลางฐานหรือไม่ก็ได้ ตัวอสุจิมีความผิดปกติที่หัวและหาง ความผิดปกติที่หัวได้แก่ large head, pyriform head, Small round head, amorphous head, tapering head, loose head, double head, cigar head และ small head ส่วนหางที่ผิดปกติได้แก่ 2 หาง หางส่วน middle piece และ main piece หนากว่าปกติ หางขดเป็นวง หางขาด หางมี cytoplasmic droplets และหางมีลักษณะเป็นเส้นใย …